เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
เรื่องนี้เป็นคดีครึกโครมคดีหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่เอามาตั้งกระทู้ เพราะไปเจอบทความอันเป็นเท็จ คนรุ่นหลังเอามาเขียนเพียงครึ่งเดียวแล้วบิดเบือนตามใจชอบ เพื่อจะก่อความเสียหายให้สถาบัน ก็เลยไปค้นหาข้อเท็จจริงมาให้อ่านกันว่าเรื่องเต็มๆเป็นยังไงค่ะ
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2401 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลทางฝั่งตะวันออก คือชลบุรี จันทบุรี และตราด พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองฯ เป็นจำนวนมาก ทรงใช้เวลาประทับแรมอยู่หลายคืน เมื่อเสด็จไปถึงเกาะช้าง ประทับแรมอยู่ที่นั่น พระองค์เจ้าทักษิณชาพระราชบุตรีและเจ้าจอมมารดา ก็มาถวายบังคมลาไปเยี่ยมญาติที่เมืองตราด ชื่อพระยาพิพิธฤทธิ์เดช ผู้สำเร็จราชการเมืองตราด และญาติอีกคนชื่อพระผลภูมิไพศาล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 16:31
|
|
เหตุการณ์ก็เรียบร้อยดีไม่มีอะไร เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯ ก็ทรงทราบความจากเจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้าทักษิณชาว่า พระยาพิพิธฯ เตรียมหลานสาวในวงศ์ตระกูลไว้ 3 คนเพื่อจะมาถวายตัวรับราชการฝ่ายใน แต่ว่าไม่ทันการ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับกรุงเทพฯเสียก่อน ก็โปรดฯให้เจ้าจอมและคุณเถ้าแก่ฝ่ายใน ไปรับตัวหญิงสาวทั้งสามมา พระราชทานเงินตราคนละ 10 ตำลึงและผ้าคนละ 3 สำรับ แล้วส่งตัวเธอทั้งสามไปหัดละครและมโหรี พร้อมกับพักอยู่กับเจ้าจอมและญาติที่รับราชการอยู่ฝ่ายใน
ความจริงเรื่องก็ควรจะจบเพียงแค่นี้ เพราะหญิงสาวสามคนนั้นก็ได้เข้ารับราชการสมกับที่ผู้ใหญ่ถวายมา ขอให้สังเกตว่าทรงรับเข้ามาทำราชการฝ่ายใน คือให้มาหัดละครและมโหรี ไม่ได้มาเป็นเจ้าจอม ส่วนการพักก็พักอยู่กับญาติที่เป็นผู้ใหญ่ในพระบรมมหาราชวัง มีคนคุ้มครอง แต่เรื่องไม่จบ เพราะในปีต่อมานั้นเอง มารดาของหญิงสาวมาร้องเรียนถวายฎีกาว่า พระยาพิพิธฯ ไปคร่าเอาตัวลูกสาวมาจากพ่อแม่ที่ไม่ได้มีความผิดอะไร เพื่อจะส่งตัวมาถวายพระเจ้าแผ่นดิน บิดามารดาของหญิงสาวไม่ยินดีให้ลูกสาวเข้ามาอยู่ในวัง จะมาถวายฎีกาเพื่อขอลูกสาวกลับไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 16:34
|
|
หมดเวลา ขอพักชั่วคราว ดูเรตติ้ง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 16:52
|
|
มารายงานตัวเพิ่มเรทติ้งครับ  เรื่องนี้คุ้นๆ มากว่าเคยอ่านเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่จำรายละเอียดอะไรไม่ได้แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 17:13
|
|
อ้าว มีคนเล่าตัดหน้าเสียแล้วหรือ
ถ้างั้น เดี๋ยวซายาเพ็ญก็จะมาตัดหน้าบอกตอนจบรึเปล่านี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
giggsmay
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 17:39
|
|
มาเช็คชื่อคะคุณครูขา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 17:41
|
|
ถ้างั้น เดี๋ยวซายาเพ็ญก็จะมาตัดหน้าบอกตอนจบรึเปล่านี่
ฮัดเช้ย !
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 17:51
|
|
ระหว่างคุณครูยังไม่สอน ซายาเพ็ญก็ยังไม่มาปาดเล่าตอนจบ นักเรียนก็ต้องจับกลุ่มซุบซิบนินทาคุณครูกับตามประสา ผมแอบอ่านที่เรือนไทยนี่มานานหลายปี ที่จริงสมัครสมาชิกก็หลายหนแต่ไม่เคยสำเร็จเพราะตัวเองไม่อ่านคำแนะนำขั้นตอนการสมัครให้ดีเอง แต่ระหว่างนั้นได้เห็นชื่อเพ็ญชมพูกับเทาชมพูนี่ก็สงสัยมาตลอดว่าสองท่านนี่เกี่ยวข้องกันยังไง ทำไมต้องชมพูเหมือนกัน เห็นสองท่านแซวกันไปแซวกันมาสนิทสนมกันดีมาก อดคิดไม่ได้ว่าสองท่านมีความสัมพันธ์กันเช่นใด น่าจะมีนักเรียนคนอื่นๆ สงสัยแบบผมบ้างเหมือนกัน มีอยู่วันนึงอดรนทนไม่ได้ต้องส่งข้อความไปถามซายาเพ็ญ ท่านบอกว่าที่ชื่อคล้ายกันเป็นความบังเอิญล้วนๆ อิอิ ผมน่าจะเปลี่ยนชื่อ login จากประกอบเป็นดำชมพู รุ้งชมพู หรือทมิฬชมพูเพื่อเพิ่มความสงสัยให้คนอื่นบ้าง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 18:11
|
|
เปลี่ยนชื่อจากเทาชมพูเป็นอย่างอื่นดีกว่าเรา จะได้เหลือคุณประกอบชมพู กับคุณเพ็ญชมพูสองคนก็พอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 18:25
|
|
เชื่อว่าในเรือนไทย มีอีกหลายสีชมพู สีงามนามก็หรู วอนคงอยู่คู่เรือนไทย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 18:37
|
|
ถึงเปลี่ยนชื่อก็อยู่เรือนไทยเหมือนเดิมได้นี่คะ
กลับมาเรื่องเดิมดีกว่า คั่นเวลาหน้าม่านนานไปแล้ว เดี๋ยวกระป๋องน้ำหมากจะลอยมาตกบนเวที **************** แม่ของหญิงสาวหนึ่งในสามคนนั้น ในคดีไม่ได้บอกว่าชื่ออะไร แต่ว่าหล่อนก็ช่างกล้าเอาการ กล้ามาทูลเกล้าฯถวายฎีกา ก็แสดงว่าหล่อนคงมั่นใจในความยุติธรรมที่จะได้รับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทรงได้รับฎีกาแล้วก็ไม่ได้นิ่งนอนพระทัย อย่างแรกทรงมีพระราชดำริว่า
"บุตรเป็นที่รักแห่งบิดามารดา ถ้าพระยาพิพิธฤทธิเดชกรมการไปเกาะบิดามารดามาจองจำ ลงเอาพัศดุเงินทอง หรือไปฉุดลากบุตรสาวกรมการราษฎรมาเป็นของตัวเอง หรือนำไปถวายให้เจ้าอื่นนายอื่น โดยพลการข่มเหง พระยาพิพิธฤทธิเดชกรมการจะมีความผิด"
ข้อนี้แสดงชัดว่าพระเจ้าแผ่นดินท่านไม่ยอมขุนนางของท่านไปข่มเหง บังคับขู่เข็ญเอาลูกสาวชาวบ้านมาเป็นเมีย หรือแม้แต่ไม่ได้เอามาเป็นเมีย แต่ไปฉุดลูกสาวชาวบ้านไปถวายเจ้านายหรือผู้เป็นใหญ่ ถ้าทำละก็ ถูกถวายฎีกาเมื่อไร เป็นโดนข้อหาทำผิดจังๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 20:15
|
|
ได้เห็นชื่อเพ็ญชมพูกับเทาชมพูนี่ก็สงสัยมาตลอดว่าสองท่านนี่เกี่ยวข้องกันยังไง ทำไมต้องชมพูเหมือนกัน เห็นสองท่านแซวกันไปแซวกันมาสนิทสนมกันดีมาก อดคิดไม่ได้ว่าสองท่านมีความสัมพันธ์กันเช่นใด น่าจะมีนักเรียนคนอื่นๆ สงสัยแบบผมบ้างเหมือนกัน มีอยู่วันนึงอดรนทนไม่ได้ต้องส่งข้อความไปถามซายาเพ็ญ ท่านบอกว่าที่ชื่อคล้ายกันเป็นความบังเอิญล้วนๆ อิอิ ผมน่าจะเปลี่ยนชื่อ login จากประกอบเป็นดำชมพู รุ้งชมพู หรือทมิฬชมพูเพื่อเพิ่มความสงสัยให้คนอื่นบ้าง  มาฟันเฟิร์มว่าไม่เกี่ยวข้องค่ะ ดูได้จากที่มาของชื่อ ซ้าย = เพ็ญชมพู ขวา = เทาชมพู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 20:33
|
|
ต่อจากค.ห. 10
อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงให้ความยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย มิได้ด่วนตัดสินลงไป จึงโปรดเกล้าฯให้สอบสาวราวเรื่อง ก็ได้ความว่าหญิงสาวที่พระยาพิพิธฤทธิเดชนำมาถวายให้รับราชการในวัง ไม่ใช่ลูกสาวชาวบ้านทั่วไป แต่เป็นญาติชั้นหลานของพระยาพิพิธฯเอง กล่าวคือปู่ทวดของเธอ เป็นลุงของพระยาพิพิธฤทธิเดชนั่นเอง พระยาพิพิธฯก็อยู่ในลำดับญาติชั้นผู้ใหญ่ของสามสาวนั่น ถ้าหากว่าจะถวายลูกหลานให้ได้ดีมีหน้ามีตาก็ไม่ถือว่าผิดจนต้องลงโทษ
แต่เมื่อพ่อแม่เขาไม่เต็มใจจะถวายลูกสาว พระเจ้าอยู่หัวก็โปรดฯให้ตามสามสาวที่ว่านั้นมา ทรงถามว่าอยากจะอยู่ในกรุงเทพฯต่อ หรือว่าอยากกลับไปอยู่กับพ่อแม่ สาวคนแรกกราบบังคมทูลว่าอยากกลับไปอยู่กับพ่อแม่ ส่วนเงิน 10 ตำลึงและผ้านุ่ง3 สำรับที่พระราชทานให้เธอแต่แรก ก็ไม่ทรงเอาคืน แต่ว่าพระราชทานให้เป็นเงินทำขวัญพ่อแม่ แทนเงินปรับพระยาพิพิธฯ
ส่วนหญิงสาวอีก 2 คน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงให้ตามตัวมาเช่นกันเพื่อถามความสมัครใจ สาวสองคนนี้มาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง อาจจะชอบใจชีวิตในวังว่าเป็นสุขกว่าชีวิตที่บ้าน ก็เลยกราบบังคมทูลว่าไม่กลับไปอยู่กับพ่อแม่ ขออยู่ในวังต่อไป ก็โปรดเกล้าฯให้เป็นไปตามนั้น และพระราชทานเบี้ยหวัดให้คนละ 10 ตำลึง
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านมิได้ทรงบังคับฝืนใจราษฎรหญิงชายเลย แม้ว่าทรงมีพระราชอำนาจเต็มจะกำหนดชีวิตข้าแผ่นดินอย่างใดก็ได้ ก็มิได้ทรงตามอำเภอใจ และทรงดูความสมัครใจของคนเหล่านั้นเป็นหลัก ถ้าเขาไม่เต็มใจก็ไม่บังคับ ส่วนขุนนางที่จงรักภักดี และเจตนาดีจะให้ลูกหลานมีหน้ามีตา มีเกียรติมากกว่าอยู่เป็นอำแดงในหัวเมือง ก็ทรงประนีประนอมไม่ลงโทษให้เขาเสียน้ำใจ อย่างน้อยเราก็มองเห็นอยู่ข้อหนึ่งว่าพระยาพิพิธฯเป็นพี่ชายของเจ้าจอมมารดาจันทร์ของพระองค์เจ้าทักษิณชา ตระกูลก็เป็นเจ้าเมืองตราดมาอย่างน้อย 2 ชั่วคน การผูกใจสร้างความจงรักภักดีแก่ขุนนางระดับสูงเช่นนี้ก็เป็นความถูกต้องเหมาะสมอย่างหนึ่งในการบริหารแผ่นดิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 20:45
|
|
ต่อจากค.ห. 10
อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ทรงให้ความยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย มิได้ด่วนตัดสินลงไป จึงโปรดเกล้าฯให้สอบสาวราวเรื่อง ก็ได้ความว่าหญิงสาวที่พระยาพิพิธฤทธิเดชนำมาถวายให้รับราชการในวัง ไม่ใช่ลูกสาวชาวบ้านทั่วไป แต่เป็นญาติชั้นหลานของพระยาพิพิธฯเอง กล่าวคือปู่ทวดของเธอ เป็นลุงของพระยาพิพิธฤทธิเดชนั่นเอง พระยาพิพิธฯก็อยู่ในลำดับญาติชั้นผู้ใหญ่ของสามสาวนั่น ถ้าหากว่าจะถวายลูกหลานให้ได้ดีมีหน้ามีตาก็ไม่ถือว่าผิดจนต้องลงโทษ
แต่เมื่อพ่อแม่เขาไม่เต็มใจจะถวายลูกสาว พระเจ้าอยู่หัวก็โปรดฯให้ตามสามสาวที่ว่านั้นมา ทรงถามว่าอยากจะอยู่ในกรุงเทพฯต่อ หรือว่าอยากกลับไปอยู่กับพ่อแม่ สาวคนแรกกราบบังคมทูลว่าอยากกลับไปอยู่กับพ่อแม่ ส่วนเงิน 10 ตำลึงและผ้านุ่ง3 สำรับที่พระราชทานให้เธอแต่แรก ก็ไม่ทรงเอาคืน แต่ว่าพระราชทานให้เป็นเงินทำขวัญพ่อแม่ แทนเงินปรับพระยาพิพิธฯ
ส่วนหญิงสาวอีก 2 คน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงให้ตามตัวมาเช่นกันเพื่อถามความสมัครใจ สาวสองคนนี้มาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง อาจจะชอบใจชีวิตในวังว่าเป็นสุขกว่าชีวิตที่บ้าน ก็เลยกราบบังคมทูลว่าไม่กลับไปอยู่กับพ่อแม่ ขออยู่ในวังต่อไป ก็โปรดเกล้าฯให้เป็นไปตามนั้น และพระราชทานเบี้ยหวัดให้คนละ 10 ตำลึง
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านมิได้ทรงบังคับฝืนใจราษฎรหญิงชายเลย แม้ว่าทรงมีพระราชอำนาจเต็มจะกำหนดชีวิตข้าแผ่นดินอย่างใดก็ได้ ก็มิได้ทรงตามอำเภอใจ และทรงดูความสมัครใจของคนเหล่านั้นเป็นหลัก ถ้าเขาไม่เต็มใจก็ไม่บังคับ ส่วนขุนนางที่จงรักภักดี และเจตนาดีจะให้ลูกหลานมีหน้ามีตา มีเกียรติมากกว่าอยู่เป็นอำแดงในหัวเมือง ก็ทรงประนีประนอมไม่ลงโทษให้เขาเสียน้ำใจ อย่างน้อยเราก็มองเห็นอยู่ข้อหนึ่งว่าพระยาพิพิธฯเป็นพี่ชายของเจ้าจอมมารดาจันทร์ของพระองค์เจ้าทักษิณชา ตระกูลก็เป็นเจ้าเมืองตราดมาอย่างน้อย 2 ชั่วคน การผูกใจสร้างความจงรักภักดีแก่ขุนนางระดับสูงเช่นนี้ก็เป็นความถูกต้องเหมาะสมอย่างหนึ่งในการบริหารแผ่นดิน
ธรรมเนียมการถวายตัว จะต้องมีดอกไม้ ธูปเทียนแพ จัดวางไว้ แล้วนำไปกราบ ไม่รู้ว่าท่านนี้จักได้ทำสิ่งนี้หรือไม่หนอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 18 ก.พ. 13, 20:55
|
|
ไม่รู้เหมือนกันค่ะ ในนี้ไม่ได้ระบุเอาไว้ว่าสามสาวนี้อยู่ในฐานะเจ้าจอม หรือนางข้าหลวง บอกแต่ว่าทรงให้ไปเป็นนางละครมโหรี ฟังเหมือนเป็นระดับนางพระกำนัล หรือนางข้าหลวงในวังมากกว่า แต่พระยาพิพิธฯ ท่านก็คงอยากถวายหลานเป็นเจ้าจอมละค่ะ
เคยได้ยินมาว่า การถวายลูกสาวหลานสาวนั้นมีอีกทางหนึ่ง ไม่ใช่จู่ๆไปถวายตรงๆ แต่ถวายผ่านเจ้านายฝ่ายใน หรือเจ้าจอม ส่วนใหญ่เป็นญาติกัน จากนั้นท่านในวังดูแล้วว่าคนนี้ใช้ได้ ก็ขัดเกลาให้งามพร้อมเสียก่อนทั้งบุคลิกและกิริยามารยาท แล้วจึงนำขึ้นถวายเป็นเจ้าจอมในภายหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|