เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 17915 คาสิโนวังหน้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 14 ก.พ. 13, 18:48

คนละเวอร์ชั่นกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 14 ก.พ. 13, 19:22

กลับมาที่เรื่องเดิม  ในช่วงนั้นมีงานพระเมรุพระศพสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี   พระองค์เจ้าหญิงสุดก็เสด็จออกจากวังหน้าไปพระบรมมหาราชวังเพื่อจะไปร่วมงาน  

ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๑๕ พ.ศ. ๒๓๙๖

๑๘๕๓ มีนาคม ที่ ๑๙ พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางโสมนัศ

จาก จดหมายเหตุของหมอบรัดเล


บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 11:15

สงสัยครับ ถ้าวันพระราชทานเพลิงพระศพของสมเด็จพระนางโสมนัศ ได้มาจากจดหมายเหตุของหมอบรัดเล ว่าเป็นวันที่ ๑๙ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๓ เมื่อเทียบเป็น พ.ศ.แล้วน่าจะเป็น พ.ศ. ๒๓๙๕ ไม่ใช่ ๒๓๗๖  เพราะสมัยนั้นวันปีใหม่ไม่ใช่วันที่ ๑ มกราคม เราเพิ่งเริ่มใช้ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นปีใหม่เริ่ม ๑ เมษายน โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสั่งให้เริ่มนับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๒ บังเอิญตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นวันปีใหม่แบบเดิม ก่อนหน้านั้นวันปีใหม่ไม่ตรงกับวันทางสุริยคติเลย  ถ้ายึดจดหมายเหตุหมอบรัดเล 19 March 1853 ในปฏิทินไทยน่าจะเป็นวันที่ ๑๙ ของเดือนสุดท้าย(มีนาคม)ของปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ไม่ใช่เป็นเดือนที่สามหรือต้นปีของ พ.ศ.๒๓๗๖
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 13:08

ก็จริงค่ะ  น่าจะเป็นอย่างนั้นก็ได้นะคะ   ขอบคุณค่ะ  อาจารย์หมอศานติ

ขอเดินเรื่องต่อนะคะ
ตุลาการยังชำระความได้ข้อเท็จจริงต่อไปว่า หลังจากฉกทองคำหนักถึง 18 ตำลึงจากเสด็จพระองค์หญิงสุดมาได้  หม่อมหุ่นและ
หม่อมนวมพาเอาทองรูปพรรณที่ว่ากลับไปที่เรือนหม่อมหุ่น     คราวนี้ ปรากฏตัวผู้สมรู้ร่วมคิดขึ้นมาอีกคน คือมารดาของหม่อมหุ่น
ชื่อดวงแก้ว  เข้าวังมาเยี่ยมลูกสาวพอดีในช่วงนั้น   พักอยู่ในเรือนเดียวกัน
พอรู้ว่าลูกสาวไปลักทรัพย์สินเจ้านายมา  แทนที่แม่ดวงแก้วจะตกใจ   ว่ากล่าวตักเตือนลูกสาวให้เอาของมีค่ากลับไปเก็บคืนไว้ที่เดิม  ก่อนเจ้านายท่านจะมาเห็นเข้า เพราะต้องเป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ      แม่ดวงแก้วนี่ก็นิสัยพอกับลูกสาว คือกลับยินดีรับของโจรกรรม    ลูกสาวก็เลยแบ่งทองคำเป็น 4 ส่วน  ให้อีปริกต้นทางไป 1 ส่วนเป็นค่าปิดปาก    ให้แม่ดวงแก้วอีก 1 ส่วน อาจจะเป็นค่าปิดปากหรือค่ากตัญญูอะไรก็ตาม   เหลืออีก 2 ส่วน หม่อมหุ่นหม่อมนวมได้กันไปคนละส่วน  เฉลี่ยแล้วได้ทองคำรูปพรรณกันไปคนละ 18 บาท
 
กระหยิ่มยิ้มย่องกันอยู่ไม่กี่วัน  พอเรื่องอื้อฉาวขึ้น ตุลาการสอบสวนได้ความ รวบผู้ต้องหาได้หมด 4 คน  ก็เอาทองคำของกลางคืน
พระองค์เจ้าหญิงสุด   แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 13:53

สงสัยครับ ถ้าวันพระราชทานเพลิงพระศพของสมเด็จพระนางโสมนัศ ได้มาจากจดหมายเหตุของหมอบรัดเล ว่าเป็นวันที่ ๑๙ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๓ เมื่อเทียบเป็น พ.ศ.แล้วน่าจะเป็น พ.ศ. ๒๓๙๕ ไม่ใช่ ๒๓๗๖  เพราะสมัยนั้นวันปีใหม่ไม่ใช่วันที่ ๑ มกราคม เราเพิ่งเริ่มใช้ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นปีใหม่เริ่ม ๑ เมษายน โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสั่งให้เริ่มนับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๒ บังเอิญตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นวันปีใหม่แบบเดิม ก่อนหน้านั้นวันปีใหม่ไม่ตรงกับวันทางสุริยคติเลย  ถ้ายึดจดหมายเหตุหมอบรัดเล 19 March 1853 ในปฏิทินไทยน่าจะเป็นวันที่ ๑๙ ของเดือนสุดท้าย(มีนาคม)ของปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ไม่ใช่เป็นเดือนที่สามหรือต้นปีของ พ.ศ.๒๓๗๖

หมอบรัดเลน่าจะคำนวณการเปลี่ยนศักราชแบบฝรั่งซึ่งเราใช้อยู่ในปัจจุบัน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 16:08

ลำดับตามนี้ครับ

สมเด็จพระนางโสมนัศสิ้นพระชนม์ ปีชวด จ.ศ. ๑๒๑๔ = ค.ศ. 1852 = พ.ศ. ๒๓๙๕ สิ้นพระชนม์เดือนตุลาคม อายุ ๑๙ พรรษา

อีก ๕ เดือนเมรุแล้วเสร็จก็ไปตกเดือนมีนาคม (ไทยยังเป็นปีเดิม - ส่วนของหมอบรัดเลเปลี่ยนเป็นปีใหม่)


พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางโสมนัศงานพระเมรุ ๓ วัน (๑๘-๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ เหมือนเดิมเพราะเราเปลี่ยนศกในเมษายน) ส่วนหมอบรัดเลนั้นเปลี่ยนศกเป็น ค.ศ. 1853 (พ.ศ. ๒๓๙๖) เมื่อมกราคม

(๑๘-๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ จะตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๘ มีนาคม - วันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๕)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 16:10

    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ คงจะกริ้วเหตุร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ไม่น้อย  เพราะพระบวรราชวังเป็นสถานที่อันทรงเกียรติ   ไม่ควรจะเกิดเหตุโจรผู้ร้ายขึ้นมาได้   โดยเฉพาะถึงขั้นตัั้งบ่อนกันขึ้นมา เอาทรัพย์สินไปละลายกันในบ่อน   หมดทางเข้าก็เกิดเรื่องปล้นเรื่องขโมยกันขึ้นมา
    เมื่อก่อนครองราชย์   วังหน้าอยู่ในสภาพรกร้างไร้ระเบียบก็ยังพอเข้าใจได้ว่าไร้เจ้านายปกครอง    แต่บัดนี้ทรงวางระเบียบ โปรดเกล้าฯให้ตั้งท้าวสัตยานุรักษ์เป็นผู้ใหญ่ว่าราชการในวังหน้า  ยังมีจ่าศาลา จ่าด้าน ทนายเลือก โขลน จนครบพนักงานทุกตำแหน่ง  พวกนี้ก็ยังไม่สอดส่องดูแล  จนเกิดเรื่องขนาดนี้   ความผิดข้อนี้ ทรงโทษท้าวสัตยานุรักษ์กับจ่าศาลาจ่าด้านทนายเลือกโขลน ให้รับไปเต็มๆ
    อย่างไรก็ดี  เป็นความผิดครั้งแรกของคุณท้าว  ก็เลยไม่ทรงลงโทษานุโทษ    เป็นแค่ภาคทัณฑ์ไว้ครั้งหนึ่งก่อน  แต่หม่อมหุ่นหม่อมนวมดวงแก้วอีปริกซึ่งคบหากันเป็นผู้ร้ายนั้น  ทรงลงพระราชอาญาตามโทษานุโทษ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 16:10

สรุปว่าเหตุการณ์นี้เกิดในพ.ศ. 2395 ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 16:58

เราเพิ่งเริ่มใช้ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นปีใหม่เริ่ม ๑ เมษายน โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสั่งให้เริ่มนับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๒ บังเอิญตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นวันปีใหม่แบบเดิม

สรุปว่าก่อนหน้านับวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เรานับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่มาก่อน

พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางโสมนัศงานพระเมรุ ๓ วัน (๑๘-๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ เหมือนเดิมเพราะเราเปลี่ยนศกในเมษายน) ส่วนหมอบรัดเลนั้นเปลี่ยนศกเป็น ค.ศ. 1853 (พ.ศ. ๒๓๙๖) เมื่อมกราคม

(๑๘-๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๕ จะตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๘ มีนาคม - วันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๕)

วันพระราชทานเพลิงพระศพฯ วันที่ ๑๘-๒๐ มีนาคม ตรงกับ ขึ้น ๙-๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ถ้านับตามแบบเดิมก่อนเปลี่ยนวิธีนับเป็นแบบในรัชกาลที่ ๕ เหตุการณ์นี้อยู่ใน จ.ศ. ๑๒๑๕ หรือ พ.ศ. ๒๓๙๖ แล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 18:34

(ต่อ)

   จึงมีพระบวรราชโอการดำรัสเหนือกล่าวฯสั่งว่า  ตั้งแต่ ณ วันอังคาร  เดือน ๘ อุตราสาฒ ขึ้น ๒ ค่ำ  ปีฉลูเบญจศกสืบไป  ห้ามมิให้พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า เจ้าจอม หม่อมพนักงานท้าวนางจ่าโขลน  ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย  แลข้าบ่าวนายที่อยู่ในพระบวรราชวังคบหากันตั้งบ่อนโป บ่อนถั่ว บ่อนกำตัด บ่อนเล่นแปดเก้า แทงหวยแลเล่นการพนันต่างๆ  ซึ่งจะให้เสียทรัพย์สิ่งสินแก่กัน  นอกจากสงกรานต์ ๔ วัน  ตรุษจีน ๓ วัน  เป็นอันขาดทีเดียว  ให้ท้าวนางจ่าศาลาจ่าด้านทนายเรือนโขลนซึ่งเป็นพนักงานรักษาพระบวรราชวัง  หมั่นตรวจตราดูแลให้รอบคอบจงเป็นนิจ  อย่าได้มีความประมาท  ถ้าผู้ใดมิฟังตามพระราชบัญญัติห้ามปราม  ขืนคบหาชักชวนกันลักลอบตั้งบ่อนโป เล่นถั่ว เล่นกำตัด เล่นแปดเก้า แทงหวยแลการพนันต่างๆ ได้เสียทรัพย์สิ่งสินแก่กันต่อไป  เจ้าพนักงานจ่าศาลาจ่าด้านทนายเรือนโขลน  จับได้ด้านผู้ใดก็ดี  แลผู้อื่นจับได้ก็ดี  มีผู้มาฟ้องร้องชำระเป็นสัจ  ก็ให้ปรับไหมผู้ที่เป็นนายบ่อนแลเจ้าของที่คนละ ๑๐ ตำลึง  ผู้ที่เล่นด้วยกันแลจ่าเจ้าของด้านนั้นคนละ ๕ ตำลึง  และทนายเรือนคนละ ๓ ตำลึง  ให้แก่ผู้จับได้แลผู้มาร้องฟ้อง 
แล้วให้นำเอาข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  จะได้โปรดเกล้าฯให้ลงพระราชอาญาแก่ผู้ทำผิดให้สาหัส  ผู้ที่หาความผิดมิได้จะไม่ได้ดูเยี่ยงอย่างกันต่อไป  ถ้าแลมีผู้มาร้องฟ้องกล่าวว่าผู้ใดคบคิดกันตั้งบ่อนขึ้น เล่นการพนันต่างๆ ท้าวสัตยานุรักษ์จ่าทนายเรือนโขลนซึ่งเป็นพนักงานได้ว่ากล่าวเห็นกับหน้าบุคคลนั้น  ปิดบังอำพรางความเสีย  มิได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  ภายหลังมีผู้มากล่าวชำระเป็นสัจ  จะลงโทษเจ้าพนักงานซึ่งปิดบังความเสียเสมอกับผู้ที่กระทำผิด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 18:42

ดูจากรายชื่อการพนันชนิดต่างๆที่บรรยายไว้ในประกาศ    เห็นทีคาสิโนวังหน้าจะครึกครื้นกันมิใช่เล่น    มีให้เลือกได้หลากหลายอย่าง   
เท่าที่ยกตัวอย่างมาคือ บ่อนโป บ่อนถั่ว บ่อนกำตัด บ่อนเล่นแปดเก้า  ก็เข้าไป 4 ชนิดแล้ว   นอกจากนี้ยังมีแทงหวยและเล่นการพนันต่างๆ ซึ่งไม่ได้จำแนกแยกแยะลงไปว่าอะไรบ้าง     แสดงว่าเป็นบ่อนใหญ่ อาจจะกระจายกันอยู่ตามที่อยู่ของเจ้าจอมหม่อมห้ามและข้าราชบริพารฝ่ายใน   

ดิฉันไม่เคยเห็นว่าการพนันพวกนี้เป็นยังไง   เกิดไม่ทัน  หรือต่อให้เกิดทันก็คงไม่มีโอกาสไปดูอยู่ดี      หันไปพึ่งคุณกู๊กก็ได้คำอธิบายมาว่า

โป   เครื่องเล่นการพนันของจีน กลักทําด้วยทองเหลืองสี่เหลี่ยม มีลูกแดงขาวข้างในใช้ปั่น, ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือ เอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบโป ไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโป แล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔ ประตูคือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปปั่น ก็เรียก.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 18:44

นี่คือโปค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 20:03

ถั่ว หรือกำถั่ว ( Fantan ) เล่นโดยเอาเบี้ยหรือเม็ดอื่นๆ มากำ  แล้วแจงออกทีละ 4 ถ้าแจงครั้งสุดท้ายเหลือ 4 เรียกว่า ออกครบ เหลือ 3 เหลือ 2 เรียก ออก 3 ออก 2 ถ้าเหลือ 1 เรียก ออก 1 หรือ ออกหน่วย จนเหลือกองสุดท้ายว่าเหลือกี่เม็ด ตั้งแต่ 1 จนถึง 4 เม็ด   ตามแต่ใครจะทาย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 20:54

นอกจากสงกรานต์ ๔ วัน  ตรุษจีน ๓ วัน

อนุญาตให้เล่นการพนันใน ๒ เทศกาลนี้ได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 20:58

^
สงสัยอะไรหรือคะ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง