เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 38
  พิมพ์  
อ่าน: 236037 คุณครูคับ ข้อนี้ตอบอะไรคับ????
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 16 ก.พ. 13, 22:01

อ่านตัวอย่าง O-Net ม.๖ แล้วอดคิดไม่ได้ว่าคงได้คะแนนไม่ถึง ๒๕% ใจผมคิดว่าข้อสอบมีจุดอ่อนมาก เช่นไม่คำนึงถึงพื้นเพของเด็ก เช่น ถามเรื่องแกงมัสมั่น ผมไม่แน่ใจว่าเป็นแกงที่กินกันทั่วประเทศ อาจมีเด็กที่มีความสามารถแต่ไม่เคยชิมแกงนี้เลยก็ได้  การใช้ชื่อต่างชาติเป็นภาษาไทยก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เช่น ชาลี แชบลิน อ่านแล้วไม่เห็นใกล้เคียงกับ Charlie Chaplin เลย
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 00:38


คำถามข้อนี้ ขอตอบว่า แคนาดา กับมาเลย์เซีย   เหมือนไทยตรงที่มีกษัตริย์  
กษัตริย์ของแคนาดาคือกษัตริย์สหราชอาณาจักรอังกฤษ

ถ้าผิดก็อดไปหาละครมาแก้บน  เศร้า

แหม่ ข้อนี่เด็กขี้สงสัยอย่างผมอดสงสัยไม่ได้ว่าคำว่า "รูปแบบรัฐ" ที่คนออกถามนี่มันหมายถึงแบบไหน รูปแบบการปกครอง หรือรูปแบบของการรวมตัวกันเป็นรัฐ  เพราะเดาใจไม่ถูกว่าคนออกข้อสอบนิยามรัฐแบบไหน เช่นรัฐแบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข      หรือรัฐแบบอำนาจการปกครองมาจากส่วนกลางแล้วแบ่งการปกครองย่อยเป็นจังหวัดหรือสาธารณรัฐแบบที่ปกครองแบบรัฐเดี่ยว    หรือรัฐแบบที่แต่ละรัฐย่อยมีอำนาจการปกครองของตัวเองขนาดหนึ่ง  เพียงแต่มารวมตัวกันเป็นรัฐใหญ่ เลือกประมุขแต่ละรัฐมาเป็นประมุขของประเทศแบบมีวาระแบบมาเลเซีย   หรือจะดูรัฐแบบที่ประมุขของรัฐทำหน้าที่ประมุขเท่านั้น แต่ไม่ได้มีอำนาจบริหาร ไม่เกี่ยวว่าจะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี เพราะแบบนี้สิงคโปร์ก็เหมือนไทย  เจอคำถามแบบนี้เข้าไปจับหลักคำถามไม่ถูก


คุณหมอศานติทำได้ตั้ง 25% ผมได้ไม่ถึง 10%  ถ้าสอบข้อสอบชุดนี้ อนาคตเรียนรามได้อย่างเดียว  ยิงฟันยิ้ม  อ้อ ละครแต่ละเรื่องที่เค้าเอามาออกสอบผมก็ไม่เคยดูเลยซักเรื่อง   เศร้า เจอแบบนี้ตายหยังเขียด


ผ่านมาจนบัดนี้ เลยยังไม่รู้เลยว่าใครคือผู้วิจารณ์อย่างสุนทรีย์  เศร้า
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 07:19

^
ชาลี แชปลิน จากหนังเรื่อง คนจรจัด (The Tramp) The Kid (1921) , City Light (1931) , Modern Times (1936) และ The Great Dictator (1940) ครับ

หนังตลกก็จริง แต่เสียดสีสังคมไปด้วย สุดท้ายถูกเนรเทศจากอเมริกาไปอยู่สวิตเซอร์แลนด์ข้อหาฝักไฝ่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 09:26

ข้อสอบแบบนี้เดาใจอย่างเดียวค่ะ    จะวัดความจำของเด็ก หรือความสามารถในการเรียนรู้   หรือความถนัดในสาขาวิชาที่จะเรียนต่อ ก็คงไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 10:00

^
ผมเห็นด้วยครับ

ดังที่ผมได้แสดงความเห็นไว้
อ้างถึง
คำถามทุกคำถามในโลกนี้ จะยากหรือจะง่าย ขึ้นอยู่กับว่าเราเคยได้เห็นได้อ่าน ได้ยินได้ฟังมาก่อนหรือเปล่า ถ้าเคยแล้วจำได้ เราก็บอกว่าง่าย ถ้าไม่เคย เราก็บอกว่ายาก


สมัยอยู่มหาวิทยาลัย มีผู้ขุดหนังเรื่องยาวของชาลี แชปลิ้นมาฉายใหม่ เรื่องแรกที่เข้าโรงคือ Modern times ชื่อพากษ์ไทยว่า เก๋ากึ๊ก เนื้อเรื่องเป็นเรื่องหนุ่มพเนจรสิ้นไร้ไม้ตอกมาสมัครทำงานเป็นกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรม ได้งานคุมเครื่องจักรที่ตนต้องทำงานให้เหมือนเครื่องจักรไปด้วย สุดท้ายทำไม่ทันเครื่องถูกนายจ้างเตะโด่งให้ออกจากโรงงานไป พวกผมก็ดูไปหัวเราะดิ้นไปในท่าตลกของชาลี ไม่ได้คิดเรื่องอื่นเลย จวบจนได้ไปฟังอาจารย์สดใส วานิชวัฒนาที่คณะอักษรแผนกการละครท่านเลกเซ่อร์ว่า ชาลี แชปลิ้นล้อเลียนสังคมอเมริกันในยุคนั้นอย่างไร และใครคือพวกที่หัวเราะไม่ออก


ตั้งแต่นั้นมา ผมเลยดูตลกชาลีแชปลิ้นไม่เหมือนเดิม

อย่างว่าแหละครับ ที่ผมตอบข้อนี้ได้ ก็เพราะได้ยินมา คิดเองไม่เป็นหรอก มันลึกไป
ถ้าเจอข้อสอบนี้ก่อนได้ฟังอาจารย์สดใส ก็คงตอบไม่ได้
ฟังแล้ว จำได้ก็ตอบได้
แต่ถูกผิดเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ คนออกข้อสอบอาจจะไม่ได้คิดเหมือนอาจารย์สดใสก็ได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 10:03

ข้อสอบ "โอเน็ต" ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา สร้างความฉงนสงสัยให้กับเด็กระดับ ม. ๖ ที่เข้าสอบ หรือแม้กระทั่งผู้คนทั่วไปที่ได้รับรู้อยู่ไม่น้อย

กระทั่งมีการตั้งกระทู้ตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต ให้รุ่นพี่ รุ่นน้องมาช่วยกันหาคำตอบ ช่วยกันวิเคราะห์ว่าคำตอบใดกันแน่ที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ทีมข่าว "มติชน" ลองสอบถามไปยังนักวิชาการด้านการศึกษา ให้แสดงทรรศนะถึงข้อสอบที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์อยู่ขณะนี้

"รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ" อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า ข้อสอบปีสองปีที่ผ่านมา ลักษณะของข้อสอบยังคงยากอยู่

แต่วิธีการตอบหรือเทคนิคง่ายขึ้น เมื่อก่อนจะยากทั้งตัวเนื้อหาและเทคนิค แต่ปีนี้อยู่ที่ตัวเนื้อหาอย่างเดียว เรื่องเทคนิคก็จะเป็น ๕ ตัวเลือก แล้วก็ลักษณะของข้อสอบการโยงเรื่องการวิเคราะห์อะไรไม่ยากเหมือนเมื่อก่อน นี่เป็นประเด็นที่หนึ่งที่เห็น

ต่อมาคือลักษณะของการออกข้อสอบ ค่อนข้างเห็นความแตกต่างระหว่างเด็กในเมืองและเด็กในชนบท

ถ้าเด็กในเมืองโอกาสการติดตามข้อมูลข่าวสารหรือการเข้าถึงจะดีกว่าเด็กในต่างจังหวัด หากสังเกตดูจะพบว่า ข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์ เรื่องของระบบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มผู้ออกข้อสอบส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยกับอาจารย์โรงเรียนสาธิตต่าง ๆ มีบางส่วนที่มาจาก สพฐ.

ฉะนั้นข้อสอบจึงมีลักษณะค่อนข้างไม่ยุติธรรมในเชิงของภูมิภาค

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีความเห็นอย่างไรกับข้อสอบที่ถามว่า "ถ้าจะปลูกฝังความเป็นไทยต้องให้ดูละครเรื่องอะไร"

รศ.ดร.สมพงษ์กล่าวว่า การออกข้อสอบในลักษณะนี้ต้องใช้ความระมัดระวัง

เพราะเราบอกว่าไม่ส่งเสริมให้เด็กดูละคร แต่หากไม่ดูเด็กก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ข้อสอบข้อนี้ได้ ซึ่งข้อสอบในลักษณะนี้เป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์

เวลาที่เด็กคิดหาคำตอบจะมีความแตกต่างกันเรื่องของฐานข้อมูลกับเรื่องราวที่ใช้ในการตัดสินใจตอบ ข้อสอบแบบนี้จะวัดได้ยาก เพราะเด็กจะต้องดูละครทั้ง ๕ เรื่อง จึงจะนำความรู้ในนั้นมาตอบข้อสอบ ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไรที่เด็กทุกคนจะดูครบทุกเรื่อง

ด้านผู้ปกครอง "มติชน" นำข้อสอบที่เพิ่งมีการสอบในปีนี้ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้นมาให้ลองตอบ พร้อมทั้งขอเหตุผลว่าทำไมถึงเลือกคำตอบนี้

"วิเชษฐ ดีประดิษฐ" ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนหอวัง ได้รับคำถามว่า "ถ้าจะปลูกฝังความเป็นไทยต้องให้ดูละครเรื่องอะไร?" โดยมีตัวเลือกคือ ๑.ขุนศึก ๒.สี่แผ่นดิน ๓.ดอกส้มสีทอง ๔.แรงเงา และ ๕.กี่เพ้า

ผู้ปกครองคนนี้เลือกตอบข้อ ๒.สี่แผ่นดิน โดยให้เหตุผลว่า เรื่องราวของสี่แผ่นดินเป็นการถ่ายทอด การนำเสนอภาพของประเทศในแต่ละยุคสมัย โดยสอดแทรกเรื่องวัฒนธรรมประเพณีเข้าไปตลอดทั้งเรื่อง ทำให้คนดูซึมซับว่าประเพณีไทยเป็นอย่างไรบ้าง

ซึ่งข้ออื่น ๆ อย่างขุนศึก เป็นเนื้อหาละครที่เน้นเรื่องความรักชาติ ซึ่งถือว่ามีแง่มุมของความเป็นไทยน้อยกว่า ขณะที่ตัวเลือกอื่น ๆ ที่เหลือขอตัดออกไปเลย

หลังจากลองทำข้อสอบ "วิเชษฐ" ให้ความคิดเห็นว่า ความคิดการวิเคราะห์ของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ถ้ามีเจตนาให้เด็กคิดก็ควรจะมีคำตอบมากกว่า ๑ ข้อ

"การที่ให้ผู้ใหญ่มาออกข้อสอบก็เลยเป็นความคิดของผู้ใหญ่ซะมาก ลักษณะการทำข้อสอบเชิงวิเคราะห์แบบนี้ ผมอยากจะให้ได้คะแนนให้ทุกข้อที่ตอบถูก เพราะถูกหลายข้อแล้วแต่คนวิเคราะห์คืออาจจะถูกมากกว่า ๑ ในเมื่อเราต้องการให้เด็กวิเคราะห์แสดงทรรศนะ ฉะนั้นคำตอบไม่น่าจะมีข้อที่ถูกเพียงแค่ ๑ เราต้องฟังทรรศนะเขาด้วย" วิเชษฐกล่าว

อีกคนหนึ่ง สวนกลับในทันทีหลังจากเห็นโจทย์

"ข้อสอบข้อนี้ออกมาได้ไง ตอบไม่ได้หรอกแล้วจะรู้ได้อย่างไร ใครวิจารณ์อะไร" "อรุณ บ่างตระกูลนนท์" นายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ กล่าว หลังจากได้ฟังข้อสอบวิชาศิลปะ ที่ถามว่า "ใครคือผู้วิจารณ์อย่างสุนทรีย์?"

และก็เลี่ยงที่จะตอบข้อนี้

ก่อนที่จะได้รับอีกหนึ่งคำถามจากวิชาสุขศึกษา ว่า "สถานการณ์ใดเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยมากที่สุด?" มีตัวเลือกคือ ๑.ฉลองวันเกิดที่ผับชื่อดัง ๒.ขับรถกลับบ้านขณะมึนเมา ๓.คบเพื่อนที่ชอบซิ่งรถจักรยานยนต์ ๔.พนักงานมักพูดคุยขณะเติมน้ำมันให้ลูกค้า ๕.คาดเข็มขัดนิรภัยทันที เมื่อเห็นตำรวจจราจร

อรุณ ตอบว่า ก่อนอื่นขอตัดคำตอบข้อที่ ๓ ออกก่อนเพราะเราอาจจะแค่คบเพื่อนแต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำตามเพื่อน ขณะที่ข้อที่ ๑.ฉลองวันเกิดที่ผับชื่อดัง ก็ไม่จำเป็นต้องอันตราย ตัวเลือกที่ ๔ พนักงานมักพูดคุยขณะเติมน้ำมันให้ลูกค้า ก็ไม่ใช่ยิ่งข้อ ๕ ตัดไปได้เลย ฉะนั้นขอตอบข้อ ๒ ที่บอกว่า ขับรถกลับบ้านขณะมึนเมา เพราะมีความอันตรายแบบชัดเจนเลย

ผู้ปกครองรายนี้มีข้อเสนอแนะถึงผู้ออกข้อสอบว่า ควรจะมีคณะกรรมการที่เข้ามาศึกษาเรื่องการออกข้อสอบ รวมทั้งปรึกษากันเพื่อออกข้อสอบให้มีความชัดเจนและเหมาะสม อีกทั้งคนที่ออกข้อสอบควรเป็นคนที่สอนหนังสือและคลุกคลีกับนักเรียนอยู่ในปัจจุบัน

ในขณะที่ "อุทุมพร จามรมาน" อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มองว่า ตามหลักการออกข้อสอบจะต้องยึดตามหลักสูตรการเรียนรู้ และจะต้องออกให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักการออกข้อสอบแบบวัดความคิดเห็น จะไม่มีการให้คะแนนแบบถูกผิด แต่จะต้องมีการเฉลี่ยคะแนนแต่ละข้อ ซึ่งจะมีข้อหนึ่งที่ได้คะแนนมากที่สุด ส่วนข้อสอบแบบวัดความรู้ และการคิดวิเคราะห์ จะมีคำตอบถูก ผิด ชัดเจน และสามารถอธิบายตามหลักวิชาการได้

"กาญจนา นาคสกุล" ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ระบุว่า ปัจจุบันการออกข้อสอบอาจจะยังไม่มีความชัดเจนในบางส่วน

รวมถึงการออกข้อสอบเน้นความรู้เฉพาะเจาะจงมากเกินไป จนเด็กไม่สามารถตอบคำถามได้ อย่างเช่น ข้อสอบที่ถามเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางในกรุงเทพฯ หรือว่าความรู้ที่รู้เฉพาะคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น แต่เด็กต่างจังหวัดไม่สามารถตอบได้

ปัจจุบันการออกข้อสอบยังมีหลายข้อใช้ภาษาและคำถามไม่ชัดเจน จึงทำให้นักเรียนหลายคนเกิดความรู้สึกว่าคำตอบถูกทุกข้อ

การออกข้อสอบควรเน้นความเป็นธรรมกับนักเรียนทุกคน ต้องเป็นความรู้ได้จากตำราเรียน และความรู้ที่เด็กจะได้จากการเรียนแต่ละวิชา แต่ถ้าเป็นความรู้ทั่วไป ก็ต้องเป็นความรู้ที่นักเรียนทั้งประเทศที่รู้ และสามารถตอบได้

แต่ในปัจจุบันการออกข้อสอบเน้นถามเรื่องที่ครูรู้ แต่เด็กไม่รู้ และครูออกข้อสอบซับซ้อนมากเกินไปจนเด็กตอบไม่ได้

และนี่คืออีกเสียงสะท้อนต่อการสอบโอเน็ตของเด็กไทย


จาก มติชนรายวันฉบับวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 10:26

ดิฉันขอเสนอว่าในการทำข้อสอบปีต่อไป   พอผู้ทรงคุณวุฒิออกข้อสอบเสร็จแล้ว   ไม่ต้องมาถกเถียงอะไรกันให้เสียเวลา  แต่ไปเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีหน้าที่ออกข้อสอบ  และไม่รู้ข้อสอบ    มานั่งทำข้อสอบเป็นหนูตะเภาทดลองก่อน    ดูซิว่าจะตอบข้อสอบได้สักกี่ข้อ
ถ้าไม่รู้จะไปสุ่มมาจากกลุ่มไหน มาเอาที่เว็บเรือนไทยดอทคอมก็ได้ค่ะ    จะส่งเจ้าประจำทั้งหมดไปทำข้อสอบ   
ผลเป็นยังไง  สอบผ่านกันกี่ %   ก็เอาอันนั้นแหละมาเป็นตัววัด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 10:28



ชื่อข้างบนน่าจะมีปัญหาในการจำมาถ่ายทอด ชื่อที่ถูกต้องน่าจะเป็นดังนี้

ก.  

ข. ราล์ฟ สมิธ Ralph smith

ค. ชาร์ลี แชปลิน Charlie Chaplin

ง. แบร์ทอลท์ เบรคชท์ Bertolt Brecht

จ. จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ George Bernard Shaw

ลองถามคุณกุ๊กดูใหม่ อาจจะได้คำตอบ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 10:47

^
ตรงนี้ต้องถือว่า คนออกข้อสอบ สอบตกอย่างให้อภัยมิได้ ควรพิจารณาตนเองด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 10:58

^
^
ขออนุญาตว่าความให้ผู้ออกข้อสอบ  ยิ้มเท่ห์

ข้อสอบน่าจะถูกต้อง แต่นักเรียนผู้จำมาถ่ายทอดจำผิด และผู้ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาไม่ว่าจะเป็นเว็บเด็กดีหรือช่อง ๓ ก็ไม่ตรวจสอบให้ดีก่อนนำไปเผยแพร่







บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 15:48

ก็แล้วไป
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 16:14

เข้ามาเฉลยข้อแรก ผู้วิจารณ์อย่างสุนทรีย์ครับ  คำตอบคือ ราล์ฟ  สมิธ

"ขั้นตอนการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ตามทฤษฎีการวิจารณ์อย่างสุนทรีย์ของราล์ฟ  สมิธ มีดังนี้

    ๑. การบรรยาย

        ผู้วิจารณ์ต้องสามารถพูดหรือเขียนในสิ่งที่รับรู้ด้วยการฟัง ดู รู้สึก รวมทั้งการรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของการแสดง โดยสามารถบรรยายหรือแจกแจงส่วนประกอบต่างๆ ทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงหลักเกณฑ์ศิลปะสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือแยกแยะเป็นส่วนๆ

    ๒. การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ในผลงานการแสดงนาฏศิลป์ของไทย ประกอบด้วย

๒.๑  รูปแบบของนาฏศิลป์ไทย เช่น ระบำ รำ ร้องและโขน เป็นต้น
๒.๒  ความเป็นเอกภาพของนาฏศิลป์ไทย โดยผู้แสดงต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๒.๓  ความงดงามของการร่ายรำและองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ความถูกต้องของแบบแผน
        การรำ ความงดงามของลีลาท่ารำ ความงดงามด้านวรรณกรรม ความงามของตัวละคร
        ลักษณะพิเศษในท่วงท่าลีลา เทคนิคเฉพาะตัวผู้แสดง บทร้องและทำนองเพลง
        เป็นต้น

    ๓. การตีความและการประเมินผล

        ผู้วิจารณ์จะต้องพัฒนาความคิดเห็นส่วนตัวประกอบกับความรู้ หลักเกณฑ์ต่างๆ มารองรับสนับสนุนความคิดเห็นของตนในการตีความ  ผู้วิจารณ์ต้องกล่าวถึงผลงานนาฏศิลป์โดยรวมว่าผู้เสนอผลงานพยายามจะสื่อความหมายหรือเสนอแนะเรื่องใด โดยต้องตีความการแสดงผลงานนาฏศิลป์นั้นให้เข้าใจ

        ส่วนการประเมินนั้นเป็นการตีค่าของการแสดงโดยต้องครอบคลุมประเด็น ดังนี้ แสดงได้ถูกต้องตามแบบแผน ผู้แสดงมีทักษะ สุนทรียะ มีความสามารถ และมีเทคนิคต่างๆ นอกจากนี้ ต้องประเมินรูปแบบลักษณะของงานนาฏศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์  เป็นต้น"

ที่มา  http://www.aksorn.com/lib/detail_print.php?topicid=849     ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

เป็นข้อสอบที่เอามาจากตำราล้วนๆ  ถ้าใครไม่เคยอ่านหรือจำไม่ได้ ตีความคำว่าวิจารณ์อย่างสุนทรีย์ตามพื้นความรู้เก่านอกตำราหรือจากประสบการณ์ที่มีก็มีหวังสอบตกแหงๆ เพราะถ้าพิจารณาแค่คำว่าวิจารณ์อย่างสุนทรีย์แบบไม่ลอกตำรามา ผมก็มองว่าชาลี แชปลินหรือจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ต่างก็วิจารณ์สังคมออกมาอย่างสุนทรีผ่านหนังหรือวรรณกรรม   ผมดูหนังของชาลีเรื่องแรก City Light แทนที่จะขำตลกตกเก้าอี กลายเป็นดูไปสะอึกสะอื้นไป  ร้องไห้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 18:10

^
ชาร์ลี แชปลิน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 19:38

ราล์ฟ สมิธ เป็นคนเขียนหนังสือเรื่อง  Aesthetic  Criticism  : The Method of Aesthetic  Education  อยู่ในสาขาศิลปศึกษา
คำว่า"ทฤษฎีการวิจารณ์อย่างสุนทรีย์ของราล์ฟ  สมิธ" คำว่าสุนทรีย์ในที่นี้ เป็นคำเฉพาะค่ะ   ไม่ใช่คำว่าสุนทรีย์หรือไม่สุนทรีย์ในความหมายทั่วไป   เหมือนเราอาจจะแซวเพื่อนว่า แกตอบแบบนี้มันไม่สุนทรีย์เอาซะเลย

ถ้าจะแปลอีกอย่างคือทฤษฎีการวิจารณ์เชิงสุนทรียศาสตร์ 
เด็กนักเรียนม.ปลายเรียนงานของราล์ฟ สมิธในวิชาศิลปะด้วยหรือ?  ถ้าเรียนก็ตอบได้  ถ้าไม่ได้เรียนก็ตอบไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 17 ก.พ. 13, 20:41


จาก หนังสือศิลปะนาฏศิลป์ ม.๔ – ๖ สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ และ สุมนรตี นิ่มเนติพันธ์ อักษรเจริญทัศน์, กรุงเทพฯ ๒๕๕๑

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง