puyum
|
ด้วยความเคารพ ขอความกรุณาคุณ naitang แสดงความเห็น เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
๑.ย้ายเมืองหลวง เพื่อแก้ปัญหาความหนาแน่นของประชากร ปัญหาการจราจร ปัญหาน้ำท่วมขัง ฯ (ทราบว่ามีแนวคิดนี้เมื่อห้าสิบปีมาแล้ว) ๒.ลดอัตราค่าบริการรถจ้างเหมาสาธารณะ(taxi)เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 29 ม.ค. 13, 19:16
|
|
เรียกว่าเจาะถามเลยนะครับ แล้วก็ขอขอบคุณที่อยากจะฟังความเห็นของผม
ในเรือนไทยนี้มีสถาปนิก มีวิศวกร ฯลฯ และก็คิดว่ามีผู้ที่รู้เรื่องและเรียนเรื่องการผังเมืองอยู่หลายคน วิชาการผังเมืองนี้ ผมเข้าใจว่าถูกจัดเป็นประเภทสหวิทยาการ เพราะประกอบไปด้วยมุมมองในแง่มุมต่างๆบนพื้นฐานของความรู้และความรอบรู้ของบุคคลในสายวิชาการสาขาต่างๆ (วิทยาศาสตร์ สังคม สาธารณสุข ความมั่นคง ฯลฯ) ซึ่งเมื่อนำเอามุมมองต่างๆมารวมกันแล้ว ก็ยังจะเกิดข้อโต้แย้งถกเถียงกันต่อไปอีก หาข้อยุติ จบเรื่องได้ลำบาก และใช้เวลานาน
ซึ่งเมื่อทุกสาขาวิชาการมีการแยกสาขาเข้าไปในเขตของเรื่องทางสิ่งแวดล้อม เรื่องก็ยิ่งสนุกมากเข้าไปอีก เพราะมันมีเรื่องทางด้าน sentimental value และเรื่องที่เป็น intangible เข้ามาผนวกอยู่ในความคิด การวิเคราะห์และการตัดสินใจต่างๆ ในมุมมองของนักวิชาการสาขานั้นๆก็แทบจะไปกันคนละทิศเลยทีเดียว (ประสบการณ์ที่ได้มาจากการสอนหนังสือระดับ ป.โท มานานกว่า 10 ปี)
สงสัยอยู่หน่อยนึงครับว่า มีเหตุผลอะไรเป็นการเฉพาะหรือไม่ จึงเจาะจงขอให้ผมแสดงความเห็นในกระทู้นี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
puyum
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 30 ม.ค. 13, 19:50
|
|
นั่งๆนอนๆก็แล้ว คิดว่าจะบอกท่านอย่างไรดี ให้ตรงกับที่ผมคิด ออกไปกวาดลานบ้านลดน้ำต้นไม้อยู่พักหนึ่ง ก็คิดได้ อย่างนี้ครับ คนส่วนใหญ่มีมุมมองแบบปกติ (normal view) แต่ท่าน ผมคิดว่ามี bird eye view และ ant view ด้วย ผมคิดอย่างนี้จริงๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 31 ม.ค. 13, 21:31
|
|
สร้างเมืองบริวาร .. ระบบขนส่งมวลชน ระหว่างเมืองหลวงกับเมืองบริวาร .. กำหนดพื้นที่ธุรกิจในเมืองบริวาร ... แต่ต้องกำหนดผังเมืองให้ได้ก่อน
แค่คิดนะครับ .. อาจจะลำบากสำหรับประเทศไทย .. ที่มีนิสัยประจำชาติมาแต่นมนานกาเล .. "ทำอะไรตามใจได้ คือไทยแท้"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 31 ม.ค. 13, 21:46
|
|
ด้วยความเคารพ ขอความกรุณาคุณ naitang แสดงความเห็น เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
๑.ย้ายเมืองหลวง เพื่อแก้ปัญหาความหนาแน่นของประชากร ปัญหาการจราจร ปัญหาน้ำท่วมขัง ฯ (ทราบว่ามีแนวคิดนี้เมื่อห้าสิบปีมาแล้ว) ๒.ลดอัตราค่าบริการรถจ้างเหมาสาธารณะ(taxi)เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุง
เห็นคุณลุงไก่เข้ามาตอบ เลยเปิดประตูเข้ามาบ้างค่ะ ๑ แยกเมืองราชการออกไป ให้กรุงเทพเป็นเมืองธุรกิจอย่างเดียว กำหนดผังเมืองให้มีทิศทางชัดเจน ๒ เพิ่มขนส่งมวลชน รถไฟยังมีรางอยู่อีกเยอะแยะ เท่ากับมีเนื้อที่อยู่แล้ว ผ่านกลางใจเมือง น่าจะพัฒนาส่วนนี้ให้ขนคนได้สะดวกขึ้น จากในเมืองไปสู่ชานเมือง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
samun007
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 31 ม.ค. 13, 23:08
|
|
ขออนุญาตออกความเห็นนะครับ
๑.. ฝึกให้คนไทย ทำอะไรให้เป็นระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย
ข้อนี้ ข้อเดียว ถ้าทำได้ ไม่จำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 01 ก.พ. 13, 10:19
|
|
สร้างเมืองบริวาร .. ระบบขนส่งมวลชน ระหว่างเมืองหลวงกับเมืองบริวาร .. กำหนดพื้นที่ธุรกิจในเมืองบริวาร ... แต่ต้องกำหนดผังเมืองให้ได้ก่อน
เห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่เมืองบริวารน่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยมากกว่า เพราะที่ดินราคาถูกกว่าในเมือง หากมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีเช่นรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินผ่าน คนที่อยู่นอกเมืองก็ไม่มีปัญหาที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ในระยะยาว การย้ายเมืองหลวงก็น่าคิด เพราะน้ำทะเลเริ่มขยับมาไล่พื้นที่ของเมืองทุกที ภายในร้อยปีข้างหน้า พื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำทะเลยึดไปหลายส่วนทีเดียว 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 01 ก.พ. 13, 16:35
|
|
จริงๆ แล้วกรุงเทพมหานครของเราจมน้ำมาตั้งนานแล้ว ปัจจุบันพื้นที่ของกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครกว่าครึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่ที่เห็นว่าน้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ เป็นเพราะระบบป้องกันน้ำท่วมที่เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ การก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดปากคลองทุกคลอง เพื่อป้องกันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามิให้ไหลเข้ามาในช่วงน้ำทะเลหนุนและในช่วงน้ำเหนือหลากลงมา ระดับน้ำทะเลสูงสุดในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพฯ จะอยู่ที่ระดับประมาณ ๑.๕ - ๒.๕ เมตร รทก ระดับน้ำต่ำสุดจะประมาณ ๐.๕๐ - ๑.๐ เมตร รทก ในขณะที่ระดับดินเฉลียของกรุงเทพจะอยู่ที่ประมาณ -๐.๒ - ๑.๘ เมตร รทก และในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกบางแห่ง จะมีระดับพื้นดินเฉลี่ยต่ำกว่าระดับ รทก  ถ้าขับรถขึ้นทางด่วนบางนา-ดินแดง ลองสังเกตความแตกต่างของระดับน้ำที่ประตูน้ำคลองพระโขนงก็ได้ครับ ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 01 ก.พ. 13, 18:49
|
|
ขออภัยที่หายไป คราวนี้เจ็บคอขนาดกลืนน้ำลายยังขยาดเลยและก็เป็นไข้อีกตามปรกติของมัน เพิ่งฟื้นและดูพอจะกระฉับกระเฉงก็วันนี้เองครับ
ผมขอเริ่มความเห็นอย่างนี้ครับ
การย้ายเมืองหลวง (และแนวคิดเรื่องการย้ายเมืองหลวง) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น ผมเห็นว่าเกิดมาสาเหตุสองสามประการ คือ
ประการแรก เป็นการย้ายเมื่อได้มีการรวมบรรดานครรัฐ หรือเมื่อได้ไปมีอำนาจและอิทธิพลเหนือพื้นที่อื่นใดเป็นบริเวณกว้าง (เป็นผืนแผ่นดินในลักษณะของอาณาจักร) แล้ว ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองก็จะเป็นผู้เลือกว่า ณ ที่ใด เมืองใด บริเวณใดเหมาะที่จะตั้งเป็นศูนย์การบริหารการปกครองของตน ซึ่งข้อพิจารณามีไม่มากนัก หนีไม่พ้นเรื่องของความมั่นคง (ยากแก่การรุกราน) เรื่องของความอุดมสมบูรณ์ในลักษณะของความสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ (ดินดี น้ำดี เดินทางสดวก) และเรื่องของเส้นทางคมนาคม (การเดินทางติดต่อค้าขายกับโลกอื่นๆรอบๆตัว)
ประการที่สอง เป็นการย้ายเมื่อชาติพันธุ์ของตนเองได้เป็นใหญ่และมีอำนาจปกครองแผ่นดิน จึงใช้แผ่นดินเดิมของตนเองเป็นที่ตั้งเมืองหลวง
ประการที่สาม เป็นการย้ายเพื่อสลัดคราบที่หลงเหลืออยู่จากการถูกปกครองโดยชาติอื่นๆ
สองเรื่องแรก เป็นเรื่องโบราณ ส่วนเรื่องสุดท้ายเกิดขึ้นในยุคการได้รับอิสรภาพ (สดๆร้อนๆก็ประเทศข้างบ้านเรา)
เมืองหลวงมีความหมายในเชิงของความเป็นศูนย์รวมของอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เมืองหลวงมีการย้ายไปย้ายมาได้ เป็นเป็นการย้ายโดยอำนาจสั่งการ แต่เมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าขายและเศรษฐกิจจะไม่มีการย้าย การย้ายจะเกิดขึ้นเอง ค่อยๆเป็นค่อยๆไป และเป็นไปโดยสภาพแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 03 ก.พ. 13, 18:52
|
|
เกริ่นนำมาก็พอจะทำให้เห็นภาพได้ว่า การย้ายเมืองหลวงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก ยิ่งในปัจจุบันผมว่ายิ่งยากเข้าไปใหญ่ มีทั้งผลประโยชน์ส่วนตน พรรค และพวก ที่ทั้งคอรัปชั่น มีทั้งข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่รังสรรปั้นแต่งขึ้นมา ทั้งนี้ สำหรับกรณีของไทยเรานั้น คงพอเดาได้นะครับว่าภาพมันจะเป็นอย่างไร สรุปในชั้นนี้ว่า คงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็จะลองมองภาพในทาง pro & con ดู
เรื่องแรก ในประเด็นเรื่องของมูลเหตุที่นำพาไปสู่แนวคิดการย้ายเมืองหลวง ซึ่งเมื่อเกิดความคิดว่าน่าจะต้องย้ายเมืองหลวง ก็จะต้องมีภาพวาดฝันในใจต่อเนื่องไปถึงเมืองหลวงใหม่ว่าหน้าตาควรจะเป็นอย่างไร สวยงามอย่างไร
ลองเลือกภาพของเมืองหลวงที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ (ที่เราอยากจะเห็นเมืองหลวงใหม่ของเราในภาพคล้ายๆกัน) ผมว่าคนที่เคยไปเมืองแคนเบอร่า เมืองหลวงของออสเตรเลีย คอยากจะเห็นภาพนั้น พื้นที่ใหญ่มากจนแทบจะคล้ายเมืองร้าง ผู้สูงอายุที่ชอบความเรียบง่าย ความเงียบ ความสวยงามของเมือในองค์รวม วิวทิวทัศน์เยี่ยม อากาศสบาย ยังแทบจะอยู่ไม่ได้ คนในวัยหนุ่มสาวไม่ต้องกล่าวถึงเลย อยู่ไม่ได้แน่นอน เมืองนี้มีการวางผังเมืองที่ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงใดๆ (มีกฎหมายบังคับ) และมีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมหลักเพียงบางอย่างเท่านั้น (เช่น อาคารและที่ทำการรัฐสภา) ผมยกเือาแคนเบอร่าขึ้นมาก็เพียงเพื่อจะเป็นตัวอย่างว่า แทบจะทุกคนคงจะวาดฝันอยากเห็นภาพนี้ เอาละครับ ตอนนี้กำลังกลับกลายเป็นว่า เรากำลังจะมุ่งหาเหตุผลไปสนับสนุนว่าควรจะย้ายเมืองหลวงเพราะมูลฐานอะไร ซึ่งคงมีแทบจะทุกเรื่องที่เราคิดว่าไม่ดี โดยสรุปก็คือ มีเป้าแล้ว เพียงพยายามชักแม่น้ำทั้งห้าให้ทุกคนเห็นด้วยกับความคิดของตน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 03 ก.พ. 13, 20:42
|
|
ไม่ค่อยคุ้นกับออสเตรเลียเท่าไหร่ เคยไป 2-3 ครั้งแบบผ่านๆ เลยไม่รู้ว่าทำไมคนหนุ่มสาวถึงอยู่แคนเบอร่าไม่ไหว มันขาดสีสันหรืออย่างไร ขอความกรุณาขยายความหน่อยนะคะ
เมืองหลวงของรัฐในอเมริกา ไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองใหญ่ๆดังๆของรัฐนั้น อย่างซาคราเมนโต เมืองหลวงของรัฐคาลิฟอร์เนียก็แทบจะไม่มีอะไรให้เอ่ยถึงเลย ผิดกับซานฟรานซิสโกและลอสแอนเจลิส ที่ดึงดูดผู้คนได้สารพัด เมืองหลวงของอิลลินอยส์ก็เหมือนกัน คือเมืองสปริงฟิลด์ ไม่ยักใช่ชิคาโก แม้แต่คนอเมริกันต่างรัฐก็มีอยู่เยอะที่ไม่รู้จักสปริงฟิลด์
ส่วนในบ้านเรา นอกจากจอมพลป.ที่ดำริย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์แล้วเมื่อหกสิบกว่าปีก่อนแล้ว ก็ไม่เห็นมียุคไหนมีโครงการจะย้ายเมืองหลวงไปที่อื่นอีก กรุงเทพก็คงจะขยายใหญ่แบบไร้ทิศทางออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งมาบังคับให้ต้องย้ายเมืองหลวงละมังคะ เพียงแต่ยังนึกไม่ออกว่าความจำเป็นนั้นมาจากเรื่องอะไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 03 ก.พ. 13, 21:26
|
|
เรื่องย้ายเมืองหลวง พม่าเพื่อนบ้านของเราทำไปเรียบร้อยแล้ว งานวันเด็กที่ผ่านมา ฟังพิธีกรถามปัญหาความรู้เรื่องอาเซียนกับเด็กว่าเมืองหลวงของพม่าชื่ออะไร เด็กตอบว่า ย่างกุ้ง พิธีกรบอก ถูกต้อง เนปิดอ เมืองหลวงใหม่ของพม่า ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่มีใครรู้จัก 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 04 ก.พ. 13, 20:27
|
|
อีกไม่นาน คนก็จะรู้จักพม่าในอีกภาพหนึ่ง ลืมภาพของประเทศที่ชื่อพม่าที่เคยมีเมืองหลวงอยู่ที่มัณฑะเลย์ ที่มีประวัติว่าเคยตกอยู่ในความปกครองของอังกฤษ ที่เคยมีเมืองหลวงชื่อย่างกุ้ง ได้ละเลือนหายไปแล้ว เกิดเป็นประเทศใหม่ที่มีชื่อว่าเมียนม่า มีเมืองหลวงชื่อเนปิดอ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมือง Pyinmana อดีตเมืองศูนย์กลางการทำไม้สักของโลกในยุคหนึ่ง
ผมเห็นภาพแบบเลือนลาง คล้ายๆกับว่า เมืองหลวงใหม่นี้ตั้งขึ้นบนแนวคิดแบบอเมริกันตั้ง Washington DC. แบบแคนาดาตั้ง Ottawa แบบออสเตรเลียตั้ง Canberra คือเป็นเมืองที่มีเขตทางอำนาจของตนเอง เป็นเมืองหรือพื้นที่กลางที่ตัวแทนของรัฐที่มีความต่างในแง่มุมต่างๆ จะมาอยู่ร่วมกัน เพื่อช่วยกันคิดช่วยกันสร้างความเจริญให้กับผืนแผ่นดินที่เขาทั้งหลายนั้นจะต้องอยู่ร่วมกัน มากกว่าที่จะเป็นเมืองหลวงของกลุ่มชาติพันธุ์พม่าแต่เพียงอย่างเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 04 ก.พ. 13, 20:55
|
|
ใจกลางเนปีดอเมืองหลวงใหม่นี้คืออนุสาวรีย์ของสามบูรพกษัตริย์พม่า ได้แก่ พระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม พระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดี และพระเจ้าอลองพญาแห่งอังวะ ผู้ปราบชนชาติอื่นๆในลุ่มแม่น้ำอิระวดีตั้งเด่นเป็นสง่าข่มเพื่อนร่วมประเทศอยู่
พม่าเป็นชาติที่เชื่อถือไสยศาสตร์ ทุกเมืองชายแดนสำคัญที่ติดกับไทยจะต้องมีอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนองยืนหันหน้าถมึงทึงมาทางเมืองไทย อนุสาวรีย์สามกษัตริย์นี้ก็สร้างขึ้นเป็นจุดเด่นของเมือง ความใหญ่โตมโหฬารนั้นมีความหมายในเชิงตัดไม้ข่มนามด้วย
ก็ต้องดูกันไป เขาจะรวมใจของทุกชนชาติหล่อหลอมกันเป็นเมียนม่าร์ได้หรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 05 ก.พ. 13, 19:40
|
|
ก่อนที่เรื่องจะเดินต่อไป ผมจะขออนุญาตทำความเข้าใจให้ตรงกันดังนี้นะครับ
ในความหมายแรก การย้ายเมืองหลวง หมายถึง การย้ายเืมืองศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดิน จากตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์หนึ่งไปอยู่ที่อีกตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์หนึ่ง เช่น ย้ายจาก กทม. ไปเชียงใหม่ หรือไปสระบุรี ฯลฯ หรือ เช่น ย้ายไปตั้งในพื้นที่ๆกำหนดให้เป็น territory ของเมืองหลวงโดยเฉพาะ
ในความหมายที่สอง หมายถึง การดำเนินการในลักษณะของการสร้างเมืองใหม่ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเมืองบริวารแบบเมืองเดียวของ กทม. หรือจะเป็นลักษณะเมืองบริวารของ กทม. ในลักษณะที่เป็นกลุ่มเมืองใหม่ที่มีเมืองบริวารของตนเอง
ผมคงจะไม่ไปกล่าวถึงการย้ายเมืองในความหมายแรก เพราะจะมีข้อพิจารณาและข้อถกแถลงที่หลากหลาย มากมาย และกว้างขวางมาก จึงจะขอจำกัดอยู่ในวงของความหมายที่สองเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|