เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 56716 จริงหรือไฉน: ญี่ปุ่นกับไทยออกเส้นสต๊าร์ทเดียวกันเมื่อถูกฝรั่งดันให้วิ่ง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 15:59

ภาพเปรียบเทียบเด็ก ๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:00

ผมไม่สามารถจะปั่นต้นฉบับให้ทันใจตนเองได้ครับ ทราบว่าท่านผู้อ่านอยากจะอภิปรายกันเต็มทีแล้ว จึงยกบทความทั้งชุดของพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒมาเป็นบทสรุปไปเลย เพราะผมเห็นว่าท่านวิเคราะห์ไว้อย่างเป็นกลางมากทีเดียว

ผมไม่มีอะไรจะแย้งท่านเลยนอกจากนี๊ดเดียวเท่านั้นที่ท่านว่า “…ภายในเวลา ๓๐ ปี ญี่ปุ่นมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด มีโรงงานถลุงเหล็ก ต่อเรือรบได้เอง มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สามารถสร้างกองเรือรบที่ทรงอานุภาพ รบชนะรัสเซียซึ่งเป็นมหาอำนาจตะวันตกชาติหนึ่งในยุคนั้นได้” ซึ่งตามข้อเท็จจริง เรือรบสำคัญๆที่เข้าสู่สมรภูมิชุดนั้นของญี่ปุ่นต่อจากอังกฤษและฝรั่งเศสทั้งหมด คือเขามีเงินเยอะน่ะครับ ทุ่มงบมหาศาลเข้าไปก็ได้กองทัพที่ใหญ่โตขึ้นมารวดเร็วทันใจ

ระหว่างนั้นก็วิจัยและพัฒนาไป เรื่อรบรุ่นใหม่หลังสงครามครั้งนี้ก็เป็นเรือที่ญี่ปุ่นต่อขึ้นเองแล้ว

ผมเคยพบข้อมูลว่า อันที่จริงรัสเซียมีเรือรบที่ทรงอานุภาพกว่ามากถ้านับขนาดและจำนวนปืน แต่ญี่ปุ่นชนะเพราะดินปืนซึ่งญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นจากknowhowของพลุอันเป็นความชำนาญแต่ดั้งเดิม ได้นัดดินที่ยิงออกไปแล้วเกิดควันน้อย ไม่บังทัศนวิสัยนาน ทำให้การยิงแต่ละตับเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าฝ่ายรัสเซียมาก และแม่นยำสูงเพราะเห็นเป้าชัด

เรื่องพลิกล็อกอย่างมโหฬารจึงเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การยุทธทางเรือระดับโลก
หลังสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นจึงพร้อมที่จะต่อเรือรบของตนขึ้นเอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:09

ผมไม่สามารถจะปั่นต้นฉบับให้ทันใจตนเองได้ครับ ทราบว่าท่านผู้อ่านอยากจะอภิปรายกันเต็มทีแล้ว จึงยกบทความทั้งชุดของพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒมาเป็นบทสรุปไปเลย เพราะผมเห็นว่าท่านวิเคราะห์ไว้อย่างเป็นกลางมากทีเดียว

ผมไม่มีอะไรจะแย้งท่านเลยนอกจากนี๊ดเดียวเท่านั้นที่ท่านว่า “…ภายในเวลา ๓๐ ปี ญี่ปุ่นมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด มีโรงงานถลุงเหล็ก ต่อเรือรบได้เอง มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สามารถสร้างกองเรือรบที่ทรงอานุภาพ รบชนะรัสเซียซึ่งเป็นมหาอำนาจตะวันตกชาติหนึ่งในยุคนั้นได้” ซึ่งตามข้อเท็จจริง เรือรบสำคัญๆที่เข้าสู่สมรภูมิชุดนั้นของญี่ปุ่นต่อจากอังกฤษและฝรั่งเศสทั้งหมด คือเขามีเงินเยอะน่ะครับ ทุ่มงบมหาศาลเข้าไปก็ได้กองทัพที่ใหญ่โตขึ้นมารวดเร็วทันใจ



ตรงนี้ต้องวิเคราะห์กันด้วยแล้วครับว่า การที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีเงินในคลังมหาศาลนั้น มีที่มาจากอะไร ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:39

อ้างถึง
ญี่ปุ่นมีประชากรราว 50 ล้าน ในขณะที่สยามน่าจะมีราว 10 ล้านเท่านั้น

รัฐก็มีรายได้จากการเก็บภาษีเท่านั้นแหละครับ ภาษีการค้า ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา นั่นเป็นหลัก ญี่ปุ่นมีคนที่มีคุณภาพจากฐาน50ล้านคน มีระบบเศรษฐกิจการค้า อุตสาหกรรมที่ใหญ่โตภายในประเทศ ผมทราบว่าฐานภาษีของญี่ปุ่นโหดน่าดู ทำเท่าไหร่รัฐบาลปาดไปแยะราวกับรัฐบาลสังคมนิยม ต่อรองใต้โต๊ะก็ไม่มี ปีหนึ่งๆรายได้ของรัฐจึงเป็นกอบเป็นกำ นำไปพัฒนาประเทศได้มาก ยิ่งหลังสงครามยิ่งแทบไม่มีงบทางการทหาร รายจ่ายของรัฐก็ทุ่มไปในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนหมด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:42

เอารูปที่เตรียมไว้มาลงต่ออีกหน่อย คงไม่จำเป็นต้องอ้างอิงแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:44

รถรางในกรุงเทพที่ใช้ม้าลาก ญี่ปุ่นมีก่อนเราครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:46

รถรางที่ใช้ไฟฟ้า เรามีก่อนญี่ปุ่นนิดหน่อย แต่ของเขาดีกว่าของเรามาก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:47

ในโตเกียวอีกสายหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:51

ค่ายทหารของญี่ปุ่น เห็นโรงเรือนที่เป็นสนามเป้า ไว้ซ้อมยิงปืนยาว ถ่ายในช่วงสยามไปปราบกบฎเงี้ยว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 16:57

รูปช้างศึกสมัยร4 กับทหารม้าสมัยเอโดะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 17:01

สมัยเดียวกัน

ซามูไรกับทหารจิงโจ้รักษาวัง(ฝ่ายใน)

จิงโจ้แปลว่าตัวประหลาด สัตว์ที่กระโดดโหยงๆมีลูกในกระเป๋าหน้าท้องคนไทยเลยเรียกจิงโจ้
ซามูไรในชุดที่เห็น ถ้าใส่มาเดินในกรุงเทพตอนนั้นคงถูกเรียกว่าทหารจิงโจ้เหมือนกัน


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 17:36

เมื่อยังไปไม่ถึงบทวิเคราะห์ เลยยังไม่ออกความเห็น  กระทู้นี้น่าจะยาวและเป็นอาหารสมองแก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องมุมมองอื่นๆ ที่อาจจะไม่เคยมองหรือนึกถึงมาก่อน ทำให้อ่านแล้วต้องร้อง อ้อ มันแบบนี้นี่เอง


พูดถึงเรื่องกองทัพเรือญี่ปุ่นที่ชนะยุทธนาวีเมื่อปี 1905 ที่เรียกว่ายุทนาวีซึชิม่าหรือทซึชิมา(Battle of Tsushima) ก่อน ยุทนาวีนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามระหว่างรัสเซียญี่ปุ่นที่เริ่มขัดแย้งกันมาตั้งแต่ปี 1904 เพราะรัสเซียเริ่มขยายอิทธิพลมาทางตะวันออกไกลของตัว รุกคืบมาจนถึงแถวๆ เกาหลี แมนจูเรีย เลยขัดกับญี่ปุ่นที่ต้องการแผ่อิทธิพลไปแถวนั้นเช่นกันจนนำมาสู่สงคราม


ช่วงนั้นเรือรบเรือประจัญบาญขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นเป็นเรือที่ต่อมาจากยุโรปเป็นส่วนใหญ่  แต่นอกจากยุทวิธีที่เหนือกว่า  จำนวนเรือรบที่มากกว่า  ปัจจัยอื่นที่ญี่ปุ่นมีเหนือรัสเซียคือระบบการสื่อสารที่ดีกว่ารัสเซีย  ญี่ปุ่นมีระบบสื่อสารทางวิทยุในรูปแบบสัญญาณโทรเลขที่พัฒนาขึ้นเองแต่รัสเซียใช้ของซื้อมาจากเยอรมันที่ไม่คล่องตัวเท่า  และลูกเรือญี่ปุ่นที่ได้รับการฝึกฝนดีกว่ารัสเซียมาก ประกอบกับกองเรือรัสเซียเพิ่งเดินเรืออ้อมโลกมาจากฝั่งมหาสมุทแอตแลนติคยังไม่ทันได้พักเตรียมความพร้อมก็ต้องเข้าสู่สมรภูมิเลย  ขวัญกำลังใจทหารก็ต่ำ จำไม่ผิดรู้สึกทหารจะไม่ได้เงินเดือนมานานแล้วเพราะรัสเซียถังแตก


ผลของการรบกองเรือรัสเซียเสียหายไป 2 ใน 3 เรือประจัญบาญถูกจมไป 7 ลำจาก 8 ลำ ทหารเรือสละชีพไป 4 พันกว่าคน ญี่ปุ่นเสียเรือตอร์ปิโดไปแค่ 3 ลำ ทหารร้อยกว่าคน


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 19:15

อ้างถึง
อ้างถึง
เมื่อยังไปไม่ถึงบทวิเคราะห์ เลยยังไม่ออกความเห็น

 
ผมไม่สามารถจะปั่นต้นฉบับให้ทันใจตนเองได้ครับ ทราบว่าท่านผู้อ่านอยากจะอภิปรายกันเต็มทีแล้ว จึงยกบทความทั้งชุดของพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒมาเป็นบทสรุปไปเลย เพราะผมเห็นว่าท่านวิเคราะห์ไว้อย่างเป็นกลางมากทีเดียว

คุณประกอบอ่านบทความของพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒหรือยังครับ อ่านจบไหม ถ้าอ่านจบแล้วก็ออกความเห็นได้เลย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 21:56

กระทู้วิ่งเร็วเป็นจรวด   ไล่ตามอ่านอย่างเดียวยังแทบไม่ทัน
รอฟังความเห็นคุณประกอบค่ะ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 21:59

ผมไม่สามารถจะปั่นต้นฉบับให้ทันใจตนเองได้ครับ ทราบว่าท่านผู้อ่านอยากจะอภิปรายกันเต็มทีแล้ว จึงยกบทความทั้งชุดของพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒมาเป็นบทสรุปไปเลย เพราะผมเห็นว่าท่านวิเคราะห์ไว้อย่างเป็นกลางมากทีเดียว

ผมไม่มีอะไรจะแย้งท่านเลยนอกจากนี๊ดเดียวเท่านั้นที่ท่านว่า “…ภายในเวลา ๓๐ ปี ญี่ปุ่นมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด มีโรงงานถลุงเหล็ก ต่อเรือรบได้เอง มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สามารถสร้างกองเรือรบที่ทรงอานุภาพ รบชนะรัสเซียซึ่งเป็นมหาอำนาจตะวันตกชาติหนึ่งในยุคนั้นได้” ซึ่งตามข้อเท็จจริง เรือรบสำคัญๆที่เข้าสู่สมรภูมิชุดนั้นของญี่ปุ่นต่อจากอังกฤษและฝรั่งเศสทั้งหมด คือเขามีเงินเยอะน่ะครับ ทุ่มงบมหาศาลเข้าไปก็ได้กองทัพที่ใหญ่โตขึ้นมารวดเร็วทันใจ

ระหว่างนั้นก็วิจัยและพัฒนาไป เรื่อรบรุ่นใหม่หลังสงครามครั้งนี้ก็เป็นเรือที่ญี่ปุ่นต่อขึ้นเองแล้ว

ผมเคยพบข้อมูลว่า อันที่จริงรัสเซียมีเรือรบที่ทรงอานุภาพกว่ามากถ้านับขนาดและจำนวนปืน แต่ญี่ปุ่นชนะเพราะดินปืนซึ่งญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นจากknowhowของพลุอันเป็นความชำนาญแต่ดั้งเดิม ได้นัดดินที่ยิงออกไปแล้วเกิดควันน้อย ไม่บังทัศนวิสัยนาน ทำให้การยิงแต่ละตับเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าฝ่ายรัสเซียมาก และแม่นยำสูงเพราะเห็นเป้าชัด

เรื่องพลิกล็อกอย่างมโหฬารจึงเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การยุทธทางเรือระดับโลก
หลังสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นจึงพร้อมที่จะต่อเรือรบของตนขึ้นเอง


ดูเรื่องนี้จะเข้าใจมากขึ้นครับ  สงคราม Russo - Japanese ครั้งนั้น ญี่ปุ่นวางแผนมาดีกว่ารัสเซียครับ





เสียดายว่า ละครมาฉายช่วงเวลาที่ไม่ค่อยดีเท่าไร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง