เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61555 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 22:17

อองซานซูจี เล่าเรื่องของนายพลอองซานในบทความ "พ่อของฉัน" ต่อไปว่า

การต่อสู้ของพลเอกอองซานในการเข้าร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นนั้นเต็มไปด้วยความเคลือบแคลงสงสัย และชั้นเชิงในการเจรจา  เมื่อกองทัพเพื่อเอกราชพม่า BIA เคลื่อนพลจากกรุงเทพเข้าสู่พม่า สมาชิกกลุ่มภายใต้การนำของนายพลอองซาน เริ่มรู้สึกแล้วว่าการเข้าร่วมกับญี่ปุ่นนั้นกลับนำปัญหามาให้  และการนำทหารญี่ปุ่นเข้าประเทศยิ่งเท่ากับไปเปิดทางให้ญี่ปุ่นบุกยึดพม่า และกลับกลายเป็นว่าญี่ปุ่นเป็นผู้ยึดครองที่โหดร้ายยิ่งกว่าอังกฤษเสียอีก  ชาวพม่าต้องรับชะตากรรมหนักกว่าเดิม มีคนพม่าถูกลักพาตัว ถูกทรมาน และถูกบังคับให้กลายเป็นแรงงาน แต่นายพลอองซานและกลุ่มเพื่อนสามสิบไม่ยอมให้เหตุการณ์เลวร้ายลงไปกว่าที่เป็นอยู่  และไม่ยอมเป็นเพียงหัวโขนให้กองทัพของญี่ปุ่นใช้เป็นประโยชน์ จึงตัดสินใจเผชิญหน้าเจรจากับนายพันซูซูกิ ผู้บัญชาการ BIA  ในที่สุดความพยายามก็สำเร็จและอองซานได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการสูงสุด

ในช่วงที่กองทัพ  BIA รุดหน้าทำงานในพม่านั้น ต้องเจอกับปัญหาด้านร่างกายมากมาย นายพลอองซานเองต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งที่นี่เองที่ได้มีโอกาสได้พบกับพยาบาล มะขิ่นจี (Ma Khin Kyi) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาของนายพลอองซาน และแม่ของซูจี  การมีคู่มีชีวิตนั้นทำให้เห็นด้านอ่อนโยนของนายพลอองซานมากขึ้น

ภาพนายพลอองซาน ภรรยา และบุตรชายคนแรก







บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 22:22

นายพลอองซาน มะขิ่นจี ภรรยา และลูกทั้งสาม  อองซานซูจี หน้าตาแป๋วแหววอยู่หน้าสุด  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 22:33

ครอบครัวสุขสันต์   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 22:38

กาลเวลาผ่านไป จากรุ่นสู่รุ่น จาก มะ เป็น ดอ

ดอขิ่นจีอุ้มหลานคนแรก ที่ย่างกุ้ง พ.ศ. ๒๕๐๗  อองซานซูจีเป็นสาวสวยทีเดียว   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 22:47

ซายาคับ  ป๋มมีคำถามคับ   ตอนนี้พี่ๆ ของซูจีหายไปไหนกันหมดแล้วหละครับ  นี่ผมนึกว่าซูจีแกเป็นลูกสาวคนเดียวนะเนี่ย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 06:34

บุตรชายคนโตของนายพลอองซาน พอโตขึ้นมาก็ไปอยู่สหรัฐอเมริกาและปฏิเสธที่จะยุ่งเกี่ยวกับการเมือง บุตรชายคนที่สองจมน้ำตายในสระใกล้บ้าน

คนที่สามของนายพลอองซานเป็นสตรีที่มีชื่อว่าซูจี เธอมีอะไรคล้ายพ่อมาก อาศัยร่มเงาวีรบุรุษของพ่อที่ทำให้เธอชนะใจชาวพม่าได้อย่างรวดเร็ว แต่อุปนิสัยเช่นการพูดจาที่ตรงไปตรงมาไม่กลัวใครเช่นพ่อ ทำให้เธอครองใจชาวพม่าได้ยาวนาน สิ่งใดที่พ่อทำไว้แล้วและกำลังทำอยู่แต่ยังไม่สำเร็จ  เธอก็สานต่อ โดยไม่ปฏิบัติในทางตรงกันข้ามอย่างเด็ดขาด นอกจาก…..(โปรดอดใจรอคำเฉลยเมื่อรื่องดำเนินไปถึง)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 07:15

คณะสหายสามสิบของ อู ออง ซาน ได้เปลี่ยนภารกิจกลายเป็น “กองทัพพม่าอิสระ” พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2484 ญี่ปุ่นก็ได้ให้การสนับสนุนทั้งการเงินและอาวุธในการระดมพลพรรคก่อตั้ง "กองกำลังปลดปล่อยพม่า” (Burmese Independence Army : BIA) ขึ้นมาร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในการผลักดันอังกฤษ เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้าโจมตีพม่าเพื่อยึดเส้นทางยุทธศาสตร์สู่อินเดีย รังใหญ่ของจักรวรรดิ์อังกฤษในเอเซีย  จนอังกฤษแตกพ่ายญี่ปุ่นสามารถยึดพม่าได้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2486 และได้ประกาศให้พม่าเป็นเอกราช แต่งตั้งนายพลออง ซานให้เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่หลังจากนั้นไม่นานนัก อู ออง ซาน ก็พบว่าเอกราชที่ได้ไม่ใช่ของแท้ เมื่อญี่ปุ่นเริ่มแสดงตัวให้เห็นการเข้ามาเป็นผู้นำคนใหม่ ญี่ปุ่นหน่วงเหนี่ยวการประกาศเอกราชต่อโลกของพม่าตามที่ได้สัญญาเอาไว้ และแม้ว่าจะยึดย่างกุ้งและพม่าใต้ได้เบ็ดเสร็จไปแล้ว เครื่องบินญี่ปุ่นก็ยังคงทิ้งระเบิดทำลายเมืองต่างๆของพม่าแหลกยับ ป้องกันอังกฤษรุกกลับเข้ามาใหม่จากอินเดีย

พม่ามองว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ปฏิบัติต่อตนหมือนกับเป็น “คนเอเชียด้วยกัน” ญี่ปุ่นต้องการควบคุมประเทศนี้สืบต่อจากอังกฤษ  ญี่ปุ่นออกคำสั่งให้แปร “กองทัพพม่าอิสระ” เป็น “กองทัพพิทักษ์พม่า” โดยให้ อู ออง ซานเป็นแม่ทัพ แต่คำสั่งทั้งหมดอยู่ใต้การชี้นำของคณะที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่น

อู ออง ซานเลยตัดสินใจนำพม่ากลับไปอยู่ข้างอังกฤษ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 07:20

เชิญซายาเพ็ญต่อครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 08:53

เอาเรื่องที่คุณประกอบถามก่อน เรื่องพี่ ๆ ของซูจี

บุตรชายคนโตของนายพลอองซาน พอโตขึ้นมาก็ไปอยู่สหรัฐอเมริกาและปฏิเสธที่จะยุ่งเกี่ยวกับการเมือง บุตรชายคนที่สองจมน้ำตายในสระใกล้บ้าน

ความจริงนายพลอองซานมีบุตรทั้งหมด ๔ คน  เป็นผู้ชาย ๒ คน ผู้หญิง ๒ คน

คนโตเป็นผู้ชาย ชื่อ อองซานอู (Aung San Oo) เป็นวิศวกร ทำงานอยู่ที่อเมริกา คนนี้ไม่ค่อยถูกกับอองซานซูจี เพราะมีจุดยืนทางการเมืองคนละด้าน อองซานอูอยู่ฝ่ายเผด็จการทหาร เมื่อไม่นานมานี้ก็มีข่าวเรื่องคดีฟ้องร้องแบ่งสิทธิในบ้านริมทะเลสาบกับน้องสาว ขออนุญาตลงรายละเอียด

ศาลพม่าตัดสินให้พี่ชายนางซูจี มีสิทธิ์ในบ้านริมทะเลสาบครึ่งหนึ่ง

เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ที่  ศาลในกรุงย่างกุ้งตัดสินให้นายอองซาน อู พี่ชายคนโตของนางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่ามีกรรมสิทธิ์ในบ้านพักของนางซูจีด้วยครึ่งหนึ่ง หลังมีการสู้คดีกันมาเกือบ ๑๒ ปี โดยบ้านพักหลังนี้อยู่ใกล้กับริมทะเลสาบอินยา ซึ่งเป็นสมบัติของนายพลอองซาน บิดาของนางซูจีและนายอองซาน อู ขณะที่นางซูจีเคยถูกกักบริเวณอยู่ที่บ้านหลังนี้เป็นเวลาเกือบ ๑๕ ปี

ด้านนายหน่ายวิน ทนายความของนางซูจีเปิดเผยว่า นางซูจีจะอุทธรณ์สู้คดี โดยจะสู้คดีในประเด็นที่ว่า นายอองซาน อู นั้นไม่มีสิทธิ์ที่จะครอบครองบ้านและที่ดิน เนื่องจากถือสัญชาติอเมริกัน นอกจากนี้นายหน่ายวินตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมคำตัดสินดังกล่าวถึงเกิดขึ้นในระหว่างที่นางซูจีกำลังเยือนต่างประเทศ และคำตัดสินได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันจะสู้คดีให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ นางซูจี พร้อมด้วยมารดาและนายอองซาน อู ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖

จาก ข่าวสาละวิน

บุตรชายคนต่อมาชื่อ อองซานลิน (Aung San Lin) จมน้ำตายตอนอายุ ๘ ขวบ  อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) เป็นคนที่สาม ส่วนคนสุดท้ายเป็นผู้หญิง ชื่อว่า อองซานชิต (Aung San Chit) เสียชีวิตหลังคลอดไม่กี่วัน

อองซานซูจีจึงมีพี่น้องโตกันมาเพียงสองคน ซ้ำยังมีเรื่องขัดแย้งกันอีก

น่าสงสารชีวิตของซูจี พี่น้องไม่รักกัน



บ้านริมทะเลสาบที่พี่น้องมีคดีฟ้องร้องกันอยู่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 09:12

คณะสหายสามสิบของ อู ออง ซาน ได้เปลี่ยนภารกิจกลายเป็น “กองทัพพม่าอิสระ” พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2484 ญี่ปุ่นก็ได้ให้การสนับสนุนทั้งการเงินและอาวุธในการระดมพลพรรคก่อตั้ง "กองกำลังปลดปล่อยพม่า” (Burmese Independence Army : BIA) ขึ้นมาร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในการผลักดันอังกฤษ เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้าโจมตีพม่าเพื่อยึดเส้นทางยุทธศาสตร์สู่อินเดีย รังใหญ่ของจักรวรรดิ์อังกฤษในเอเซีย จนอังกฤษแตกพ่ายญี่ปุ่นสามารถยึดพม่าได้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2486 และได้ประกาศให้พม่าเป็นเอกราช แต่งตั้งนายพลออง ซานให้เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่หลังจากนั้นไม่นานนัก อู ออง ซาน ก็พบว่าเอกราชที่ได้ไม่ใช่ของแท้ เมื่อญี่ปุ่นเริ่มแสดงตัวให้เห็นการเข้ามาเป็นผู้นำคนใหม่ ญี่ปุ่นหน่วงเหนี่ยวการประกาศเอกราชต่อโลกของพม่าตามที่ได้สัญญาเอาไว้ และแม้ว่าจะยึดย่างกุ้งและพม่าใต้ได้เบ็ดเสร็จไปแล้ว เครื่องบินญี่ปุ่นก็ยังคงทิ้งระเบิดทำลายเมืองต่างๆของพม่าแหลกยับ ป้องกันอังกฤษรุกกลับเข้ามาใหม่จากอินเดีย

พม่ามองว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ปฏิบัติต่อตนหมือนกับเป็น “คนเอเชียด้วยกัน” ญี่ปุ่นต้องการควบคุมประเทศนี้สืบต่อจากอังกฤษ  ญี่ปุ่นออกคำสั่งให้แปร “กองทัพพม่าอิสระ” เป็น “กองทัพพิทักษ์พม่า” โดยให้ อู ออง ซานเป็นแม่ทัพ แต่คำสั่งทั้งหมดอยู่ใต้การชี้นำของคณะที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่น

อู ออง ซานเลยตัดสินใจนำพม่ากลับไปอยู่ข้างอังกฤษ

ข้อมูลข้างบนของท่านซายานวรัตนที่ว่านายพลอองซานเคยเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่น่าถูกต้อง นายพลอองซานเคยเป็นมาหลายอย่าง เป็นผู้นำนักศึกษา เป็นผู้นำกองทัพ เป็นรัฐมนตรี แต่ไม่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี  ตกใจ

ขออนุญาตลงบทความของ พลตรี นิพัทธ์ ทองเล็ก ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ที่คุณนวรัตนเล่าตอนนี้

กองทัพพม่าช่วยญี่ปุ่นโจมตีอังกฤษออกจากพม่า แล้วพม่าก็กลับมาช่วยอังกฤษโจมตีขับไล่ญี่ปุ่น

กองทัพพม่ากำเนิดจากทหารแค่ ๓๐ คน นำโดยอองซาน ไปรับการฝึกจากญี่ปุ่นบนเกาะไหหลำแล้วมารวมตัวกันประกาศจัดตั้ง Burmese Independence Army (BIA) ในประเทศไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ เพื่อเตรียมสนับสนุนญี่ปุ่นโจมตี กองทัพอังกฤษให้ถอนตัวจากพม่า

ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพลูกพระอาทิตย์บุกขึ้นพม่า โจมตีกองทัพอังกฤษจนต้องร่นถอยเข้าไปในอินเดียและกองทัพญี่ปุ่นก็ยึดครองพม่าได้โดยเด็ดขาด

ในจังหวะที่ BIA ของพม่าสนับสนุนนำกำลังกองทัพญี่ปุ่นบุกพม่านั้น ก็มีความหวาดระแวงกันอยู่ระหว่าง ออง ซาน กับกองทัพญี่ปุ่น ที่จริง ออง ซาน คาดหวังว่า BIA และกองทัพญี่ปุ่นควรมีภารกิจเพียงแค่การจัดตั้งและขยายกองทัพพม่าให้เติบโต ส่งมอบอาวุธ กระสุนให้ แต่ญี่ปุ่นกลับมุ่งโจมตี ยึดเอาทรัพยากรของพม่าเป็นลำดับแรกโดยเข้าตีเมืองมะละแหม่ง (บางคนเรียกว่าเมืองเมาะลำไย) ทางใต้ของพม่าก่อน

สถานการณ์รบในครั้งนั้นบรรดา “กลุ่ม ๓๐ สหาย” เริ่มไม่พอใจกองทัพญี่ปุ่นแต่ต้องอดกลั้นเก็บความรู้สึกเอาไว้ ที่ร้ายไปกว่านั้น ชาวพม่าที่เข้าร่วมรบกับ กองทัพญี่ปุ่น เมื่อมีอาวุธในมือแล้วกลับทำตัวเป็น “กองโจร” ไร้การควบคุม ไม่มีใครเชื่อฟังใคร ไม่มีสายการบังคับบัญชา

มุ่งประสงค์ตั้งอกตั้งใจสังหารบรรดา “หัวหน้าชุมชนที่เป็นชาวกะเหรี่ยง” ใครที่เคยรับใช้ เป็นลูกน้องอังกฤษถูกโดนจับยิงเป้าทั้งหมด

งานนี้สับสนอลหม่าน กลายเป็น “แค้นต้องชำระ” พม่าฆ่าพม่า-พม่าฆ่ากะเหรี่ยง โดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงที่น่าเวทนา กองทัพ BIA ถือโอกาสสังหารเป็นว่าเล่นเพราะเก็บความแค้นมานาน พม่าฆ่ากะเหรี่ยงก็สะใจเหมือนได้ฆ่าคนอังกฤษ


แม่ทัพญี่ปุ่นได้รับทราบพฤติกรรมเยี่ยงโจรของกลุ่ม BIA ซึ่ง ออง ซาน ก็ควบคุมไม่ได้จึงสั่ง “ยุติบทบาทและสลายกองทัพพม่า (BIA)” ทันที

คำสั่งของแม่ทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ ออง ซาน สะเทือนใจมากถึงขั้นล้มป่วย เข้าโรงพยาบาล เป็นโอกาสได้พบกับ ดอ ขิ่น จี (ต่อมาได้แต่งงานกัน)

สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๒ ญี่ปุ่นตั้ง บา มอ เป็นนายกรัฐมนตรีของพม่าและตั้ง ออง ซาน เป็นผู้บัญชาการกองทัพพม่า มีกำลังพลประมาณ ๔,๐๐๐ คน

มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๓ นายกรัฐมนตรี ฮิเดกิ โตโจ ของญี่ปุ่นประกาศว่าจะให้เอกราชแก่พม่าในราวปลายปี พอถึงเดือนสิงหาคมในปีนั้น…..ได้รับการสถาปนาเป็นประมุขของประเทศ แต่งตั้ง ออง ซาน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติ (Burma National Army : BNA) และอู นุ เป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


มาถึงช่วงเวลานี้ นับว่าพม่าพอจะเป็นรูปเป็นร่างเฉพาะในกลุ่มชาวพม่าในบริเวณภาคกลางของประเทศเท่านั้น บรรดาชนกลุ่มน้อยอีก ๕-๗ กลุ่มที่เหลือ ตามชายขอบประเทศยังมิได้มี “ความรู้สึกร่วม” ในสถานการณ์ความเป็นไปต่างๆ ชนกลุ่มน้อยเช่น กะเหรี่ยงยังคงมีความรู้สึกผูกพันกับอังกฤษ ส่วนชนกลุ่มน้อยที่เหลือก็จ้องรอจังหวะแยกตัวเป็นรัฐอิสระ

ความมุ่งหวังของชาวพม่าที่ต้องการเห็นพม่าเป็น “ประเทศที่สมบูรณ์” ยังอีกยาวไกล

เหมือนหนีเสือปะจระเข้…รัฐบาลของบา มอ เป็นเพียงรัฐบาลหุ่นแทบไม่มีอำนาจการตัดสินใจ อันที่จริงญี่ปุ่นมองพม่าเป็นแหล่งทรัพยากรเพื่อการทำสงคราม นายพล ออง ซาน เริ่มรู้สึกได้เมื่อได้รับเชิญไปเยือนโตเกียวในเดือนมีนาคม ๑๙๔๓ โดย พันเอก ซูซูกิ (อดีตผู้ประสานงานกับกองทัพพม่า) บอกกับนายพล ออง ซาน ว่าเขาถูกปลดพ้นหน้าที่ในข้อหาสนิทกับพม่ามากเกินขอบเขต

เมื่อกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาปกครองพม่าเต็มรูปแบบ ทหารญี่ปุ่นกลับกลายเป็นผู้กดขี่ข่มเหงชาวพม่าเสียเอง โดยเกณฑ์ชาวพม่าไปเป็นลูกหาบ กรรมกรในกองทัพญี่ปุ่นนับพันคน หน่วยทหารสารวัตรกองทัพญี่ปุ่นเป็นที่หวาดผวาของชาวพม่า

นายกรัฐมนตรีบา มอ เริ่มไม่พอใจและปฏิเสธที่จะร่วมมือกับนายทหารญี่ปุ่น ส่วนหน่วยข่าวกรองของทหารญี่ปุ่นใช้วิธีซ้อม ทรมานชาวพม่าเพื่อ “รีดข่าว” ขังผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องไต่สวน ชาวพม่าเริ่มรู้ตัวว่าญี่ปุ่นร้ายกว่าอังกฤษเสียอีก

บรรดาตะขิ่นทั้งหลาย รวมทั้งผู้นำระดับสูงของพม่าเริ่มคิดจะไล่ญี่ปุ่นออกจากพม่า นายทหารกะเหรี่ยงในกองทัพพม่ารับอาสาติดต่อกับ “หน่วยรบพิเศษของอังกฤษที่ ๑๓๖” ประสานการปฏิบัติ “เฉพาะกลุ่มวงใน” รวมทั้งนายพล ออง ซาน ได้รวบรวมทุกกลุ่มในขณะนั้น เช่น กลุ่มนายทหารในกองทัพพม่า กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์มาจัดตั้ง “กลุ่มสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์” (Anti-Fascist People’s Freedom League : AFPFL) ขึ้นมา โดยมีนายพล ออง ซาน เป็นแกนนำ และต่อมา ออง ซาน ก็สามารถไปดึงเอากลุ่มกะเหรี่ยงเข้ามาด้วยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น

ท่านที่อ่านบทความของผมมาตั้งแต่ตอนที่ ๑ จะเห็นว่านี่เป็นลักษณะเฉพาะของพม่า คิดจะทำอะไรสักอย่างจะต้อง ตั้งกลุ่ม ตั้งชื่อ ซึ่งสะท้อนภาพให้เห็นว่า “ขาดเอกภาพ” มานานแล้ว ไม่มีเรื่องเดือดร้อนก็ไปคนละทิศละทาง สังคมแบบนี้ไม่สามารถอยู่ได้ถ้าขาดผู้นำที่แข็งแกร่ง เด็ดขาด จึงจะพาประเทศชาติไปรอดได้

การเดินเกมกำจัดญี่ปุ่นเป็นไปด้วยดี ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทเทน ผู้บัญชาการกองกำลังสัมพันธมิตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกลงร่วมมือกับนายพล ออง ซาน

เค้าลางสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มส่งสัญญาณว่าญี่ปุ่นเริ่มเพลี่ยงพล้ำ ออง ซาน เองคิดหนักที่จะ “กลับลำ ๑๘๐ องศา” คิดทรยศต่อญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเองก็คาดไม่ถึง

ออง ซาน ใคร่ครวญแล้วว่า “ประเทศพม่าต้องเป็นของชาวพม่า” เมื่อ มุ่งมั่นจะเป็นเอกราชให้ได้ เหตุการณ์บังคับให้พม่าจำต้อง “เลือกฝ่าย”อีกครั้ง

นายพล ออง ซาน เลือกฝ่าย อังกฤษ !!!


มีเรื่อง พม่าฆ่าพม่า พม่าฆ่ากระเหรี่ยง ให้คุณประกอบวิเคราะห์เป็นของแถม



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 09:24

NAVARAT.C
อ้างถึง
บุตรชายคนโตของนายพลอองซาน พอโตขึ้นมาก็ไปอยู่สหรัฐอเมริกาและปฏิเสธที่จะยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

เพ็ญชมพู
อ้างถึง
คนโตเป็นผู้ชาย ชื่อ อองซานอู (Aung San Oo) เป็นวิศวกร ทำงานอยู่ที่อเมริกา คนนี้ไม่ค่อยถูกกับอองซานซูจี เพราะมีจุดยืนทางการเมืองคนละด้าน อองซานโออยู่ฝ่ายเผด็จการทหาร

นี่ก็ข้อมูลขัดกัน

หวังว่าผู้อ่านคงเข้าใจนะครับ สารคดีประวัติศาสตร์ก็อย่างนี้แหละ ไม่มีใครรู้จริงว่าเรื่องที่เกิดขึ้นแท้ๆนั้นคืออย่างไร ข่าวสดๆที่เห็นในจอทีวีเมื่อปีสองปีก่อน คนดูก็ยังเถียงกันไม่จบ นับประสาอะไรกับเรื่องการเมืองพม่า ผมก็มาเขียนเล่าเอาสนุกเท่านั้นเอง ท่านก็ต้องอ่านเอาสนุกไปด้วย เท็จจริงอย่างไรก็ถือว่าเป็นการบ้านที่ท่านต้องไปค้นคว้าต่อเอาเอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 11:14

อองซานอูและภรรยา (ทั้งคู่เป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา  ตกใจ) วางพวงมาลาที่สุสานนายพลอองซาน เนื่องในวันวีรชนปีที่ ๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐  ครั้งนั้นรัฐบาลทหารปฏิเสธไม่ให้อองซานซูจีเข้าร่วมพิธี



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 11:21

^
^
โปรดสังเกตรองเท้าที่ใส่เข้าร่วมงาน

รองเท้าแตะแบบคีบถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนพม่า ใส่ได้ทุกโอกาสแม้ในพิธีเกียรติยศ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 13:51

ใน พ.ศ. ๒๔๘๗  นายพลอองซานร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ จัดตั้ง "สันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์" (Anti-Fascist People’s Freedom League-AFPFL) อย่างลับ ๆ  เพื่อขับไล่ญี่ปุ่นโดยใช้หัวหน้าชาวกะเหรี่ยงและทหารกะเหรี่ยงในกองทัพม่าเป็นตัวกลางติดต่อกับฝ่ายอังกฤษ เนื่องจากกะเหรี่ยงกับอังกฤษมีสัมพันธภาพต่อกันดียิ่ง

ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทเทน (Lord louis Mountbatten)  ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพสัมพันธมิตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อใจนายพลอองซาน จึงส่งสัญญาณให้กองทัพแห่งชาติพม่า (BNA) เคลื่อนไหวได้ภายใต้การสนับสนุนของอังกฤษ

๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ BNA เคลื่อนย้ายออกจากย่างกุ้งในฐานะส่วนหนึ่งของกองทัพญี่ปุ่น เข้าไปตั้งกองบัญชาการในป่า แล้วเริ่มปฏิบัติการเข้าตีที่ตั้งหน่วยทหารญี่ปุ่นอย่างได้ผล

กองทัพที่ ๑๔ ของอังกฤษ รุกลงมาจากทางเหนือของพม่า นำโดยนายพลวิลเลียม สลิม (William Joseph "Bill" Slim)  กองทัพญี่ปุ่นเริ่มเพลี่ยงพล้ำในทุกสมรภูมิ  BNA ยึดย่างกุ้งกลับคืนมาได้ และในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒

เมื่ออังกฤษเข้าควบคุมปกครองพม่าได้เบ็ดเสร็จ ปัญหาใหม่ตามมา คืออังกฤษมีคำถามอยู่ว่า นายพลอองซานคือ วีรบุรุษ หรือ อาชญากรสงคราม?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 14:20

นายพลอองซานถูกเชิญไปพบกับพลเอกสลิม แม่ทัพสนามที่ ๑๔ ของอังกฤษ  นายพลอองซานยืนยันว่ากองทัพแห่งชาติพม่าและรัฐบาลรักษาการของพม่าเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ  แต่พลเอกสลิมปฏิเสธและยืนยันว่าตามกฎหมายอังกฤษ นายพลอองซานมีพฤติการณ์เป็นผู้ทรยศ

ลอร์ดเมาท์แบทเทนซึ่งรู้ตื้นลึกหนาบางของเรื่องนี้ดี จึงใช้อำนาจของแม่ทัพสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงส่งจดหมายตัดสินชะตาของนายพลอองซาน ความว่า

"ไม่มีสาเหตุใดที่จะต้องจับกุมอองซาน ขอให้อองซานตระหนักว่าอังกฤษชื่นชมการสนับสนุนของกองทัพพม่าในเหตุการณ์ที่ผ่านมา อย่าลืมว่าครั้งหนึ่งท่านเคยขัดขืนต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งอาจจะต้องมีการสอบสวนคดีความ นับแต่นี้ไปความร่วมมือจากฝ่ายพม่าทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเป็นสิ่งที่เราจะพิจารณาและพิสูจน์"

ถึงแม้ว่าข้าหลวงอังกฤษที่ปกครองอินเดียจะคัดค้านอย่างรุนแรง รวมทั้งบรรดาผู้ใหญ่ในลอนดอนต่างก็เห็นว่านายพลอองซานทรยศต่ออังกฤษ และจะต้องได้รับโทษเป็น "อาชญากรสงคราม" โทษคือ ประหารชีวิต แต่ก็ไม่สามารถคัดค้านลอร์ดเมาท์แบทเทนได้

นับว่าลอร์ดเมาท์แบทเทนได้ช่วยชีวิตนายพลอองซานไว้แท้ ๆ



ภาพลอร์ดเมาท์แบทเทน (คนที่ ๒ จากซ้าย) และเหล่านายทหารในพม่า กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๗


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง