เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61499 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 16:15



เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น ขอถ่ายทอดจากสำเนามาอีกที ดังนี้

THE   PANGLONG   AGREEMENT

_________________________________________________________________________________

                                                                                                                                                                                        Dated Panglong, the 12th.
                                                                                                                                                                                                 February 1947,

THE PANGLONG AGREEMENT, 1947,

          A conference having been held at Panglong, attended by certain Members of the Executive Council of the Governor of Burma, all Saohpas and representatives of the Shan States, the Kachin Hills and the Chin Hills,

          The members of the conference, believing that freedom will be more speedily achieved by the Shans, the Kachins and the Chins by their immediate co-operation with the Interim Burmese Government,

           The members of the conference have accordingly, and without dissentients, agreed as follows:
 
           1. A representative of the Hill peoples, selected by the Governor on the recommendation of representatives of the Supreme Council of the United Hill Peoples, shall be appointed a Counsellor to the Governor to deal with the Frontier Areas.
 
           2. The said Counsellor shall also be appointed a member of the Governor's Executive Council without portfolio, and the subject of Frontier Areas brought within the purview of the Executive Council by constitutional convention as in the case of Defence and External Affairs. The Counsellor for Frontier Areas shall be given executive authority by similar means.
 
           3.The said Counsellor shall be assisted by two Deputy Counsellors representing races of which he is not a member. While the two Deputy Counsellors should deal in the first instance with the affairs of the respective areas and the Counsellor with all the remaining parts of the Frontier Areas, they should by Constitutional Convention act on the principle of joint responsibility.
 
           4. While the Counsellor in his capacity of Member of the Executive Council will be the only representative of the Frontier Areas on the Council, the Deputy Counsellor(s) shall be entitled to attend meetings of the Council when subjects pertaining to the Frontier Areas are discussed.
 
           5. Though the Governor's Executive Council will be augmented as agreed above, it will not operate in respect of the Frontier Areas in any manner which would deprive any portion of these Areas of the autonomy which it now enjoys in internal administration. Full autonomy in internal administration for the Frontier Areas is accepted in principle.
 
           6. Though the question of demarcating and establishing a separate Kachin State within a Unified Burma is one which must be relegated for decision by the Constituent Assembly, it is agreed that such a State is desirable. As first step towards this end, the Counsellor for Frontier Areas and the Deputy Counsellors shall be consulted in the administration of such areas in the Myitkyina and the Bhamo District as are Part 2 Scheduled Areas under the Government of Burma Act of 1935.
 
           7. Citizens of the Frontier Areas shall enjoy rights and privileges which are regarded as fundamental in democratic countries.
 
           8. The arrangements accepted in this Agreement are without prejudice to the financial autonomy now vested in the Federated Shan States.
 
           9.  The arrangements accepted in this Agreement are without prejudice to the financial assistance which the Kachin Hills and the Chin Hills are entitled to receive from the revenues of Burma and the Executive Council will examine with the Frontier Areas Counsellor and Deputy Counsellor(s) the feasibility of adopting for the Kachin Hills and the Chin Hills financial arrangements similar to those between Burma and the Federated Shan States.
 
Signatories

Shan Committee
 
 Saohpalong of Tawngpeng State.
 Saohpalong of Yawnghwe State.
 Saohpalong of North Hsenwi State.
 Saohpalong of Laihka State.
 Saohpalong of Mong Pawn State.
 Saohpalong of Hsamonghkam State
 Representative of Hsahtung Saohpalong. Hkun Pung
 U Tin E
 U Htun Myint
 U Kya Bu
 Hkun Saw
 Sao Yape Hpa
 Hkun Htee

Kachin Committee
 
 Sinwa Naw, Myitkyina
 Zaurip, Myitkyina
 Dinra Tang, Myitkyina
 Zau La, Bhamo
 Zau Lawn, Bhamo
 Labang Grong, Bhamo
 
Chin Committee
 
 Pu Hlur Hmung, Falam
 Pu Thawng Za Khup, Tiddim
 Pu Kio Mang, Haka
 
Burmese Government
 
 Aung San

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 10 ก.พ. 13, 09:07

ถอดความเป็นไทยเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้

ในการประชุมซึ่งจัดขึ้นที่ปางหลวงนี้ มีสมาชิกจากคณะกรรมการบริหารของรัฐบาลพม่า บรรดาเจ้าฟ้าและผู้แทนรัฐฉาน ชนชาวเขาคะฉิ่นและฉิ่น เข้าร่วม
    
ผู้ร่วมประชุมเชื่อว่าเสรีภาพจะบรรลุถึงได้ในเร็ววันโดยการร่วมมือระหว่างชาวฉาน ชาวคะฉิ่น  ชาวฉิ่น  และรัฐบาลชั่วคราวของพม่า ผู้ร่วมการประชุมเห็นพ้องกันโดยปราศจากข้อขัดแย้งในมติดังต่อไปนี้ :

๑.  ตัวแทนของชนชาวเขาที่ได้รับเลือกจากข้าหลวง (อังกฤษ) โดยการเสนอแนะของคณะผู้แทนในสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา (SCUHP) จะได้รับการแต่งตั้งให้เห็นที่ปรึกษาข้าหลวงในกิจการที่เกี่ยวกับพื้นที่ของรัฐชายแดน

๒. สมาชิกสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขาซึ่งมิได้มีหน้าที่บริหารพื้นที่ชายแดน จะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการบริหาร (Executive Council) ตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกิจการต่างประเทศ ส่วนที่ปรึกษาข้าหลองของรัฐในพื้นที่ชายแดนจะได้มาซึ่งอำนาจบริหารโดยวิธีเดียวกัน

๓. ที่ปรึกษาข้าหลวงจะมีผู้ร่วมงานซึ่งเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาอีก ๒ คนมาจากตัวแทนของชนชาวเขาเผ่าที่เหลือ โดยคนทั้งสองจะต้องไม่เป็นสมาชิกในสภาบริหารสูงสุด ผู้ช่วยที่ปรึกษามีหน้าที่รับผิดชอบกิจการที่เกี่ยวกับดินแดนของตน ขณะที่ที่ปรึกษารับผิดชอบพื้นที่ชายแดนส่วนที่เหลือและพวกเขาควรปฏิบัติหน้าที่ตามหลักแห่งความรับผิดชอบร่วมกันตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

๔. ที่ปรึกษาจะเป็นสมาชิกและเป็นตัวแทนเพียงผู้เดียวของรัฐพื้นที่ชายแดนในคณะกรรมการบริหาร

๕. แม้ว่าคณะกรรมการบริหารแห่งข้าหลวงอังกฤษจะมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาดังกล่าวแล้ว แต่จะไม่มีหน้าที่บริหารรัฐพื้นที่ชายแดน เพราะอาจไปขัดขวางสิทธิการบริหารกิจการภายในของรัฐดังกล่าว สิทธิในการบริหารกิจการภายในของรัฐพื้นที่ชายแดนได้รับการยอมในหลักการ

๖. แม้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนและการสถาปนารัฐคะฉิ่นขึ้นในประเทศพม่า ปัญหานี้จะมอบหน้าที่การตัดสินใจให้กับรัฐสภา ที่ประชุมได้ตกลงกันว่าปรารถนาที่จะสถาปนารัฐนี้ขึ้น และเพื่อให้เป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ข้อยุตินี้ ที่ปรึกษาของรัฐพื้นที่ชายแดนและผู้ช่วยที่ปรึกษาจะนำประเด็นนี้ไปหารือในฝ่ายบริหารของรัฐดังกล่าวที่มิตจีนาและบามอ ทั้งนี้ในฐานะเป็นดินแดนส่วนที่สองตามกฎหมายของรัฐบาลพม่า พ.ศ. ๒๔๗๘

๗. ประชากรในพื้นที่รัฐชายแดนย่อมมีสิทธิและเอกสิทธิและเอกสิทธิ์พื้นฐาน เช่นเดียวกับประชากรในประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ

๘. การดำเนินการใด ๆ   ซึ่งเป็นที่ยอมรับตามสนธิสัญญานี้จะต้องไม่ละเมิดต่อสิทธิทางการคลังซึ่งมีอยู่แล้วในสหพันธรัฐฉาน

๙. การดำเนินการใด ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับตามสนธิสัญญานี้ จะต้องไม่ทำให้เสียไปซึ่งความช่วยเหลือทางด้านการคลังที่ชนชาวเขาฉิ่นและคะฉิ่นมีสิทธิจะได้รับจากงบประมาณของพม่า และคณะกรรมการบริหารร่วมกับที่ปรึกษาและผู้ช่วยที่ปรึกษาของรัฐพื้นที่ชายแดนจะตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาจัดระเบียบทางการคลังของรัฐชาวเขาคะฉิ่นและฉิ่นให้เป็นไปในลักษณะเดียวกับที่ดำเนินการอยู่ระหว่างพม่าและสหพันธรัฐฉาน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 10 ก.พ. 13, 09:28

เมื่อตกลงกับสหพันธ์รัฐเทือกเขาเรียบร้อยแล้ว  ก้าวต่อไปคือการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพร้อมที่จะได้รับเอกราชภายในหนึ่งปี ตามข้อตกลงอองซาน-แอตลี

ผลการเลือกตั้ง พรรคสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ (AFPFL) ได้รับเลือก ๑๗๒ ที่นั่ง พรรคคอมมิวนิสต์พม่าได้รับเลือก ๗ ที่นั่ง ส่วนกะเหรี่ยงปฏิเสธร่วมการเลือกตั้ง

สภาร่างรัฐธรรมนูญเปิดการประชุมขึ้นในวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ นายพลอองซานเป็นประธานเปิดการประชุมโดยกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาติ ๗ ประการตามที่พรรค AFPFL ร่างขึ้นมา ได้แก่

๑. กฎหมายรากฐานของชาติต้องวางอยู่บนหลักการกลาง กล่าวคือการสถาปนาสหภาพพม่าในฐานะเป็นรัฐเอกราช

๒. รัฐทั้งปวงในสหภาพต้องมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการบริหารกิจกรรมภายในของตน

๓. อำนาจของสหภาพพม่าและมลรัฐได้มาจากปวงชน

๔. ประชากรของสหภาพควรมีสิทธิเท่าเทียมกันในสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง กฎหมายและความยุติธรรมจะต้องให้ความเสนอภาคต่อประชาชนทุกคน  ยกเว้นผู้ละเมิดกฎหมาย  สิทธิของปวงชนในการคิด, การแสดงออก, ความเชื่อ, การนับถือศาสนา  ในชีวิตและในการรวมตัวกันเป็นสมาคมจะต้องได้รับการรับรองและประกันไว้ในรัฐธรรมนูญ

๕. สิทธิของชนชาติส่วนน้อยจะต้องได้รับการพิทักษ์ไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

๖. อธิปไตยของสหภาพเหนือดินแดน ทะเล และอากาศจะต้องได้รับการพิทักษ์ไว้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ

๗. สหภาพพม่าจะต้องมุ่งมั่นให้เกิดสมรรถภาพในการดิ้นรนเพื่อพัฒนาการทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคงคงปลอดภัยของประชาชน และความร่วมมือกับชาติทั้งปวงด้วยความยุติธรรมเพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพของโลก

ระหว่างสภากำลังร่างรัฐธรรมนูญ ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เหตุการณ์จะเป็นฉันใด

โปรดอดใจรอ และติดตามด้วยความระทึก

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 10 ก.พ. 13, 09:56

ก่อนจะถึงเหตุการณ์ระทึกใจ   ตกใจ

ขออนุญาตคั่นรายการด้วยภาพซึ่งแสดงถึงความพยายามที่จะก่อให้เกิดความปรองดองของคนในชาติของนายพลอองซาน

เป็นภาพในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ นายพลอองซานกำลังกล่าวคำปราศรัยในงานปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง โดยกล่าวว่า

"ที่ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่ในวันนี้ ไม่ใช่ในฐานะเพื่อนเท่านั้น แต่ในฐานะของสมาชิกครอบครัวพวกท่านอีกด้วย ซึ่ง "จิตวิญญาณ" แห่งความเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกันนี้ ต้องแผ่ไปทั่วประเทศพม่า"





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 10 ก.พ. 13, 23:06

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. ขณะที่การประชุมสภาบริหารจะเริ่มต้นขึ้น  กลุ่มชายฉกรรจ์ในชุดทหารมีอาวุธครบมือบุกเข้าไปในสถานที่ประชุม สาดกระสุนสังหารนายพลอองซานและสมาชิกสภาอีก ๖ คน คนร้ายหลบหนีไปได้ แต่สุดท้ายจับได้ว่าเป็นลูกสมุนของอูซอ อดีตนายกรัฐมนตรี คู่แข่งทางการเมืองของนายพลอองซาน จุดประสงค์ในการสังหารนายพลอองซาน เพื่อตนจะได้ขึ้นเป็นผู้นำคนต่อไป ในที่สุดอูซอถูกตัดสินประหารชีวิต

ในหนังสือ Who killed Aung San โดย Kin Oung บรรยายว่า

เช้าวันเสาร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นช่วงฤดูเข้าพรรษา เช้าวันนั้นท้องฟ้าฉ่ำด้วยเมฆ ที่หน้าบ้านของอูซอ นักการเมืองอาวุโสของพม่า มีชายกลุ่มหนึ่งกำลัง รวมตัวกันตั้งใจฟังคำชี้แจงเป็นครั้งสุดท้ายจากอูซอ คนกลุ่มนี้กำลังจะปฏิบัติภารกิจที่จะเปลี่ยนอนาคตของประเทศพม่าตลอดไป ชั่วครู่หนึ่งชายกลุ่มนั้นแยกย้ายขึ้นไปนั่งบน รถบรรทุกทหารยี่ห้อฟอร์ดสัน

ไม่มีใครสนใจรถบรรทุกคันนี้ เพราะสงครามเพิ่งจะเลิกไม่นาน รถบรรทุกทหาร วิ่งกันไปมาในย่างกุ้งเป็นเรื่องปกติ ครึ่งชั่งโมงต่อมารถคันนี้ไปจอดหน้าตึก ๒ ชั้นสไตล์ วิคตอเรียก่อด้วยอิฐสีแดง

ชายฉกรรจ์ ๓ คนกระโดดลงมาจากรถแล้วเดินสำรวจบริเวณรอบ ๆ ตึกเพื่อให้แน่ใจว่า “เป้าหมาย” กำลังอยู่ในห้องประชุม หนึ่งในสามคนนั้นนามว่า คินหม่องยิน โทรศัพท์กลับไปบอกเจ้านายโดยใช้รหัสว่า “ได้รับแหวนลูกสูบแล้ว”

ทันทีที่ปลายทางได้รับแจ้ง รถจี๊บอีกคันหนึ่งพุ่งออกจากบ้านอูซอไป ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. ด้านหลังรถจี๊บมีผ้าใบคลุมหลังคามิดชิดซ่อน ๖ เพชฌฆาตพร้อมด้วยปืนกลทอมมี่และปืนสเตนครบมือ ทั้งหมดแต่งกายชุดฝึกเขียวหมวกปีก

ในเวลาใกล้เคียงกัน นายพลอองซานวัย ๓๒ ปีกำลังนั่งรถออกจากบ้านมีคนขับ มุ่งหน้าไปที่ประชุมแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ (นุ่งโสร่ง) ถึงแม้จะเป็นวันเสาร์ คณะทำงานก็มาประชุมเพื่อเตรียมการเป็นเอกราชในอีก ๖ เดือนข้างหน้า

บายุนต์ไม่ได้พกอาวุธเดินเข้าไปสำรวจในอาคารเพื่อดูว่าใครบ้างจะชะตาขาด มองหาตะขิ่นนุ (อูนุ) ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งน่าจะอยู่ในห้องประชุมแต่ไม่พบ หากแต่ “เป้าหมาย” อื่น ๆ อยู่ครบ จึงเดินกลับไปที่รถบรรทุก แจ้งว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผน รถจี๊บเคลื่อนมาจอดหน้าตึก ถนนโล่งสะดวกไม่มีอะไรกีดขวาง

๑๐.๓๐ น. องค์ประชุมมาครบนั่งตามที่จัดเป็นรูปตัวยู นายพลอองซานนั่งหัวโต๊ะ การประชุมกำลังจะเริ่มขึ้น แต่ก็ถูกขัดจังหวะโดยอูออนหม่อง รัฐมนตรีช่วยคมนาคมซึ่งเพิ่งเดินเข้ามาในห้องประชุมและรีบชี้แจงต่อที่ประชุมว่ารัฐมนตรีว่าการคมนาคมไปตรวจงานต่างจังหวัด จึงมาขอชี้แจงเรื่องด่วนก่อนและจะรีบเดินทางไปราชการ

๔ เพชฌฆาตพร้อมอาวุธครบมือรีบวิ่งขึ้นบันไดตรงสู่ห้องประชุม หม่องโซกระชากประตูให้เปิด ลูกสมุนอีก ๓ คนกรูเข้าไปในห้องประชุม หม่องโซตะโกน “หยุดอย่าขยับ”

นายพลอองซานเป็นคนเดียวที่ลุกขึ้นยืน หม่องโซสั่งยิงทันที นายพลอองซานล้มคว่ำลงไปจมกองเลือดด้วยกระสุน ๑๓ นัดเจาะร่าง

สมุนที่เหลือสาดกระสุนจากปืนกลทอมมี่ ยานยีคุกเข่าลงสาดกระสุนใส่บรรดาผู้เข้าประชุมที่หมอบลงใต้โต๊ะ เสียงปืนกลคำรามลั่นประมาณ ๓๐ วินาที ๔ เพชฌฆาตจึงถอนตัว

๑๐.๔๐ น. เลขานุการและนายทหารคนสนิทของนายพลอองซานวิ่งมาถึงพื้นที่สังหาร สมาชิกสภาที่ประชุมอยู่ในห้องอื่นแตกตื่นวิ่งมาที่เกิดเหตุ กลิ่นดินปืนคลุ้งตลบอบอวนผสมกับกลิ่นคาวเลือด โต๊ะเก้าอี้ล้มคว่ำระเกะระกะ

นายพลอองซานวัย ๓๒ ปีวีรบุรุษของชาตินอนจมกองเลือดตายคาที่บนพื้นห้อง สมาชิกคนอื่น ๆ อีก ๖ คนโดนปลิดชีพบนโต๊ะ บนเก้าอี้ และใต้โต๊ะ

แท้ที่จริงแล้วนายพลอองซานคือ “เป้าหมาย” แต่เพียงผู้เดียว ในจำนวนนั้นมีผู้รอดตายราวปาฏิหาริย์ ๒ คนที่นั่งริมประตูแล้วกระโดออกไปได้

ระหว่างที่ ๔ เพชฌฆาตถอนตัวจากอาคารยังสังหารยามประจำตึกอีก ๑ คนพร้อมทั้งตะโกน “เราชนะแล้ว-เราชนะแล้ว” รีบขึ้นรถจี๊บหนีออกจากที่เกิดเหตุ นักข่าวประจำสภาคนหนึ่งวิ่งตามออกมาเห็นแผ่นป้ายทะเบียนรถ รถจี๊บมุ่งหน้ากลับไปที่บ้านอูซอด้วยความเร็ว เกือบจะชนร้อยเอกข่าน เพื่อนบ้านของอูซอ ร้อยเอกข่าน เห็นรถจี๊บคันนี้มีพิรุธผิดสังเกต รถเลี้ยวเข้าไปจอดในบ้านของอูซอกลุ่มคนบนรถจี๊บโดดลงมาพูดคุยกับอูซอที่ยืนรออยู่

อูซอสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวกางเกงขาสั้นสีน้ำเงินกระโดดเข้ากอดเพชฌฆาตทุกคนอย่างมีความสุขพร้อมทั้งตะโกน “เราชนะแล้ว-เราชนะแล้ว” อาหารและเครื่องดื่มที่เตรียมไว้เพื่อฉลองความสำเร็จถูกยกมาบริการเต็มคราบกลั้วด้วยเสียงหัวเราะอย่างเมามัน

อูซอถามลูกน้องว่า “อูนุตายมั้ย?” บายุ้นต์ชี้แจงว่าอูนุไม่ได้มาร่วมประชุมและ เล่ารายละเอียดอื่น ๆ ให้อูซอเห็นภาพ อูซอพอใจมากเพราะอูนุไม่ใช้ “เป้าหมายหลัก” ในการสังหารครั้งนี้

ทุกลมหายใจอูซอกระวนกระวายรอฟังเสียงโทรศัพท์จากเซอร์ฮิวเบอร์ต แรนซ์ข้าหลวงอังกฤษผู้ปกครองพม่าโทรศัพท์มาตามเพื่อให้อูซอไปเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทนนายพลอองซาน เพราะเมื่อสิ้นนายพลอองซานแล้วไม่มีใครโดดเด่นเท่ากับอูซอผู้มากด้วยประสบการณ์ทางการเมือง อายุเพียง ๔๗ ปี กว้างขวางในหมู่นักการเมือง สนิทสนมกับกองทัพ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ The Sun เป็นหัวหน้าพรรคเมียวชิต (แปลว่ารักชาติ) แถมยังเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของพม่าในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔ ก่อนญี่ปุ่นบุกพม่า

เหมือนสายฟ้าฟาดกลางวันแสก ๆ ข้าหลวงใหญ่อังกฤษกลับเชิญอูนุมาพบแล้วขอให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันทีแล้วรีบจัดตั้งรัฐบาลเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ของประเทศ

๑๕.๐๐ น. รถบรรทุกตำรวจจำนวนหนึ่งได้จู่โจมเข้าล้อมบ้านพักอูซอ มือปืนทุกคนหยิบอาวุธเตรียมต่อสู้ แต่อูซอกลับใจเย็นจิบวิสกี้เดินออกไปพบตำรวจด้วยท่าทางสงบเหมือนไม่มีอะเกิดขึ้น ตำรวจเข้าค้นบ้านพบปืนและกระสุนจำนวนมากแต่มีใบอนุญาตถูกต้องจึงยึดไปเป็นหลักฐาน ตำรวจคุมตัวอูซอและลูกสมุนไปคุกอินเส่ง ในบ้านตำรวจยังพบนามบัตร ตรายางที่ทำเตรียมไว้เรียบร้อยพร้อมใช้เขียนว่า “ฯพณฯนายกรัฐมนตรี อูซอ”

กระบวนการสอบสวนฆาตกรรมนายพลอองซานดำเนินมาจนถึง ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ศาลอ่านคำพิพากษากว่า ๑ ชั่งโมงเป็นภาษาอังกฤษ อูซอฟังเข้าใจส่วนลูกน้องอีก ๘ คนไม่รู้เรื่อง ศาลตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคออูซอและมือปืนอีก ๕ คนส่วนที่เหลืออีก ๓ คนจำคุกคนละ ๒๐ ปี





บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 02:06

เอารูปอูซอมาให้ดูครับ หน้าตากังฉินจริงๆ   สุดท้ายตัวโกงอูซอก็ถูกแขวนคอไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1948   เอ แต่จะมีใครอยู่เบื้องหลังอูซออีกรึเปล่า? ต้องรอท่านซายาเพ็ญฯต่อไป



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 05:21

ณ ทำเนียบรัฐบาล
อ้างถึง
๑๐.๓๐ น. องค์ประชุมมาครบนั่งตามที่จัดเป็นรูปตัวยู นายพลอองซานนั่งหัวโต๊ะ การประชุมกำลังจะเริ่มขึ้น แต่ก็ถูกขัดจังหวะโดยอูออนหม่อง รัฐมนตรีช่วยคมนาคมซึ่งเพิ่งเดินเข้ามาในห้องประชุมและรีบชี้แจงต่อที่ประชุมว่ารัฐมนตรีว่าการคมนาคมไปตรวจงานต่างจังหวัด จึงมาขอชี้แจงเรื่องด่วนก่อนและจะรีบเดินทางไปราชการ

๔ เพชฌฆาตพร้อมอาวุธครบมือรีบวิ่งขึ้นบันไดตรงสู่ห้องประชุม หม่องโซกระชากประตูให้เปิด ลูกสมุนอีก ๓ คนกรูเข้าไปในห้องประชุม หม่องโซตะโกน “หยุดอย่าขยับ”

นายพลอองซานเป็นคนเดียวที่ลุกขึ้นยืน หม่องโซสั่งยิงทันที นายพลอองซานล้มคว่ำลงไปจมกองเลือดด้วยกระสุน ๑๓ นัดเจาะร่าง

สมุนที่เหลือสาดกระสุนจากปืนกลทอมมี่ ยานยีคุกเข่าลงสาดกระสุนใส่บรรดาผู้เข้าประชุมที่หมอบลงใต้โต๊ะ เสียงปืนกลคำรามลั่นประมาณ ๓๐ วินาที ๔ เพชฌฆาตจึงถอนตัว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 05:27

อองซานไม่ได้ตายทันที เจ้าหน้าที่พบร่างของเขาจมกองเลือดพร้อมกับร่างอื่นๆอยู่ในห้องที่ควันตลบไปหมด อองซานยังหายใจอยู่ขณะนั้น แต่ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลไม่นานหลังจากถูกนำไปถึง

ความตายทำให้อองซานกลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของพม่าอย่างยากที่จะหาใครทัดเทียมได้ แต่หากว่าวันนั้นเขารอด ก็ไม่แน่ว่าคนอย่างอองซานจะประคับประคองพม่าให้รอดจากความแตกแยกทางชนชาติและทางการเมืองได้หรือไม่ และเขาอาจจะไม่ได้ตายอย่างวีรบุรุษก็ได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 05:29

มีคนจำได้ว่า ทหารที่บุกเข้าไปปฏิบัติการโหดครั้งนี้ เป็นหน่วยที่ติดตามอูซอ นักการเมืองคู่แข่งของอองซาน
อ้างถึง
๑๕.๐๐ น. รถบรรทุกตำรวจจำนวนหนึ่งได้จู่โจมเข้าล้อมบ้านพักอูซอ มือปืนทุกคนหยิบอาวุธเตรียมต่อสู้ แต่อูซอกลับใจเย็นจิบวิสกี้เดินออกไปพบตำรวจด้วยท่าทางสงบเหมือนไม่มีอะเกิดขึ้น ตำรวจเข้าค้นบ้านพบปืนและกระสุนจำนวนมากแต่มีใบอนุญาตถูกต้องจึงยึดไปเป็นหลักฐาน ตำรวจคุมตัวอูซอและลูกสมุนไปคุกอินเส่ง ในบ้านตำรวจยังพบนามบัตร ตรายางที่ทำเตรียมไว้เรียบร้อยพร้อมใช้เขียนว่า “ฯพณฯนายกรัฐมนตรี อูซอ”

อาวุธที่ใช้สังหารถูกโยนทิ้งน้ำไว้ แต่ถูกตำรวจพม่าที่นำโดยนายตำรวจชาวอังกฤษค้นพบในทะเลสาปบริเวณบ้านพักของอูซอนั่นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 05:30

นอกจากนั้นในบริเวณที่ใกล้เคียงกันยังได้พบอาวุธสงครามมากมาย เพียงพอกับการจัดตั้งกองทหารได้ถึง3กองพัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 05:33

อูซอจบวิชากฏหมาย และดังมาจากการเป็นทนายว่าความให้กับซายา ซาน อดีตพระที่กลายไปเป็นผู้นำกบฎต่ออังกฤษกระทั่งเป็นวีรบุรุษคนหนึ่งของพม่า ต่อมาเขาได้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ชื่อสุริยา และได้ใช้เป็นสื่อในการโปรโมทตนเองเพื่อหวังผลทางการเมือง ขึ้นสูงสุดเมื่ออังกฤษแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่3ของพม่าในระหว่างปี1940ถึง1942  ระหว่างนั้น เขาเดินทางไปอังกฤษเพื่อขอให้เชอร์ชิลสัญญาว่าจะให้พม่าเป็นอาณาจักรอิสระภายใต้อังกฤษหลังสงคราม แต่ไม่สำเร็จ จึงได้พยายามติดต่อกับญี่ปุ่นเพื่อความมั่นคงของตนเองด้วย หากเมื่อใดญี่ปุ่นจะเข้ามายึดครองพม่า แต่พลาดไปทิ้งเอกสารหลักฐานให้อังกฤษจับได้ อูซอเลยถูกส่งไปกักขังไว้ที่อูกานดาตลอด4ปีของสงคราม

เมื่อกลับพม่าหลังสงครามเลิกแล้ว ได้ตั้งพรรคการเมืองลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งแรกของพม่าใหม่ แต่พ่ายแพ้ให้แก่อองซานและกลุ่ม Anti-Fascist People's Freedom League (AFPFL)อย่างขาดลอย  แต่ใน AFPFL อองซานซึ่งคุมBNA(Burma National Army)อยู่พรรคเดียวก็มีเสียงไม่ขาด เพราะรวมมุ้งมาจากหลายพรรค ส่วนใหญ่พรรคเหล่านั้นจะเอียงซ้ายถึงซ้ายจัด
 
ในเดือนมกราคม1947 อูซอได้ร่วมคณะนักการเมืองพม่าเดินทางไปลอนดอนกับอองซาน เพื่อเจรจาเรื่องเอกราชของพม่ากับอังกฤษ แต่ปฏิเสธที่จะร่วมลงนามในข้อตกลงอองซาน-แอตลี่ที่ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงกัน

กรกฎาคมของปีเดียวกันนั้นเอง เขาถูกจับในข้อหาฆาตกรรมนายพลอองซาน คู่แข่งทางการเมืองของตน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 05:36

อ้างถึง
กระบวนการสอบสวนฆาตกรรมนายพลอองซานดำเนินมาจนถึง ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ศาลอ่านคำพิพากษากว่า ๑ ชั่งโมงเป็นภาษาอังกฤษ อูซอฟังเข้าใจส่วนลูกน้องอีก ๘ คนไม่รู้เรื่อง ศาลตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคออูซอและมือปืนอีก ๕ คนส่วนที่เหลืออีก ๓ คนจำคุกคนละ ๒๐ ปี

อูซอ เหมือนกับจะรู้ชะตากรรมของตนดี เขาไม่ได้โวยวายและปฏิเสธเมื่อเจ้าหน้าที่จะสวมถุงดำครอบศรีษะให้ตามธรรมเนียมของการประหารด้วยการแขวนคอ  เมื่อเวลานั้นผ่านพ้นไปแล้ว ร่างไร้ชีวิตของเขาก็ถูกนำไปฝังตามระเบียบในป่าช้าบริเวณคุกอินเซนนั่นเอง โดยที่ไม่มีการทำเครื่องหมายใดๆบนหลุมศพทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 06:00

หลายทศวรรษมาแล้ว โลกถูกทำให้เชื่อว่าพวกคอมมิวนิสต์คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังอูซอ นัยว่าเพราะนายพลอองซานเอาใจออกห่างพวกคอมมิวนิสต์บ้าง  ขัดขวางการทำงานของพรรคคอมมิวนิสต์สากลบ้าง

บีบีซี ได้เกาะติดเรื่องดังกล่าว และได้เสนอเรื่องราวผ่านสารคดีที่ออกอากาศไปทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ จนสั่นสะเทือนไปทุกวงการของผู้สนใจประวัติศสาตร์พม่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 06:15

พรรคคอมมิวนิสต์พม่ากำเนิดขึ้นพร้อมกับการตั้งขบวนการทะขิ่นของชาวพม่าวัยหนุ่มสาวที่นิยมลัทธิสังคมนิยม ผู้นำของทะขิ่น เช่น ทะขิ่นนุ โส และถ่านตุนได้ตั้งสำนักพิมพ์นาคานี (นาคแดง) เพื่อจำหน่ายหนังสือเกี่ยวกับสังคมนิยม กลุ่มทะขิ่นได้จัดตั้งสมาคมเราชาวพม่าเพื่อเป็นศูนย์รวมในการเรียกร้องเอกราช ทั้งการเดินขบวน และการนัดหยุดงาน
พรรคคอมมิวนิสต์พม่าจึงงอกงามขึ้น โดยอองซานนั่นแหละที่เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

เฟอกัล คีน (Fergal  Keane) นักข่าวบีบีซีในการทำสารคดีนี้ พบว่าโสยังมีชีวิตอยู่ในเมืองจีน และเขาสามารถติดต่อทางโทรศัพท์กับโสได้ จึงได้ถามโสตรงๆว่าใครกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังอูซอในการสังหารอองซานครั้งนั้น

โสตอบโดยไม่อ้อมค้อมว่า รัฐบาลอังกฤษ คือผู้วางแผนเหตุการณ์ทั้งหมด เพราะอองซานคือผู้นำที่สามารถทำให้คนทั้งประเทศปรองดองกันได้ อังกฤษจึงคิดว่า ตนจะจัดการเอาพม่าให้อยู่มือได้ง่ายขึ้น ถ้ากำจัดอองซานไปเสียได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 11 ก.พ. 13, 07:13

ขออนุญาตคุณเพ็ญและคุณประกอบติดตามคณะทำงานค้นหาความจริงของบีบีซีมาเล่าให้สู่ท่านผู้อ่านต่อไป เพราะผมเองกำลังมัน

คำตอบมิได้ถึงกับทำให้คณะค้นหาหงายหลังผลึ่ง ความเป็นไปได้เช่นนั้นมันก็มีอยู่ แต่ถ้าจะใช้คำว่ารัฐบาลอังกฤษก็กว้างไป ใครล่ะ ชื่ออะไรที่ว่าคือรัฐบาลอังกฤษ
พวกเขาจึงบินไปพม่าเพื่อหาข้อมูลต่อจากต้นตอ ยังมีผู้เคยร่วมอุดมการณ์กับอองซานที่มีชีวิตอยู่จำนวนหนึ่ง แม้หลายคนจะหวาดกลัวสายลับของรัฐบาลทหารที่อาจจะแวะมาหาเรื่องยามแก่ เพราะพม่ายังจมปลักอยู่กับอดีตเมื่อ50ปีมาแล้วอย่างไม่ยอมโงหัวขึ้นมาดูโลก แต่บางคนก็ยินดีร่วมมือกับบีบีซี โดยช่วยกันเล่าอดีตของอองซานตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มไฟแรงในมหาวิทยาลัย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.108 วินาที กับ 19 คำสั่ง