เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61524 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 15:27

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวอังกฤษไม่ได้ให้โอกาสแก่นายกวินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟในการเป็นผู้นำประเทศเป็นสมัยต่อไป แต่กลับเลือกผู้นำพรรคเลเบอร์ นายคลีเมนต์ แอทลี(Clement Attllee)แทน ถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดของคนทั้งโลกที่ประชาชนหันหลังให้วีรบุรุษผู้นำชาติฝ่าฟันความยากลำบากจนชนะสงครามโลกครั้งที่สองมาได้

นายแอทลีเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลผสมสมัยที่เชอร์ชิลเป็นนายกระหว่างสงคราม หลังจากนั้นเขาได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคเลเบอร์และนำชัยชนะในการเลือกตั้งมาสู่พรรคอย่างถล่มทลาย ท่านได้เป็นนายกรัฐมนตรีจนครบเทอม ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในบรรดานายกรัฐมนตรีจากพรรคเลเบอร์ทุกคน

นโบยายของนายแอทลีในด้านเมืองขึ้นทั้งหลายคือให้อิสรภาพแก่ทุกชาติ มหาตมะ คามธีที่ติดคุกอังกฤษซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียก็มาประสพความสำเร็จเอาในยุคนี้ และท่านคือผู้ที่สั่งการมาโดยตรงยังดอร์แมน-สมิทมิให้จับกุมอองซาน ซ้ำยังได้เชิญผู้นำพม่าคนนี้ไปเจรจาที่ลอนดอนในเรื่องแผนการที่จะคืนเอกราชให้ด้วย

การพลิกนโยบายจากหน้ามือเป็นหลังมือจากรัฐบาลยุคนายกวินสตัน เชอร์ชิล ดังกล่าวโดยพลัน ทำให้บุคคลระดับสูงในวงการเมืองและการค้าของอังกฤษกลับตัวไม่ทันไปตามๆกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 15:35

อองซานจึงได้ไปอังกฤษและเปิดแถลงข่าวอย่างมั่นใจว่าอังกฤษจะรับฟังชาวพม่า

ความสำเร็จของอองซานในการทำสัญญาอองซาน-แอทลี ซึ่งสาระสำคัญมีว่าอังกฤษจะให้เอกราชแก่พม่าในเวลาไม่เกิน1ปี โดยจะให้อองซานเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ยังมีเงื่อนไขที่อองซานต้องไปทำการบ้านกับชนส่วนน้อยก่อน

ตอนนั้นอองซานไม่ทราบดอกว่า การบ้านข้อนี้เขาไม่มีทางทำได้สำเร็จ 



บันทึกการเข้า
ศุศศิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 15:49

มาลงชื่อเข้าห้องเรียน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 16:01

^
คุณประกอบมีเพื่อนแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 16:03

อดีตผู้ว่าการรัฐ ดอร์แมน-สมิท หลังจากที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว บีบีซีบอกว่าเขายังวนเวียนอยู่ในเรื่องของชาวกะเหรี่ยงที่เขาเคยสัญญาว่าจะช่วยให้เป็นอิสระ เพื่อตอบแทนที่ชาวกะเหรี่ยงช่วยอังกฤษรบกับญี่ปุ่นอย่างไม่เสียดายชีวิต


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 16:09

ส่วนอองซาน เมื่อกลับมาจากอังกฤษแล้วก็ทำการบ้านทันที เขาพยายามเข้าถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆเพื่อจะอธิบายแนวทางของเขา การที่ทุกฝ่ายต้องการเป็นอิสระนั้นยากในการปฏิบัติ เขาเสนอให้รวมเป็นประเทศเดียวกันก่อนที่จะแยกตัวเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง คนส่วนใหญ่ก็ฟัง แต่จะเชื่อเขาหรือไม่ก็ยังไม่มีความชัดเจน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 16:15

อย่างไรก็ตามการที่เกิดการลงนามในสนธิสัญญาปางหลวง(ปางโหลง)ขึ้นมาได้นั้น ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จแค่กึ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นเจ้าฟ้าไทยใหญ่ที่ลงนาม ขาดผู้นำชนชาติใหญ่ๆอีกหลายเมืองแม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะแสดงความสนใจ แต่ที่น่าเคลือบแคลงอย่างยิ่งที่ไม่มีชนชาตกะเหรี่ยงมาร่วมกิจกรรมเพื่อการรวมชาติ แม้จะเป็นการชั่วคราวนี้ด้วยเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 16:28

พม่าประกอบด้วยรัฐต่างๆนอกจากพม่าแล้ว คือยะไข่(ระขิ่น) ชิน คะฉิ่น ไทยใหญ่(ฉาน) และกะเหรี่ยง(คะเร็น)
 
แต่ผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาปางหลวงมากที่สุดก็คือไทยใหญ่ 14 คน คะฉิ่น 5 คน และชิน 3 คน ถือว่าน้อยนิด พม่า1 คน ถือว่าไม่มีความหมาย
แต่ยะไข่กับกะเหรี่ยงที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนพม่า-ไทยจากเหนือสุดใต้นั้น 0 ถือว่าสูญ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 16:45

อองซานยังทำงานหนักตามอุดมการณ์ที่จะให้อังกฤษคืนเอกราชให้ ในช่วงนี้เขานำพม่าออกจากเครือจักรภพ (Commonwealth) และทำให้เขาเสียเพื่อนที่เคยสนับสนุนเขาในระดับสูงของอังกฤษไปอีก แม้ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตนจะพูดโน้มน้าวอย่างไร เขาก็ปฏิเสธ

ส่วนบรรดาเพื่อนชาวพม่านั้น หลายคนยอมรับไม่ได้เลยที่จะให้อดีตเมืองขึ้นของราชอาณาจักรอังวะอันยิ่งใหญ่แข็งข้อ แยกดินแดนไปเป็นอิสระ ทั้งๆที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มันจะเป็นไปได้อย่างไรที่ประเทศเหล่านั้นจะไม่ถูกกลืนโดยชาติใหญ่กว่า ที่อยู่ข้างเคียงกัน
หลายคนเลยนึกขึ้นมาได้ที่เด็กๆเคยว่าอองซานว่ามันบ้า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 17:05

19 กรกฎาคม 1947 (พ.ศ. 2490) นายพลอองซาน ถูกสังหารพร้อมกับรัฐมนตรีอีก 6 คน ขณะกำลังร่างรัฐธรรมนูญในทำเนียบของรัฐบาลอังกฤษที่ให้ยืมใช้เป็นที่ประชุมรัฐบาลชั่วคราวของพม่า

ปิดฉากปัญหาที่ตัวเขาต้องเผชิญ โดยตัวปัญหามิได้สูญไปตามชีวิตของเขา หากรอผู้มีอำนาจคนอื่นมาจัดการกันต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 17:07

ผมกำลังเล่ามาถึงบทสุดท้าย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 17:07

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวอังกฤษไม่ได้ให้โอกาสแก่นายกวินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) ผู้นำพรรคคอนเซอร์เวทีฟในการเป็นผู้นำประเทศเป็นสมัยต่อไป แต่กลับเลือกผู้นำพรรคเลเบอร์ นายคลีเมนต์ แอทลี(Clement Attllee)แทน ถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดของคนทั้งโลกที่ประชาชนหันหลังให้วีรบุรุษผู้นำชาติฝ่าฟันความยากลำบากจนชนะสงครามโลกครั้งที่สองมาได้

ค่อยๆขยับจากหลังชั้น มาแยกซอยออกไปสักครั้ง

เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลเป็นวีรบุรุษ  เป็นเอกบุรุษ เป็นมหาบุรุษของอังกฤษ  ในยามสงคราม 6 ปีก็จริงอยู่   แต่ก็ต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศเมื่อสงครามสงบอย่างเหลือเชื่อ     ทั้งนี้ก็มีคนหาเหตุผลมาให้กันอยู่เยอะมาก  ในอินทรเนตรก็มีอยู่หลายเว็บจนกระทั่งต้องให้ท่านทั้งหลายที่สนใจไปเลือกหากันเอง ว่าจะเชื่อใคร    เพราะพบว่าต่างเว็บก็ต่างอธิบายกันไปหลายทาง

เหตุผลบางข้อที่คิดว่าฟังขึ้นก็คือ ความรู้สึกของประชาชนในยามสงครามและยามสงบไม่เหมือนกัน   ในยามสงคราม  นโยบายของเชอร์ชิลได้ผลในการนำประเทศไปสู่ชัยชนะ    แต่พอสงครามสงบ ประชาชนฟื้นตัวขึ้นมาจากซากปรักหักพังของบ้านเมือง ก็พบว่านโยบายวีรบุรุษนำชัยนั้นไม่ตรงกับความต้องการของตนในขณะนั้นเสียแล้ว      มีนักวิเคราะห์บอกว่า เชอร์ชิลมัววุ่นอยู่กับบัญชาการรบมา 6 ปีจนละเลยพรรคคอนเซอร์เวทีฟ หรือพรรคอนุรักษ์นิยมที่ตนเป็นหัวหน้าอยู่     พรรคก็เลยหันหัวเรือไม่ถูกว่าจะไปทางทิศทางไหนจึงจะรองรับความต้องการของประชาชนหลังสงครามได้    ผิดกับพรรคแรงงานหรือพักเลเบอร์ที่ไม่ได้ไปนำทัพกะเขาด้วย ก็มีเวลาทำการบ้านได้เป็นอย่างดี    สร้างนโยบายตอบสนองประชาชนที่บอบช้ำจากสังคมพังทลายเพราะสงครามโลกได้ทันการ  

นโยบายเอาใจประชาชนชั้นรากหญ้าซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่สุดในสังคมอังกฤษหลังสงคราม ได้ผลดีกว่าคำเตือนของเชอร์ชิลที่บอกว่า ให้ระวังนโยบายสังคมนิยมที่จะมาคุกคามโครงสร้างสังคมอังกฤษแบบเดียวกับรัสเซียเจอมาแล้ว      คนอังกฤษไม่ต้องการผู้บัญชาการรบอีกต่อไป     แต่ต้องการนายกฯที่มาปัดเป่าความลำบากยากจนให้ประเทศ    เก็บเงินเก็บทองประหยัดสตางค์ให้คลังหลวงของประเทศมีเงินขึ้นมาอีกครั้ง   ให้ประชาชนมีกินมีใช้ ลูกเต้าไม่อดอยาก   ดำเนินชีวิตได้อย่างสงบ  ไม่รบกับใครอีกแล้ว พอกันที   เหนื่อยพอแล้ว ตายพอแล้ว  ขออยู่สงบๆทีเถอะ
ด้วยเหตุนี้ เชอร์ชิลจึงแพ้เลือกตั้งไปอย่างคนอังกฤษรอบนอกก็งงไปตามๆกัน เช่นนี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 17:24

สังหรณ์ใจว่าจะได้เรียนเรื่องลอร์ดเมาท์แบทเทนด้วยอีกวิชานึงยังไงไม่รู้ครับ ท่านผู้นี้ก้มีประวัติน่าสนใจ มีบทบาทมากกับการประกาศเอกราชของพม่าและอินเดีย  แถมต้องมามีจุดจบอย่างน่าเศร้าใจในที่สุด  ยิ้มเท่ห์


ยิ่งอ่านเรื่องของอองซานยิ่งสับสน อุดมการณ์ก็น่ายกย่อง  แต่ก็เรื่องด่างพร้อยในชีวิตก็รุนแรงไม่น้อย   จะตีค่าให้เป็นวีรบุรุษกู้ชาติดี หรือจะตีให้เป็นตัวร้ายจากพฤติกรรมบางอย่างในอดีตก็ได้   เป็นวีรบุรุษสีเทาจริงๆ ตัวละครในโลกแห่งความจริงมักเป็นเช่นนี้ มีทั้งด้านสว่างด้านมืดครบ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 17:34

ยิ่งอ่านเรื่องของอองซานยิ่งสับสน อุดมการณ์ก็น่ายกย่อง  แต่ก็เรื่องด่างพร้อยในชีวิตก็รุนแรงไม่น้อย   จะตีค่าให้เป็นวีรบุรุษกู้ชาติดี หรือจะตีให้เป็นตัวร้ายจากพฤติกรรมบางอย่างในอดีตก็ได้   เป็นวีรบุรุษสีเทาจริงๆ ตัวละครในโลกแห่งความจริงมักเป็นเช่นนี้ มีทั้งด้านสว่างด้านมืดครบ

กด like ให้คุณประกอบ 10 ครั้ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 19:18

ยิ่งอ่านเรื่องของอองซานยิ่งสับสน อุดมการณ์ก็น่ายกย่อง  แต่ก็เรื่องด่างพร้อยในชีวิตก็รุนแรงไม่น้อย  จะตีค่าให้เป็นวีรบุรุษกู้ชาติดี หรือจะตีให้เป็นตัวร้ายจากพฤติกรรมบางอย่างในอดีตก็ได้   เป็นวีรบุรุษสีเทาจริงๆ ตัวละครในโลกแห่งความจริงมักเป็นเช่นนี้ มีทั้งด้านสว่างด้านมืดครบ

วานคุณประกอบสำแดงเรื่องที่คิดว่าเป็นจุดด่างพร้อยอย่่างรุนแรง และพฤติกรรมร้าย ๆ ของทะขิ่นอองซาน - วีรบุรุษสีเทา



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง