เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 19198 คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 19:26

จะย้ายเมืองหรือจะสร้างเมืองใหม่ใดไก็ตาม มันมีเรื่องให้พิจารณาอยู่มากมายหลากหลายประเด็น คงจะกล่าวถึงกันได้ไม่ครบถ้วน     ในกลุ่มเรื่องทางด้านสาเหตุที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจหรือสนับสนุนการย้ายหรือสร้างเมืองใหม่นั้น  ผมเห็นว่าการวิเคราะห์ทั้งหลายคงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องต่างๆในบริบทด้าน Carrying capacity    ส่วนการวิเคราะห์เรื่องต่างๆในด้านเมืองใหม่ว่าควรจะอยู่ที่ใหนนั้น  ผมเห็นว่าก็คงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องในบริบทด้าน Quality of life

ข้อมูลที่รับรู้กันในภาพรวมทั่วๆไป   กทม. มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ตร.กม. มีชาว กทม. แท้ๆประมาณ 5 ล้านคน แต่มีคนมาใช้ชีวิตทำงานในเขต กทม. ประมาณ 8 ล้านคน รวมเป็นมีประชาชนอาศัยอยู่ในเขต กทม.ประมาณ 13 ล้านคน   

กทม. จัดได้ว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่  หากเอาเฉพาะตัวเลขประชากรที่มาทำงานมาอาศัยอยู่ประมาณ 13 ล้านคน ก็พอๆกับลอนดอน (พื้นที่ 1,500 ตร.กม.)  ปักกิ่ง (พื้นที่ 16,000 ตร.กม.)  ปารีส (พื้นที่ 17,000 ตร.กม.)  และ L.A. (พื้นที่ 12,000 ตร.กม.)       ต่ำกว่านิวยอร์ค (20 ล้านคน พื้นที่ 1,200 ตร.กม.)  ต่ำกว่าโตเกียว (30 ล้านคน พื้นที่ 13,000 ตร.กม.)

จากตัวเลขที่ยกมานี้  หากเราเห็นว่า เมืองลอนดอนและเมืองนิวยอร์คก็น่าอยู่ ดูสวยดี ดูสะอาดตาดี  ก็แสดงว่าเราก็สามารถที่จะปรับ กทม.ให้มีสภาพเหมือนกับลอนดอนและนิวยอร์คได้  ซึ่งหมายความว่า หากเราเห็นว่า กทม.ในขณะนี้ ดูมีสภาพหนาแน่นอึดอัดไปหมด เกิดเหตุอะไรขึ้นที่ใดก็กระทบไปทั่วกรุง  (แต่ไม่บ่นเรื่องน้ำไม่ไหล ไฟไม่พอ) ก็แสดงว่าน่าจะไปมีปัญหาที่ด้านการผังเมืองเป็นหลัก  การผังเมืองของเราค่อนข้างจะอ่อน มองใกล้ และเป็นการตามแก้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มากกว่าที่จะมองไกล และเป็นการวางแผนเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  พื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือน้ำท่วมถึง เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยบ้าง เปลี่ยนไปเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจบ้าง (พอรับได้) เป็นสนามกอล์ฟบ้าง เป็นนิคมอุตสาหกรรมบ้าง ฯลฯ    พื้นที่ๆเปิดใหม่โดยถนนวงแหวนทั้งหลาย แทนทีพื้นที่เหล่านั้นจะถูกพัฒนาไปอย่างมีแบบแผนใน mode หรือ conceptual ของเมืองใหม่ ที่พึ่งพาตนเองได้พอควร ก็กลับกลายเป็นการดึงทรัพยากรจากเมืองเดิมไปใช้  ฯลฯ
   
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 20:36

จากประสบการณ์ที่ได้เห็นลอนดอนมา  ผมไม่รู้ว่าถ้านับพื้นที่ถนนทั้งหมดใครจะมีมากกว่ากันแต่ถนนหนทางในลอนดอนแคบกว่าบ้านเรามาก ถนนสายหลักๆ ส่วนใหญ่ก็มีแค่ 2 เลนสวนกัน ที่ 4 เลนนี่ไม่มาก 6 เลนนี่แทบไม่มีเลย รถราเช้าๆ ติดบ้างแต่ไม่สาหัสเท่ากรุงเทพ ระบบขนส่งมวลชนเค้าดีมาก รถไฟใต้ดิน รถเมล์สะดวกมาก ผู้คนไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวเลย  ผมไม่คิดว่าลอนดอนเป็นเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างดีด้วยเพราะผังเมืองก็ยังดูมั่วๆ เหมือนกรุงเทพ แต่เค้าสามารถบริหารจัดการได้ดีกว่าของเรามาก


อีกอย่างก็คือ สนง ใหญ่ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐหรือเอกชนไม่จำเป็นต้องอยู่ในเมืองหลวง เช่นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการจดทะเบียนรถยนต์  ออกใบขับขี่ สนง ใหญ่อยู่ในแคว้นเวลล์โน่น  บริษัทค้าขายธนาคาร  บริษัทประกันหลายแห่งสำนักงานใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ในลอนดอน  หน่วยงานราชการที่ สนง ใหญ่ไม่อยู่ในลอนดอนก็มี ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารปัจจุบันคำว่าเมืองหลวงมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อยๆ แล้ว  ขอแค่ให้ความเจริญและสาธารณูปโภคพื้นฐานมันกระจายไปได้เท่าเทียมกันก็พอ


ผมอยู่เมืองไกลปืนเที่ยงห่างไกลลอนดอน นอกจากช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ใหญ่ๆ กับรถไฟใต้ดินที่ไม่มี อย่างอื่นเรียกได้ว่าไม่มีอะไรขาดหรือแตกต่างจากเมืองหลวงเลย  โรงเรียนประถมมัธยมที่นี่มาตรฐานไม่แพ้โรงเรียนในลอนดอน  จริงๆ แล้วคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่เมืองผมจากโรงเรียนท้องถิ่นสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศหรือในลอนดอนเสียอีก   รถเมล์ที่เมืองผมหน้าตาเหมือนรถเมล์ในลอนดอน มีสองชั้นเหมือนกัน มาค่อนข้างตรงเวลาเหมือนกัน ราคาใกล้เคียงกัน(ค่ารถแพงกว่าลอนดอนเล็กน้อย)


การย้ายเมืองหลวงไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลยถ้าเราสามารถกระจายความเจริญหรือกระจายอำนาจบริหารออกไปยังท้องถิ่นมากๆ  ทุกอย่างไม่ต้องรวมศูนย์  ศูนย์กลางราชการต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมาอยู่รวมกันหรืออยู่ใน กทม เลย เพราแม้ปัจจุบันตึกของกระทรวงต่างๆ ก็ตั้งอยู่ห่างกัน จนท ก็ไม่ได้มีกิจต้องไปมาหาสู่ ไม่มีความจำเป็นเลยที่ต้องมารวมตัวกันที่เมืองเดียว ถ้าจะย้ายไปปทุมธนี เมืองนน หรืออยุธยาก็ไม่มีปัญหา ขอแค่ให้มันเดินทางไปได้สะดวก      ดังนั้นจึงต้องลงทุนเรื่องการขนส่งผู้คนจากชานเมืองเข้ามาในเมืองให้ดี บ้านเราดูจะไม่ให้ความสำคัญตรงนี้ นักการเมืองแค่หาเสียงไปวันๆ นโยบายเน้นขายผ้าเอาหน้ารอดขอแค่คะแนนเสียงในระยะสั้น ไม่มองไปที่การแก้ปัญหาระยะยาวมันก็เลยอีรุงตุงนัง  นี่ขนาดจะเลือกผู้ว่า กทม แล้ว ยังมีนโยบายประเภทรถเมล์ฟรีออกมาอีก เน้นลดแหลกแจกแถมแต่เงินหนะมาจากภาษีชาวบ้านทั้งนั้น เห็นแล้วระอา
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 22:02

จะย้ายเมืองหรือจะสร้างเมืองใหม่ใดไก็ตาม มันมีเรื่องให้พิจารณาอยู่มากมายหลากหลายประเด็น คงจะกล่าวถึงกันได้ไม่ครบถ้วน     ในกลุ่มเรื่องทางด้านสาเหตุที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจหรือสนับสนุนการย้ายหรือสร้างเมืองใหม่นั้น  ผมเห็นว่าการวิเคราะห์ทั้งหลายคงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องต่างๆในบริบทด้าน Carrying capacity    ส่วนการวิเคราะห์เรื่องต่างๆในด้านเมืองใหม่ว่าควรจะอยู่ที่ใหนนั้น  ผมเห็นว่าก็คงจะหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึงเรื่องในบริบทด้าน Quality of life

Carrying capacity  เรียกเป็นภาษาไทยว่าอะไรคะ
Quality of life  พอจะแปลได้ว่า คุณภาพชีวิต
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:31

^
carrying capacity   อืม์ ผมก็ไม่ทราบศัพท์บัญญัติครับ   สำหรับตัวผมนิยมที่จะใช้คำภาษาไทยในเชิงของคำแปลว่า ขีดความสามารถในการยืนยงคงอยู่ของระบบใดๆที่กำลังถูกกระทำด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆอยู่ตลอดเวลา   หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ

carrying capacity  โดยเนื้อแท้แล้วเป็นศัพท์ที่ใช้ในด้านนิเวศน์วิทยา เป็นการมองๆไปในด้านขีดจำกัดใดๆของฝ่ายถูกกระทำก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆข้ามพ้นเส้น sustainability    ส่วนการจะประเมินว่าฝ่ายกระทำ (มนุษย์) กำลังก้าวล่วงเข้าไปมากน้อยเพียงใดในการลดขีดความสามารถในด้าน sustainability นั้น เขาจะใช้วิธีการที่เรียกว่า ecological footprint

ผมจะใช้คำว่า 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:38

ผมใช้คำว่า carrying capacity ในความหมายรวมๆว่า ระบบและขีดจำกัดของระบบเป็นอย่างไร จะสามารถรองพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เพียงใด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 19:43

มีภาษาที่ง่ายกว่านี้ไหมคะ  ยิ้ม ชนิดคุยกันในสภากาแฟน่ะค่ะ

ดิฉันพยายามแปลไทยเป็นไทย  ถ้าผิด กรุณาแก้ให้ด้วย
สมมุติว่าเราจะย้ายเมืองหลวงใหม่ไปที่ปากช่อง   โดยแยกหน่วยราชการทั้งหมดจากกรุงเทพไปไว้ที่นั่น       carrying capacity ก็คือดูว่าปากช่องมีพื้นที่  เส้นทางคมนาคมจากกรุงเทพ  สามารถเดินทางไปกลับกรุงเทพได้สะดวกแบบเช้าไปเย็นกลับ   สาธารณูปโภค ฯลฯ มากพอจะรองรับหน่วยราชการทั้งหมดให้ไปตั้งอยู่ได้หรือไม่   
อย่างนี้ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ก.พ. 13, 20:22

carrying capacity ศัพท์นี้สถาปนิกใช้ว่า ความสามารถในการรองรับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 ก.พ. 13, 21:02

ขอบคุณ คุณนวรัตน์ครับ

การพิจาณาความสามารถ (หรือขีดความสามารถ) ในการรองรับนี้  ก็มีเกณฑ์อยู่เหมือนกัน คือ มันจะสามารถรองรับได้มากทีุ่สุดเท่าไรที่จะไม่ทำให้ตัวระบบของมันเองพัง  ตัวอย่างเช่น

กรณีน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคในกรุงเทพฯ   ในปัจจุบันนี้ การประปานครหลวงสามารถผลิตน้ำประปาได้วันละประมาณ 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอแบบเฉียดฉิวสำหรับการใช้ของคนที่อาศัยอยู่ในเขต กทม.ในปัจจุบัน (ประมาณ 13 ล้านคน)   ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคนหนึ่งจะใช้ประมาณ 200 ลิตรต่อวัน  คราวนี้หากคนเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯมากกว่าเิดิมในอนาคตอีกประมาณ 1 ล้านคน อะไรจะเกิดขึ้น   แน่นอนว่า้ำจะเกิดการเริ่มขาดแคลนน้ำประปา ซึ่งการประปาอาจจะพอหาทางแก้ไขได้ แต่หากประชากรเพิ่มเป็น 5 ล้านคน  คราวนี้ระบบเดิมทั้งหมดก็จะรับไม่ได้แล้ว ทั้งระบบท่อส่งเดิมที่อาจจะเล็กเกินไป รวมทั้งแหล่งน้ำจืดที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาด้วย  ก็จะต้องเริ่มไปเบียดเบียนเอาน้ำบาดาลมาใช้ ก็จะทำให้พื้นดินกรุงเทพฯทรุดลงอีก  จะแก้ไขก็ต้องเป็นการลงทุนใหม่ ขนาดขององค์กรก็จะใหญ่ขึ้น ใหญ่จนอาจจะกลายเป็นการสร้างปัญหาในเชิงการบริหารได้  ซึ่งจะคุ้มค่าหรือไม่ก็ไม่ทราบ  ทางเลือกอื่นมีใหม ก็อาจจะมี เช่น จำกัดความเติบโตของเมือง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำของประชากร  ทำระบบ recycle ย้ายอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมากออกไป บริหารการใช้น้ำร่วมระหว่างน้ำบาดาลกับน้ำท่าให้มีความเหมาะสม ฯลฯ    และรวมไปถึงการย้ายเมือง การตั้งเมืองบริวาร เหลานี้เป็นต้น 

ครับ แก้อย่างหนึ่งก็จะไปกระทบอีกหลายอย่าง   เรื่องของความสามารถในการรองรับจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก คิดเองคนเดียวคงไม่ได้ครบเรื่องทั้งหมด   ซึ่งผมเห็นว่า จะต้องคิดแบบ negative approach อีกด้วย   จะคิดแบบ positive approach เหมือนนโยบายขายฝันคงไม่ไหว           

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 19:26

เขียนไปแล้ว กดอะไรไม่รู้ หายไปหมดเลย  ตามหาไม่เจอ  พรุ่งนี้เขียนใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 20:06

อ้าว เสียดายจริง  ถ้าเจอแบบนี้คุณตั้งกดลูกศรย้อนกลับไปหน้าเดิมนะคะ  ข้อความอาจจะกลับมา

นึกถึงมาเลย์เซียค่ะ  ไปเมื่อ 2 ปีก่อน  รัฐบาลเขาไปสร้างเมืองใหม่ขึ้นเมืองหนึ่ง  เป็นเมืองราชการโดยเฉพาะ ป่านนี้คงเสร็จแล้ว   ตอนที่ไปมีแต่ตึกรามบ้านช่องแต่ไม่มีคน  ว่างเปล่าเหมือนเดินเข้าไปในแดนสนธยา จำได้ว่าแต่ละตึกโอ่อ่ามาก
ไปค้นชื่อในกูเกิ้ลมาแล้ว ชื่อ Putrajaya


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.พ. 13, 20:36

^
^



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 ก.พ. 13, 19:29

ก่อนที่จะคิดจะกระทำการใดๆเพื่อให้เกิดความพอดีและการมีสุขในอนาคต  เราลองมาดูสภาพโดยทั่วๆไปของเรา (ไทย) ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไป  ที่เราพอจะเห็นกัน

เรากำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ  หน่วยครอบครัวของเรากำลังเล็กลง  เยาวชนและคนในวัยทำงานของเรากำลังจะกลายเป็นคนที่ขาดญาติสนิทเมื่อเข้าสู่วัยูงอายุ (เนื่องจากการมีลูกคนเดียว)      คนไทยที่มีทักษะฝีมือ (แรงงานชั้นดี) กำลังเดินทางกลับไปทำอาชีพอิสระในถิ่นกำเนิดของตน     ที่ดินที่ใช้ในทางการเกษตรกำลังลดลงอย่างมาก เนื่องจากถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน    ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยถูกขายกรรมสิทธิถือครองไปอยู่ในมือนายทุน ถูกกว้านซื้อไปเก็บรวบรวมไว้โดยไม่ได้ทำให้เกิดผลิตทางเศรษฐกิจและสังคมใดๆ    กำลังกลายเป็นสังคมแบบวัตถุนิยม    กำลังหันเข้าไปสู่ความเป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้น   ทรัพยากรทั้งหลายในองค์รวมกำลังถูกดูดเอาไปใช้อย่างกระจุก ไม่กระจาย และไม่เป็นธรรม  ทำให้ประชากรและพื้นที่อื่นๆเริ่มขาดสภาพการอยู่ได้แบบพอที่จะสามารถพึ่งพาตนเองๆได้  ฯลฯ

ด้วยสภาพดังตัวอย่างที่ยกมา ผมเห็นว่า มันก็คงมีหลากหลายแนวคิดที่สามารถจะกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดผลดีกับประเทศและประชาชนในองค์รวมได้   อาทิ ตัวอย่่างหนึ่งที่เป็นแนวคิดจากการศึกษาของ JICA นานมาแล้ว ก็คือ เช่น พัฒนาในแนวทางให้อยุธยาอยู่ได้กับการท่องเที่ยว  ให้สุพรรณบุรีอยู่ในแนวทางของแหล่งการศึกษา  ให้อ่างทองอยู่ในแนวของอุตสาหกรรมการเกษตร  ให้สระบุรีอยู่ในแนวของแหล่งผลิตวัตถุดิบต้นทาง  เป็นต้น    หรือการกำหนดให้มีเมืองหลักเมืองรอง     หรืออาจจะกำหนดให้ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งภาคอิสานตอนบน เป็น recreation region ให้มีสภาพทางกายภาพและสังคมเป็นแบบ self sustain และ living in harmony with nature เหล่านี้เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คงยังไปไม่ถึงเรื่องของการย้ายเมืองใดๆ  เป็นเพียงการแก้เรื่องต่างๆที่เราเห็นว่าแย่และไม่ดีเหล่านั้นให้ดีขึ้นด้วยวิธีการคิดแบบ holistic approach  ด้วยการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐที่อยู่บนฐานของ area & function approach  มิใช่บนฐานของ GDP & economic approach แล้วค่อยกระจายความมั่งคั่งสู่ชนบททีหลัง ดังที่เป็นปรัชญาพื้นฐานอยู่ในแผนพัฒนาฯที่ทำกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โน่น     
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 15 ก.พ. 13, 20:17

แล้วเราจะจับประเด็นเรื่องอะไรดี ที่จะคิดต่อไปว่าควรจะทำอย่างไรกับเรื่ิองที่เราไม่ชอบ เรื่องที่ได้เห็นเป็นประจำในวงจรการดำเนินชีวิตประจำวันในเมืองหลวง หรือที่ได้ประสบในเมืองอื่นๆของเรา    จะจับเรื่องความสวยงามทางกายภาพ ?   เรื่องการจราจร ?   เรื่องความสกปรก ?   เรื่องความไร้ระเบียบต่างๆ ?   เรื่องคุณภาพชีวิต ? ฯลฯ  จะเอาเรื่องอะไรดี   

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในองค์รวมแล้ว  เรื่องทั้งหมดยังอยู่ในวิสัยที่จะแก้ได้โดยการไม่ต้องไปสร้างเมืองใหม่ หรือต้องย้ายเมืองใดๆเลย  จะแก้ด้วยการปลูกฝังนิสัยความประพฤติให้กับคนรุ่นใหม่ ตั้งแต่เด็กจนเริ่มทำงานก็ใช้เวลาประมาณ 15+ ปี  ระยะเวลาก็คงไม่ต่างไปจากการย้ายเืมืองหรือสร้างเมืองใหม่ที่ต้องเริ่มต้นจากการศึกษา การตัดสินใจ การออกแบบ 

ผมเห็นว่า ปรัชญาความนึกคิดของเรา ได้ถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เริ่มคิดเป็น และต่อเนื่องเข้าไปในระบบของการศึกษา ให้เป็นระบบคิดของอเมริกันและจีน  โดยหลักใหญ่หนึ่งก็คือ คิดในมิติของพื้นที่ (กว้าง คูณ ยาว)  ซึ่งจะพอสังเกตเห็นได้ตามข่าวสารและการโฆษณาต่างๆที่ใช้คำว่า ที่สุดในโลก และในมิติว่าจะให้มีหรือเกิดประสิทธิภาพได้สูงสุดก็ต้องมาด้วยความพร้อมสรรพ (เป็น module) เป็นต้น       

ระบบการศึกษาแบบออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมัน และแถบสแกนดิเนเวียน ปลูกฝังให้คิดในปรัชญาที่แตกต่างกันไป  อาทิ ออสเตรเลีย สร้างให้คิดแบบค้นคว้าดัดแปลง (adaptation)   ญี่ปุ่น ไปในเชิงของความแม่นยำ (precision)    อังกฤษ ไปในเชิงของความถูกต้องและยืนยงคงทน (tough & accurate)    เยอรมัน ในเชิงของความถูกต้อง แม่นยำ และความภูมิใจ (accurate, precision, dignity)  และสแกนดิเนเวียนในเชิงของสากลโลก (global context)       

อย่างไรก็ตาม เราได้กำลังเข้าสู่สภาวะของการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อยู่ในขณะนี้  เรากำลังเริ่มเอามิติอื่นๆเข้ามาร่วมคิดด้วยแล้ว เช่น ในมิติของความสูง ในเชิงของปริมาตร  ในมิติของการมีและใช้ทรัพยากรร่วมกัน  ฯลฯ  และก็รู้สึกว่ากำลังลดถดถอยในมิติด้าน rule of laws   ด้าน dignity  ฯลฯ พร้อมๆกันไปกับเรา (จำนวนมาก) กำลังถูกครอบงำด้วยปรัชญา เงินมีหน้าที่ของมันที่จะต้องไปหาเงินเพิ่มขึ้นมา

เหมือนกับการบ่น  แต่มิใช่การบ่นหรอกครับ    เพียงจะสะท้อนความว่า เรามีนักวิชาการจากหลายสำนัก  ถูกปลูกฝังมาจากหลายแหล่งปรัชญาความเชื่อ (school of thought)  เรามีประชากรที่คิดต่างบนฐานของความอยู่รอดของอาชีพและครอบครัวของตน  เรายังมีวังวนอยู่ในความคิดแบบ แกโง่กว่าฉัน ฉันเก่งกว่าแก สถาบันฉันสุดยอด สถาบันแกห่วยแตก ฯลฯ     

เรื่องการย้ายเมืองจึงเป็นเรื่องยาก  ยากกว่าการปรับสภาพเมืองเดิมให้ดูดีขึ้น หรือสร้างพื้นที่ใหม่ให้ดูดีเป็นที่ยอมรับกันทั่วๆไป     ขนาดเรื่องการผังเมืองของเรายังใช้เวลา 5 ปี ในการประชุมเพื่อการตัดสินใจใดๆไม่ได้ ต้องปล่อยใ้ห้หมดวาระการควบคุมโดยอำนาจตามกฏหมาย  ผลก็ทำให้ (เช่นในขณะนี้) ไม่มีการผังเมืองบังคับใช้ ปล่อยให้ใครจะสร้างอะไรก็สร้างๆไป จะทำอะไรก็ทำไป     
             
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 ก.พ. 13, 22:04

ขอบคุณที่ให้ความคิดเห็น อยากให้หลายๆท่านรับทราบบ้าง สนามบินหนองงูเห่า กว่าจะเป็นจริงก็ห้าสิบปี
ขุดคอคอดกระ คงจะร้อยปี  ย้ายเมืองหลวงเราๆท่านๆคงจากไปแล้ว คิดแล้วก็คงไม่ได้เห็นแน่นอน
แต่ผังเมืองนี่น่าจะพอเห็น กรุงเก่าเพื่อนพ้องเดือดร้อนแล้ว   ถ้าไม่ลาไปเสียก่อนทำท่าว่าจะ เหมือนกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 11 มี.ค. 13, 20:48

ไม่ได้ตั้งใจจะหายไปใหนครับ  เพียงแต่อยากจะฟังวิสัยทัศน์และกึ๋นของบรรดาผู้สมัครมาเป็นผู้นำเของเมืองหลวงไทย (และของผู้นำประเทศ)   ที่ทั่วโลกเขายอมรับว่า กทม.เป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่สำคัญของโลก rich in culture, rich in heritage, ศูนย์กลางการบินของเอเซีย (อาคเนย์และตะวันออกไกล), ศูนย์กลางที่ตั้งหน่วยงานและสาขาขององค์กรระหว่างประเทศ (ไม่ในเชิงของสำนักงาน ก็ในเชิงของฐานปฎิบัติการ) ฯลฯ

ฟังแล้วก็ต้องทำใจไม่อยากจะกล่าวไปถึงเลย   

จับความได้ว่า ที่ได้เรียกว่านโยบาย วิสัยทัศน์ ต่างๆนั้น แสดงถึงการขาดการศึกษา การทำการบ้าน (ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า research) มาอย่างจริงจัง  จนดูจะกลายเป็นเรื่องสนุกสนานเสียมากกว่าที่จะการให้ความสนใจอย่างจริงจังกับความเป็นเมืองที่เรียกว่าเมืองหลวง  คิดอะไรก็ได้ให้แปลกออกไป 

ผมว่า เมือง โดยเฉพาะเมืองหลวงมันประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง มิใช่เฉพาะแต่ความพอใจของคนที่ดำรงชิวิตอยู่ในเมืองเท่านั้น  เมืองหลวงมันต้องมี เช่น (ขอใช้คำภาษาอังกฤษแซมนะครับ) Infrastructure, Facilities, Facilitation, Recreation ที่ดีและสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันของคน  มันต้องมี History, Heritage, Culture ที่ทุกคนมีความภูมิใจและยินดีร่วมกัน  มันต้องมี Revolving ของความเป็นเมืองในองค์รวม คือ มันจะต้องมีชิวิตที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป มีพักบ้าง มีเร่งเร็วกระชั้นบ้าง มีฤดูกาลของมันเอง มีปฏิทินของมันที่มิใช่เป็น routine ซ้ำซากอยู่ทุกวัน  ฯลฯ

ย้อนคิดและทำในมุมที่ผมยกตัวอย่างกล่าวถึงนี้ให้เกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ ปรับทำด้วยความร่วมมือด้วยความเห็นชอบของชุมชน ค่อยๆทำไป ผมว่ากรุงเทพฯก็ไปได้นะครับ คงไม่ถึงกับต้องย้ายเมือง 

ตัวอย่างที่นึกออก ณ บัดดลนี้ เช่น กำหนดให้อาคารบ้านเรือนทั้งหลายจะต้องทาสีใหม่ทุกกี่ปีก็ว่าไป รวมทั้งของส่วนราชการด้วย  พยายามลดปรากฏการณ์ Heat Island ที่กำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพฯในบางบริเวณที่รุนแรง  หาทางประสานและบังคับให้เกิดการรวมสายโทรศัพท์ที่เรียกว่าสายกระจายนั้นให้เป็นเคเบิลเส้นเดียว  TOT เขาทำ แต่บริษัทที่ได้รับสัมปทานดูจะละเลยอย่างมาก เอาง่ายเข้าว่า ลากสายกระจายอย่างเดียว มันถึงได้เห็นกรุงเทพมีแต่สายอะไรก็ไม่รู้ ระโยงระยางไปหมด   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง