เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
อ่าน: 102590 เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 19:10

ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 20:02

ถ้าตามที่สัมภาษณ์ของคุณทิพย์วาณีที่ลงสตรีสาร ระบุว่าคุณพ่อเสียชีวิตก่อนเกิดราว 1 เดือน
ก็น่าจะเป็นเมษายน 2474 นะครับ (นับปีแบบเก่า)

ไม่ว่าจะนับปีแบบเก่าหรือแบบใหม่ คุณทิพย์วาณีก็เกิดวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๗๔ เพราะก่อนที่เราจะใช้วันที่ ๑ มกราคมเป็นวันปีใหม่ เราใช้ ๑ เมษายนเป็นวันปีใหม่มาก่อน

สำหรับคุณพ่อ (หลวงจรูญสนิทวงศ์) ที่ในราชกิจจานุเบกษาบอกว่าเสียชีวิตวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๔๗๓ เป็นการนับแบบเก่า ถ้านับแบบปัจจุบันคือ ๓๐ มีนาคม ๒๔๗๔ ก่อนคุณทิพย์วาณีเกิด ๒๘ วัน



บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 21:11

ข้อมูลจากรถไฟไทยดอทคอม นำมาจากหนังสือนุสรณ์ครบรอบ 72 ปีการรถไฟแห่งประเทศไทย

คนไทยคนแรกซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายช่างกลอำนวยการโรงงาน คือ หลวงจรูญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรูญ สนิทวงศ์) ดำรงตำแหน่งเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ.2473 แต่ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงในปลายปีเดียวกัน



http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5552

แต่ผมไม่รู้ว่านับแบบเก่าแบบใหม่นะครับ คือไม่รู้จริงๆ ว่าเขานับกันอย่างไร เคยอ่านบทความเคยเขียนบทความผมก็ว่าไปตามหลักฐาน แล้วเขานับกันแบบไหนหนอ ฮืม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 21:43

เรื่องนับปีเป็นแบบนี้ค่ะ ย่อยให้อ่านง่ายๆ
ปีใหม่เดิมของไทยนับตั้งแต่วันสงกรานต์เป็นวันเริ่มต้นปี  จนถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่   ไปสิ้นสุดเอา 31 มีนาคม  เริ่มนับแบบนี้ตั้งแต่พ.ศ. 2432
ดังนั้นถ้าคุณซูเปอร์บอยเกิดวันที่ 30 มีนาคม 2433   เพื่อนคุณเกิด 2 เมษายน  ถัดมาอีกไม่กี่วัน   เขากับคุณเกิดกันคนละปี  เขาไปเกิดในปี 2434
จนถึงพ.ศ. 2484  รัฐบาลจอมพลป.จึงเปลี่ยนใหม่อีก  โยกวันปีใหม่มาเป็น 1 มกราคม  ทั้งๆแต่เดิม 1 มกราคมยังเป็นปีเก่าอยู่   แล้วก็นับแบบนั้นเรื่อยมาจนปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 22:16

ปีใหม่เดิมของไทยนับตั้งแต่วันสงกรานต์เป็นวันเริ่มต้นปี  จนถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่   ไปสิ้นสุดเอา 31 มีนาคม  เริ่มนับแบบนี้ตั้งแต่พ.ศ. 2432 จนถึงพ.ศ. 2484  รัฐบาลจอมพลป.จึงเปลี่ยนใหม่อีก  โยกวันปีใหม่มาเป็น 1 มกราคม

เรื่องนี้คุณหมอศานติย่อยแล้วน่าจะอ่านเข้าใจได้ง่ายเช่นกัน

เราเพิ่งเริ่มใช้ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นปีใหม่เริ่ม ๑ เมษายน โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสั่งให้เริ่มนับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๒ บังเอิญตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ พ.ศ. ๒๔๓๒ ซึ่งเป็นวันปีใหม่แบบเดิม ก่อนหน้านั้นวันปีใหม่ไม่ตรงกับวันทางสุริยคติเลย




http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/052/451_1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/31.PDF

ประเทศไทยไม่เคยใช้วันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่อย่างเป็นทางการเลย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 08:02

คุณทิพย์วาณีเขียนถึงกิจกรรมที่คุณตาคุณยายทำในวันปีใหม่ ๑ เมษายน อ่านดูแล้วน่าสนุก แม้ว่าในตอนต้นเกี่ยวกับวันสงกรานต์จะเขียนสับสนไปบ้าง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 08:10

วันที่ ๑ เมษายน

แต่ก่อนวันปีใหม่ทางราชการของไทยเรานั้น นับวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะวันปีใหม่ของไทยเราถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ แต่เป็นการนับทางจันทรคติจึงมีวันที่ไม่แน่นอนนัก จนกระทั่งปี ๒๔๘๕ ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้ตรงกับสากลเป็นวันที่ ๑ มกราคม

เมื่อครั้งคุณตาคุณยายยังเป็นเด็ก ๆ อยู่นั้น ยังใช้วันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ มีเพลงร้องด้วยว่า "วันที่ ๑ เมษายน วันขึ้นปีใหม่แสงสว่างกระจ่างจ้า..." แล้ว ก็มีสร้อยว่า "ยิ้มเถิดยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดี" ซึ่งสร้อยนี้ คุณตาและคุณยายจำขึ้นใจอยู่ตลอดมา เพราะเด็ก ๆ ต่างก็ตั้งหน้านับวันรอวันนี้ คือวันที่ ๓๑ มีนาคมและวันที่ ๑ เมษายน

วันนี้ที่ในกรุงเทพฯ จัดให้มีงานใหญ่ที่ท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี มีงานตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ มีนาคม อากาศดีไม่หนาว ไม่มีน้ำค้าง ไม่มีฝน ผู้คนหลั่งไหลมากันแน่นหลายทาง ด้วยรถราง รถเจ็ก รถยนต์ จากท่าพระจันทร์ ท่าเตียน และเดินมา นั่งรถไฟจากต่างจังหวัดก็มีไม่น้อย มีการออกร้านขายของเล่นของใช้อาหารต่าง ๆ มีการแสดงมหรสพต่าง ๆ มีโขน ลิเก หุ่นกระบอก ลำตัด หนังกลางแปลง ของทางราชการและของเอกชนที่จัดมาแสดงเก็บเงิน

ที่นี่เองเด็ก ๆ อย่างคุณตาและคุณยายพากันตั้งตารอ เพราะจะได้รับเงินแจกให้ไปเที่ยวซื้อของตามใจชอบ คุณยายได้ ๕๐ สตางค์ ส่วนคุณตานั้นได้ ๑ บาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดในปีหนึ่ง ๆ ที่เด็ก ๆ จะมีปัญญามีได้ จึงต้องวาดโครงการไว้ก่อนว่าจะซื้ออะไรกันบ้าง

กลางคืนที่ ๓๑  มีนาคม มีงานจนดึก พอสองยามก็จะมีเสียงเพลงวันที่ ๑ เมษายน ดังลั่นไปทั่วท้องสนามหลวงด้วยลำโพง ๔ ทิศ ดอกไม้ไฟ พลุต่าง ๆ ก็พากันจุดพร้อม ๆ กัน มีไฟพะเนียง กังหัน ช้างร้อง แล้วก็พลุสีต่าง ๆ สว่างไสวทั่วท้องสนามหลวง แสดงว่าเปลี่ยนศักราชใหม่แล้ว คุณตาและคุณยายพยายามข่มใจถ่างตาไว้ไม่ให้หลับ ถึงจะง่วงยังไงก็ไม่ยอมให้หลับ เพราะต้องการจะดูดอกไม้ไฟและพลุสวย ๆ ให้ได้ ดูเสร็จแล้วจึงจะกลับไปนอน ตื่นมาใหม่ตอนเช้า

เมื่อตอนกลางคืนคุณยายยังไม่ได้รับสตางค์แจก จึงเพียงแต่ดูของต่าง ๆ หมายตาเอาไว้เท่านั้น วันที่ ๑ ตอนเช้าไปรับแจกเงิน ก็รีบมาซื้อของที่อยากได้ไว้เมื่อตอนกลางคืน ส่วนคุณตานั้นได้รับเงินแจกตั้งแต่วันสิ้นปีแล้ว จึงรู้สึกเสียใจ มักจะเอาของที่ซื้อไว้บอกขายต่อกับพี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อจะเอาเงินไปซื้อของที่อยากได้

คุณยายเป็นเด็กผู้หญิงก็ซื้อของเล่นตามประสาเด็กผู้หญิง มีปิ่นโตเถาเล็ก ๆ น่ารัก พัดขนนกจากอยุธยา นางในหอย เป็นตุ๊กตาชาววังนอนในหอยตลับ กระเป๋าถือใบเล็ก ๆ ชุดหม้อข้าวหม้อแกงจัดเป็นตะกร้า อยู่ในตะกร้าลวดถัก ๆ มีเขียง มีมีด และกระต่ายขูดมะพร้าว กระชอนเล็ก ๆ เข้าชุดกัน ตุ๊กตา เตียงนอน โต๊ะเครื่องแป้ง แต่ที่ขาดไม่ได้ทุกปีก็คือดูละครลิงของคณะ "ปรีดาวานร" ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ถึงแม้ว่าจะซ้ำกันแทบทุกปี คุณยายก็ยังดูได้ ค่าดู ผู้ใหญ่ ๓ สตางค์ เด็ก ๒ สตางค์เท่านั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 08:20

ส่วนคุณตานั้น นอกจากเป็นนักจ่ายเงินซื้อของเล่นแล้ว ยังเป็นนักกินตัวยงอีกด้วย ซื้อของกินเกือบตลอดเวลา ข้าวบ้านไม่ยอมกิน จะกินหอยแมลงภู่ทอด มะม่วงหิมพานต์ หมูสะเต๊ะ และอื่น ๆ อีก กินมากจนปวดท้อง ท้องเดินเพราะอากาศก็ร้อน กินอาหารเข้าไปมากเกินไปก็เป็นอย่างนี้ หน้าร้อนตอนบ่ายที่สนามหลวงแดดร้อนจัด มีคนบ้างแต่โหรงเหรง ส่วนมากมาจากต่างจังหวัด เดินชมร้านขายของไปนานก็กระหายน้ำ น้ำก็ไม่มีขายอย่างสมัยนี้ ต้องอาศัยน้ำดื่มจากแม่ธรณีบีบมวยผมกัน ที่นั่นจึงคนแน่นไปหมด ทั้งผู้ใหญ่และเด็กพากันดื่มน้ำแล้วก็เลยลูบหน้าลูบตัวเสียด้วยก็มีเพื่อบรรเทาความร้อน น้ำขวดมีขายอย่างเดียวคือ "น้ำมะเน็ด" ขวดใหญ่มากทั้งหนาและหนัก มีลูกแก้วปิดปากขวดไว้ มีราคาแพงมากถึงขวดละ ๕ สตางค์ มีน้ำขิงและครีมโซดา ฉะนั้นประชาชนจึงต้องอาศัยน้ำจากแม่ธรณีบีบมวยผมที่สมเด็จพระพันปีหลวงสร้างไว้เป็นทานแก่ประชาชนที่หิวน้ำกันเป็นส่วนใหญ่

ที่สนามหลวงนี้มักได้พบกับญาติพี่น้อง ซึ่งพาครอบครัวมาใส่บาตรแล้วเลยมาเที่ยวคราวละหลาย ๆ คนเสมอ บางครั้งญาติผู้ใหญ่ก็ออกสตางค์ให้ดูละครลิงหรือคนประหลาด บางทีก็ซื้อของเล่นให้ ทำให้ทุ่นสตางค์ไปได้หลายสตางค์ แต่ก่อนผู้คนไม่มากนัก ผู้ที่มาเที่ยวงานปีใหม่สนามหลวงสามารถจอดรถไว้ที่หน้าพิพิธภัณฑ์หรือที่หน้ากระทรวงยุติธรรมได้ ในรถมักเอาเสื่อติดมาด้วย ถ้าเดินซื้อของเมื่อยนักก็ปูเสื่อที่สนามหน้ากระทรวงนั่งพักให้สบายได้ บางทีก็ใช้เสื่อนั้นปูนั่งดูโขนของโปรดของคุณตา หุ่นกระบอกของโปรดคุณยายได้อีกด้วย ถ้าบางคนมีเด็กเล็ก ๆ ก็ให้นั่งกินนมแม่และนอนหลับอยู่บนเสื่อเสียเลย

ถ้าคุณยายและน้อง ๆ ต้องการจะดูดอกไม้ไฟและพลุตอนสองยาม จะต้องนอนกลางวันให้หลับนาน ๆ ถ้าคนไหนไม่หลับก็อดมาเที่ยวงานส่งท้ายปีเก่านี้ เพราะจะทำให้ง่วงนอนแล้วโยเยให้อุ้มแบกกลับบ้านเป็นภาระของผู้ใหญ่ งานออกร้านปีใหม่นี้มีของขายและสนุก ๆ เท่ากับงานภูเขาทอง ดีกว่าตรงมีดอกไม้ไฟและพลุสวย ๆ คนขายของตามร้านก็คนเดิม เพราะมีอาชีพออกร้านตามงาน คุณแม่ของคุณยายมีลูกมาก จะไปเที่ยวงานต้องสอนลูกให้จูงมือกันไว้จะได้ไปพลัดหลงกัน แล้วคอยนับจำนวนลูกให้ครบอยู่เสมอ คุณตาเคยพลัดหลงมาแล้วแต่มีปัญญาเดินหารถที่จอดไว้พบ จึงนั่งรอนอนรออยู่ในรถได้ ไม่ให้ผู้ใหญ่เดือนร้อน
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 08:47

คืออ่านเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กมานานแล้ว  จากเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งคุณตาคุณยายท่านผู้เขียน น่าจะมาจากสกุลขุนนางหรือเจ้านายที่ใหญ่พอสมควร  เลยแปลกใจว่าท่านทั้งสองคือใคร มาจากสายสกุลไหน ท่านใดทราบบ้างครับ เพราะบันทึกชื่อแม่ของท่านผู้เขียน มีแค่ มล.ฟ่อน ไม่ระบุนามสกุล
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 09:56

ร้านผดุงชีพ ปัจจุบันยังมีอยู่หรือไม่ครับ

ท่านใดเคย เห็น หรือมีรูปอยู่บ้างครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 11:50

ร้านผดุงชีพเป็นร้านค้าไม้สองคูหาสองชั้นอยู่เยื้องกับวัดชนะสงคราม คุณทิพย์วาณีตั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ปีเดียว แต่เดิมเป็นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ต่อมาเริ่มทำยาสมุนไพร และสั่งซื้องานฝีมือมาขายด้วย ร้านผดุงชีพเป็นร้านขายสินค้าหัตถกรรมและของเล่นแห่งแรก ๆ ของกรุงเทพฯ  สินค้าภายในร้านได้ดี มีของไทย ๆ หลากอย่าง ทั้งยาแผนโบราณ ยาตราแม่โพสพ ยาปลูกผมปลูกหนวด (เป็นน้ำมันงาเคี่ยวเองที่ร้าน ขายดีมากจนต้องเคี่ยวแทบไม่ได้หยุด จนคนเคี่ยวมีขนขึ้นหนาดกดำที่มือ ต้องโกนทิ้งอยู่เรื่อย) เครื่องดนตรี หัวโขน หัวรูปสัตว์ต่าง ๆ อย่างที่เด็กอนุบาลสวมหัวแสดงระบำสัตว์ ผลไม้จำลอง ตุ๊กตาดินเผา หม้อข้าวหม้อแกง ปลาตะเพียนใบลาน หมูกระดาษออมสิน ซึ่งของส่วนใหญ่ทำจากกระดาษ (เปเปอร์มาเช่) ของเด็กเล่น เช่น งู ตะขาบ และสัตว์เลื้อยคลานทำจากไม้ระกำ รอยควั่นบนไม้ที่ทำเป็นข้อปล้องเมื่อนำมาถือเล่นมันจะเคลื่อนไหวส่ายไปมาคล้ายการเลื้อยคลานของสัตว์

ร้านนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกสาวคนโต ต่อมาเลิกกิจการและถูกรื้อทิ้งไป ภายหลังลูกหลานสร้างอาคารคอนกรีตขึ้นใหม่ในที่เดิม และนำป้ายร้านผดุงชีพมาติดไว้เป็นอนุสรณ์ตรงมุมหนึ่งของอาคาร

ข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/r-dote/2009/10/14/entry-1

ภาพจาก หนังสือวรรณกรรม ๕๐ เล่มที่ต้องอ่านก่อนโต หน้า ๓๘


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 13:15

ขออนุญาตแก้ไข

ร้านผดุงชีพเป็นร้านค้าไม้สองคูหาสองชั้นอยู่เยื้องกับวัดชนะสงคราม คุณทิพย์วาณีตั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ปีเดียว

แก้เป็น คุณแม่ของคุณทิพย์วาณี (หม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์) ตั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ปีเดียว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 14:05

คืออ่านเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กมานานแล้ว  จากเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งคุณตาคุณยายท่านผู้เขียน น่าจะมาจากสกุลขุนนางหรือเจ้านายที่ใหญ่พอสมควร  เลยแปลกใจว่าท่านทั้งสองคือใคร มาจากสายสกุลไหน ท่านใดทราบบ้างครับ เพราะบันทึกชื่อแม่ของท่านผู้เขียน มีแค่ มล.ฟ่อน ไม่ระบุนามสกุล

ตุณตาคุณยายในที่นี้ มิได้หมายความถึงคุณตาคุณยายของคุณทิพย์วาณี แต่หมายถึงคุณตาคุณยายของลูกชายลูกสาวของคุณทิพย์วาณี ซึ่งนอกจากจะหมายถึงคุณพ่อคุณแม่ของคุณทิพย์วาณีแล้ว ยังรวมถึง คุณป้า คุณลุง คุณอา อีกด้วย

จากเฟซบุ๊ก ยอดมนุษย์..คนธรรมดา ของคุณ daylife เล่าว่า

นอกจากคลังหนังสือที่เธอมีเต็มตู้แล้ว แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ก็มาจากความทรงจำในวัยเยาว์นั่นเอง เพราะสมัยก่อนตอนเด็ก ๆ เธออาศัยอยู่ที่บ้านของเจ้าคุณปู่ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ บริเวณถนนบรรทัดทอง แล้วด้วยความครอบครัวใหญ่มาก เวลานอน เด็ก ๆ จึงรวมกันหน้าเตียงของคุณป้า

“คุณป้าท่านชอบเล่าเรื่องเก่า ๆ ให้ฟังก่อนนอนแทบทุกคืน แล้วตอนเด็ก ๆ ดิฉันเป็นคนช่างซักถาม และคุณป้าผู้นี้เป็นคนใจดี เราซักมากท่านก็ไม่รำคาญ ท่านมีอาชีพรับจ้างทำอาหารตามงานเลี้ยง ได้เห็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ จึงรู้เรื่องนำมาถ่ายทอดให้ฟัง

“บางเรื่องก็สอบถามจากบุคคลใกล้ชิดต่าง ๆ คุณแม่บ้าง คุณลุงบ้าง คุณลุงนี่ชอบเล่าเรื่องสมัยยังหนุ่ม คุยแล้วรู้สึกปลื้มใจ แล้วก็มีคุณอาคนเล็กอีกคน เจอหน้ากันต้องมานั่งเท้าความเรื่องเก่า ๆ สมัยเด็ก ๆ เพราะท่านวัยไล่เรี่ยกัน คอยท้วงติงว่าเขียนอะไรตกหล่นหรือคอยเสริมให้..

“เพราะฉะนั้นตัว ‘คุณตา คุณยาย’ ก็คือบุคคลเหล่านี้เองปะปนกันออกมา” ทิพย์วาณี เฉลยความหมายที่แท้จริงของชื่อคอลัมน์ ‘เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก’


สำหรับคุณตาคุณยายของคุณทิพย์วาณีคือ หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ และ เจริญ บุนนาค (ซึ่งเป็นบิดามารดาของหม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์ และหม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์ ภรรยาทั้งสองของหม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) คุณตาสุวพันธุ์เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ ก่อนการประกาศใช้วันที่ ๑ เมษายน ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นเวลาหลายปี คงไม่มีประสบการณ์ในวันปีใหม่ ๑ เมษายนเป็นแน่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 28 ม.ค. 19, 18:17

ดิฉันคิดว่าคุณdaylife  เข้าใจผิด   "คุณตาคุณยายในวัยเด็ก" ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่ของคุณทิพย์วาณี  แต่หมายถึงตัวเธอเองค่ะ,

วันที่ ๑ เมษายน

แต่ก่อนวันปีใหม่ทางราชการของไทยเรานั้น นับวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะวันปีใหม่ของไทยเราถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ แต่เป็นการนับทางจันทรคติจึงมีวันที่ไม่แน่นอนนัก จนกระทั่งปี ๒๔๘๕ ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้ตรงกับสากลเป็นวันที่ ๑ มกราคม

เมื่อครั้งคุณตาคุณยายยังเป็นเด็ก ๆ อยู่นั้น ยังใช้วันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ มีเพลงร้องด้วยว่า "วันที่ ๑ เมษายน วันขึ้นปีใหม่แสงสว่างกระจ่างจ้า..." แล้ว ก็มีสร้อยว่า "ยิ้มเถิดยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดี" ซึ่งสร้อยนี้ คุณตาและคุณยายจำขึ้นใจอยู่ตลอดมา เพราะเด็ก ๆ ต่างก็ตั้งหน้านับวันรอวันนี้ คือวันที่ ๓๑ มีนาคมและวันที่ ๑ เมษายน

วันนี้ที่ในกรุงเทพฯ จัดให้มีงานใหญ่ที่ท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี มีงานตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ มีนาคม อากาศดีไม่หนาว ไม่มีน้ำค้าง ไม่มีฝน ผู้คนหลั่งไหลมากันแน่นหลายทาง ด้วยรถราง รถเจ็ก รถยนต์ จากท่าพระจันทร์ ท่าเตียน และเดินมา นั่งรถไฟจากต่างจังหวัดก็มีไม่น้อย มีการออกร้านขายของเล่นของใช้อาหารต่าง ๆ มีการแสดงมหรสพต่าง ๆ มีโขน ลิเก หุ่นกระบอก ลำตัด หนังกลางแปลง ของทางราชการและของเอกชนที่จัดมาแสดงเก็บเงิน

ที่นี่เองเด็ก ๆ อย่างคุณตาและคุณยายพากันตั้งตารอ เพราะจะได้รับเงินแจกให้ไปเที่ยวซื้อของตามใจชอบ คุณยายได้ ๕๐ สตางค์ ส่วนคุณตานั้นได้ ๑ บาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดในปีหนึ่ง ๆ ที่เด็ก ๆ จะมีปัญญามีได้ จึงต้องวาดโครงการไว้ก่อนว่าจะซื้ออะไรกันบ้าง

กลางคืนที่ ๓๑  มีนาคม มีงานจนดึก พอสองยามก็จะมีเสียงเพลงวันที่ ๑ เมษายน ดังลั่นไปทั่วท้องสนามหลวงด้วยลำโพง ๔ ทิศ ดอกไม้ไฟ พลุต่าง ๆ ก็พากันจุดพร้อม ๆ กัน มีไฟพะเนียง กังหัน ช้างร้อง แล้วก็พลุสีต่าง ๆ สว่างไสวทั่วท้องสนามหลวง แสดงว่าเปลี่ยนศักราชใหม่แล้ว คุณตาและคุณยายพยายามข่มใจถ่างตาไว้ไม่ให้หลับ ถึงจะง่วงยังไงก็ไม่ยอมให้หลับ เพราะต้องการจะดูดอกไม้ไฟและพลุสวย ๆ ให้ได้ ดูเสร็จแล้วจึงจะกลับไปนอน ตื่นมาใหม่ตอนเช้า

เมื่อตอนกลางคืนคุณยายยังไม่ได้รับสตางค์แจก จึงเพียงแต่ดูของต่าง ๆ หมายตาเอาไว้เท่านั้น วันที่ ๑ ตอนเช้าไปรับแจกเงิน ก็รีบมาซื้อของที่อยากได้ไว้เมื่อตอนกลางคืน ส่วนคุณตานั้นได้รับเงินแจกตั้งแต่วันสิ้นปีแล้ว จึงรู้สึกเสียใจ มักจะเอาของที่ซื้อไว้บอกขายต่อกับพี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อจะเอาเงินไปซื้อของที่อยากได้

คุณยายเป็นเด็กผู้หญิงก็ซื้อของเล่นตามประสาเด็กผู้หญิง มีปิ่นโตเถาเล็ก ๆ น่ารัก พัดขนนกจากอยุธยา นางในหอย เป็นตุ๊กตาชาววังนอนในหอยตลับ กระเป๋าถือใบเล็ก ๆ ชุดหม้อข้าวหม้อแกงจัดเป็นตะกร้า อยู่ในตะกร้าลวดถัก ๆ มีเขียง มีมีด และกระต่ายขูดมะพร้าว กระชอนเล็ก ๆ เข้าชุดกัน ตุ๊กตา เตียงนอน โต๊ะเครื่องแป้ง แต่ที่ขาดไม่ได้ทุกปีก็คือดูละครลิงของคณะ "ปรีดาวานร" ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ถึงแม้ว่าจะซ้ำกันแทบทุกปี คุณยายก็ยังดูได้ ค่าดู ผู้ใหญ่ ๓ สตางค์ เด็ก ๒ สตางค์เท่านั้น


คุณทิพย์วาณีเกิดเมื่อพ.ศ. 2475   ข้อความข้างบนนี้เล่าว่าตอนเธอเด็กๆ ปีใหม่ยังเป็น 1 เมษายนอยู่  มาเปลี่ยนในปี 2485  คือเมื่ออายุ 10 ขวบ
บรรยากาศปีใหม่ 1 เมษายน ที่บรรยายไว้ข้างบนนี้ คือบรรยากาศในช่วง 2475-2484   คุณหนูทิพย์วาณีเที่ยวงานปีใหม่ด้วยความสนุกสนานประสาเด็ก  ซื้อของเล่นเล็กๆน้อยๆ   ดูหนังกลางแปลง  เดินกลับมาที่รถยนต์ซึ่งจอดอยู่ฯลฯ
บรรยากาศทั้งหมดที่ว่านี้  ยังมีมาจนถึงยุคของดิฉัน   เพราะสมัยโน้นโลกหมุนช้ากว่าสมัยนี้มาก  โดยเฉพาะของเล่นในยุค 2480s  ยังมีให้เห็นหลังจากนั้นอีกเป็นสิบๆปี

แต่บรรยากาศเหล่านั้นไม่ใช่ยุคสมัยของหลวงจรูญสนิทวงศ์(หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์)บิดาของคุณทิพย์วาณียังเด็กอยู่แน่นอน   
คุณหลวงท่านเกิดปี 2438  สมัยคุณหลวงยังเด็ก  ประมาณว่า 2438-2448   กรุงเทพยังไม่มีหนังกลางแปลง   ไม่มีครีมโซดาขาย  รถยนต์ส่วนตัวของประชาชนยังไม่มีค่ะ
มีรถยนต์พระที่นั่งคันแรก ชื่อรถแก้วจักรพรรดิ    ส่งมาถึงสยามประมาณปี 2448 ค่ะ 
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 29 ม.ค. 19, 15:01

จากที่อ่านมาตั้งแต่เด็กๆ นึกเสมอเลยว่า คุณตาคุณยายในหนังสือ จะเทียบเคียงกับรุ่น ปู่ย่าตายาย
ในปลาย รัชกาลที่ 5 ไม่คิดเลยว่า จะเป็นเรื่องของ รุ่น พ่อ แม่ ในสมัย รัชกาลที่ 7 และ 8 ซึ่งกรุงเทพ
มีการเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.153 วินาที กับ 20 คำสั่ง