เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 56679 จริงหรือไฉน: ญี่ปุ่นกับไทยออกเส้นสต๊าร์ทเดียวกันเมื่อถูกฝรั่งดันให้วิ่ง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 15:08

รูปคณะผู้แทนเยอรมันมาทำสัญญากับญี่ปุ่นบ้าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 15:09

พวกซามูไรแปลงโฉมเป็นฝรั่งครับ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 15:11

ไอ้กระผมเนี่ยไม่กล้าพิมพ์คำว่าคนเกาหลี(ถ่อย) เลย กลัวเดี๋ยวจะถูกหาว่าเหยียด  รูดซิบปาก แต่ผมคิดเช่นเดียวกับท่านอาจารย์ใหญ่กว่าจริงๆ  ยิงฟันยิ้ม
พวกเกาหลีที่มาเจอที่ ตปท นี่จะแปลกๆ มาก หน้าตาบึ้งตึงตลอดเวลา ไม่ทักไม่ทาย เคยมาเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่บ้านนึง คนภรรยานี่เค้าจะไม่ทักไม่ยิ้มตอบไม่พูดคุยกับคนชาติอื่นเลย  คนอื่นที่เจอก็ออกจะคล้ายๆ กัน ดูไว้ตัวมากๆ  จะว่าภาษาไม่ดีก็ไม่น่า   ต่างกับญี่ปุ่นที่จะยิ้มแย้มแจ่มใส มีมารยาทกว่า น้องสาวเคยเป็นแอร์การบินไทยก็บอกว่าเบื่อพวกเกาหลีเพราะถ่อย


เกาหลีแม้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีกษัตริย์ของตัว เคยแม้แต่ยกทัพไปญี่ปุ่น แต่โดยส่วนใหญ่จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน และตอนหลังมาเป็นญี่ปุ่น ช่วงที่อิสระนี่คือช่วงที่จีนตกต่ำเอง  แต่โดยทั่วไปมีสภาพเป็นรัฐบรรณาการตลอด แม้จะเคยสร้างเรือรบเหล็กได้แต่ก็เป็นแค่ครั้งนึงในประวัติศาสตร์ ไม่ได้มีการต่อยอดหรือพัฒนาต่อ  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่ก็น้อยกว่าไทย ถ้า man-year หมายถึงการสั่งสมวิทยาการและความรู้ที่ถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น  เกาหลีไม่น่าจะมีมากไปกว่าไทยเท่าไหร่  แต่ถ้าหมายถึงเบ้าหลอมวัฒนธรรมที่ทำให้คนเกาหลีมีแนวคิดบางอย่าง เช่นชาตินิยม หรือยอมรับการโกงกินสินบนได้ยากกว่า  การหน้าบางรับผิดชอบต่อความผิดไม่ลอยหน้าต่อ หรือความเอาจริงเอาจังมุ่งมั่น เกาหลีอาจจะมีมากกว่าไทยเพราะสภาพทางภูมิประเทศมันเป็นอีกตัวแปรที่บังคับให้ต้องเป็นแบบนั้น  


เคยดูสารคดีอู่ต่อเรือฮุนไดของเกาหลี เค้าเริ่มจากการไม่มีอะไรเลยจริงๆ ภูมิความรู้เป็น 0  เพราะเกาหลีไม่เคยต่อเรือ   ตาเจ้าของเอาภาพเรือเต่าบนธนบัตรเกาหลีไปขอกู้เงิน bank บอกดื้อๆ ว่าจะสร้างอู่ต่อเรือเพราะว่าเมื่อหลายร้อยปีก่อนเกาหลีเคยต่อเรือเต่าเป็นเหล็กมาแล้ว ดังนั้นต้องทำได้    ปัจจุบันเรือสินค้าขนาดใหญ่หลายหมื่นตันต่อในเกาหลี รวมถึงเครื่องจักรเรือที่เกาหลีทำ และยังส่งออกเครนและปั้นจั่นด้วย   ถ้ามองว่าเกาหลีสะสม man-year มานาน ผมมองว่าวิทยาการความรู้ด้านการต่อเรือของเกาหลี เพิ่งจะสร้างมาโดยคนในรุ่นหลังสงครามเกาหลีนี่เอง


ที่ผมยกเกาหลีมาด้วยเพราะหลังสงครามเกาหลีนี่เรียกได้ว่าเกาหลีไม่เหลืออะไรเลยนอกจากคน สงครามทำลายอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคแทบทั้งหมดของเกาหลี และแม้จะมีพี่กันมาช่วย เกาหลียังต้องระดมลงทุนในการสร้างเสริมสมรรถนะของกองทัพอย่างขนานใหญ่ เพราะสงครามยังไม่จบ ภัยคุกคามยังสูง ผู้ชายทุกคนต้องถูกเป็นทหาร ทำให้ระบบแรงงานไม่ต่อเนื่องด้วยซ้ำ เมืองที่ท่านอาจารย์ใหญ่กว่ายกมา จะเห็นว่าไม่ค่อยมีอาคารใหญ่ๆ หรือปล่องไฟโรงงานเลย ท่าเรือก็เล็กนิดเดียว   ถ้ามีรูปเมืองโคราชหรือสงขลาในยุคเดียวกันมาเทียบ ของเราอาจจะใหญ่กว่าก็ได้  ยิ้มเท่ห์ (นักเรียนยังดื้อครับ)


เรื่องระบบการศึกษานี่ผมเชื่อท่านผู้รู้ว่าพี่ยุ่นเค้ามีและพัฒนามาก่อนเรา นี่ก็เลยเป็นข้อได้เปรียบอีกประการทำให้ไปรุ่งกว่า และอาจจะมีการผลิตที่มากกว่าไทย รวมถึงระบบภาษีสุดโหด แต่ถ้าทางวิทยาการ แม้จะต่อเรือ  ตีดาบได้ แต่วิทยาการพวกนี้ไม่สามารถทำให้สู้กับตะวันตกได้ แถมการปิดประเทศทำให้ญี่ปุ่นหยุดนิ่งมาหลายร้อยปี ญี่ปุ่นก่อนปิดประเทศ กับญี่ปุ่นตอนปิดประเทศ 200 ปีก่อนหน้า น่าจะไม่แตกต่างกันมาก ผมมองว่าปัจจัยหลักที่สำคัญยิ่งคือวิธีคิดของคนที่ต่างกัน ทำให้พัฒนาไปได้เร็วกว่า  ไม่ใช่คนเราแย่กว่าหรือโง่กว่า แต่ด้วยกรอบวิธีคิด เบ้าหลอมทางวัฒนธรรมแบบของเรา ทำให้ความมุ่งมั่นของเราน้อยกว่าเขา บวกกับการหยวนๆ ยอมรับความไม่ถูกต้องได้ง่ายกว่า ฉาบฉวย มองเปลือกมากกว่าแก่น  เราเลยคล้ายๆ จะกลายเป็นประเทศหยุดพัฒนาแล้ว
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 15:27

ไอ้กระผมเนี่ยไม่กล้าพิมพ์คำว่าคนเกาหลี(ถ่อย) เลย กลัวเดี๋ยวจะถูกหาว่าเหยียด  รูดซิบปาก แต่ผมคิดเช่นเดียวกับท่านอาจารย์ใหญ่กว่าจริงๆ  ยิงฟันยิ้ม
พวกเกาหลีที่มาเจอที่ ตปท นี่จะแปลกๆ มาก หน้าตาบึ้งตึงตลอดเวลา ไม่ทักไม่ทาย เคยมาเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่บ้านนึง คนภรรยานี่เค้าจะไม่ทักไม่ยิ้มตอบไม่พูดคุยกับคนชาติอื่นเลย  คนอื่นที่เจอก็ออกจะคล้ายๆ กัน ดูไว้ตัวมากๆ  จะว่าภาษาไม่ดีก็ไม่น่า   ต่างกับญี่ปุ่นที่จะยิ้มแย้มแจ่มใส มีมารยาทกว่า น้องสาวเคยเป็นแอร์การบินไทยก็บอกว่าเบื่อพวกเกาหลีเพราะถ่อย


เกาหลีแม้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีกษัตริย์ของตัว เคยแม้แต่ยกทัพไปญี่ปุ่น แต่โดยส่วนใหญ่จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน และตอนหลังมาเป็นญี่ปุ่น ช่วงที่อิสระนี่คือช่วงที่จีนตกต่ำเอง  แต่โดยทั่วไปมีสภาพเป็นรัฐบรรณาการตลอด แม้จะเคยสร้างเรือรบเหล็กได้แต่ก็เป็นแค่ครั้งนึงในประวัติศาสตร์ ไม่ได้มีการต่อยอดหรือพัฒนาต่อ  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่ก็น้อยกว่าไทย ถ้า man-year หมายถึงการสั่งสมวิทยาการและความรู้ที่ถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น  เกาหลีไม่น่าจะมีมากไปกว่าไทยเท่าไหร่  แต่ถ้าหมายถึงเบ้าหลอมวัฒนธรรมที่ทำให้คนเกาหลีมีแนวคิดบางอย่าง เช่นชาตินิยม หรือยอมรับการโกงกินสินบนได้ยากกว่า  การหน้าบางรับผิดชอบต่อความผิดไม่ลอยหน้าต่อ หรือความเอาจริงเอาจังมุ่งมั่น เกาหลีอาจจะมีมากกว่าไทยเพราะสภาพทางภูมิประเทศมันเป็นอีกตัวแปรที่บังคับให้ต้องเป็นแบบนั้น  

เรื่องหน้าบึ้งคงไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของชนชาติ เรื่องชอบโม้ก็ไม่น่าจะใช่เช่นกัน

คนเกาหลีบางคนเชื่ออย่างในคลิปข้างล่างจริง ๆ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 15:31

เคยดูสารคดีอู่ต่อเรือฮุนไดของเกาหลี เค้าเริ่มจากการไม่มีอะไรเลยจริงๆ ภูมิความรู้เป็น 0  เพราะเกาหลีไม่เคยต่อเรือ   ตาเจ้าของเอาภาพเรือเต่าบนธนบัตรเกาหลีไปขอกู้เงิน bank บอกดื้อๆ ว่าจะสร้างอู่ต่อเรือเพราะว่าเมื่อหลายร้อยปีก่อนเกาหลีเคยต่อเรือเต่าเป็นเหล็กมาแล้ว ดังนั้นต้องทำได้

คุณประกอบเชื่ออย่างนั้นจริงๆหรือครับ
ตอนคุณปุ๋ยได้นางงามจักรวาลใหม่ๆคนไทยเห่อมาก ในงานรับรองแสดงความยินดีครั้งหนึ่งคุณปุ๋ยเห็นคุณชาตรี นายแบงค์ใหญ่ธนาคารกรุงเทพก็ถามว่าปุ๋ยมีโครงการดีๆจะไปขอกู้เงืนได้ไหมค้า คุณชาตรีก็บอกว่าได้เลย

และแล้วคุณปุ๋ยก็ไปหาคุณชาตรีจริงๆ เอาโครงการทำน้ำหอมภรณ์ทิพย์ไปขอกู้เงิน อธิบายว่าจะอาศัยตนเองเป็นพรีเซนเตอร์ยังไงๆ ขายใครยังไงๆ ขวดละเท่าไหร่ยังไงๆ กำไรยังไงๆ แล้วจะคืนแบงค์ยังไงๆ คุณชาตรีเห็นด้วยหมด และบอกว่าธนาคารจะให้กู้ แต่คุณปุ๋ยจะใช้อะไรค้ำประกันหนี้หรือครับ คุณปุ๋ยก็อ้าปากหวอถามว่าต้องมีการค้ำประกันด้วยหรือคร้า คุณชาตรีก็พยักหน้า...เลยเป็นอันว่าจบข่าว

ที่ธนาคารให้ประธานฮุนไดกู้ ก็เพราะเชื่อว่าแม้บริษัทไม่เคยต่อเรือ แต่มีความสำเร็จด้านอื่นมาแล้ว มีเงินหมุนเวียนเยอะ จะซื้อเทคนิคัลโนว์ฮาวก็ไม่ยาก จ้างมือระดับเทพในโลกกี่คนมาทำงานก็ได้ แต่สุดท้ายที่สำคัญที่สุด หลักทีทรัพย์ที่วางค้ำประกันต้องคุ้มค่าด้วยครับเกิดบริษัทพลาดแล้วเจ้งขึ้นมา

ว่าก็ว่าเถอะ พูดถึงธนาคารกรุงเทพแล้ว ผู้ก่อตั้งคือคุณชินบิดาคุณชาตรีนั่น ท่านเคยเป็นจับกังในท่าเรือมาก่อนครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 15:54

อ้างถึง
เมืองที่ท่านอาจารย์ใหญ่กว่ายกมา จะเห็นว่าไม่ค่อยมีอาคารใหญ่ๆ หรือปล่องไฟโรงงานเลย ท่าเรือก็เล็กนิดเดียว   ถ้ามีรูปเมืองโคราชหรือสงขลาในยุคเดียวกันมาเทียบ ของเราอาจจะใหญ่กว่าก็ได้


เอ้า...จัดให้ แต่ไม่ได้ปีเดียวกันมา โคราชของเราถ่ายหลังเค้า20ปียังไม่มีอะไรเท่าไหร่เลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 16:04

ที่ผมยกเกาหลีมาด้วยเพราะหลังสงครามเกาหลีนี่เรียกได้ว่าเกาหลีไม่เหลืออะไรเลยนอกจากคน

ก็คนนั่นแหละครับที่เป็นสุดยอดของทรัพยากรเหนือสิ่งอื่นใด คนอย่างประธานฮุนได คนอย่างนายชิน โสภณพนิช มีอีกคนหนึ่งครับ จาง ยุงฟา ประธานของสายการเรือสินค้าEvergeen Lines ของใต้หวันที่ขึ้นมาติดอันดับโลกและEVA Airlines สายการบินชั้นนำ ผู้ก้าวขึ้นมาจากจับกังท่าเรือ

มีคนเก่งๆ ดีๆขึ้นมา (ไม่นับพวกขี้โม้ในคลิ๊ปของคุณเพ็ญ) เดี๋ยวอะไรต่อมิอะไรก็มาเอง
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 16:19

เคยดูสารคดีอู่ต่อเรือฮุนไดของเกาหลี เค้าเริ่มจากการไม่มีอะไรเลยจริงๆ ภูมิความรู้เป็น 0  เพราะเกาหลีไม่เคยต่อเรือ   ตาเจ้าของเอาภาพเรือเต่าบนธนบัตรเกาหลีไปขอกู้เงิน bank บอกดื้อๆ ว่าจะสร้างอู่ต่อเรือเพราะว่าเมื่อหลายร้อยปีก่อนเกาหลีเคยต่อเรือเต่าเป็นเหล็กมาแล้ว ดังนั้นต้องทำได้

คุณประกอบเชื่ออย่างนั้นจริงๆหรือครับ


แห่ะๆ อันนั้นน่าจะเป็น script ให้ดูหวือหวาน่าดึงดูดในสารคดีครับ การจะกู้เงินมันไม่ใช่เดินดุ่มๆ เอาแบ็งค์ไปโชว์ใบเดียวหรือเอาตัวเองค้ำ ฮุนไดมีกิจการมาหลายอย่าง  ได้แรงหนุนจากรัฐบาล ไม่แปลกที่จะกู้ได้ ที่ยกมาเพราะว่าถ้าด้าน man-year การต่อเรือ เค้าเริ่มจากไม่มีอะไรเลยเช่นกัน  จนปัจจุบันไม่แน่ใจว่าเป็นอันดับ 1 ต่อเรือของโลกหรือเปล่า ใช้เวลาไม่ถึง 50 ปี แสดงว่าภูมิความรู้ต่างๆ สามารถสั่งสมได้ในเพียงชั่วอายุคนเดียวถ้ามุ่งมั่นจะทำ  นี่คือสิ่งที่แถวๆ บ้านเราขาด  คือคนมุ่งมั่นมี แต่ระบบหลายๆ อย่างและสิ่งแวดล้อมเช่นการเมือง ระบบสังคมมันไม่เอื้อ ถ้าความสามารถอะไรที่ต้องทำเป็นทีม  เก่งคนเดียวไม่ได้แล้วหละก็ เรามักจะมีปัญหาหมด


ที่ยกมาไม่ได้หมายความว่าบ้านเรามันเลวมันห่วย แต่เราพัฒนาระบบสังคมและวิธีคิดที่หล่อหลอมพวกเรามาแบบนั้นหลายร้อยปีแล้ว ถ้าเราไม่ต้องติดต่อกับต่างชาติมาก ไม่ต้องมีการแข่งขัน ระบบแบบของเราเราก็ยังมีความสุขอยู่ต่อไปได้ตามอัตภาพ ง่ายๆ สบายๆ ชิวๆ  แต่พอมาถึงโลกยุคไร้พรมแดน ใครหยุดอยู่กับที่จะถูกทิ้งและถูกดูดกลืนทรัพยากร  สิ่งที่เราคุ้นเคยมันกลายเป็นตัวถ่วงการพัฒนาให้ต่อสู้แข่งขันได้ไม่เต็มที่


เท่าที่ผมนั่งเทียนวิเคราะห์เอาเอง วิทยาการต่างๆ ที่รุดหน้าแบบก้าวกระโดด จุดเริ่มต้นมักจะมาจากความสำเร็จของคนไม่กี่คนแต่เป็นยอดคน  ตะวันตกเริ่มมาแซงตะวันออกเป็นผลจากระบบการพัฒนาวิทยาศาสตร์และระบบสังคม การเมืองที่เอื้อต่อนักวิทยาศาสตร์เมื่อซักสามร้อยปีมานี่เอง และหลักๆ จริงๆคือเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมาที่กระโดดไกลจริงๆ จากการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำ ถ้ามองย้อนไป 400 ปีที่แล้วจนย้อนไปไกลกว่านั้น จีนยังเป็นพี่เบิ้มด้านวิทยาการต่างๆ มากกว่าตะวันตกอยู่เลย  ความสำเร็จแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อคนเป็นล้านๆ มักจะเริ่มจากความสำเร็จของคนไม่กี่คนหรือกลุ่มคนจำนวนไม่มากที่เป็นผู้จุดประกาย


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 19:50

สภาพบ้านเรือนในชนบทของเกาหลี ช่วงสงครามเกาหลี ปี 1950

แต่มีไฟฟ้าใช้แล้ว แสดงว่าน่าจะเจริญกว่าไทย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 19:50

อีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าเกื้อกูลความเจริญของคนญี่ปุ่น คือระบบชนชั้น แม้จะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยต้องเลิกไปในที่สุด แต่การที่ระบบนี้ใช้บังคับติดต่อกันเป็นร้อยๆปี ห้ามมิให้คนในชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเปลี่ยนอาชีพและลงโทษผู้ละเมิดอย่างรุนแรง ก็เป็นเหตุทำให้ชนชาตินี้ได้อะไรดีๆบางสิ่งบางอย่างมา

ชนชั้นชาวนาก็สืบทอดอาชีพชาวนาในตระกูลของตน ชนชั้นช่างฝีมือก็สืบทอดอาชีพนั้นๆในตระกูลของตน ตระกูลใครตีดาบก็ตีดาบ ใครทำเหล้าสาเกก็ทำเหล้าสาเก ใครเป็นช่างปั้นก็ทำหม้อไหภาชนะอะไรกันไป ฯลฯฯลฯ พอหลายชั่วคนเข้า ผลิตภัณฑ์ทุกตัวก็บรรลุสุดยอดคุณภาพของมัน แต่คนรุ่นต่อไปก็ยังเชื่อว่ายังสามารถทำให้ดีกว่านี้ได้อีกเสมอ

เมื่อญี่ปุ่นปฏิรูป คนในชนชั้นนี้ก็ผันอาชีพเข้าไปทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และทำได้ดีแบบก้าวกระโดดเพราะมีman-yearเป็นทุนอยู่แล้ว ก่อนสงครามของญี่ปุ่นได้ชื่อว่ามีคุณภาพต่ำแต่ที่ขายได้เพราะถูก(เหมือนของจีนบางอย่างในทุกวันนี้)  ไม่นานจิตสำนึกเดิมๆที่ฝังอยู่ก็ผุดขึ้นมา เกิดสโลแกน “cater for quality” หลังสงครามผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่นมุ่งสู่คุณภาพ แข่งกันแสวงหาความเป็นเลิศ รถยนต์ กล้องถ่ายรูป เครื่องไฟฟ้า นาฬิกา ที่บอกว่าเกาหลีหายใจรดต้นคอน่ะ เป็นความรู้สึกของคนไทยครับ คนญี่ปุ่นคงจะเฉยๆ เขาวางสินค้าคนละตลาดกัน พอคนเริ่มมีเงินมีทอง เขาจะเลือกซื้อแต่ของที่มีคุณภาพสูงแม้ราคาจะแพงกว่าก็ตาม แม้ชาวไร่ชาวนาชาวสวนก็ผสมพันธุ์หรือค้นวิธีการใหม่ๆให้ได้ผลิตผลชั้นเลิศ ราคาแพงอย่างไรก็มีคนของเขารอจะซื้อ สตรอเบอรี่ของญี่ปุ่นลูกใหญ่หวานกรอบที่สุดในโลกทั้งๆที่ไม่ใช่ถิ่นกำเนิด แต่แพงระยับ แตงโมที่เลี้ยงให้เติบโตในกล่องจนเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หรือรูปทรงอื่นๆ ขายใบละหลายๆพันบาทก็มีคนซื้อ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 19:52

เมื่อเกือบสามสิบปีที่แล้ว ญี่ปุ่นได้เรื่มระบบควบคุมคุณภาพที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ผมได้ดูหนังและฟังการบรรยายของเขาที่เริ่มด้วยฉากยิงปืนของแชมป์โอลิมปิก โป้งเข้าจุดดำ โป้งเข้าจุดดำ เขาถามว่านี่เป็นพรสวรรค์หรือ ตามด้วยการตีลูกกอล์ฟจากบังเกอร์ที่เรียกว่าการระเบิดทรายของไทเกอร์ วูดส์ กี่ลูกๆก็ขึ้นมาห่างธงนิดเดียวหรือลงหลุมไปเลย เขาถามว่านี่เป็นพรสวรรค์หรือ คำเฉลยเขาบอกว่าก็ใช่อยู่ แต่แชมป์ยิงปืนหรือไทเกอร์ซ้อมทำอย่างนั้นทุกวัน วันละพันครั้ง จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า“ความผิดพลาด”น้อยที่สุด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 19:52

ระบบอุตสาหกรรมของฝรั่ง จะค้นคิดอุปกรณ์ที่ดีที่สุดมาตรวจจับสินค้าในสายการผลิตแต่ละขั้นตอน เพื่อค้ดตัวที่ไม่ได้มาตรฐานออก เช่นพวกเบาไปหนักไป เล็กไปใหญ่ไป ฯลฯ ดังนั้น ยิ่งระบบควบคุมคุณภาพดีมากเท่าไหร่ สินค้าในระหว่างผลิตก็จะถูกคัดออกมากเท่านั้น ต้นทุนการผลิตก็สูงเป็นเงาตามตัว

ญี่ปุ่นพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพขึ้นมาใหม่มุ่งหลักการไปที่สำนึกรับผิดชอบของคนที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม พัฒนาความสามารถโดยไม่พึ่งพรสวรรค์ ว่าทำอย่างไร สินค้าระหว่างผลิตจะเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด หรือไม่ผิดเลย จนอุปกรณ์ตรวจจับมีไว้โก้ๆเท่านั้น
ระบบนี้เรียกว่า Quality Control Circle (QCC) ผมไปเห็นในช่วงที่เขาเริ่มรณรงค์ให้ทุกบริษัทใช้ระบบนี้ โดยสมาคมอุตสาหกรรมซึ่งผมเชื่อว่ารัฐบาลเป็นสนับสนุน แต่ละครั้งที่ไปดูโรงงานของเขาจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสาระ เดี๋ยวนี้ผมไม่ทราบว่าระบบของเขาได้พัฒนาไปถึงขั้นไหนต่อไหนแล้ว ห่างเวทีไปนาน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 19:56

แต่ยังมีสิ่งที่ไม่รู้ไม่เข้าใจติดอยู่ในสมองอีกอย่างหนึ่งในกรณีย์ของผมคือ ชิ้นงานชิ้นเดียวกัน คนงานที่ญี่ปุ่นทำ2คนต่อ1ชิ้น ในระยะเวลาหนึ่ง ส่วนโรงงานที่ผมทำงานอยู่ คนงานไทยทำ1ชิ้นต้องใช้3คน แถมเวลาก็ใช้นานกว่าเขา มีข้อแก้ตัวมากมายว่าทำอย่างเค้าไม่ได้หรอกเพราะอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อนายช่างญี่ปุ่นมาเมืองไทยผมเชิญให้มายืนจับเวลาดู เขาก็ส่ายหน้า บอกว่าก็เห็นทำงานกันดีไม่มีอู้สักคน ก็ไม่รู้เหมือนกันทำไมคนไทยทำไม่ได้งานเท่าคนญี่ปุ่น แต่เขาก็บอกว่าค่าแรงสามคนนั่นรวมกันแล้วยังน้อยกว่าจ้างญี่ปุ่นสองคนมาก แล้วก็หัวเราะหึๆไม่พูดต่อ

ปวดหัวกับเรื่องนี้มาก แต่อาศัยผลิตภัณฑ์ที่ผมทำตอนนั้นไม่มีคู่แข่ง ผมจึงไม่เดือดร้อนจริงจัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 21:46

อีกประการหนึ่งที่เป็นผลดีซึ่งติดมาจากระบบชนชั้นเหมือนกัน เพราะไม่มีการเปลี่ยนอาชีพมานานหลายชั่วคน เมื่อปฏิรูปแล้วมาทำบริษัท คนญี่ปุ่นก็จะไม่นิยมเปลี่ยนงานเหมือนกัน เกิดขนบที่เรียกว่า Lifetime employment หรือการจ้างงานชั่วชีวิต

บริษัทจะรับคนที่เพิ่งจบการศึกษาสดๆเข้ามาฝึกงาน หลังบรรจุแล้วก็อยู่ไปจนเกษียณ ไม่ต้องคิดเปลี่ยนงานเพราะถึงอยากเปลี่ยนก็คงไม่มีบริษัทไหนรับ

ดังนั้นพนักงานจะภักดีกับองค์กรแบบถวายชีวิต ประธานบริษัทมีความสำคัญเท่าๆกับบิดาผู้ให้กำเนิด เพราะเป็นผู้ที่ให้อนาคต เมื่อบริษัทต้องการจะใช้ให้ทำอะไรก็จะทำอย่างไม่ต้องคิดถึงสิ่งอื่น นอกจากประโยชน์ของบริษัท ในช่วงเกิดวิกฤตน้ำมันครั้งแรก โลกปรับตัวไม่ทัน เศรษฐกิจดิ่งเหวกันระนาวรวมทั้งไทยด้วย ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่จึงโดนสองเด้ง ประเทศลูกค้าหมดกำลังซื้อและตนเองก็ต้นทุนพุ่งปรี๊ด บริษัทต่างๆต้องรัดเข็มขัด พนักงานอาสาทำโอเวอร์ไทม์โดยไม่มีเงินตอบแทนถึง3ทุ่มจึงจะกลับบ้าน บางหน้าที่แม้ไม่รู้จะอยู่ไปทำไมก็อยู่ เพราะคนอื่นเขาอยู่กัน ทำอย่างนี้เป็นปีจนเศรษฐกิจเริ่มฟื้นจึงเลิก ผมจึงเห็นด้วยที่ว่าพนักงานบริษัทคือซามูไรในยุคนี้ ซามูไรสละชีวิตเพื่อนายได้ฉันใด พนักงานญี่ปุ่นก็เสียสละเพื่อบริษัทได้ฉันนั้น

เรื่องอย่างนี้อย่าไปหวังกับคนชาติอื่น

ในเมืองไทย พนักงานhop(กระโดดเหมือนกระต่าย)ไปเรื่อยๆจากบริษัทโน้นไปบริษัทนี้ ใครจ่ายดีกว่าหน่อยนึงก็ไปแล้ว นี่ไม่พูดถึงที่กู้หนี้ยืมสินเพื่อนไว้มากๆ วันร้ายคืนร้ายก็หายตัวไป เพื่อนลมจับกันเป็นแถว

ส่วนที่ร้ายที่สุดคือ มีบริษัทไทยน้อยมากที่กล้าทุ่มทุนทำงานวิจัยและพัฒนา(research and development)เพราะไม่แน่ว่าพนักงานของตนจะทำงานจนจบโครงการหรือไม่ หรือจะลาออกไปโดยเอาความลับไปเป็นผลงานให้บรืษัทอื่น ดังนั้น ถ้าไม่คิดว่าแน่จริงก็เลือกที่จะซื้อเทคโนโลยี่จากชาติอื่นดีกว่า เพราะเสี่ยงน้อยกว่า

แต่ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เราก็คงเป็นผู้ซื้อไปตลอด เพราะผลิตอะไรดีๆเท่าๆกับของนอกไม่ได้สักที


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 31 ม.ค. 13, 22:14

อ้างถึง
รูปคณะราชทูตที่ตามกองเรืออเมริกัน(โดยเรือของญี่ปุ่นเอง)ไปยังอเมริกาในครั้งนั้นด้วย

เอ ใครจำหนังค่าวบอยที่โตชิโร มิฟูเน่รับบทซามูไรคุ้มกันเครื่องราชบรรณาการ ขณะเดินทางบนรถไฟข้ามประเทศไปยังทำเนียบประธานาธิบดีได้บ้าง หนังเรื่องนี้ ชาร์ล บรอนสันรับบทผู้ร้าย เชือดเฉือนบทบาทกันสนุกมาก แต่มันสามสิบกว่าปีแล้วกระมัง

เรือง Red Sun นี่หนังตัวอย่างครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง