เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
  พิมพ์  
อ่าน: 56522 จริงหรือไฉน: ญี่ปุ่นกับไทยออกเส้นสต๊าร์ทเดียวกันเมื่อถูกฝรั่งดันให้วิ่ง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 22:07

^
สงสัยจะไม่ผ่านวิชา man-year ซะแล้วเรา     ไปฝึกสักหญ้ากับเรียงหินด้วย photoscape ดีกว่า


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 06 ก.พ. 13, 22:19

man-year สะสมกลายเป็นความมั่งคั่งของชาติ แยกส่วนพิจารณาได้เป็น man (คน) กับ year (เวลา) ครับ

คุณภาพคนก็เป็นตัวแปรหนึ่ง คุณค่างานที่แรงงานไร้ฝีมือผลิตได้ย่อมมีค่าต่ำกว่างานของแรงงานฝีมือครับ

ส่วนเวลาเป็นอีกตัวแปรหนึ่ง เหมือนว่าแต่ละคนจะมีเวลาเท่าๆ กัน แต่สมมติฐานที่ว่า 1 year = 2,087 hours มาจากการทำงานวันละ 8 ชม. สัปดาห์ละ 5 วัน 365.2425 x 8 x 5/7 ซึ่งเท่ากับว่ายังไม่ได้หักวันหยุดวันลาต่างๆ ครับ

เรื่องที่น่าสนใจคือ ผมเคยได้ยินมาว่าเกาหลีใต้ยุคสร้างชาติ ประธานาธิบดีของเขาออกมาขอร้องประชาชนให้ช่วยกันอดทนทำงานสัปดาห์ละ 7 วัน ส่วนวันละกี่ชั่วโมงนั้นผมไม่ทราบ ทราบแต่ว่าเกาหลีใต้ในปัจจุบัน (ที่ผ่อนคลายลงบ้างแล้ว) เขาทำงานกันสัปดาห์ละ 6 วัน เพื่อนที่เคยไปทำงานในเกาหลีใต้บอกว่าสามทุ่มคนยังอยู่กันเต็มออฟฟิส กว่าจะกลับก็ห้าทุ่มเที่ยงคืนโน่นเลย แล้วตอนเช้า 9 โมงเป๊งก็มากันครบอีกด้วย

สมมติว่าคุณภาพคนเท่าๆ กัน คนเกาหลีทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละสัก 12 ชั่วโมง ไม่หักวันหยุดวันลาเหมือนกัน 1 man-year เกาหลี = 3,757 man-hour

หากไม่สนใจว่าจะป่วยจะตายอย่างไร man-hour เกาหลี มีค่ามากกว่า man-hour ชาวบ้านเขาตั้ง 80% เชียวครับ (ขนาดยังไม่นับตอนวิ่งเต็มสูบสัปดาห์ละ 7 วันนะครับ) เขาทำได้ขนาดนี้ แล้วก้าวหน้าเร็วอย่างนี้ ก็ต้องนับถือเขาครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 22:41

  ดิฉันคิดว่าคุณ Jalito  น่าจะเป็นรุ่นน้องท่านนวรัตน   เผลอๆจะเคยสักหญ้าให้ท่านเสียด้วยซ้ำนะคะ

  เข้ามาสารภาพครับ กระผมเป็นมือปืนต่างซุ้ม ไม่ทันท่านอาจารย์NAVARAT.C   พี่ที่พาไปจิบกาแฟเป็นรุ่นหลัง  สมัยนู้นพอย่างเข้าฤดูทีส๊สก็จะบอกบุญกันไปยังพี่น้องสำนักอึ่นด้วย แวดวงยังแคบ  พี่เขาพาไปจิบกาแฟก็ช่วงแรกโปรโมชั่น หลังๆก็ตลาดสามย่านแหละครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 07:46

อ้อ ครับ เป็นอย่างนี้นี่เอง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 08:12

   เข้ามาสารภาพครับ กระผมเป็นมือปืนต่างซุ้ม ไม่ทันท่านอาจารย์NAVARAT.C   พี่ที่พาไปจิบกาแฟเป็นรุ่นหลัง  สมัยนู้นพอย่างเข้าฤดูทีส๊สก็จะบอกบุญกันไปยังพี่น้องสำนักอึ่นด้วย

มือปืนต่างซุ้ม อยู่สำนักอื่น เห็นจะเป็นคณะที่วาดเขียนเก่ง อยู่ใกล้ๆถาปัดละมังคะ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 17:03

   มิได้ครับอาจารย์  ช่วงปี๑๕-๑๖ที่ไปเป็นมือปืนนั้นไม่แน่ใจว่า 'สินกำจุฬา' เกิดหรือยัง  ซุ้มผมอยู่ไกลปู๊นถึงท้องทุ่งลาดกระบัง ปู๊นจริงๆแบบนั่งรถไฟไปเรียน จนต่อมาไม่ถึง๑๐ปีมานี่จึ่งมีสนามบินแห่งชาติแห่งใหม่ไปตั้งอยู่ใกล้ๆ  ใกล้ขนาดแทบว่ามองเห็นนักบินในค็อกพิตขณะเครื่องแลนดิ้ง

   โดนใจลายหินเรียงทีกำแพงปราสาทนาโงยาที่ท่านอาจารย์NAVARAT.Cเก็บภาพมา จึงกระตุกอดีตขึ้นมารำพึงนิดนึง เหตุเป็นดังนี้แหละครับท่านอาจารย์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 03 ก.ย. 13, 14:10

สมัยปฏิรูปเมจิ(1868–1912) รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศนโยบาย “ประเทศมั่งคั่ง กำลังเข้มแข็ง” (Rich State and Strong Army Policy) คณะผู้บริหารได้ยอมรับเอารูปแบบการศึกษาของตะวันตกมาจัดระบบให้เยาวชน ด้วยทุนที่รัฐบาลยุคก่อนสะสมไว้ให้ สมัยนี้จึงส่งนักเรียนไปเรียนในยุโรปและอเมริกาเป็นพันๆคน วงเล็บไว้หน่อยกันถูกกล่าวหาว่ายกเมฆ(sent thousands of students to the United States and Europe) พวกนี้เมื่อกลับมาแล้วก็เป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปประเทศต่อไป
ของสยามในสมัยรัชกาลที่5 คงมีจะเงินพอจะส่งไปได้ไม่กี่สิบคน และแน่นอน ท่านก็ต้องส่งลูกไปก่อนผมคงไม่ต้องอธิบายเหตุผล เท่านั้นยังไม่พอนะครับ เขาได้จ้างครูฝรั่งมากกว่าสามพันคนเข้ามาสอนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ คำนวณ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศให้เยาวชนของเขา (hired more than 3,000 Westerners to teach modern science, mathematics, technology, and foreign languages in Japan)

หนึ่งในครูฝรั่งกว่า ๓,๐๐๐ คนที่รัฐบาลเมจิจ้างมานั้นมีชื่อ ด็อกเตอร์วิลเลียม สมิธ คล้าก อยู่ด้วย

ด็อกเตอร์วิลเลียม สมิธ คล้าก เป็นชาวอเมริกัน เกิดที่รัฐแมสซาชูเซตส์  ใน พ.ศ. ๒๔๑๙ รัฐบาลญี่ปุ่นสมัยจักรพรรดิเมจิ จ้างดร.คล้ากมาเพื่อจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรกรรมที่ซัปโปโร (ปัจจุบันคือมหาวิทยลัยฮอกไกโด) แม้ว่าคล้ากจะมีเวลาอยู่ที่ฮอกไกโดเพียง ๑ ปีตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง เขาได้นำความเจริญในด้านต่าง ๆ มาให้ซัปโปโรเป็นอย่างมาก ชาวเมืองซัปโปโรรำลึกถึงเขาเสมอ และสร้างอนุสาวรีย์ให้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีแห่งการมาประเทศญี่ปุ่นของเขา เพื่อให้เป็นแบบอย่างเยาวชนคนรุ่นหลัง คุณครูมักจะพานักเรียนขึ้นมาทัศนศึกษาและถ่ายรูปกับอนุสาวรีย์นี้เสมอ




เรื่องของดร.คล้าก มีต่อในกระทู้ ญี่ปุ่น ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น (๒)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ก.ย. 13, 18:53 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 19:20

นักศึกษาญี่ปุ่นรุ่นแรกที่ไปเรียนต่างประเทศคือกลุ่มห้าวีรบุรุษโจชู หรือ Choshu Five ต้องลักลอบออกจากประเทศ เปิดเผยไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย กลับมาก็เป็นใหญ่เป็นโตกันทุกคน

สำหรับเรื่องนักเรียนญี่ปุ่นที่ส่งไปศึกษาต่างประเทศในรัชสมัยเมจิ สามารถศึกษารายละเอียดได้จากลิ้งก์ข้างล่างนี้

นักศึกษาญี่ปุ่นที่ไปศึกษาต่างประเทศในรัชสมัยเมจิ (พ.ศ. ๒๔๑๑- พ.ศ. ๒๔๕๕)

นักศึกษาญี่ปุ่นรุ่นแรกที่ไปเรียนต่างประเทศคือ กลุ่มห้าวีรบุรุษโจชู (長州五傑 Chōshū Goketsu) โดยคำแนะนำของศาสตราจารย์ Alexander William Williamson แต่เป็นการไปศึกษาอย่างผิดกฎหมายโดยลักลอบไปศึกษาที่ University College London (UCL) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ กฎหมายห้ามไปต่างประเทศถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙

จากซ้ายไปขวา

แถวบน  Endo Kinsuke 遠藤謹助 (head of national mint, Zoheikyoku) Nomura Yakichi 野村弥吉 (later Inoue Masaru, the first Director of Railways in Japan) Ito Shunsuke 伊藤俊輔 (later Ito Hirobumi, Prime Minister)

แถวล่าง   Inoue Monta 井上聞多 (later Inoue Kaoru, Foreign Minister) Yamao Yozo 山尾庸三 (studied shipbuilding in Glasgow)

สำหรับคนหลังนี้ คุณม้าเคยบรรยายสรรพคุณไว้เพิ่มเติมว่า

ปี 1873 Imperial College of Engineering ถูกก่อตั้งขึ้นโดย ยะมะโอะ โยโซ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มห้าวีรบุรุษโจชูที่แอบลักลอบหนีออกจากญี่ปุ่นไปเรียนที่อังกฤษ นักเรียนวิศวกรรมหลายคนจากสถาบันนี้ถูกส่งไปเรียนต่อในอังกฤษ คนพวกนี้เป็นกำลังสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครับ[/size]





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 19:22

ประวัติของ  Choshu Five แต่ละคน  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 11 ก.ย. 13, 19:27

ข้อมูลจาก http://www.city.hagi.lg.jp/uploaded/attachment/3653.pdf ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 13 ก.ย. 13, 21:57

ขอเสริมเรื่องที่ได้รับฟังมาครับ

เมื่อญี่ปุ่นได้เปิดประเทศขึ้นแล้ว ก็ได้ส่งนักศึกษาไปเรียนในต่างประเทศ 3000 คน เมื่อกลับมาเขาเหล่านั้นก็สามารถต่อยอดเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นเองมีล้ำหน้าอยู่แล้วจนประเทศมีความก้าวหน้าอย่างมาก

ดังที่ทราบแล้วว่า ในช่วงที่ปิดประเทศอยู่นั้น แท้จริงแล้วญี่ปุ่นเปิดช่องการติดต่ออยู่ทางใต้ (Kita Kyushu)  ซึ่งในสมัยนี้เองญี่ปุ่นเองก็ได้เริ่มการทำอุตสาหกรรมแบบชาติตะวันตก แถมยังเริ่มต่อเรือเหล็กอีกด้วย (แบบแอบลอกแบบ  ดูจากเรือที่แล่นผ่าน) ย่านนี้เป็นย่านที่เป็นแหล่งแร่สำคัญของญี่ปุ่น จึงเป็นจุดเริ่มที่สำคัญของอุตสาหกรรมที่ใช้โลหะ  ต่างไปจากย่าน Kanto ที่ในช่วงปิดประเทศนี้ได้มีการพัฒนาฝีมือและเทคโนโลีที่ทำจากไม้จนถึงระดับสูงสุด  เมื่อเปิดประเทศและส่งคนไปเรียนนอกประเทศ เมื่อกลับมาคนเหล่านี้จึงสามารถต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำเทคโนโลีโลหะเข้ามาผสมผสานกับไม้ได้อย่างกลมกลืน ไม่นานก็มีคนได้รับ Nobel Price จำได้ว่าเป็นเรื่องกี่กระตุกในงานทอผ้า (นาย Toyoda ?)  และเรื่องการหมักโปรตีน (อะยิโน๊ะโม๊ะโต๊ะ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 17:48

ดังที่ทราบแล้วว่า ในช่วงที่ปิดประเทศอยู่นั้น แท้จริงแล้วญี่ปุ่นเปิดช่องการติดต่ออยู่ทางใต้ (Kita Kyushu)  ซึ่งในสมัยนี้เองญี่ปุ่นเองก็ได้เริ่มการทำอุตสาหกรรมแบบชาติตะวันตก แถมยังเริ่มต่อเรือเหล็กอีกด้วย (แบบแอบลอกแบบ  ดูจากเรือที่แล่นผ่าน)

ในพ.ศ. ๒๓๙๖ ญี่ปุ่นสั่งต่อเรือรบจากเนเธอร์แลนด์ มาถึงญี่ปุ่นเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๐ มาประจำการอยู่ที่โรงเรียนนายเรือที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นในนาม Kanrin Maru โดยใช้เป็นต้นแบบเรียนรู้เทคโนโลยีการต่อเรือรบของตะวันตก

สามปีต่อมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓  Kanrin Maru ออกปฏิบัติการอวดชาวโลกความสามารถในการเดินเรือโดยตามเรือรบของอเมริกันไปสู่อเมริกา

รูปคณะราชทูตที่ตามกองเรืออเมริกัน(โดยเรือของญี่ปุ่นเอง)ไปยังอเมริกาในครั้งนั้นด้วย
เรือของญี่ปุ่น แต่ต่อโดยดัชต์  Kanrin Maru 咸臨丸

เรือ Kanrin Maru ...


คณะทูตญี่ปุ่นถึงท่าเรีอของราชนาวี ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 1860

Landing of Japanese Embassy at Navy Yard in Washington, DC, May 1860




ความรู้เกี่ยวกับเรือรบของตะวันตกเห็นจะได้จาก Kanrin Maru ลำนี้แหละเป็นส่วนมาก

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 19:43

  มิได้ครับอาจารย์  ช่วงปี๑๕-๑๖ที่ไปเป็นมือปืนนั้นไม่แน่ใจว่า 'สินกำจุฬา' เกิดหรือยัง  ซุ้มผมอยู่ไกลปู๊นถึงท้องทุ่งลาดกระบัง ปู๊นจริงๆแบบนั่งรถไฟไปเรียน จนต่อมาไม่ถึง๑๐ปีมานี่จึ่งมีสนามบินแห่งชาติแห่งใหม่ไปตั้งอยู่ใกล้ๆ  ใกล้ขนาดแทบว่ามองเห็นนักบินในค็อกพิตขณะเครื่องแลนดิ้ง

   โดนใจลายหินเรียงทีกำแพงปราสาทนาโงยาที่ท่านอาจารย์NAVARAT.Cเก็บภาพมา จึงกระตุกอดีตขึ้นมารำพึงนิดนึง เหตุเป็นดังนี้แหละครับท่านอาจารย์

อ้อ .. อยู่ซุ้มหัวตะเข้ .. รุ่นเดียวกับเจ้าของ "หินสวยฟ้าใส" ที่ข้างอุทยานเขาแหลมหญ้า ที่ระยองหรือเปล่าครับ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 22:09

อืม์

ผมมีโอกาสไปดูงานที่ Kagoshima ใน Kitakyushu ซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ได้รับฟังกรรบรรยายพอปะติดปะต่อเป็นประวัติสังเขบ ดังนี้

Kagoshima เป็นแหล่งที่อยู่ของกลุ่ม Satsuma ซึ่งเป็นกลุ่มที่แม้จะอยู่ในการปกครองของโชกุนโตกุกาวา แต่ก็ค่อนข้างจะไม่เคารพและแข็งกร้าว ทำการค้าร่วมกับริวกิว (ริวกิว 1429 - 1879) ในเส้นทางการค้ากับจีน 
ญี่ปุ่นปิดประเทศช่วง 1639 - 1851 แต่ยังปล่อยให้มีการติดต่อกับชาวดัชช์  แม้จะมีข้อห้ามออกนอกประเทศก็ตาม ก็มีคนของกลุ่ม Satsuma จำนวน 17 คนแอบออกไปเรียนหนังสือที่อังกฤษแล้วต่อไปที่อเมริกา ได้กลับมาพร้อมกับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ คงเป็นช่วงประมาณปี 1850 +/- เพราะช่วงประมาณนี้เจ้าเมืองได้สร้างเตาถลุงเหล็กเป็นครั้งแรก ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลุ่ม Satsuma ไม่ค่อยจะยำเกรงโชกุน ฝ่ายโชกุนเองก็ไม่ค่อยพอใจ ในที่สุดก็ต้องปราบจนราบคาบเมื่อ 1877 
ประมาณปี 1863 เกิดการฆาตกรรมฝรั่งชาวอังกฤษชื่อ Charles Lennox Richardson ที่ Kagoshima ซึ่งฝ่ายอังกฤษเรียกร้องค่าเสียหาย ผมจำไม่ได้ว่าอะไรและอย่างไร แต่ก็เป็นการเรียกร้องที่เจ้าเมืองทำยากและให้ได้ยาก  สุดท้ายก็เอาเรือมายิงบริเวณเตาถลุงและโรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์ (แท้จริงก็เพื่อจะหาเหตุทำลายความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี)

เจ้าหน้าที่ของ Kagoshima เล่าว่า ที่นี่เองที่ญี่ปุ่นทำการต่อเรือสมัยใหม่แบบฝรั่งเป็นผลสำเร็จ (อาจจะด้วยความช่วยเหลือของชางดัชช์) จึงต้องแล่นอวดธง ซึ่งธงแบบที่มีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางผืนผ้าแล้วมีแสงเป็นรัศมีออกไปของญี่ปุ่น (แบบที่เราเคยเห็นกันในสมัยสงครามโลก) ก็เกิดขึ้นที่ Kagoshima นี้ เพื่อใช้เป็นธงปักอยู่บนเรือของญี่ปุ่นที่ต่อขึ้นเองนี้เอง  ธงนี้ก็เลยกลายเป็นธงรบของญี่ปุ่นไปในเวลาต่อๆมา

ที่ Kagoshima นี้ ได้มีโอกาสไปนอนที่รีสอร์ทหาดทรายดำ (Black sand bath) อันขึ้นขื่อของเขาด้วย ที่เมือง Ibusuki สวยดีครับ 


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 14 ก.ย. 13, 22:32

ข้อมูลปีต่างๆผมเอามาจากคุณวิิกี้ ส่วนเรื่องราวเนื่อหา ผมเอามาจากที่ได้รับฟังบรรยายครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง