เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 25585 คำว่า "เพิ่ง" เขียนเป็น "พึ่ง"
kiwi
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


 เมื่อ 19 ก.พ. 13, 17:28

เดี๋ยวนี้อ่านบทความตามหน้าหนังสือพิมพ์  เห็นใช้คำว่า "พึ่ง" แทนคำว่า "เพิ่ง" อยู่บ่อย ๆ  ทั้ง ๆ ที่ผู้เขียนเหล่านั้นก็อายุไม่น้อยแล้ว  เคยเขียนไปทักท้วงอยู่รายหนึ่ง  เขาก็ขอโทษและขอบคุณ  และออกตัวว่าเป็นการใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน  ดิฉันว่าไม่เหมือนกับที่เราเขียนคำว่า "ใช่มั๊ย" แทน "ใช่ไหม"  อันนี้สิคือการใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน  ท่านอื่น ๆ มึความคิดเห็นอย่างไรบ้างคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 19:04

ภาษามีการเปลี่ยนแปลงกันทุกเมื่อเชื่อวันค่ะ    เปลี่ยนตัวสะกด เปลี่ยนเสียง   เหมือน  โอเค กลายเป็น โอเช 
ถ้าฟังจากเสียงแล้ว เพิ่ง กับ พึ่ง คล้ายกันมากจนเพี้ยนกันไปได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 19:28

น่าสนจัย จุงเบย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 19:49

จิงหรอ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 20:39

๑. รอยอินท่านให้ศักดิ์ของคำว่า "เพิ่ง" และ "พึ่ง" เสมอกัน 

พึ่ง ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง, เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.

ท่านแถมให้อีก ๒ คำคือ "เพ่อ" และ "เพิก" คำหลังนี้มีใครเคยได้ยินบ้าง ยกมือขึ้น   ยิงฟันยิ้ม

๒. "ใช่มั้ย" นี่แหละภาษาพูดตัวจริง ใช้ไม้โท ไม่ใช่ ไม้ตรี

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 14:15

สอบถามเพิ่มเติมครับ

คำว่า "ปกติ" กับ "ปรกติ" มีความแตกต่างในการใช้งานไหมครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 14:28

"ปกติ" อ่านว่า ปะ-กะ-ติ (ระยะหลังรอยอินท่านบอกว่า อ่านว่า ปก-กะ-ติ ก็ได้) มาจากบาลี ส่วน "ปรกติ" อ่านว่า ปรก-กะ-ติ มาจากสันสกฤต แปลเหมือนกันว่า  ธรรมดา, เป็นไปตามเคย, ไม่แปลกไปจากธรรมดา

ชอบคำไหน ก็ใช้คำนั้น

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 15:54

๑. รอยอินท่านให้ศักดิ์ของคำว่า "เพิ่ง" และ "พึ่ง" เสมอกัน 

พึ่ง ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง, เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.

ท่านแถมให้อีก ๒ คำคือ "เพ่อ" และ "เพิก" คำหลังนี้มีใครเคยได้ยินบ้าง ยกมือขึ้น   ยิงฟันยิ้ม

๒. "ใช่มั้ย" นี่แหละภาษาพูดตัวจริง ใช้ไม้โท ไม่ใช่ ไม้ตรี



เคยเห็นครับ ชายาเพ็ญ..... ยิงฟันยิ้ม   มี เพิกเฉย คร้าบ
บันทึกการเข้า
kiwi
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 16:45

ขอขอบคุณทุกท่านค่ะ  แต่ว่ารอยอินนี่ใครคะ  เห็นในเรือนไทยบ่อย ๆ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 17:57

ยังไม่มีคนเข้ามาตอบ ขอตอบแทนก่อนครับ

รอยอิน คือ ที่นี่   http://www.royin.go.th/th/home
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 20:18


เคยเห็นครับ ชายาเพ็ญ..... ยิงฟันยิ้ม   มี เพิกเฉย คร้าบ

เพิกถอน ก็มีจ้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 20:20

ยังไม่มีคนเข้ามาตอบ ขอตอบแทนก่อนครับ

รอยอิน คือ ที่นี่   http://www.royin.go.th/th/home

ขอบคุณค่ะคุณ SILA 
รอยอินเป็นชื่อเล่นของเว็บราชบัณฑิตยสถาน ที่ชาวเรือนไทยเรียกกันค่ะ   พิมพ์สั้นและง่ายกว่า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 20:29

เพิกถอน ก็มีจ้า

เพิก ๑ ว. เพ่อ, เพิ่ง, พึ่ง.
 
เพิก ๒ ก. ถอน, ถลกออก, เบิก.

"เพิก" ใน "เพิกถอน" เห็นทีจะอยู่่ความหมาย ๒


 
 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 ก.พ. 13, 23:10

๑. รอยอินท่านให้ศักดิ์ของคำว่า "เพิ่ง" และ "พึ่ง" เสมอกัน 

พึ่ง ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง, เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.

ท่านแถมให้อีก ๒ คำคือ "เพ่อ" และ "เพิก" คำหลังนี้มีใครเคยได้ยินบ้าง ยกมือขึ้น   ยิงฟันยิ้ม

๒. "ใช่มั้ย" นี่แหละภาษาพูดตัวจริง ใช้ไม้โท ไม่ใช่ ไม้ตรี



น่าจะเพราะพี่รอยเอง ก็ไม่มั่นคงในหลักการกระมังครับ ภาษาถึงได้เพี้ยนไปเรื่อย  ๆ  ทุกวัน
บันทึกการเข้า
atsk
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ก.พ. 13, 19:18

คนเก่าแก่แถวนครปฐม มักจะพูดว่า  อย่าเพ่อไป   อย่าเพ่อทำ  และหลายๆเพ่อ 

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง