เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 87150 เจ้าจอมหม่อมห้ามผู้ถูกประหาร
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 17 มี.ค. 13, 19:05

    ชื่อคุณsirinawadee ทำให้นึกถึงนามปากกาอีกนามของคุณตาฮิวเมอริสต์ "สุราสิวดี" ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 มี.ค. 13, 21:25

แหม่มแอนนาบอกว่า เรื่องประหารชีวิตทับทิมทำให้เธอสะเทือนใจใหญ่หลวงถึงกับล้มเจ็บลงไปเดือนหนึ่ง    พอฟื้นตัวขึ้นมาได้เธอก็ขอลาออกจากงาน เดินทางกลับอังกฤษ     แสดงว่าเหตุการณ์นี้เกิดในพ.ศ. 2410
แอนนายังอ้างอีกด้วยว่า ในปีนั้นกงสุลน็อกซ์ไม่ได้อยู่ในสยาม   ถ้าอยู่ เขาก็เป็นคนเดียวที่อาจจะช่วยเหตุการณ์มิให้เลวร้ายลงไปถึงที่สุดได้
ดิฉันก็ยังเช็คกระทู้เก่าไม่เจอว่า พ.ศ. 2410 กงสุลน็อกซ์กลับไปอังกฤษหรืออย่างไร    

มาถึงบทสุดท้ายของวิชานี้แล้ว      ยังไม่สามารถสรุปลงตัวเบ็ดเสร็จเด็ดขาดลงไปได้ว่า  เรื่องของทับทิมและคุณพระปลัดเป็นเรื่องจริง   เท็จ    หรือว่าจริงปนเท็จกันแน่     มันมีหนทางให้คิดหลายทาง คือ
1    ถ้าดูว่าเป็นเรื่องเท็จ แต่งขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของนิยาย ก็น่าจะเป็นได้  เพราะรายละเอียดต่างๆที่แหม่มแอนนาเล่าไว้ในหนังสือมันผิดข้อเท็จจริงอยู่หลายอย่าง     ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เธอรู้เห็นจริงๆด้วยตาตนเองอย่างที่อ้างก็ไม่น่าจะผิดพลาดได้มากมายขนาดนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 17 มี.ค. 13, 21:26

      ถ้ามีการประหารเจ้าจอมทับทิมจริงๆเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4  ต่อให้แอนนาไม่มีโอกาสจะไปดูเหตุการณ์จริง     เธอก็น่าจะสอบถามจากคนอื่นๆได้   แอนนาไม่ได้ถูกจำกัดเขตอย่างเจ้านายสตรีฝ่ายใน  เธอเข้านอกออกในได้เสรี      ถ้าอยากรู้เรื่องจริงๆคงไม่สุดวิสัยที่จะหาคำตอบจากคนภายนอก  อย่างน้อยก็ต้องรู้ว่าการประหารของสยามใช้วิธีตัดหัว ไม่ใช่เผาทั้งเป็น
      อีกข้อหนึ่งคือ  ปลายรัชกาลที่ 4  พวกบาทหลวงเอย   มิชชันนารีเอย  พ่อค้าฝรั่งเอย  ข้าราชการสถานกงสุลเอย อยู่กันคึกคักในกรุงเทพทั้งชาวอังกฤษและฝรั่งเศส     เรื่องต่างๆในวังไม่อาจเป็นความลับปกปิดจากพวกนี้ได้      ถ้ามีการประหารเจ้าจอมและพระสงฆ์   ยังไงเรื่องนี้ต้องรู้ถึงหูฝรั่ง   
      สมมุติว่าหมอบรัดเลย์และหมอสมิธถูกปิดปากมิให้ลงข่าว  แต่ข้าราชการสถานทูตมีหน้าที่รายงานข่าวไปยังต้นสังกัด  เช่นเดียวกับบาทหลวงคาทอลิคและมิชชันนารีโปรแตสแตนท์     ยังไงข่าวนี้ก็ต้องถูกส่งเป็นรายงานไปถึงลอนดอนและปารีส   และที่โรมกับบอสตัน     แต่ก็ไม่เคยพบว่ามีข่าวเรื่องนี้อยู่ในรายงานใดๆ
     ในบันทึกหรือจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ ก็ไม่มีเรื่องนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 10:29

    การประหารเจ้าจอมและชายที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เรื่องที่ถือกันว่าต้องปกปิด    เห็นได้จากกรณีพระสุริยภักดีและเจ้าจอมอิ่ม ก็ลงในพระราชพงศาวดารอย่างเปิดเผย    เรื่องของพระอินทรอภัยหรือเจ้าฟ้าทศไภยก็เช่นกัน      ดังนั้นถ้ากรณีเจ้าจอมทับทิมและพระครูปลัดเป็นเรื่องจริง   พงศาวดารก็น่าจะบันทึกไว้    แต่ก็ไม่มี

2    ถ้าดูว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง    ก็มีหลักฐานจากคำบอกเล่าจากหลายกระแสด้วยกัน
- คำบอกเล่าของแอนนา
- คำบอกเล่าในหนังสือบางเล่ม ที่ไม่ใช่พงศาวดารและประวัติศาสตร์ ว่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างเจดีย์คู่หนึ่งขึ้นที่วัดสระเกศ เป็นอนุสรณ์ถึงเจ้าจอมทับทิมและพระครูปลัด      แต่ว่าเจดีย์ทั้งสองถูกรื้อในภายหลัง  จึงไม่เหลือร่องรอยให้เห็น
- คำบอกเล่าของบุคคล  เช่นพระสงฆ์ในวัดราชประดิษฐ์เล่าต่อกันมาว่า เหตุการณ์ที่ทับทิมถูกจับได้ในวัดราชประดิษฐ์นั้นเป็นเรื่องจริง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 10:44

 3   เป็นเรื่องจริงปนเท็จ
     คือมีการประหารเจ้าจอมทับทิมและพระปลัดจริง     แต่ว่ารายละเอียดไม่ได้เป็นอย่างที่แอนนาบรรยายไว้     

     คำถามที่เหลือไว้ก็คือ    จะด้วยเหตุผลอะไรก็สามารถตีความได้สารพัด   เรื่องนี้ถูกปกปิดจากหน้าประวัติศาสตร์ของไทย      สมเด็จกรมพระยาดำรงฯและเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ต่างท่านต่างก็เซนเซอร์เรื่องนี้มิให้หลุดออกมาในการเรียบเรียงพระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ  ประวัติศาสตร์ บันทึก ฯลฯ ใดๆ      จนล่วงมาถึงปัจจุบัน  แม้แต่นักวิชาการอย่างดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ท่านอื่นๆ ก็หาหลักฐานเรื่องนี้ไม่พบ     จึงไม่มีใครหยิบยกคดีนี้ขึ้นมาชำระและค้นคว้าหาความจริงว่าเป็นอย่างไร
     มีแต่ส. ธรรมยศเท่านั้นที่อ่านจากนิยายของแอนนา แล้วยึดถือว่าหลักฐานข้อเท็จจริงทั้งหมด   จึงอธิบายและตีความไปตามหนังสือเล่มนี้  โดยไม่มีหลักฐานจากแหล่งอื่นมาสนับสนุนหรือคัดค้าน

     คำตอบสำหรับเรื่องนี้ยังเปิดกว้างเอาไว้สำหรับผู้สนใจได้ถกเถียงและค้นคว้าหารายละเอียดเพิ่มเติมเอาเอง     วิชานี้ขอจบแต่เพียงนี้ค่ะ
     เชิญดื่มชาและกาแฟส่งท้ายก่อนออกจากชั้นเรียนไปเรียนวิชาอื่นต่อไป


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 15:26

ท่านอาจารย์ ครับ  แล้วเหตุการณ์ของขุนสุวรรณกับเจ้าจอมมารดาซ้อย ละครับ ผมได้ข้อมมูลมาแค่นี้ครับ มีท่านใดเสริมได้บ้างครับ

วัดอีกแห่งหนึ่ง...ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการถูกใช้เป็นสถานที่ส่งวิญญาณของนักโทษประหาร คือ ลานวัดมักกะสัน ( วัดมักกะสัญ ) หรือ วัดดิสหงสาราม...ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ ใกล้กับประตูน้ำปทุมวัน หลายต่อหลายรายซึ่งในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ระบุว่า...ในสมัยรัชกาลที่ 4 วัดแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ประหารชีวิต ขุนสุวรรณกับเจ้าจอมมารดาช้อย ด้วยเช่นกัน
ซึ่งกรณีนี้...ในพระราชพงศาวดารบันทึกว่า เกิดขึ้นมาจากที่มีการส่งหนังสือไม่ระบุนามผู้ส่ง หรือที่เรียกว่า บัตรสนเท่ห์ ฟ้องลูกขุนว่า ทางขุนสุวรรณ หรือ เขียน บุตรชายของพระยาราชภัคดี บังอาจใช้ภรรยาของตน ที่ชื่อกุหลาบ...ให้ไปพูดจาแทะโลมเกี้ยวพาราสี เจ้าจอมมารดาช้อย บุตรพระยาบำเรอภัคดี ปรากฏว่า...เจ้าจอมมารดาช้อยมีใจให้เสียด้วย ทำให้ทั้งสองลอบติดต่อกัน แอบส่งของให้กันอยู่เป็นประจำ โดยมีภรรยาของขุนสุวรรณรู้เห็นเป็นใจ...ทางคณะลูกขุนและตุลาการ ตรวจสอบชำระความแล้วพบว่า เป็นเรื่องจริง จึงมีการตัดสินความ...และปรากฏว่าโทษถึงขั้นประหารชีวิต

"....ให้เอาอ้ายเขียนและอีกุหลาบไปประหารชีวิตที่วัดมักกะสัน ณ วันจันทร์ เดือน 7 แรม 12 ค่ำ.."
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 18 มี.ค. 13, 15:32

เคยพูดเรื่องนี้ค้างกันอยู่ในกระทู้เก่าค่ะ  ชื่อ พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ)
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3537.15

ไม่มีใครตอบเรื่องเจ้าจอมช้อย    งั้นขอขยายความเท่าที่รู้ เพื่ออธิบายที่มาของความสงสัย
ไม่ทราบว่าในพระนิพนธ์ ความทรงจำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  ทรงเล่าเพิ่มหรือเปล่าคะว่าพระยาอัพภันตริกามาตย์ มีบุตรหญิงคนหนึ่งถูกประหารในรัชกาลที่ ๔
เพราะในรายชื่อบุตรธิดาที่ลงในกระทู้นี้ มีชื่อเจ้าจอมช้อยด้วย   เจ้าจอมช้อยคือเจ้าจอมที่ถูกประหารในรัชกาลที่ ๔    แต่จะด้วยอะไรไม่ทราบ ไม่เห็นค่อยเอ่ยถึงกันนัก   
เรื่องเจ้าจอมที่ถูกประหาร  เจ้าจอมอิ่มในรัชกาลที่ ๓ ที่ลอบส่งสารรักกับพระสุริยภักดี บุตรสมเด็จเจ้าพระยามหาพิชัยญาติ ยังเป็นที่รู้จักมากกว่า

ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ บันทึกว่า มีผู้ทิ้งหนังสือ(หรือบัตรสนเท่ห์)ฟ้องลูกขุนว่า ทางขุนสุวรรณ หรือ เขียน บุตรชายของพระยาราชภัคดีบังอาจใช้ภรรยาของตน ที่ชื่อกุหลาบ...ให้ไปพูดจาแทะโลมเกี้ยวพาราสีเจ้าจอมมารดาช้อย บุตรพระยาบำเรอภัคดี ปรากฏว่า...เจ้าจอมมารดาช้อยมีใจให้  ลอบติดต่อกัน แอบส่งของให้กันอยู่เป็นประจำ  โดยมีภรรยาของขุนสุวรรณรู้เห็นเป็นใจ...
ทางคณะลูกขุนและตุลาการ ตรวจสอบชำระความแล้วพบว่า เป็นเรื่องจริง จึงมีการตัดสินความ...และปรากฏว่าโทษถึงขั้นประหารชีวิต
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ท่านบันทึกไว้ว่า
"เมื่อเดือนเจ็ด พ.ศ. ๒๔๐๒ โปรดฯ ให้ชำระความเรื่องนี้ โดยตัดสินลงโทษประหารชีวิตคนทั้งคู่ที่วัดมักสัน รวมทั้งลงโทษเนรเทศพระโยคาญาณภิรัตเถร ราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดราชสิทธารามฯ ผู้ให้น้ำมนต์แต่งงานแก่ผู้กระทำผิดทั้งคู่ ไปอยู่ที่เมืองสงขลา"
 

ไม่ทราบว่าพระยาบำเรอภัคดีที่ว่า เป็นคนเดียวกับพระยาอัพภันตริกามาตย์หรือเปล่าคะ?
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 09:26

วิชานี้จบเร็วจัง

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 20 มี.ค. 13, 12:55

เจ้าจอมมารดาช้อย - แสดงว่าต้องมีพระโอรสหรือพระธิดา - พบชื่อในทำเนียบไหมครับ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 02:54

มาลงชื่อเข้าเรียน ตอนปิดคลาสแล้ว

หวังว่าคุณครู คงไม่ลงโทษผมนะครับ
 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 12:47

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 19:45

นึกว่าจบแล้ว    พอดีไปอ่านกระทู้ย้อนหลัง ก็พบเจ้าจอมหม่อมห้ามอีกท่านหนึ่งที่ถูกตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน  แต่โชคดีได้รับพระมหากรุณาธิคุณ รอดมาได้   
สาเหตุแตกต่างไปจากเจ้าจอมอื่นๆ คือมิใช่เรื่องกบฏ หรือคบชู้สู่ชาย   แต่เป็นข้อหาทำเสน่ห์ยาแฝด

เรื่องนี้เล่าไว้ในกระทู้  เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4184.165

เรื่องมีอยู่ว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงมีพระสนมที่โปรดปรานท่านหนึ่งชื่อเจ้าจอมมารดากลีบ มีพระองค์เจ้าหลายพระองค์ รวมทั้งพระองค์เจ้าเปียที่เซอร์จอห์น เบาริง บันทึกไว้ด้วย
นอกจากเป็นเจ้าจอมมารดาที่ถูกพระราชหฤทัย    ท่านคงทำกับข้าวเก่งอีกด้วย  จึงได้เป็นนายห้องเครื่อง คือเป็นหัวหน้าห้องครัววังหน้า ด้วย  แปลว่าอาหารการกินทั้งหลาย โดยเฉพาะของเสวย อยู่ในความควบคุมดูแลของท่าน

"เมื่อปีระกา (พ.ศ.๒๔๐๔) นั้น มีผู้กระซิบทูล (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ)ว่า เจ้าจอมมารดากลีบทำเสน่ห์ยาแฝด จึงได้โปรดฯให้พระยาพิไชยบุรินทรา  พระยามณเฑียรบาล ตุลาการหรือสมัยนั้นเรียกว่าตระลาการในพระบวรราชวังชำระความ
พวกครั้งนั้นตระลาการเห็นว่า พระอัธยาศัยไม่สู้กริ้วนัก  ขอตีความว่าอาจจะทรงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง    แต่มีผู้ทูลฟ้องก็ต้องสอบสวนไปตามระเบียบ   ก็ชำระแต่พอเป็นพิธี   ก็มิได้ความจริง
สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เพื่อตัดข้อครหานินทา จึงทรงปลดเจ้าจอมมารดากลีบจากตำแหน่ง  ให้พระยาราชโยธา เข้ามากำกับเป็นนายเครื่อง เครื่องนั้นโปรดฯให้พวกพ่อครัวผู้ชายทำ   แต่พวกนี้คงทำไม่ถูกปาก   เมื่อทรงพระประชวรไม่สบาย เสวยพระกระยาหารไม่ได้ ก็ทรงคิดถึงแม่ครัวคนเก่า  อยากจะเสวยฝีมือเจ้าจอมมารดากลีบอีกครั้ง 
พวกขุนนางวังหน้า ดูออก พระยาพิไชยบุรินทรา  หลวงเสนาพลสิทธิ์  หลวงเพชรชลาลัย  จมื่นศรีบริรักษ์ จ่าการประกอบกิจ  ท้าวพิพัฒนโภชา  (แย้ม) ผู้ช่วย  ขำภรรยาพระพรหมธิบาล (เสม) จึงเข้าชื่อกัน ทำเรื่องราวรับประกันกลีบมารดา ถ้าเป็นผู้ทำเสน่ห์ยาแฝดแน่แท้แล้วหรือกลับทำใหม่อีก ก็ให้เอาโทษผู้นายประกันถึงสิ้นชีวิตคือยอมเอาหัวเป็นประกันว่าเจ้าจอมมารดากลีบไม่ได้ทำเสน่ห์ 

ทรงทราบทัณฑ์บนดังนั้นแล้วก็โปรดฯให้เจ้าจอมมารดากลีบเข้ามาทำเครื่องเสวยตามเดิม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 19:46

     เมื่อเจ้าจอมมารดากลีบกลับเข้ามาทำพระกระยาหารถวายเหมือนเดิม   พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าก็เริ่มประชวร   หมอถวายยารักษาเท่าไรก็ไม่หาย   เป็นเรื้อรังมาถึง ๕ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๐๔-๒๔๐๘ ซึ่งตลอดเวลา เจ้าจอมมารดากลีบเป็นนายห้องเครื่อง ผู้ทำเครื่องถวาย
        พระโรคที่ประชวรคือวัณโรค   เป็นโรคร้ายไม่มียารักษาหาย   พอๆกับมะเร็งสมัยนี้    แต่หมอวังหน้าก็เก่ง ประคับประคองไว้ได้ถึง ๕ ปี  พระวรกายซูบผอมมีแต่หนังหุ้มกระดูก   ในตอนปลายที่ประชวรหนัก  เรื่องเดิมของเจ้าจอมมารดากลีบก็ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง
         ในพระราชพงศาวดารบันทึกเรื่องราวไว้ว่า
        "ครั้นต่อมาถึงเดือน ๑ ปีฉลู (พ.ศ.๒๔๐๘) ทรงพระประชวรมากไป กลีบมารดาทำเครื่องแกงก๋วยเตี๋ยวให้เจ้าพนักงานตั้งถวาย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเสวยได้ ๒ ฉลองพระหัตถ์ ทรงเห็นเป็นขนอยู่ในชามพระเครื่องแกงก๋วยเตี๋ยว"
        พงศาวดารไม่ได้บันทึกว่าเมื่อทรงเห็น "เป็นขน" แล้ว สืบสาวราวเรื่องขึ้นมา  หรือปล่อยไว้เฉยๆ  แต่คิดว่าน่าจะมีการทำอะไรสักอย่าง คงไม่ปล่อยไว้อย่างนั้น   พงศาวดารมาบันทึกอีกที ก็เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปประมาณ ๑ เดือน
        "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จฯขึ้นไปเยี่ยมประชวร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงกราบบังคมทูลว่า ทรงประชวร ครั้งนี้ มีความสงสัยในกลีบทำเสน่ห์ยาแฝดจึงทรงประชวรมากไป ขอรับพระราชทานข้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระบรมมหาราชวัง เป็นตระลาการชำระให้ได้ความจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ พระยามณเฑียรบาล พระยาอนุชิตชาญไชย พระยาบริรักษราชา พระยาอัษฎาเรืองเดช พระพรหมธิบาลพระพรหมสุรินทร์ เป็นตระลาการชำระ"
        สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ท่านไม่เอาตระลาการวังหน้ามาชำระอีกแล้ว คงจะไม่ไว้วางพระทัย หรือไม่ก็โดนขังกันไปทั้งชุดเลย   เพราะชำระครั้งก่อนตัดสินว่าไม่ผิด   ท่านทูลขอตระลาการจากวังหลวงมาทั้งชุด  ชุดใหม่นี้ก็สอบสวนทำคดี ตัดสินออกมาว่าทำเสน่ห์ยาแฝดจริง   สืบได้ด้วยว่ามีใครเป็นผู้สอนให้ทำ   คือ "อ้ายช้าง อ้ายขนานแดง อ้ายโสม  เป็นครู"       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 19:47

     เมื่อได้ความ จึงให้ลูกขุนปรึกษาโทษว่า กลีบมารดา มีพระองค์เจ้าถึง ๑๒ พระองค์ ไม่มีความกตัญญูรู้พระเดชพระคุณมาคิดทรยศ         อนึ่งอ้ายช้าง อ้ายโสม อ้ายขนานแดง ผู้เป็นครู น้อย แย้ม ขำ จ่าการประกอบกิจ ซึ่งเป็นญาติและรู้เห็นด้วย รวมทั้งสิ้น ๘ คน (ทั้ง ๘ คนนี้) ให้รับราชบาตรลงพระราชอาชญาเฆี่ยน แล้วให้ไปประหารชีวิตเสีย แต่พระยาพิไชยบุรินทรา จมื่นศรีบริรักษ์ หลวงเสนาพลสิทธิ์ เป็นแต่นายประกันทำตามพระราชอัธยาศัย ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ให้ถอดเสียจากที่ลงพระราชอาชญาจึงส่งไปคุก
        ยังอ้ายจันชุม อียา อีสุข อีอ่วม อีสุด อีป้อมก้อน อียิ้มแก้ว อีหนู ไม่ได้เป็นบ่าวทาส มารับอาสาให้กลีบมารดาใช้ และรู้เห็นด้วย ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนแล้วส่งไปจำไว้ ณ คุก
        ครั้นลูกขุนปรึกษาโทษแล้ว ก็ทรงพระประชวรหนักลงถึงสวรรคต"


        ตั้งแต่วันโปรดเกล้าฯให้ตระลาการชำระ (วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๐๔) ถึงวันสวรรคต (วันที่ ๗ มกราคม ๒๔๐๘) เป็นเวลาเพียง ๑๙ วัน คนโทษเหล่านี้จึงยังไม่ทันรับพระราชอาญา เพียงแต่จำคุกเอาไว้ก่อน
        จากนั้นเมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เรียบร้อยแล้ว          พระราชพงศาวดาร เก็บความเรื่องนี้ถึงตอนจบว่า
       "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงพระราชดำริ สงสัยคลางแคลงอยู่ว่าการจะไม่จริง จึงทรงพระราชหัตถเลขาให้เนรเทศกลีบมารดา และญาติคือท้าวพิพัฒน์โภชา และขำ ภรรยาพระพรหมธิบาล ซึ่งเป็นญาติของเจ้าจอมมารดากลีบ  ไปอยู่เสียเมืองสุโขทัย อ้ายโสม อ้ายช้าง อ้ายขนานแดง หมอ ให้ส่งไปจำคุก จ่าการประกอบกิจ กับน้อย โปรดฯให้ยกโทษเสียปล่อยไป ส่วนพระยาพิไชยบุรินทรา หลวงเสนาพลสิทธิ์ จมื่นศรีบริรักษ์ ก็โปรดฯให้พ้นจากเวรจำ มิได้ตั้งขึ้นรับราชการอีก"
       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 19:48

คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ วิจารณ์ไว้ว่า

        "ทั้ง ๓ ท่านนี้ หากพิจารณาแล้ว ดูๆก็น่าสงสารอยู่ไม่น้อย เพราะที่กล้าเสี่ยงเอาชีวิตเข้าประกันก็ด้วยจงรักภักดีต่อเจ้านาย สงสารว่าท่านเสวยพระกระยาหารไม่ได้ แต่กลับมาพลอยต้องโทษ หรือบางทีอาจเป็นด้วยท่านคุ้นเคยนับถือกันกับเจ้าจอมมารดากลีบ ก็เป็นได้ เพราะเจ้าจอมมารดากลีบเป็นพระสนมเอกแต่ผู้เดียวที่ได้ขึ้นเฝ้าอยู่บนพระที่ นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ซึ่งธรรมดาแล้ว โปรดประทับอย่างฝรั่ง มี 'บ๋อย' ผู้ชายเฝ้ารับใช้
       ในพระราชพงศาวดาร ที่เรียกเจ้าจอมมารดากลีบว่า 'กลีบมารดา' นั้น เพราะเมื่อต้องโทษ ยศศักดิ์ก็ต้องถูกถอด 'เจ้าจอมมารดา' ถือว่าเป็นยศศักดิ์ เมื่อเรียก จึงเรียกแต่ 'กลีบมารดา' ตัดคำว่า 'เจ้าจอม' ออกเสีย
        เช่นเดียวกับ เจ้านายเดิมทรงเป็นพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า หรือแม้แต่เจ้าฟ้า หากถูกลงพระราชอาญา 'ถอด' จากพระเกียรติยศ ตามธรรมเนียมต้องเรียกเจ้านายพระองค์นั้นว่า 'หม่อม'
        เรื่องเจ้าจอมมารดากลีบนี้ ได้ยินผู้ใหญ่สมัยก่อนๆท่านพูดกันว่า ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงแคลงพระทัยนั้น เพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงพระประชวรมาช้านานถึง ๔-๕ ปี จึงทรงสงสัยว่า จะทรงประชวรด้วยพระโรควัณโรคภายใน ซึ่งชาววังหลวงก็เป็นโรคเรื้อรังโรคนี้กันมาก โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ โปรดแปรพระราชฐานไปประทับตามต่างจังหวัด เช่นทางอีสาน ชลบุรี ซึ่งอาจจะไม่ถูกกับพระโรค หรือทำให้เป็นพระโรค ประการหนึ่ง
        อีกประการหนึ่ง ที่ว่าทรงเห็นเส้นขนอยู่ในชามพระเครื่องนั้น เจ้าจอมมารดากลีบเป็นผู้ทำก็จริง แต่ก็มี เจ้าพนักงานเป็นผู้เชิญ ขึ้นถวาย คือต้องผ่านมือผู้อื่น อาจมีการกลั่นแกล้งกันก็เป็นได้
        เพราะเจ้าจอมมารดากลีบเป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดปรานออกหน้าออกตายิ่ง กว่าผู้อื่นมาช้านาน จนมีพระโอรสธิดาถึง ๑๒ พระองค์ อาจเกิดการอิจฉาริษยากลั่นแกล้ง ด้วยในวังหน้านั้นมีเจ้าจอมพระสนมมากมาย
        "ท่านเสด็จไปหัวบ้านด้านเมืองที่ใด ก็ได้ลูกสาวเจ้าบ้านผ่านเมืองแลกรมการมาทุกที..."
        (จากพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานไปยังราชทูต พ.ศ.๒๔๑๖)
        ดังนั้น เมื่อเสร็จงานพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 'ยกประโยชน์ให้แก่จำเลย' พระราชทานอภัยโทษมิได้ประหารชีวิต
        เจ้าจอมมารดากลีบนั้น เข้าใจกันว่า คงจะเป็นธิดาของเจ้าบ้านผ่านเมือง หรือกรมการเมือง หรือบิดาเป็นผู้มีเชื้อสาย เมืองสุโขทัย เมื่อพระราชทานอภัยโทษแล้ว จึงโปรดฯให้ไปอยู่ ณ เมืองสุโขทัย"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง