เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 21872 ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
bunnaroth
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


 เมื่อ 20 ก.พ. 13, 19:13

ผมเพิ่งอ่านบันทึก Surveying and exploring in siam ของพระวิภาคภูวดล เจมส์ แมคคาร์ธี เจ้ากรมแผนที่คนแรกที่เดินทางร่วมกับทัพปราบฮ่อด้วย เขาบันทึกรายละเอียดเหตุการณ์ได้ละเอียดมาก อย่างน่าตื่นเต้นเลยล่ะ
ปัญหาก็คือทัพปราบฮ่อครั้งสุดท้ายของเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ต้องแตกพ่ายทิ้งหลวงพระบางออกมา เจ้าอุปราชตาย เจ้าหลวงหนีมาอย่างฉุกละหุก หากยึดตามบันทึกของแมคคาร์ธี ฝรั่งเศสซึ่งตั้งใจจะเข้ามายึดดินแดนแถบนี้ต่างหากที่เป็นผู้ปราบฮ่อไป

ฉบับที่ผมอ่านเป็น สำนวนแปลของ ร.อ.หญิง สุมาลี  วีระวงศ์ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้แปล ลงตีพิมพ์ในวารสารแผนที่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์เพราะหาโหลดในเน็ตตได้ง่าย ส่วนฉบับจริงก็มีอ่านฟรีในเน็ตครับ ตัดมาให้อ่านเฉพาะส่วนที่ต้องการแลกเปลี่ยน

ความเห็นของผมคือ ... รายงานที่เราท่านอ่านๆ กันว่าทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์ไปปราบฮ่อได้ชัยกลับมาเชื่อได้แค่ไหน ? สำหรับตัวผมเองเชื่อลดลงเยอะเลยทีเดียวครับ

----------------------------------------------

๒๑.  การปล้นครั้งสุดท้ายของฮ่อ  และการยึดหลวงพระบาง

                    ฝ่ายสยามตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะปราบฮ่อให้ราบคาบสิ้นเชิงทุกแห่ง จึงได้จัดการให้พระนาสุรศักด์มนตรี  เป็นแม่ทัพใหญ่  มีอำนาจสั่งการได้ทั่งทั้งเขตแคว้นหลวงพระบางด้านหนึ่ง  และให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าชายประจักดิ์ ๑  คุมกองทัพเสด็จมาหลวงพระบางอีกด้านหนึ่ง  ในประวัติศาสตร์สยามไม่มีครั้งใดเป็นโอกาสสำหรับทำงานใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศได้เท่าครั้งนี้  และไม่มีครั้งไหนที่คนมีความสามารถรวมกันอยู่มากเท่าครั้งนี้

                    เจ้าชายประจักดิ์  ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องนาเธอ  ทรงมีพระยาสีหราชเดโช  เป็นที่ปรึกษา  ท่านผู้นี้เคยไปเรียนที่ วูลิช (Woolwich)  และเคยเป็นนายทหารเหล่าสรรพาวุธของอังกฤษมาแล้ว  ท่านเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของตระกูลดีเลิศ  เป็นรองแต่พระราชวงศ์เท่านั้น  พระยา     สุรศักดิ์มนตรีซึ่งเป็นญาติ  ก็เป็นพระสหายที่พระเจ้าแผ่นดินทรงไว้วางใจอย่างยิ่งยวด  หากการศึกษาคราวนี้ล้มเหลวไปแม้แต่เล็กน้อย  ท่านแม่ทัพทั้งสองก็จะได้รับคำตำหนิโดยตรงทีเดียว

                    ในปีที่แล้วมาพระยาราช ฯ จำเป็นต้องเลิกปิดล้อมทุ่งเชียงคำหลังจาก ๓ เดือนและถอยทัพกลับมายังหนองคาย

                    เจ้าชายประจักดิ์  เสด็จไปยังหนองคาย  และผู้ช่วยของพระองค์ก็เดินทัพต่อไปถึงทุ่งเชียงคำ  แต่ก็ต้องผิดหวังที่เหยื่อหนีไปเสียแล้ว  อย่างไรก็ตามท่านก็สั่งเผาทำลายที่มั่นแห่งนั้นสียมิให้ใช้การได้อีกต่อไป

                    พระยาสุรศักดิ์  ตั้งทัพหลวงอยุ่ที่เมืองสอน  และพักทัพอยู่ ณ ที่นั่นจนตลอดฤดูฝนต้องประสบความลำบากยากเข็ญเป็นอันมาก  ต่อมาไม่นานฝ่ายฝรั่งเศสก็เริ่มมีบทบาท  ผู้มาแทนตัวดอกเตอร์ไนส์  คือ ม. ปาวี ชายอายุประมาณ ๓๕ ปี  ซึ่งเคยทำงานให้ปก่ราชการสยามอยู่คราวหนึ่ง  คือเป็นผู้สร้างเส้นทางโทรเลขจากบางกอกไปถึงพระตะบอง  เขาเคยเดินทางไปมาระหว่างสยามและกัมพูชาหลายครั้ง  และได้สร้างทางสายโทรเลขผ่านอานัมไปยังตังเกี๋ย

                    อังกฤษได้เซ็นสนธิสัญญากับสยาม  ตั้งสถานกงสุลขึ้นที่เชียงใหม่  ฝรั่งเศสก็ได้ทสัญญาสัมพันธ์มตรีกับสยามด้วย  และจะมีสถานกงสุลในหลวงพระบาง  ถึงแม้ว่าในบริเวณแคว้นที่กล่าวนั้นจะไม่มีประชากรในบังคับฝรั่งเศส  ไม่ว่าจะเป็นชาวตังเกี๋ย  อานัมหรือเขมร  อาศัยอยู่เลยแม้แต่คนเดียวก็ตาม  ม.ปาวี  จะได้ตำแหน่งเป็นรองกงสุลคนแรก (ทำหน้าที่กงสุล)

                    ในเมื่อข้าพเจ้าจะต้องเดินทางขึ้นเหนือไปรวมกองกับของพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นคนแน่ทีแรกก็คิดกันว่า  ข้าพเจ้าน่าจะได้เดินทางร่วมไปกับ ม. ปาวี  และกองต์  เดอ  แกการาดี (Count de Kergaradie)  ผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศส  ซึ่งแสนจะสุภาพ  อ่อนโยน  ก็ได้จัดการดังนั้นข้าพเจ้าได้เลือกเส้นทางสายผ่านเชียงใหม่  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับการขนส่งเสบียงอาวุธให้แก่กองทัพที่หลวงพระบาง ม. ปาวี  ก็พอใจเส้นทางสายนี้เช่นกัน  แต่เพื่อมิให้ตนเองต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  ข้าพเจ้าจึงจัดการนิยามสัมพันธภาพระหว่างเราให้แจ่มแจ้ง  เป็นอันตกลงกันว่า  ข้าพเจ้ากับเขา  ต่างฝ่ายจะเดินทางโดยเรือพวงของตน  โดยใช้เรือกลไฟลำเดียวกันสำหรับลากจูง  เมื่อใดถึงจุดที่เรือกลไฟไปต่ออีกไม่ได้แล้วแยกทางกัน

                    พอเลยปากน้ำโพ  เรือลากจูงของเราก็เกยหาดทราย  ซ้ำกระแสน้ำซัดจนเรือแจวของข้าพเจ้าที่ผูกพ่วงไว้ชิดนั้นแทบจะคว่ำ  เมื่อติดตื้นเข้าเช่นนั้น  ข้าพเจ้าก็ได้ทำตามที่ได้ตกลงกันไว้  คือกว่าวคำอำลาต่อ ม. ปาวี  แล้วต่างฝ่ายต่างก็แยกไปตามทางของตัว

                    ม. ปาวี มีทีท่าสุภาพเสมอ  และได้พยายามทุกทางที่จะให้การเดินทางเป็นไปโดยความสะดวกสบาย  และสนุกสนานที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่การติดต่อสัมพันธ์กับเขาสืบไปย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดีขึ้นเลยไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม  ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อมาภายหลังแล้ว  ข้าพเจ้าก็ยิ่งรู้สึกดีใจที่เราได้แยกทางกันเสียแต่ตอนนั้น

                    ผู้ที่ร่วมทางไปหับข้าพเจ้า คือ คอลลินส์  และลุยส์ เดอ เปลซีส เดอ ริเชลิเออ ( Louis de Plessis de Richelieu)  เราเร่งรีบเดินทางไปถึงเชียงใหม่  แล้วต่อไปเขียงรายลงเรือไปหลวงพระบางต่อไปถึงเมืองเต็งในวันที่ ๑๖ ธันวาคม

                    พระยาสุรศักดิ์ ฯ ได้มาถึงก่อนหน้าเราไม่กี่วัน  และได้คุมตัวบุตรเจ้าไลซึ่งเดินทางมาต้อนรับ  เป็นนักโทษคุมขังอย่างใกล้ชิด  ข้าพเจ้าแน่ใจทีเดียวว่าจะเกิดเรื่อง  และปรารถนาจะคงพักอยู่กับพระยาสุรศักดิ์ ฯ ต่อไป  แต่ท่านผู้นี้ไม่ยินยอม  ข้าพเจ้าจึงเสนอขอไปเมืองไล  แต่ท่านก็แสดงความสงสัยว่าข้าพเจ้าจะไปทำอะไรที่นั่น ถ้าท่านยอมตกลงข้าพเจ้าก็คงจะได้ถือโอกาสขอให้ปล่อยตัวบุตรของเจ้าเสียแล้ว   เพราะเหตุการณ์ทุกอย่างหมุนเข้ามาหาจุดวิกฤต  และหากท่านไม่ระงับสียก็จะเกิดความวุ่นวายต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดท่านเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือเขตแคว้นแถบนี้ทั้งหมด  ตลอดไปถึงสิบสองปันนา  เดิมเจ้าเมืองไลอาศัยอยู่ฝั่งขวาของลำน้ำเตมาก่อน ด้วยอิทธิพลของฝ่ายจีน  ร่วมกับการถือโชคลางเกี่ยวกับหมูซึ่งว่ายข้ามน้ำไปตกลูกอีกฝ่ายหนึ่งเป็นนิจศีล  เขาจึงย้ายบ้านกลับไปอยู่ฝั่งขวาอีก

                    พระยมสุรศักดิ์ ฯ เชื่อเอาเป็นแน่ว่า  เจ้าไลจะต้องเดินทางมาเมืองเต็งเพื่อเห็นแก่ลูก ระหว่างนั้นท่านจึงหันไปจัดการกัยพวกหัวหน้าธงดำ  ชื่อ องบา  (Ong Ba) ซึ่งกลัวท่านเสียลานราวกับแมลงวันกลัวมุม จนพยายามขอเลื่อนกำหนดมาพบด้วยข้ออ้างต่าง ๆ เป็นต้นว่า  ครั้งแรกอ้างว่าจะจัดงานครบรอบวันเกิดของย่า  และอีกครั้งหนื่งว่าต้องอยู่ไหว้วิญญาณคนหนึ่ง

                    ข้าพเจ้าอยากเดินทางไปเมืองไล  เพื่อสำรวจเส้นเขตแดนสยามแต่คำสั่งที่ได้รัยมอบหมายให้ข้าพเจ้าอยู่ในบังคับบัญชาของพระยาสุรศักดิ์ ฯ ท่านผู้นี้สั่งให้ข้าพเจ้าเดินทางไปยังกองทัพน้อยที่สบเอ็ดสำรวจเขตแดนบริเวณหัวพันที้งห้าทั้งหก  แล้วกลับทางหนองคาย  เดอริเชลิเออ  ล้มเจ็บ  ต้องเรือล่องไปหลวงพระบางและกนองคายก่อน  แต่คอลลินส์ยังคงไปกับข้าพเจ้า  ระหว่างเดินทางไปเมืองเต็ง  และระหว่างอยู่ในเมืองเต็งข้าพเจ้ามีอาจุกเสียดอย่างแรง  ( เนื่องจากไส้พอง)  หลายครั้ง  ในที่สึดพอถึงเมืองยา(Muang Ya)  อาการยิ่งกำเริบจนหมดกำลัง  ซ้ำเริ่มจะมีไข้ขึ้น  กลางคืนได้ยินเสียงคนในหมู่บ้านสวดไล่ผีให้ออกจากตัวคนไข้กันอย่างโหยหวน  ข้าพเจ้ามีการหนักตั้งแต่วันที่ ๒๓  ธันวาคม  กว่าจะฟื้นตัวพอเดินทางไปไหน ๆ ได้ก็ตกเข้าวันที่ ๑๐ มกราคม  ข้าพเจ้าจึงได้เดินทางมายังหลวงพระบาง  เพื่อกลับสู่บางกอก

                    ในเวลาไล่เลี่ยกัน  ม. ปาวี ได้เดินทางมาถึงหลวงพระบาง  แล้ววกขึ้นไปตามลำน้ำอูแต่พอมาถึงปากน้ำเหนือ  ก็พบพวกลาวที่กำลังแตกหนีฮ่อ  ซึ่งบุตรคนโตของเจ้าไลไปขอกำลังมาแก้แค้นที่น้อง ๆ ถูกจับกุม ม.ปาวี จึงกลับไปหลวงพระบาง  ซึ่งพระยาสุรศักดิ์ ฯ ได้จัดการทำลายป้อมค่ายเครื่องป้องกันเสียโดยสิ้นเชิงแล้วก่อนจะเดินทัพไปพักอยู่ที่ปากลายพวกฮ่อบุกลุกลงมาตามแนวลำน้ำอู  จนถึงเมืองงอย  () ที่ตรงนั้นเป็นคอคอดกว้างสักไมล์หนึ่ง  มีเนินเขาเป็นผาหินปูนสูงชันลงมาจบขอบน้ำซึ่งลึกมากแต่กระแสน้ำไม่เชี่ยว  และเรือที่ล่องลงมาไม่มีทางที่จะไปต่อได้หากมีลมประทะด้านหัวเรือ  ฝ่ายที่จะคิดโจมตีทางนั้นไม่มีทางผ่านได้  แต่พวกฮ่อรู้ดีว่ากำลังสู้กับคนประเภทใด  พวกมันปืนเขาขึ้นไปยึดปืนที่ตั้งไว้ป้องกันตำแหน่งนั้นเอาไปทิ้งน้ำเสีย  แล้วรุกคืบหน้สมายังหลวงพระบางตั้งมั่นอยู่ที่วัดเชียงทอง  ()  ม.ปาวี และท่านผู้ตรวจการฝ่ายสยามเดินทางออกจากเมืองไปก้อรหน้านั้นแล้ว  เจ้าอุปราชก็ไปแล้วด้วยเช่นกัน  แต่ถูกเจ้าหลวงผู้มีพระประสงค์จะยอมตายในหลวงพระบางเรียกกลับมา  โอรสองค์หนึ่งของเจ้าหลวงได้นับสมัครทหารพม่าอาสา ๒๐ คน สำหรับเป็นทหารรักษาพระองค์เจ้าหลวง

                    พวกฮ่อได้กระทำการอันโหดร้ายทารุณ  ทั้งในบริเวณวัดที่พวกมันยึดเป็นที่พักอาศัยและทั่วไปในบริเวณตัวเมือง  เจ้าอุปราชถูกประหาร  และเจ้าหลวงผู้ชราถูกบรรดาโอรสและทหารรักษาพระองค์บังคับให้ลงเรือหนี  โอรสองค์หนึ่งถูกยิงตายต่อพระพักตร์  หลวงพระบางถูกปล้นและถูกเผาแต่พระพุทธปฏิมาทองคำมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่าพระบาง ()  นั้น  ชาวลาวผู้ฉลาดคนหนึ่งได้นำไปซ่อนไว่  เจ้าหลวงผู้ชราล่องเรือมาพบ ม. ปาวีในระหว่างทาง  เลยพากันไปยังปากลาย  ต่อจากนั้น  เจ้าหลวงก็เสด็จต่อไปยังบางกอก

                    ฤดูแล้งปีถัดมา  ฝ่ายฝรั่งเศสจะปราบการจลาจลในตังเกี๋ยเป็นคราวสุดท้ายชวนให้ชาวสยามเข้าร่วมมือด้วย  อย่างไรก็ตาม  กองทัพฝ่ายสยามในบังคับบัญชาของพระยาสุรศักดิ์ ฯ ยังมิทันจะออกจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ฝ่ายฝรั่งเศสก็ได้เข้าโจมตีพวก ธงดำที่ลาวไก (Pra Bang)  ก่อนเดินทัพไปถึงเมืองไล  และเลยไปตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองเต็ง  โดยมิได้ถูกต่อต้านแต่ประการใด  เท่ากับว่าได้เข้ายึดครองอาณาเขตสิบสองจุไทไว้ในอำนาจอย่างเงียบ ๆ ระหว่างที่ ม. ปาวี ได้เดินทางไปตลอดสิบสองจุไท  เขสมีคนคุ้มกันชาวสยามผู้กล้าหาญ  ซึ่งได้ช่วยชีวิตเขาให้รอดพ้นจากอันตราย  เมื่อถูกพวกฮ่อล้อมโจมตีครั้งหนึ่งและในที่สุดก็ได้เข้าไปพำนักอยู่ร่วมกับกองทัพฝรั่งเศส
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 19:52

ตามลายแทงไปหาอ่านอยู่ครับ  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 20:01

บันทึกการสำรวจและบุกเบิกในดินแดนสยาม  (Surveying and exploring in siam)

http://resgat.net/explorings.html




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 20:11

เป็นกระทู้ที่น่าสนใจยิ่ง ขอรออ่านต่อครับ
บันทึกการเข้า
bunnaroth
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 20:30

ผมจำได้ว่าหม่อมคึกฤทธิ์ท่านแทรกเกร็ดเรื่องการยกทัพไปปราบฮ่อ เขียนไว้ในขุนช้างขุนแผนฉบับเล่าใหม่ว่า การเดินทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีมีเพลงกราวไว้ร้องไม่ให้เหงา ท่านเขียนมา 3 วรรค
"พลทวนถือทวนถ้วนดอก พลหอกถือหอกสามสี พลช้างขี่ช้างหางชี้..."
ร้องเช่นนี้ไปตลอดทางเดินทัพ

สำหรับการแปลเวอร์ชั่นนี้ไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่ครับ ตัวสะกดผิดถูกก็พลาดเยอะ / แต่แมคคาร์ธีเองก็พลาดเหมือนกัน เพราะไม่ใช่นักเก็บข้อมูลเป็นแค่นักทำแผนที่เขียนบันทึกตามคำบอกของคนนำทาง เช่น เขียนบอกว่านักสำรวจฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ล มูโอต์ ตายแถวพูสวง ทั้งๆ ที่เขาชื่อ อองรี มูโอต์  (Henri Mouhot) ไปหลวงพระบางรอบนี้จะถามหาพูสวงว่าอยู่แถวแม่น้ำคานสบกับโขงหรือเปล่า ถ้าไม่มีแสดงว่า บันทึกของแมคคาร์ธีก็มั่วไปตามคำบอกของคนทำทางเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 20:31

มานั่งอยู่หลังห้องค่ะ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 22:51

"พลทวนถือทวนถ้วนดอก พลหอกถือหอกสามสี พลช้างขี่ช้างหางชี้..."

เสียดายที่ตอนฝึกรักษาดินแดนพวกผมไม่รู้ที่หม่อมคึกฤทธิ์อ้างไว้ เดินตามคันนาที่ลพบุรีคงสนุกขึ้น
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 06:40

ถาจะให้แน่จริงคงต้องหาฉบับภาษาอังกฤษมาอ่านอีกครั้ง  จำได้ว่าเคยอ่านฉบับภาษาอังกฤษ  แมคคาร์ธีเรียกใช้คำหลายคำตามคำเรียกของคนพื้นเมือง เช่น แม่น้ำโขงว่าแม่น้ำของ  เรียกพระยาว่า เพี้ย เป็นต้น
สำหรับฉบับแปลนี้ท่านผู้แปลใช้วิธีเก็บความจากภาษาอังกฤษ  เนื้อหาจึงถูกตัดทอนลงไปมากพอสมควร
บันทึกการเข้า
bunnaroth
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 08:28

Text.  http://archive.org/stream/surveyingandexp00mccagoog/surveyingandexp00mccagoog_djvu.txt  

เพื่อยืนยันว่าการแปลมีข้อผิดพลาดพอสมควร ขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ

CHAPTER XV. TRADITIONS OF LUANG PRABANG. // We visited the hill where stands the pagoda called Pra Chawn Si,
said to contain Gautama's bones.>> ๑๕ ธรรมเนียมเมืองหลวงพระบาง  เราไปเยี่ยมเจดีย์บนเนินเขา ชื่อ พระชอนศรี(Pra Chawn Si) ซึ่งถือว่าบรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า

>> ข้อเท็จจริงบนพูสี มีพระธาตุ จอมสี ไม่ใช่ ชอนศรี  ... ซึ่งจะว่าไปเป็นหลักเมือง/หรือแกนเมือง ของหลวงพระบางก็ว่าได้

ข้างล่างนี้เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษของตอนที่ตัดมาเป็นกระทู้ มีการตัดทอนคำแปลไปพอสมควรจริงๆ เช่นตอนเจ้าหลวงหนีฮ่อลงเรือเขาบอกว่ามีองครักษ์ทหารพม่าคุ้มกัน (ซึ่งเป็นรายละเอียดที่น่าสนใจ) แต่ฉบับแปลเขียนว่าองครักษ์เฉยๆ อย่างไรก็ตามโดยรวมของคำแปลก็ชัดเจนว่า หลังจากฮ่อยึดหลวงพระบาง ฝรั่งเศสตีโต้ปราบฮ่อธงดำและยึดสิบสองจุไทได้โดยปริยาย ในการนั้นเชิญทัพไทยร่วมด้วยแต่สยามก็ไม่ได้เข้าไปร่วม ผมอ่านเหตุการณ์ปราบฮ่อปีสุดท้าย 2429-2430 ก็มีการรบอยู่นะครับแต่เป็นเมืองอื่น (ต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าพิกัดใดและสำคัญทางยุทธศาสตร์แค่ไหน) ทัพฮ่อที่รบตอนสุดท้ายยอมแพ้ไทย แต่เราก็ไม่รู้ว่า ทัพฮ่อใหญ่ถูกปราบเสียราบแล้วโดยฝรั่งเศสใช่หรือไม่ // เหมือนกับว่า เราเอาชนะฮ่อที่พ่ายศึกมาอีกทอด ขณะที่ผู้กำชัยชนะที่สุดเพราะคือฝรั่งเศส เพราะได้ทำสัญญาให้ความคุ้มครองกับเจ้าหลวงพระบาง ได้ตั้งสถานกงสุลทั้งๆที่ตอนนั้นไม่มีคนในบังคับฝรั่งเศสเลย และนำมาสู่การได้ดินแดนเพิ่มในที่สุด //


CHAPTER XXI.

THE LAST HAW EXPEDITION AND SACK OF LUANG PRABANG.

SlAM was determined on another effort to do away with the Haw, whose
power was branching out in all sorts of places. With this intention
one expedition was organized under P'ia Surasak Montri, and sent
to operate in the country under the jurisdiction of Luang Prabang,
and another, under Prince Prachak, was sent to Nawng Kai. Never
in the history of Siam were such opportunities given for accomplish-
ing great things for the benefit of the country, and never was the
exercise of tact and ability so called for as on this occasion.

Prince Prachak, a brother of the king, had with him P'ia Siharaj
Dejo, who had been at Woolwich, and was attached to the English
artillery. He was a scion of the best family in Siam below royalty.
P'ia Surasak, a cousin, was also fortunate in possessing the close
friendship and confidence of the king. If these expeditions failed in
the slightest details, it was to the leaders, and no one else, that blame
could be attached.

In the previous year P'ia Eaj had been obliged to raise the siege
of Tung Chieng Kam after three months, and to fall back on
Nawng Kai.

Prince Prachak went to Nawng Kai, and his active lieutenant
pushed on to Tung Chieng Kam, but he- was disappointed to find
that the birds had flown. He, however, burnt the stockade, and
placed it beyond all possibility of being again used.

Fia Surasak fixed his headquarters at Muang Sawn, where he
remained during the rainy season, and went through a considerable
amount of hardship. Later on the French were again on the move.
The place of Dr. Neiss was filled by M. Pa vie, a man about thirty-
five years of age, who had formerly been in the service of the Govern-
ment of Siam. It was he who had constructed the line of telegraph
from Bangkok to Fratabawng. He had made many journeys in the
regions between Siam and Cambodia, and had constructed the tele-
graph line through Anam to Tonkin.

England had made a treaty with Siam, and appointed a vice-
consulate at Chieng Mai. France made a similar treaty with respect
to Luang Prabang, though in the whole province there was not a
single resident French subject, Tonkinese, Anamite, or Cambodian.
M. Pavie was now proceeding to take up the duties of the first vice-
consul.

As I was to go north and join P'ia Surasak's column, it was
thought that I might with advantage accompany M. Pavie, and the
courteous French representative. Count de Kergaradie, arranged that
I should do so. I had elected to go by way of Chieng Mai, to avoid
interfering with the transport arrangements for the army at Luang
Prabang, and this route also suited M. Pavie. But in order not to
be involved in any complications that might arise in the future, I had
the nature of our connection thoroughly explained. He and I, it was
agreed, would travel together as far as his boat, and mine could be
towed by the same launch, and our companionship should cease
when we reached a point beyond which the launch could not go.

Above Paknam Po the launch towing us stuck on a sandbank,
and, being swung by the stream, nearly capsized my six-chao boat,
which was lashed close to it. The launch having grounded, we could
be towed no further, and I bade adieu to M. Pavie, each, according to
agreement, now going his own way.

M. Pavie was always courteous, and had done all he could to
make the journey pleasant ; but continued association with him could
have led to no good in any direction, and, considering subsequent
events, I am thankful that we separated.

I was accompanied by Collins and Louis du Plessis de Eichelieu,
and we hurried on to Chieng Mai, thence to Chieng Eai, by boat to
Luang Prabang, and thence to Muang Teng, which place we reached
on December 16.

P'ia Surasak had arrived a few days before, and had placed the
sons of Chao Lai, who had been sent down to receive him, in close
confinement. I felt sure there would be trouble, and wished to
remain with P'ia Surasak, but he objected to my presence. I then
proposed to go to Lai, but he wondered what I could find to do there.
Had he consented, I would have asked for the release of the sons of




had originally lived on the right bank of the Nam Te ; Ijutj influenced
by the Chinese and superstitious notions derived from the custom of
pigs which, when about to litter, awam across the river, he had trans-
ferred his home to the right bank.



P'ia Surasak was infatuated with the idea that the Chao.would come
to Teng on account of his sons, and at the same time he was making
overtures to the famous Black Flag leader called Ong Ba. The
feelings of this man towards him seemed very much like those of the
fly towards the spider, for he usually put off his coming with some
excuse, alleging at one time that he was keeping his grandmother's
birthday, at another, that he was detained by worshipping the spirit
of his other grandmother.

My idea had been that I should go to Muang Lai and survey along
the boundary of Siam, but my instructions were to place myself under
the orders of P'ia Surasak. His directions were that I should go to
Sep Et, meet a section of his army there, then follow the boundary
of Hua Pan Tang Ha Tang Hok, and eventually go to Nawng Kai.
De Eichelieu, who had been taken ill, left by boat for Luang Prabang
and Nawng Kai, but Collins accompanied me. On my way to Teng,
and at Teng, I was subject to severe attacks of colic ; but at Muang
Ya the attack was so prolonged that I was quite exhausted, and fever
came on. Night was made hideous by the howls of men of the
village exorcising the evil spirits from some victims of fever. I
fell ill on December 23, and it was not till January 10 that I was
able to move off again. I then went to Luang Prabang, and thence
to Bangkok.

M. Pavie had in due time reached Luang Prabang, and then
moved up the Nam U ; but when he had advanced as far as the mouth
of the Nam Nua, he met the Lao of Muang Teng in full flight from
the Haw, these marauders having been brought down by the eldest son
of Chao Lai, who intended with their help to avenge the arrest of his
brothers. M. Pavie returned to Luang Prabang, which P'ia Surasak,
who was now at Paklai, had denuded of such means of defence as it
had possessed. The Haw continued their advance down the Nam U
and reached M. Ngoi. There a narrow river-gorge, over a mile
long, is commanded by a hill, whose limestone cliffs rise perpen-
dicularly from the water. In the gorge the river is very deep, but the
current is imperceptible, and boats descending can make no pro-
gress against a head wind. No hostile band anticipating opposition
would attempt to force a passage, but the Haw evidently knew the
men they were dealing with. They ascended the hill, and, seizing
the excellent mountain howitzers, which had been provided for the
defence of the position, rolled them over the cliffs into the river.



THE SACK OF LUANG PRABANQ. 109

They then pushed on to Luang Prabang, and took up their quarters
at Wat Chieng Tawng. Before their arrival M. Pavie and the
Siamese commissioner had left. The Chao Uparaj had also left, but
was recalled by the chief, who was determined to die in Luang
Prabang. One of the chiefs sons enrolled some twenty Burmans as
a special bodyguard for his father.

The Haw now acted in accordance with their usual barbarity.
Beginning at the Wat, where they had chosen their quarters, they




VIEW OF LUANG PllABANQ FROM HILL ON RIGHT UANK OF THE ME KAWXG.'i

extended their murderous work throughout the town. The Chao
Uparaj was put to death, and the old chief was compelled by his sons
and Burman guard to go on board a boat, where one of his sons was
shot before his eyes. Luang Prabang was fired and looted ; but the
historic golden statue of Buddha, called "Pra Bang," had been
already secured by a wily old Lao, who had carried it off and buried
it. The old chief met M. Pavie lower down the river, and together
they went to Paklai, the chief going on to Bangkok.

During the next dry season the French made a final effort to
subdue the outlying province of Tonkin, and invited the Siamese to
co-operate with them. The Siamese army, under P*ia Surasak,
however, had not left the valley of the Me Nam when the French
attacked the Black Flags at Laokai, marched to Muang Lai, and then
established themselves at Muang Teng, where, meeting with no oppo-
sition, they quietly assumed jurisdiction over the Sibsawng Chu Tai.
Meanwhile M. Pavie, who had been provided with a Siamese escort,
to whose plucky behaviour on one occasion, when surrounded by the
Haw, he owed his life, had been travelling all through the Sibsawng
Chu Tai, and ultimately joined the French troops.

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 10:10

เรื่องฝรั่งเศยื่นมือเข้ามาปราบฮ่อนั้น  น่าจะเป็นเพราะเป็นการตัดการรบกวนเมืองญวนของฝรั่งเศส  อีกประการฝรั่งเศสต้องการสิบสองจุไมยที่ติดกับพรมแกนจีนด้วย
บันทึกการเข้า
bunnaroth
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 15:29

โอ  ตกใจ ค้นต่อไปเรื่อยยิ่งสนุกครับ
มุมของ อ.ไกรฤกษ์ ศิลปวัฒนธรรม ส.ค.2555  บอกว่า

การที่มณฑลลาวพวนเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับแคว้นตังเกี๋ยของญวน ทำให้ฝรั่งเศสหาเหตุที่จะเข้ามาครอบครองเมืองสิบสองจุไท และเมืองหัวพันห้าทั้ง หก ซึ่งฝรั่งเศสเหมารวมว่าเป็นพื้นที่ในอาณัติของญวน เป็นเหตุผลสำคัญที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีถูกส่งไปที่นั่น แต่ในประวัติศาสตร์ไทยมักจะเขียนแต่ว่าท่านไปปราบฮ่อเท่านั้น

http://haab.catholic.or.th/article/articleart1/art35/art35.html

ฮ่อมิใช่กองโจรธรรมดาที่ยกพวกเข้ามาปล้นสะดมหัวเมืองในเขตแดนลาวพวนและตังเกี๋ยเท่านั้น แต่ในช่วงที่ฮ่อเข้ามานี้ยังประจวบกับการที่กองทัพฝรั่งเศสกำลังทำสงครามตังเกี๋ย (Sino-French War 1884-85) อีกด้วย ทำให้เป้าหมายของพวกฮ่อ และการม าของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีก็ยังมีนัยยะอื่น นอกจากจับโจรกระจอกแล้ว กล่าวคือ

.ฮ่อมิใช่กองโจรที่หลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าตามเขาเท่านั้น แต่พวกฮ่อธงดำ ยังตั้งตัวเป็นเจ้าพ่อเก็บค่าคุ้มครองจากเรือโดยสาร และเรือสินค้าที่ขึ้นล่องอยู่ในแม่น้ำแดง และแม่น้ำดำซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักจากจีนตอนใต้ ผ่านเขตตังเกี๋ยของญวนไป ออกอ่าวตังเกี๋ยและทะเลใหญ่ เมื่อฝรั่งเศสกำลังสำรวจแม่น้ำแกง เพื่อหาเส้นทางใหม่ไปสู่ตลาดการค้าในมณฑลยูนนานของจีน จึงต้องเผชิญหน้ากับอิทธิพลของฮ่อโดยตรง ฮ่อจึงเป็นศัตรูและ คู่อริสำคัญของฝรั่งเศสไม่น้อยไปกว่าราชสำนักจีนและญวนซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นในพื้นที่

. โจรจีนฮ่อมิใช่โจรกระจอกที่ไร้ประโยชน์เสมอไป เพราะมีหลักฐานว่า เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสส่งกองกำลังติดอาวุธเข้ามาจะตีกรุงฮานอยนั้น รัฐบาลญวนซึ่งรู้ตัวว่าจะสู้ไม่ได้ จึงได้เชื้อเชิญหัวหน้าพวกฮ่อธงดำ โดยเสนอผลประโยชน์ให้อย่างงามหากยกพลเข้ามาช่วยต่อต้านฝรั่งเศสที่เข้ามาประชิดฮานอย ความกล้าหาญของพวกฮ่อทำให้กองทัพฝรั่งเศสแตกกระเจิงไป และฟรานซิส การ์นิเอ วีรบุรุษและนักสำรวจผู้โด่งดังของฝรั่งเศสก็ถูกปลิดชีวิตที่นี่โดยพวกฮ่อนั่นเอง เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๑๘๗๓ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าฮ่อธงดำมีบทบาทและวีรกรรมอยู่ไม่น้อยในการต่อสู้กับผู้คุกคามในนามของผู้พิทักษ์ประจำท้องถิ่น

๓. การที่ฝรั่งเศสทำสงครามตังเกี๋ยกับจีนจนเป็นฝ่ายชนะ และได้ครอบครองตังเกี๋ยซึ่งเป็นเมืองขึ้นของจีนมาก่อนนั้น ฝรั่งเศสยังมีโครงการมากกว่า ดินแดนตังเกี๋ย โดยคิดที่จะยึดครองดินแดนลาวพวนเพิ่มขึ้นอีก เพราะเป็นที่ทับซ้อนกับตังเกี๋ย ปัญหามีอยู่ว่า สยามอ้างการถือครองกรรมสิทธิ์เขตลาวพวนแต่ผู้เดียว ฝรั่งเศสจึงไม่มีทางเลือกที่จะต้องเอาชนะฐานอำนาจเก่าในบริเวณนี้ทั้งหมด นอกจากจีนแล้วก็ยังมีสยามกันท่าอีก ในทางลึกแล้วเป้าหมายต่อไปคือ การได้ครอบครองสิบสองจุไท และก็แย่งชิงไปได้จริงๆ โดยพลการ ใน พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) ในปีเดียวกับที่ชนะสงครามตังเกี๋ยนั่นเอง

๔. การที่รัฐบาลฝรั่งเศสส่ง ม.ปาวี มาเป็นกงสุลประจำเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) และตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าคณะสำรวจปาวี (Mission Pavie) ก็เพื่อจะเร่งสำรวจเส้นทางระหว่างตังเกี๋ยกับหลวงพระบาง และแสวงหาลู่ทางเพื่อเตรียมปฏิบัติการยึดแคว้นสิบสองจุไท ซึ่งขึ้นอยู่กับหลวงพระบาง จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าฝรั่งเศสมีเป้าหมายครอบครองพื้นที่ทับซ้อนเหนือมณฑลลาวพวนทั้งหมด ซึ่งก็หมายถึงดินแดนบนฝั่งซ้ายขอ งแม่น้ำโขง ดังนั้น สงครามตังเกี๋ยซึ่งบานปลายเข้ามาถึงมณฑลลาวพวน ก็ค่อยๆ ตกผลึกมาเป็นข้อพิพาทในวิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือรบเข้ามากดดันสยามที่ปากน้ำเจ้าพระยาในอีก ๘ ปีต่อมา

. จากเหตุผลในข้อ ๔ ยังหมายความว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกกองทัพขึ้นมาที่หลวงพระบางมิใช่แต่จะปราบฮ่ออย่างเดียว แต่ยังเป็นการแสดงออกโดยพฤตินัยว่า สยามเป็นเจ้าของดินแดนลาวพวนโดยชอบธรรม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจึงต้องจัดทัพขึ้นมาปกป้องคุ้มครองตามหน้าที่

.....

การที่ฝรั่งเศสเข้ายึดดินแดนสิบสองจุไทไว้โดยพลการในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) ได้กลายเป็นชนวนให้ฝรั่งเศสและสย ามถลำลึกลงสู่ก้นบึ้งของความขัดแย้ง และข้อพิพาทที่ยืดเยื้อต่อมาอีก ๘ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓) หรือวิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 16:15

เอกสารฝ่ายไทย

ท่านแม่ทัพและมองซิเออร์ ปาวีได้หารือข้อราชการ ซึ่งท่านแม่ทัพแจ้งว่ามีความประสงค์อยากจะให้ทำแผนที่ในเขตสิบสองจุไทยตลอดหัวพันทั้งห้าทั้งหกเสียชั้นหนึ่งก่อนและให้ทำโดยเร็ว มองซิเออร์ ปาวีตอบว่า ส่วนหัวพันทั้งห้าทั้งหกที่ทหารไทยเข้าไปตั้งอยู่แล้วนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสมิได้ล่วงล้ำเข้าไป แต่เมืองสิบสองจุไทยนั้น ฝรั่งเศสได้เข้าไปตั้งอยู่แล้ว ครั้นจะขึ้นไปทำการ เกรงจะเป็นที่บาดหมางกันขึ้น ด้วยการแผนที่ฝ่ายฝรั่งเศสได้ทำไว้โดยเรียบร้อยพอที่จะตัดสินเขตแดนได้แล้ว เห็นว่าไม่ต้องทำอีก และว่า ข้าหลวงทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในกองทัพของแต่ละฝ่ายก็ได้กลับไปแล้ว เห็นว่าเป็นการสิ้นคราวทำแผนที่แล้ว

ท่านแม่ทัพยืนยันว่า ". . . ส่วนสิบสองจุไทยนี้นับว่าเป็นพระราชอาณาเขต ตามที่มองซิเออร์ ปาวีได้กล่าวนั้นหาสมควรไม่ เพราะได้ตัดสินด้วยเขตแดนตกลงกันแล้วหรือ ซึ่งมองซิเออร์ ปาวีจะถือเป็นเขตส่วนฝรั่งเศสนั้นยังไม่ควรก่อน คำสั่งของเกาเวอนแมนต์สำหรับกองทัพยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง ข้าพเจ้าจะต้องทำตามเดิม . . ." ในที่สุด " . . . เมื่อจำเป็นแล้ว ก็จะรักษาการมิให้มัวหมองทั้ง ๒ ฝ่าย"

วันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย (๑๗ ธันวาคม ๒๔๓๑) มองซิเออร์ ปาวีได้มาหาท่านแม่ทัพ ได้สนทนากันด้วยเรื่องเมืองแถงเป็นพื้น แม่ทัพได้เล่าให้ฟังว่าจะจัดการเมืองแถงอย่างไร มองซิเออร์ ปาวีก็พูดจาขัดขวางต่างๆ ดูประหนึ่งว่าเมืองแถงเป็นของฝรั่งเศส ท่านแม่ทัพจึงต้องชี้แจงว่า เมืองแถงนี้เป็นพระราชอาณาเขตของไทยมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว . . . ผู้ไทยดำนั้นใช้แซ่อย่างจีน แต่อักษรที่ใช้เป็นอักษรสยาม แต่พวกลาวหัวพันทั้งห้าทั้งหกและเมืองพวน เป็นเมือง ๒ ฝ่ายฟ้าคือขึ้นกับลาวและญวน เมืองสิบสองจุไทย และสิบสองปันนา เรียกว่า ๓ ฝ่ายฟ้า ขึ้นอยู่กับลาว ญวน และจีน เมืองเหล่านี้เป็นเมืองในพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น และได้กล่าวถึงการปราบฮ่อครั้งที่ผ่านมาซึ่ง มองซิเออร์ ปาวีได้ทราบดีอยู่แล้ว ในตอนท้านท่านแม่ทัพได้กล่าวว่า ". . . ถ้าสิ่งใดควรจะยอมให้กับท่านได้โดยที่ข้าพเจ้าไม่ต้องได้รับความผิดแล้ว ข้าพเจ้าก็จะยอมให้เพื่อช่วยท่านทุกอย่าง"

มองซิเออร์ ปาวีซึ่งตระหนักดีไม่อาจโต้ตอบได้จึงไถลไปพูดเรื่องฮ่อว่าองบา องทั่งได้เข้าสวามิภักดิ์ฝรั่งเศสหมดแล้ว (องบาตายแล้วแต่มองซิเออร์ ปาวียังไม่เล่าให้แม่ทัพฟัง) ท่านแม่ทัพก็ชี้แจงว่าพวกฮ่อเหล่านี้ก็ให้หัวหน้ามาหาทหารไทย เพื่อขออ่อนน้อมด้วยเหมือนกัน และอธิบายวิธีที่จะดำเนินการต่อพวกฮ่อ มองซิเออร์ ปาวีว่าขอให้รอกอมอดอง (Commannder) มาจากเมืองลาก่อนแล้วจะได้พูดตกลงกัน และว่าไทยกับฝรั่งเศสต้องไปจัดราชการที่เมืองคำเกิดคำม่วน ท่านแม่ทัพตอบว่า ยังไม่ได้รับคำสั่งจากกรุงเทพฯ

วันรุ่งขึ้น มองซิเออร์ ปาวีมาพบท่านแม่ทัพอีกกล่าวว่า เมืองแถง เมืองสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นเมืองขึ้นของญวนโดยแท้ บัดนี้ รัฐบาลได้มีคำสั่งให้มองซิเออร์ ปาวีมาจัดการรักษาเมืองเหล่านี้ ขอให้เยเนอราล (นายพล หมายถึงท่านแม่ทัพ) เห็นแก่ทางพระราชไมตรีทั้งสองฝ่ายให้ถอนทหารไทยออกจากเมืองเหล่านี้

ท่านแม่ทัพได้ชี้แจง และว่า ". . . การที่ท่านจะให้ข้าพเจ้าถอนทหารจากเมืองเหล่านี้นั้น ข้าพเจ้าทำไม่ได้ ถ้าขืนทำไปก็จะได้รับความผิด เพราะผิดจากคำสั่งของรัฐบาลของข้าพเจ้า มองซิเออร์ ปาวีว่าเรื่องการลงโทษรับรองไม่ให้รัฐบาลไทยลงโทษได้ ท่านแม่ทัพตอบว่า ถ้ายอมทำตามว่า ก็ต้องเป็นคนไม่รักชาติ ไม่สมกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระแสงอาญาสิทธิ์ให้เป็นแม่ทัพ . . . เมื่อท่านจะหักหาญเอาโดยอำนาจ ข้าพเจ้ายอมตายในเมืองแถงนี้ . . .

มองซิเออร์ ปาวีเจอไม้นี้เข้าก็เลยตอบว่า ไม่เป็นเช่นนั้น ท่านเยเนอราลต้องการอย่างไรขอให้บอกให้ทราบ ท่านแม่ทัพจึงว่า กองทัพสยามตั้งรักษาเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกอยู่แล้ว ส่วนเมืองสิบสองจุไทยนั้นกองทัพฝรั่งเศสก็ได้ตั้งอยู่ และเมืองแถงทหารไทยได้ตั้งรักษาการอยู่ก่อนแล้ว บัดนี้ ฝรั่งเศสได้ยกเข้ามาตั้งในค่ายเชียงแลด้วยกัน โดยเหตุนี้ ทหารไทยและทหารฝรั่งเศสรักษาความสงบอยู่ด้วยกันกว่ารัฐบาลจะตัดสินเขตแดนตกลงกัน ซึ่งมองซิเออร์ ปาวีก็รับรอง และได้ทำหนังสือไว้ต่อกัน

หนังสือสัญญา ๙ ข้อ ซึ่ง พระยาสุรศักดิ์มนตรี แม่ทัพฝ่ายสยาม กอมอดองเปนนากา มองซิเออร์ ปาวีแปรซิดองเดอลากอมิศยองฝรั่งเศส ได้ตกลงกันที่เมืองแถง ตกลงที่จะจัดการเมืองสิบสองจุไทย เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวนให้เป็นที่เรียบร้อยในระหว่างที่เกาเวอนแมนต์ทั้งสองฝ่ายยังมิได้ตกลงแบ่งเขตแดนกัน จะรักษาการไว้จนกว่าจะตกลงกัน สรุปได้ ดังนี้

๑. ฝ่ายฝรั่งเศสจะตั้งอยู่ในตำบลแขวงสิบสองจุไทย ฝ่ายทหารไทยจะตั้งอยู่ในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวน
๒. เมืองแถงนั้น ทหารไทยและทหารฝรั่งเศสจะพร้อมกันตั้งรักษาการอยู่ในเมืองแถงทั้ง ๒ ฝ่าย จะรักษาการโดยสุภาพเรียบร้อย เมื่อฝ่ายใดจะมีการหรือจะใช้คนไปมาในตำบลที่อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ ก็ให้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบก่อน จะได้ช่วยการนั้นให้สำเร็จตามสมควร
๓. ฝ่ายเมืองไลนั้น ฝรั่งเศสได้ตั้งรักษาอยู่แล้ว บุตรท้าวไลก็เข้ายอมฝรั่งเศสแล้ว แต่คำสาม คำฮุย ท้าวม่วยยังอยู่ในกองทัพไทย ขอให้ฝรั่งเศสส่งไปหาบิดา แต่คนเมืองหลวงพระบางที่ฮ่อตีเอาไปนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสจะช่วยส่งคืนยังเมืองแถงยังกองทัพไทยที่ตั้งอยู่นั้น
๔. ฝ่ายเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวนนั้น กองทหารไทยได้ตั้งรักษาการอยู่หลายตำบล ฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงจะไม่ล่วงเข้าไปในตำบลนั้น
๕. พวกฮ่อยังตั้งอยู่หลายตำบลตามเขตญวน เขตสิบสองจุไทย เขตหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเขตพวนนั้น จะช่วยกันจัดการให้เป็นที่เรียบร้อยทั้งสองฝ่าย
๖. เจ้าพนักงานกองเซอรเวฝ่ายไทย จะได้ตรวจเซอรเวไปในที่ๆ ฝรั่งเศสตั้งอยู่ ฝ่ายฝรั่งเศสจะให้หนังสือนำให้ทำการไปโดยสะดวกและจะจัดทหารรักษาไปไม่ให้มีอันตรายเหมือนกับฝ่ายไทยได้จัดการรักษาการเซอรเวของฝรั่งเศสนั้น จะส่งจนถึงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกซึ่งกองทหารไทยตั้งอยู่
๗. ราษฎรในเมืองแถงซึ่งเที่ยวแตกอยู่ตามป่าดงหลายตำบลนั้น ฝ่ายไทยจะประกาศให้กลับภูมิลำเนาเดิม ตามความสมัครใจของราษฎร
๘. จะเรียกกรมการท้าขุนที่เป็นหัวหน้าที่มีอยู่ในเมืองแถงให้มาพร้อมกันทั้งสองฝ่าย พูดชี้แจงไม่ให้หวาดหวั่น
๙. หนังสือราชการฝ่ายฝรั่งเศสที่จะส่งไปยังเมืองหลวงพระบาง หรือฝ่ายเมืองหลวงพระบางจะส่งขึ้นมายังเมืองแถง ฝ่ายไทยจะช่วยเป็นธุระ รับหนังสือนั้นส่งไปมาให้โดยสะดวก
การกล่าวมาข้างต้นทั้ง ๙ ข้อ ได้พร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่ายเห็นตกลงกันได้เซ็นชื่อไว้ในท้ายหนังสือนี้ทั้ง ๒ ฝ่าย
เมืองแถง ณ วันเสาร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิศก ๑๒๕๐ (ตรงกับ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑)

เมื่อได้ทำสัญญาชั่วคราวกับฝรั่งเศส ปรับกำลังนายทัพนายกองที่ชำนาญเชิงอาวุธไปตั้งประจำด่านทางในที่สำคัญหลายตำบล และมั่นใจว่าได้จัดการเรื่องรักษาพระราชอาณาเขต และระงับเหตุที่พวกฮ่อก่อการกำเริบเรียบร้อยแล้ว ท่านแม่ทัพก็ได้เลื่อนกองทัพใหญ่กลับเมืองนครหลวงพระบางเพื่อจัดราชการอื่นต่อไป ได้เดินทางถึงเมื่อ วันศุกร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับ วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๓๑
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 16:22

ทหารไทยสวนสนามเข้าเมืองหลวงพระบาง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 16:28

จมื่นไวยวรนารถ หรือ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นามเดิมของท่านคือ เจิม แสงชูโต แม่ทัพไทย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 16:33

มองซิเออร์ ปาวี กับท่านแม่ทัพ นายทหารและข้าหลวงสยาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.109 วินาที กับ 19 คำสั่ง