ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ทันกระแส
>
คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
หน้า:
1
2
[
3
]
พิมพ์
อ่าน: 18921
คิดเล่นๆ แต่อยากให้เป็นความจริง
naitang
หนุมาน
ตอบ: 5794
ความคิดเห็นที่ 30
เมื่อ 12 มี.ค. 13, 22:26
ผมเห็นว่า คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯทั้งหลาย (ทั้งที่มีทะเบียนบ้านและไม่มีทะเบียนบ้าน) ขาดการให้สิ่งที่ดีกับเมืองแทบจะสิ้นเชิง ดูจะมีแต่การแสวงโอกาสเข้าไปครอบงำหรือฉกฉวยทรัพยากรทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นของส่วนรวม (สาธารณะ)และที่เป็นส่วนบุคคล เรียกว่ามีแต่การดูดเอาออกไป ไม่มีการเติมคืนให้เป็นการตอบแทนใดๆเลย มีเพียงชุมชนส่วนน้อยมากที่ช่วยกันเติมคืน ซึ่งก็ยังพอจะดีใจได้บ้างว่า ได้มีการลอกเลียนไปทำกัน
จะย้ายเมืองใหม่ก็คงทำได้ไม่ยาก ก็ขนาดรัฐเองยังกู้กันได้รวมกันแล้วหลายล้านๆบาท แต่ที่มันจะตามไปอยู่ด้วยก็คือคนในแนวคิดที่ได้กล่าวถึงในตอนต้น ไม่นานก็คงมีสภาพเหมือนดังที่เคยเห็นแต่เดิม แล้วก็จะเห็นได้เร็วมากๆด้วย ด้วยอำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่มากมายที่พอจะรู้ๆกันอยู่
ปัญหาต่างๆหลากหลายที่ผู้ใดๆก็ตามเห็นว่าเป็นปัญหาของกรุงเทพฯนั้น ผมเห็นว่าจะต้องแก้ด้วยการสร้างวินัย มหาจำลองยังนำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเป็นจริงได้เลยในเรื่องการทิ้งขยะ ทำให้กรุงเทพฯสอาดขึ้นอย่างผิดหูปิดตา โรงเรียนได้สอนลงไปถึงเด็กเล็กๆ เด็กกลับมาบ้าน ในกระเป๋ามีแต่เศษกระดาษห่อขนม นอกจากวินัยแล้ว พ่อเมืองก็ควรจะต้องแสดงความเป็นผู้นำการฝังรากในเรื่องของสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ซึ่งเดี๋ยวนี้คงจะต้องฝังเรื่องจริยะธรรมพร้อมๆไปกับเรื่องของสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ
เรื่องใหญ่ของการย้ายเมือง คือ เรื่องของทรัพยากรที่จะใช้ในการทำให้ประชากรของเมืองสามารถประกอบสัมมาชีพและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความปรกติสุขตามสมควร ซึ่งผมเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องของการออกแบบ เรื่องของงานทางวิศกรรม เรื่องของสิ่งอำนวยความสดวก รวมๆแล้วก็คือเรื่องทั้งหลายที่เราสร้างขึ้น (man made หรือ artificial) เพียงเท่านั้น สิ่งที่สำคัญยิ่งยวดมากกว่านั้น คือ แหล่งน้ำกินน้ำใช้ที่ต้องพอเพียง แหล่งพลังงานเพิ่มเติม เนื่องจากเืมืองใหม่จะเป็นแหล่งใช้ขนาดมหึมาที่เป็นเป็นกลุ่มก้อนเกิดผุดขึ้นมาใหม่ กรุงเทพฯเดิมอาจะใช้ลดลงไปบ้างเล็กน้อย แต่ที่เกิดมาใหม่นี้ซิ อย่างน้อยก็คงจะเขมือบในปริมาณไม่ต่างไปจากกรุงเทพฯเดิมเท่าใร คราวนี้คงไม่ใช่เป็นโครงการสร้างเมืองกรุงเทพฯใหม่เสียแล้ว คงจะต้องมีโครงการสร้างเขื่อน สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม ฯลฯ ก็คงจะต้องกลายเป็นโครงการปรับประเทศไปทุกระบบ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
ตอบ: 245
ความคิดเห็นที่ 31
เมื่อ 28 มี.ค. 13, 21:47
ถ้ารัฐกู้ ๒ ล้าน ล้านบาทได้ เรื่องย้ายเมืองหลวงก็คงไม่ต้องคิด
เรื่อง man made ต้องเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องผังเมืองต้องเป็นเรื่องด่วน ก่อนที่จะมีการแสวงโอกาสแย่งชิงฉกฉวยทรัพยากร ไช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
ตอบ: 5794
ความคิดเห็นที่ 32
เมื่อ 28 มี.ค. 13, 23:49
ก็คงต้องเป็นเช่นนั้นกระมังครับ
ผมเห็นว่า ภาพหลักที่เราได้รับทราบและเป็นเหตุผลของการที่รัฐต้องกู้ด้วยลักษณะวิธีการนี้นั้น คือ เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางด้วยรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะใช้สำหรับการเคลื่อนย้าย (หรือขน) คนและสินค้า สายเหนือจาก กทม.ถึงเชียงใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือจาก กทม.ถึงโคราช สายตะวันออกจาก กทม.ถึงพัทยา (หรือระยอง) และสายใต้จาก กทม.ถึงหัวหิน ผมยังไม่เห็นภาพในเชิงบูรณาการที่เป็นวิสัยทัศน์หรือแนวนโยบายที่รับรู้จับต้องได้ในเรื่องอื่นๆ
รางรถไฟขนาด 1 เมตรของบ้านเรานี้ หากปรับปรุงบำรุงทางให้ดี ก็จะสามารถรองรับความเร็วของรถไฟได้ถึง 120 กม./ชม. ตัวอย่างมีในญี่ปุ่น หากจะต้องขนคน หรือขนสินค้าระหว่างสถานีระดับจังหวัดของเรา ด้วยระยะทางระหว่างสถานีก็ดูจะเหมาะสมกับความเร็วในระดับนี้
พอไปถึงระดับความเร็วประมาณหรือมากกว่า 200 กม./ชม. ขึ้นไป ญี่ปุ่นเคยบอกว่าระยะห่างระหว่างแต่ละสถานีควรจะมากกว่า 150 กม.ขึ้นไป รางจะต้องขนาดมาตรฐาน เส้นทางจะต้องค่อนข้างตรง และต้องมีการยกระดับให้พอเสมอกัน ประเด็นก็ไปอยู่ที่ว่า ความเร็วระดับนี้ ตัวรถไฟจะต้องออกแบบพิเศษเพื่อลดแรงเสียดทางจากลม สภาพของตัวรถจึงเหมาะกับการขนส่งคน ไม่เหมาะสำหรับการขนสินค้า ด้วยสภาพจำกัดดังกล่าวนี้ จึงหมายถึงการเปิดแนวเส้นทางใหม่ หมายถึงเป็นรถไฟขนคนหมู่มากที่มีธุระเดินทางตลอดเวลา หมายถึงสถานีแรกกับสถานีต่อๆไปจะอยู่ห่างกันอย่างน้อยทุกๆระยะทางประมาณ 200 กม. ซึ่งก็คงต้องมีการเวณคืนมากมาย และเกิดการขยายเมืองที่เป็นสถานี ญี่ปุ่นเองยังขยาดและไม่คิดจะขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงต่อ เช่น จาก Joetsu เลาะไปตามชายฝั่งทะเลญีุ่ปุ่นลงไปทางใต้ ส่วนการขนสินค้านั้น แม้ในญี่ปุ่นเองที่พัฒนาระบบรางมานานมากแล้ว ก็ยังเป็นรถไฟปรกติตามที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน แยกระบบออกไปต่างหากจากรถไฟความเร็วสูงโดยสิ้นเชิง จะมีความต่างก็คือ มีการผสมผสานระบบหัวรถจักรลากจูง บ้างก็เป็นไฟฟ้า บ้างก็เป็นดีเซลอีเล็กทริค บ้างก็ดีเซลราง
ผมว่านะครับ หากจะคิดสร้างเมืองใหม่ จะย้ายเมือง หรือจะปรับเปลี่ยนเมืองศูนย์กลางใดๆ ก็น่าจะสามารถคิดบูรณาการเป็นวิสัยทัศน์ได้เสียแต่ในขณะนี้ จำแนกที่ดินให้ดี วางผังเมืองให้ดี กำหนดงานด้านวิศวกรรมให้ดี มีความเข้มงวดทางกฏหมาย เมืองใหม่มันก็จะค่อยๆเกิดและขยายตัวของมันไป ด้วยมือของเอกชนและของรัฐ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
ตอบ: 190
อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้
ความคิดเห็นที่ 33
เมื่อ 29 มี.ค. 13, 01:07
ต้องใช้ผู้เผด็จการครับ ม่ายงั้นสภาเถียงกันไม่จบ เขาว่ามุสโสลินีทำประโยชน์ให้แก่ชาติอย่างเดียวคือสามารถทำให้รถไฟอิตาเลี่ยนวิ่งได้ตรงต่อเวลา
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
2
[
3
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.031 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...