เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61338 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 20:01


ก่อนจะมาถึงขั้นนี้  BIAของพม่ากับกองทัพญี่ปุ่น จึงมีระแวงกันอยู่ระหว่าง อองซานหวังว่าญี่ปุ่นควรมีภารกิจเพียงแค่การจัดตั้ง BIA และขยายกองทัพพม่าให้เติบโต ส่งมอบอาวุธและกระสุนให้ เพื่อรบกับอังกฤษ มิใช่จะจ้องเข้าครอบครองทรัพยากรของพม่าแทนพวกที่ช่วยกันไล่ออกไป
แต่ญี่ปุ่นเห็นว่า BIAเป็น“กองโจร”มากกว่ากองทัพ คนพม่าที่อองซานเกณฑ์มาเมื่อมีอาวุธในมือแล้วกลับไม่มีใครเชื่อฟังใคร ทำให้ไร้การควบคุม พวกตะขิ่นไร้สายการบังคับบัญชาผิดกับที่ญี่ปุ่นฝึกมา ทั้งหมดมุ่งประสงค์จะสังหารบรรดาหัวหน้าชุมชนที่เป็นชาวกะเหรี่ยงทุกคน ใครที่เคยรับใช้เป็นลูกน้องอังกฤษถูกโดนจับยิงเป้าทั้งหมด  ตะขิ่นอองซานเองก็เคยแสดงวีรกรรม ใช้ดาบแทงเชลยที่เป็นหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงตายต่อหน้าต่อตาที่ประชุมชาวบ้าน



อันนี้พอจะใช้เป็นคำตอบได้มั๊ยครับซายาครับ  ยิงฟันยิ้ม


แม้เรื่องนี้อาจจะเป็นคำบอกเล่าแต่ก็น่าจะมีที่มาจากเรื่องจริงอยู่ โดยเฉพาะเรื่องราวที่ BIA อาจะได้กระทำต่อกระเหรี่ยงหรือใครที่เคยร่วมมือกับอังกฤษตามที่ซายานวรัตนท่านเล่ามา เรื่องพวกนี้คงไม่สามารถปกปิดได้ ไม่ว่าจะลงมือทำด้วยตัวเองหรือในฐานะหัวหน้า  อองซานในฐานะผู้นำจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้  จะบอกว่าคุมคนไม่อยู่ ลูกน้องล่างๆ  ทำกันเองโดยพละการก็ไม่น่าใช่ เพราะบทบาทผู้นำต่างๆ ของอองซานค่อนข้างชัดเจนและน่าจะมีอำนาจเด็ดขาดมากกว่าแกนนำคนอื่นๆ พอสมควร การทำทารุณกรรมต่างๆ จะกระทำโดยทหารระดับเล็กๆ แต่ก็ต้องด้วยการรู้เห็นเป็นใจของระดับผู้บังคับบัญชาด้วยเสมอ


เรื่องความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติต่างๆ ในพม่าผมไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งที่อังกฤษทิ้งเอาไว้ให้หรือเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพราะเมื่อมองดูวิธีคิดของคนไทยที่มีต่อคนลาว เขมร หรือวิธีคิดที่คนปัตตานีบางส่วนมองคนไทย รู้สึกได้ว่าเมล็ดพันธุ์ความขัดแย้งหรือดููแคลนกันระหว่างเผ่าพันธุ์นี่มันมีอยู่ก่อนแล้วโดยไม่ต้องมีมหาอำนาจมาจุดชนวนหรือเพาะให้ เพราะเราเพาะกันเองมานานแล้ว


พม่ามีหลายเผ่าพันธุ์มารวมกัน เท่าที่อ่านมาดูเหมือนอองซานจะไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันทุกเผ่าทุกกลุ่ม อาจมองตามระดับอิทธิพลที่แต่ละกลุ่มมี  รวมถึงความบาดหมางเก่าๆ ที่มีต่อกัน เพราะดูเหมือนผู้สืบทอดอำนาจต่อๆ มาจะนำพาพม่าไปในลักษณะนี้กันหมด


อองซานหนุ่มอาจจะเต็มไปด้วยอุดมการณ์ แต่วันที่ต้องมารับผิดชอบ ประสานผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่างๆ พร้อมทั้งอำนาจที่เพิ่มพูนขึ้นมาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าได้เปลี่ยนอะไรในตัวอองซานไปบ้างเนื่องจากตายเสียแต่ยังหนุ่ม แต่อุดมการณ์ของผู้สืบทอดอำนาจรุ่นต่อๆ มาไม่ว่าจะเป็นอูนุหรือเนวิน   รวมถึงวิธีการในการรวบรวมอำนาจขึ้นมาของอองซาน  ก็พอจะให้ภาพคร่าวๆ ให้เดาแบบมองโลกในแง่ร้ายได้ว่าอองซานเองอาจจะไม่ต่างไปซักเท่าไหร่ก็ได้  อันนี้เดาจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในไทยมาร่วมคิดด้วย วันที่มีอุดมการณ์กับวันที่มีอำนาจ คนหนุ่มคนเดิมที่เคยมีอุดมการณ์พอมีอำนาจกลับไม่ใช่คนเดิมแล้ว
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 21:20


ก่อนจะมาถึงขั้นนี้  BIAของพม่ากับกองทัพญี่ปุ่น จึงมีระแวงกันอยู่ระหว่าง อองซานหวังว่าญี่ปุ่นควรมีภารกิจเพียงแค่การจัดตั้ง BIA และขยายกองทัพพม่าให้เติบโต ส่งมอบอาวุธและกระสุนให้ เพื่อรบกับอังกฤษ มิใช่จะจ้องเข้าครอบครองทรัพยากรของพม่าแทนพวกที่ช่วยกันไล่ออกไป
แต่ญี่ปุ่นเห็นว่า BIAเป็น“กองโจร”มากกว่ากองทัพ คนพม่าที่อองซานเกณฑ์มาเมื่อมีอาวุธในมือแล้วกลับไม่มีใครเชื่อฟังใคร ทำให้ไร้การควบคุม พวกตะขิ่นไร้สายการบังคับบัญชาผิดกับที่ญี่ปุ่นฝึกมา ทั้งหมดมุ่งประสงค์จะสังหารบรรดาหัวหน้าชุมชนที่เป็นชาวกะเหรี่ยงทุกคน ใครที่เคยรับใช้เป็นลูกน้องอังกฤษถูกโดนจับยิงเป้าทั้งหมด  ตะขิ่นอองซานเองก็เคยแสดงวีรกรรม ใช้ดาบแทงเชลยที่เป็นหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงตายต่อหน้าต่อตาที่ประชุมชาวบ้าน



อันนี้พอจะใช้เป็นคำตอบได้มั๊ยครับซายาครับ  ยิงฟันยิ้ม


แม้เรื่องนี้อาจจะเป็นคำบอกเล่าแต่ก็น่าจะมีที่มาจากเรื่องจริงอยู่ โดยเฉพาะเรื่องราวที่ BIA อาจะได้กระทำต่อกระเหรี่ยงหรือใครที่เคยร่วมมือกับอังกฤษตามที่ซายานวรัตนท่านเล่ามา เรื่องพวกนี้คงไม่สามารถปกปิดได้ ไม่ว่าจะลงมือทำด้วยตัวเองหรือในฐานะหัวหน้า  อองซานในฐานะผู้นำจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้  จะบอกว่าคุมคนไม่อยู่ ลูกน้องล่างๆ  ทำกันเองโดยพละการก็ไม่น่าใช่ เพราะบทบาทผู้นำต่างๆ ของอองซานค่อนข้างชัดเจนและน่าจะมีอำนาจเด็ดขาดมากกว่าแกนนำคนอื่นๆ พอสมควร การทำทารุณกรรมต่างๆ จะกระทำโดยทหารระดับเล็กๆ แต่ก็ต้องด้วยการรู้เห็นเป็นใจของระดับผู้บังคับบัญชาด้วยเสมอ

ถ้าตะขิ่นอองซานรู้เห็นเป็นใจกับลูกน้องให้สังหารกระเหรี่ยงที่ไม่มีความผิดก็น่าตำหนิเป็นอย่างมาก แต่ยังสงสัยว่าตะขิ่นอองซานรู้เห็นเป็นใจจริงหรือ หรือเพราะว่าคุมไม่อยู่จริง ๆ  

เรื่องตะขิ่นอองซานลงมือฆ่าหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงเอง ต่อหน้าที่ประชุมชาวบ้านมีรายละเอียดอย่างไรหนอ วานซายานวรัตนขยายความ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 23:47

^
เพ็ญชมพู 
ความคิดเห็นที่ 24
อ้างถึง
ข้อมูลข้างบนของท่านซายานวรัตนที่ว่านายพลอองซานเคยเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่น่าถูกต้อง นายพลอองซานเคยเป็นมาหลายอย่าง เป็นผู้นำนักศึกษา เป็นผู้นำกองทัพ เป็นรัฐมนตรี แต่ไม่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี   

ขออนุญาตลงบทความของ พลตรี นิพัทธ์ ทองเล็ก ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ที่คุณนวรัตนเล่าตอนนี้

กองทัพพม่าช่วยญี่ปุ่นโจมตีอังกฤษออกจากพม่า แล้วพม่าก็กลับมาช่วยอังกฤษโจมตีขับไล่ญี่ปุ่น

กองทัพพม่ากำเนิดจากทหารแค่ ๓๐ คน นำโดยอองซาน ไปรับการฝึกจากญี่ปุ่นบนเกาะไหหลำแล้วมารวมตัวกันประกาศจัดตั้ง Burmese Independence Army (BIA) ในประเทศไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ เพื่อเตรียมสนับสนุนญี่ปุ่นโจมตี กองทัพอังกฤษให้ถอนตัวจากพม่า

ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพลูกพระอาทิตย์บุกขึ้นพม่า โจมตีกองทัพอังกฤษจนต้องร่นถอยเข้าไปในอินเดียและกองทัพญี่ปุ่นก็ยึดครองพม่าได้โดยเด็ดขาด

ในจังหวะที่ BIA ของพม่าสนับสนุนนำกำลังกองทัพญี่ปุ่นบุกพม่านั้น ก็มีความหวาดระแวงกันอยู่ระหว่าง ออง ซาน กับกองทัพญี่ปุ่น ที่จริง ออง ซาน คาดหวังว่า BIA และกองทัพญี่ปุ่นควรมีภารกิจเพียงแค่การจัดตั้งและขยายกองทัพพม่าให้เติบโต ส่งมอบอาวุธ กระสุนให้ แต่ญี่ปุ่นกลับมุ่งโจมตี ยึดเอาทรัพยากรของพม่าเป็นลำดับแรกโดยเข้าตีเมืองมะละแหม่ง (บางคนเรียกว่าเมืองเมาะลำไย) ทางใต้ของพม่าก่อน

สถานการณ์รบในครั้งนั้นบรรดา “กลุ่ม ๓๐ สหาย” เริ่มไม่พอใจกองทัพญี่ปุ่นแต่ต้องอดกลั้นเก็บความรู้สึกเอาไว้ ที่ร้ายไปกว่านั้น ชาวพม่าที่เข้าร่วมรบกับ กองทัพญี่ปุ่น เมื่อมีอาวุธในมือแล้วกลับทำตัวเป็น “กองโจร” ไร้การควบคุม ไม่มีใครเชื่อฟังใคร ไม่มีสายการบังคับบัญชา

มุ่งประสงค์ตั้งอกตั้งใจสังหารบรรดา “หัวหน้าชุมชนที่เป็นชาวกะเหรี่ยง” ใครที่เคยรับใช้ เป็นลูกน้องอังกฤษถูกโดนจับยิงเป้าทั้งหมด

งานนี้สับสนอลหม่าน กลายเป็น “แค้นต้องชำระ” พม่าฆ่าพม่า-พม่าฆ่ากะเหรี่ยง โดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงที่น่าเวทนา กองทัพ BIA ถือโอกาสสังหารเป็นว่าเล่นเพราะเก็บความแค้นมานาน พม่าฆ่ากะเหรี่ยงก็สะใจเหมือนได้ฆ่าคนอังกฤษ


แม่ทัพญี่ปุ่นได้รับทราบพฤติกรรมเยี่ยงโจรของกลุ่ม BIA ซึ่ง ออง ซาน ก็ควบคุมไม่ได้จึงสั่ง “ยุติบทบาทและสลายกองทัพพม่า (BIA)” ทันที

คำสั่งของแม่ทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ ออง ซาน สะเทือนใจมากถึงขั้นล้มป่วย เข้าโรงพยาบาล เป็นโอกาสได้พบกับ ดอ ขิ่น จี (ต่อมาได้แต่งงานกัน)[/
quote]
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 23:49

^
^
Major-General Sir Hubert Rance, the British military commander, took control of the country for the military after the liberation of Rangoon, but Dorman-Smith returned as Governor in 1946. Dorman-Smith considered arresting Aung San for a murder he committed in 1942. In that year, Aung San had stabbed the restrained headman of Thebyugone village to death in front of a large crowd. Dorman-Smith was convinced by his superiors not to carry out the arrest.

http://en.wikipedia.org/wiki/Reginald_Dorman-Smith
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 09:57

หนังสือเรื่อง “ใครฆ่าอองซาน”เขียนโดยอูคินอ่อง บุตรของตุนหล่าออง นายตำรวจที่เป็นรองผู้บัญชาการในช่วงนั้นซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เนื้อเรื่องส่วนใหญ่คือเนื้อหาที่บีบีซีนำไปเสนอ โดยต่อยอดสู่ปริศนาสำคัญที่ถูกปกปิดเป็นความลับทางราชการของอังกฤษมา50ปี เพิ่งจะเปิดเผยสู่สาธารณะเมื่อประมาณปี1993 และทีมงานค้นหาความจริงของบีบีซีเอามาปัดฝุ่นนำเสนอ

ที่ผมเอามาเขียนเล่านี้ ก็จับโน่นนี่นั่นมายำใส่ไข่ ไม่ได้เอามาจากบีบีซีไปทั้งหมด เพราะบีบีซีเสนอในรูปแบบของหนังสารคดี จะยาวมากนักไม่ได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:01

หนังสือเล่าว่าประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่อองซานถูกลอบสังหาร เกิดข่าวลือไปทั่วว่าเรื่องนี้มีรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวข้องด้วย รัฐบาลพม่าของนายอูนุผู้อวยอังกฤษก็เตรียมออกแถลงการณ์ว่า “รัฐบาลอาณานิคมแห่งสหราชอาณาจักรมิได้เกี่ยวข้องในฆาตกรรมการเมืองครั้งนี้ และรัฐบาลพม่าร่วมกับรัฐบาลอังกฤษกำลังใช้ความพยายามอย่างที่สุดที่จะค้นหาผู้กระทำผิดตัวจริงจนพบ”

แต่แถลงการดังกล่าวไม่เคยได้แจกจ่ายออกไป เนื่องจากในจังหวะก่อนหน้าเล็กน้อย หนังสือพิมพ์ที่ออกในวันที่ 28-7-47 ได้ลงรายงานว่า “เมื่อนายพลอองซานและคณะไปลอนดอนในเดือนมกราคม เพื่อกระทำสัญญาข้อตกลงอองซาน-แอทลีนั้น อูซอและตะขิ่นบาเส่งปฏิเสธที่จะร่วมลงนาม อูซอ ซึ่งมุ่งหมายที่จะทำลายAFPFL ยังคงอยู่ในลอนดอนต่อและได้รับเงินห้าหมื่นปอนด์ ซึ่งนายทุนคนอังกฤษจำนวนหนึ่งได้ลงขันกันมามอบให้”

อูนุจึงรีบสั่งระงับแถลงการดังกล่าวไว้โดยทันที


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:04

เมื่ออูซอถูกจับและต้องสู้คดีในศาล เขาปฏิเสธโดยอ้างว่าอาวุธสงครามที่ตำรวจเจอนั้นไม่ใข่ของเขา ระหว่างนั้นมีหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสองคนที่เสียชีวิตไปอย่างไม่ธรรมดา

คนแรกคือ นายเฟรเดอริก เฮนรี่ (Frederick Henry) ทนายความชาวอังกฤษที่ว่าความให้อูซอ ถูกลอบฆ่าตายในห้องของเขาเองโดยไร้สาเหตุและจับคนร้ายไม่ได้
อีดนหนึ่งคือนายคอลลินส์(F. Collins) นักสืบเอกชนที่ทางการจ้างมาช่วยสืบคดี ถูกพบเป็นศพหลังเกิดการฆาตกรรมทนายคนแรก เอกสารทุกอย่างของเขาสูญหายหมด

เหยื่อทั้งสองนี้น่าจะไปล่วงรู้ตื้นลึกหนาบางของคดี ซึ่งมีบางคนไม่อยากให้สิ่งที่เขาไปรู้เข้านี้รั่วไหลออกไปสู่วงกว้าง

อดีตผู้ว่าการรัฐพม่าดอร์แมน-สมิตเดินทางจากอังกฤษมาให้การในศาลพม่าครั้งหนึ่งในฐานะพยานจำเลย และตอบคำถามของอัยการว่า เขามาในฐานะเพื่อนของอูซอเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับทางราชการ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:15

บีบีซีอ้างหลักฐานรายงานการสืบสวนของหน่วยข่าวกรองอังกฤษว่า หลังจากการทำสัญญาข้อตกลงอองซาน-แอทลี ได้มีบุคคลชั้นสูงกลุ่มหนึ่งเคลื่อนไหวในทางลับในนามของ “เพื่อนชาวเขาพม่า” (Friends of the Burma Hill People) โดยมีอดีตผู้ว่าการรัฐพม่าดอร์แมน-สมิตเป็นผู้ก่อการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวกะเหรียงซึ่งทางการอังกฤษเรียกว่าผู้ร่วมงาน (British Collaborators) ที่กำลังเรียกร้องอิสรภาพของชนชาตินี้ เพราะไม่ต้องการตกไปอยู่ใต้ปกครองของชนชาติพม่าที่เป็นศัตรูกันมาตั้งแต่โบราณกาล

ผู้ที่มาร่วมกลุ่มล้วนมีอดีตที่ฝังลึกกับสงครามครั้งที่แล้ว และมีจิตสำนึกที่จะต้องแก้แค้นให้แก่พรรคพวกที่กล่าวหาว่าถูกพวกตนทอดทิ้งไป ทำให้ต้องต่อสู้โดยลำพังและถูกฆ่าตายแบบล้างเผ่าพันธุ์ โดยทหารพม่าภายใต้เงาทมิฬของญี่ปุ่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:16

เมื่ออูซอต้องคำพิพากษา อดีตผู้ว่าการรัฐพม่าดอร์แมน-สมิตได้พยายามอีกครั้งหนึ่งที่จะวิ่งเต้นขอฎีกาอภัยโทษประหารชีวิตให้ แต่ความพยายามดังกล่าวไม่เป็นผล อูซอได้ตายตกไปตามกัน

ในวันเดียวกันนั้นเอง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำแรงกูนได้โทรเลขลับไปยังกระทรวง โทรเลขลับดังกล่าวนี้เพิ่งได้รับอนุญาตให้เปิดเผย คณะค้นหาความจริงของบีบีซีพบข้อความตอนหนึ่งน่าสนใจว่า ผู้บัญชาการตำรวจได้กระซิบบอกท่านทูตว่ามีข้อมูลเชื่อถือได้ว่าคนอังกฤษอยู่เบื้องหลังการสังหารอองซาน ซึ่งทางตำรวจตั้งข้อสงสัยดอร์แมน-สมิต และอีกชายชื่อบิงลีย์ บุคคลทั้งสองมีเป้าหมายร่วมกันบางอย่างที่ตำรวจยังไม่รู้ 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:25

เมื่อถูกจับเข้าคุกและเริ่มสิ้นหวังนั้น อูซอได้เขียนจดหมายถึงบุคคลคนหนึ่งชื่อวิเวียน ว่าเขาต้องการติดต่อท่านโย่ง(The tall gentleman) อูซอไม่ทราบว่าวิเวียนก็ติดคุกอยู่เช่นกัน ในข้อหาขโมยปืนและกระสุนจากคลังแสงของทางราชการในความรับผิดชอบจำนวนมากมาส่งมอบให้ตน
 
ตำรวจได้จดหมายนี้มาและตื่นเต้นมาก ใคร่รู้ว่าท่านโย่งที่ว่านั้นคือใคร แต่ต้องรอโอกาสต่อไป อูซอจึงไม่ได้รับจดหมายตอบ

เมื่ออูซอพยายามอีกครั้งด้วยการเขียนถึงพันตรีเฮนรี ยัง แล้วติดสินบนพัศดีให้นำส่ง คราวนี้ตำรวจเมื่อได้จดหมายดังกล่าวแล้วก็ปลอมจดหมายตอบสั้นๆว่า ให้ติดต่อท่านโย่งได้โดยทันที


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:34

อูซอจึงเขียนจดหมาย ทวงบุญคุณว่า ตนได้เสี่ยงตายทำตามคำสั่ง จ่าหน้าซองถึงนายจอห์น สต๊วต บิงลีย์ (John Stewart Bingley) แห่งบริติช เคาน์ซิล สาขาแรงกูน ชายผู้นี้สูงถึง195เซนติเมตร ตำรวจปลอมเป็นนักโทษเพิ่งพ้นคุกผู้รับจ้างนำจดหมายดังกล่าวไปให้ บิงลีย์ถึงกับช๊อคที่ได้เห็นจดหมายแล้วรีบฉีกทำลายทิ้งทันที พร้อมกับตะโกนไล่ตำรวจที่ถือจดหมายมาให้ออกไปให้พ้นๆ

ในหนังสือขยายความว่าอูซอต้องการเงินก้อนใหญ่เพื่อติดสินบนพ้ศดีให้จัดฉากหนีคุกให้ตนรอดพ้นโทษ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:46

ตุนหล่าอ่องนายตำรวจเจ้าของคดีได้เข้าไปพบเพื่อขอคุยด้วยทันที แต่บิงลีย์ไม่ยอมเปิดปากพูดอะไร เมื่ออยากจะเอาตัวมาสอบสวนชัดๆ ผู้ว่าการรัฐเซอร์ ฮิวเบร์ต เรนซ์ ก็ปกป้องบิงลีย์ว่าเป็นเหยื่อของสถานการณ์แวดล้อม ควรให้ออกนอกประเทศไปเสีย ในหนังสือบอกว่า ตำรวจไปหาผู้ว่าพร้อมหมายจับให้ลงนามอนุมัติ แต่ผู้ว่าไม่ยอมเซนต์ บอกว่าให้ไปหาหลักฐานมาอีก

หลังจากนั้น อูซอเขียนจดหมายถึงบิงลีย์อีก คราวนี้ไม่ได้ขออย่างเดียวแต่ขู่ด้วย  วันรุ่งขึ้นตุนหล่าอ่องจึงไปเคาะประตูห้องบิงลีย์โดยหวังจะได้ข้อมูลอะไรบ้าง เวลานั้นบิงลีย์ย้ายออกจากบ้านไปอยู่สแตรนด์โฮเตล เตรียมเผ่นออกจากพม่าแล้ว เมื่อยื่นจดหมายของอูซอให้ขณะที่กำลังจะออกเดินทาง เขาตกใจมากและอ้างเอกสิทธิ์ทางการทูตคุ้มครองมืให้ถูกจับกุม และปฏิเสธที่จะเปิดปากพูดอะไรทั้งสิ้น

จากประสพการณ์ของตำรวจ ตุนหล่าอ่องรู้อยู่แก่ใจว่าบิงลีย์ต้องเกี่ยวข้องกับฆาตกรรมการเมืองนี้แน่ แต่ในที่สุดก็ได้แค่พูดใส่หน้าว่า ยูไปจากพม่าแล้วก็อย่าได้บังอาจกลับมาอีกแล้วกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 10:53

บิงลีย์ก็คงไม่กลับไปพม่าอีกให้โง่ เขาอยู่ในอังกฤษและตายที่นั่นในปี 1979  บีบีซีพบเอกสารบางอย่างในแฟ้มของบิงลีย์ แต่ไม่มีอะไรที่เป็นเบาะแสเลย นอกจากรายงานของหน่วยสืบราชการลับกลางของอังกฤษว่า บิงลีย์ก็เช่นเดียวกับดอร์แมน-สมิต ที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของกลุ่มเพื่อนชาวเขาพม่า ที่ต้องการจะโค่นล้มการตั้งรัฐบาลเอกราชพม่า เป็นการสนับสนุนชาวกะเหรี่ยง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 11:05

เอกสารของทางราชการในเรื่องของกลุ่มนี้ยังคงถูกเก็บเป็นความลับต่อ หลักฐานที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ปรากฎรายชื่อผู้ที่เคยเข้าร่วมประชุม มีชื่อหม่องหม่องจี คนๆนี้เป็นพี่ชายของอูซอ อีกคนหนึ่งคือ เบนจามิน เมททนี ทนายจำเลยที่ต่อสู้คดีในศาล


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 11:17

อีกคนหนึ่งที่รู้เบื้องหลังของการลอบสังหาร คือเพื่อนสนิทของอองซานผู้ทำหน้าที่เลขานุการให้ด้วย ชื่อโบซัดจา
 
ชายผู้นี้เสียชีวิตไปแล้วแต่เคยเปิดเผยเบื้องหลังการตายของอองซานแก่นักเขียนหนังสือสารคดีชาวอเมริกันที่พำนักอยู่ในกรุงเทพ ประมาณปี1960 ผู้ซึ่งถ่ายทอดให้บีบีซีฟังว่า  กลุ่มผู้มีอิทธิพลในลอนดอน ประกอบด้วยผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ร่วมกับชาวกะเหรี่ยงในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ในฐานะนายทหาร สายลับ นักการทูต นักข่าว เมื่อสงครามเลิกแล้วพวกนี้ได้เข้าไปอยู่ในแวดวงการเมือง มีทั้งระดับวุฒิสมาชิก และกลุ่มชนชั้นสูง บางคนร่ำรวยระดับมหาเศรษฐีและมีอิทธิพลในฝ่ายรัฐบาล แต่หลังการพ่ายแพ้ของพรรคคอนเซอเวทีฟและผลัดยุคมาเป็นรัฐบาลพรรคเลเบอร์ นโยบายกดขี่เมืองขึ้นเดิมๆของเชอร์ชิลถูกโละทิ้ง คนกลุ่มนี้ก็สิ้นอิทธิพลที่จะไปผลักดันนโยบายใดๆให้รัฐบาลใหม่ยอมรับ จึงต้องลงมือปฏิบัติเองในทางลับ เพื่อให้บรรลุความมุ่งหวังที่จะแก้แค้นตัวอองซานเอง และต่อต้านชัยชนะของอองซานในเรื่องเอกราชของพม่า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง