เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61339 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:29

ได้รูปมาใหม่ ขอย้อนกลับไปหน่อยครับ

ภาพกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยแรงกูน โกอองซาน (Ko Aung San) นั่งแถวหน้า ที่สามจากซ้าย(1936).

พม่าเขาเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อไปเรื่อยๆตามอาวุโส ตอนเป็นนักศึกษาออกซานเป็นโก อ่านออกเสียงเหมือนอาโกชาวไหหลำอย่างนี้หรือเปล่า เดี๋ยวซายาเพ็ญคงมาแก้ถ้าผิด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:32

คณะบรรณาธิการของ Oway Magazine มีโกอองซานนั่งอยู่ คนที่สองจากซ้าย(1936)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:33

(1937)โกอองซานถ่ายเดี่ยว เมื่อเป็นนายกสมาพันธ์นักศึกษาแห่งพม่า (All Burma Students Union).


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:43

ถ่ายกับเพื่อนในกลุ่มสหายสามสิบบางคนครั้งไปฝึกทหารที่ญี่ปุ่น

ผมละเพลียกับภาษาพม่าจริงๆ ไม่อยากถอดเป็นไทยๆแล้วละ รอคุณเพ็ญมาถอดเองดีกว่า
Bo Letya, Bo Setkya and Bo Teza (Bogyoke Aung San) in Japan. (1941)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:48

คณะทูตสันถวไมตรีชุดแรกที่เดินทางไปญี่ปุ่น ถ่ายก่อนเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์

The first delegation to Japan, before their audience with the Emperor. Bogyoke Aung San far right. (March 1943)   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:51

แปรพักตร์แล้ว

Bogyoke Aung San in London, January 1947, between Thakin Mya and Lord Pethwick-Lawrence   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:54

พบกับคนนี้มีความสำคัญ ซายาเพ็ญน่าจะขยายความ

Bogyoke Aung San with Clement Attlee, 10 Downing Street, January 1947.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 20:15

Bogyoke Aung San with Sir Hubert Rance. (January 1947)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 20:18

ชุดนายพลพม่าแบบนี้ออกแนวเครื่องแบบนาซีเยอรมันหน่อยๆ

Bogyoke Aung San in London. (January 1947)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 22:46

ขอบพระคุณท่านซายานวรัตนสำหรับภาพประกอบเรื่องที่เล่าผ่านมาแล้ว และกำลังจะเล่าต่อไป

พม่าเขาเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อไปเรื่อยๆตามอาวุโส ตอนเป็นนักศึกษาออกซานเป็นโก อ่านออกเสียงเหมือนอาโกชาวไหหลำอย่างนี้หรือเปล่า เดี๋ยวซายาเพ็ญคงมาแก้ถ้าผิด

คำนำหน้าชื่อพม่า ถ้าเป็นผู้ชายมี หม่อง = เด็กชาย (อาจสับสนได้ในบางครั้ง เนื่องจากบางทีก็เป็นส่วนหนึงของชื่อด้วย), โก = นาย,   อู = เป็นคำสำหรับเรียกคนมีอายุมาก เหมือนกับเราเรียกว่า "ลุง" หรือสำหรับเรียกเพื่อยกย่องให้เกียรติเช่นอูนุ, อูถั่น

สำหรับผู้หญิง มี ๒ คำคือ มะ ใช้เรียกผู้หญิงวัยสาว และ ดอ สำหรับเรียกผู้หญิงสูงวัยทำนองเดียวกับคำว่า "ป้า" นั่นแล

ผมละเพลียกับภาษาพม่าจริงๆ ไม่อยากถอดเป็นไทยๆแล้วละ รอคุณเพ็ญมาถอดเองดีกว่า
Bo Letya, Bo Setkya and Bo Teza (Bogyoke Aung San) in Japan. (1941)

ชื่อทั้งหมดเป็นนามแฝงใช้ในการสู้รบ

Bo Letya = โบ เละต์ยา ชื่อจริงคือ  Hla Pe = ลาเป, Bo Setkya = โบ เซะต์จา ชื่อจริงคือ Aung Than = อองตาน, Bo Teza = โบ เทซา ชื่อจริงคือ Aung San = อองซาน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 23:15

หลังสงครามโลกสิ้นสุด กองทัพอังกฤษเข้าบริหารประเทศพม่าได้ราว ๔ เดือน กรมกิจการพลเรือนของอังกฤษจึงเข้ามาบริหารแทนโดยนายพลฮิวเบอร์ต แรนซ์  (Hubert Rance)  นายพลแรนซ์ สั่งสลายกองทัพแห่งชาติพม่าทันที กำลังพลของกองทัพแห่งชาติพม่าไม่พอใจ ไปรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่ม People’s Volunteer Organization (PVO) แล้วไปเชิญนายพลอองซานมาป็นผู้บัญชาการ โดยไม่ยอมมอบอาวุธคืนแก่ทางการอังกฤษ

ลอร์ด เมาท์แบทเทน พยามหาทางออกโดยยื่นข้อเสนอว่ากองทัพพม่าที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ (ตามแบบฉบับของอังกฤษ) นั้นจะแต่งตั้งนายพลอองซานเป็น รองจเรทหารทั่วไป (Deputy Inspector General) และเปิดโอกาสให้นายพลอองซาน เลือกทางเดินชีวิต ว่าจะเป็น “ทหาร” ต่อไปหรือจะเป็น “ผู้นำทางการเมือง” ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ นายพลอองซานตกลงใจเลือกที่จะเป็นผู้นำทางการเมือง เขียนจดหมายตอบปฏิเสธตำแหน่ง “รองจเรทหารทั่วไป”

เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ หน่วยกิจการพลเรือนของกองทัพอังกฤษจบภารกิจถอนตัวออกจากพม่า อังกฤษส่งเซอร์ เรจินัลด์ ดอร์แมน สมิธ (Sir Reginald Dorman-Smith) กลับมาเป็นข้าหลวงปกครองพม่า ข้าหลวงคนนี้ไม่ค่อยจะถูกชะตากับนายพลอองซาน และมีใจเอนเอียงสนับสนุน อู ซอ ซึ่งเคยประกาศเป็นคู่แข่งทางการเมืองของนายพลอองซาน

องค์กรทางการเมืองที่แข่งแกร่งที่สุดในขณะนั้นคือ สันนิบาตเสรีต่อต้านฟาสซิสต์ (AFPFL)  ซึ่งข้าหลวงอังกฤษพยายามริดรอนบทบาทโดยอู ซอ ร่วมมือกับ ข้าหลวงอังกฤษประกาศจัดตั้ง “สภาบริหารประเทศ” ทำหน้าที่เสมือน “คณะรัฐมนตรี” ปกครองประเทศ โดยไม่เลือกบุคคลจาก AFPFL เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารแต่กลับเลือก อู ซอ และ เซอร์ ปอ ตุน (พวกอังกฤษ) เข้ามาร่วมทำงาน

สถานการณ์สับสนวุ่นวายอีกครั้งเมื่อตะขิ่น ตัน ตุน ผู้นำกลุ่มคอมมิวนิสต์ ใน AFPFL จัดการเดินขบวนและเริ่มก่อสงครามกองโจรเพื่อต่อต้าน “สภาบริหารประเทศ” ที่จัดตั้งโดยข้าหลวงอังกฤษ

เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ นักเรียน นักศึกษา ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ผู้ใช้แรงงานทั้งหลาย ก่อการสไตร์คทั่วประเทศ เกิดภาวะจลาจล ข้าหลวงอังกฤษจึงเชิญนายพลอองซานมาพบเพื่อเข้าร่วมใน “สภาบริหารประเทศ” โดยให้นายพลอองซานเป็น “รองประธานสภา” เชิญสมาชิก AFPFL ๖ คนมาร่วมด้วยจากจำนวนทั้งหมด ๑๑ คน เหตุการณ์จึงกลับคืนสู่สภาวะปกติ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 08:54

มาอ่านมุมมองของฝ่ายตรงข้ามกับพม่าในเรื่องเดียวกันนี้ เป็นการเปรียบเทียบเหตุการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน บทความนี้เขียนโดยคุณเงาแจ้ง ผมขอเอาท่อนแรกมาให้อ่านก่อน เพื่อให้ขนานไปกับการเดินเรื่องของคุณเพ็ญชมพู

เมื่อวันที่ 19 พ.ย 2428 กษัตริย์ สี่ปอมิน ( ธีบอ) กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกกองทัพอังกฤษบุกเข้าจับกุมตัวและในวันที่ 1 ม.ค 2429 กองทัพอังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของแผ่นดินพม่าไว้หมดแล้วซึ่งใน เวลานั้น รัฐฉานของชาวไทยใหญ่ยังไม่ได้ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน จวบจน กระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ 2430 อังกฤษจึงเดินทางมายึดรัฐฉาน และประกาศให้รัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งในรัฐอารักขาของอังกฤษ ( Protectorate Country)

ในช่วงที่รัฐฉานอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ได้มีการแบ่งแยกการปกครอง และงบประมาณของรัฐฉานกับพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน โดยในสมัยนั้น พม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อต้านอังกฤษมาโดยตลอด ขณะที่เจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ ได้ให้ความร่วมมือกับอังกฤษ รวมทั้งให้การช่วยเหลืออังกฤษในการสู้รบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เป็นอย่างดี


ในรูป ทั้งฝรั่งทั้งแขก(รวมทั้งหมาฝรั่ง)เป็นนายหมด คนพื้นเมืองเป็นแค่บ่าว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 08:57

หลังจากที่แผ่นดินพม่าและไทยใหญ่ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ นานกว่าครึ่งศตวรรษ วันที่15 ส.ค 2482 อองซานจึงจัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้ดินขึ้น เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยที่อองซานทำหน้าที่เลขาธิการของกลุ่ม อองซาน พยายามหาทางติดต่อกลุ่มกับคอมมิวนิสต์กลุ่มต่างๆ โดยหลังจากเดินทางกลับจากอินเดียมายังกรุงย่างกุ้ง เขาได้แอบเดินทางไปประเทศจีน แต่เนื่องจากลงเรือผิดลำจึงไปถึงเกาะ อมอย ( Amoy -ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกเอ้หมึง) ของญี่ปุ่นแทน ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัว อองซานไปยังเมืองโตเกียว หลังจากอองซานกลับจากญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกจำนวน 30 คนเดินทาง ไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น

ต่อมา วันที่ 26 ธ.ค 2484 อองซานจึงจัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า ( B.I.A=Burma Independence Army ) ขึ้นที่กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ 2485 เริ่มนำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่น โจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษ โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาในแผ่นดินพม่าและรัฐฉาน และในเวลาเดียวกันนี้ ทางเจ้าฟ้ารัฐฉานได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษไปยังอินเดียและพม่า ต่อมาญี่ปุ่นได้ทำการทารุณกรรมประชาชนในรัฐฉานเช่นเดียวกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่างๆในเอเชีย จวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2สงบลง ญี่ปุ่นจึงถอยทัพกลับไป


ภาพนายทหารญี่ปุ่นถ่ายในรัฐฉานระหว่างสงคราม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 09:00

กองทัพญี่ปุ่น แต่แรกได้รับการต้อนรับจากชาวพม่าเป็นอย่างดี ก่อนจะกลับข้าง จนกระทั่งญี่ปุ่นพ่ายสงครามในที่สุด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 09:05

เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ 2484 รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษได้จัดทำหนังสือข้อตกลง ที่ชื่อว่า"เตหะราน" (Teheran-Agreement)ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า "หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของทั้ง2ประเทศทั้งหมด " เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อองซานจึงพยายามติดต่อเข้าพบผู้นำรัฐบาลอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืน

ในช่วงเวลาที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน(ที่ไม่ใช่ ชาวไทยใหญ่) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้ง และซึมซับรับเอาแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงเริ่มมีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน โดยนักศึกษากลุ่มนี้ได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม "ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช" ของอองซาน และตกลงรับเอาภาระหน้าที่บ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และหันมาเข้าร่วมกับพม่าในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของอองซาน โดยอาศัยรัฐฉานเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ
 
เนื่องจากเจ้าฟ้ารัฐฉาน เป็นมิตรกับอังกฤษมาโดยตลอด โดยในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่า "ขอให้รัฐฉาน อยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อน และอังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา , การเมือง , การปกครอง , การติดต่อต่างประเทศ - ในประเทศ , การเศรษฐกิจ และการคมนาคมในรัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง"

สำหรับอองซาน ในตอนแรกเป็นผู้มีบทบาทชักจูงทหารญี่ปุ่นให้เข้ามาในพม่าและรัฐฉาน แต่ในตอนสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 มี.ค 2488 กลับนำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และพม่าได้ถือเอาวันนี้ เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง