เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 87177 เจ้าจอมหม่อมห้ามผู้ถูกประหาร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 05 มี.ค. 13, 20:41

     ในพระนิพนธ์นิพพานวังหน้า บอกว่า "ก็รับสั่งเอออวยพระโองการ" หมายความว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็ทรงเอออวยไปตามคำทูลขอของกรมพระราชวังบวรฯ      ในเมื่อคนกำลังจะตาย ขอสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย ใครจะใจดำปฏิเสธได้ลงคอ     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ท่านก็คงเห็นพระทัยพระราชอนุชา  
     อย่างไรก็ตาม   เรื่องการยกวังหน้าให้พระราชโอรสธิดาของกรมพระราชวังบวรฯทรงครอบครอง ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนวังเจ้านายทั่วไป      ถ้ากรมพระราชวังบวรฯทรงมีแต่พระราชธิดาล้วนๆ ย่อมไม่มีปัญหาอะไร   เพราะยังไงก็ต้องทรงอยู่กันที่วังหน้าต่อไปอยู่แล้วในฐานะเจ้านายฝ่ายในของวังหน้า    แต่พระราชโอรสที่เจริญพระชันษาแยกวังกันออกไปแล้วตามธรรมเนียมเจ้านายนี่น่ะซี    จะกลับเข้ามาครองวังหน้าในฐานะอะไร    ข้อนี้เป็นเรื่องต้องคิดหนัก  เพราะวังหน้าไม่เหมือนกับวังส่วนพระองค์ของเจ้านายอื่นๆ     วังอื่นๆนั้นเจ้าของวังจะทูลขอให้ลูกหลานอยู่ต่อก็มีสิทธิ์ทำได้     ผิดกับวังหน้าที่ไม่ได้มีแต่พระราชมนเทียรพระที่นั่งใหญ่น้อยอย่างเดียว  แต่มีฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระมหาอุปราชกำกับอยู่อีกชั้นหนึ่งด้วย    
    คำถามก็คือ  พระราชโอรสที่เข้ามาครองวังหน้าจะต้องสืบตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตามวังไปด้วยหรือเปล่า      หรือว่าจะครองแต่สถานที่วังหน้าเฉยๆ แต่ยังเป็นชั้นพระองค์เจ้าเหมือนเดิม      ส่วนตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯที่เป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช จะย้ายไปตกอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรสุนทร พระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ อย่างที่ควรเป็น   แต่พระองค์จะไม่ได้ประทับอยู่ในวังหน้าอยู่ดี     คือคนอยู่ก็ไม่ได้เป็น     คนเป็นก็ไม่ได้อยู่
     ทั้งหมดนี้เป็นคำถามที่ต้องใคร่ครวญให้ดี  จะตัดสินกับปุ๊บปั๊บวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้      
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 มี.ค. 13, 20:44

     ในเมื่อเรื่องไม่ได้ตัดสินกันง่ายๆแบบนี้   จึงไม่มีพระบรมราชโองการอย่างใดลงมาหลังจากกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทสิ้นพระชนม์    ทำให้พระองค์เจ้าลำดวน พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ และพระองค์เจ้าอินทปัต ที่รอท่าอยู่ว่าจะได้เข้าไปครองวังหน้าต่อจากพระราชบิดา  ก็โกรธเคืองขึ้นมา   จึงคบคิดกับข้าราชการวังหน้าบางส่วน ซ่องสุมกำลังและวางแผนเพื่อจะก่อการกบฏ
    ก็น่าสงสัยอยู่อย่างหนึ่งว่าการวางแผนโค่นล้มราชบัลลังก์นี้น่าจะมีอยู่ในใจฝ่ายวังหน้ามาก่อน  ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระราชพงศาวดาร ว่า
    “พวกกบฏวางแผนที่จะลอบประทุษร้ายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อครั้งที่เสด็จมาสรงพระศพที่พระราชวังบวร แต่ด้วยข้าราชการวังหลวงตั้งกองรักษาพระองค์อย่างแน่นหนาจึงเปลี่ยนแผนใหม่เป็นวันพระราชทานเพลิงพระศพแทน” 
    เพราะงานสรงพระศพกรมพระราชวังบวรฯ ย่อมมีขึ้นในวันเดียวกันหรืออย่างช้าก็วันต่อมาจากที่กรมพระราชวังบวรฯสิ้นพระชนม์      นับว่าเร็วมาก  ต่อให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเตรียมจะยกวังหน้าให้พระองค์เจ้าลำดวนจริง  ก็คงจะยังยกไม่ทันอยู่ดี     ถ้าหลักฐานนี้จริงก็แปลว่า ไม่ว่ารัชกาลที่ 1 จะทรงยกวังหน้าให้หรือไม่ก็ตาม  กบฏเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น

      ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เล่าต่อมาว่า เจ้านายและขุนนางวังหน้า คือพระยากลาโหมราชเสนา(ทองอิน) กับพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต ตั้งกองเกลี้ยกล่อมหาคนดีมีวิชาความรู้มาทดลองกันในวังพระองค์เจ้าลำดวน    ถ้าพลั้งพลาดล้มตายก็ให้ฝังเสียในกำแพงวังเป็นหลายคน    แปลว่าเตรียมก่อศึกกลางเมืองแน่นอน
บันทึกการเข้า
vasu
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 มี.ค. 13, 22:53

ขอเป็นนักเรียนแถวหลังสุดนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 11:10

เมื่อวานเน็ตล่มทั้งวัน  นักเรียนนั่งหลับกันไปทั้งห้องแล้วมั้ง
ตื่นค่ะตื่น

มาทำความรู้จักกับพระองค์เจ้าลำดวน กับพระองค์เจ้าอินทปัตก่อนนะคะ 
พระโอรสวังหน้าทั้ง 2 พระองค์นี้ เกิดจากเจ้าจอมมารดา      เจ้าศิริรจจาซึ่งเป็นพระชายาเอกมีพระธิดาองค์เดียวชื่อเจ้าฟ้าพิกุลทอง    ส่วนพระองค์เจ้าลำดวนประสูติจากหม่อมขะ เมื่อพ.ศ. 2322   ในสม้ยที่พระบิดายังดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาสุรสีห์ในกรุงธนบุรี     พระอนุชาคือพระองค์เจ้าอินทปัตนั้นประสูติในปีต่อมา จากหม่อมตัน    ภายหลังก็เป็นเจ้าจอมมารดาขะ และเจ้าจอมมารดาตันกันทั้งสองท่าน

พระองค์เจ้าทั้งสองนี้เมื่อล่วงมาถึงปลายรัชกาลที่ 1   อยู่ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ อายุ 20 กว่าๆทั้งสององค์   เมื่อกรมพระราชวังบวรฯเสด็จไปทำศึกรบพม่าที่เมืองเชียงใหม่   พระโอรส 2 พระองค์นี้ก็ตามเสด็จ  ได้คุมทัพหน้าไปกับกรมขุนสุนทรภูเบศร์  ศึกครั้งนี้ทัพไทยมีชัยชนะตีกองทัพพม่าแตกยับเยิน    ต่อมาพม่าย้อนรอยกลับมาตีเชียงใหม่อีก  กรมพระราชวังบวรฯก็ทรงยกทัพขึ้นไปอีก  มีพระโอรสทั้งสองและพระยาเสนหาภูธร(ทองอิน) ภายหลังได้เปนพระยากลาโหมราชเสนา  ซึ่งเป็นขุนนางที่กรมพระราชวังบวร ฯ ทรงพระเมตตาเหมือนพระราชบุตรบุญธรรม คุมกองทัพวังหน้าขึ้นไปเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง
ศึกคราวนี้วังหน้าทำชื่อเสียงไว้ดีมาก ตีได้ค่ายพม่าก่อน  หลังจากนั้นทัพวังหลวงถึงจะตีค่ายได้ กรมพระราชวังบวร ฯ ทรงขัดเคืองกองทัพวังหลวง ดำรัสบริภาษต่าง ๆ แล้วปรับโทษให้ขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนแก้ตัวด้วยกันกับกองทัพเจ้าอนุเวียงจันท์ ซึ่งยกมาถึงไม่ทันรบพม่าที่เมืองเชียงใหม่
การสงครามคราวนี้จึงเป็นเหตุให้นักรบวังหน้า คือพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต แลพระยากลาโหมทองอิน  เกิดดูหมิ่นพวกวังหลวงว่าในการรบพุ่งทำศึกสงครามสู้พวกวังหน้าไม่ได้ ข้างพวกวังหลวงเมื่อเห็นพวกวังหน้าดูหมิ่นก็ขัดเคือง  จนกระทบกระทั่งกันมาเป็นคราวๆ  เพียงแต่ยังไม่ถึงกับเป็นเหตุร้ายแรง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 12:17

     เรื่องใหญ่ขนาดคนตายซ้ำตายซ้อน ปิดบังฝังศพไว้ในวัง  เป็นเรื่องปิดไม่มิดแน่นอน      ในที่สุดข่าวก็รั่วไหลไปถึงวังหลวง   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงให้สายสืบปลอมไปเข้าเป็นสมัครพรรคพวกของพระองค์เจ้าทั้งสอง   ก็ได้ความสมจริงสมกับข่าวที่กระเซ็นกระสายออกมา  จึงโปรดให้จับมาชำระความ   ก็ได้คำสารภาพว่าคบคิดกับพระยากลาโหมราชเสนา( ทองอิน) ด้วย การจับกุมก็เลยขยายผลไปถึงพระยากลาโหมและสมัครพรรคพวกอีกหลายคน
     พวกนี้ให้การรับเปนสัตย์ว่าคบคิดกันจะทำร้ายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อวันเสด็จพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวร ฯ   ส่วนพระราชดำรัสของกรมพระราชวังบวรฯ ที่ได้ตรัสโทมนัสน้อยใจในเวลาทรงพระประชวร ก็เห็นจะปรากฎขึ้นในเวลาชำระกันนี้ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงน้อยพระราชหฤทัยในสมเด็จพระอนุชาว่าเพราะผู้ใหญ่พูดจาให้ท้ายเช่นนั้นเด็กจึงกำเริบ    ความน้อยพระทัยมีมากถึงขั้นว่าจะไม่ทำพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวร ฯ แต่ครั้นคลายพระพิโรธลงก็โปรดให้ทำพระเมรุใหญ่ตามอย่างพระเมรุพระมหาอุปราชครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ดำรัสให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุออกสมโภชที่พระเมรุให้เปนพุทธบูชาเสียก่อน ไม่ให้เสียพระวาจาที่ว่าจะไม่ทำพระเมรุกรมพระราชวังบวรฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 13:07

ครั้นมาถึง วันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๓๔๖  จับนายทองอินกลาโหมกับพวกได้สิ้น นายทองอินให้การว่า วันถวายพระเพลิงกรมพระราชวังบวรฯ จะเป็นวันที่ลงมือทำการประทุษร้าย ได้ความจะแจ้งแล้ว ก็ให้เอาหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต (ถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์) กับบุตรไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ อ้ายทองอิน กับพรรคพวกทั้งนั้น ก็ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย..

นายทองอินกลาโหม นอกจากเป็นนักรบฝีมือดีของวังหน้าแล้ว   ยังเป็นผู้ที่กรมพระราชวังบวรฯทรงเมตตาประหนึ่งพระโอรสบุญธรรม   แต่มีเกร็ดว่า นายทองอินก็ตอบสนองพระคุณเสียสมรัก  คือลักลอบเป็นชู้กับเจ้าจอมวังหน้า ชื่อว่าเจ้าจอมวันทา   ซึ่งเป็นสาวชาวเวียงจันทน์
เมื่อนางทองอินถูกประหารในคราวนี้  พร้อมกับพรรคพวกที่สมรู้ร่วมคิด   เจ้าจอมวันทาก็ถูกประหารพร้อมกันไปด้วย     น่าเสียดายที่หารายละเอียดเกี่ยวกับเธอมากกว่านี้ไม่ได้  บอกได้เพียงสั้นๆแค่นี้เองค่ะ

มีผู้เข้าใจว่า นายทองอินกลาโหม เป็นคนเดียวกับพระยากลาโหมราชเสนา(ทองอินทร์) ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าฟ้าจุ้ย กรมขุนอินทรพิทักษ์   พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่ขอตายไปตามพระราชบิดาไป       ส่วนเชื้อสายมิได้ถูกประหารไปด้วย  ยังคงเติบโตมาอยู่ในราชการสมัยรัตนโกสินทร์ 
อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
http://writer.dek-d.com/bird711/story/viewlongc.php?id=524172&chapter=233
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 15:53

เรื่องต่อมา คือกบฏเจ้าฟ้าเหม็น

เจ้าฟ้าเหม็น เป็นหลานตาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก     เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรี  ได้ถวายธิดาชื่อฉิมใหญ่เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ   มีพระเจ้าลูกยาเธอองค์หนึ่งทรงพระนามว่าเจ้าฟ้าสุพันธวงศ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น   
หลังประสูติได้เพียง 12 วันเจ้าฟ้าเหม็นก็กำพร้ามารดา ต่อมาอีก 3 ปีก็เปลี่ยนราชวงศ์จากธนบุรีเป็นราชวงศ์จักรี    พระราชโอรสธิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯพระองค์อื่นๆที่มิได้สิ้นพระชนม์ตามพระราชบิดา   กลายเป็นสามัญชน  ฝ่ายชายก็เข้ารับราชการฝ่ายหน้าเป็นขุนนาง   ฝ่ายหญิงก็ไปเป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี
ส่วนเจ้าฟ้าเหม็นได้รับพระเมตตาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯให้ดำรงพระยศเจ้าฟ้าไว้ตามเดิม    ทรงกรมเป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ครั้งทรงเจริญพระชันษา จึงโปรดเกล้าพระราชทานวังถนนหน้าพระลาน ด้านตะวันตก ซึ่งเรียกว่า "วังท่าพระ"เป็นที่ประทับ  ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศิลปากร
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 16:01

ไชโย ได้เรียนต่อแล้ววววว  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 16:09

เสิฟกาแฟแก้ง่วงค่ะ    เลือกร้อนเย็นได้ตามใจชอบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 17:03

มาลงชื่อเข้าชั้นเรียนพร้อมกับขออนุญาตยกมือถามว่า
พระยากลาโหมราชเสนานา (ทองอินทร์) ผู้นี้ ว่ากันว่าคือคนเดียวกับนายนรินทรธิเบศร์ผู้แต่งนิราศนรินทร์อันเลื่องชื่อลือทั่วฟ้าแหล่งหล้าวรรณศิลป์ เรื่องนี้เชื่อถือได้เพียงได้ครับอาจารย์
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 18:16

ดิฉันยังหาหลักฐานไม่ได้ว่า พระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน)มีผลงานกวีอยู่ที่ไหน      เพราะฉะนั้นจะสรุปว่าเป็นคนเดียวกับนายนรินทร์ธิเบศร์ก็เลยยังสรุปไม่ได้ค่ะ     คนสมัยก่อนชื่อซ้ำกันมาก ในวังหน้า คนชื่ออินอาจมีหลายสิบคนก็ได้  ไม่จำเป็นว่าอินจะต้องเป็นทองอินเสมอไป   และไม่จำเป็นว่า ถ้าชื่อทองอินก็คือพระยากลาโหมทองอิน

ม.ล.ศรีฟ้า ลดาวัลย์ยังให้ความเห็นอีกว่า พระยากลาโหม(ทองอิน) เป็นคนละคนกับพระยากลาโหม(ทองอินทร์)ที่เป็นโอรสของเจ้าฟ้าจุ้ย กรมขุนอินทรพิทักษ์

  พระยาเพชรบุรีที่ปรากฏชื่ออยู่ในเรื่อง “บุญบรรพ์” บรรพ ๒ นั้น ท่านชื่อ “สุข” หรือโบราณเรียกว่า “ศุข” ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ท่านได้เป็นเจ้าพระยายมราช        ในที่นี้ขอใช้อย่างปัจจุบันว่า “สุข”
  ที่ยกขึ้นมาเล่าเพราะท่านเป็นบุตรชายของ พระยากลาโหมราชเสนา (อินทร์ หรือทองอินทร์) โบราณมักเขียนว่า “อิน” หรือ “ทองอิน” ในที่นี้จะวงเล็บชื่อพระยากลาโหมราชเสนาผู้นี้ว่า “ทองอินทร์”
  พระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) เป็นโอรสของเจ้าฟ้าจุ้ย พระมหาอุปราชกรุงธนบุรี
  ซึ่งพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) ผู้นี้ ผู้เขียนประวัติเจ้าพระยาในปัจจุบันหลายท่านมักเขียนตามๆกันมาว่า เป็นคนเดียวกันกับพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) ผู้ซึ่งเป็นกบฎพร้อมกับพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต โดยเข้าใจจากพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ ซึ่งจดเอาไว้ว่า
    “...ตั้งแต่นั้นมาพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต ก็มีความกำเริบจึงไปร่วมคิดกับนายทองอิน กระลาโหม เป็นคนแข็งทัพศึกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ ก็โปรดปรานไว้พระทัย ตรัสว่าทรงรักเหมือนบุตรบุญธรรม นายทองอินกลาโหม กับพระองค์เจ้าทั้งสองตั้งกองเกลี้ยกล่อมหาคนดีมีวิชาความรู้มาทดลองกันในวังพระองค์เจ้าลำดวน ถ้าพลาดพลั้งล้มตายลงก็ฝังเสียข้างในกำแพงวังเป็นหลายคน...ฯลฯ...

            ครั้นมาถึงวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ จับนายทองอินกลาโหมกับพวกได้สิ้น นายทองอินให้การว่า วันถวายพระเพลิง (กรมพระราชวังบวรฯ) จะเป็นวันที่ลงมือทำการประทุษร้าย ได้ความจะแจ้งแล้วก็ให้เอาหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต กับบุตรไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์อ้ายทองอินกับพรรคพวกทั้งนั้น ก็ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย...”

            ข้อความในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ ดังนี้ จึงเข้าใจกันว่า พระยากลาโหมฯ (ทองอินทร์) เป็นคนๆเดียวกับพระยากลาโหมฯ (ทองอิน) ที่ถูกประหารใน พ.ศ.๒๓๔๖ หลังจากสมเด็จพระบวรเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคตเพียงไม่กี่เดือน

            เมื่อแรกผู้เล่ายังไม่ได้พิจารณาก็เคยเชื่อตามนั้น
            แต่เมื่อค้นคว้าประกอบกับเหตุผลแล้ว จึงอาจยืนยันได้ว่า พระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) ที่ถูกประหารไม่ใช่คนเดียวกันกับพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) อย่างแน่นอน
            พระยากลาโหมราชเสนา ตำแหน่งกลาโหมวังหน้านั้น จริงๆแล้วต้องมีถึง ๓ คน ตามลำดับ
            แรกทีเดียวปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ เมื่อเสด็จปราบดาภิเษก ขุนนางวังหน้านั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงแต่งตั้งเอง
            “ตรัสเอา พระไชยบูรณ์ ปลัดเมืองพระพิษณุโลกเป็นพระยากลาโหมราชเสนา
            ...และ...
            ตรัสเอานายทองอิน ข้าหลวงเดิมเมืองพระพิษณุโลก เป็นพระยาเสน่หาภูธร จางวางมหาดเล็ก”

            จางวางมหาดเล็ก คือ หัวหน้ามหาดเล็กทั้งหมด ผู้เป็นจางวางมหาดเล็ก มักเป็นผู้ใกล้ชิดโปรดปรานมาแต่เดิม ที่เรียกกันว่า ข้าหลวงเดิม ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงตั้งนายภู่ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยาราชมนตรี (ภู่) จางวางมหาดเล็กเป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงฉายพระบรมรูปร่วมด้วย ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (ขวาพระองค์) และ พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (ซ้ายพระองค์) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
            ต่อมาเมื่อพระยากลาโหมราชเสนาคนแรกถึงแก่อนิจกรรม พระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) จึงได้เป็นพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน)         ส่วนพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) โอรสเจ้าฟ้าจุ้ยนั้น เป็นพระยากลาโหมราชเสนาคนที่ ๓ ของวังหน้าพระองค์ที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) อย่างแน่นอน
            ด้วยเหตุผลดังนี้
            ว่าถึงพระชนมายุสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระชนมายุเพียง ๓๐ กว่าๆ พระโอรสองค์ใหญ่ เจ้าฟ้าจุ้ย อายุอย่างมากที่สุดก็เพียง ๑๔-๑๕ ไม่เกินกว่านั้นแน่ๆ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จครองราชย์อยู่ ๑๕ ปี เจ้าฟ้าจุ้ยเมื่อสิ้นพระชนม์ มีโอรสธิดา ๔ ท่าน เจ้าทองอินทร์ เป็นคนสุดท้าย อายุเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ อย่างมากก็เพียง ๑๐ ขวบ
            เด็ก ๑๐ ขวบ จะไปเป็นพระยากลาโหมฯ วังหน้าได้อย่างไร
            จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ท่านต้องเป็นพระยากลาโหมราชเสนาวังหน้าคนที่ ๓ ในปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ และคงเลยเป็นพระยากลาโหมฯ วังหน้าในรัชกาลที่ ๒ ต่อไป เพราะปรากฏว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนารุรักษ์ วังหน้ารัชกาลที่ ๒ ท่านเสด็จขึ้นเป็นวังหน้า ขุนนางวังหน้ามิได้เปลี่ยนแปลง

            ว่าถึงอายุอานามเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ พระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นวังหน้าใน พ.ศ.๒๓๔๙ อายุของนายทองอินทร์ บุตรชายเล็กของเจ้าฟ้าจุ้ย ก็คงจะประมาณ ๓๐ ไม่มากไม่น้อยกว่านั้นเท่าใด สมวัยและวุฒิที่จะทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) ของวังหน้า

            ด้วยพระราชโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระมหากรุณาเมตตาแต่งตั้งใช้สอยสนิทสนมในพระบรมราชวงศ์จักรีแทบทุกท่าน ยิ่งพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) เป็นโอรสของเจ้าฟ้าจุ้ย ที่ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จะโปรดฯเลี้ยงดูต่อไป แต่เมื่อมีรับสั่งถามเจ้าฟ้าจุ้ยกราบทูลว่าไม่ขออยู่ ขอตายตามสมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงทรงจำพระทัยให้ประหารและคงโปรดน้ำใจของเจ้าฟ้าจุ้ยเป็นเหตุผลที่ทำให้ทรงตั้งบุตรชายกลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) วังหน้าพระองค์ที่ ๒ ในปลายแผ่นดินของพระองค์ (เสด็จสวรรคต พ.ศ.๒๓๕๒ อีกเพียง ๓ ปีต่อมา)

            การที่ทำให้เข้าใจสับสนว่า พระยากลาโหมราชเสนาคนที่ ๒ และคนที่ ๓ เป็นคนเดียวกันก็เพราะราชทินนามในตำแหน่งเหมือนกัน ทั้งชื่อจริงก็ยังซ้ำกันเสียอีก อีกทั้งในหนังสือลำดับสกุลเก่าที่เพิ่งเรียบเรียงขึ้นในรัชกาลที่ ๕ บอกไว้แต่เพียงสั้นๆว่า โอรสธิดาของเจ้าฟ้าจุ้ยมี ๔ ท่าน คนสุดท้องคือคนที่ ๔ เจ้าพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน)

            ทำให้คนรุ่นหลังเข้าใจผิดกันต่อๆมา ดูไม่เป็นการยุติธรรมต่อเชื้อสายวงศ์สกุลของพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์)

            พระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์) ไม่มีบุตรหญิงเลย มีแต่บุตรชายล้วนๆ ๕ คน บุตรชายที่ ๑-๔ รับราชการเป็นขุนนางทุกคน คนที่ ๔ คือ เจ้าพระยายมราช (สุข หรือ ศุข) ในรัชกาลที่ ๔ ต้นสกุล “สินสุข”   คนสุดท้องชื่อนายนุชไม่ได้รับราชการ แต่หลานปู่ของท่านเป็นเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม) ในรัชกาลที่ ๗   ซึ่งเมื่อแรกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯพระราชทานนามสกุลว่า “อินทรโยธิน” ตามชื่อของพระยากลาโหมราชเสนา (ทองอินทร์)   แต่ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ทางการให้เลิกบรรดาศักดิ์ขุนนางเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน จึงใช้ราชทินนามของท่านเป็นนามสกุลว่า “พิชเยนทรโยธิน”

            ในรัชกาลที่ ๘ โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยท่านหนึ่ง จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ในตำแหน่ง อายุ ๗๑ ปี
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 18:26

คุณครูครับ  ทองอินนี่แปลว่าอะไรครับ หรือคำว่าอินเฉยๆ ก็ได้ รู้สึกว่าคนโบราณชื่อทองอินนี่มีเยอะมาก  เหมือนได้รับความนิยมไม่ต่างจากสมชาย สมศักดิ์ยุคนี้เลย  คนโบราญมักใช้ชื่อง่ายๆ หนึ่งหรือสองพยางค์ เช่นแผน เชย เปรม  เปรื่อง จวน  บุญ  มั่น  สร้อย  บุญมี บุญทิ้ง พวกนี้พอจะรู้ความหมายได้ แต่ทองอินซึ่งเป็นชื่อที่เจอบ่อยตามพงศาวดารต่างๆ นี่ผมเดาความหมายไม่ได้เลย  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 07 มี.ค. 13, 18:45

ทองอิน ก็สีทองเหมือน ลูกอิน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 16:06

คุณประกอบคงรู้จักลูกจันลูกแบนๆ สีเหลือง กลิ่นหอมน่าดมเล่น   นั่นแหละค่ะเป็นผลไม้ต้นเดียวกับลูกอิน   อย่างกลมเรียกว่าลูกอิน อย่างแบนเรียกว่าลูกจัน

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=fasaiwonmai&month=08-2012&date=01&group=2&gblog=354

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้นอินจันอยู่ในวงศ์เดียวกับลูกพลับสีส้มจากประเทศจีน มะพลับ ตะโก
และ มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดทรงพุ่มกลมทึบ หรือ รูปไข่ สูง 10-20 เมตร
เป็นไม้ที่เติบโตช้า รวมทั้งการให้ดอกและผล อายุการปลูกสิบกว่าปีขึ้นไปจึงจะได้ชื่นชมดอกผล


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 16:19

     เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตทรงเป็น"หลานตา" ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระเมตตา ให้ตามเสด็จใกล้ชิด   เห็นได้จากเมื่อชะลอพระพุทธรูปศรีศากยมุนีมาจากสุโขทัย    เจ้าฟ้าเหม็นได้ตามเสด็จด้วย    ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่ แต่ก็เสด็จออกในกระบวนแห่ชักพระพุทธรูปจากประตูท่าช้างมายังวัดสุทัศน์      ทรงเซและก้าวพลาด เจ้าฟ้าเหม็นทรงรับพระองค์ไว้ได้  แสดงว่าต้องเดินติดตามใกล้ชิด   ซึ่งก็น่าจะได้รับโอกาสนี้เป็นประจำ

      เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต เป็นเจ้าฟ้าที่ไม่มีหน้าที่ทางราชการใดๆ กล่าวกันว่า รัชกาลที่ 1 ทรงดำริไม่ให้เจ้าฟ้าเหม็นเกี่ยวข้องกับงานราชการ   เพื่อเลี่ยงเหตุที่จะทำให้ได้รับโทษทัณฑ์    อันที่จริงการที่ไม่ทรงประหารเจ้าฟ้าพระราชโอรสของพระเจ้าตากสินก็คงกลายเป็นเสี้ยนหนามในสายตาของคนหลายคน   เพราะอาจจะคบคิดกับขุนนางที่ยังจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ก่อกบฏทวงราชบัลลังก์คืนเมื่อใดก็ได้

         หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จสวรรคตได้เพียง 3 วัน  เกิดเหตุการณ์ว่าอีกาตัวหนึ่งคาบบัตรสนเท่ห์มาและทิ้งลงที่หน้าพระที่นั่ง กล่าวโทษเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตราฯว่าคบคิดกับขุนนางจำนวนหนึ่งคิดแย่งชิงราชสมบัติ   มีการนำความกราบบังคมทูลเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ)ในทันที       
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง