เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61558 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 11:28

อีกคนหนึ่งที่รู้เบื้องหลังของการลอบสังหาร คือเพื่อนสนิทของอองซานผู้ทำหน้าที่เลขานุการให้ด้วย ชื่อโบซัดจา

ชื่อทั้งหมดเป็นนามแฝงใช้ในการสู้รบ

Bo Setkya = โบ เซะต์จา ชื่อจริงคือ Aung Than = อองตาน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 11:30

ตัวเอกคนหนึ่งในสงครามกะเหรียงและเรื่องที่เกี่ยวกับอูซอก็คือร้อยเอกเดวิท วิเวียน
นายทหารผู้นี้ถูกย้ายเข้ามารับผิดชอบคลังแสงของทางราชการก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุเพียงไม่กี่เดือน และเขาได้ลักลอบนำอาวุธปืนกลและกระสุนส่งให้อูซอ เพียงพอที่จะจัดตั้งกองกำลังได้ถึง3กองพัน ครึ่งหนึ่งของทหารประจำการของกองทัพพม่าทั้งหมด จึงน่าสงสัยว่าด้วยกำลังอาวุธขนาดนี้ คงมีแผนการใหญ่รออยู่ มิได้เพียงแค่มีวัตถุประสงค์จะสังหารอองซานเท่านั้น หรือว่าจะเตรียมสำหรับการปฏิวัติก่อสงครามกลางเมือง
 
เมื่อตำรวจพบอาวุธทั้งหมด บรรจุอยู่ในหีบกันน้ำอย่างดีซ่อนไว้ใต้ทะเลสาบหลังบ้านอูซอ ไม่นานวิเวียนก็ถูกจับ ศาลทหารสั่งจำคุกในข้อหาจิ๊บๆ แค่ขโมยทรัพย์สินของทางราชการ และถูกส่งตัวไปจำไว้ที่คุกอินเซน ไม่นานก็เกิดจลาจล กองกำลังกะเหรียงบุกเข้ายึดคุกอินเซนเมื่อพฤษภาคม1949 เมื่อล่าถอยไปอย่างรวดเร็วนั้น นักโทษวิเวียนได้หายไปด้วย ปีหนึ่งหลังจากนั้น มีผู้ยืนยันว่าเขาได้ร่วมรบอยู่กับกองทัพกะเหรี่ยงอิสระในการต่อสู้กับทหารพม่าอย่างเข้มข้น

แม้ว่าจะมีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ในปี1950 ซึ่งยืนยันโดยเจ้าหน้าที่พม่าว่า ในบรรดาศพของนักรบกะเหรี่ยงที่พบหลังปะทะกันระหว่ากองกำลังของทั้งสองฝ่ายครั้งหนึ่งนั้น มีศพคนอังกฤษสองคนรวมอยู่ด้วย หนึ่งในนั้นคือร้อยเอกวิเวียน นักโทษแหกคุกก่อนหน้านั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 11:34

แต่ความจริงก็คือ ผู้กองวิเวียนได้ลักลอบข้ามพรมแดนเข้ามาเมืองไทย และใช้เอกสารเดินทางปลอมออกให้โดยสถานทูตอังกฤษที่กรุงเทพ ใช้ชื่อว่าจอห์น มอแกน(John Morgan) แล้วเดินทางกลับสู่อังกฤษประมาณกลางปี1954
 
บีบีซีพบแค่สำเนาตั๋ว แต่เอกสารต่างๆในเรื่องของเขาถูกทำลายข้อความบางส่วนไปแล้ว โดยประทับหน้าว่าเป็นเรื่องที่ยังอ่อนไหวอยู่ หรือไม่ก็หายไปทั้งฉบับ
แต่จากสารบัญเรื่องในแฟ้มบีบีซีพบว่า สถานทูตอังกฤษในกรุงเทพขณะนั้นทราบดีว่าวิเวียนเป็นนักโทษหนีคุกมาจากพม่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 11:38

วิเวียนหลุดจากคุกอินเซนอันใหญ่โตราวป้อมปราการได้อย่างไรก็เป็นเรื่องน่าทำหนังฮอลลิวูด ระหว่างอยู่ในคุกที่แรงกูน วิเวียนได้ขู่เจ้าหน้าที่ว่า “บางคนในอังกฤษใส่ใจที่จะให้ผมเก็บความจำให้ดี ไม่ให้พูด”
และ  “ถ้าผมพูดความจริงได้ละ ก็จะอลหม่านไปทั่วทั้งอังกฤษและพม่าเชียวนะหนา”

บีบีซีตามร่องรอยไม่พบว่าวิเวียนอยู่ที่ไหน เป็นตายร้ายดีอย่างไรเมื่อกลับบ้านเกิดแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 11:47

เอารูปคุกอินเซนมาให้ดูครับ คุกนี้อยู่ชายเมืองย่างกุ้ง ใหญ่ที่สุด คลาสสิกที่สุดในพม่า คล้ายๆบางขวางของเรา ที่บางคนได้ยินก็เข่าอ่อนก่อนแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 12:00

ถ้าเรื่องนี้เป็นหนังฮอลลีวู้ด    ก็เดาว่าชื่อจริงของผู้กองวิเวียนคือ เจมส์ บอนด์    
ในเมื่อเสร็จภารกิจในพม่า แกก็ถือหนังสือเดินทางของปลอมที่ออกโดยสถานทูตของจริง กลับบ้านเกิดเมืองนอน    ถ้าไม่ถูกเก็บเงียบตลอดกาลเสียที่ใดที่หนึ่ง  แต่ยังมีชีวิตอยู่และได้บำเหน็จบำนาญไปตามระเบียบ      แกก็เปลี่ยนชื่อและนามสกุลตลอดจนหลักฐานอื่นๆเช่นวันเดือนปีเกิด   แฟ้มหลักฐานเดิมของทางการก็ถูกทำลายเสียให้หมดร่องรอย  
จากนั้นผู้กองก็อาจจะไปทำไร่ไถนาอยู่นอกด่านเหมือนตอนจบของจอมยุทธในหนังจีนกำลังภายใน ก็เป็นได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 15:03

ภาพถ่ายทางดาวเทียม คุกอินเส่ง (Insein) อยู่บนถนนบุเรงนอง (Bayint Naung)



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 16:50

เพิ่งทราบจริงๆครับ ว่าวันนี้พม่าเขามีสวนสนามรำลึก 66 ปีสัญญาปางโหลง

ทหารกองเกียรติยศเดินสวนสนาม ในโอกาสครบรอบปีที่ 66 "วันสหภาพ"(Union Day) ในพิธีที่จัดขึ้นเช้าวันอังคาร 12 ก.พ.นี้ พม่าทุกยุคสมัยจัดรำลึกวันสำคัญนี้ประจำทุกปี โดยมีประชาชนชนชาติส่วนน้อยและตัวแทนจากรัฐต่างๆ เข้าร่วมปีละหลายพันคนและใช้กรุงเก่าย่างกุ้งเป็นสถานที่ตลอดมา
ถึงแม้ว่าสัญญาปางโหลงจะผ่านไปเกือบ 7 ทศวรรษแล้ว การเมืองภายในได้ทำให้เอกภาพของพม่ามีปัญหามาโดยตลอด แต่หลังการเลือกตั้งปลายปี 2553 และมีการจัดตั้งรัฐบาลกึ่งพลเรือนขึ้นบริหารประเทศ ข้อตกลงหยุดยิงกับกองกำลังอาวุธในรัฐต่างๆเริ่มเห็นผล ปัจจุบันเหลือแเพียงกะฉิ่นเพียงรัฐเดียวเท่านั้นที่ยังมีการปะทะด้วยอาวุธ แต่การเจรจาสันติภาพก็ยังดำเนินต่อไป.

 -- AFP Photo/Soe Than Win.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 19:44

สัญญาที่ปางหลวง          สัญญาลวงใครต่อใคร
หกสิบหกปีที่ผ่านไป        สัญญาไม่เคยเป็นจริง




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 13 ก.พ. 13, 09:03

อูอองซานเกิดวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๘

ร่วมรำลึก ๙๘ ปี ชาตกาลโบจ๊กอองซาน วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 14 ก.พ. 13, 09:16

ขออนุญาตตามกระแสเรื่อง "วันแห่งความรัก"

อยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 15:38

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. ขณะที่การประชุมสภาบริหารจะเริ่มต้นขึ้น  กลุ่มชายฉกรรจ์ในชุดทหารมีอาวุธครบมือบุกเข้าไปในสถานที่ประชุม สาดกระสุนสังหารนายพลอองซานและสมาชิกสภาอีก ๖ คน คนร้ายหลบหนีไปได้ แต่สุดท้ายจับได้ว่าเป็นลูกสมุนของอูซอ อดีตนายกรัฐมนตรี คู่แข่งทางการเมืองของนายพลอองซาน จุดประสงค์ในการสังหารนายพลอองซาน เพื่อตนจะได้ขึ้นเป็นผู้นำคนต่อไป ในที่สุดอูซอถูกตัดสินประหารชีวิต

วันที่ ๑๙ กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันวีรชน (Martyrs' Day) ของพม่า

ปีที่แล้ว (๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕) อองซานซูจีเข้าร่วมพิธีที่สุสานวีรชน ใกล้กับเจดีย์ชเวดากอง ที่ย่างกุ้ง ด้วย





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 13 ม.ค. 20, 20:52

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นและลามมาถึงพม่า ทะขิ่นอองซานได้รวมตัวเพื่อนนักศึกษาตั้งกลุ่ม "เพื่อนสามสิบ" (The Thirty Comrades) หนีออกไปอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่นและฝึกอาวุธที่เกาะไหหลำใน พ.ศ. ๒๔๘๓ และกลับมาพม่าพร้อมกับกองทัพญี่ปุ่น ทะขิ่นอองซานได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหม ในสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครองพม่า (เมื่ออายุได้ ๒๘ ปี) และเป็นผู้ก่อตั้ง "กองทัพพม่า" (ซึ่งเพื่อนของตนคือ เนวิน ได้เป็นผู้นำในเวลาต่อมา) กองทัพนี้ร่วมมือกับญี่ปุ่นในชั้นแรก และกลายเป็นเสมือน "เสรีไทย" ที่ต่อต้านญี่ปุ่นเมื่อภายหลัง และเจรจาได้เอกราชจากอังกฤษเมื่อ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ แต่ทะขิ่นอองซานซึ่งตอนนี้ถูกเรียกว่า "นายพลอองซาน" แล้ว ถูกลอบสังหารเสียก่อนเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐  นายพลอองซานได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งเอกราชของพม่า"

ภาพนายพลอองซานบนธนบัตรพม่า ความจริงมีปรากฏบนธนบัตรหลายราคา หลายรุ่น ภาพที่เลือกมานี้คิดว่าหล่อที่สุด



นายพลอองชานได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษและเป็นบิดาผู้วางรากฐานให้กับรัฐพม่าสมัยใหม่ ธนบัตรที่ปรากฎหน้านายพลอองชานเกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๑ ในยุคปลายรัฐบาลอูนุ ธนบัตรนี้มีใช้เรื่อยมาแม้นจะเข้าสู่ยุคเผด็จการของนายพลเนวิน และมีใช้มาจนถึงยุครัฐบาลสลอร์ก (State Law and Order Restoration Council - SLORC)

รัฐบาลสลอร์กไม่ได้ประกาศยกเลิกธนบัตรรูปหน้านายพลอองซานอย่างเป็นทางการ อาจเป็นเพราะเกรงจะเกิดความไม่พอใจในวงกว้างและเป็นชนวนให้เกิดการประท้วงตามมาได้ แต่เลือกที่จะปล่อยให้ธนบัตรหน้านายพลอองซานค่อย ๆ หายไป โดยมีธนบัตรรูปสิงห์เข้ามาแทน



ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป และการเข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy - NLD) เริ่มมีผู้เสนอให้รัฐสภาพิจารณากลับมาใช้ธนบัตรรูปหน้านายพลอองซานหลายครั้ง ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ อูอ่องขิ่นวินสมาชิกผู้แทนราษฎรจากพรรค NLD เสนอต่อรัฐสภาให้ออกแบบธนบัตรจ๊าตใหม่เป็นรูปนายพลอองซาน มีผู้ยกมือเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ ๒๘๖ คน และอีก ๑๐๗ คนไม่เห็นด้วย ทั้งหมดเป็นผู้แทนราษฎรโควต้าจากกองทัพและฝ่ายค้านคือพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party - USDP) นายพลอองซานจึงได้มาปรากฏบนธนบัตรพม่าอีกครั้ง

เมื่อวันที่ ๔ มกราคมที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบวันที่พม่าได้รับเอกราชครบ ๗๒ ปี ธนาคารกลางพม่านำธนบัตรราคา ๑,๐๐๐ จ๊าด (ราว ๒๐ บาท) แบบใหม่มาใช้ เป็นรูปนายพลอองซานด้านหน้า และด้านหลังเป็นรูปอาคารรัฐสภาที่กรุงเนปิดอว์ ส่วนธนบัตรเก่ารูปสิงห์ยังใช้ได้ตามปรกติ  ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลจาก ออง ซาน กับรัฐพม่าสมัยใหม่ (๑) โดย ลลิตา หาญวงษ์

https://www.matichon.co.th/columnists/news_1878035


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 15 ม.ค. 20, 20:52

ตั้งแต่อองชานซูจีเข้ามาเป็นผู้นำพม่า ความพยายามของพรรค NLD อย่างหนึ่งคือการนำนายพลอองซานกลับมาเป็นสัญลักษณ์ของของชาติ นอกจากจะผลักดันให้ใบหน้าท่านนายพลปรากฏบนธนบัตรอีกครั้งแล้ว ยังสร้างอนุสาวรีย์นายพลอองซานขึ้นทั่วประเทศแม้แต่ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย (ซึ่งไม่ได้รับการต้อนรับเท่าที่ควร) พรรค NLD ยังผลักดันให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ ๑.๕ พันล้านจ๊าด (ประมาณ ๓๕ ล้านบาท)  เพื่อสร้างภาพยนตร์ชีวประวัติของนายพลอองซาน (ซึ่งเริ่มโครงการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๕) อีกด้วย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 16 ม.ค. 20, 20:52

ยังสร้างอนุสาวรีย์นายพลอองซานขึ้นทั่วประเทศแม้แต่ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย (ซึ่งไม่ได้รับการต้อนรับเท่าที่ควร)

นายพลอองซานแม้จะได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษของคนพม่า แต่ในมุมมองของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ พวกเขามีวีรบุรุษของตัวเอง  นั่นจึงเป็นเหตุให้พวกเขาไม่ต้องการรูปปั้นของนายพลอองซาน เกิดการต่อต้านในหลาย ๆ พื้นที่

ตัวอย่างเช่นที่เมืองมิตจีนา เมืองเอกรัฐกะฉิ่น เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มีผู้ไม่ประสงค์ออกนามสาดสีใส่ "อนุสาวรีย์นายพลอองซาน"


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง