เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7646 ยิ้มเดียวพันตำลึงทอง ตำนานเด็กเลี้ยงแกะของจีน ที่เกือบพาให้สิ้นชาติ
dantoki
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


 เมื่อ 19 ม.ค. 13, 23:34

ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อนครับ ผม Dantoki สมาชิกน้องใหม่ที่ซุ่มอ่านเว็บนี้อยู่นานพอสมควร เห็นว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่อ่านสนุก ได้ความรู้ ดังนั้นกระผมจึงขอร่วมแชร์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจดูบ้างครับ

ตำนานยิ้มเดียวพันตำลึงทอง จุดจบของพวกหลงมัวเมาในอำนาจและสตรี
ราชวงศ์โจว ก่อตั้งโดยโจวหวู่อ๋อง (จีฟา) โดยได้ล้มราชวงศ์ก่อนหน้าก็คือ ราชวงศ์ซาง เพราะอะไรมันอยู่ที่ตรงนี้ครับ เราต้องเล่าย้อนไปถึงราชวงศ์เซี่ย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น “วงจรอุบาทว์” นี้กันครับ
ในปลายแผ่นดินเซี่ย เซี่ยเจวี๋ยตี้ (夏癸帝) หลงมัวเมาในอำนาจ อีกทั้งยังหลง นางเม่ยสี่ (妹喜) ซางทางเจ้าแคว้นซางยกทัพเข้ายึดเมืองหลวง เนรเทศเซี่ยเจวี๋ยตี้ให้ไปเมืองหนานเฉา และได้ก่อตั้งราชวงศ์ซางที่เมืองป๋อตู สืบราชสันตติวงศ์มาจนถึงซางโจ้วหวาง อ๋ององค์ที่ 28
ซางโจ้วหวาง (หรือ ตี้ซิน帝辛) กดขี่ราษฎรด้วยความโหดร้ายทารุณ ทั้งยังมีฮองเฮาคู่ใจเป็นผู้สนับสนุน ฮองเฮาผู้นี้ชื่อ ซูต๋าจี่ นางได้ใช้มารยาจนโจ้วหวางหลงมัวเมาแต่การเสพกาม จนละเลยการบริหารกิจการบ้านเมือง ทั้งมีการประหาร “ปี่กาน” ผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดี อัครมหาเสนาบดีที่เป็นพระเจ้าอาด้วยการควักหัวใจ ทำให้เกิดความเคียดแค้นชิงชังในตัวโจ้วหวางขึ้นในหมู่ประชาชน
นางซูต๋าจี่นี่ในหนังสือชื่อ “เฟิงเสินเหยี่ยนอี้” หรือ ประกาศิตแต่งตั้งเทพเจ้า ว่ากันว่าเป็นนางปิศาจจิ้งจอกกลับชาติมาเกิด เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่ง โจ้วอ๋องไปศาลพระนางหนี่ว์วา อันเป็นมารดรของทุกสรรพสิ่งบนมนุษยโลก และได้ใช้สายตาโลมเลียไปที่รูปสลักของเจ้าแม่ พลางตรัสวาจาว่า “จะต้องนำมาเป็นเมียให้จงได้” ทำให้พระนางพิโรธและสั่งให้นางปิศาจจิ้งจอกนี้มาเกิดเพื่อทำให้โจ้วอ๋องตายเพราะ ความหลงสตรี
ต่อมา จีฟาเจ้าแคว้นโจว ยกทัพของชนเผ่าต่างๆ เข้าล้มราชวงศ์อินที่เมืองหลวงเฉาเกอ สถาปนาราชวงศ์โจวขึ้นปกครองแทน ณ เมืองเฮ่าจิง เป็นโจวหวู่อ๋อง สถาปนาย้อนหลังให้จีชาง พระราชบิดาเป็นโจวเหวินอ๋อง โดยอ๋องเป็นที่เคารพในฐานะ “เทียนจื่อ” (โอรสสวรรค์)
โอรสสวรรค์องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์โจว โจวโยวอ๋อง(หรือ โจวอิวหวาง) ซ้ำรอยเซี่ยเจวี๋ยตี้และซางโจ้วอ๋อง ที่หลงมัวเมาในตัวสตรีเช่นเม่ยสี่และซูต๋าจี่ พระองค์หลงนางเปาซื่อพระมเหสีจนต้องเสียบัลลังก์ไป
เหตุเพราะนางเปาซื่อเป็นสตรีแสนงาม แต่ไม่ยอมยิ้มแย้ม บรรดาขุนนางที่ชอบประจบสอพลอก็ได้ที เพ็ดทูลว่าให้ลองตีกลองเรียกประชุมศึกดู การตีกลองประชุมศึกนี้ จะตีก็ต่อเมื่อเกิดศึก เพื่อเรียกรวมพลเจ้าแคว้นต่างๆ ให้มาช่วยทำศึก โจวโยวอ๋องก็หลงเชื่อ ตีกลอง แต่พอเรียกประชุมเสร็จ โจวโยวอ๋องก็กล่าวกับบรรดาเจ้าแคว้นที่แต่งชุดศึกเต็มอัตราและมีความสงสัยทั้งหลายว่า “ไม่ได้เกิดศึก” แต่ที่ตีกลองเรียกประชุมก็เพื่อให้นางเปาซื่อยิ้ม นางเปาซื่อเมื่อเห็นสีหน้าบรรดาเจ้าแคว้น ก็ยิ้มออกมาด้วยความขบขัน พลางคิดในใจ “ไอ้พวกนี้หน้าโง่จริงๆ” โจวโยวอ๋องเห็นดังนั้น ดีพระทัยมากที่นางเปาซื่อยิ้มออกมา จึงพระราชทานทองแท่งเป็นจำนวนคนละหนึ่งพันตำลึง เป็นการปลอบใจที่เสียค่าโง่ ประวัติศาสตร์ตอนนี้จึงเป็นที่มาของสุภาษิตที่ว่า “ยิ้มเดียวพันตำลึงทอง”
ต่อมา ชนเผ่าเฉวี่ยนหยงยกทัพมาตีเมืองเฮ่าจิง เมืองหลวง แต่ก็มิได้มีเจ้าแคว้นใดยกกำลังมาช่วยตามเสียงกลองประชุมศึก เพราะคิดว่าโจวโยวอ๋องตีกลองศึก “หลอกๆ” อีก เข้าตามตำราเด็กเลี้ยงแกะ โจวโยวหวางและป๋อฝูรัชทายาท ถูกสังหารสิ้นพระชนม์ภายในพระราชวัง ส่วนนางเปาซื่อถูกจับเป็นเชลย เป็นการสิ้นสุดยุคราชวงศ์โจวตะวันตกเพียงเท่านี้ครับ และต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์โจวตะวันออกขึ้น แต่ก็ไม่สามารถบงการเหล่าขุนศึุกได้ดังอดีต ท้ายสุดแผ่นดินจึงแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และเข้าสู่ยุคชุนชิว - จั้นกว๋อ ในที่สุดครับ

เรื่องราวของประวัติศาสตร์จีนก่อนยุคราชวงศ์ฉิน เป็นอะไรที่น่าศึกษามากๆ ครับ ถ้าว่างๆ จะเข้ามาแชร์ข้อมูลบ่อยๆ ครับ
บันทึกการเข้า
dantoki
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 23:52

เกร็ดความรู้เรื่องขุนศึกแคว้นต่างๆ ในยุคราชวงศ์โจว
การปกครองในสมัยราชวงศ์โจวนั้นเป็นระบอบศักดินา ซึ่งเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจ ซึ่งหมายถึง กษัตริย์โจวซึ่งมีอำนาจสูงสุดจะถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจจากส่วนกลางไปให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งดูแล โดยกษัตริย์จะพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่เจ้าขุนมูลนาย, นายทาสเก่าของราชวงศ์ซาง และ เครือญาติ โดยแบ่งเป็นบรรดาศักดิ์ 5 ชั้น คือ “กุง โหว ป้อ จื่อ และ หนัน” คล้ายกับศักดินาของตะวันตกที่เรียก 5 ชนชั้นว่า “ ดยุ๊ค มาร์ควิส เคาน์ ไวน์เคาน์และ บารอน” กษัตริย์โจวได้ส่งขุนนางศักดินาเหล่านี้ไปปกครองเมืองน้อยใหญ่ โดยให้ขุนนางมีอำนาจเด็ดขาดในเมืองนั้นๆ ซึ่งขุนนางศักดินาเหล่านั้นจะต้องจงรักภักดีและมีพันธกรณีต่อราชวงศ์โจวเป็นการตอบแทน โดยต้องเชื่อฟัง ส่งส่วย บรรณาการ ช่วยป้องกันเมืองหลวง ยินยอมให้เมืองหลวงกะเกณฑ์แรงงานคนจากในเมืองของตน ส่วนกษัตริย์โจวก็พยายามควบคุมขุนนางศักดินาด้วยการส่งตัวแทนกษัตริย์ไปประจำอยู่ในเมืองต่างๆเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและรายงานให้กับกษัตริย์ทราบ อีกทั้งกำหนดจำนวนทหารในเมือง กล่าวคือเมืองใหญ่ที่สุดมีทหารได้เพียงครึ่งหนึ่งของกษัตริย์โจว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 10:24

ขอบคุณครับคุณ Dantoki เรื่องราวเกร็ดประวัติต่าง ๆ ของประเทศจีนนั้นมีอยู่มากมาย และนำมาเปรียบเทียบเชิงสั่งสอนให้เห็นกงล้อประวัติศาสตร์ได้ดีครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 12:55

เกร็ดความรู้เรื่องขุนศึกแคว้นต่างๆ ในยุคราชวงศ์โจว
การปกครองในสมัยราชวงศ์โจวนั้นเป็นระบอบศักดินา ซึ่งเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจ ซึ่งหมายถึง กษัตริย์โจวซึ่งมีอำนาจสูงสุดจะถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจจากส่วนกลางไปให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งดูแล โดยกษัตริย์จะพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่เจ้าขุนมูลนาย, นายทาสเก่าของราชวงศ์ซาง และ เครือญาติ โดยแบ่งเป็นบรรดาศักดิ์ 5 ชั้น คือ “กุง โหว ป้อ จื่อ และ หนัน” คล้ายกับศักดินาของตะวันตกที่เรียก 5 ชนชั้นว่า “ ดยุ๊ค มาร์ควิส เคาน์ ไวน์เคาน์และ บารอน” กษัตริย์โจวได้ส่งขุนนางศักดินาเหล่านี้ไปปกครองเมืองน้อยใหญ่ โดยให้ขุนนางมีอำนาจเด็ดขาดในเมืองนั้นๆ ซึ่งขุนนางศักดินาเหล่านั้นจะต้องจงรักภักดีและมีพันธกรณีต่อราชวงศ์โจวเป็นการตอบแทน โดยต้องเชื่อฟัง ส่งส่วย บรรณาการ ช่วยป้องกันเมืองหลวง ยินยอมให้เมืองหลวงกะเกณฑ์แรงงานคนจากในเมืองของตน ส่วนกษัตริย์โจวก็พยายามควบคุมขุนนางศักดินาด้วยการส่งตัวแทนกษัตริย์ไปประจำอยู่ในเมืองต่างๆเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและรายงานให้กับกษัตริย์ทราบ อีกทั้งกำหนดจำนวนทหารในเมือง กล่าวคือเมืองใหญ่ที่สุดมีทหารได้เพียงครึ่งหนึ่งของกษัตริย์โจว


บรรดาศักดิ์ที่ตำแหน่งว่า "กุง"  ถ้าออกเสียงให้ถูกต้อง ต้องออกเสียงว่า  "กง (Gong :公
มากกว่านะครับ

บันทึกการเข้า
dantoki
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 13:21

เกร็ดความรู้เรื่องขุนศึกแคว้นต่างๆ ในยุคราชวงศ์โจว
การปกครองในสมัยราชวงศ์โจวนั้นเป็นระบอบศักดินา ซึ่งเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจ ซึ่งหมายถึง กษัตริย์โจวซึ่งมีอำนาจสูงสุดจะถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจจากส่วนกลางไปให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งดูแล โดยกษัตริย์จะพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่เจ้าขุนมูลนาย, นายทาสเก่าของราชวงศ์ซาง และ เครือญาติ โดยแบ่งเป็นบรรดาศักดิ์ 5 ชั้น คือ “กุง โหว ป้อ จื่อ และ หนัน” คล้ายกับศักดินาของตะวันตกที่เรียก 5 ชนชั้นว่า “ ดยุ๊ค มาร์ควิส เคาน์ ไวน์เคาน์และ บารอน” กษัตริย์โจวได้ส่งขุนนางศักดินาเหล่านี้ไปปกครองเมืองน้อยใหญ่ โดยให้ขุนนางมีอำนาจเด็ดขาดในเมืองนั้นๆ ซึ่งขุนนางศักดินาเหล่านั้นจะต้องจงรักภักดีและมีพันธกรณีต่อราชวงศ์โจวเป็นการตอบแทน โดยต้องเชื่อฟัง ส่งส่วย บรรณาการ ช่วยป้องกันเมืองหลวง ยินยอมให้เมืองหลวงกะเกณฑ์แรงงานคนจากในเมืองของตน ส่วนกษัตริย์โจวก็พยายามควบคุมขุนนางศักดินาด้วยการส่งตัวแทนกษัตริย์ไปประจำอยู่ในเมืองต่างๆเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและรายงานให้กับกษัตริย์ทราบ อีกทั้งกำหนดจำนวนทหารในเมือง กล่าวคือเมืองใหญ่ที่สุดมีทหารได้เพียงครึ่งหนึ่งของกษัตริย์โจว


บรรดาศักดิ์ที่ตำแหน่งว่า "กุง"  ถ้าออกเสียงให้ถูกต้อง ต้องออกเสียงว่า  "กง (Gong :公
มากกว่านะครับ



การอ่านออกเสียงนั้นมันก้ำกึ่งกันครับ อ่านว่า กง หรือ กุงก็ได้ เพราะเป็นเสียงเทียบ ไม่ใช่คำอ่านชัดถ้อยชัดคำเหมือนภาษาไทย แต่คำว่า กง นั้นนิยมในภาษาไทยมากกว่า ที่เจอบ่อยๆ ก็เช่น ฉินเสี้ยวกง โจวกง เป็นต้น

ลองกดฟังเสียงจากคำแปลดูครับ http://translate.google.co.th/#zh-CN/en/%E5%85%AC
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 17:21


การอ่านออกเสียงนั้นมันก้ำกึ่งกันครับ อ่านว่า กง หรือ กุงก็ได้ เพราะเป็นเสียงเทียบ ไม่ใช่คำอ่านชัดถ้อยชัดคำเหมือนภาษาไทย แต่คำว่า กง นั้นนิยมในภาษาไทยมากกว่า ที่เจอบ่อยๆ ก็เช่น ฉินเสี้ยวกง โจวกง เป็นต้น

ลองกดฟังเสียงจากคำแปลดูครับ http://translate.google.co.th/#zh-CN/en/%E5%85%AC

แนะนำให้ลองฟังที่เว็บนี้ดีกว่า google translate เยอะเลยครับ

http://www.oddcast.com/home/demos/tts/tts_example.php?sitepal

เลือกภาษา แล้วก็ copy ตัว Pinyin เข้ามาแปะ แล้วเลือกได้เลยว่า อยากจะฟังเสียงของผู้ชายหรือผู้หญิง บางภาษาที่ใช้กันในหลาย ๆ ประเทศ ก็มีให้เลือกตามสำเนียงของแต่ละประเทศ เช่น ภาษาดัตช์ , ภาษาฝรั่งเศส

ผมฟังหลายรอบ อย่างไรก็ออกเสียง "กง" ครับ

ถ้ายังไม่ชัด ให้ลองฟังที่เว็บนี้

http://www.quickmandarin.com/chinesepinyintable/pinyintable_vertical.php  เลือกตรงตารางจุดตัด ระหว่าง ong(12) กับ กับตัว g(9) จะเห็นทั้ง 4 เสียง ซึ่งไม่มีเสียงไหนออกว่า "กุง" ครับ




คำว่า "กง : Gong :  魏公" เทียบกับยศตำแหน่งทางไทยก็คือ สมเด็จเจ้าพระยา ครับ

ตัวอย่างที่ชัดเจนของคนที่ได้ตำแหน่งนี้ก็คือ ฉินมู่กง ซึ่งเป็นหนึ่งในสามนตราชที่โด่งดังในยุคชุนชิว http://en.wikipedia.org/wiki/Duke_Mu_of_Qin
หรือจะ ซ่งเซียงกง ก็เช่นกันครับ


น่าเสียดายว่า เว็บเรียนไทย ไม่อนุญาตให้ใช้ตัวอักษรภาษาจีน ผมเลย copy ตัว Pinyin มาลงไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 17:29

เสริมคุณ samun007

  ออกเสียงว่า กง ทั้งจีนกลางและแต้จิ๋ว

บันทึกการเข้า
dantoki
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 20:23

ต้องขอบคุณที่ท้วงติงมานะครับ ผมเองก็อาศัยฟังเอาจากกูเกิ้ลเท่านั้น เพราะไม่ได้ศึกษามาทางภาษาจีนโดยตรง เพียงแต่มีความสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนมากเป็นพิเศษเท่านั้น
ตอนแรกก็กังวลเรื่องการออกเสียง ก็อาศัยพี่กูเกิ้ลเนี่ยแหละครับเป็นเครื่องมือแปลภาษาต่างๆ ผิดถูกอย่างไรขอน้อมรับไว้ปรับปรุงแก้ไขในภายภาคหน้าครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 20:39


นางซูต๋าจี่นี่ในหนังสือชื่อ “เฟิงเสินเหยี่ยนอี้” หรือ ประกาศิตแต่งตั้งเทพเจ้า ว่ากันว่าเป็นนางปิศาจจิ้งจอกกลับชาติมาเกิด เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่ง โจ้วอ๋องไปศาลพระนางหนี่ว์วา อันเป็นมารดรของทุกสรรพสิ่งบนมนุษยโลก และได้ใช้สายตาโลมเลียไปที่รูปสลักของเจ้าแม่ พลางตรัสวาจาว่า “จะต้องนำมาเป็นเมียให้จงได้” ทำให้พระนางพิโรธและสั่งให้นางปิศาจจิ้งจอกนี้มาเกิดเพื่อทำให้โจ้วอ๋องตายเพราะ ความหลงสตรี


เรื่องนี้ เป็นพงศาวดารจีนที่ไทยแปลในรัชกาลที่ 2 ให้ชื่อว่า ห้องสิน  เล่ากันมาแล้วในกระทู้เก่าของเรือนไทย ค่ะ   นางซูต๋าจี่  คือ นางขันกี   ชื่อโจ้วอ๋อง หนังสือเรียกว่า ติวอ๋อง  ส่วนพระนางหนี่ว์วา   คือเทพธิดาหนึงวาสี
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ม.ค. 13, 20:04

ห้องจีนในเรือนไทยมีสีสันขึ้นทันตา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง