เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 56519 จริงหรือไฉน: ญี่ปุ่นกับไทยออกเส้นสต๊าร์ทเดียวกันเมื่อถูกฝรั่งดันให้วิ่ง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 22:23

อีกประการหนึ่งที่เป็นผลดีซึ่งติดมาจากระบบชนชั้นเหมือนกัน เพราะไม่มีการเปลี่ยนอาชีพมานานหลายชั่วคน เมื่อปฏิรูปแล้วมาทำบริษัท คนญี่ปุ่นก็จะไม่นิยมเปลี่ยนงานเหมือนกัน เกิดขนบที่เรียกว่า Lifetime employment หรือการจ้างงานชั่วชีวิต

บริษัทจะรับคนที่เพิ่งจบการศึกษาสดๆเข้ามาฝึกงาน หลังบรรจุแล้วก็อยู่ไปจนเกษียณ ไม่ต้องคิดเปลี่ยนงานเพราะถึงอยากเปลี่ยนก็คงไม่มีบริษัทไหนรับ

ดังนั้นพนักงานจะภักดีกับองค์กรแบบถวายชีวิต

ไม่รู้ว่าจะชักใบเรือญี่ปุ่นให้เสียหรือเปล่านะคะ  แต่อ่านแล้ว ธรรมเนียมจงรักภักดีต่อนาย ทำงานกันชั่วชีวิต   คนไทยเคยมีเหมือนกัน   ใครเข้าไปเป็นบริวารของนายคนไหนแล้ว เขาจะไม่เปลี่ยนสังกัดจากนายคนนี้ไปอยู่กับนายคนโน้น    แต่จะปักหลักอยู่อย่างนั้นจนตาย 
เพราะคนที่เปลี่ยนนาย  เขาเรียกว่าคน "โจทเจ้า"  แปลตามศัพท์ว่าอะไรไม่ทราบ ใครอยากรู้ เห็นจะต้องถามคุณเพ็ญชมพูเอาเอง   
คนที่เปลี่ยนนาย จะถูกประณามว่า "ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย" เป็นที่รังเกียจ

เมื่อเจ้านายสิ้นพระชนม์แล้ว  นางข้าหลวงทั้งหลายก็มีอิสระ หาทางเลือกกันเองตามใจสมัคร
จะไปหาเจ้านายใหม่ไว้พึ่งบารมีก็ได้ ไม่มีใครว่า
โดยมากคนที่มีเพื่อนฝูงเป็นข้าหลวงอยู่ตำหนักอื่นๆก็จะชักนำไป    ถ้าเป็นคนเก่งมีฝีมือก็ยิ่งดี  เจ้านายใหม่ก็จะโปรดใช้สอยให้ตรงตามความรู้ความสามารถ   
หรือถ้าใครไม่ประสงค์จะมีเจ้านายใหม่ก็ออกจากวังไปอยู่บ้านกับญาติพี่น้องก็ได้  จะแต่งงานไปก็ดี
หรือไม่กลับบ้าน ก็อาศัยอยู่ในตำหนักเดิม(ที่ยังว่างเจ้านาย) อย่างคุณสายกับช้อย   จนกว่าจะมีเจ้านายใหม่มาอยู่ก็ต้องย้ายออก 
 หรือถ้าไม่มีเจ้านายองค์ใหม่มา  ก็อยู่กันไปตามเดิม อาศัยเงินทุนจากที่มีเลี้ยงชีพไปตามกำลัง  พวกนี้มักไม่กระตือรือร้นจะไปหานายใหม่  ไม่ฝากเนื้อฝากตัวกับใคร

ข้าหลวงที่มีเจ้านายใหม่เมื่อเจ้านายเดิมสิ้นพระชนม์ไม่ถือว่าเป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย
แต่ถ้าเอาใจออกหาก(ไม่ใช่ห่างนะคะ) ไปฝักใฝ่นายใหม่  ทั้งที่นายเก่าก็ยังอยู่   มีศัพท์เรียกอย่างเหยียดหยามว่า "โจทเจ้า" 
 บริวารประเภทนี้ถือว่าไว้ใจไม่ได้ เพราะไม่ภักดีต่อนาย  เนื่องจากสมัยนั้น loyalty   ถือเป็นคุณธรรมที่สูงมากในระบบ "เจ้ากับข้า"  จากข้าขึ้นไปสู่เจ้า

คุณพัดโบกคงนึกออกว่าเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินจากธนบุรีเป็นรัตนโกสินทร์  มีขุนนางหลายคนยอมตายตามพระเจ้าตากสิน มากกว่าจะฝักใฝ่กับนายใหม่ อย่างพระยาพิชัยดาบหัก นี่ก็ท่านหนึ่ง
สิ่งนี้ไม่ใช่ความโกรธแค้นระหว่างพระยาพิชัยกับเจ้าพระยาจักรีอย่างบางคนตีความไปตามนั้น   แต่เป็นเหตุผลของ loyalty โดยตรง
หากพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคตไปด้วยเหตุสุดวิสัย อย่างประชวรหนักจนสวรรคต   อย่างนี้พระยาพิชัยไม่ต้องตายตาม   และไม่ควรด้วยซ้ำ
แต่การตายของพระยาพิชัย  เป็นเกียรติยศในระบบ "เจ้ากับข้า"   รัชกาลที่ ๑ ท่านก็ทรงทราบและเข้าพระทัยดี ไม่ถือเป็นเรื่องบาดหมางพระทัย
เมื่อพระยาพิชัยขอฝากบุตรเข้ารับราชการ ร.๑ ก็ทรงรับไว้ ไม่มีข้อขัดข้องกีดกันว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้าม    ลูกหลานสืบต่อมาหลายชั่วคนจนได้รับพระราชทานนามสกุล "วิชัยขัตคะ" ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ค่ะ

ธรรมเนียมนี้หมดไปในสมัยไหนไม่รู้  แต่เดาว่าเป็นสมัยที่ไม่มีเจ้าอีกแล้ว คือหลัง 2475   
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 22:58

อีกประการหนึ่งที่เป็นผลดีซึ่งติดมาจากระบบชนชั้นเหมือนกัน เพราะไม่มีการเปลี่ยนอาชีพมานานหลายชั่วคน เมื่อปฏิรูปแล้วมาทำบริษัท คนญี่ปุ่นก็จะไม่นิยมเปลี่ยนงานเหมือนกัน เกิดขนบที่เรียกว่า Lifetime employment หรือการจ้างงานชั่วชีวิต

บริษัทจะรับคนที่เพิ่งจบการศึกษาสดๆเข้ามาฝึกงาน หลังบรรจุแล้วก็อยู่ไปจนเกษียณ ไม่ต้องคิดเปลี่ยนงานเพราะถึงอยากเปลี่ยนก็คงไม่มีบริษัทไหนรับ


ปัจจุบันในสภาวะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังอยู่ในช่วงเงินฝืดมานานเป็นสิบ ๆ ปีนั้น ตอนนี้วัฒนธรรมการจ้างงานตลอดชีวิตดูเหมือนว่าจะเริ่มเจือจางลงนะครับ ถูกเข้ามาแทนที่ด้วยการจ้างงานแบบสัญญาจ้าง ( Contract ) แทน หรือศัพท์สมัยนี้ที่คนไทยนิยมเรียกกันก็คือ outsourcing หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Haken  นั่นเอง

มีละครที่สะท้อนชีวิตพนักงานสัญญาจ้าง ออกมาเป็นตอน ๆ ได้สนุกสนานในชื่อเรื่อง Haken no Hinkaku ครับ



เคยเข้ามาฉายทาง Cable ทีวีของบ้านเราไปเมื่อหลายปีก่อน เสียดายว่าไม่ได้ฉายทางฟรีทีวีครับ
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 23:07

....เรื่องทำงานแบบถวายหัวให้กับองค์กรนี่้เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนเลยค่ะอาจารย์...บริษัทที่ญี่ปุ่นใครเลิกงานก่อนหกโมงเย็นถือว่าหมดอนาคตและไม่ค่อยมีใครกล้ากลับเพราะเค้าจะกลัวการแปลกแยก...ช่วงเหตุการณ์หลังสึนามิ...เกิดปัญหาพลังงานขาดแคลน...รัฐบาลมีนโยบายประหยัดพลังงานโดยให้พนักงานเลิกงานก่อนหนึ่งทุ่มแต่พนักงานส่วนใหญ่ไม่ชิน..ตื้อที่จะทำงานต่อไป...บริษัทจึงต้องใช้นโยบายปิดไฟไล่กันเลยทีเดียว ยิงฟันยิ้ม.....ในช่วงฤดูร้อนก็ให้งดเปิดเครื่องปรับอากาศหรือเปิดได้ในระดับอุณหภูมิห้อง....บริษัท ร้านค้า สถานที่ราชการต่างๆให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัด..จนทำให้ไทยแท้ๆแบบดิฉันหงุดหงิดไม่น้อย เศร้า..เพราะอากาศหน้าร้อนของที่นี่ร้อนอบอ้าวมากๆ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 01 ก.พ. 13, 04:59

เพราะคนที่เปลี่ยนนาย  เขาเรียกว่าคน "โจทเจ้า"  แปลตามศัพท์ว่าอะไรไม่ทราบ ใครอยากรู้ เห็นจะต้องถามคุณเพ็ญชมพูเอาเอง  

โจท [โจด] (โบ) ก. ฟ้อง เช่น ทาษโจทเจ้าว่ามิได้เปนทาษก็ดีว่าได้ส่งเงินค่าตัวแล้วก็ดี. (สามดวง).

โจทเจ้า ก. เอาความผิดของเจ้าไปโพนทะนา; เอาใจออกหาก.

ขออนุญาตเก็บตกจากเรื่องของคุณนวรัตน
 
รูปคณะราชทูตที่ตามกองเรืออเมริกัน(โดยเรือของญี่ปุ่นเอง)ไปยังอเมริกาในครั้งนั้นด้วย

เรือของญี่ปุ่น แต่ต่อโดยดัชต์  Kanrin Maru 咸臨丸

เรือ Karin Maru ...


คณะทูตญี่ปุ่นถึงท่าเรีอของราชนาวี ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 1860

Landing of Japanese Embassy at Navy Yard in Washington, DC, May 1860




ภาพขบวนทูตญี่ปุ่น ที่ไวท์เฮ้าส์ สหรัฐอเมริกา คศ. 1860




บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 01 ก.พ. 13, 06:29

พูดถึงเรื่องงาน ทำให้นึกถึงงานยอดฮิต สำหรับคนไทยที่ไปศึกษาต่อในญี่ปุ่น ซึ่งก็คงเหมือน ๆ ในหลายประเทศคือการหางานพิเศษทำ ที่ญี่ปุ่นจะเรียกงาน Part Time เหล่านี้ว่า Arubaito มาจากรากศัพท์ว่า "Arbeit"  ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะมาจากภาษาเยอรมัน หรือ ภาษาดัตช์ กันแน่นะครับ  คนไทยส่วนใหญ่ที่ทำงานประเภทนี้ จะเรียกย่อ ๆ ว่า "ทำไบท์" หรือ "เด็กไบท์" บ้าง แล้วแต่ความชอบ แต่เข้าใจได้ในทันทีว่าคือการทำงานพิเศษนั่นเอง

ที่ญี่ปุ่น การทำงานพิเศษแบบนี้ มีเว็บไซต์ประกาศอย่างเป็นทางการ งานบางประเภทรายได้ก็ดีเหมือนกัน และส่วนใหญ่คนญี่ปุ่น / คนต่างชาติ(เช่นคนไทย) จะแย่งกันอุตลุด

เคยเห็นคนทำงาน part time แบบนี้ ทำกันจริงจังมาก อย่างเช่นขายอาหาร/ขนม ในสถานีรถไฟใต้ดิน ก็ต้องขายกันให้หมด แม้จะเหลือชิ้นเดียวก็ตาม โค้งแล้วโค้งอีก เห็นแล้วน่าเห็นใจจริง ๆ ครับ ถ้าเป็นบ้านเรา คงจะตัดยอดทิ้งไปนานแล้ว บางรายอยู่ในศูนย์การค้าใหญ่ใจกลางเมือง แอบเอาสินค้าที่ตัวเองกำลังขาย มารับประทานเองก็มี เห็นกันคาตาชัด ๆ เลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 01 ก.พ. 13, 08:11

ที่ญี่ปุ่นจะเรียกงาน Part Time เหล่านี้ว่า Arubaito มาจากรากศัพท์ว่า "Arbeit"  ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะมาจากภาษาเยอรมัน หรือ ภาษาดัตช์ กันแน่นะครับ  คน

arubaito アルバイト มาจากภาษาเยอรมันว่า Arbeit แปลว่า ทำงาน  

เกาหลีใช้ว่า arbait (a-reu-ba-i-teu) 아르바이트

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 00:16

แน่นอนว่าความหนาแน่นของประชากรไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากแน่นอนครับ

ในรัชกาลที่ ๓ มีการปลูกอ้อยผลิตน้ำตาลเป็นการใหญ่ สิ่งที่สยามมีคือพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมและมีเหลือเฟือ หักร้างถางพงทำเอาตามสบาย ที่ตั้งของสยามก็สะดวกต่อการส่งออก แต่สิ่งที่ขาดคือ "คน" ครับ ผลก็คือมีการนำเข้าแรงงานจีนจำนวนมหาศาล ถ้าไม่มีแรงงานจีน อุตสาหกรรมน้ำตาลในสยามก็ไม่มีทางเติบโตขึ้นมาได้ เรื่องที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ น้ำตาลที่ผลิตได้ส่งออกเรียกได้ว่าทั้งหมดเลยครับ เพราะตลาดสยามเล็กมาก ระบบเศรษฐกิจก็ยังเป็นแบบแลกเปลี่ยนสินค้าที่จำเป็นกันเอง เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐหิจภายในของสยามมีน้อยมาก ผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมน้ำตาลแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงสยามเลย เพราะอยู่ในมือคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มเดียว

หลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง การเปิดเสรีการส่งออกข้าวทำให้เศรษฐกิจของสยามขยายตัวอย่างมาก ชาวนาขายข้าวได้กำไรดีก็ทำนากันเป็นการใหญ่ รัฐบาลเก็บภาษีได้มากก็ขยายโครงข่ายชลประทาน ขุดคลองเปิดพื้นที่ทำนาเป็นการใหญ่ อีกทั้งจัดระเบียบการใช้ที่ดินให้เต็มประสิทธิภาพโดยการออกเก็บภาษีที่ดินตามสภาพน้ำที่เอื้อต่อการทำนา ถึงขนาดนั้นพื้นที่ริมคลองขุดหลายแห่งก็ยังว่างเปล่า เพราะขาดผู้คนทำนาครับ

หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์จะเห็นว่าสงครามแถบนี้ผู้ชนะกวาดต้นผู้คนไป ไม่เหมือนสงครามในยุโรปหรือญี่ปุ่นที่ผู้รุกรานหวังยึดครองพื้นที่ กุญแจสำคัญก็คือความหนาแน่นของประชากรมากกว่านั่นเอง

มองกลับไปที่ญี่ปุ่น จากทศวรรษ 1880 มาถึงทศวรรษ 1920 ประชากรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นราว 40% ในขณะที่ GDP เพิ่มขึ้นถึง 180% ใน180% ที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นการขยายตัวจากภาคการเกษตรเป็นส่วนน้อย ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายสภาพจากประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพราะสัดส่วนรายได้จากภาคอุตสาหกรรมแซงภาคเกษตรไปเรียบร้อย ถึงเวลานั้นญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหาขาดแคลนอาหาร ซึ่งเป็นแรงกดดันอย่างหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องออกไปล่าอาณานิคมด้วยครับ

และความหนาแน่นของประชากรส่งผลบวกต่อการพัฒนาระบบรถไฟด้วย รัฐบาลญี่ปุ่นในช่วงต้นของยุคปฏิวัติเมจินั้นก็ไม่ได้มีทุนมากมายขนาดที่ว่าจะดำเนินการทุกอย่างด้วยตัวเองให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างที่เป็นอยู่ ทุนของญี่ปุ่นสะสมอยู่ในหมู่พ่อค้าเสียมาก ถ้าดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมด้วยไม่ได้ก็ไม่มีทางไปได้ไกลครับ

รถไฟสายแรกของญี่ปุ่นคือสายสะพานใหม่-ท่าราบ (Shinbashi-Yokohama) เปิดใช้ในปี 1872 พอถึงปี 1881 บริษัทเอกชนกระโดดเข้ามาร่วมวงทำกิจการรถไฟด้วย ขยายโครงข่ายรถไฟได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะถึงปี 1892 เพียง 20 ปีหลังทำรถไฟสายแรก ญี่ปุ่นมีทางรถไฟยาวกว่า 2,700 กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นเส้นทางของบริษัทรถไฟเอกชนถึง 2 ใน 3 ความสำเร็จของการรถไฟญี่ปุ่นนี้เกี่ยวเนื่องกับความหนาแน่นของประชากรญี่ปุ่นแน่นอน เพราะจำนวนผู้โดยสารและสินค้าที่ขนส่งผ่านรถไฟมีมากพอที่จะทำให้กิจการรถไฟมีกำไรดี จูงใจผู้ประกอบการภาคเอกชนให้ลงทุนขยายเครือข่ายรถไฟต่อไปอีก มองมาฝั่งสยามบ้าง เส้นทางรถไฟสายแรกของเรากว่าจะเปิดใช้ก็ปี 1896 ส่วนกิจการรถไฟของเอกชนผมเข้าใจว่ามีแค่ 3 สายคือ สายปากน้ำ สายบางบัวทอง และสายแม่กลอง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสายสั้นๆ แต่ละสายก็ต่างเจ้าของ เรียกว่าทำกันเจ้าละสายเดียวแล้วก็จบแค่นั้น ถ้ากิจการมีกำไรดีก็ควรจะต้องขยายเส้นทางไปมากกว่านี้ และในที่สุดก็ต้องเลิกกิจการไปหมดทั้ง 3 รายด้วยครับ

อยากจะขอแทรกข้อมูลเปรียบเทียบรถไฟญึ่ปุ่นกับรถไฟสยามไว้สักหน่อยครับ ปัจจุบันรถไฟญี่ปุ่นมีโครงข่ายยาวกว่า 20,000 กิโลเมตร (ไม่ต้องไปพูดให้ช้ำใจว่าเป็นเส้นทางรถหัวกระสุนสักกี่ %) ส่วนของไทยมีอยู่สี่พันกว่ากิโลเมตร แถมยังเป็นรางเดี่ยวเกือบทั้งหมดอีกต่างหาก ข้อมูลจาก wiki บอกว่า 3,600 กิโลเมตรมีมาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะอ้างว่าก่อนยุคอุตสาหกรรมไม่มีความคุ้มค่าในการขยายโครงข่ายก็เรื่องหนึ่ง แต่หลังจากนั้นไม่น่าเชื่อว่าระบบรางของเราก็ยังไม่มีความคืบหน้าเลยอยู่ดี ระบบลอจิสติกส์หลักยังเป็นรถบรรทุกที่บรรทุกเกินจนถนนพังต้องซ่อมซ้ำซาก ต้นทุนค่าขนส่งก็สูงกว่าระบบราง ช่วงน้ำมันแพงจนเกิดวิกฤตการณ์พลังงานเมื่อหลายสิบปีที่แล้วเราก็จ้างผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาศึกษาหาทางแก้ปัญหา ที่ปรึกษาทุกชุดทุกชาติ ลงความเห็นว่าต้องลงทุนระบบราง พอวิกฤตการณ์พลังงานผ่านไปรัฐบาลไทยก็ลืมเรื่องนี้ไปหมด น่าสงสัยว่านิเวศน์วิทยาทางการเมืองของไทยที่มีผู้รับเหมาสร้างถนน, เจ้าของกิจการรถบรรทุกขนส่ง และเจ้าของธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์เป็นนายทุนสำคัญ จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วยหรือไม่ครับ

ในด้านอุตสาหกรรม ราวปี 1878 รัฐบาลญี่ปุ่นซื้อเครื่องจักรสำหรับปั่นฝ้ายมาจากอังกฤษ ตั้งโรงงานสาธิตให้พวกพ่อค้าดูเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้  ถึงปี 1883 พวกพ่อค้าก็ตั้งโรงงานปั่นฝ้ายของเอกชนขึ้นบ้างในชื่อ Osaka Spinngin Co. โรงงานนี้ประสบความสำเร็จจนบริษัทอื่นแข่งกันตั้งโรงงานปั่นฝ้ายกันอุตลุด ถึงปี 1890 ก็กลายเป็นสินค้าออกสำคัญของญี่ปุ่น ส่วนโรงงานต้นแบบของรัฐนั้นก็ขายให้เอกชนไป ก็หมดภารกิจแล้วนี่ครับ รัฐทำเองยังไงก็ไม่มีทางมีประสิทธิภาพเท่าเอกชนอยู่แล้ว อุตสาหกรรมนี้กว่าบ้านเราจะทำก็ปาเข้าไปยุค 1960 แล้ว แต่ข้อเท็จจริงที่สำคัญอย่างหนึ่งคือไหมเป็นสินค้าออกสำคัญของญี่ปุ่น มีการผลิตแบบกึ่งอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปลายยุคโทะกุงะวะ มาติดปีกจากการนำเครื่องจักรอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยในการผลิต มีส่วนแบ่งถึง 40% ของยอดส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นในช่วงปี 1880 ครับ เรียกได้ว่าอุตสาหกรรมนี้เป็นการต่อยอดจากกิจการเดิมของญี่ปุ่นนั่นเอง

กิจการอีกภาคส่วนหนึ่งที่สำคัญในช่วงต้นของยุคปฏิวัติเมจิก็คือ อุตสาหกรรมการทำเหมือง โดยเฉพาะแร่เหล็ก ทองแดง และเหมืองถ่านหิน ทางสยาม ถึงจะมีการทำเหมืองแร่ดีบุกอย่างเป็นล่ำเป็นสันทางภาคใต้ แต่น่าเสียดายว่าแร่ดีบุกไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ อย่างแร่ที่ญี่ปุ่นมี ในขณะที่ญี่ปุ่นใช้เหมืองแร่เหล่านี้ต่อยอดอุตสาหกรรมในช่วงหลังของยุคปฏิวัติเมจิ ทางสยามได้แต่ขายแร่ดีบุก และทำอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งไม่สามารถใช้ผลักดันให้ประเทศรุดหน้าไปได้อย่างรวดเร็วเช่นญี่ปุ่นครับ

ดังนั้นการที่ญี่ปุ่นพัฒนารุดหน้าได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลานั้น ก็ต้องยอมรับว่าเป็นจังหวะของเขาด้วยเหมือนกัน คือเขามีปัจจัยทุกอย่างเหมาะสมกับการพัฒนาในช่วงเวลานั้นครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 01:36

ยอดเยี่ยมกระเทียมดองจริงครับ  ยิงฟันยิ้ม อาหารสมอง อาหารสมอง


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 07:50

ขอเสริมคุณ Crazyhorse ในเรื่องผลประกอบการในระบบรางของไทย  เมื่อเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายเหนือไปถึงเชียงใหม่  สายตะวันออกเฉียงเหนือมีการวางรางเชื่อมต่อจากนครราชสีมาไปถึงอุบลราชธานีและหนองคาย  รวมทั้งสายใต้เชื่อมต่อกับรถไฟมลายูแล้ว  มีหลักฐานว่ากรมรถไฟหลวงของไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า ๒๐๐% ทุกปี  มีพื้นที่นาเพิ่มจาก ๑๒ ล้านไร่ เป็น ๐๘ ล้านไร่  ภาคเหนือซึ่งเดิมปลูกข้าเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นและยังต้องนำเข้าข้าวจากภูมิภาคอื่นเพราะผลผลิตไม่พอบริโภค  กลับมีการปลูกข้าวจนเหลือส่งออก  การลงทุนวางระบบรางในครั้งนั้นว่ากันว่าสามารถคืนทุนได้ในราว ๑๐ ปีหลังจากเปิดเดินรถไฟไปทั่วประเทศ  ซึ่งก็ประจวบกับมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  การพัฒนาระบบรางจึงเริ่มชลอตัวลงและเริ่มถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างในยุค น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ  เพราะประเทศไทยที่ไม่สามารถนถยนต์ได้เองกลับเริ่มตัดโครงข่ายถนนเชื่อมจังหวัดต่างๆ  ทำให้บริษัทรถยนต์ขายรถยนต์ได้เป็นจำนวนมากมาจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 07:52

ชอบใจชื่อ Shinbashi-Yokohama = สะพานใหม่-ท่าราบ ของคุณม้า

รถไฟสายแรกของญี่ปุ่นคือสายสะพานใหม่-ท่าราบ (Shinbashi-Yokohama) เปิดใช้ในปี 1872

กิจการรถไฟในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นใน วันที่ ๑๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๗๒ เมื่อเส้นทางการเดินรถไฟสายแรกระหว่าง Shinbashi ซึ่งเป็นทั้งย่านธุรกิจและคลังสินค้าขนาดใหญ่ในกรุงโตเกียวกับเมืองท่า Yokohama เปิดให้บริการ โดยมีพิธีเปิดอย่างเอิกเกริกที่สถานีต้นทางทั้งสองแห่ง

ตลอดเส้นทางที่รถไฟสาย Shinbashi-Yokohama พาดผ่านได้ก่อให้เกิดการพัฒนาของชุมชนขนาดใหญ่ ไม่ว่า จะเป็น Shinagawa ซึ่งแต่เดิมก็มีสถานะเป็นชุมชนหน้าด่านทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว หรือ Kawasaki ที่พัฒนาไปสู่การเป็นย่านอุตสาหกรรมและยังคงบทบาทสำคัญกระทั่งปัจจุบัน

ผลพวงจากเส้นทางรถไฟ สาย Shinbashi-Yokohama ได้กลายเป็นมรดกที่ก่อให้เกิดกระบวนทัศน์ว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาของญี่ปุ่นในเวลาต่อมา เมื่อข้อเท็จจริงของการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมของญี่ปุ่น มุ่งเน้นที่การพัฒนาและวางระบบเส้นทางการคมนาคมในระบบรางอย่างต่อเนื่อง และทำให้สถานีรถไฟแต่ละแห่งมีสถานะไม่แตกต่างจากการเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยมีเส้นทางสัญจรของรถยนต์ เป็นระบบเสริมที่เชื่อมต่อการเดินทาง ไปยังพื้นที่แยกย่อยของแต่ละชุมชน

จาก ยุทธศาสตร์รถไฟ สร้างรางเพื่อสร้างเมือง-ผู้จัดการ

Shinagawa (สินค้า-แม่น้ำ)  กับ Kawasaki (แม่น้ำ-แหลม) ตั้งชื่อเป็นไทยว่ากระไรดี

บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 15:39


Shinagawa (สินค้า-แม่น้ำ)  กับ Kawasaki (แม่น้ำ-แหลม) ตั้งชื่อเป็นไทยว่ากระไรดี



สายชินวัตร - บ้านเหลิม ครับ  โกรธ  โกรธ  โกรธ  โกรธ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 19:42

เข้ามาบอกว่าตามอ่านอยู่ครับ 

เรื่องราวไปเร็วมาก ยังหาช่องกระโดดเกาะขบวนไม่ได้เลยครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 21:14

กระทู้ของคุณนวรัตนดอทซีมักวิ่งเป็นจรวดแบบนี้ละค่ะ  ยิ้ม
คุณตั้งเล่าถึงประสบการณ์หรือความประทับใจที่ได้รับจากชาวญี่ปุ่น เมื่อครั้งไปประจำการอยู่ที่ญี่ปุ่นก็ได้นี่คะ  คงจะมีข้อสังเกตมาให้อ่านกันได้หลายเรื่อง

กด like ให้คุณม้าค่ะ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 03 ก.พ. 13, 00:20

คุณ NAVARAT.C สรุปประเด็นไว้ครบแล้วครับ ผมแค่เสียดายว่ากระทู้จะรวบรัดเกินไป จึงหยิบประเด็นขึ้นมาขยายบ้างเท่านั้นเอง ผมคิดว่ายังมีอีกหลายประเด็นให้ลงรายละเอียดกันอยู่อีกนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 08:52

ยังมีประเด็นอีกหลายประเด็นที่นักเรียนหลังห้อง ชูมือขอให้ขยายความค่ะ
เรื่องแรกคือ man-year  ยังไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคืออะไร   และถ้าแปลเป็นไทยควรเรียกว่าอะไรคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 20 คำสั่ง