เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 38
  พิมพ์  
อ่าน: 236039 คุณครูคับ ข้อนี้ตอบอะไรคับ????
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 17:52

ปีหน้า เด็กฝรั่งที่ตามกลับไทยมาด้วยจะต้องไปหา รร เข้า ม.1 ก็คงต้องสอบกันเหมือนเดิม เพราะ รร แถวบ้านดูแล้วไม่น่าไว้วางใจเรื่องคุณภาพ

ในขณะที่เด็กอื่นๆ ต้องติวกัน ผมไม่เชื่อมั่นระบบการติวเท่าไหร่ เลยตัดสินใจจะติวเอง
วิชาที่เค้าสอบๆ กัน ตัดทิ้งไปเลย 2 วิชา คือสังคมและภาษาไทย เพราะเป็นท่องจำกับภาษาไทยที่ฝรั่งยังไม่คุ้น

ภาษาอังกฤษให้ลองทำโจทย์ ส่วนใหญ่ได้เกือบเต็ม แต่หลายข้อฝรั่งทำผิด ทั้งด้วยความเผลอเรอเอง
แต่บางส่วนคิดว่าเป็นครูไทยที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงออก คงแบบเดียวกับที่คุณแอนดรูส์ว่ามาข้างบน เพราะอ่านแล้วแม่งๆ ไม่เป็นธรรมชาติ

วิชาวิทยาศาสตร์ ป.6 จริงๆ คือท่องจำไม่ต่างกับสังคม เด็กต้องจำอะไรที่ไม่รู้มีประโยชน์ไหม
เช่นผงชูรสปลอมทำมาจากสารอะไร ไม่รู้มีประโยชน์อย่างไร นอกจากให้เด็กประถมจำชื่อสารเคมี


เลยจะมาเข้มที่คณิตศาสตร์ก็พบว่ามันยากมากๆ ซับซ้อนสุดๆ ค้นหาอัจริยะกันเลย ส่วนใหญ่ผมทำไม่ได้ เกินความรู้ไปมากๆ  ยกข้อธรรมหามาให้ดู 1 ข้อ

โจทย์ตัวอย่าง จงหาผลต่างของเลขที่มีค่ามากที่สุดในจำนวนคู่ 5 ตัวที่เรียงกันแล้วบวกกันได้ 100 ลบผลต่างของเลขที่มีค่าน้อยที่สุดของเลขคี่ 4 ตัวที่บวกกันได้ 100 ข้อนี้ผมตอบไม่ตรงเฉลย

แวะดูเฉลย บอกว่าเลขคู่คือ 16 18 20 22 24 อันนี้ไม่แปลกใจ คิดได้เหมือนกัน เพราะมาจาก 100/5 ได้ 20 ก็เอาเลขก่อนหน้า 20 2 ตัวหลัง 20 2 ตัว ดังนั้นตัวที่มากที่สุดคือ 24

แต่เลขคี่ ไม่ได้บอกว่าต้องเรียงกัน เฉลยบอก 21 23 27 29 สังเกตุว่าข้าม 25 ไป เพราะชุดนี้ไม่ได้บอกว่าต้องเรียง แถมถ้าเรียงเลขคี่ 4 ตัวบวกกันได้ร้อยน่าจะไม่มี

ดังนั้น 24 - 21 คำตอบคือ 3 นี่คือที่หนังสือเฉลย

แต่ถ้าไม่ต้องเรียง เอา 1 3 47 49 ไม่ดีกว่าหรือ บวกกันได้ 100 เหมือนกัน ดังนั้นเลขน้อยสุดต้อง 24 - 1 = 23

ข้อสอบนอกจากยาก ต้องตีความโจทย์ ต้องคิดซับซ้อนหลายขั้นแล้ว ยังอาจต้องเจอข้อผิดพลาดของคนออกอีกด้วย

นี่ตอนนนี้บอกญาติพี่น้องเพื่อนฝูงไม่ได้เลยว่าไม่ได้ส่งฝรั่งกวดวิชา เพราะมีแต่คนตกใจ ใครไม่กวดวิชากลายเป็นว่ามันผิดธรรมชาติเด็กไทยมากๆ
ต้องไว้อาลัยให้กับระบบการศึกษาที่ล้มเหลวแล้วอย่างสิ้นเชิง  เศร้า  ลังเล  ลังเล
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 18:34

โล่งใจมากๆที่เกิดมาก่อนยุคนี้หลายสิบปี      ถ้าเกิดยุคนี้   อิชั้นคงจบแค่ ม. 5   ไม่ผ่าน ม. 6    ไม่มีสิทธิ์แอดมิชชั่น
ดูคลิปครูแอนดรูว์แล้ว    ตอบผิดเหมือนครูเปี๊ยบเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 10 มิ.ย. 16, 22:08

ผมมีเพื่อนเป็นครูนะครับ  งานยุ่งมากทั้งสอนเด็ก เตรียมการสอน เตรียมการสอบ ตรวจข้อสอบ ประชุม ช่วยงานโรงเรียน วันหยุดก็ต้องมา ไหนจะต้องจัดกิจกรรมพิเศษ งานส่วนตัวก็มี อาทิเช่น แทงหวย เท้าแชร์ ที่สำคัญต้องสอนพิเศษอีก (ไม่งั้นไม่มีกิน)  รูดซิบปาก

เธอก็บ่นของเธอทุกวันแล้วก็ กิน กิน กิน กิน ทีนี้ก็อ้วนสิครับ โรคทั้งหลายตามมาทันทีไม่ต้องพูดถึง

แต่ก็น่าภูมิใจนะครับ ตอนเด็กที่เรียนจบไปแล้วมาเยี่ยม พร้อมรายงานความก้าวหน้าของตนเอง ไอ้ครูก็ยิ้มให้พร้อมคิดถึงความก้าว(ไม่ไปข้าง)หน้าของตนเองในใจ

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 13 มิ.ย. 16, 10:19

ผมมีลูกที่อยู่ในวัยเข้าเรียนพอดีครับ เด็กสมัยนี้ อ.1 ต้องสอบเข้า ปิดเทอม มีเรียน Summer ด้วยนะครับ 

บางทีผมก็อดคิดไม่ได้ว่า ที่เราบอกว่า การศึกษาของเด็กไทยแย่ลงนั้น จริงๆไม่ได้แย่ลง เด็กเราก็เก่งเท่าเดิมนั่นเหละ แต่เป็นเพราะวิชาเรียนมันยาก และมากขึ้น เลยทำให้เมื่อวัดผลแล้ว คะแนนดูแย่ลงหรือเปล่า
 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 13 มิ.ย. 16, 15:48

ที่เป็นห่วงคือคุณภาพการศึกษาครับ เด็กไปโรงเรียนแล้วเราหวังว่าจะได้อะไรจากโรงเรียนบ้าง?

ผมเคยดูข้อสอบคณิตศาสตร์สำหรับสอบเข้า ม.1 โรงเรียนดังระเบิดแห่งหนึ่ง ความพลิกแพลงของข้อสอบอยู่ในระดับธรรมดามาก แต่ระดับความรู้นั้นเกินระดับประถมไป 1-2 ปี เท่ากับว่าโรงเรียนนี้คัดเด็กโดยดูว่าเด็กคนไหนเรียนล่วงหน้า ก็จะรับคนนั้นเข้าเรียน เรื่องเรียนล่วงหน้านี่ไม่ได้จากในโรงเรียนแน่ ดังนั้นเท่ากับว่าเลือกรับเด็กโดยดูว่าใครเรียนพิเศษนั่นเอง เพื่อนที่เข็นลูกเข้าเรียนโรงเรียนนี้บ่นว่าคุณภาพหารเรียนการสอนไม่ดีอย่างที่คิด แน่นอนว่าเด็กก็ต้องไปหาความรู้เอาจากโรงเรียนกวดวิชาอีกตามเดิม

ผมอดคิดไม่ได้ว่า เด็กได้อะไรจากโรงเรียนบ้าง เวลาที่เสียไปจากการไปโรงเรียนและการเดินทางไปกลับจากโรงเรียนคุ้มค่าหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 14 มิ.ย. 16, 14:16

จริงทีเดียวครับ สาเหตุที่โรงเรียนนิยมรับเด็กที่เก่งอยู่แล้ว ก้เป็นเพราะการวัดผลสัมฤทธิ์การสอนสมัยนี้ มองที่ผลสำเร็จสุดท้ายที่เป็นตัวเลขสามารถชี้วัดได้ตรงๆ เต็มๆ

หากโรงเรียนรับเด็กเก่งเข้า ป.1 มา 100 คน แล้วเด็กทั้ง 100 คนนี้ สามารถสอบเข้า ม.1 โรงเรียนดังได้ทั้ง 100 คน โรงเรียนก็สามารถยกขึ้นเป็นผลงานของโรงเรียนได้ ซึ่งจะส่งผลต่อหน้าที่การงานของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนแห่งนั้นๆ รวมถึงเป็นผลงานของครูประจำชั้นด้วย

ตรงกันข้าม การรับเด็กที่พื้นฐานไม่พร้อม 100 คนเข้ามา แล้วคุณครูให้ความอุตสาหะกับความรัก ความเอาใจใส่ สอนจนเด็กทั้ง 100 คน กลายเป็นผู้มีความรู้ระดับทั่วๆ ไป ต่อให้เด็ก 100 คนนี้ มีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเด็กอ่านหนังสือไม่ออก กลายมาเป็นเด็กอ่านเขียนคล่อง หรือไม่ว่าคุณครูจะปลูกฝั่งคุณธรรมให้จนเด็กกลายเป็นคนดีของสังคมอย่างไรก็ตาม โรงเรียนก็ไม่อาจนำเสนอเรื่องนี้เป็นผลงานได้ เพราะไม่มีตัวเลขแสดงให้เห็น หากเด็ก 100 คนสอบเข้าที่ไหนไม่ได้เลย ผ.อ. โรงเรียน + ครูประจำชั้น ย่อมถูกมองว่า ไม่มีความสามารถ โอกาสก้าวหน้าก็ย่อมลดลงไปครับ

วิธีการชี้วัด และประเมินผลอย่างนี้แหละครับ โรงเรียนก็ต้องปรับตัวเอาชีวิตรอดเหมือนกันครับ คิดแล้วก็น่าเห็นใจครูผู้สอนเขาเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 13:17

ข้อสอบ ป.6 เข้า ม.1 ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 14:44

ถ้าเกิดในยุคนี้ ดิฉันคงจบได้แค่ป. 6 ค่ะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 15:02

ผมเกิดยุคหลัง แต่ดูแล้วมีหวังต้องไปเรียนต่อ ม.1 โรงเรียนที่รับเด็กเหลือจากสอบเข้าที่อื่นแล้วเท่านั้นแน่นอนครับ แค่ข้อแรก็ทำไม่ได้แล้ว มันดูถูกไปหมดทุกตัวเลือก
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 18:20

เคยดูคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยม ๓ และเรียนถามคุณครูผู้สอนว่าเหตุใดนักเรียนจึงตกคณิตศาสตร์กันมาก  ที่สอบได้ก็ทำคะแนนไม่ดีนัก
คำตอบที่คุณครูท่านตอบให้ทราบคือ เป็นผลมาจากหลักสูตร  ที่กำหนดเกณฑ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยม ๑ - ๓ เป็น ๑๐๐ %
แต่หลักสูตรจัดแบ่งเนื้อหาสำหรับมัธยม ๑ และ ๒ ไว้ราว ๕๐ % ของหลักสูตร  ส่วนที่เหลืออีกราว ๕๐% นั้นไปสอนกันในชั้นมัธยม ๓ 
เมื่อพื้นฐานความรู้วิชาคณิคศาสตร์ของนักเรียนในชั้นมัธยม ๑ - ๒ มีเพียงแค่สอบผ่านกันมาได้  พอมาอัดหนักกันในชั้นมัธยม ๓  นักเรียนจึงสอบตกกันระเนระนาดจนเป็นเรื่องปกติ
นี่คงจะเป็นตำอธิบายเรื่องข้อสอบเข้าเรียนชั้นมัธยม ๑ ที่คุณ CrazyHOrse หยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในความเห็นก่อนหน้าได้กระมังครับ


 
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 20 ก.ย. 16, 09:16

ผมเห็นแล้วก็อึ้งครับ จำได้ว่า เรื่องความต่างศักย์ แรงเคลื่อน การวัดโวลต์ วัดแอมแปร์ นี่ ผมเรียนตอน ม.3 หรือบางทีอาจจะ ม.ปลายด้วยซ้ำครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 03 ต.ค. 16, 11:02

จากเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขาครับ
https://www.facebook.com/kendekthai/?fref=nf

#สังคหวัตถุสี่ในตำราเรียนของเด็กประถมหนึ่ง

หมอมีโอกาสได้เห็นตำราเรียนวิชาสังคมของเด็ก ป.1 อย่างที่โพสต์มาให้ดูนี่แหละค่ะ

ถึงแม้ความทรงจำสมัยอยู่ ป.1 ของตัวเองจะเลือนลางพอสมควร แต่ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าตัวเองเริ่มเรียนวิชาพระพุทธศาสนาตอนที่อยู่ ป.5 หรือไม่ก็คงจะเป็นตอน ม.1 นั่นเลย

สมัยตอนที่เรียน ป.1 จำได้ว่าข้อสอบที่ทำยังเป็นลักษณะว่า "ให้เขียนชื่อผลไม้ตามภาพต่อไปนี้" อยู่เลย

ตำราเด็ก ป.1 สมัยนี้ไปไกลมาก ต้องเรียนเรื่อง ศีลห้า สังคหวัตถุสี่ มงคลต่างๆ

คำถาม: เด็กป.1 ที่ต้องเรียนตำรานี้ จะเข้าใจไหม?

แน่นอน เด็กบางคนเรียนได้และเข้าใจ หมอทราบว่ามีอยู่

แต่ก็มีเด็กหลายคนที่เรียนแล้วอาจจะไม่เข้าใจ หรือตามไม่ทัน

คำถามต่อมา: เด็กที่เรียนไม่เข้าใจ ทำข้อสอบไม่ได้ ถือว่าเด็กผิดปกติหรือไม่?

หมอคิดว่า เด็ก ป.1 ที่ไม่เข้าใจแบบเรียนนี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เพราะแบบเรียนค่อนข้างยากเกินไปสำหรับเด็ก ป.1

แต่เรื่องเศร้าที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้ใหญ่มักจะมองความสามารถเด็กจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความถูกต้องของการบ้าน คะแนนสอบที่ได้

เมื่อเด็กคนหนึ่งทำการบ้านไม่ได้ ทำคะแนนสอบไม่ได้ดี เด็กก็จะถูกตำหนิติเตียน บางทีก็เป็นคุณครู บางครั้งก็เป็นพ่อแม่เอง

ลืมคิดไปว่าปัญหาที่เป็นสาเหตุอาจอยู่ในตำราเรียนของเด็ก และหลักสูตรการศึกษาไทยในปัจจุบัน

.

นานมาแล้ว มีเด็กอนุบาลคนหนึ่งที่คุณแม่พามาตรวจกับหมอ

คุณแม่บอกว่า คุณครูสงสัยว่าเด็กจะเป็นสมาธิสั้น

"ครูบอกว่าน้องเรียนอ่อนที่สุดในกลุ่ม แม่เองก็ เครียด"

ประวัติคือ เวลาให้เด็กทำงาน เด็กจะถามครูบ่อยๆว่า "ถูกไหมครับ" "ใช่ไหมครับ" ทำการบ้านแล้วก็ลบบ่อยๆ บางทีก็ไม่ส่งงาน

ครูมองว่าเด็กมีปัญหาสมาธิ

แม่เล่าว่า เด็กอยู่อนุบาลสอง ต้องท่องสูตรคูณให้ได้ บวกเลขได้หลายๆหลัก เรียนศัพท์อังกฤษยากๆ ที่มีตัวอักษรเยอะๆ เช่น คำว่า mouth เด็กทำไม่ได้ ทำได้แค่คำสั้นๆ อย่าง ant, cat

จากการตรวจก็พบว่าเด็กไม่มีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น แต่สิ่งที่รบกวนเด็กก็คือ ความวิตกกังวลจากการเรียนที่ยากเกินไป และความคาดหวังของคุณครูรวมถึงพ่อแม่

ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นทำให้กลัวไปหมดว่าจะทำผิดและจะถูกตำหนิ ทำให้ต้องถามต้องเช็คกับคนอื่นตลอดว่า "ถูกหรือเปล่าครับ" และบางทีก็ไม่กล้าส่งงาน เพราะกลัวทำผิดแล้วถูกดุ

.

เด็กหลายคนที่มาหาหมอ ส่วนหนึ่งก็มีปัญหาในส่วนของเด็กที่ต้องได้รับการดูแลรักษา แต่สาเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหามากขึ้นในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า เกิดจากการเรียนการสอนสมัยนี้

การศึกษาที่ทำให้เด็กๆรู้สึกแย่ สูญเสียความภาคภูมิใจโดยไม่จำเป็น

จากเด็กปกติดีหลายคน เคยร่าเริงมีความสุข กลายเป็นเด็กที่สูญเสียความมั่นใจ ซึมเศร้า

เด็กหลายคนมีภาวะวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ มีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร พฤติกรรมถดถอย ต่อต้านและดื้อมากขึ้น

เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร และเราจะไปทางไหนกันต่อดี ในยุคที่การศึกษาไทยอาจจะกลายเป็นหอกดาบทิ่มแทงจิตใจดวงน้อยๆของเด็กๆ

มันช่างย้อนแย้งกับหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในตำราเรียนเสียจริงๆ

.

คำถามสุดท้าย: หลักสูตรที่ยากและซับซ้อนจะทำให้เด็กไทยเราฉลาดและประสบความสุขความสำเร็จในชีวิตหรือไม่?

อาจจะไม่ใช่ แต่ที่แน่นอนคือมันจะทำให้เด็กส่วนหนึ่งสูญเสียความภาคภูมิใจในตัวเอง

#หมอมินบานเย็น


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 03 ต.ค. 16, 13:19

อนุบาล 2 ท่องสูตรคูณนี่ ผมไม่ได้เจอกับตัว แต่มีเพื่อที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนแพงๆ เล่าให้ฟังว่า มีแบบนั้น ซึ่งผมงงมากๆ ในเมื่อเด็กยังอยู่ระหว่างเรียนนับจำนวนอยู่เลย อย่างมากก็เรียนการบวกหรือลบด้วยจำนวนไม่เกิน 10 แล้วจะให้ท่องสูตรคูณตั้งแต่อนุบาล 2 ไปเพื่ออะไรกัน

แต่วิชาพระพุทธศาสนานี้ เจอกับตัวครับ หลานผมอยู่ ป.1 ต้องเรียนพระพุทธศาสนาด้วยการจดบนกระดานดำตามที่ครูเขียนให้ ก็ยาวประมาณ 5 บรรทัด ทั้งกระดานมีคำที่ผมเองยังไม่แน่ใจเลยว่า ผมสะกดถูกไหม เช่น พระเจ้าสุทโทธนะ พระนางศิริมหามายา โคตรมี บรรพชา เสวยวิมุติ ธรรมจักรกัปวัตนสูตร ฯลฯ (ผมสะกดผิดแน่ๆ) เด็ก ป.1 จะเขียนได้คล่องขนาดนั้นเลยหรือครับ

สำหรับเด็กที่ทำได้ ปัญหาก็ไม่เกิด แต่ถ้าเด็กทำไม่ได้ พอให้จดไปสักระยะ ครูก็จะลบข้อความในกระดานดำ แล้วให้จดต่อ เด็กที่จดไม่ทันก็ไม่สามารถจดต่อได้ ผลก็คือ งานเด็กจะค้างทั้ง 4 หน้า ซึ่งก็จะกลายเป็นการบ้านให้เด็กต้องเอากลับไปเขียนต่อที่บ้าน ซึ่งวิชาดนตรี และวิชาอื่นๆ ก็สอนด้วยวิธีการให้จดตามที่ครูเขียนบนกระดานดำนี้เช่นเดียวกันครับ

ดังนั้น หากเด็กจดไม่ทัน วิชาอื่นๆก็ไม่ทันด้วยเหมือนกัน เท่ากับว่า ตอนเย็นเด็กจะมีการบ้านร่วม 10 หน้า ที่ต้องเอากลับไปจดให้ทัน ไม่นับรวมการบ้านปกติ  

ความเห็นผม ผมไม่เห็นด้วยกับการสอนด้วยวิธีนี้เลยครับ เพราะเนื้อหาวิชายากเกินเด็ก ยังไงเด็กก็จพไม่ได้อยู่ดี ที่สอนไปจึงไม่เกิดประโยชน์อะไร แถมยังไม่เอื้อให้เด็กเกิดความอยากเรียนรู้อีกด้วยครับ

ผมว่า แค่สอนว่า เด็กดี ควรเป็นอย่างไร 10 ข้อง่ายๆ แล้วเชิญชวนให้เด็กปฏิบัติก็พอแล้ว ถ้าอยากปลูกฝั่งคุณธรรมเด็กหนะนะครับ  
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 19 พ.ย. 16, 13:26

การศึกษาของไทยเน้นการท่องจำมากกว่าความเข้าใจ ซึ่งต่างจากประเทศทางตะวันตกอย่างสิ้นเชิงที่นอกจากจะเข้าใจแล้วยังต้องสามารถวิเคราะห์ได้ด้วย ได้อ่านบทความหนึ่งมีตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศฟินแลนด์ น่าสนใจดี

– “นักการเมือง นักกีฬา หรือคนดังบางคนจะออกมาแสดงความเสียใจต่อสาธารณะและกล่าวขอโทษในสิ่งที่พวกเขาพูดหรือกระทำลงไป จงอภิปรายความหมายของการขอโทษและการยอมรับคำขอโทษ ทั้งในฐานะพฤติกรรมทางสังคมและการกระทำส่วนบุคคล”

– “สื่อมวลชนต่อสู้กันเพื่อแย่งผู้ชม ปรากฏการณ์เช่นนี้ส่งผลอะไรตามมาบ้าง”

– “ให้เลือกศาสนาของโลกมาสามศาสนา แล้วเปรียบเทียบบทบาทและการใช้รูปเคารพของทั้งสามศาสนา”

http://thematter.co/pulse/entrancefinland/12700

บางหัวข้อเข้ากับเรื่องราวที่เกิดในบ้านเราตอนนี้เสียนี่กระไร   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 19 พ.ย. 16, 17:39

ในการสร้างหลักสูตรการศึกษา ประเด็นแรกคือเป้าหมายของหลักสูตร ว่าต้องการอะไร แล้วค่อยวางหลักสูตรเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายนั้นๆ

เห็นได้ว่าหลักสูตรท่องจำมีจุดมุ่งหมายให้ความรู้   พูดให้เห็นภาพชัดคืออัดความรู้เข้าไปในสมองเด็ก  
ต่อมา  เพื่อให้แน่ใจว่าอัดแล้วอยู่แน่นในนั้น ไม่ผ่านเข้าหูซ้ายออกหูขวา ก็ต้องสั่งให้ท่องจำ      หลังจากนั้นคือพิสูจน์ว่าอัดแน่นจริงก็ต้องสอบเอาความจำเป็นหลัก    เด็กที่จำแม่นจึงมีโอกาสได้คะแนนดีกว่าเด็กจำไม่แม่น หรือไม่สนใจจะจำ

แต่การศึกษาไทยไม่ค่อยจะได้ปลูกฝังถึงขั้นที่สอง คือเอาแต่"จำ"เป็นพื้นฐานเท่านั้น    ต่อจากนั้นคือ "คิด"
ต้องคิดให้เป็น  หลักสูตรไม่เน้นถึงขั้นนี้
วิธีคิดที่ดี   คือมีเหตุผลมารองรับ    ต้องเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือได้   ไม่ใช่เหตุผลบ้าๆบอๆ มโนเอาเอง
แต่เหตุผลไม่จำเป็นต้องลงรอยเดียวกัน  อาจแตกต่างกันได้  

เมื่อจำ และคิดได้  ก็นำไปสู่การวิเคราะห์ในตอนท้าย  
การศึกษาไทยไม่ค่อยจะนำไปสู่ถึงขั้นนี้    เพราะเคยชินกับจำ และ เชื่อ  ดังนั้นการเรียนรู้จึงออกมาในรอยเดียวกัน  โขกเด็กออกมาเป็นพิมพ์เดียวกัน
ไม่มีคำว่าปัจเจกบุคคล  

มองจากคำถามของฟินแลนด์
เป็นวิเคราะห์ทั้งสิ้นค่ะ  เด็กอาจได้คะแนนเท่ากัน   โดยตอบไม่เหมือนกันก็เป็นได้
มีความเป็นปัจเจกสูงมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง