เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 38
  พิมพ์  
อ่าน: 236013 คุณครูคับ ข้อนี้ตอบอะไรคับ????
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 17 ก.ย. 15, 10:36

ถ้าผมเป็นครูอยู่อเมริกา ไม่มีความรู้เรื่องวงจรอิเล็กทรอนิกส์   เจอเด็กถือกล่องใส่ดินสอที่ด้านในมีแผงวงจร มีสายไฟระโยงระยาง ยังไม่พอ มีเทปกาวมัดไว้ด้วยกันอีก  ครั้งแรกที่เห็นผมคงหวาดผวาคิดว่าเป็นระเบิดเหมือนกัน ยิ่งในอเมริกามีประสบการณ์ประเภทเด็กเอาปืนมากราดยิงครูและนักเรียนบ่อยๆ  ข่าวมือระเบิดพลีชีพที่เป็นเด็กก็มีให้เห็น หนังก็เอาไปสร้างหลายเรื่อง  ทำให้ต้องระแวงไว้ก่อน กรณีเด็กคนนี้ผมว่าต่อให้ไม่ใช่มุสลิม เป็นเด็กผิวขาวหรือหน้าตี๋ครูก็คงผวาเหมือนกัน  แม้ว่าอาจจะผวาน้อยกว่า


แต่สิ่งที่ผิดในเรื่องนีคือการรับมือจัดการกับปัญหาที่ทั้งครูและตำรวจไม่ถามไถ่ตรวจสอบให้แน่นอน กลับดำเนินการรุนแรงเช่นจับเด็กใส่กุญแจมือ พาไปสถานีตำรวจเตรียมตั้งข้อหา ก็ต้องโดนชาวโลกด่าไปตามระเบียบ  แต่ดูๆ ไปก็ไม่ต่างกับของเรา แค่ชูป้ายไม่สบอารมณ์ท่านผู้นำยังโดนชาร์จแถมจับตัวไปโรงพักตั้งหลายชั่วโมง แถมยังมีมาตรการข่มขู่ตามมาตอนหลังอีกด้วย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 17 ก.ย. 15, 16:15

ผมเห็นด้วยกับ อ. ประกอบในส่วนที่ว่า อ. ท่านนั้นคงจะระแวงนาฬิกาที่หน้าตาดูเหมือนระเบิดเหมือนกันแหละครับ เพราะเขาก็คงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กคนอื่นๆด้วย

แต่ผมคิดว่ากรณีนี้ ไม่เกินสมควรแก่เหตุครับ เพราะเมื่อไม่แน่ใจว่า สิ่งนี้คืออะไร การเสียเวลาไต่ถามเท่ากับเอื้อเวลาให้ระเบิดทำงานเลยนะครับ นี่ถ้าหากเรื่องกลับกันคือเป็นระเบิดขึ้นมาจริงๆ ระหว่างที่อาจารย์กำลังไต่ถามอยู่นั้น มันก็ตูมขึ้นมา เด็ก อาจารย์ เสียชีวิต ก็คงถูกตำหนีอีกว่า เหตุใดจึงไม่รีบทำอะไรสักอย่าง เอาแต่ชักช้าจนเกิดความเสียหายเกิดขึ้น   

เพราะเหตุนี้ อาจารย์ท่านนั้นจึงตัดสินใจต้องแจ้งหน่วยงานความมั่นคง คือ ตำรวจ หรือ หน่วยทหารในพื้นที่ เข้ามาตรวจสอบ ซึ่งคนที่เข้ามาตรวจสอบก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการจับกุมพื้นฐานของเขาเอาไว้ก่อน คงจะละเว้นขั้นตอนบางอย่างเพราะเหตุว่า เป้าหมายเป็นเด็กไม่ได้หรอกครับ

ซึ่งผมคิดว่า ไม่ว่าใครก็ต้องเป็นอย่างนี้ แม้จะเป็นท่านประธานาธิบดีเองก็เถอะ หากมีเด็กที่ภูมิใจในนาฬิกาประดิษฐ์มากจนถือนาฬิกาดังกล่าวเข้าไปอวดท่านถึงในทำเนียบ หรือถือเข้าไปหา มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ถึงในบริษัท ให้มันรู้ไปสิว่าจะไม่ถูกสกัดกั้น (นอกจากจะอยากบอกผู้ก่อการร้ายว่า อยากฆ่าใคร ให้ใช้ให้เด็กถือระเบิด)
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 20 ก.ย. 15, 12:12

เจอคำถามจากหนังสือ "แบบวัดและบันทึกผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์   ป 5" ของ อจท
ผู้แต่ง เอกรินทร์ สี่มหาไพศาล สุสรดิษฐ์ ทองเปรม  สันทนา พัธนาวิน

ผมตอบไม่ได้ ถามผู้รู้เรือนไทยหน่อยครับ

ข้อใดไม่ใช่ข้อเท็จจริง

ก.  ในสมัยสุโขทัยมีประเพณีลอยกระทง
ข.  นางนพมาศเป็นคนคิดประดิษฐ์กระทงขึ้นมาเป็นคนแรก
ค.  ศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงการเผาเทียนเล่นไฟ
ง.  ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย


จากความรู้อันจำกัดของผม  ไม่เห็นว่าข้อไหนเป็นข้อเท็จจริงเลย  เพราะเรื่องลอยกระทงยังมีการถกเถียงเรื่องข้อเท็จจริงกันอยู่  
แต่สำหรับการตอบข้อสอบในระบบการศึกษาที่ไม่เน้นคิด ให้จำเพื่อสอบอย่างเดียว ก็ไม่รู้ว่าจะต้องตอบอย่างไรจึงจะถูกใจคนถาม




จากข้อความ ข้อใดคือความจริง
1.กรุงศรีฯแตกเพราะไม่ได้ทำสงครามมานาน
2.กรุงศรีฯแตกเพราะกองทัพพม่าเตรียมพร้อมมาอย่างดี
3.กรุงศรีฯแตกเพราะเกิดความแตกแยกในราชสำนัก
4.กรุงศรีเสียเอกราชครั้งที่ 2 เมื่อ พศ 2310

ข้อนี้สงสัยจะให้ตอบข้อ 4

บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 20 ก.ย. 15, 13:38

ข้อใดไม่ใช่ข้อเท็จจริง

ก.  ในสมัยสุโขทัยมีประเพณีลอยกระทง
ข.  นางนพมาศเป็นคนคิดประดิษฐ์กระทงขึ้นมาเป็นคนแรก
ค.  ศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงการเผาเทียนเล่นไฟ
ง.  ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย

ถ้าคำถามคือ ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง คำตอบคือ

ค.  ศิลาจารึกสุโขทัยกล่าวถึงการเผาเทียนเล่นไฟ

ลอยกระทงมีมาตั้งแต่สุโขทัยหรือไม่    ยังไม่แน่  เพราะไม่มีหลักฐานว่ามีการลอยกระทงสมัยสุโขทัย  มีแต่พิธีเผาเทียนเล่นไฟ
อีกอย่าง  เรื่องนางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ที่บอกว่านางเป็นพระสนมเอกของพระร่วงสมัยสุโขทัย  และเป็นคนคิดกระทงรูปดอกบัวขึ้นลอยในพิธีนี้ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในรัชกาลที่ ๓ นี่เอง  เข้าใจว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๓ ด้วย

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๒ จารึกว่า

เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟเมืองสุโขไทนี้



ถอดเป็นอักษรปัจจุบัน

http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/srjsd22-3.htm
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 21 ก.ย. 15, 19:55

ท่านซายาเพ็ญคิดว่าศิลาจารึกหลักที่หนึ่งเป็นของจริงหรือของทำยุครัตนโกสินทร์หละครับ ฮืม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 22 ก.ย. 15, 14:33

สมมติฐานเรื่องใครสร้างจารึกหลักที่ ๑ ตอนนี้มี

๑.พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้าง
๒.พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้สร้าง แต่สร้างในสมัยสุโขทัย อาจจะสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท
๓.พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง
๔.ผิดทุกข้อ

ผมขอเลือกไม่ตอบ เพราะกลัวว่ากาผิดจะถูกหักคะแนนครับ  
ยิงฟันยิ้ม

ขอเอาตัวรอดโดยเกาะคำตอบของคุณม้าไว้ จนกว่าความจริงจะปรากฏ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 22 ก.ย. 15, 20:08

สมมติฐานเรื่องใครสร้างจารึกหลักที่ ๑ ตอนนี้มี

๑.พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้าง
๒.พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้สร้าง แต่สร้างในสมัยสุโขทัย อาจจะสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท
๓.พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง
๔.ผิดทุกข้อ

ผมขอเลือกไม่ตอบ เพราะกลัวว่ากาผิดจะถูกหักคะแนนครับ  
ยิงฟันยิ้ม

ขอเอาตัวรอดโดยเกาะคำตอบของคุณม้าไว้ จนกว่าความจริงจะปรากฏ ยิงฟันยิ้ม


ข้อสอบแบบนี้เลือกข้อ ๔ ไม่ได้อยู่แล้วครับ ผิดทุกข้อแปลว่า ข้อ ๔ ผิดด้วย ขัดแย้งด้วยตัวเอง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 04 ต.ค. 15, 23:44


     เรื่องนางนพมาศ ลอยกระทงสมัยสุโขทัย อาจมีส่วนจริงก็ได้ครับ
แต่การคัดลอกแต่งเติมทีหลังแต่งเติมรายละเอียดเกินเลยไปทำให้ไม่น่าเชื่อถือ

กรมพระยาดำรงฯ พระทรงนิพนธ์  จากวารสารสยามสมาคม ปี ค.ศ. 1914

4. The Book of the Lady Nobhamat. This book was the work
of the Lady Nobhamat, a daughter of Phra SriMahosot, who was of the
Brahmin caste in Sukhothai. It relates how her father presented her
to be a wife of King Phra Ruang, and how she became first wife with
the title of Thao Sri Chulalaks. She lived in the royal palace, and became
familiar with the royal customs and observances. These she
noted down in her book, together with geographical details with regard
to places, villages and towns and the surroundings of the palace.
The whole is contained in three Siamese volumes, called variously the
Book of the Lady Nobhamat, or the Tables of Thao Sri Chulalaks.
    In reading this book I came to the conclusion that as regards
language it is a modern work of the Bangkok period
, the idiom being
different from that used in the time when Sukhothai was the capital.
Moreover there are certain things in it that cannot possibly be true,
such as the statement to the effect that there were foreigners, English,
French, Dutch, Spaniards, and even Americans, there. The truth is,
as we now know, that no such foreigners, or indeed any farangs at all,
had come to Siam at the time of the Lady Nobhamat. Furthermore in
the time of Sukhothai there could not have been big guns weighing a
hundred or a thousnand piculs, as such guns had not then been made
anywhere. For these reasons I came to suspect that it was a modern
work, which some one else had written, using the name of the Lady
Nobhamat. I once had an opportunity of putting the case before His
late Majesty, who said that as far as language goes the book was
certainly modern, and that there were certain things in it which could
not be true. On the other hand scholars formedy-King Mongkut
and Prince Wongsadirat-sanid in particular-admired the book very
much. Now they must have observed the element of the marvellous
in the book, the same as we do, and what other grounds they had for
putting faith in it we do not know.
But His Majesty King Chulalongkorn,
as the result of the examination he made, was of opinion
that an original version of the book once existed, that this original
version became impaired, and that it had been restored during the
Bangkok period, but that the person compiling the new version did
not have sufficient intelligence or knowledge for the purpose, as can
easily be seen.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 06 ต.ค. 15, 19:49

อีก 5 ปีมาดูกันใหม่นะคะ
เห็นบทสัมภาษณ์น้องเค้าบอกว่าชอบประวัติศาสตร์  ไม่แน่เดี๋ยวผมจะลองชวนมาที่เรือนไทยดู คราวนี้อาจจะได้เห็นพัฒนาการของน้องอย่างใกล้ชิดก็ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

เอาพัฒนาการด้านประวัติศาสตร์และกานท์กวีของน้องม.๕ คนนั้นมาฝากในวันประวัติศาสตร์

จดจำ ๖ ตุลา

ท้องฟ้าท่าพระจันทร์วันที่หก
สายฝนตกเป็นเลือดเดือดแดงฉาน
โลหิตชุ่มเจิ่งนองเป็นท้องธาร
ลานโพธิ์กลายเป็นลานประหารชีวิต

ตำรวจมุ่งดาหน้ามาธรรมศาสตร์
แล้วยิงกราดเดือดด้ำอำมหิต
พวกเขาหาว่าเด็กเป็นคอมมิวนิสต์
พวกเขาลากนิสิตไปแขวนคอ

กลิ่นเลือดคาวคละคลุ้งอวลทุ่งท้อง
ซากศพกองเกลื่อนวางอยู่ข้างหอ
มีแต่ความคลุ้มคลั่งทั้ง ม.ธ.
ต.ช.ด. ประชิดล้อมปิดไว้

ลำนำเลือดบรรเลงร้องกึกก้องเวียง
ม.ธ. เสนาะเสียงสำเนียงไห้
กระทิงแดงเดือดคลั่งไม่ยั้งใจ
เขาเข้าไปเข่นฆ่าปัญญาชน

แม่โดม จะโทมทุกข์เทวศไห้
เลือดลูกแม่โดมไหลไปทุกหน
พิราบร่วงจากฟ้านภาบน
มาให้คนเหยียบย่ำจนช้ำตาย

วิปโยคหกตุลาน่าสลด
แท้ควรจดจำมั่นสำคัญหมาย
วิปโยคหกตุลาขวาฆ่าซ้าย
จงอย่าได้ลืมเลือนเดือนตุลา

พริษฐ์ ชิวารักษ์
- ๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ -


https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1635004203426317&id=100007502595269
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 08 ต.ค. 15, 10:12

น้องไปได้ภาพละเลงเลือดนี้มาจากไหน  หรือว่าจินตนาการ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 08 ต.ค. 15, 11:39

"เพื่อนฉันยังไม่กลับจากในเมือง" ของ ศรีดาวเรือง อาจเป็นหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ "๖ ตุลา" ที่ผ่านสายตาเด็กม.๕ คนนี้

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=879330175450317&id=719476051435731
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 08 ต.ค. 15, 12:01

ทดสอบ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 08 ต.ค. 15, 12:04

น้องไปได้ภาพละเลงเลือดนี้มาจากไหน  หรือว่าจินตนาการ?

คาดเดาว่าน้องคงติดตามอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลามาจากหลายๆ แหล่งแหละครับ  ในขณะที่เหตุการณ์ 6 ตุลาไม่ได้รับความสนใจใส่ใจจากวัยรุ่นยุคใหม่เท่าไหร่ แต่ยังคงมีวัยรุ่นส่วนหนึ่งที่ยังสนใจรับรู้เหตุการณ์นี้อยู่  และใครก็ตามที่ติดตาม ได้อ่านบทความ ข่าว เรื่องเล่า ฯลฯ ย่อมมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมไปกับเรื่องราวเหล่านั้น  แม้ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ก็รู้สึกเศร้าหดหู่ได้  แบเดียวกับคนที่อ่านเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวแบบนั้นแหละครับ

ผมเองก็อ่านเรื่อง 14 ตุลา 6 ตุลามาตั้งแต่เด็ก อ่านแล้วก็รู้สึกเศร้ามาตั้งแต่สมัยนั้น  ขนาดว่าตอนเด็กๆ ถูกระบบการศึกษาและครอบครัวปลูกฝัง เป็นพวกขวาจัดตั้งแต่เด็ก แต่ได้เห็นภาพคนที่ถูกตีถูกแขวนคอ นศ. หญิงที่ถูกเผา ก็อดเศร้าไม่ได้ สงสัยเสมอว่าเขาและเธอเหล่านั้นเป็นใคร พ่อแม่ครอบครัวคนเหล่านั้นจะเศร้าโศรกแค่ไหน   และภาพโหดๆ เหล่านั้นไม่ได้หาดูยากเลยแม้แต่ในสมัยที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ต ผมเลยไม่แปลกใจที่น้อง ม.5 คนนี้จะได้อ่านได้ดูจนมีความรู้สึกร่วมและแสดงออกผ่านตัวหนังสือออกมา ยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 08 ต.ค. 15, 13:11

เรื่องหลายเรื่องเกิดขึ้นอย่างไม่น่าจะเกิด     ไม่ว่ามุมไหนของโลก   เมื่อเกิดแล้วก็มีแต่ความเศร้าใจสำหรับคนภายนอกที่ได้พบเห็น
แต่ดิฉันก็ไม่เห็นด้วยที่ใครสักคนจะเอามาตอกย้ำ เพื่อให้มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในความรู้สึก   เหมือนย้ำคิดย้ำทำ   ซึ่งมีแต่จะซ้ำเติมความเจ็บปวด โดยไม่มีทางออกควบคู่มาด้วย

คนที่ประสบพบเห็นด้วยตัวเองเหล่านั้น    ส่วนใหญ่ออกไปหมดแล้ว    น่าเสียใจด้วยสำหรับคนที่ยังไม่ออก  และคนที่เข้ามาใหม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 08 ต.ค. 15, 13:51

ได้เห็นภาพคนที่ถูกตีถูกแขวนคอ นศ. หญิงที่ถูกเผา ก็อดเศร้าไม่ได้ สงสัยเสมอว่าเขาและเธอเหล่านั้นเป็นใคร พ่อแม่ครอบครัวคนเหล่านั้นจะเศร้าโศรกแค่ไหน  

ชื่อของชายใต้ต้นมะขาม สัญลักษณ์ความโหดร้ายเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ อยู่ในป้ายเล็ก ๆ ที่ข้างบันไดตึก ๑ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

เรื่องราวของชายคนนั้น "วิชิตชัย อมรกุล" นิสิตปีที่ ๒ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถูกบันทึกไว้เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา

http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=3&s_id=50&d_id=51


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง