เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 38
  พิมพ์  
อ่าน: 235837 คุณครูคับ ข้อนี้ตอบอะไรคับ????
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 19 พ.ย. 16, 20:09

ถูกใจและตรงใจเป็นอย่างมากกับความเห็นของ อ.เทาชมพู ครับ   ผมก็มีความรู้สึกและเห็นในลักษณะเช่นเดียวกันนี้    ตัวเองก็จดๆจ้องๆอยู่นานแล้วว่าจะเข้าไปเสวนาในเรื่องเหล่านี้ในกระทู้บ่นเรื่องการศึกษาฯของคุณประกอบ แต่ก็เกรงว่าตนเองจะออกอาการบ่นจนมากเกินไป    จนได้อ่านความเห็นของ อ.เทาชมพู นี้ เลยถึงจุดที่ต้องขอออกมาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

ผมเองเคยทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เด็กระดับมัธยม ให้แก่คุณครูผู้สอนเด็กในระดับประถมและมัธยม และให้แก่อาจารย์ที่สอนในระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งเคยเป็นอาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาในระดับ Post grad.  นานอยู่พอควรทีเดียว   ก็เลยพอจะมีประสพการณ์ได้สัมผัสกับสภาพความเป็นจริงของการศึกษาของไทยหลายระดับทั้งในเขตพื้นที่เมืองและเขตชนบท
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 19 พ.ย. 16, 21:25

ผมเห็นว่า สภาพแวดล้อมหลายๆอย่างเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดกระบวนการ "คิด" 

ผมได้รับคำถามที่น่าสนใจและน่าทึ่งมากมายจากการเป็นวิทยากรให้กับเด็กนักเรียนนอกต่าง จว. มากกว่าที่จะได้รับจากเด็กในเขตเมืองใหญ่   ซึ่งคำถามหนึ่งที่ผมจำได้แม่นมากๆ คือ ครั้งหนึ่งได้ไปกับเด็กในระดับ ม.ปลาย ไปดูเหมืองแร่ Fluorite ซึ่งแร่ตัวนี้มีสูตรทางเคมีว่า CaF2 (แคลเซี่ยมฟลูออไรด์) ก็อธิบายไปในเรื่องของกระบวนการเกิดแร่ตัวนี้ว่า เกิดเนื่องมาจากมีน้ำแร่ร้อนที่มีธาตุฟลูออรีนมาสัมผัสและแลกเปลี่ยนธาตุบางตัวกับหินปูนซึ่งมีส่วนประกอบทางเคมีว่า CaCO3 ซึ่งหินปูนนี้ก็เกิดมาจากการตกตะกอนของสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีอยู่ในน้ำทะเล  แล้วก็มีเด็กคนหนึ่งถามว่าในน้ำทะเลก็มีธาตุไอโอดีนอยู่ด้วย แล้วทำไมจึงไม่มี Iodine ไปทำปฏิกริยากับ Fluoride ให้เป็นแร่ที่มีส่วนประกอบเป็น Iodine Fluoride เกิดร่วมมาด้วย    ก็เลยต้องบอกเด็กไปว่า ตอนเย็นที่แคมป์ค่อยมาฟังคำอธิบายยาวๆ เย็นนั้นก็มีเด็กเป็นกลุ่มเลยที่มานั่งฟังด้วยความสนใจ

สนุกดีครับ เรียนมาเยอะรู้มาเยอะ หากรู้จริงก็ต้องสามารถอธิบายเรื่องทางวิชาการที่ยากๆให้ฟังและเข้าใจได้อย่างง่ายๆ

ครับ เป็นเรื่องที่สามารถอธิบายได้อย่างค่อนข้างจะหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ฐานใดในการอธิบาย ทางเคมี ? ฟิสิกส์ ? หรืออื่นๆ ฯลฯ สุดแท้แต่ว่าจะเลือกใช้ฐานของสาขาวิชาใด  คำตอบและคำอธิบายจึงมีหลากหลายสำหรับคำถามหนึ่งเดียวนั้นๆ           
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 20 พ.ย. 16, 13:31

อยากให้คุณตั้งเข้ามาเล่าประสบการณ์เยอะๆ เลยครับ
ในฐานะทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษาแต่เป็นปลายทางแล้ว ได้เห็นผลลัพธ์จากระบบการศึกษาปัจจุบันว่ามันทำลายนักเรียนของเราไปจำนวนไม่น้อย ก็ได้แต่ทอดถอนใจ

มีบทความหนึ่งที่ได้อ่านและเห็นด้วยกับผู้เขียนมากๆๆๆๆๆๆ เลย จากการได้เห็นข้อสอบ สสวท ชั้น ป.3 ที่ยากขนาดผมที่เคยเดินเฉียดปริญญาเอกมาตอบไม่ได้เหมือนกัน เลยยกมาให้ดูกัน
เราไม่ได้กำลังสอนให้เด็กคิดและเรียนรู้ไปตามวัย แต่กำลังเร่งเอาสิ่งที่เกินวัยมาสอนมาสอบกัน และคิดว่านั่นคือความสำเร็จ
แน่นอนว่าย่อมมีเด็กบางส่วนสำเร็จได้ตามการศึกษาระบบยัดเยียดเกินวัย
แต่ส่วนมากกว่ามากๆ คือที่ถูกทำลายความกระหายที่จะเรียนรู้และกระบวนการคิดไปอย่างถาวร และหลีกหนีไปจนกลายเป็นติดใจกับอะไรที่ง่ายๆ สำเร็จรูป ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพยายามไปจนโตแทน

Matipon Tangmatitham
18 November at 03:32 ·

ภาพข้อสอบป. 3 มหาโหดที่แชร์นี้ ดูเหมือนจะเป็นข้อสอบส่วนหนึ่งของการคัดเลือกเข้าโครงการอัจฉริยภาพ ก่อนที่จะเข้าใจผิด นี่ไม่ใช่ข้อสอบเด็กป. 3 ทั่วๆ ไปนะครับ นี่เป็นการคัดเลือกเด็ก ป. 3 เข้าห้องเรียนพิเศษ ที่โครงการอัจฉริยภาพคัดเอาเด็ก "เก่ง" มาเรียนในเนื้อหาที่แอดวานซ์กว่าเด็กทั่วๆ ไปในชั้นปีเดียวกัน เพื่อที่หวังจะสร้างอัจริยะในอนาคต

นี่ไม่ใช่ข้อสอบสำหรับเด็กทั่วๆ ไป แต่เป็นการวัดเด็ก "อัจฉริยะ" เพื่อที่จะได้เข้ามาเรียนในห้องเรียนพิเศษ ที่ใช้หลักสูตรพิเศษ

ซึ่งข้อสอบนี้ สะท้อนค่านิยมอย่างหนึ่งที่อยู่อย่างแพร่หลายในสังคมไทยได้อย่างชัดเจน

ค่านิยมนี้ก็คือ "เรียนเร็ว = เก่ง"

เรามองเด็กกันที่ relative intelligence ว่าเด็กป. 3 ยังแซงหน้าเพื่อนๆ ไปขนาดนี้ แล้วก็ interpolate เอาว่าคิดดูสิ ว่า ม. 3 และ ปี 3 มันจะขนาดไหน

แนวคิดนี้ มีจุดบกพร่องหลายอย่าง

อันดับแรก คือสิ่งที่เราเห็นนั้น มันคือ relative knowledge เราแค่ยัดเยียดให้เด็กรู้มากกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน แต่ knowledge นั้นไม่ใช่ intelligence

อันดับที่สอง เราสนใจกันแต่ relative intelligence แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือ absolute intelligence เสียมากกว่า เรามุ่งเน้นแต่การสร้างเด็กที่เก่งกว่าเด็กคนอื่นในรุ่นเดียวกัน แต่เราลืมสนใจไปว่า ปลายทางแล้วเด็กคนนี้จะเป็นผู้ใหญ่เช่นไร

พูดอีกอย่างก็คือ เด็กเหล่านี้ก็แค่ "รู้เร็ว" กว่าเพื่อนๆ เขาในชั้นเดียวกันเพียงเท่านั้น ให้เปรียบเทียบก็คือ มีน้ำสองแก้ว เราเห็นน้ำแก้วแรกเติมได้เร็วกว่าแก้วที่สอง เราก็สรุปเอาว่าสุดท้ายแล้วแก้วแรกนี้จะต้องจุน้ำได้เยอะกว่าแน่ๆ เพราะว่าเวลาที่อีกแก้วหนึ่งเติมไปได้นิดเดียว แก้วนี้เติมไปเยอะแล้ว

จนเราลืมคิดไปว่า แก้วน้ำแก้วนี้นั้นก็แค่เติมได้เร็ว สุดท้ายถ้าหากว่าน้ำเต็มแก้วแล้ว แก้วนี้ก็ล้นเหมือนกันนั่นแหล่ะ และการเติมได้เร็วกว่าไม่ได้หมายความว่าจะมีความจุมากกว่าแต่อย่างใด เผลอๆ ยิ่งเติมเร็วยิ่งเต็มเร็วอีกต่างหาก

อันดับที่สาม ไม่มีหลักฐานใดที่ยืนยันได้ว่า interpolation เหล่านี้เป็นจริง เราทึกทักไปเองว่าเด็กที่เรียนได้ก่อนคนอื่น โตขึ้นมาจะต้องเก่งกว่า แต่ความเป็นจริงแล้วนั้นการศึกษาเกือบทุกอย่าบ่งชี้ว่าการเรียนเร็วและเยอะเกินไปส่งผลร้ายต่อการศึกษาในระยะยาวเสียด้วยซ้ำ

จริงอยู่ ตัวอย่างของเด็กที่เรียนเร็วและทำได้ดี มีให้เห็นเยอะแยะ แต่เราต้องถามก่อนว่านิยามว่าการ "ทำได้ดี" ที่เราเห็นนั้นคืออะไร? นั่นคือหากเราพยายามเอาเงื่อนไขเดิม "เร็ว = เก่ง" มาวัดเด็กที่เราฝึกให้เรียนเร็ว ก็แน่นอนว่าเราจะได้ผลเป็นไปตามที่เราคาดเอาไว้

นอกจากนี้ เราจะทราบได้อย่างไร ว่าหากเด็กเหล่านี้ได้เรียนตามปรกติ เขาจะไม่ได้เก่งเช่นเดียวกัน?

ปัญหาสุดท้าย ก็คือการโฟกัสไปที่ "เด็กเก่ง" เหล่านี้ เรากำลัง divert ทั้ง funding และ attention ออกไปจากกลุ่มนักเรียนที่เหลือ

มีคำกล่าวว่า การศึกษาไม่ได้วัดกันที่เด็กเก่งไม่กี่คนอันดับต้นๆ ของห้องแต่วัดกันที่ว่ามีเด็กกี่คนที่เราปล่อยทิ้งไว้ข้างหลัง ในสังคมที่แข่งกันเรียนเร็วนี้ ถ้าเราบอกว่าเด็กที่เรียนเร็วคือเด็กเก่ง เรากำลังบอกอะไรกับเด็กที่เรียนด้วยอัตราปรกติ? หรือเด็กที่ไม่ได้โง่ แค่ช้ากว่าหลักสูตรที่เรากำหนดเสียเล็กน้อย?

แน่นอนว่าการศึกษานั้น เราก็ไม่ควรละเลยผู้มีความสามารถที่ค้องการการสนับสนุนให้พัฒนาได้สมศักยภาพเขาเช่นเดียวกัน คำถามก็คือประเทศเราให้ความสนใจนักเรีบนกลุ่มบนและกลุ่มล่างได้สมสัดส่วนหรือยัง? หรือว่าเรามุ่งเน้นไปแต่ที่การสร้างเด็กอัจฉริยะไม่กี่คน โดยทอดทิ้งเด็กท้ายห้องมากเกินไป

เราอาจจะโทษที่ตัวองค์กร ที่ออกหลักสูตรมายากขนาดนี้สำหรับเด็กป. 3 แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ค่านิยม "เรียนเร็ว = เก่ง" นี้เป็นค่านิยมที่มีอยู่แพร่หลายทั่วไปในไทย เราพยายามผลักดันลูกๆ ของเราให้เรียนกวดวิชาเร็วขึ้น เรายกย่องเยาวชนที่เรียนเร็ว และมองว่าสิ่งเหล่านั้นคือสิ่งที่นำพาชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ เราดูข่าวเด็กประถมที่ข้ามไปมหาลัยแล้วก็อดทึ่งไม่ได้ แล้วทุกครั้งที่เราเห็นข่าวเด็กไทยคว้าเหรียญรางวัลแล้วก็อดรู้สึกฝากความหวังของอนาคตประเทศชาติเอาไว้กับพวกเขาไม่ได้ เพราะวันหนึ่งเขาจะต้องเก่งกว่านี้อีกอย่างแน่นอน เราทำแม้กระทั่งหันกลับไปดูเพื่อนที่เรียนช้ากว่าว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนที่ "ไม่เก่ง"

ก่อนจะโทษใคร ลองถามตัวเองดูหรือยังว่า เราได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่ผลักดันให้เด็กไทยเรียนเร็วขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 20 พ.ย. 16, 16:22

มาต่อจากหน้าก่อน

หลักสูตรของไทย เน้นพื้นฐานไปในการตอบคำถามว่า "อะไร"  แม้แต่ข้อสอบอัจฉริยะที่คุณประกอบยกมาก็อยู่ในข่ายนี้
การเรียนของเด็กจึงอัดแน่นด้วยความรู้ เพื่อให้รู้ "อะไรๆ"มากที่สุด
แต่ขั้นต่อมาคือ "ทำไม"และ "อย่างไร" ยังไม่ค่อยมีมากนัก

ยกตัวอย่างการเรียนศาสนา   ถ้ายกพุทธประวัติมาสอน เพื่อให้ท่องจำ  เด็กก็จะต้องท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ไหน  พระบิดาพระมารดามีพระนามว่าอะไร   เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์เมื่อพระชนม์ได้เท่าไหร่  นามของปัญจวัคคีย์มีอะไรบ้าง
นอกจากนี้ก็มี ศีลห้ามีอะไรบ้าง ศีลสิบมีอะไรบ้าง
ทั้งหมดนี้เปิดหนังสือตอบได้    เมื่อหมดชม.เรียนแล้ว
แต่ถ้าถามว่า  การนับถือศีลห้า ดีกว่าไม่นับถือตรงไหน  ยังไงบ้าง     นี่คือขั้นที่สูงกว่า "รู้อะไร"   แล้ว  มาถึงขั้น "ทำไม"
เด็กต้องใช้ความคิดขึ้นมาแล้ว   เปิดหนังสือตอบไม่ได้     ความคิดนี้ไม่ผูกขาด   เด็ก ๑๐ คนอาจตอบไป ๑๐ อย่าง ตามประสบการณ์และสติปัญญาของเขา   
บางคนเห็นพ่อเมามายกลับมาเตะลูกเมียเป็นประจำ  เขาก็จะได้คำตอบว่า นี่ไง ไม่ผิดศีลข้อสุราเป็นสิ่งดี  เหตุผลคือทำให้บ้านช่องสงบสุข  นี่คือประโยชน์ของศีล เขาจำได้ก็นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น    ดีกว่าจะให้รู้แต่เพียงว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์  มีพระบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ

การใช้เหตุผลจากความรู้ เป็นสิ่งที่ควรจะกวดขันกับทุกวิชา   ไม่ใช่ท่องจำแล้วตอบโจทย์ตามความทรงจำ
วิชาวรรณคดีก็เป็นอีกวิชาที่เข้ารกเข้าพงไปมาก   ทุกวันนี้กลายเป็นวิชาแปลศัพท์ยากๆที่ไม่มีใครใช้กันแล้ว    เมื่อก่อนมีนักเรียนมาถามในเรือนไทยให้ช่วยแปลให้    ตอนนี้หายไปแล้วเพราะคนในเรือนไทยไม่ค่อยจะช่วยตอบ   แต่ก็ยังไม่รู้ว่าหลักสูตรเปลี่ยนหรือยังนะคะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 20 พ.ย. 16, 19:09

ก็ยังถูกใจและตรงกับใจกับความเห็นต่อมาของ อ.เทาชมพู อีกเช่นเดิม

"อะไร"  "ทำไม" และ  "อย่างไร" นั้น โดยเนื้อแท้แล้วก็น่าจะได้มีการกำหนดเป็น outcome กันอยู่แล้วสำหรับการศึกษาเล่าเรียนในแต่ละระดับของระบบการศึกษาปกติทั่วๆไป    ที่ผ่านมาอาจจะหลงลืมและก้าวข้ามไป คิดไปว่า "ทำไม" และ "อย่างไร" นั้นเป็นเรื่องของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา   เมื่อผนวกกับการวัดผลตามแนวคิดแบบ KPI ที่ไปเน้นกับระดับตัวบุคคลมากกว่าที่ปกติเขาใช้กับการประเมินงานที่เกี่ยวข้องต่างๆตามแผนงานของโครงการสำคัญๆต่างๆ  ก็เลยส่งผลให้กลายเป็นการวัดผลในลักษณะของ output (ผลประสงค์) มากกว่าจะเป็นในด้าน outcome (ผลสัมฤทธิ์)  แถมก็ยังเป็นการประเมินบนฐานของ quantity เสียมากกว่าในด้าน quality    ทำให้เป้าประสงค์ (goal) หรือความปราถนา (achievement) ที่ระบบการศึกษาของประเทศต้องการซึ่งเป็น governing policy ก็เลยเลือนลางจางไป 

(ขออภัยที่ใข้ภาษาต่างด้าวมากไปหน่อย ครับ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 20 พ.ย. 16, 20:35

อยากให้คุณตั้งเข้ามาเล่าประสบการณ์เยอะๆ เลยครับ
ในฐานะทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษาแต่เป็นปลายทางแล้ว ได้เห็นผลลัพธ์จากระบบการศึกษาปัจจุบันว่ามันทำลายนักเรียนของเราไปจำนวนไม่น้อย ก็ได้แต่ทอดถอนใจ....

บอกเล่าในที่แจ้งค่อนข้างยาก แต่จะพยายามครับ   

ด้วยที่เคยอยู่ในส่วนการศึกษา post grad. ในสาขาวิชาที่ในทุกๆปีน่าจะมีนักศึกษาที่จบมาจากทุกสถาบันเข้ามาเรียนต่อ  ก็พอจะเกริ่นได้กว้างๆว่า ระยะเวลา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นได้ปั้นคนออกมาสู่สังคมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสถาบัน ทั้งในเชิงของความรู้ (knowledge base) ความคิด (school of thought) และสำนึกต่างๆทางสังคม (consciousness) ฯลฯ ทั้งในด้านเชิงปริมาณและคุณภาพ     แล้วก็ที่ค่อนข้างจะเด่นเป็นที่น่าสังเกตก็คือ ค่อนข้างจะให้น้ำหนักกับทุกๆเรื่องบนฐานของ clan ของพวกตน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 21 พ.ย. 16, 21:08

คณาจารย์ที่จบมาจากสถาบันการศึกษาที่แตกต่างกันในระดับต่างๆ ในหรือนอกประเทศ จากประเทศใด หรือจะจากภูมิภาคใดของโลก ก็ย่อมได้รับอิทธิพลทางความคิด ตรรกะ และมีกระบวนทัศน์ที่ต่างกัน    ยังให้เกิดผลตามมาประการหนึ่ง คือ ทำให้การจัดระบบ กระบวนการและวิธีการสอนของเราไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับกลุ่มความคิดใดที่จะมีมากกว่ากัน ณ กาลเวลาใดๆ   ตย. เช่น การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาในปัจจุบันที่ใช้การสอนตามหลักแบบภาษาอังกฤษ ?? ต่างกับแบบโบราณที่เรา (พวก สว.) ได้ร่ำเรียนกันมา ซึ่งผลก็คือ เสียงของคำในภาษาไทยของเรากำลังเพี้ยนไป ไม่ค่อยจะตรงกับพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ที่เขียน   อีกเรื่องหนึ่งก็เช่น การปลูกฝังกระบวนทัศน์ให้กับเด็กในทุกวัยในการดำเนิการใดๆบนพื้นฐานของตรรกะแบบ offensive โดยเกือบจะละเลยพื้นฐานอื่นๆไปทั้งหมด

สำหรับคำถามและคำตอบที่กล่าวถึงตามนัยของเรื่องราวของกระทู้นี้ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นของความเป็นจริงบนตรรกะและกระบวนทัศน์ของผู้ออกข้อสอบซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในอีกตรรกะของอีกมุมมองหนึ่งและในอีกกาลเวลาหนึ่ง   คำตอบของสองบุคคลที่คนหนึ่งอ่านมากกับของอีกคนหนึ่งที่รู้มากแต่อยู่ในกรอบของผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ให้ ก็ย่อมต่างกัน ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นคำตอบที่ถูกต้องทั้งคู่ แต่น่าเสียดายว่าคำตอบของคนที่ได้อ่านและรับรู้ออกไปในโลกกว้างอาจจะต้องเป็นคำตอบที่ผิด    ตย. เช่น ...เรา เกือบจะทุกคนได้รับการสอนหรือบอกกล่าวว่าต้นกำเนิดของกาซธรรมชาติมาจากพวกสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นความจริงที่เชื่อกันในโลกตะวันตก  แต่ในโลกทางยุโรปตะวันออกและรัสเซียเขาก็เชื่อว่ามันถือกำเนิดได้ทั้งมาจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งการสำรวจในปัจจุบันนี้ก็ได้คำนึงถึงทั้งสองชนิดต้นกำเนิดแล้วก็พบทั้งคู่     หรือ ก๊าซมีเทนที่เราได้รับการสอนมากันว่ามาจากการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิตนั้น ในปัจจุบันนี้เราก็พบว่ามันมีสะสมเป็นมวลอยู่ในน้ำเย็นที่อยู่ลึกไต้ทะเลหรือมหาสมุทร ในลักษณะที่เรียกว่า Hydrated Methane  ซึ่งในปัจจุบันนี้กำลังจะหาทางพัฒนนำออกมาใช้ประโยชน์

วันนี้ หากจะเห็นว่าเป็นการมโนและเลอะเลือนมากเกินไป ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ ก็เรากำลังอยู่ในโลกเสมือนจริง virtual world ฮืม         
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 22 พ.ย. 16, 09:11

If we want to improve education, we must first of all have a vision of what good education is.
Certainly, we want our children to be able to read and write and be numerate. Those are the basic skills on which all other learning builds. But that's not enough.
We want to prepare them for a useful life.
 We want them to be able to think for themselves when they are out in the world on their own.
 We want them to have good character and to make sound decisions about their life, their work, and their health.
 We want them to face life's joys and travails with courage and humour.
 We hope that they will be kind and compassionate in their dealings with others.
 We want them to have a sense of justice and fairness.
 We want them to understand our nation and our world and the challenges we face.
 We want them to be active, responsible citizens, prepared to think issues through carefully, to listen to differing views, and to reach decisions rationally.
 We want them to learn science and mathematics so they understand the problems of modern life and
participate in finding solutions.
 We want them to enjoy the rich artistic and cultural heritage of our society and other societies.

 (จาก The Death and Life of the Great American School System โดย Diane Ravitch)  

คิดว่าทุกท่านที่เข้ามาอ่านคงจะอ่านภาษาอังกฤษข้างบนนี้ออก   ก็เลยไม่แปลให้นะคะ  แต่จะขยายความแทนค่ะ






บันทึกการเข้า
Onsiri C.
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 23 พ.ย. 16, 06:49

อยากเชิญชวนให้ฟัง Ken Robinson พูดให้คิดถึงการจัดการศึกษาในปัจจุบัน เรากำลังหลงทางอยู่หรือเปล่ากับกฎเกณฑ์หรือตรรกะที่ผู้ใหญ่คิด (เอาเอง) ว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้เรียน หวังว่าคงไม่ได้ออกนอกประเด็นจนเกินไปนะคะ



บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 23 พ.ย. 16, 19:26

อีกข้อเขียนจากคุณมติพล ที่เน้นย้ำให้เห็นว่าการเร่งให้เด็กๆ เราเรียนเกินวัย ไม่ใช่การสร้างอัจฉริยะ

มติพล ตั้งมติธรรม

อะไรคือ "อัจฉริยะ"?

จากที่แชร์ไปกันมาก ถึงข้อสอบเข้าโครงการอัจฉริยภาพ ของเด็กป. 3 ที่มีเนื้อหาคาบเกี่ยวถึงฟิสิกส์ม. ปลาย ผมได้โพสต์เอาไว้แล้วว่า การที่ได้เรียนเร็วกว่าคนอื่นนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องหมายความว่านั่นคือ "อัจฉริยภาพ" เสมอไป คำถามก็คือ แล้วอะไรคือ "อัจฉริยะ"?

อัจฉริยภาพนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างซับซ้อน และไม่ได้มีนิยามเพียงหนึ่งเดียวที่ทุกคนเห็นตรงกัน แต่แม้กระนั้นก็ตาม ก็มีบางกรณีที่เราเห็นพ้องตรงกันว่าบุคคลเหล่านี้ น่าจะเป็นอัจฉริยะ

เกือบทุกคนเห็นตรงกันว่าไอสไตน์คืออัจฉริยะ ที่คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพออก ในสมัยที่ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวคิดได้

สมัยที่ Carl Frederik Gauss อายุเพียงสิบขวบ ครูบังคับให้เขาบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 ด้วยความที่ไม่ต้องการเสียเวลา เขาจึงคิดค้นและพิสูจน์ว่าผลรวมของเลข 1 ถึง n นั้นเท่ากับ n(n+1)/2 เราคิดว่านี่คืออัจฉริยะ

ถ้าถามบุคคลทั่วๆ ไป เรามักจะตอบกันว่า ความสามารถที่จะคิด ในสิ่งที่คนอื่นคิดไม่ได้นี่แหล่ะ คืออัจฉริยะ

ตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งคนมักจะผูกกับความอัจฉริยะ ก็คือของเล่น rubik's cube ดังภาพ

rubik's cube ทั่วๆ ไปนั้นมีขนาด 3x3x3 และมีจำนวนรูปแบบที่เป็นไปได้ถึง 43 252 003 274 489 856 000 แบบ ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรโลกยกกำลังสองเสียอีก ส่วน rubik's cube ขนาด 5x5x5 นั้น มีรูปแบบที่เป็นไปได้ มากกว่าจำนวนอะตอมในเอกภพเสียอีก!

สมมติว่ามีเด็กคนหนึ่ง ที่เพิ่งเคยเห็น rubik's cube นี้เป็นครั้งแรก และหลังจากพิจารณาอยู่หนึ่งนาที เด็กคนนี้ก็สามารถค้นพบวิธีแก้ปัญหานี้ได้ทันที เราก็คงจะยอมรับกันว่าเด็กคนนี้เป็น "อัจฉริยะ"

แต่สมมติว่ามีโรงเรียนหนึ่ง ที่เอาสูตรสำเร็จในการแก้ rubik's cube มาสอน ให้เด็กท่องจำ และทำตามได้ จากนั้นเด็กคนนี้ที่ได้ฝึกใช้สูตรสำเร็จในการแก้ rubik's cube อันนี้มาแล้วหลายครั้ง ก็หมุน rubik's cube ให้ดู ว่าสามารถทำได้ พวกเราจะคิดว่าเด็กคนนี้เป็นอัจฉริยะหรือไม่? ถ้าเด็กคนอื่นได้เรียนสิ่งเดียวกันนี้แล้วสามารถแก้ rubik's cube ได้ทุกคน เราจะคิดว่าโรงเรียนนี้คือโรงเรียนสอนอัจฉริยะหรือไม่?

นั่นก็คือ ถ้า "ความเป็นอัจฉริยะ" คือความสามารถในการหาวิธีแก้โจทย์ที่ตัวเองทราบมาก่อน ด้วยวิธีที่คนทั่วๆ ไปคิดไม่ถึง การเอาสูตรสำเร็จในการแก้โจทย์เฉพาะบางอย่างมาสอนนั้น จะทำให้คนเป็นอัจฉริยะหรือไม่?

สำหรับคนที่คุ้นเคย จะทราบดีว่า สิ่งนี้แหล่ะ คือสิ่งที่เรามักจะทำกับเด็กไทย

ถึงตอนนี้อาจจะมีคนท้วงว่า ถ้าไม่เช่นนั้นเราจะฝึกความเป็นอัจฉริยะกันอย่างไร ในเมื่อการคิดวิธีแก้ rubik's cube ด้วยตนเองนั้นมันไม่ใช่สิ่งที่สอนกันได้ แต่เราสามารถสอนสูตรสำเร็จแก้ rubik's cube ให้เด็กได้

ผมก็จะตอบว่า "ถ้าเด็กมันไม่ใช่อัจฉริยะ ก็อย่าไปยัดเยียดให้มันเป็นเถอะครับ"

อัจฉริยะไม่ใช่สิ่งที่การันตีความสำเร็จในชีวิจเสมอไป ที่สำคัญไปกว่านั้น การเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ไม่ใช่อัจฉริยะ ไม่ได้เป็นการการันตีว่าลูกของคุณจะล้มเหลวในชีวิต

การสอนให้ลูกเชื่อว่า "ถ้าเราไม่ใช่อัจฉริยะ เราจะไม่สามารถทำอะไรในชีวิตได้" นั้นสร้างผลเสียในระยะยาวต่อสภาพจิตใจและความมั่นใจของเด็กกว่าอีกมาก จะเกิดอะไรขึ้นกับ "อัจฉริยะตัวน้อย" ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นอัจฉริยะมาตลอด แล้ววันนึงก็ค้นพบว่า มีคนอีกมากที่มีความสามารถมากกว่าตัวเอง

สิ่งที่สำคัญกว่า "การสอนความเป็นอัจฉริยะ" ใดๆ ก็คือการสอนให้เรียนรู้ว่า เราไม่ต้องเป็นอัจฉริยะ เราก็สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้

โทมัส เอดิสัน ไม่ใช่อัจฉริยะ เขาเป็นเพียงคนที่ไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว และพยายามไปเรื่อยๆจนกว่าจะสำเร็จ จนโลกทุกวันนี้สว่างไสวไปด้วยหลอดไป และไฟฟ้าที่เขาเป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์ และพัฒนามันขึ้นมา

ถ้าเรารู้จักกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ก่อนที่เขาจะก่อตั้งเฟสบุ๊ค เราก็จะพบว่าเขาเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง และไม่ใช่คนที่ใครๆ จะเรียกว่า "อัจฉริยะ" แต่ทุกวันนี้ โซเชียลมีเดียที่เขาเป็นคนร่วมผลักดันให้เกิดขึ้น ได้เปลี่ยนแปลงโลกและข่าวสารไปโดยสิ้นเชิง จนใครๆ ก็ต้องยอมรับว่าเขาคือ "อัจฉริยะ"

คำถามก็คือ อัจฉริยะเป็นผู้ที่สร้างนวัตกรรมจริงหรือ? หรือว่าความจริงแล้ว นวัตกรรมและการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่สร้าง "อัจฉริยะ"

ถ้าหากว่าความเป็นอัจฉริยะ คือความสามารถในการคิดสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน ถ้าเช่นนั้นแล้วการสอนให้เด็กมีจินตนาการ ตั้งคำถาม คิดนอกกรอบ มีอิสระในความคิด และการตัดสินใจด้วยตัวเอง อิสระในการค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ ความจริงแล้ว คือสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ที่เป็น "โรงเรียนสอนอัจฉริยะ" ที่ดีกว่าโรงเรียนใดๆ

https://www.facebook.com/matiponblog/photos/a.255101608033386.1073741828.255096768033870/535700979973446/?type=3&pnref=story
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 23 พ.ย. 16, 21:01

ถ้าหากว่าความเป็นอัจฉริยะ คือความสามารถในการคิดสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน ถ้าเช่นนั้นแล้วการสอนให้เด็กมีจินตนาการ ตั้งคำถาม คิดนอกกรอบ มีอิสระในความคิด และการตัดสินใจด้วยตัวเอง อิสระในการค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ ความจริงแล้ว คือสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ที่เป็น "โรงเรียนสอนอัจฉริยะ" ที่ดีกว่าโรงเรียนใดๆ

Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand.

Albert Einstein

บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 23 พ.ย. 16, 21:47

ถ้าหากว่าความเป็นอัจฉริยะ คือความสามารถในการคิดสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน ถ้าเช่นนั้นแล้วการสอนให้เด็กมีจินตนาการ ตั้งคำถาม คิดนอกกรอบ มีอิสระในความคิด และการตัดสินใจด้วยตัวเอง อิสระในการค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ ความจริงแล้ว คือสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ที่เป็น "โรงเรียนสอนอัจฉริยะ" ที่ดีกว่าโรงเรียนใดๆ

Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand.

Albert Einstein



ขอบคุณ อจ เพ็ญชมพูครับ ที่เอาประโยคเต็มๆมาลง อ่านแล้วเข้าใจเจตนารมย์ของไอน์สไตน์เลย
หลายคนชอบเอาแค่ Imagination is more important than knowledge มาอ้างแล้วสร้างมโนภาพกันไปต่างๆนาๆ ปฏิเสธการเรียนรู้ แล้วตังหน้าตั้งตาจินตนาการอย่างเดียว 5555
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 24 พ.ย. 16, 08:47

ยังสงสัยว่าอัจฉริยะสอนกันได้จริงหรือ?  ดิฉันคิดว่ามันมีมาแต่เกิดเสียอีก แต่โอกาสจะพัฒนาของอัจฉริยะแต่ละคน แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและโอกาส
ถ้าไอนสไตน์ไม่ได้เกิดในยุโรป  แต่ไปเกิดเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกา หรือเป็นเอสกิโมอยู่ในอลาสกาตลอดชีวิต ไม่มีโอกาสออกมาพ้นถิ่น   เขาก็อาจจะค้นคิดอาวุธล่าสัตว์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าใครๆได้  แต่ค้นคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพไม่ได้
เด็กที่สติปัญญาปานกลางหรือค่อนข้างดี  ถ้าเกิดในประเทศที่เจริญมากๆ  ก็ย่อมมีโอกาสดีกว่า ประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กสติปัญญาดีแต่เกิดในสลัมในประเทศด้อยพัฒนา
ร.ร.อัจฉริยะที่ว่า น่าจะมาจากความคิดข้อนี้ว่า ให้โอกาสเด็ก หรือฝึกฝนเด็กให้มากที่สุด เพื่อจะได้ต่อยอดสติปัญญาพวกเขา
แต่ผลจะออกมาเป็นอัจฉริยะหรือไม่   คำตอบคือ ไม่  ถ้าเด็กไม่มีความเป็นอ้จฉริยะอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 24 พ.ย. 16, 15:08

ผมเชื่อว่าอัจริยะสร้างและฝึกฝนได้ครับ  แต่วิธีแบบที่บ้านเรากำลังทำกัน คือการยัดเอาเนื้อหาที่เกินกว่าวัยมากๆ  เช่นฟิสิกส์ระดับมัธยม มาให้เด็ก ป.3 ทำ ไม่ใช่วิธีในการสร้างอัจริยะหรือค้นหาอัจฉริยะแน่ๆ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 25 พ.ย. 16, 06:37


ข้อสอบที่ว่า เป็นผลจากความเพ้อเจ้อของคณะกรรมการบางท่านใน สสวท.
ผู้บริหารออกมารับลูก สั่งทีมงานลงไปทำ
ทีมงานนั่งจินตนาการวิธีคัดเด็กอัจฉริยะโดยข้อสอบเรียนเร็ว
ปัญหาคือ ตัวข้อสอบที่ยกมานั้นออกผิด
ุกลายเป็นว่าคนออกข้อสอบไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์
แล้วนำข้อสอบที่ไม่เหมาะสมมาวัดเด็ก
น่าสงสัยว่าเด็กที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสอนอย่างเหมาะสมหรือไม่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 38
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง