เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 38
  พิมพ์  
อ่าน: 236020 คุณครูคับ ข้อนี้ตอบอะไรคับ????
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 465  เมื่อ 05 ธ.ค. 18, 19:18

กระจ่างครับ  ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 466  เมื่อ 05 ธ.ค. 18, 19:50

เกลียดการเรียน Grammar ที่สุดค่ะ   
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมทำให้การเรียนภาษาของอีกประเทศหนึ่งยากมาก
สิ่งที่ยากสำหรับคนไทย จำนวนมาก (รวมดิฉันด้วย) คือเรื่อง กาล (Tense)  และพจน์(singular /plural) เพราะภาษาไทยไม่มีการจำแนกกริยาตามกาล แบบอังกฤษ  และไม่มีการเติม s  ท้ายคำนามให้รู้ว่าเป็น"หลาย" อย่าง   

ภาษาญี่ปุ่นมี Tense  และ Plural แบบอังกฤษไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 467  เมื่อ 06 ธ.ค. 18, 11:17

ภาษาญี่ปุ่นมี Tense  และ Plural แบบอังกฤษไหมคะ

มีเรื่อง Tense  ยิงฟันยิ้ม



https://my.dek-d.com/bcgs/writer/viewlongc.php?id=175020&chapter=30


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 468  เมื่อ 06 ธ.ค. 18, 19:03

ผมไม่มีความรู้ในภาษาญี่ปุ่นเลย ก็เพิ่งจะได้ความรู้จากกระทู้ตอบของคุณเพ็ญชมพูนี้เองว่า ไอ้ที่ผมได้ยินเสียงลงท้าย ....shita จนคุ้นหูนั้นมันไปเกี่ยวกับเรื่องของ tense ด้วย

สำหรับในภาษาเยอรมันนั้น พอจะจับความได้ว่า คำที่ขึ้นต้นด้วย ge....นั้น เป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว (past tense) ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 469  เมื่อ 06 ธ.ค. 18, 19:34

อ.เทาชมพู กล่าวถึงคำพหูพจน์ที่เติม s ต่อท้าย หรือ...es  หรือที่จะต้องเปลี่ยนท้ายคำเป็น ...ies  ดังที่เราคุ้นเคยจากที่เรียนกันมาเหล่านั้น   

ขออนุญาตเพิ่มเติมว่า ก็มีศัพท์ทางเทคนิคอยู่หลายคำที่เปลี่ยนรูปไป เช่น focus เป็นเอกพจน์  foci เป็นพหูพจน์   phenomenon เป็นเอกพจน์  phenomena เป็นพหูพจน์

แล้วก็มีหลายคำที่เมื่อมีตัว s ต่อท้ายแล้วมีความหมายในทางนามธรรมหรือรูปธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น ceramic กับ ceramics    physic กับ physics  เหล่านี้เป็นต้น

ก็ทำให้งง สะกดผิดสะกดถูกกันอยู่ไม่น้อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 470  เมื่อ 07 ธ.ค. 18, 12:41

ว่ากันว่า  ภาษาอังกฤษมีข้อยกเว้นที่มากกว่ากฎเกณฑ์เสียอีก   
เช่น  plural ที่ว่าต้องเติม s   ก็มีคำหลายคำที่เป็นคำใช้แพร่หลายทั่วไป ไม่อยู่ในกฎนี้
เช่น man  เป็นพหูพจน์   เป็น men  woman  เป็น women
ตอนเรียนต้องใช้ท่องจำอย่างเดียว   ไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้ว่า ทำไม a man ไม่กลายเป็น mans ถ้ามีผู้ชายหลายคน
ที่แสบกว่านี้คือศัพท์ลงท้ายด้วย s  กลายเป็นเอกพจน์     พอเป็นพหูพจน์  นอกจากตัด s ทิ้งยังเปลี่ยนศัพท์ตัวท้ายเป็นอย่างอื่น ที่ต้องท่องจำลูกเดียว
เช่น  Alumna, Alumnae, Alumni, Alumnus   ศัพท์พวกนี้ก่อความเจ็บปวดมาก เพราะถ้าไม่จำลูกเดียว  ก็ไม่รู้จะเอาหลักอะไรมาทำความเข้าใจ

Alumnus ศิษย์เก่า(สถาบันการศึกษา  โดยมากหมายถึงระดับมหาวิทยาลัย) ที่เป็นชาย   คำนี้เป็นเอกพจน์ แต่พอเป็นพหูพจน์  ไม่ยักใช้ Aumnuses  แต่เป็น Alumni
ถ้าเป็นผู้หญิง   กลายเป็น  Alumna หมายถึงศิษย์เก่าหญิง 1 คน
ถ้าหญิงมากกว่า 1 คน  ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป  ไม่ยักใช้ Alumnas     เจ็บปวดกว่านี้ คือใช้ Alumnae   ดูจากคำแล้วไม่น่าเป็นพหูพจน์ได้เลย  แต่ก็เป็น

เป็นที่น่ายินดีมากที่เดี๋ยวนี้ ฝรั่งผู้เวียนหัวกับการท่องจำ  ได้ตัดรำคาญด้วยการเรียก Alum  แบบง่ายๆ  แล้วถ้าหลายคนก็เป็น Alums หมดเรื่องไป ไม่แยกเพศหญิงเป็นชายอีกแล้ว
แต่ถ้าเป็นเอกสารทางการ  ยังคงใช้คำเดิมที่น่าปวดหัวอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 471  เมื่อ 07 ธ.ค. 18, 13:24

ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ อารยัน-กรีก-ละติน-อังกฤษ หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 472  เมื่อ 07 ธ.ค. 18, 14:19

คิดว่าใช่ค่ะ   แต่เป็นร่องรอยที่ท่องแล้วเหนื่อยสมองมาก เพราะไม่สามารถหาที่เรียนภาษาละตินได้ทันในชาตินี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 473  เมื่อ 07 ธ.ค. 18, 19:08

ก็ดูจะโชคดีอยู่บ้างนะครับ ที่คำเอกพจน์และพหูพจน์แปลกๆที่มีรากเหง้ามาจากภาษากรีกหรือละตินเหล่านี้ มักจะใช้กันอยู่ในภาษาในเรื่องที่เป็นเรื่องในเชิงเทคนิคและวิชาการ ซึ่งคนที่ใช้คำเหล่านี้ก็ดูเหมือนว่าต่างก็ใช้วิธีจดจำเอาว่า เมื่อเป็นเอกพจน์จะต้องใช้คำใด หรือเมื่อเป็นพหูพจน์จะต้องใช้คำใด  ซึ่งก็มักจะจำกันได้ไม่ยากนัก เพราะว่าคำเหล่านี้มีการใช้และปรากฎอยู่ในหนังสือตำราและเอกสารรายงานต่างๆจนคุ้นตา (รวมทั้งที่ต้องเขียนเองด้วย)

ผมมีความเห็นว่า คำเอกพจน์หรือพหูพจน์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้ ไม่ควรจะนำไปใช้เป็นข้อทดสอบความรู้ทางภาษากับเด็กในระดับการศึกษาภาคบังคับ (-- ม.6)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 474  เมื่อ 09 ธ.ค. 18, 10:41

ขอคั่นด้วยข้อสอบนี้
ที่จริงเรื่องนี้นำลงในเน็ตมาเป็นปีแล้ว  และมีคนเฉลยแล้ว   เพราะฉะนั้นขอร้องคุณเพ็ญชมพูอย่าทำลิ้งค์เฉลยคำตอบมาลง
แต่อยากรู้ว่าวิธีคิดหาคำตอบเขาทำกันยังไง  เป็นขั้นตอนน่ะค่ะ
ดิฉันได้คำปตอบว่าเป็นวันอาทิตย์  แต่สงสัยป.ล.ว่าคนที่ตอบว่าวันพุธหรือวันอื่นๆ เขาคิดกันแบบไหนยังไง

ป.ล.ไม่ใช่ข้อสอบเข้าสาธิตจุฬาอย่างที่อ้างมั่วๆนะคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 475  เมื่อ 09 ธ.ค. 18, 11:22

เพียงหวังให้วันเป็นเช่นวันศุกร์
นึกสนุกตั้งจิตอธิษฐาน
ขอพรุ่งนี้ให้เป็นเช่นวันวาน
ศุกร์สราญสุขแท้หนามาแล้วเอย


ป.ล. นั่งไทม์แมชชีนไป "Somewhere in Time" พบท่านอาจารย์ใหญ่ เห็นลงคำเฉลยวิธีคิดไว้แล้วนี่หนอ 



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 476  เมื่อ 09 ธ.ค. 18, 11:26

คำตอบคือวันศุกร์หรือคะ
ดิฉันตอบว่าวันอาทิตย์
ทำไมถึงเป็นวันศุกร์?

ป.ล. เคยเฉลยไว้แล้วหรือคะ  จำไม่ได้
งั้นเงียบๆไว้ก่อน  อย่าให้ใครตามหาเจอนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 477  เมื่อ 09 ธ.ค. 18, 11:34

คำตอบคือวันศุกร์หรือคะ
ดิฉันตอบว่าวันอาทิตย์
ทำไมถึงเป็นวันศุกร์?

หามิได้ มิใช่หนอ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 478  เมื่อ 09 ธ.ค. 18, 13:54

ขอคั่นด้วยข้อสอบนี้
ที่จริงเรื่องนี้นำลงในเน็ตมาเป็นปีแล้ว  และมีคนเฉลยแล้ว   เพราะฉะนั้นขอร้องคุณเพ็ญชมพูอย่าทำลิ้งค์เฉลยคำตอบมาลง
แต่อยากรู้ว่าวิธีคิดหาคำตอบเขาทำกันยังไง  เป็นขั้นตอนน่ะค่ะ
ดิฉันได้คำปตอบว่าเป็นวันอาทิตย์  แต่สงสัยป.ล.ว่าคนที่ตอบว่าวันพุธหรือวันอื่นๆ เขาคิดกันแบบไหนยังไง

ป.ล.ไม่ใช่ข้อสอบเข้าสาธิตจุฬาอย่างที่อ้างมั่วๆนะคะ

ความสำคัญอยู่ที่...พรุ่งนี้เป็นเมื่อวาน...ครับ
ถ้าเอา เมื่อวานไปเป็นพรุ่งนี้ คำตอบคือ วันอาทิตย์

ถ้าเอา พรุ่งนี้ไปเป็นเมื่อวาน คำตอบคือ วันพุธ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 479  เมื่อ 09 ธ.ค. 18, 13:56

ขอบคุณค่ะคุณหมอ
กรุณาขยายความได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง