เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 12843 คดีพระยาพิพิธฤทธิเดชถวายผู้หญิง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 18 ก.พ. 13, 21:15

มาฟันเฟิร์มว่าไม่เกี่ยวข้องค่ะ   ดูได้จากที่มาของชื่อ
ซ้าย = เพ็ญชมพู       ขวา = เทาชมพู

ขออนุญาตอธิบายที่มาของชื่อ

สีชมพูมีความหมายในหลายสิ่ง
คือสุขยิ่งคือความรักสมัครสมาน
คือมิตรภาพคืออายุยืนยาวนาน
คือสีหวานแห่งมหา'ลัยในพระนาม

เพ็ญชมพู "ชมพูเต็ม" เต็มด้วยสุข
สนานสนุกเต็มด้วยรักชักวาบหวาม
เต็มด้วยมิตรภาพในวัยอันงาม
หวังทุกยามเรือนไทยนี้สีชมพู


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 ก.พ. 13, 21:18

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2401   เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลทางฝั่งตะวันออก  คือชลบุรี  จันทบุรี และตราด  

จากประกาศเรื่องพระยาพิพิธฤทธิเดชผู้สำเร็จราชการเมืองตราษส่งหญิงเข้ามาถวาย ๓ คน ปีมะเมีย สัมฤทธิศก กล่าวถึงวันเวลาตอนนี้ว่า

"ด้วย ณ วันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ ปีมะเสง นพศก เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคออกไปทรงประพาสทางทเลตั้งแต่เมืองชลบุรีออกไปจนถึงเมืองจันทบุรีเมืองตราษ"

เหตุการณ์ที่เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เกิดเมื่อเดือนยี่ ปีมะเส็ง นพศก คือ จ.ศ. ๑๒๑๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๐

แต่เรื่องไม่จบ  เพราะในปีต่อมานั้นเอง  มารดาของหญิงสาวมาร้องเรียนถวายฎีกาว่า  พระยาพิพิธฯ ไปคร่าเอาตัวลูกสาวมาจากพ่อแม่ที่ไม่ได้มีความผิดอะไร    เพื่อจะส่งตัวมาถวายพระเจ้าแผ่นดิน  บิดามารดาของหญิงสาวไม่ยินดีให้ลูกสาวเข้ามาอยู่ในวัง   จะมาถวายฎีกาเพื่อขอลูกสาวกลับไป

"ครั้น ณ เดือน ๙ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก มารดาของหญิงคนเหนึ่งเข้ามาทำเรื่องราวถวายฎีกากล่าวโทษพระยาพิพิธฤทธิเดช กรมการว่าบิดามารดาหญิงไม่มีความผิด พระยาพิพิธฤทธิเดชให้มาจับมาจำ เร่งรัดเอาบุตรหญิงได้แล้ว ส่งตัวเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย บิดามารดาไม่ยอมยินดี จะขอบุตรกลับไป "

เหตุการณ์ถวายฎีกากล่าวโทษพระยาพิพิธฤทธิเดช เกิดขึ้นในเดือน ๙ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก คือ จ.ศ. ๑๒๒๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๑


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 18 ก.พ. 13, 21:28

มาฟันเฟิร์มว่าไม่เกี่ยวข้องค่ะ   ดูได้จากที่มาของชื่อ
ซ้าย = เพ็ญชมพู       ขวา = เทาชมพู

ขออนุญาตอธิบายที่มาของชื่อ

ขออำภัย   คุณเพ็ญชมพูเคยอธิบายมาแล้ว แต่ดิฉันไม่เก๊ทจนแล้วจนรอด  เศร้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 14:05

ประกาศกระทู้
เจ้าเรือนขอยกเรื่องพ.ศ. /จ.ศ./ร.ศ.  และจะมีอีกกี่ ศ. ก็ตามให้ซายาเพ็ญรับผิดชอบบวกลบคูณหารหาคำตอบแต่ผู้เดียว  จะผิดจะถูกยังไง  โปรดอ่านกันเองจากค.ห.ของท่านผู้นี้     ส่วนดิฉันซึ่งเป็นโรคแพ้ตัวเลขชนิดเรื้อรัง  จะไม่บวกไม่ลบ ไม่คูณไม่หาร ซ้ำซาก   บอกแล้วบอกเลย เล่าหนเดียวพอ   เพื่อให้เรื่องเดินหน้าต่อไป จบกระทู้เร็วๆจะได้เริ่มกระทู้ใหม่ต่อไปอีก  เพราะยังมีอยู่ในคิวอีกเยอะ

อย่างไรก็ตาม ถ้าสมาชิกท่านใดถนัด และ/หรือมีความสนใจเรื่องพ.ศ. /จ.ศ./ ร.ศ. และอีกหลายๆ ศ.  โปรดร่วมวงกับซายาเพ็ญได้ตามปรารถนา    เจ้าเรือนไม่มีข้อขัดข้องแต่อย่างใด
จึงขอประกาศมาให้ทราบทั่วกัน
 แลบลิ้น  แลบลิ้น  แลบลิ้น
***********************
เรื่องพ่อแม่ร้องเรียนยังไม่จบ  ในปีเดียวกัน(ซึ่งคุณซายาเพ็ญจะบอกเองว่าเป็นวันเดือนปีอะไร)  ก็มีแม่มากล่าวโทษพระยาพิพิธฯอีกเหมือนครั้งก่อน  ว่าไปเอาลูกสาวเขามาโดยพ่อแม่เขาไม่ได้ตกลงปลงใจด้วย     พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงตัดสินให้ลูกสาวกลับไปอยู่กับพ่อแม่  เงินและผ้าที่พระราชทานให้มาก่อนก็คืนให้ทำขวัญ แบบเดิม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 14:10

เรื่องพ่อแม่ร้องเรียนยังไม่จบ  ในปีเดียวกัน(ซึ่งคุณซายาเพ็ญจะบอกเองว่าเป็นวันเดือนปีอะไร)  

ครั้น ณ วันพุธ เดือน ? ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก มารดาของหญิงอีกคนหนึ่ง เข้ามาทำเรื่องราวทูลเกล้าถวายกล่าวโทษพระยาพิพิธฤทธิเดชการมการ ว่าด้วยบุตรเหมือนอย่างครั้งก่อน


"ด้วย ณ วันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ ปีมะเสง นพศก เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคออกไปทรงประพาสทางทเลตั้งแต่เมืองชลบุรีออกไปจนถึงเมืองจันทบุรีเมืองตราษ"

เหตุการณ์ที่เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เกิดเมื่อเดือนยี่ ปีมะเส็ง นพศก คือ จ.ศ. ๑๒๑๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๐


อันที่จริงเริ่มตั้งแต่เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค  ถ้านับวันเดือนปีอย่างปัจจุบันคือเริ่มพุทธศักราชเมื่อเดือนมกราคม ไม่ใช่เริ่มนับเมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เหมือนในสมัยรัชกาลที่ ๔  ก็น่าจะตกอยู่ใน พ.ศ. ๒๔๐๑ เช่นกัน

ดังนั้นถ้านับอย่างปัจจุบัน ตั้งแต่เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค จนถึงถวายฎีการอบสอง จึงอยู่ในปีเดียวกัน



บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 14:15

มาลงชื่อเรียนค่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 14:16

เรื่องนี้ เห็นทีจะปิดเป็นความลับได้ยาก   เพราะพระยาพิพิธฯโดนร้องเรียนถวายฎีกาเข้าหลายครั้ง ไม่ใช่ครั้งเดียว(ซายาเพ็ญคงจะนับจำนวนครั้งมาให้เอง ถ้าอยากทำ) ขาเม้าท์ในสมัยนั้นก็คงจะมีไม่น้อยกว่าสมัยนี้    ว่าพระยาพิพิธฯไปบังคับลูกสาวมาจากชาวบ้านมาถวายหลายคน เจอข้อหาหลายครั้ง    เหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษว่ากระทำผิด     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็คงจะทรงรู้ข้อครหาเหล่านี้  จึงทรงเฉลยเอาไว้ในประกาศเรื่องนี้  สรุปได้ความอย่างที่บอกมาในค.ห.ก่อนหน้านี้ว่า  หญิงสาวเหล่านั้นไม่ใช่ลูกคนอื่น แต่เป็นญาติวงศ์วานว่านเครือของพระยาพิพิธฯ เอง

ทรงเห็นว่าพระยาพิพิธฯ ทำเช่นนี้ก็เพื่อจัดแจงให้ลูกหลานหญิงเข้ามารับราชการ อยู่อุ่นหนาฝาคั่งกับเจ้าจอมมารดาจันทร์ และพระเจ้าลูกเธอทักษิณชาให้เป็นเกียรติยศ      พ่อแม่ผู้หญิงก็ได้หน้าและอาจจะได้บรรดาศักดิ์ต่อไป ที่ลูกสาวมารับราชการในพระบรมมหาราชวัง     ตีความได้อีกอย่างว่า หากหญิงสาวเหล่านี้มีวาสนาได้เป็นเจ้าจอมในภายหน้า  พ่อแม่ก็พลอยมีหน้ามีเกียรติไปด้วย
แต่ว่าพ่อแม่หญิงเหล่านี้เป็นคนบ้านนอก   ไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรงาม   อะไรเป็นคุณเป็นโทษ   ก็เลยมาขอเอาลูกกลับไป

พระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าความคิดของพ่อแม่แบบนี้เอามาเป็นมาตรฐานไม่ได้   นี่คือพูดอย่างเบาๆตามภาษาสมัยนี้  แต่ในสมัยโน้นท่านเรียกว่า "ความคิดเหมือนคนเสียจริต  เอามาเป็นประมาณไม่ได้"
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 14:32

มานั่งหลับอยู่หลังห้องรอคุณครูมาสอนต่อ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 ก.พ. 13, 14:42

แต่ว่าพ่อแม่หญิงเหล่านี้เป็นคนบ้านนอก   ไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรงาม   อะไรเป็นคุณเป็นโทษ   ก็เลยมาขอเอาลูกกลับไป

พระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าความคิดของพ่อแม่แบบนี้เอามาเป็นมาตรฐานไม่ได้   นี่คือพูดอย่างเบาๆตามภาษาสมัยนี้  แต่ในสมัยโน้นท่านเรียกว่า "ความคิดเหมือนคนเสียจริต  เอามาเป็นประมาณไม่ได้"

ในประกาศฯ ท่านว่าไว้ดังนี้

"ความคิดของบิดามารดาหญิงเด็กเหล่านั้น เปนคนนอกกรุงไม่รู้ว่าอะไรงามไม่งามจะเปนคุณเปนโทษ ความคิดเหมือนคนเสียจริตจะเอาเปนประมาณไม่ได้ พระยาพิพิธฤทธิเดชจะคิดดังนี้ จึงกดขี่ข่มเหงเอาตามใจตัว ด้วยคิดว่าเปนผู้ใหญ่ในวงศ์ญาติรู้จักดีชั่วงามไม่งาม มิใช่ว่าไปข่มเหงฉุดลากผู้อื่น ซึ่งไม่ได้เปนญาติเปนข้าเจ้าบ่าวนายอื่นมา จะเหนว่าเปนผิดไม่ได้"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ก.พ. 13, 09:19

   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของพระยาพิพิธฯที่เร่งรัดเอาลูกหลานผู้หญิงเข้ามาถวายในวังหลวง  ในเมื่อพระยาพิพิธฯเป็นผู้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา   การเอาลูกหลานมาถวายเจ้านายเหนือหัวของตน ก็เปรียบได้กับ "ขนทรายเข้าวัด"    มิใช่ว่าเป็นการเร่งรัดบังคับเพื่อรีดเอาเงินทองจากพ่อแม่ผู้หญิง    หรือเอาไปถวายเจ้าอื่นนายอื่นเป็นการเอาความดีความชอบ   จึงทรงเห็นว่าไม่สมควรจะเอาเบี้ยปรับจากพระยาพิพิธฯไปให้ผู้กล่าวโทษ

    ทรงเท้าความว่า  เมื่อก่อนนี้ผู้หญิงคนใดเข้ามารับราชการในพระบรมมหาราชวังแล้ว  ก็ไม่มีสิทธิ์จะออกจากงาน      ถ้าคิดจะออกไปก็ต้องทำอุบายว่าป่วยเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ หรือเสียจริต   หรือเป็นผู้ร้าย  บางทีก็ต้องวิ่งเต้นเสียเงินเสียทองให้ผู้ใหญ่ในวังกราบบังคมทูล ให้พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ลาออกไปได้
   แต่มาถึงรัชกาลนี้  พระเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิกกฎดังกล่าว    ผู้หญิงคนไหนไม่สมัครใจจะรับราชการในวังก็ถวายบังคมลาออกไปได้เลย    เป็นเรื่องง่ายๆ  ไม่ต้องไปวิ่งเต้นกับใครอีก     อะไรที่พระราชทานไปแล้วก็มิได้ทรงเรียกคืน   คือพระราชทานแล้วพระราชทานเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ก.พ. 13, 21:43

   แต่มาถึงรัชกาลนี้  พระเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิกกฎดังกล่าว    ผู้หญิงคนไหนไม่สมัครใจจะรับราชการในวังก็ถวายบังคมลาออกไปได้เลย    เป็นเรื่องง่ายๆ  ไม่ต้องไปวิ่งเต้นกับใครอีก     อะไรที่พระราชทานไปแล้วก็มิได้ทรงเรียกคืน   คือพระราชทานแล้วพระราชทานเลย

รายละเอียดอยู่ใน

๑. ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าจอมอยู่งานถวายบังคมลาออกได้ แลว่าด้วยเจ้าจอมมารดาแลหม่อมห้ามที่มีหม่อมเจ้ามีผัว ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก

๒. ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตข้าราชการฝ่ายในถวายบังคมลาออก ๑๒ คน ณ วันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 ก.พ. 13, 22:39

ในประกาศเรื่องนี้ ทรงย้ำไว้ชัดเจนว่า การนำลูกหลานหญิงมาถวายแบบเดียวกับพระยาพิพิธฯ มิได้ทรงเห็นเป็นผิด     แต่ก็ทรงห้ามมิให้ขุนนางข้าราชการอื่นเอาอย่าง บังคับลูกหลานหญิงไปถวายเจ้านายองค์นั้นองค์นี้ หรือคนใหญ่คนโตอื่นๆ  ทำให้ราษฎรเดือดร้อน    แต่ถ้าถวายพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียวก็มิได้ทรงเอาโทษแต่อย่างใด       ถ้าผู้หญิงไม่สมัครใจก็กราบถวายบังคมลาออกจากพระบรมมหาราชวังได้เสมอ

เป็นอันว่าพระยาพิพิธฯก็รอดตัวไป    ไม่พบหลักฐานว่าหลังจากนั้นท่านหาลูกหลานเครือญาติหญิงมาถวายอีกหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ก.พ. 13, 13:13

ผู้ที่ผิดคือแม่ของหญิงที่มาถวายฎีกาต่างหาก

"แลมารดาหญิงจะขอเอาบุตร์ไป ก็ชอบแต่จะบอกกล่าวให้เจ้าจอมฤๅท้าวนางข้างในช่วยกราบบังคมทูลพระกรุณาขอ ฤๅมารดาหญิงแลตัวหญิงควรจะร้องถวายฎีกาแต่ในพระบรมราชวัง มารดาหญิงก็ไม่ทำดังนั้น ไปเดินเหินหานายหน้าให้ต้องเสียพัสดุทองเงิน แลเก็บเอาความข้างในใส่ในเรื่องราวไปร้องถวายฎีกาหน้าพระที่นั่งสุทไธศวริย์ ให้เปนที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศไปดังนี้ มารดาหญิงแลผู้แนะนำทำเรื่องราวมีความผิดอยู่"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 มี.ค. 13, 21:04

นึกว่าจะจบกระทู้แล้ว  คุณเพ็ญชมพูยังไม่จบ    เอ้า ไม่จบก็ไม่จบ

ผู้ที่ผิดคือแม่ของหญิงที่มาถวายฎีกาต่างหาก

"แลมารดาหญิงจะขอเอาบุตร์ไป ก็ชอบแต่จะบอกกล่าวให้เจ้าจอมฤๅท้าวนางข้างในช่วยกราบบังคมทูลพระกรุณาขอ ฤๅมารดาหญิงแลตัวหญิงควรจะร้องถวายฎีกาแต่ในพระบรมราชวัง มารดาหญิงก็ไม่ทำดังนั้น ไปเดินเหินหานายหน้าให้ต้องเสียพัสดุทองเงิน แลเก็บเอาความข้างในใส่ในเรื่องราวไปร้องถวายฎีกาหน้าพระที่นั่งสุทไธศวริย์ ให้เปนที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศไปดังนี้ มารดาหญิงแลผู้แนะนำทำเรื่องราวมีความผิดอยู่"


ในประกาศท่านบอกหรือเปล่าว่าเอาโทษแม่ของผู้หญิง เพราะว่ากระทำผิด?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 มี.ค. 13, 22:22

ท่านว่ามีความผิด แต่ไม่มีโทษ คงเพียงแต่ปรามไว้เท่านั้น

ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับหญิงที่มีผู้นำมาถวายว่า

"อนึ่งผู้หญิงบ้านนอกขอกนาเปนลูกเลขไพร่หลวงไพร่ทาสขุนนางในหลวงไม่เอาเปนเมียดอก เกลือกจะมีลูกออกมาเสียเกียรติยศ แต่เมื่อผู้นำเอาหญิงงาม ๆ มาให้ก็ดีใจอยู่ ด้วยจะให้มีกิตติศัพท์เล่าฦๅว่า ยังไม่ชราภาพนักจึงมีผู้หาเมียให้เท่านั้นดอกจึงรับไว้ แล้วให้หัดเปนลครบ้างมะโหรีบ้างเล่นการต่าง ๆ ไปโดยสมควร จะได้ทำหม่นหมองในคนต่ำ ๆ เลว ๆ นั้นหามิได้ ถ้าบิดามารดามาร้องขอตัวคืนไป ฤๅตัวร้องจะออกเองก็ไปง่าย ๆ ดี ผู้หญิงนั้นก็บริสุทธิอยู่ไม่เศร้าหมอง"

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง