เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 102596 เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 12 มี.ค. 13, 18:41

ผมแกล้งแซวนิดเดียว ท่านซายานวรัตนรีบเข้ามาแก้ข่าวเลย  ยิงฟันยิ้ม ผมจำได้ครับ แห่ะๆ ท่านนวรัตนเข้าไปเป็นลูกศิษย์คุณพ่อฮีแลร์ช่วงก่อนกึ่งพุทธกาลเล็กน้อย ดังนั้นต้องเด็กกว่าแน่ๆ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 08 พ.ค. 13, 13:18

เพิ่งได้มาติดตามอ่าน สนุกมากชอบมากๆเลยค่ะ ชอบอ่านเรื่องของคุณหมอศานติด้วยค่ะ เล่าสนุกมากๆเลย
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 03:09

 ยิงฟันยิ้ม
ไม่ว่าจะย้ายไปที่ไหนก็จะต้องนำหนังสือเมื่อคุณตา คุณยายยังเด็กติดตัวไปด้วยเสมอ เข้าใจมาตลอดว่ามีเพียงสองเล่ม

เอาไว้กลับไปเมืองไทยครั้งหน้าจะติดตามหาเล่มสาม และเล่มสี่ ให้ครบถ้วน

ขอขอบพระคุณทุกๆท่านสำหรับความรู้และเรื่องราวต่างๆที่บอกเล่าให้ทราบด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
SRISOLIAN
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 09:42

ผมดีใจมากที่กระทู้นี้ได้ต่อยอดขยายมาเป็นกว่า 150 ตอน พอดีได้มีโอกาสไปอ่านประวัติของคุณทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมัยเขียนเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กลงสตรีสาร ผู้สัมภาษณ์คือคุณธิดา มหาเปารยะ (ไม่แน่ใจว่าสะกดถูกหรือเปล่า) เลยทำให้รู้ว่าคุณทิพย์วาณีเคยเป็นโปลิโอ แต่ได้น้ำมันสมุนไพรของมารดานวดทำให้อาการทุเลา และเธอยังมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และช่วงเวลาที่นอนไม่หลับนี้เองได้กลายมาเป็นเรื่องราวอันทรงคุณค่าอย่างเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และยังมีเรื่องสั้นชุดฝันดี และ กระเช้า อีกด้วย และอย่างที่เธอว่าไว้คุณตาคุณยายยังเด็กเหล่านี้มาจากบุคคลรอบข้างซึ่งเป็นญาติของเธอ (ข้อมูลเหล่านี้อยู่ในหนังสือสตรีสารเมื่อประมาณปี 2525) ส่วนท่านใดยังคงคิดถึงเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กที่แทรกอยู่ในสตรีสารแล้ว สามารถไปอ่านได้ที่ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง บก.สตรีสารได้บริจาคไว้แก่ห้องสมุดคณะอักษรฯ หนังสือชุดนี้ทรงคุณค่ามากและที่นี่มีตั้งแต่ฉบับแรก ซึ่งอยู่ในประมาณปีพ.ศ.2490 โดยประมาณ ส่วนสตรีสารภาคพิเศษน่าจะมีมาในตอนหลังราวปีพ.ศ. 2524  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 14:24

ขอบคุณมากๆสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะคุณ SRISOLIAN มีโอกาสจะหามาอ่านให้ครบทุกเล่มตามที่บอกมาเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 18:49

ยังคิดถึงเรื่องนี้ค่ะ   ไปงานมหกรรมหนังสือ  เห็นพิมพ์ปกใหม่วางขายอยู่    ก็ดีใจว่ายังมีคนสนใจอ่านอยู่เรื่อยๆ
ไปเจอตอนนี้ในอินทรเนตร
                                                                   เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
                                                                        ไปช่วยงานศพ     
       เมื่อเด็ก ๆ  คุณยายและพี่สาวลูกคุณป้าคนหนึ่ง  เป็นเด็กที่กลัวผีอย่างยอดเยี่ยม   ขึ้นชื่อว่าคนตายแล้วต้องเป็นผีก็ต้องกลัวไว้ก่อน  กลัวทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่กลางคืนนั้นกลัวมากกว่า  เพราะความขี้กลัวนี้จึงถูกพวกเด็กผู้ชายโต ๆ แกล้งหลอกต่าง ๆ ให้ตกใจกลัวมากขึ้น  จนเป็นไข้เพราะความกลัวไปหลายครั้ง

      ใกล้บ้านมีการตายก็ต้องมีงานศพ  เอาศพตั้งไว้ที่บ้าน  กลางคืนก็มีสวดศพบ้านอยู่ห่างกันตั้งไกล  สองคนนี้ก็กลัวแล้ว  พอได้ยินเสียงพระสวดรีบมุดเข้ามุ้ง คลุมโปง  พยายามหลับเท่าไร ๆ ก็นอนไม่หลับ  นอนเปลี่ยนท่าเปลี่ยนทางไปเท่าไรก็นอนไม่หลับ  บางครั้งอากาศร้อนมาก  โผล่ออกมาจากโปงก็ไม่ได้  เพราะกลัวจะเห็นผีหรือผีจะมาเห็นเข้า  ต้องทนร้อนอยู่ในโปง  กลางคืนเดินผ่านวัดก็ไม่ได้ต้องข้ามฟากไปอีกผั่งหนึ่งเพื่อไม่ให้ผ่านวัด  ทั้งที่วัดนั้นไม่มีการทำศพแต่ขึ้นชื่อว่าวัดแล้วต้องมีผี  ต้องรีบหลับตาเดินและจับมือผู้ใหญ่ให้แน่นจนกว่าจะพ้นวัดไป   แต่เมื่อคุณยายมีความจำเป็นต้องไปงานศพก็ไปได้  เพราะที่บ้านงานไฟสว่างและมีแขกขวักไขว่ทำให้ไม่กลัว  และพยายามหาที่นั่งสว่าง ๆ คนมาก ๆ 
     งานศพนี้เจ้าภาพนิยมจัดแจกันด้วยดอกซ่อนกลิ่นที่ส่งกลิ่นหอม  พวงหรีดที่วางหน้าศพก็เป็นพวงหรีดที่จัดทำกันเอง      ตามแต่จะมีดอกอะไรในบ้าน  ผู้เป็นช่างมีฝีมือก็ทำกันได้สวย ๆ ตามความคิด  โดยมากใช้ใบปรง ๒ ใบขดเป็นรูปพวงหรีดเป็นโครง  และใช้หยวกกล้วยเป็นหลักในการจัดปักดอกไม้ตกแต่งหน้าศพ  เพราะไม่มีร้านขายหรือรับทำพวงหรีดหรืดอกไม้  พวงมาลัยต่าง ๆก็ร้อยกันมาเอง
      การแต่งตัวในงานศพนั้น  ถ้าตายใหม่ ๆ ยังอยู่ในทุกข์หนัก  ก็จะแต่งขาวกันผ้านุ่งที่ทำจากผ้าขาวออกจากพับใหม่ ๆ มักจะมีแป้งแข็ง  เดินดังสวบสาบ สวบสาบ  บางคนตัดเสื้อใหม่เอี่ยมด้วยความรีบร้อนจนลืมพับริมเสื้อหรือเลาะด้ายเนาก็มี  ต่อเมื่อตายหลาย ๆ วันแล้ว เช่น  ทำบุญ ๕๐ วัน  จึงเปลี่ยนมาแต่งสีดำแทน 
    งานศพนี้เจ้าภาพออกจะเหนื่อยมาก  เพราะต้องทำอาหารเลี้ยงทั้งแขกและพระที่มาสวดและมางานศพ  โดยไม่ให้ขาดทั้งคาวและหวาน   น้ำร้อนน้ำเย็น  โดยมากใช้น้ำชาและยาอุทัย  ต้องทำทั้งมื้อกลางวันและเย็นด้วยบางทีแขกอยู่ดึกก็ต้องมีอาหารว่างอีกมื้อ  คุณปู่ของคุณยายมักจะบ่นว่า
     "คนไทยนั้นชอบละลายเงินในงานศพกันมาก    ต้องทำอาหารเลี้ยงแขกเพียง ๓๐แต่แม่ครัวถึง ๕๐" 
     ในครัวจึงแน่นไม่มีทางเดินเลย  ระบายออกมาทำกันที่ทางเดินบ้าง  ระเบียงครัวบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 18:53

    คุณยายคิดว่าเป็นความจริงที่คุณปู่พูดอย่างนั้น  เพราะคุณแม่ของคุณยายเวลาจะมางานศพนี้ก็เตรียมเอามีดพับ  มีดคว้านใส่กระเป๋ามาด้วย  เพื่อจะมาช่วยคว้านเงาะ  ปอกผักผลไม้ด้วย  เด็กผู้หญิงก็ต้องมาช่วยกันเด็ดถั่วงอก  ซอยหัวหอมหรืออย่างน้อยคุณยายพอจะช่วยปอกกระเทียมได้  ส่วนเด็กผู้ชายนั้นมีหน้าที่วิ่งเล่นและกินอย่างเดียว  ซึ่งคุณยายคิดเสมอว่าไม่ยุติธรรมเลย
      เมื่อตั้งศพไว้นานถึง ๑๐๐ วัน  ก็จะมีการนำไปเผาที่วัด  ก่อนนำไปเผาก็มีการตั้งสวดกันที่บ้านก็ต้องมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูง  เพื่อนบ้านไปตระเตรียมทำดอกไม้จัดแต่งสถานที่กันที่วัดอีกด้วย    พวกผู้หญิงที่มีฝีมือทางดอกไม้ก็ทำดอกไม้สด  ถ้าจะทำกันล่วงหน้ามักใช้ดอกบานไม่รู้โรยเพราะทนดี  ทำกันล่วงหน้าไม่ต้องกลัวเหี่ยว 
      สมัยนั้นนิยมทำตาข่ายดอกพุดคลุมหีบศพกันที่เชิงตะกอนบนเมรุก็ทำตาข่ายเป็นม่าน  มีอุบะดอกจำปาสีเหลืองสวยงามหอมด้วยบางทีก็ "เย็บแบบ" ด้วยดอกบานบุรีสีเหลืองสด  บางคนที่มีฝีมือก็เย็บแบบหรือจัดดอกไม้เป็นปีเกิดของผู้ตายอีกด้วย  ถ้ามีช่างมากงานศพก็สวยหรู  แต่มันสิ้นเปลืองดอกไม้มากมายและมีเศษดอกไม้  ใบไม้  ใบตอง  หยวกกล้วยอีกกองโต  ดอกไม้บางดอกยังดี ๆ อยู่  คุณยายหยิบเอามาเล่น  พวกผู้ใหญ่เห็นเข้าก็จะดุว่า
      "อย่าเอาดอกไม้งานศพไปเล่น  หรือเอาไปบ้านเลยเป็นอันขาด  ไม่เป็นมงคล  ต้องทิ้งไว้ที่วัดนี่" 
      คุณยายจำต้องทิ้งดอกไม้ด้วยความเสียดาย   พี่สาวของคุณยายชอบดอกลั่นทมและดอกซ่อนกลิ่น  เพราะเห็นว่าขาวสวยและหอมดีจึงเอามาปักแจกัน  ก็ถูกผู้ใหญ่ห้ามอีกว่า 
     "ดอกลั่นทมและดอกซ่อนกลิ่นเป็นดอกไม้สำหรับงานศพ  จะเอามาใช้ปักแจกันตกแต่งในบ้านไม่ได้" 
     คุณยายสงสัยจึงไปถามคุณป้าว่าทำไมจึงห้ามใช้ดอกไม้หอมและสวยอย่างนี้  คุณป้าอธิบายว่า 
     "ดอกซ่อนกลิ่นและดอกลั่นทมกลิ่นหอมแรง  กลบกลิ่นศพได้ดี  จึงนิยมใช้ดอกไม้นี้ดับกลิ่น"
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 18:53

      เมื่อถึงเวลาเผาศพ  ก็จะมีพิณพาทย์มอญบรรเลง  ปี่มอญนั้นเสียงเศร้าทำให้คุณยายใจหาย
      ครั้งหนึ่งคุณยายได้มีโอกาสไปงานพระศพเจ้านาย  มีกองเกียรติยศที่สำนักพระราชวังจัดพระราชทานมา  มีพวก "เปิงพรวด"  แต่งกายสีแดง  สวมหมวกทรงประพาสสีแดง  เป่าแตรงอนแตรฝรั่งและตีกลอง  จะมีหัวหน้าตีให้จังหวะ "ตุ๊ม ตุ๊ม ตุ๊ม"  แล้วก็ตีพร้อมกันดัง "พรวด"นี่เองคุณยายคิดว่าจึงชื่อว่า "เปิงพรวด"  แต่ที่สำคัญคือคนเป่าปี่  เขาจะเป่าปี่เพลง "พระยาโศก"จนแก้มโป่ง  เสียงปี่ทำให้คุณยายใจหายจนน้ำตาไหล  เพราะมันเศร้าใจมาก  มีผุ้หญิงแก่ ๆหลายคนได้ยินเสียงปี่แล้วตาแดงจนน้ำตาไหล  คนเป่าก็เป่าไป  มีเปิงพรวดรับเป็นจังหวะเพลงพระยาโศกและเพลงธรณีกรรแสงเป็นเพลงใช้ในงานศพ  มันเรียกน้ำตาคนใจอ่อน ๆ อย่างคุณยายได้มาก

       ในวันเผาศพนี้  เราก็แต่งสีขาวกันอีกทั่วทุกคน  เพราะถือว่าเป็นวันทุกข์หนัก  แขกทุกคนนำดอกไม้จันทน์  ธูป  เทียน มาเอง  บางคนที่มาไม่ได้ก็ฝากคนอื่นมา  ถือว่าเป็นการอโหสิกรรมครั้งสุดท้าย  ส่วนเด็ก ๆ นั้นไม่รู้เรื่องการอโหสิกรรม  เขาบอกให้ใส่ดอกไม้จันทน์  ธูป  เทียนก็ใส่ลงไปโดยไม่รู้เรื่อง  รู้แต่เพียงว่ามาเผาศพเท่านั้น  คุณยายเองก็คิดอย่างนั้นเหมือนกันเผาหลอกมีแขกเหรื่อมากมายตอนเย็น  เผาจริง ๆ เอาตอนสองยาม  มีแต่ญาติที่สนิทจริง ๆ
       เด็ก ๆ กลับบ้านนอนหมด  แต่คุณยายและพี่สาวนั้นกลัวผีมาก  ได้รับคำสั่งให้ล้างหน้าหลาย ๆ ครั้งจะได้ไม่มีภาพศพหรือคนตายติดตา  จะได้นอนหลับ  แต่มันก็ยังติดตาและไม่หายกลัว  ที่หลับได้เพราะง่วงมากต่างหาก
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 23 ต.ค. 13, 01:37

ขอบคุณ คุณเทาชมพูมากๆค่ะ อ่านแล้วเข้าใจความรู้สึกเลยเพราะตัวเองเป็นคนที่กลัวผีมากๆ ข้างบ้านเคยจัดงานศพ ถึงแม้จะเป็นการจัดแบบจีน ที่ไม่น่ากลัวมาก

เท่ากับงานศพของไทย(ในความคิดของตัวเอง) ก็ยังกลัวจนไม่กล้าลุกไปห้องน้ำ จินตนาการไปใหญ่โต ยิ่งป่าช้าแล้วด้วยให้ผ่านตอนเย็นๆยังสยองเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
SRISOLIAN
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 09:22

มาขอบคุณ คุณเทาชมพู ที่กรุณาพิมพ์ตอนต่างๆ เพิ่มเติม ผมอ่านก็ทีก็สนุกได้เกร็ดความรู้ในสมัยอดีต เพราะจะหาเรื่องสั้นที่เป็นเกร็ดความรู้ อ่านง่าย นึกภาพตามง่าย ถ้าเป็นไปได้ไม่รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ยังคงเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาอยู่หรือเปล่านะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 12:56

ไปเจอตอนที่หายาก คือ "หัวอีตู้" แล้วค่ะ   แต่ว่าเจ้าของหนังสือคือคุณดาบสุริยา สแกนมาลงทั้งหน้า ไม่ได้พิมพ์ เลยต้องขยายภาพมาให้อ่านกัน พิมพ์ไม่ไหว
ไม่ทราบว่าชัดพอจะอ่านได้หรือเปล่า  ใครอ่านไม่ออก  ช่วยเข้ามาบอกด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 14:42

มัวมากเลยค่ะคุณเทาชมพู เดี๋ยววิ่งไปหาแว่นสายตาก่อนนะคะ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 17:48

แกะออกมาได้ดังนี้ค่ะ

คุณพ่อของคุณยายเคยพาไปหาหมอญี่ปุ่น ระหว่างที่นั่งรอหมออยู่ คุณยายกวาดตามองไปทั่ว ๆ ร้านของหมอ มีขวดยาตั้งเป็นแถว ๆ มีเครื่องมือหมอ มีขวดแก้วใหญ่ ๆ ใส่น้ำสีต่าง ๆ ไว้ล่อเด็ก แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในร้านก็คือ หัวกะโหลกผีที่อยู่ในตู้ ซึ่งคุณยายกลัวมาก แต่ก็อดชำเลืองดูไม่ได้ ทุกครั้งที่คุณยายมาหาหมอร้านนี้ จะพยายามไม่มองหัวกะโหลกนี้ แต่ก็ต้องแอบชำเลืองดูด้วยความกลัวทุกที เวลากลางวันคุณยายไม่กลัวผี แต่เวลากลางคืนอดกลัวไม่ได้ถ้านึกถึงหัวกะโหลกหัวนี้ขึ้นมา

คุณยายได้รู้เรื่องหัวกะโหลกนี้จากน้าห่าง ๆ ของคุณยายว่า เป็นหัวของอีตู้ นักโทษประหารเมืองแพร่ ในสมัยนั้นนักโทษชาย มีคำนำเรียกหน้าว่า “อ้าย” ถ้าหญิงเรียก “อี” อีตู้เป็นนักโทษที่เหี้ยมโหดฆ่าผัวตาย ธรรมดาต้องถูกตัดสินตัดหัวให้ตายตกไปตามกัน แต่เป็นผู้หญิง จึงแค่ให้ขังคุกไว้ตลอดชีวิต

ไม่ได้เข้ามาเสียนาน มัวไปสู้น้ำท่วมอยู่ค่ะ กราบสวัสดีอาจารย์และส่งใบลาค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 17:54

ตอนนี้รอดน้ำท่วมแล้วใช่ไหมคะ   ดีใจที่มีเวลาแวะมาอีกค่ะ
ดื่มน้ำตะไคร้ให้ชุ่มคอก่อนนะคะ 
ถ้าท่านอื่นอ่านออก ก็ช่วยกันอ่านหน่อยนะคะ  สงสารคุณสิริณาวดี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 24 ต.ค. 13, 17:55

หน้าจบ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง