เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13014 อยากทราบประวัติ พระไชยโชคชกชนะ ครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 ม.ค. 13, 10:27

ถ้าไปแถวนั้นอย่าลืมถ่ายรูปมาให้ดูกันบ้างนะคะ
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 20:20

ได้เลยครับ ภาพอาจจะไม่สวยมากไม่เป็นไรนะครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ม.ค. 13, 20:29

มีข้อมูลมาอัพเดตครับ
1. จ.ศ. 1242 โปรดให้ หลวงไชยโชก นอกราชการ เป็นหลวงไชยโชกชกชนะ เจ้ากรมทนายเลือกหอกขวา ศักดินา 1000
2. ร.ศ. 114 โปรดให้เลื่อน หลวงไชยโชกชกชนะ (อ้น ) เป็น พระไชยโชคชกชนะ เจ้ากรมทนายเลือกหอกขวา ศักดินา 1000
 หาเจอในราชกิจจานุเบกษา ครับ

มีคำถามรบกวนถามครับ
 1. คำว่า  นอกราชการ หมายความว่าอย่างไรครับ
2. เคยอ่านบทความบางตอน กล่าวถึง ว่า พระไชยโชคชกชนะ เป็น ศิษย์ ของหลวงมลโยธานุโยค ครับ  แต่เท่าที่ค้นดู แล้ว
     หลวงมลโยธานุโยค ก่อนเคยเป็น ปลัดกรม ชื่อ ขุนภักดีอาษา ก่อนได้เลื่อนขึ้นเป็น หลวง มลโยธายุโยค ครับ
     ฉะนั้น พระไชยโชคชกชนะ ไม่น่าจะเป็น ศิษย์ ของหลวงมลโยธานุโยค ได้ครับ 

แชร์กันได้ครับสำหรับข้อมูล
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 12 ม.ค. 13, 00:22


มีคำถามรบกวนถามครับ
 1. คำว่า  นอกราชการ หมายความว่าอย่างไรครับ
2. เคยอ่านบทความบางตอน กล่าวถึง ว่า พระไชยโชคชกชนะ เป็น ศิษย์ ของหลวงมลโยธานุโยค ครับ  แต่เท่าที่ค้นดู แล้ว
     หลวงมลโยธานุโยค ก่อนเคยเป็น ปลัดกรม ชื่อ ขุนภักดีอาษา ก่อนได้เลื่อนขึ้นเป็น หลวง มลโยธายุโยค ครับ
     ฉะนั้น พระไชยโชคชกชนะ ไม่น่าจะเป็น ศิษย์ ของหลวงมลโยธานุโยค ได้ครับ 

แชร์กันได้ครับสำหรับข้อมูล

1. "นอกราชการ" ตรงตัวครับ คือตอนนั้น ไม่ได้ทำราชการแล้ว สาเหตุก็อาจเพราะ ออกเอง โดนปลด หรือเกษียณอายุ
2. หลวงมลโยธานุโยค อาจจะเป็นคนก่อนหน้านี้ก็ได้นี่ครับ
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 10:20

อ้อ.... เข้าใจแล้วครับ
1.แสดงว่าเคยรับราชการแต่ออกไปก่อนกำหนดเกษียณ และกลับเข้ามารับราชการใหม่ อย่างนี้คงต้องค้นย้อนไปอีกเผื่อเจออะไรมากขึ้น
2.ก็พอจะเป็นไปได้ครับ ใครพอจะมีข้อมูลแชร์ได้นะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 10:28

แนะนำให้ค้นในเว็บราชกิจจานุเบกษาค่ะ  เพิ่มเติมค่ะ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 23:20

มีข้อมูลมาอัพเดตครับ
1. จ.ศ. 1242 โปรดให้ หลวงไชยโชก นอกราชการ เป็นหลวงไชยโชกชกชนะ เจ้ากรมทนายเลือกหอกขวา ศักดินา 1000
2. ร.ศ. 114 โปรดให้เลื่อน หลวงไชยโชกชกชนะ (อ้น ) เป็น พระไชยโชคชกชนะ เจ้ากรมทนายเลือกหอกขวา ศักดินา 1000
 หาเจอในราชกิจจานุเบกษา ครับ

มีคำถามรบกวนถามครับ
 1. คำว่า  นอกราชการ หมายความว่าอย่างไรครับ
2. เคยอ่านบทความบางตอน กล่าวถึง ว่า พระไชยโชคชกชนะ เป็น ศิษย์ ของหลวงมลโยธานุโยค ครับ  แต่เท่าที่ค้นดู แล้ว
     หลวงมลโยธานุโยค ก่อนเคยเป็น ปลัดกรม ชื่อ ขุนภักดีอาษา ก่อนได้เลื่อนขึ้นเป็น หลวง มลโยธายุโยค ครับ
     ฉะนั้น พระไชยโชคชกชนะ ไม่น่าจะเป็น ศิษย์ ของหลวงมลโยธานุโยค ได้ครับ  

แชร์กันได้ครับสำหรับข้อมูล

ที่เคยหาข้อมูล และนำไปเผยแพร่(ในนามแฝงอื่น) ถ้าจำไม่ผิด หลวงมลโยธานุโยค ที่อยู่ร่วมสมัยกับคุณพระไชยโชกชกชนะ(อ้น) เพิ่งได้รับโปรดเกล้าฯ ตอนสมัย ร.๕ - ร.๖ นี่เองครับ เสียดายว่าไม่ได้จดชื่อจริงของคุณหลวงเอาท่านใหม่เอาไว้ เลยไม่แน่ใจว่าเป็นคนเดียวกับที่ท่านเจ้าของกระทู้ยกมาหรือเปล่านะครับ

เพราะฉะนั้น คุณหลวงมลโยธานุโยค ที่เป็นครูมวยของคุณพระฯ ก็ต้องเป็นบุคคลที่เกิดและหรืออาจจะรับราชการมาตั้งแต่สมัยต้น ๆ ยุค ร.๔ ก็เป็นได้ หรืออาจจะเป็นยุคกลางสมัย ร.๓ ก็ยังเป็นไปได้อีกเช่นกัน  ซึ่งอาจจะเป็นคนละท่านกับ คุณหลวงที่เจ้าของกระทู้บอกมา

เสียดายว่า จำชื่อหนังสือที่ไปค้นไม่ได้แล้ว จำได้แต่ว่า พิมพ์ออกมาตั้งแต่ยุค คุณอา เดโช สวนานนท์ ยังเป็นอธิบดีกรมศิลปากรอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 14 ม.ค. 13, 23:30

มีข้อมูลมาอัพเดต ครับ
ปรากฎ ชื่อ หลวงไชยโชคชกชนะ (หมี ) อีกคน ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ฤกษพลิน
แสดงว่ายังคงมีใช้ราชทินนาม อยู่จนถึงรัชกาลที่ 6
แต่ที่เป็นถึงคุณพระไชยโชคชกชนะ (อ้น ) น่าจะอยู่ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 หรือเปล่าครับ
ปรากฏชื่อ ปี 2449 เป็นครูมวยคนแรกในพระนคร

ถ้าจะว่าตามข้อมูลของ อ.ประยุกต์ บุนนาค ที่ท่านได้ค้นไว้ คุณพระฯ ได้รับเชิญมาสอนวิชามวยปล้ำ หรือก็คือมวยไทยโบราณอย่างเดิม ที่สามัคยาจารย์สมาคมเป็นท่านแรก พร้อมกับขุนยี่สารสรรพยากร(ครูแสงดาบ) ที่สอนวิชาอาวุธ แต่ไม่ได้หมายความว่ายุคนั้นจะมีครูมวยคนแรกในพระนครแค่ท่านเดียวนะครับ

ต่อมาภายหลัง สามัคยาจารย์สมาคม ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นห้องพละศึกษากลาง ก่อนที่ต่อมาภายหลังสุดจะกลายมาเป็นกรมพละศึกษา หรือ สถาบันการพละศึกษาในปัจจุบันนี้นั่นเอง

แต่ว่าสายวิชามวยไทยตำรับคุณพระฯ ก็หยุดลงตรงแค่สมัยของ คุณหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร ) ผู้เป็นศิษย์คนสำคัญของคุณพระฯ เท่านั้น  เพราะหลังจากนั้น ได้มีการเชิญครู สุนทร(กิมเส็ง) ทวีสิทธิ์ แห่งค่ายมวยทวีสิทธิ์ มาเป็นผู้สอนวิชามวยไทยแทน และท่าไหว้ครูมาตรฐานของมวยไทยเวทีในปัจจุบัน ก็เลยกลายเป็นท่าไหว้ครูแบบค่ายทวีสิทธิ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่ปัจจุบัน ท่าไหว้ครูนั้น เท่าที่ทราบมาบ้างรู้สึกจะไม่ค่อยตรงกับรูปแบบเดิมของค่ายทวีสิทธิ์มากนัก ท่าบางท่าอย่าง "ย่างสุขเกษม" ก็ค่อนข้างจะเพี้ยนไปแบบกู่ไม่กลับ อย่างนี้เป็นต้นครับ

บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 21:27

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
มีข้อมูลอัพเดตครับ
1.จ.ศ.1245 โปรดให้ นายจีน มหาดเล็กเวรศักดิ์ เป็นหลวงมลธานุโยค เจ้ากรมทนายเลือกหอกซ้าย ศักดินา 1000

แต่ก็เป็นคุณหลวงที่หลัง หลวงไชยโชคชกชนะ ครับ คงต้องย้อนกลับไปอีก
ลองแชร์ดูครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 27 พ.ค. 13, 21:44

เพิ่มข้อมูลอัพเดตครับ

 ขออนุญาตินะครับ 

   คุณหลวงไชยโชคชกชนะ เคยเป็น ขุนโยธานุรักษ์ ปลัดกรมทนายเลือกหอกซ้าย มาก่อน เป็นหลวงไชยโชคชกชนะครับ
ได้รับเลื่อน จ.ศ. 1234  ประมาณปี่ที่6 ของการครองราชย์ของรัชกาลที่5 ครับ

และปรากฎชื่อ หลวงมลโยธานุโยคในราชกิจจานุเบกษา ในรัชกาลที่4 ประมาณปีพ.ศ. 2401-02 ครับแต่ไม่ทราบชื่อครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ส.ค. 13, 00:37

ขออนุญาติอัพเดตข้อมูลครับ

พระไชยโชคชกชนะ ถึงแก่กรรม 9 ส.ค. 2448  พระราชทานเพลิงศพ ที่วัดคฤหบดี แถวบางพลัด

ผมได้เดินทางไปที่วัดเพื่อเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากที่ทราบว่าคุณพระไชย ได้พระราชทานเพลิงที่วัดคฤหบดี

ได้ไปพบข้อมูลใหม่ด้วยความบังเอิญในความอยากรู้อยากเห็นของผมครับ พอไปถึงวัดทำบุญไหว้แล้วเห็นเจดีย์เก่าหน้าโบสถ์องค์นึง

เลยขออนุญาติพระหลวงพี่ที่ดูแลอยู่แถวนั้นขอขึ้นไปเดินดูที่เก็บอัฐิต่างๆบนเจดีย์ ปรากฏว่าเป็นของตระกูล ภมรมนตรีและชุมสาย ณ อยุธยา

พอเดินเวียนขวาไปจนเกือบจะครบรอบเจดีย์ครับ  ได้เหลือบไปเห็นป้ายอัฐิแผ่นนึง เขียนว่า พ.อ.อ. พันธ์ศักดิ์  ภิญโญ อยู่รวมกับชุมสาย ณ อยุธยา

ตื่นเต้นมากครับที่ได้เจอ ( ทั้งๆที่ยังอดสังสัยอยู่ว่าเกี่ยวไรกัน )เพราะว่าคุณพระไชยโชคชกชนะ  (อ้น) ตามบันทึกเก่าของคุณปู่ผม ว่าคุณพระไชยใช้นามสกุล ภิญโญ ( เอาละสิ )

ซึ่งก่อนหน้าที่คุณหลวงสังวาลย์ฯ (เจียก จิกิตศิลปิน ) จะขอพระราชทานนามสกุลว่า จิกิตศิลปิน ก็ใช้นามสกุลว่า ภิญโญ ครับ

เกิดเป็นความสงสัย เลยลงไปสอบถามพระหลวงพี่ที่อยู่แถวนั้น ทราบว่า ระแวกแถวบ้านปูนเคยมีคนตระกูล ภิญโญ อยู่จริงแต่ปัจจุบันได้ย้ายออกไปแล้วอยู่แถวบางบัวทอง

เลยกำลังขออนุญาติรบกวนพระหลวงพี่เป็นธุระติดต่อให้ได้รู้จักกันครับ  ตอนนี้เลยกำลังรออยู่อย่างใจจดใจจ่อครับ อิอิ


ส่วนเรื่องความสงสัยนั้น รบกวนท่านผู้รู้ที่พอทราบเรื่องนะครับ
1. ชุมสาย ณ อยุธยา เกี่ยวดองกันกับ ทาง ภิญโญ อย่างไร
2.ภมรมนตรี กับ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นญาติกันอย่างไรครับ
ขอบพระคุณไว้ล่วงหน้าครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ส.ค. 13, 11:02


ส่วนเรื่องความสงสัยนั้น รบกวนท่านผู้รู้ที่พอทราบเรื่องนะครับ
1. ชุมสาย ณ อยุธยา เกี่ยวดองกันกับ ทาง ภิญโญ อย่างไร
2.ภมรมนตรี กับ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นญาติกันอย่างไรครับ
ขอบพระคุณไว้ล่วงหน้าครับ ยิ้ม
ข้อแรกตอบไม่ได้ ค่ะ ไม่รู้จักนามสกุลภิญโญ
ข้อสอง ตอบได้ว่าเกิดจากหม่อมน้อยค่ะ
หม่อมน้อย เป็น บุตรีของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) ต่อมา เธอได้เป็นหม่อมในพระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีโอรสธิดาสององค์
กรมหมื่นมาตยาฯสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังหนุ่ม   หม่อมน้อยจึงกลับไปอยู่บ้านพระยาราชมนตรีผู้บิดา   เนื่องจากยังสาวและสวย จึงได้เป็นหม่อมห้ามในพระองค์เจ้าชุมสาย  กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นราชสกุลชุมสาย ณ อยุธยา) มีโอรสธิดาด้วยกัน 7 องค์ คือ

    หม่อมเจ้าชายระเบียบ (? - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2450) [2]
    หม่อมเจ้าหญิงมาลีวัณ (พ.ศ. 2383 - 25 กันยายน พ.ศ. 2467)
    หม่อมเจ้าชายอรุณ
    หม่อมเจ้าหญิงจำรัส
    หม่อมเจ้าหญิงประภา (พ.ศ. 2387 - 8 กันยายน พ.ศ. 2455)
    หม่อมเจ้าหญิงเจริญ (พ.ศ. 2388 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429)
    หม่อมเจ้าชายประวิช (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390 - 19 กันยายน พ.ศ. 2468)
    หม่อมเจ้าชายปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์) (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2394 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2477)

   ดังนั้น  ลูกหลานหม่อมเจ้าในราชสกุลชุมสายทั้ง 7 องค์นี้ ถือว่ามีเชื้อสายของสกุลภมรมนตรี ผ่านทางหม่อมน้อยด้วยทั้งหมด
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 23:41

ขอบพระคุณมากครับสำหรับความรู้เพิ่มเติมครับ

ตอนนี้ทางผมก็ยังคงรอการติดต่อจากทางตระกลูภิญโญ อยู่ครับ ถ้ามีคืบหน้าจะมาอัพเดตอีกทีครับ

ส่วนเรื่องหลวงมลโยธานุโยค ที่เป็นอาจาร์ยของ พระไชยโชคชกชนะ น่าจะเป็นคนที่ชื่อ (รุ่ง )ครับ
ซึ่งหลวงมลโยธาฯ (รุ่ง )เคยเป็นอาจาร์ย สอนมวยให้กับรัชกาลที่5ตอนวัยเยาว์ ครับ มีปรากฏในราชกิจจาฯ2420 ครับ

แต่สายวิชามวยของคุณพระไชยโชคฯเป็นสายเดียวกับมวยไชยา ใช่หรือเปล่า ครับมีใครพอรู้บ้างครับ รบกวนด้วยครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 23 ส.ค. 13, 23:47

รบกวนสอบถามอีกเรื่องครับ

คำว่า จางวาง กับ เจ้ากรม ต่างกันอย่างไรครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 ม.ค. 16, 07:33

มีเรื่องรบกวนสอบถามเพิ่มเติมครับ พอดีไปพบหนังสือ ดาบศักดิ์เหล็กน้ำพี้ เนื้อหาดูจะกล่าวเกี่ยวกับทนายเลือก
พอดีเจอชื่อตำแหน่ง  ออกขุนไชยโชคชกชนะ กับ ออกขุนชนะเชิงชก 
ใครพอทราบไหมครับว่าชื่อตำแหน่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาใช่หรือเปล่าครับ
เพราะเท่าที่ทราบ ร.4ท่านทรงตั้งใหม่ ว่า หลวงไชยโชคชกชนะ กับ หลวงมลโยธานุโยค
และเนื้อหาดูเหมือนผู้แต่งจะมีความรู้ในเรื่องราวของ กรมทนายเลือก ซึ่งมักจะมีหน้าที่จัดนักมวย มาชกหน้าพระที่นั่งฯครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 20 คำสั่ง