เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 61343 นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 09:08

ทางด้านเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และในเดือนสิงหาคม พ.ศ 2488 สองเดือนถัดมา เจ้าหญิงเมืองป๋อน ได้ทรงสิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงเดินทางมาร่วมงานพระศพ ทำให้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกันว่า "น่าจะจัดให้มีการประชุม ของเจ้าฟ้าทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉาน" และต่อมาวันที่ 31 ม.ค 2489 การประชุมของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ จึงเกิดขึ้นที่เมืองกึ๋ง โดยที่ประชุมมีมติจัดตั้ง "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉาน ในแนวทางระบอบประชาธิปไตย และเพื่อทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีดินแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่า สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคง

ภาพถ่ายหมู่ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ของเมืองต่างๆในรัฐฉาน (อาจจะไม่ใช่ในเหตุการณ์เดียวกับเนื้อเรื่อง)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 09:09

เบรคก่อนครับ เดี๋ยวออฟไซด์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 09:44

เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ 2484 รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษได้จัดทำหนังสือข้อตกลง ที่ชื่อว่า"เตหะราน" (Teheran-Agreement)ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า "หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของทั้ง2ประเทศทั้งหมด " เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อองซานจึงพยายามติดต่อเข้าพบผู้นำรัฐบาลอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืน

อ่านพบเรื่องที่คุณนวรัตนยกมา ติดอยู่ที่ "ข้อตกลงเตหะราน" ลงถามคุณวิกกี้ดูก็พบเรื่อง "การประชุมเตหะราน" (Tehran Conference) เป็นการประชุมของผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามของฝ่ายสัมพันธมิตรคือรัสเซีย, อเมริกา และอังกฤษ



ในภาพ "สามผู้ยิ่งใหญ่": โจเซฟ สตาลิน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ในการประชุมเตหะราน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐

ลองอ่านดูรายละเอียดที่คุณวิกกี้เล่าไม่พบข้อตกลงเรื่องข้างบนในบทความที่คุณนวรัตนยกมา

คงต้องวานให้คุณนวรัตนช่วยค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกที

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 10:18

คงไม่จำเป็นหรอกครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 10:33

ใครสนใจถึงระดับนี้ โปรดเข้าไปหาอ่านต่อเอง

Thus Tehran, 1943 signaled the beginning of the end for the vast empire build by the British over more than 3 centuries. Some find it ironical, that Sir Winston Churchill, one of the greatest British among any generation, would be the first person to accept the fact that, the world power had shifted from their hand to the USA and the USSR. After Tehran, it became apparent to everyone that the British Empire would soon become a matter of history. The official formalities would take two decades or so, but the seals and the stamps were made ready at Tehran, in the autumn of 1943.


http://tbqy.com/?p=2068
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 10:43

ทางด้านเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และในเดือนสิงหาคม พ.ศ 2488 สองเดือนถัดมา เจ้าหญิงเมืองป๋อน ได้ทรงสิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงเดินทางมาร่วมงานพระศพ ทำให้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกันว่า "น่าจะจัดให้มีการประชุม ของเจ้าฟ้าทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉาน" และต่อมาวันที่ 31 ม.ค 2489 การประชุมของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ จึงเกิดขึ้นที่เมืองกึ๋ง โดยที่ประชุมมีมติจัดตั้ง "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉาน ในแนวทางระบอบประชาธิปไตย และเพื่อทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีดินแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่า สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคง

เรื่องต่อไปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง ข้อตกลงการให้เอกราชแก่พม่าของอังกฤษ (ข้อตกลงอองซาน-แอตลี) และ ข้อตกลงที่ขอให้ชนกลุ่มน้อยรวมตัวกับพม่าเพื่อขอเอกราชกับอังกฤษ (สัญญาปางหลวง)  

ขออนุญาตดำเนินเรื่องโดยใช้ข้อมูลจากบทความเดียวกันกับคุณนวรัตน

วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ นายพลอองซานได้เดินทางมาปราศรัยในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ในเมืองตองจี รัฐฉาน ผู้ที่เข้าฟังการปราศรัย ส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยนายพลอองซานพยายามเรียกร้องให้ชาวไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับชาวพม่า และในวันที่ ๒๕ ธันวาคม  นายพลอองซานได้ติดต่อขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้าที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉาน โดยพยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้าเหล่านั้นเห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษร่วมกับพม่า แต่การเจรจาไม่เป็นผล วันที่ ๒๖ ธันวาคม นายพลอองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุย กับนายคลีเมนต์ แอตลี (Clement Richard Attlee) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า

วันที่ ๓๐ ธันวาคม คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน (Exective Committee of the Council of Shan State Saophas)ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวี และจัดส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึงนายแอตลี มีใจความว่า "อองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง" โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐

วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ นายพลอองซานเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ ๑๖ – ๒๖ มกราคม เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่าและรัฐฉานร่วมกัน แต่นายแอตลีได้ตอบปฏิเสธ เนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยใหญ่ จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้า ฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า  ต่อมานักศึกษากลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ส่งโทรเลขสนับสนุนให้นายพลอองซานเป็นตัวแทนของชาวไทยใหญ่ ถึงนายแอตลีบ้าง โดยนายแอตลีได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐

ดังนั้นในวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงมีการทำ หนังสือข้อตกลง อองซาน-แอตลี (Aungsan  Attlee  Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในข้อ  ๘  ได้กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า "ให้นายพลอองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ปางหลวง ในเดือน ก.พ ที่จะถึงนี้"  -  The leaders and representatives of the peoples of the Frontier Areas shall be asked, either at the Panglong Conference to be held at the beginning of next month or at a special Conference to be convened for the purpose, to express their views upon the form of association with the Government of Burma which they consider acceptable during the transition period.

นายแอตลีได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ , ตัวแทนรัฐคะฉิ่น, ตัวแทนรัฐชิน  ให้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับนายพลอองซาน  ในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขา ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองปางหลวง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:02

การประชุมที่ปางหลวงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นมติที่ตกลงจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อ พ.ศ ๒๔๘๙ โดยที่ประชุมได้ตกลงให้จัดการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาอีกครั้งในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐  ที่เมืองปางหลวง ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด

วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ นายพลอองซานเดินทางมาถึงเมืองปางหลวง การประชุมเริ่มในวันรุ่งขึ้น เวลา ๑๑.๓๐น. นายพลอองซาน กล่าวเรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่าในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแน่น ในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้นได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้นระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของอองซาน กับทหารชุดรักษาความปลอดภัยของเจ้าฟ้าส่วยแต๊กแห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ทั้งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้กล่าวในที่ประชุมครั้งนี้ว่า "ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด" ส่วนตัวแทนของรัฐคะฉิ่นก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแดนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่ประชุมได้มีมติตกลงที่จะร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น  หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการตัดสินใจทุกอย่าง  เป้าหมายที่ต้องร่วมกันครั้งนี้ จึงเพื่อให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรองขอเอกราชจากอังกฤษเท่านั้น

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่าง ๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง ( Panglong Agreement) ซึ่งนายพลอองซานเป็นผู้ร่างขึ้น  มีเนื้อหาสาระทั้งหมด ๙ ข้อ  แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระ  บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงได้ท้วงถาม ซึ่งนายพลอองซานได้ตอบว่า "เรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพ จะมีผลดีมากกว่า เขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง" ด้วยเหตุนี้  สิทธิการแยกตัวของรัฐต่าง ๆ ที่ร่วมลงนามจึงไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาปางหลวง แต่มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศพม่า




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:13

ภาพหมู่ผู้เข้าร่วมประชุมที่ปางหลวง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:23

เดี๋ยวครับ อย่าเพิ่งปวดหัวหนักเกิน รอเรื่องนี้ก่อน

การเมืองพม่าก็มีเรื่องหักเหลี่ยมกัน เหมือนๆกับทุกแห่ง
ความจริง อองซานแทบจะหมดสิทธิ์ ไม่ได้เซ็นสัญญาอะไรกับนายแอตลีเพราะเจ้าฟ้าไทยใหญ่ร่วมกันลงนามในโทรเลขส่งไปถึงอังกฤษว่าอองซานไม่ใช่ผู้แทนของพวกตน ไม่มีหน้าที่ที่จะไปตกลงอะไรในเรื่องอนาคตของรัฐฉานได้ อังกฤษก็เตรียมเลิกการเจรจา ไล่ให้กลับไปคุยกันใหม่ แต่อุนุสหายรักแก้เกมให้ทันการ โดยสั่งพวกไทยใหญ่ในคาถา ซึ่งเป็นกลุ่มหัวก้าวหน้าไม่เอาเจ้า ให้โทรเลขไปบอกอังกฤษว่าอองซานเป็นผู้แทนของกลุ่มตน ซึ่งเป็นประชาชนรัฐฉาน เข้าทางอังกฤษอยู่แล้วที่อยากให้เรื่องนี้จบๆไป ก็เรียกอองซานเข้ามาจบสัญญาดังกล่าวกันได้
ลองอ่านดูครับ

นอกจากนี้ ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ยังมีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านสร้างเมือง กับรัฐคะฉิ่น และรัฐชินซึ่งเป็นรัฐใกล้เคียง ดังนั้น จึงตกลงเห็นควรเชิญรัฐคะฉิ่นและรัฐชิน มาเข้าร่วมเป็นสหพันธรัฐ โดยในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 20 – 28 มี.ค 2489 ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ , รัฐคะฉิ่นและรัฐชิน ได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่เมืองปางหลวง( ป๋างโหลง ) โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง " สหพันธรัฐเทือกเขา และสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา( Supereme Council of the United Hill People = S.C.O.U.H. )" ขึ้น และกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภา รัฐละ 6 คน รวม 18 คน โดยเริ่มจัดตั้งภายในปี พ.ศ 2490 และให้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งที่เมืองปางหลวง ( ป๋างโหลง ) ภายในปีเดียวกัน (พ.ศ 2490) การประชุมในครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการอยู่ร่วมกัน แบบสหพันธรัฐในดินแดนแห่งนี้

แต่เนื่องจากนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่า ได้ทำการแจ้งข่าวการประชุมร่วม 3 รัฐ ครั้งนี้ ให้ทางพม่าทราบ ทางการพม่าซึ่งนำโดย นายอูนุและนายอูจ่อ จึงเดินทางมาเข้าร่วมประชุมด้วย แม้ว่าการประชุมครั้งนี้ตัวแทนจากพม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ในที่ประชุม ก็ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่า "ต้องการจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไม่มีพม่ารวมอยู่ด้วย" ดังนั้น ตัวแทนชาวพม่าที่เข้าร่วมประชุม จึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือลงมติใดๆทั้งสิ้น

ต่อมา วันที่ 27ก.ค 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ( EX-ective Committee of the Council of Shan State Saophas ) ขึ้น ตามมติที่ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋งขณะที่ทางฝ่ายพม่า ต้องการให้ไทยใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขา ทำการจัดตั้งกลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ขึ้นเมื่อวันที่ 20 ก.ย 2489 โดยกลุ่มนี้เ ป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดที่จะเรียกร้องเอกราชร่วมกับพม่า และล้มล้างการปกครองระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน

"คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ" ได้พยายามเรียกร้องว่า " หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะเข้าร่วมกับพม่า " โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด ซึ่งในขณะเดียวกันอองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษ และกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเข้า ร่วมกับพม่าด้วย ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา อองซานได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยใหญ่ เมื่อวันที่ 23ธ.ค2489ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ในเมืองตองจี ผู้ที่เข้าฟังการปราศรัย ส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยอองซานพยายามเรียกร้องให้ชาวไทยใหญ่ให้ความร่วม มือกับชาวพม่า และในวันที่ 25 ธ.ค 2489 อองซานได้ติดต่อขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้า ที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉาน โดยพยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้า เหล่านั้น เห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษร่วมกับพม่า แต่การเจรจาไม่ เป็นผล วันที่ 26 ธ.ค 2489 อองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุย กับนายแอตลี(Attlee) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่ลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า

ต่อมาในวันที่ 30 ธ.ค 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวี และจัดส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึงนายแอตลีมีใจความว่า "อองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง" โดยนายแอตลีได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่2 ม.ค 2490

วันที่ 9 ม.ค 2490 อองซานเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 – 26 ม.ค 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่าและรัฐฉานร่วมกัน แต่นายแอตลีได้ตอบปฏิเสธ เนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยใหญ่ จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้า ฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า

เมื่อนายอูนุทราบว่า ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯได้ส่งโทรเลขถึงนายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า ในวันที่ 22 ม.ค 2490 นายอูนุจึงสั่งให้คนของเขาไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ส่งโทรเลขสนับสนุนให้อองซานเป็นตัวแทนของชาวไทยใหญ่ ถึงนายแอตลีบ้าง โดยนายแอตลีได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 ม.ค 2490 ต่อมาในวันที่ 27 ม.ค 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลง อองซาน-แอตลี ( Aungsan Attlee Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่ 8 ได้กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า " ให้อองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ปางหลวง ( ป๋างโหลง ) ในเดือน ก.พ ที่จะถึงนี้" และนายแอตลีได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ , ตัวแทนรัฐคะฉิ่น, ตัวแทนรัฐชิน ให้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับอองซาน ในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขา ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองปางหลวง(ป๋างโหลง)


ดังนั้น เรื่องจริงๆจึงยังไม่จบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเข่นฆ่าครั้งใหญ่ในพม่า
รูปประกอบเป็นรูปที่ท่านนายพลถ่ายรูปกับสาวๆชาวคะฉิ่น เป็นการหาเสียงแบบนักการเมือง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:36

การประชุมที่เมืองปางหลวง(ป๋างโหลง) เป็นมติที่ตกลงจากการประชุมครั้งก่อนเมื่อปี2489 โดยที่ประชุมได้ตกลงให้จัดการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาอีกครั้งในปีต่อมา คือวันที่ 3ก.พ 2490 ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่ เมืองปางหลวง(ป๋างโหลง)ครั้งที่2 โดยงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด

หลังการประชุมครั้งนี้ ในวันที่ 7 ก.พ. 2490 หรือสี่วันต่อมา ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯและประชาชนชาวไทยใหญ่ ได้มีมติจัดตั้ง"สภาแห่งรัฐฉาน"( Shan State Council ) ประกอบด้วยตัวแทนเจ้าฟ้า 7 คน และตัวแทนจากประชาชนจำนวน 7 คน และให้ "สภาแห่งรัฐฉาน" เป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยใหญ่ทั้งปวง พร้อมทั้งมีมติประกาศใช้"ธง" ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง เขียว แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง เป็นธงชาติของรัฐฉานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
(สีเหลืองหมายถึงการเป็นชนชาติผิวเหลืองและพุทธศาสนา , สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติซึ่งประเมินค่าไม่ได้ของแผ่นดินรัฐฉาน และยังหมายถึงความเป็นชนชาติที่รักความสงบร่มเย็นไม่รุกรานใคร,สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ของชนชาติรัฐฉาน และวงกลมสีขาว หมายถึงความมีสัจจะ , ซื่อสัตย์ และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ดั่งเช่น ดวงพระจันทร์ของชนชาติรัฐฉาน)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:43

ในสายตาและความคิดของคนไทยใหญ่ อองซานไม่ใช่พระเอกแน่นอน

และในวันที่ 8 ก.พ 2490 เวลา18.00 น. อองซานได้เดินทางมาถึงเมืองปางหลวง( ป๋างโหลง ) ก่อนหน้านี้อองซานไม่ได้มา และเพิ่งเดินทางมาถึงโดยไม่มีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย อองซานมาในครั้งนี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าทางไทยใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นที่มีการพูดว่า “อองซานเป็นผู้จัดการประชุมสัญญาปางหลวง( ป๋างโหลง )” นั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

วันที่ 9 ก.พ 2490 เวลา 10.00 น. ตัวแทนไทยใหญ่ ชินและคะฉิ่น ได้จัดตั้ง"สภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา" ( S.C.O.U.H.P ) ขึ้น ตามมติการประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มี.ค 2489 โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน(ไทยใหญ่) รัฐชินและรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คนรวมเป็น 18 คน และให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของ สหพันธ์รัฐเทือกเขา

วันที่ 9 ก.พ 2490 เวลา 11.30 น. อองซาน ได้กล่าวในที่ประชุม เรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแน่นเช่นเดิม และในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้น ระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของอองซาน กับทหารชุดรักษาความปลอดภัยของเจ้าฟ้าส่วยแต๊ก แห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทใหญทั้งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้กล่าวในที่ประชุม ครั้งนี้ว่า" ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด "ส่วนตัวแทนของรัฐคะฉิ่น ก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแดนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน (แต่เดิม ดินแดนของรัฐคะฉิ่น เป็นดินแดนของรัฐฉาน แต่ต่อมาอังกฤษได้แยกเมืองกอง เมืองยาง ออกไปเป็นรัฐคะฉิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง เป็นการชั่วคราวเท่านั้น ) ซึ่งอองซานได้แสดงอาการโกรธ และจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายนักศึกษาของกลุ่ม“ เพื่อเอกราชรัฐฉาน” ซึ่งเป็นแนวร่วมกับทางอองซาน ได้เรียกร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:45

ต่อมาวันที่ 11 ก.พ. 2490 ที่ประชุมได้มีมติตกลงที่จะร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการตัดสินใจทุกอย่าง ดังนั้น เป้าหมายที่ต้องร่วมกันครั้งนี้ จึงเพื่อให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรองขอเอกราช จากอังกฤษเท่านั้น

และในวันที่ 12 ก.พ 2490 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่าง ๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง : Panglong Agreement ) ซึ่งอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ 2490 มีเนื้อหาสาระทั้งหมด 9 ข้อ แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงได้ท้วงถาม ซึ่งอองซานได้ตอบว่า " เรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพ จะมีผลดีมากกว่าเขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง )"

ด้วยเหตุนี้ สิทธิการแยกตัวของรัฐต่างๆ ที่ร่วมลงนามจึงไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาปางโหลง แต่มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศพม่า



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:52

หนังสือสัญญาปางหลวง ( ป๋างโหลง ) ปี พ.ศ 2490

ให้ตัวแทนของสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา ( Supereme Council of the United Hill People ) เข้าร่วมในคณะรัฐบาลจำนวน1 คนโดยให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ปรึกษารัฐมนตรี ผู้นั้นจะไม่สังกัดกระทรวงใดสำหรับการทหารและการต่างประเทศของสหพันธรัฐเทือกเขา( United Hill People )จะต้องมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล

ตัวแทนของสหพันธรัฐเทือกเขา( United Hill People )สามารถเลือกรัฐมนตรีช่วยได้อีก 2 ตำแหน่งซึ่งในจำนวน 2 ตำแหน่งนี้จะต้องมิใช่ชนชาติเดียวกันและต้องมิใช่ชนชาติเดียวกับกับรัฐมนตรี ด้วย
 
รัฐมนตรี ช่วยทั้ง2คนมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมก็ต่อเมื่อมีการประชุมเกี่ยวกับสหพันธ รัฐเทือกเขา ( ไทยใหญ่,ชิน และคะฉิ่น )เท่านั้นนอกเหนือจากนี้รัฐมนตรีเท่านั้นที่จะมีสิทธิเข้าร่วมในการประชุมสภา ฯ

สหพันธรัฐเทือกเขา( United Hill People )มีสิทธิปกครองตนเองโดยอิสระเหมือนดังเช่นที่เคยปฏิบัติ

ในหลักการให้การรับรองว่าให้รัฐคะฉิ่น เป็นรัฐ ๆหนึ่งแต่ในการณ์นี้จะต้องนำเข้าสู่วาระการประชุมร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง

ตามหลักการระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้สหพันธรัฐเทือกเขา ( United Hill People )ต้องได้รับสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับพม่าทุกประการ
 
รัฐฉานมีสิทธิในการใช้จ่ายเงินทองเหมือนเดิม(เหมือนสมัยอยู่ในอารักขาของอังกฤษ )
 
ต้องนำเงินส่วนกลางจากทางรัฐบาลไปช่วยเหลือแก่รัฐชินและคะฉิ่น ส่วนหนี้สินระหว่างพม่าและไทยใหญ่นั้น ให้รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยของสหพันธรัฐเทือกเขา(United Hill People )ทำการตรวจสอบและเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

รายชื่อผู้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญา ปางหลวง (ป๋างโหลง)

ฝ่ายพม่า อองซาน
 
ฝ่ายคะฉิ่น
1. สะมาตูวาสิ่นวาหน่อง(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )
2. ตูวาจ่อริด(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )
3. เต่งระต่าน(ตัวแทนจากเมือง มิดจีนา )
4. ตูวาเจ๊าะลุน(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )
5. ละป่านกะหร่อง(ตัวแทนจากเมือง บ้านหม้อ )

ฝ่ายชิน
1. ลัวะมง(ตัวแทนจากเมือง กะลาน )
2. อ่องจ่าคบ(ตัวแทนจากเมือง ต๊ะเต่ง )
3. กี่โหย่มาน(ตัวแทนจากเมือง ฮาคา )

ฝ่ายไทยใหญ่
1. เจ้าขุนปานจิ่ง(เจ้าฟ้า น้ำสั่น )
2. เจ้าส่วยแต๊ก( เจ้าฟ้า ย่องฮ่วย )
3. เจ้าห่มฟ้า( เจ้าฟ้า แสนหวีเหนือ )
4. เจ้าหนุ่ม( เจ้าฟ้า ลายค่า )
5. เจ้าจ่ามทุน( เจ้าฟ้า เมืองป๋อน )
6. เจ้าทุนเอ( เจ้าฟ้า ส่าเมืองคำ )
7. อูผิ่ว( ตัวแทนจากเมือง สี่แส่ง )
8. ขุนพง( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
9. ติ่นเอ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
10. เกี่ยปุ๊( ตัวแทนนักศึกษากลุ่ม เพื่อเอกราชรัฐฉาน )
11. เจ้าเหยียบฟ้า ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
12. ทุนมิ้น ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
13. ขุนจอ ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน )
14. ขุนที ( ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน)
 
รวมไทยใหญ่ 14 คน คะฉิ่น 5 และชิน 3 คน พม่า1 คน รวม 23 คน ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง ( ป๋างโหลง : Panglong Agreement )


เอาสำเนาต้นฉบับสัญญามาแปะให้ด้วย เพื่อใครสนใจจะอ่าน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 11:57

เป็นการเริ่มหยั่งรากการรวมเมืองในรูปแบบสหภาพเป็นครั้งแรก ซึ่งในหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง )มีชนชาติร่วมลงนามเพียง 4 ชนชาติเท่านั้น เนื่องจากสิทธิสำคัญส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับไทยใหญ่เสียเป็นส่วนใหญ่ และไทยใหญ่ก็เป็นผู้ริเริ่มสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างชนชาติ จำนวนชาวไทยใหญ่ที่เข้าร่วมลงนามจึงมากกว่าชนชาติอื่น การรวมกันเป็นสหภาพนี้มิได้เกิดขึ้นจากความคิดของอองซาน แต่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ที่พยายามก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ 2488 ซึ่งในขณะนั้น อองซานเองก็ยังไม่ได้มีความคิดที่จะรวมเอา สหพันธรัฐเทือกเขาเป็นสหภาพ ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้เตรียมการดำเนินการไว้ทั้งหมดแล้ว แต่ภายหลัง อองซานได้เข้ามาฉวยโอกาสชุบมือเปิบ ถือเอาการก่อตั้งตั้งสหภาพเป็นการริเริ่มของพม่า

เท่านี้ก่อนครับ เสียวออฟไซด์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 15:29

เอาสำเนาต้นฉบับสัญญามาแปะให้ด้วย เพื่อใครสนใจจะอ่าน

สำเนานี้อ่านง่ายกว่า



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง