เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 102593 เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 23 ก.พ. 13, 14:59

เคยงงกับหลายๆ ตัวค่ะ เช่น C Q S ......... ยิงฟันยิ้ม


คุณดีดีจำได้ไหม ตัวนี้ตัวอะไร



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 23 ก.พ. 13, 17:14

เคยงงกับหลายๆ ตัวค่ะ เช่น C Q S ......... ยิงฟันยิ้ม


คุณดีดีจำได้ไหม ตัวนี้ตัวอะไร



ตัว G และ E เขียนติดกัน เป็นยี่ห้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 23 ก.พ. 13, 17:29

สมัยนั้นเรียน รร.เซ็นต์คาเบรียล ตอนเข้าเรียน ป.๑ ผมพอรู้ ABC พอสะกดได้บางคำ เรียนได้ไม่กี่วันก็กลับมาบ้านอวดความรู้ใหม่ให้แม่ อ่าน ABC ให้แม่ฟัง แต่ออกเสียง อา เบ เซ แทนที่จเะออกเสียง เอ บี ซี   แม่ร้องลั่นว่า That’s not English. That’s French.  รุ่งเช้าลากผมไปหาบาดหลวงอธิการ รร. ชื่ออะไรจำไม่ได้ จำได้แต่ว่า ใส่ชุดสีขาวยาวคลุมข้อเท้า กระดุมตั้งแต่คอถึงเท้าหลายสิบเม็ด หนวดยาวถึงหน้าอก มีเม็ดข้าวสุกประปรายในหนวด ผมทึ่งเม็ดข้าวสุกมากแทบจะไม่ได้ยินว่าแม่พูดอะไร จับได้ใจความว่า อา เบ เซ ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้สอนเด็กผิดๆแบบนั้น
ถ้าเป็นร.ร.เซนต์คาเบรียล  ก็น่าจะเป็นคุณพ่อฮีแลร์ละกระมัง       ท่านเป็นอาจารย์ของคุณพ่อดิฉัน   และเป็นอาจารย์ของคุณ Navarat.C เมื่อเข้าชั้นประถมต้นด้วย

เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ เป็นอธิการอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่ใช่หรือ ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 23 ก.พ. 13, 19:10

^
ผมเข้าป๑ที่เซนต์คาเบรียล ปี๒๔๙๖ ยังเด็กมาก แต่จำได้แม่นถึงฝรั่งใส่กระโปรงขาว สูงใหญ่อย่างกับยักษ์ หน้าตาหนวดเครายาวเฟื้อย กลัวแทบฉี่ราด หรือราดกางเกงเปียกไปแล้วก็จำไม่ได้ โตแล้วมาเห็นรูปท่านอีกที อ้อ ท่านชื่อคุณพ่อฮีแลร์
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 23 ก.พ. 13, 20:07

อ่านกระทู้นี้แอบคาดเดาวัยวุฒิหลายๆ ท่านได้เลย  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม   ยิงฟันยิ้ม

สิ่งน่าทึ่งที่คุณพ่อฮีแลร์ทิ้งไว้อย่างหนึ่งที่ผมเคยเห็นคือตำราแบบเรียนภาษาไทยครับ  ผมเคยได้มาชุดนึงเมื่อหลายปีมาแล้ว น่าทึ่งมากที่ฝรั่งเป็นคนเขียนแบบเรียนภาษาไทย ใช้สอนนักเรียนไทยอ่าน น่าเสียดายว่าไม่ได้พกมาเมืองนอกด้วยเพราะเล่มใหญ่มาก แต่ดันไปหลงเชื่อตำราภาษาไทยปัจจุบันของกระทรวงศึกษาชุดภาษาพาทีใบบัวใบโบก พกเอามาสอนเด็กที่นี่แล้วก็ต้องเอาทิ้งไป  ไม่แปลกใจว่าทำไมเด็กไทยปัจจุบันจำนวนมากจบชั้นประถมแล้วอ่านภาษาไทยไม่ออก  ตำราภาษาไทยของกระทรวงยุคปัจจุบันห่วยแบบไม่น่าเชื่อ เริ่มต้นบทแรกก็ให้เด็กอ่านคำที่มีทั้งตัวสะกด ทั้งพยัญชนะโดยไม่ได้เริ่มต้นการหัดผสมเสียง หัดผันเสียงเลย กลายเป็นว่าสอนให้เด็กจำคำเป็นตัวๆ ไป ถ่าเจอคำใหม่ก็จะอ่านไม่ได้ ไม่รู้ว่าผมโง่สอนไม่เป็นเอง หรือผู้คุณทรงวุฒิที่เขียนตำราฉลาดเกินไป ใช้กลวิธีเทคนิคที่เกินภูมิปัญญาของผม   เศร้า


จะยกตัวอย่างจากหนังสือภาษาพาที สำหรับชั้น ป 1 บทที่ 1 ให้ดู บทแรกมีคำประเภท ใบโบกมีงา ใบบัวไม่มีงา  ใบโบกมีงวง  ทั้งสระที่เปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด  ตัวสะกด และพยัญชนะผันเสียงมีครบตั้งแต่บทแรก ไม่ได้สอนทีละขั้นๆ ไป    นี่คือคำให้อ่านของบทที่ 1 ของหนังสือเรียนภาษาไทย ป 1 เล่ม 1 ครับ  คาดว่าคนเขียนตำราคงเข้าใจว่าเด็กไทยหัดอ่านกันมาตั้งแต่อนุบาลหมดแล้วกระมัง   ลังเล
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 23 ก.พ. 13, 22:02

ดรุณศึกษาของ ฟ. ฮีแลร์ เริ่มใช้สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล

คุณประกอบใช้เล่มนี้สอนเด็ก น่าจะได้ผลมากกว่า

http://www.baanbaimai.com/forum/index.php?topic=13347.0



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 23 ก.พ. 13, 22:03

สอนอะไรบ้าง

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 09:58


เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ เป็นอธิการอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ ไม่ใช่หรือ ?

นั่นซี ผมเคยได้ยินชื่อแต่คิดว่าตอนผมอยู่ ป.๑ ท่านเป็นอธิการที่อัสสัมชัน ตอนผมอยู่ ป.๓ มีคนชาวเอเซียเป็นอธิการ พวกเราเรียกกันว่า บราเดอร์เทฟัน ไม่ทราบสะกดอย่างไร ใส่ชุดสีดำแทนที่จะเป็นสีขาว

ที่จำติดตาก็คือพวกรูปปั้นหรือหล่อจากปูนปลาสเตอร์ที่มีอยู่เป็นแห่งๆในตึกสีแดง มีรูปหนึ่งที่ผมดูแล้วกลัว เป็นหุ่นพระเยซูบนไม้กางเขน มีตาปูตอกที่มือที่เท้า มีเลือดไหล เขาทาสีสด ดูน่ากลัว  ต่อมาอีก ๒๐ ปีผมทำงานอยู๋ใน รพ.แคทอลิคในอเมริกา โดนตามไปดูคนไข้แผนกสูติศาสตร์เพราะเขาสงสัยไส้ติ่งอักเสบ ผมไม่เคยชึ้นไปชั้นนั้นมาก่อน พอประตูลิฟเปิดก็ไปประจันหน้ากับรูปปั้นเหมือนกับที่เซ็นคาเบรียลเลย คงแม่พิมพ์เดียวกัน  สะดุ้ง กลายเป็นเด็ก ป.๑ ขึ้นมาอีกทันที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 10:32

บราเดอร์เทฟัน สะกดอย่างนี้ค่ะ Theophun  เป็นชื่อนักบุญ   ผู้ที่บวชเป็นบาทหลวงหรือแม่ชีในนิกายโรมันคาทอลิค จะได้รับชื่อใหม่เป็นชื่อนักบุญท่านใดท่านหนึ่ง    บางทีแม่ชีก็ได้รับชื่อนักบุญผู้ชายมาเป็นชื่อตน  มาแมร์ของดิฉันก็ชื่อเทโอฟันเหมือนกัน  เรียกเร็วๆเป็นเทฟัน 
 
คุณพ่อฮีแลร์ ในสมัยโน้น ไม่ได้เรียกว่า ฟาเธอร์   คุณพ่อดิฉันเรียกว่า บราเดอร์ฮีแลร์   ท่านเป็นนักบวชในคณะเซนต์คาเบรียล    เพราะฉะนั้นก็เป็นไปได้ว่าท่านเคยเข้ามาดูแลการสอนในโรงเรียนเซนต์คาเบรียลด้วย   แต่ไม่พบในประวัติ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 10:33

ตอนผมอยู่ ป.๓ มีคนชาวเอเซียเป็นอธิการ พวกเราเรียกกันว่า บราเดอร์เทฟัน ไม่ทราบสะกดอย่างไร ใส่ชุดสีดำแทนที่จะเป็นสีขาว

บราเดอร์เทฟัน คือ ภราดาเทโอฟาน เวนาร์ด เป็นเจษฏาธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๗

รายนามของเจษฎาธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียลตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 11:47

อ้างถึง
คุณพ่อฮีแลร์ ในสมัยโน้น ไม่ได้เรียกว่า ฟาเธอร์   คุณพ่อดิฉันเรียกว่า บราเดอร์ฮีแลร์   ท่านเป็นนักบวชในคณะเซนต์คาเบรียล    เพราะฉะนั้นก็เป็นไปได้ว่าท่านเคยเข้ามาดูแลการสอนในโรงเรียนเซนต์คาเบรียลด้วย   แต่ไม่พบในประวัติ 


เข้ามาเล่าต่ออีกหน่อยนึงว่า ผมจำได้ว่าท่านพูดภาษาไทย สำเนียงฝรั่งหน่อยๆ แต่ชัดมาก และเป็นครั้งเดียวในชีวิตนักเรียนเซนต์กาเบรียล๔ปี ที่เห็นฝรั่งท่านนี้
ที่จำได้แม่นเพราะวันนั้นเป็นวันแรกที่ถูกพาไปมอบตัวเข้าโรงเรียน โดยเข้าไปในห้องทำงาน ท่านสนทนาด้วยแป๊บนึงก็บอกว่าไปส่งเข้าห้องเรียนได้ ผมก็อาละวาดจะกลับบ้านทันที ท่านก็ลุกขึ้นมาพร้อมไม้เรียวแล้วขู่ว่าถ้าดื้อจะถูกตีนะ ผมเห็นฝรั่งยักษ์หนวดยาวถือไม้เรียวมาก็ยิ่งแผดเสียงใหญ่ ท่านก็เลยลากมือไปแล้วหวดก้น เงื้อเสียแรงแต่แปะลงมาเฉยๆ ผมคงฉี่ราดออกมาตอนนั้นเอง

แหม หลวมตัวเข้าให้แล้ว ว่าจะไม่เล่าแล้วเชียว แต่นี่คือเหตุกาณ์ที่ผมได้รู้จักท่านฮีแลร์ที่เซนต์คาเบรียล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 16:04

^
ผมเข้าป๑ที่เซนต์คาเบรียล ปี๒๔๙๖ ยังเด็กมาก แต่จำได้แม่นถึงฝรั่งใส่กระโปรงขาว สูงใหญ่อย่างกับยักษ์ หน้าตาหนวดเครายาวเฟื้อย กลัวแทบฉี่ราด หรือราดกางเกงเปียกไปแล้วก็จำไม่ได้ โตแล้วมาเห็นรูปท่านอีกที อ้อ ท่านชื่อคุณพ่อฮีแลร์

พ.ศ. ๒๔๙๖ เจษฏาธิการของโรงเรียนเซนต์คาเบรียลคือ ภารดามงฟอร์ต เดอ โรซาริโอ ไว้เคราคล้าย ๆ กับภารดาฮีแลร์

ซ้าย ภารดาฮีแลร์   ขวา ภราดามงฟอร์ต



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 16:16

ก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่จำได้ว่ายักษ์ฝรั่งที่ตีผมมีเคราสีเทาๆ แผ่ๆแบนๆ ปลายมี ๒ แฉก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 19:00

ก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่จำได้ว่ายักษ์ฝรั่งที่ตีผมมีเคราสีเทาๆ แผ่ๆแบนๆ ปลายมี ๒ แฉก

จะฉี่ราด หรือ เห็นเคราสองแฉก ก็ตามที ในฐานะที่เป็นเด็กอัสสัมชนิก ที่โรงเรียนอัสสัมชัญก็มีรูปหล่อ ภ. ฮีแลร์ และ ตึก ฟ.ฮีแลร์ อยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าท่านเป็นบาดหลวงในคณะเซนต์คาเบียล แต่จะไปสอนที่โรงเรียนเซนต์คาเบียลหรือเปล่าต้องหาประวัติอีกครั้งแต่ ในประวัติอัสสัมชัญไม่มีการอ้างถึงว่า ภ.ฮีแลร์ ไปสอนแต่อย่างใด ท่านมรณะที่โรงเรียนอัสสัมชัญ และร่างก็ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่อาคารหอประชุมสุวรรณสมโภช (เป็นหอประชุมอันทันสมัยที่สุด ในยุค ๒๔๙๐) และทำพิธีศพที่ศาสนวิหารอัสสัมชัญ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 24 ก.พ. 13, 23:01

กระแสความนิยมในการเข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจนสถานที่ที่มีอยู่เริ่มไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการที่มากล้นนั้นได้ ทำให้มีผู้ที่ผิดหวังจากการที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนอัสสัมชัญนี้ เป็นจำนวน มาก การเคลื่อนตัวจากบางรัก ซึ่งเป็นชุมชน ชาวต่างชาติจากตะวันตก และคาทอลิกขนาดใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ มาสู่การเปิดสถานศึกษาแห่งที่ 2 ของคณะเซนต์ คาเบรียลจึงเกิดขึ้น

มิติทางประวัติศาสตร์อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวกับโรงเรียนเซนต์คาเบรียล อยู่ที่การใช้ชื่อโรงเรียนว่า เซนต์คาเบรียล แทนที่จะระบุว่าเป็น อัสสัมชัญ สามเสน เพื่อแสดงถึงความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ของทั้งสองโรงเรียน เพราะหากพิจารณาจากความนิยมในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในอัสสัมชัญขณะนั้น ซึ่งเพิ่มจาก 400 คน ในปี ค.ศ.1912 เป็นกว่า 1,000 คน ในปี ค.ศ.1915 ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชื่ออัสสัมชัญ น่าจะขายได้ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ขณะที่นักเรียนเซนต์คาเบรียล ในช่วงปีแรกๆ มีนักเรียนเพียง 141 คน ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 220 คน, 332 คน และ 487 คน ในช่วงปีต่อๆมา

สาเหตุที่ทำให้ต้องใช้ชื่อ เซนต์คาเบรียล ในขณะนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาไทยสมัยนั้น ที่ไม่อนุญาตให้มีโรงเรียนใช้ชื่อเดียวซ้ำซ้อนกัน โรงเรียนของคณะเซนต์ คาเบรียล จึงเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น ที่เซนต์คาเบรียล สามเสน หรือมงฟอร์ต เชียงใหม่ ก่อนที่ข้อกำหนดนี้จะถูกยกเลิกไปในเวลาต่อมา จึง เกิดมีโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์, อัสสัมชัญศรีราชา และโรงเรียนอัสสัมชัญอื่นๆ ที่คณะภราดาสร้าง ขึ้นในระยะหลังจากนั้นซึ่งต่างใช้ชื่ออัสสัมชัญทั้งสิ้น


โรงเรียนพี่โรงเรียนน้องเช่นนี้ ครูบาอาจารย์เขาจะไปมาหาสู่ ทำหน้าที่แทนกันบ้างเป็นครั้งคราวไม่ได้เชียวหรือ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง