เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 13
  พิมพ์  
อ่าน: 56732 จริงหรือไฉน: ญี่ปุ่นกับไทยออกเส้นสต๊าร์ทเดียวกันเมื่อถูกฝรั่งดันให้วิ่ง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 11:09

ขอทุ่นแรงก่อน

ชั่วโมงแรงงาน
จากวิกิพีเดีย

ชั่วโมงแรงงาน (อังกฤษ: Man-hour) หมายถึงปริมาณของงานที่แรงงานโดยทั่วไปสามารถทำได้ภายในหนึ่งชั่วโมงหน่วยดังกล่าวเป็นการประมาณค่าจำนวนของคนงานซึ่งไม่ถูกรบกวนจะต้องใช้ในการกระทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้เสร็จลุล่วง ยกตัวอย่างเช่น การวิจัยและการเขียนเอกสารวิทยาลัยอาจต้องใช้ 20 ชั่วโมงแรงงาน การเตรียมงานเลี้ยงของครอบครัวอาจใช้ 10 ชั่วโมงแรงงาน

ชั่วโมงแรงงานไม่รวมไปถึงเวลาพักที่คนงานจะต้องใช้จากการทำงาน เช่น เพื่อพักผ่อน รับประทานอาหาร หรือเพื่อทำธุระส่วนตัวอื่น ๆ หากแต่นับเฉพาะเวลาที่ใช้ในการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผู้จัดการนับชั่วโมงแรงงานและเพิ่มเวลาพักเพื่อประมาณค่าเวลาที่ใช้เพื่อทำงานให้เสร็จลุล่วง รวมไปถึง ในขณะที่การเขียนเอกสารคอร์สของวิทยาลัยอาจต้องใช้ 20 ชั่วโมงแรงงาน แต่ก็เกือบจะแน่นอนว่างานดังกล่าวจะไม่เสร็จภายในเวลา 20 ชั่วโมงติดต่อกัน เนื่องจากความคืบหน้าของงานจะถูกขัดขวางด้วยงานอื่น มื้ออาหาร การนอนหลับ และการพักผ่อน
หน่วยที่คล้ายกัน

แนวคิดของชั่วโมงแรงงานยังสามารถใช้ได้กับ man-day, man-week, man-month, man-yearเป็นหน่วยที่ใช้ในโครงการขนาดใหญ่ โดยมีความหมายถึงปริมาณที่แรงงานโดยทั่วไปสามารถทำได้ภายในหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน และหนึ่งปีตามลำดับ



ถ้าแปลman-yearว่าปีแรงงาน เพื่อคิดค่าจ้างแรงงาน ก็มีคนอุตส่าห์ตีความว่าเท่ากับ2000ชั่วโมงบ้าง

http://www.onr.navy.mil/02/matoc/05_09/solicitations/docs/05-0002-02.pdf

หรือ2087ชั่วโมงบ้าง แล้วแต่สมมติฐาน หรือวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน
(Report 5, International Federation Of Professional And Technical Engineers Local 32: San Diego, California, 2000)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 11:19

แสดงว่า ค่า man-year หรือ ปีแรงงาน นี้ยังไม่นิ่งเป็นมาตรฐาน ใครจะนำไปใช้เพื่อคำนวณแรงงานที่ใช้ใน1ปี สำหรับงานอะไรก็แล้วแต่ ย่อมต้องมีค่าสมมติฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ต้องนำมาคิดคำนวณด้วย มิฉะนั้น ผลลัพท์อาจะเป็นคนละเรื่องเลยก็ได้

เช่น มิเคลันเจโล(Michelangelo) ผู้เขียนภาพ Last Judgment อันบรรลือโลก ใช้เวลาในการเขียนภาพนี้คนเดียวถึง 6 ปี หรือ 6 man-year แต่ถ้าให้ผมไปเขียน อาจใช้เวลา 60 ปี แต่เสร็จแล้วก็ยังมีคุณค่าเพียงเศษเสี้ยวของท่าน ดังนั้น ค่าของ 1 man-year จึงหาใช่แรงงานของคน1คน คูณกับเวลา1ปีไม่ แต่จะต้องนำคุณภาพของคนที่ทำงานนั้นมาเป็นตัวคูณ(หรือตัวหาร)อีกค่าหนึ่งเสมอ

ในการหาค่าคุณภาพของคนทั้งประเทศๆหนึ่ง มีปราชญ์บางท่านได้นำค่าman-yearมาใช้อธิบาย ซึ่งฟังเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าค่าทางศาสนาอื่นๆที่เคยใช้กันอย่างเช่น ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วเท่านั้นเท่านี้กี่ชาติกี่อสงขัยเป็นต้น แต่กระนั้น ก็ยังไปติดค่าตัวแปรที่ผมกล่าวไปแล้ว กล่าวคือ อะไรล่ะที่เป็นเหตุให้คนอย่างมิเคลันเจโลมีคุณภาพสูงเช่นนั้น หรืออะไรล่ะที่ทำให้คนญี่ปุ่นแตกต่างกับคนอินเดียเมื่อเริ่มสร้างชาติ ในที่สุดก็ต้องกลับไปหาค่าทางศาสนาที่เรียกว่าบูรพกรรมอีก
 
ดังนั้น ค่าman-yearของชาติ ที่ผมนำมาขยายความคิดในกระทู้นี้ ท่านก็อย่าได้จริงจังอะไรนัก รู้ไว้เล่นๆ รู้ไว้คิดต่อ คิดแล้วปวดหัวก็ขอให้เลิกคิด แต่คิดแล้วมันงอกงามมีสาระก็เก็บไว้ต่อไป เหมือนตัวผม ฟังเรื่องที่จากปากอาจารย์ท่านนั้นมาสามสิบกว่าปีแล้วสมองยังเก็บไว้ มันเก็บของมันไว้เองไม่ยอมลืม วันดีคืนดี ความคิดในเรื่องตัวunknownที่จะต้องนำมาเป็นตัวคูณหรือตัวหารในค่าman-yearของท่านนั้นยังผุดขึ้นมาเสมอ

อย่างเมื่อสองสามเดือนมานี้ ผมมีโอกาสไปญี่ปุ่นอีกครั้ง และมีเวลาครึ่งวันเช้าที่นาโงย่าจึงคิดไปเที่ยวปราสาทของเมืองนั้นเพราะไม่เคยมีเวลาจะไปมาก่อน
.
.
เดี๋ยวขอเวลาเตรียมรูปก่อนแล้วกัน แล้วจะกลับมาเล่าต่อครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:08

หัวมุมกำแพงด้านนอกของปราสาทนาโงย่า  สร้างขึ้นโดยพวกโชกุนโตคุกาวาสมัยเอโดะยุคแรก ไม่ใช่ปราสาทที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ดังนั้นนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่จะผ่านเลยที่โอซาก้าเมืองถัดไป ที่นั่นมีปราสาทร่วมสมัยเดียวกันนี้แต่ขนาดใหญ่กว่ากันมาก

ผมมีเวลาสองสามชั่วโมงที่ปราสาทนี้ พอที่จะสังเกตรายละเอียดบางอย่างมาคุยกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:10

คูน้ำรอบปราสาทมีทางเชื่อมกับแม่น้ำข้างนอกเพื่อทดน้ำเข้ามา แต่ตอนนี้แห้งอยู่ เห็นขนาดและความลึกของแล้ว ขนาดยังไม่มีน้ำ ผมก็ยังคิดถึงทหารเลวของฝ่ายตรงข้ามที่ถูกนายทัพต้อนให้เข้าตีปราสาท ทำอย่างไรจะรอดตายอยู่ตรงนี้ได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:13

พอเดินผ่านแท่นเชิงเทินที่หัวสะพานเข้าสู่ภายในกำแพงชั้รนอก ผมก็ตลึง เห็นงานเรียงหินขนาดใหญ่มาเยอะพอสมควร แต่ลองดูความประณีตของการเรียงหินของคนญี่ปุ่นสิครับ เป็นงานฝีมือโดยแท้ นี่ขนาดหัวเมืองบ้านนอกนะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:33

คนญี่ปุ่นสร้างสถาปัตยกรรมขึ้นมา มิใช่เพียงจะสนองความต้องการทางกาย แต่สนองคุณภาพของจิตใจด้วย ป้อมปราการป้องกันศัตรู แม้เวลาจะเป็นตัวเร่งรัดให้งานจำเป็นต้องเสร็จเร็ว แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ยอมทิ้งความละเอียดอ่อน ท่านลองให้เวลาตนเองดูหินใหญ่เล็กแต่ละก้อนสิครับ มันใช่งานศิลป์เราดีๆนี่เอง เขาสร้างสิ่งนี้เพื่อที่จะอยู่เป็นพันๆปี ยิ่งเก่า ยิ่งมีคุณค่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:37

หัวมุมของปราสาทชั้นใน ดู connor stoneแต่ละก้อนที่ตัดมาพอดีทั้งเส้นตรงเส้นโค้ง มีความเรียบวางแล้วซ้อนทับต่อกันสนิทในทุกมิติ นำมาจัดวางในสมัยที่มนุษย์ยังไม่มี tower crane ใช้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:40

หลายร้อยปีที่ผ่านได้ทำลายบางสิ่งบางอย่างอย่าง แต่สร้างสรรค์คุณค่าขึ้นมาทดแทน ศาตราจารย์แสงอรุณของชาวสถาปัตย์จุฬาผู้ล่วงลับ ท่านเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า เสน่ห์แห่งกาลเวลา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:44

คูน้ำระหว่างป้อมปราการ ยามสงครามคงทดน้ำเข้ามา แค่ยืนมองก็จินตนาภาพเห็นฝ่ายโจมตีว่าจะต้องเสียชีวิตทหารมากมาย กว่าจะพยายามข้ามน้ำและปีนกำแพงฝ่าด่านเข้าไปเขตฐานที่อยู่ของไดเมียวข้างใน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:46

คูใหญ่ชั้นสุดท้ายก่อนถึงกำแพงชั้นในที่ป้องกันตัวปราสาท ระบายน้ำออกไปแล้ว และปล่อยกวางไว้ให้เป็นชีวิตชีวาแก่ผู้เข้ามาเยือน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:57

โครงเหล็กที่เห็น เป็นโครงสร้างที่นำมาเสริมชั่วคราว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอันไม่คาดคิดที่จะทำให้โบราณสถานระหว่างการบูรณะพังทลายลงมา ปราสาทแห่งนี้ถูกลูกระเบิดของอเมริกันเมื่อคราวสงครามครั้งที่แล้ว เกิดไฟไหม้ปราสาทเสียหายทั้งหมด ตัวปราสาทปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นตามแบบเดิมก่อนถูกทำลาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 12:59

ด้านหนึ่งของปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่นี้ มีลิฟท์สำหรับผู้ชราหรือพิการ สามารถขึ้นไปสู่ชั้นบนสุดได้ การสร้างลิฟท์เช่นนี้ ถ้าสร้างในเมืองไทยคงเป็นเหยื่อของนักอนุรักษ์ตกขอบ วิพากษ์กันสนุก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 13:01

ทางขึ้นของบุคคลทั่วไปตามปกติ ตลอดทางลาดที่นำไปสู่ประตูปราสาท จะมีกำแพงไม้บังตาอีกทีหนึ่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 13:05

จุดอ่อนของไม้คือจุดที่เชื่อมต่อกับดิน เพื่อป้องกันความชื้นมิให้ย้อนศรขึ้นไปทำลายเสาไม้ คนญี่ปุ่นได้นำปลอกทองแดงทนต่อการถูกกัดกร่อนมาหุ้มไว้ เพื่อยืดอายุของโครงสร้างไม้

ดังที่ผมกล่าวไปแล้ว ทองแดงในญี่ปุ่นเป็นแร่หาง่าย ได้ถูกนำมาใช้มากมายในงานช่างต่างๆตั้งแต่โบราณกาล


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 13:11

ผมติดใจการเรียงหินของคนญี่ปุ่นมาก ไม่ว่าจะเล็งกล้องถ่ายไปยังมุมใด ก็สามารถนำมาขยายใส่กรอบแขวนแบบภาพimpressionismได้เลย

ความคิดความอ่าน และฝีมือของช่างและคนงานก่อสร้างของญี่ปุ่นในสมัยโน้น พอจะบอกความหมายของman-yearชนชาติเขาได้ไหมครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง