เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61526 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 07:39

อองซานก้าวจากเด็กบ้านนอกมาเป็นผู้นำนักศึกษาเพราะความเด็ดเดี่ยวของเขาที่กล้าชนกับอิทธิพลของอังกฤษผู้ปกครองพม่า แบบวัดใจว่าเป็นอะไรเป็นกัน ซึ่งในยกแรกนี้เขาชนะ จึงได้เป็นประธานสหภาพนักศึกษาทั่วประเทศ

อองซานโจนเข้าสู่การเมืองทันทีเมื่อจบการศึกษา โดยเข้าร่วมกับกลุ่มการเมืองของคนรุ่นหนุ่มสาวหัวก้าวหน้าที่มีชื่อว่า"เราคือชาวพม่า"(Dobama Asiayone) มุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์รวมของคนรุ่นใหม่ที่รักชาติ โดยได้รับอิทธิพลจากมาร์กซิสต์และแนวนิยมซ้ายพอสมควร ซึ่งอองซานเองก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ แม้จะมีผู้แก้ตัวให้ว่า เขาจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถนำมาพม่าให้ได้รับเอกราชและเสรีภาพก็แล้วกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 07:41

ช่วงก่อนสงคราม เกิดเหตุวุ่นวายในพม่ามากมาย พวกฝ่ายซ้ายได้เข้าไปยุยงให้เกิดการเดินขบวนของชาวไร่ชาวนาในเมืองหลวง คนงานประท้วง นักศึกษาประท้วง การปะทะกันระหว่างชาวพม่าโดยเหตุของเชื้อชาติบ้าง ศาสนาบ้าง โรงเรียนก็หยุดประท้วง การเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษของทะขิ่นอองซานจึงยังไม่ไปถึงไหน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 07:54

ขณะเดียวกัน ตำรวจอังกฤษก็รวบตัวผู้นำทางการเมืองหลายคนในข้อหาก่อความไม่สงบภายในประเทศ มีผู้นำข่าวมาแจ้งทะขิ่นอองซานว่า ตำรวจได้ออกหมายจับเขาแล้ว ดังนั้นเขาจึงต้องตัดสินใจด่วนที่จะหนีโดยจะขอไปเสี่ยงดวงที่จีน หวังว่าโดยตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของเขา จีนแดงคงจะสนับสนุนให้เขากลับมากู้ชาติบ้านเมืองจากอังกฤษได้

เพราะความเร่งรีบที่จะหนี เขาจึงขึ้นเรืออะไรก็ได้ที่จะไปเมืองจีน ดังนั้นเมื่อขึ้นบกที่เอ้หมึง เขาจึงหาพวกจีนที่เป็นคอมมิวนิสต์ไม่เจอ เพราะเป็นเมืองที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองเสียแล้ว และก็ไม่พ้นหูพ้นตาของสายลับญี่ปุ่น โชคดีที่ญี่ปุ่นกำลังคิดจะบุกพม่า ก็เลยเอาตัวทะขิ่นอองซานมาคุยดู เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่กองทัพของพระเจ้าจักรพรรดิ์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 08:21

ขออนุญาตคุณเพ็ญและคุณประกอบติดตามคณะทำงานค้นหาความจริงของบีบีซีมาเล่าให้สู่ท่านผู้อ่านต่อไป เพราะผมเองกำลังมัน

ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมค้นหาความจริงร่วมกับคุณนวรัตน

ป.ล. ขออนุญาตย้อนไปถึงเรื่องของอูซอ

อูซอจบวิชากฏหมาย และดังมาจากการเป็นทนายว่าความให้กับซายา ซาน อดีตพระที่กลายไปเป็นผู้นำกบฎต่ออังกฤษกระทั่งเป็นวีรบุรุษคนหนึ่งของพม่า

จริง ๆ แล้ว ผู้ที่เป็นทนายว่าความให้อาจารย์ซานคือ ดอกเตอร์บามอ (Ba  Maw) ซึ่งจบการศึกษาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษ และได้รับปริญญาเอกจากฝรั่งเศส  เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในสมัยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 08:36

^
บามอก็เป็นครับ น่าจะเป็นหัวหน้าด้วยเพราะจบดอกเตอร์มาทางนี้ ส่วนอูซอเป็นทนายจบในพม่า น่าจะร่วมกันเป็นคณะ

http://en.wikipedia.org/wiki/U_Saw
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 08:37

บีบีซีตามไปสัมภาษณ์นายมิซุตานิ อดีตสายลับญี่ปุ่นที่ปฏิบัติการอยู่ในแรงกูนในช่วงก่อนสงคราม ซึ่งได้เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางโน้นคุยกับอองซานรู้เรื่องก็สั่งให้เขาเตรียมการส่งพวกตะขิ่นพม่า30คน ลักลอบลงเรือไปให้ได้ ซึ่งเขาคิดว่าขืนแห่กันไปอย่างนั้นสายลับอังกฤษที่ท่าเรือก็รู้แน่นอน เขาจึงดำเนินการให้ใช้เรือสินค้าญี่ปุ่นมาทยอยเทียบท่าที่แรงกูนถึงสี่ห้าลำ แล้วลักลอบนำพวกตะขิ่นลงเรือทีละคน จนกระทั่งครบ

คณะพรรคตะขิ่น30 ถูกนำตัวไปที่เกาะไหหลำซึ่งญี่ปุ่นยึดครองอยู่ในสมัยนั้น เพื่อฝึกเข้มในเรื่องการใช้อาวุธ การหาข่าว และการบริหารจัดการกองทัพ ตามแบบญี่ปุ่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 08:56

ขณะนั้นสงครามในยุโรปยังไม่ลุกลามถึงเป็นสงครามโลก ญี่ปุ่นฝึกตะขิ่น30ไว้พอใช้การได้แล้วแต่ยังไม่กล้าส่งกลับไปก่อการในพม่า ซึ่งญี่ปุ่นเล็งไว้ว่าจะให้ไปตัดเส้นทางลำเลียงอาวุธที่อังกฤษส่งผ่านภาคเหนือของพม่าไปให้จีนทางยูนนาน แต่ยังเริ่มดำเนินการไม่ได้เพราะกลัวแผนการใหญ่จะแตก

ทุกฝ่ายจึงลุ้นอยู่ว่าอะไรจะเป็นอะไรตามลำดับต่อไป และรอคอยเวลาอยู่ด้วยความกระวนกระวาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 08:59

ครั้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ ทุกแผนก็ถูกเร่งรัดให้ดำเนินการ ตะขิ่น30ถูกส่งตัวมาที่กรุงเทพ ซึ่งตอนนั้นสยามได้เข้าร่วมวงไพบูลย์กับญี่ปุ่นไปแล้ว  เพื่อระดมพลพรรคเพิ่มและร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นบุกทะลวงเข้าไปสู่พม่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 09:18

คืนที่ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนกำลังสู่บ้านเกิดเมืองนอน ตะขิ่นอองซานได้เรียกพรรคพวกทั้ง30มาประชุมจัดตั้ง กองทัพเพื่อเอกราชพม่า(Burmese Independent Army- BIA)ขึ้น และให้ทุกคนใช้เข็มฉีดยา ดูดเลือดของตนมาใส่ในขันรวมกันแล้วเวียนกันดื่มเป็นน้ำสาบานว่า จะสละเลือดเนื้อและชีวิตของตนเพื่อชาติ ประชาชน และกองทัพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 09:20

กองทัพเพื่อเอกราชพม่าที่เกิดขึ้นนี้ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากราษฎรชาวพม่า และเมื่ออังกฤษรู้ข่าวการเกิดขึ้นของBIAนี้ จึงได้ประกาศโทษนายทหารถึงประหารชีวิตหากถูกจับได้ ดังนั้นตะขิ่นทุกคนจึงใช้ชื่อปลอมหมด อังกฤษจึงไม่รู้ว่าใครคือใคร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 09:53

ญี่ปุ่นมองว่าพม่ามีน้ำมันและทรัพยากรมากพอที่จะทำให้ญี่ปุ่นรบยืดเยื้อได้ จึงมุ่งเข้าโจมตีเมืองมะละแหม่งทางใต้ของพม่าก่อนเพื่อเอาไว้เป็นท่าเรือ หลังจากได้แล้วก็จะเร่งสร้างทางรถไฟ(สายมรณะ)เชื่อมโยงสองอ่าวตามแผน ซึ่งจะต้องลงมือพร้อมกันทั้งฝั่งพม่าและไทย ถ้าสำเร็จก็จะร่นระยะทางขนส่งไปญี่ปุ่นได้มาก

การไปลงมือในเขตกระเหรี่ยง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลเข้มข้นของอังกฤษถือเป็นต้นเหตุอย่างหนึ่ง เพราะกระเหรี่ยงเกลียดพม่า พม่าก็เกลียดกระเหรี่ยงตามผลที่อังกฤษสร้างไว้ กระเหรี่ยงช่วยอังกฤษต่อต้านศัตรูที่บุกเข้ามาแบบไม่เลือกหน้าเหลืองหน้าดำ การเข่นฆ่าทารุณก็เกิดขึ้นแบบแค้นชำระแค้น BIAมีอาวุธดีกว่าก็สังหารชาวกระเหรี่ยงไปหลายพันคน โดยญี่ปุ่นเองก็ยังคิดไม่ถึง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 10:00

ส่วนอังกฤษก็ไม่ได้รบจริงจัง เห็นศัตรูเหนือกว่าก็ทิ้งกระเหรี่ยงให้ตายไปตามลำพังฝ่ายเดียว พอเห็นว่าญี่ปุ่นมาแรง ก็ร่นถอยเข้าไปในอินเดีย และไปสร้างค่ายผู้ลี้ภัยที่นั่น ปล่อยให้กองทัพญี่ปุ่นทะลวงเข้าเมืองหลวงและตามตีต่อไปสู่ภาคเหนือ ยุ้งฉางของอังกฤษ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 10:22

ก่อนจะมาถึงขั้นนี้  BIAของพม่ากับกองทัพญี่ปุ่น จึงมีระแวงกันอยู่ระหว่าง อองซานหวังว่าญี่ปุ่นควรมีภารกิจเพียงแค่การจัดตั้ง BIA และขยายกองทัพพม่าให้เติบโต ส่งมอบอาวุธและกระสุนให้ เพื่อรบกับอังกฤษ มิใช่จะจ้องเข้าครอบครองทรัพยากรของพม่าแทนพวกที่ช่วยกันไล่ออกไป
แต่ญี่ปุ่นเห็นว่า BIAเป็น“กองโจร”มากกว่ากองทัพ คนพม่าที่อองซานเกณฑ์มาเมื่อมีอาวุธในมือแล้วกลับไม่มีใครเชื่อฟังใคร ทำให้ไร้การควบคุม พวกตะขิ่นไร้สายการบังคับบัญชาผิดกับที่ญี่ปุ่นฝึกมา ทั้งหมดมุ่งประสงค์จะสังหารบรรดาหัวหน้าชุมชนที่เป็นชาวกะเหรี่ยงทุกคน ใครที่เคยรับใช้เป็นลูกน้องอังกฤษถูกโดนจับยิงเป้าทั้งหมด  ตะขิ่นอองซานเองก็เคยแสดงวีรกรรม ใช้ดาบแทงเชลยที่เป็นหัวหน้าชาวกระเหรี่ยงตายต่อหน้าต่อตาที่ประชุมชาวบ้าน

งานนี้สับสนอลหม่าน กลายเป็น “แค้นต้องชำระ” พม่าฆ่าพม่า-พม่าฆ่ากะเหรี่ยง โดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงที่น่าเวทนา กองทัพ BIA ถือโอกาสสังหารเป็นว่าเล่นเพราะเก็บความแค้นมานาน พม่าฆ่ากะเหรี่ยงก็สะใจเหมือนได้ฆ่าคนอังกฤษ

แม่ทัพญี่ปุ่นได้รับทราบพฤติกรรมเยี่ยงโจรของกลุ่ม BIA ซึ่ง ออง ซาน ก็ควบคุมไม่ได้จึงสั่ง “ยุติบทบาทและสลายกองทัพพม่า (BIA)” ทันที

คำสั่งของแม่ทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ อองซานสะเทือนใจมากถึงขั้นล้มป่วยเข้าโรงพยาบาล เป็นโอกาสได้พบกับ ดอ ขิ่น จี (ต่อมาได้แต่งงานกัน)

ในภาคที่อองซานเป็นพระเอก จะเขียนว่า ในช่วงที่กองทัพ BIA รุดหน้าทำงานในพม่านั้น ต้องเจอกับปัญหาด้านร่างกายมากมาย นายพลอองซานเองต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งที่นี่เองที่ได้มีโอกาสได้พบกับพยาบาล มะขิ่นจี (Ma Khin Kyi) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาของนายพลอองซาน และแม่ของซูจี การมีคู่มีชีวิตนั้นทำให้เห็นด้านอ่อนโยนของนายพลอองซานมากขึ้น



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 10:39

ในภาคที่อองซานเป็นพระเอก จะเขียนว่า ในช่วงที่กองทัพ BIA รุดหน้าทำงานในพม่านั้น ต้องเจอกับปัญหาด้านร่างกายมากมาย นายพลอองซานเองต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งที่นี่เองที่ได้มีโอกาสได้พบกับพยาบาล มะขิ่นจี (Ma Khin Kyi) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาของนายพลอองซาน และแม่ของซูจี การมีคู่มีชีวิตนั้นทำให้เห็นด้านอ่อนโยนของนายพลอองซานมากขึ้น

ภาคที่เป็นพระเอกนี้ เป็นภาคที่อองซานซูจี - ลูกสาวเล่าเรื่องของพ่อในบทความ "พ่อของฉัน" อยู่ใน # ๑๕ เรื่องจึงเบาลงมาหน่อย

ภาค "แค้นต้องชำระ" อยู่ในบทความของพลตรีนิพันธ์ ทองเล็ก # ๒๔



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 10:47

^
ถูกต้องครับ ผมเอามาจากที่คุณเพ็ญลงไว้แถวต้นๆเรื่องนี้เอง ขออภัยที่ไม่ได้อ้างอิงให้รกรุงรัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง