เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 11382 กฎหมายโบราณ จากเรื่องมหา'ลัยเหมืองแร่
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 17:06

รออ่านอยู่ว่า จะมีคำอื่นใดที่น่าสนใจ ที่ได้กล่าวถึงในหนังเรื่องดังกล่าวนี้ (อาทิ อาชญาบัตร.... ประทานบัตร.... สัมปทาน กะสะ บังกา หางแร่ ขี้แร่ ฯลฯ) ที่ยังเป็นข้อสงสัยหรือไม่  หากไม่มี ก็แสดงว่ามีการดำเนินเนื้อเรื่องที่อธิบายความหมายของคำดังตัวอย่างนี้ได้อย่างเข้าใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 17:36

รออ่านอยู่ว่า จะมีคำอื่นใดที่น่าสนใจ ที่ได้กล่าวถึงในหนังเรื่องดังกล่าวนี้ (อาทิ อาชญาบัตร.... ประทานบัตร.... สัมปทาน กะสะ บังกา หางแร่ ขี้แร่ ฯลฯ) ที่ยังเป็นข้อสงสัยหรือไม่  หากไม่มี ก็แสดงว่ามีการดำเนินเนื้อเรื่องที่อธิบายความหมายของคำดังตัวอย่างนี้ได้อย่างเข้าใจ
สงสัยหมดทุกคำละค่ะ   สัมปทาน พอเข้าใจว่าแปลว่าอะไร แต่คำอื่นๆไม่รู้จัก
ถ้าได้นักธรณีวิทยามาอธิบาย พร้อมเล่าประสบการณ์ประกอบ ก็จะขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 20:42

ในเมืองไทยมีการทำแร่มานานโขอยู่มากแล้ว   ในความหมายว่ามีการขุดนำแร่ขึ้นมาส่งเป็นส่วย มาขาย มาถลุง มาใช้ นะครับ

แร่ตามความหมายในสมัยโบราณแต่เก่าก่อนนั้น ผมเห็นว่าหมายถึงเฉพาะทรัพยากรแร่โลหะ คือที่นำมาถลุงแล้วได้โลหะธาตุ ซึ่งจะนำไปใช้ในการทำศาสตราวุธเป็นหลัก จึงจัดว่า แร่นั้นเป็นของมีค่า เป็นทรัพย์สินในแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน ควรแก่การต้องมีการควบคุมด้วยระเบียบหรือกฎหมาย ซึ่งหมายความต่อไปถึงว่าจะต้องได้รับอนุญาตก่อนการกระทำใดๆ

คำว่าสัมปทาน นั้นตรงกับคำว่า concession หรือ concessionaire        การใช้คำนี้จะเกิดขึ้นมาแต่เมื่อใดไม่ทราบ แต่ที่เป็นระบบที่เรียกว่าระบบสัมปทานนี้ เคยอ่านพบว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1900 ครั้งแรกในอิหร่าน ซึ่งตรงกับในสมัยรัชสมัยของ ร.5     โดยหลักการของระบบพื้นๆก็คือ เป็นการให้สิทธิแก่บุคคลใดหรือนิติบุคคลใดให้มีสิทธิ (right) ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง (ในเนื้อที่ค่อนข้างมาก ในระดับนับเป็นร้อยตารางกิโลเมตรขึ้นไป) เพื่อไปทำการสำรวจ หรือทำการผลิต หรือทำการตักตวงเอาทรัพยากรธรรมชาติที่กำหนด (ที่ได้รับอนุญาตในสัญญา) ในพื้นที่ๆกำหนดนั้นๆไปขาย โดยเสียค่าต๋งให้กับรัฐผู้อนุญาตตามอัตราที่กำหนดในสัญญา ซึ่งก็คือที่เราเรียกกันว่า ค่าภาคหลวง (Royalty)     

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 21:27

สัมปทาน โดยนัย คือการให้สิทธิไปดำเนินการในเรื่อง ในพื้นที่ๆเราเข้าไม่ถึง หรือเราก็ไม่มีรายละเอียดหรือองค์ความรู้ใดๆในพื้นที่นั้นๆมากนัก
   
สัมปทานโดยทั่วๆไป (ในโลก) จะมีอายุประมาณ 30 หรือ 35 ปี  ผมก็ไม่ทราบที่มาที่ไปว่าทำไมจึงต้องเป็นช่วงระยะเวลาเท่านี้ครับ

การให้สัมปทานของเราอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น คิดว่าเริ่มในสมัย ร.5    เป็นการให้สัมปทานในเรื่องของการทำไม้ในพื้นที่ห่างไกลเป็นหลัก เช่น ที่ ต.วะเล่ย์ (มาจากชื่อผู้รับสัมปทานชื่อ Sir Lawrence Valley) อ.พบพระ จ.ตาก  พื้นที่ประเทศไทยที่เว้าเป็นปากนกแก้วบริเวณนี้ (ซึ่งเป็นพื้นที่สัมปทานป่าไม้) ก็เว้าแหว่งหายไปเนื่องมาจากการยึดและอ้างสิทธิของอังกฤษ   ฟังประวัติว่ามาอย่างนั้นครับ

ส่วนคำว่าประทานบัตรนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต่างจากสัมปทาน   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 22:06

concession หรือ concessionaire ตรงกับความหมายของระบบเจ้าภาษี ที่มีในรัชกาลที่ ๓  ค่ะ

สมัยนั้น ราชการจัดระบบเจ้าภาษีนายอากรขึ้น  คือหลวงเป็นผู้เปิดประมูลการเก็บภาษี  ผู้ชนะการประมูล คือ ผู้ที่เสนอเงินตอบแทนสูงสุดให้แก่รัฐบาล  เจ้าภาษีมีหน้าที่เก็บภาษีแทนราชการอีกต่อหนึ่ง  ได้เงินตามที่ราชการกำหนดก็ส่งเข้าภาคหลวงไป   ส่วนที่เหลือก็เป็นกำไรของตัวเอง  แต่ถ้าได้น้อยกว่าก็ขาดทุนเข้าเนื้อไป
ผู้ที่ประมูลภาษี เรียกว่า "เจ้าภาษีนายอากร"  ส่วนมากเป็นชาวจีนฐานะดี  มีเงินรองรังมากพอ และเพิ่มพูนกำไรได้เก่ง  ผลดีของระบบคือรัฐมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่าเก่า  แต่ข้อเสีย คือ เป็นระบบผูกขาด และอาจจะมีการขูดรีดภาษีจากราษฎรได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ม.ค. 13, 20:17

ครับ
 
ด้วยระบบของเราแบบที่คุณเทาชมพูกล่าวมานั้น  อาจะเป็นต้นเรื่องของคำว่าประทานบัตรก็ได้

ผมไม่มีทราบว่าคำว่า ประทานบัตร นี้มีการใช้ย้อนไปไกลกว่าสมัย ร.5 หรือไม่  แล้วก็ไม่ทราบว่ามีการใช้กับเรื่องอื่นๆหรือไม่ นอกเสียจากการใช้ในเรื่องของการทำเหมืองแร่ เพราะว่าคำเต็มก็คือ ประทานบัตรเหมืองแร่  แต่หากใช้เพียงคำว่า ประทานบัตร ทุกคนก็ดูจะรู้เลยว่าเป็นประทานบัตรเหมืองแร่และเรื่องของเหมืองแร่

ลักษณะของประทานบัตรเหมืองแร่ คือ มีขอบเขตพื้นที่ชัดเจน มีอายุกำหนดว่ากี่ปีหรือจะหมดอายุในกี่ปี   ซึ่งตามกฎหมายในปัจจุบัน โดยหลักใหญ่ ก็คือ กำหนดว่าเพื่อการทำเหมืองแร่ในลักษณะใด (เหมืองอุโมงค์ เหมืองเปิด ฯลฯ) ทำการผลิตแร่ชนิดใด (แร่ดีบุก แร่เหล็ก ฯลฯ) แต่ละใบมีเนื้อที่แต่ละแปลงประทานบัตรไม่เกิน 300 ไร่ (ประมาณครึ่ง ตร.กม.) โดยมีการรังวัดปักเขต มีขอบเขตชัดเจน  มีอายุไม่เกิน 25 ปีและสามารถต่ออายุได้
 
ผมเข้าใจว่า เหตุที่ใช้คำว่า ประทานบัตร นี้ ก็เพราะอยู่บนพื้นฐานของหลักการว่าทรัพย์สมบัติในธรรมชาติต่างๆเป็นของแผ่นดิน เป็นสมบัติที่พระมหากษัตริย์ผู้ครองแผ่นดิน ทรงเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการประทานอนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดไปทำการขุดออกมาขาย  คือการให้สิทธิเฉพาะกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการขุดเอาทรัพยากรนั้นไปค้าขายหากำไร โดยจะต้องเสียภาษีอากรให้กับรัฐเป็นการตอบแทนตามปริมาณที่ขุดได้ในอัตราที่กำหนด

ด้วยความที่เรื่องของสัมปทานกับประทานบัตรมีความคล้ายคลึงกันพอควร   จึงมีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมักจะเอาคำสองคำนี้มารวมกัน เรียกว่า สัมปทานบัตร   เอาเรื่องของการสัมปทานมาผนวกกับเรื่องประทานบัตร  คนละเรื่องกันเลยครับ ประทานบัตร เป็นเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ต้องปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่มีการเจรจาต่อรองใดๆ  ในขณะที่การสัมปทานเปิดช่องให้มีการเจรจาต่อรองกันได้ระหว่างรัฐกับผู้ขอสัมปทาน         

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 08:37

อ้างถึง ประวัติพระยาสยามนุกูลกิจ กล่าวไว้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แร่ดีบุกมีความต้องการจากทางยุโรปมาก ทำให้มีการเปิดเหมืองแร่ในแหลมมลายูและดินแดนประเทศราชของสยาม ทำให้มีกำไรกันทั่วหน้า ดังนี้แล้วพระยาสยามนุกูลกิจเห็นว่าอยากจะลงไปขุดเหมืองแร่ดีบุกบ้างในเขตสยาม จึงขอพระราชทานรัชกาลที่ ๔ เปิดเหมืองแร่ดีบุก และทรงพระราชทานให้เป็นเจ้าเมืองกระบุรี เพื่อขุดเหมืองแร่ แต่ก็ไม่ได้ทำเงินได้มากเหมือนอย่างที่เมืองระนอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 09:15

ผมไม่มีทราบว่าคำว่า ประทานบัตร นี้มีการใช้ย้อนไปไกลกว่าสมัย ร.5 หรือไม่  แล้วก็ไม่ทราบว่ามีการใช้กับเรื่องอื่นๆหรือไม่ นอกเสียจากการใช้ในเรื่องของการทำเหมืองแร่ เพราะว่าคำเต็มก็คือ ประทานบัตรเหมืองแร่  แต่หากใช้เพียงคำว่า ประทานบัตร ทุกคนก็ดูจะรู้เลยว่าเป็นประทานบัตรเหมืองแร่และเรื่องของเหมืองแร่

ในรัชกาลที่ ๕ มีการตั้งกรมโลหกิจและภูมิ์วิทยา มีหน้าที่ตรวจตราบรรดาการที่เกี่ยวข้องด้วยแร่ โลหะธาตุ ทั้งประทานบัตร แลสัญญาอาทานในการแร่ โลหะธาตุ แลภูมิ์วิทยาทั้งปวงในพระราชอาณาจักรสยาม

มีศัพท์ว่า "สัญญาอาทาน" ขึ้นมาอีกแล้ว

หมายถึงอะไรหนอ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 09:59

ไม่เคยได้ยินคำว่า สัญญาอาทาน  ลองแยกคำดู  รอยอินให้ความหมายว่า
สัญญา   น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น   เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).

อาทาน   น. การถือเอา, การรับ, การยึดถือ, มักใช้เป็นส่วนท้ายศัพท์ เช่น   อุปาทาน สมาทาน. (ป., ส.).

รวมแล้วน่าจะแปลว่า ข้อตกลงที่กระทำร่วมกัน อาจจะรวมถึงเงื่อนไขด้วย

รอคุณตั้งมาตอบให้กระจ่างอีกทีค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 10:32

คัดจากหนังสือจัดตั้งกระทรวงเกษตราธิการ กล่าวไว้ว่า เดิมทีการอนุญาตให้ทำเหมืองแร่นั้น เจ้ากระทรวงหัวเมืองเป็นผู้จัดการ มีทั้งทำเองและทำโดยพลการก็มี จึงได้จัดตั้งกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขึ้น เมื่อ ร.ศ. ๑๑๐ โดยมีผู้ดูแลคือ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์  และได้รับมิสเตอร์ อิ เต มูเลอร์ ชาวเยรมัน และมิศเตอร์ เอช วาริงตันสไมท์ ชาวอังกฤษ มารับราชการในกรมในตำแหน่งเจ้ากรม และผู้ช่วยเจ้ากรมตามลำดับ

ซึ่งก่อนหน้าที่จะตั้งกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยานี้ได้มีการออกประทานบัตรไปล่วงหน้าแล้ว ๑๑ ราย (เช่น เหมืองทองคำที่บางสะพาน, ที่เหมืองโต๊ะโม๊ะ เป็นต้น)

หลังจากมีการเลิกกระทรวงเกษตราธิการ ระหว่างศก ๑๑๔ ได้ย้ายกรมราชโลหกิจแลภูมิวิทยาไปขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ต่อมาที่ศก ๑๑๘ ได้มีการจัดตั้งกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาใหม่ ทำให้กรมราชโลหกิจแลภูมิวิทยา โอนกลับอยู่ยังกระทรวงเดิม

ประธานบัตร์ทั้งหมดที่ออกรวม ๑๗๕ ฉบับ

ต่อมาศก ๑๒๐ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ ร.ศ. ๑๒๐
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 17:42

เพิ่งเคยได้ยินคำว่า สัญญาอาทาน ครับ

ความหมายที่คุณเทาชมพูวิเคราะห์ไว้นั้น น่าจะถูกต้องทีุ่สุดแล้ว
   
จากนี้เป็นการวิเคราะห์และการคาดเดาของผมที่พอจะมีเหตุผลสนับสนุนบ้างพอควร  คือ เนื่องจากกิจการเหมืองแร่ในยุคสมัยครั้งนั้น ยังไม่มีตัวบทกฏหมายชัดเจนดังในปัจจุบัน  ประทานบัตรเป็นเพียงใบอนุญาตให้ผู้ถือเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในการทำเหมืองแร่ในขอบเขตพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้นๆ  ประทานบัตรเป็นเอกสารที่ออกให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีชื่อเป็นผู้รับเท่านั้น เป็นการมอบสิทธิแบบเฉพาะเจาะจงตัว ไม่สามารถนำไปซื้อขาย โอน หรือมอบให้แก่บุคคลอื่นๆได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางราชการและมีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือโดยทางราชการเป็นที่เรียบร้อยเสียก่อน     

คราวนี้ ด้วยที่แร่ดีบุกเป็นทรัพยกรของรัฐที่เป็นทรัพยากรที่ต้องการของตลาดโลกมาก เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐจากการเก็บค่าภาคหลวง    แหล่งแร่ที่พบมีกระจายอยู่ทั่วไปในป่าเขา ในห้วยหนองคลองบึงต่างๆ    ดังนั้น เพื่อให้รัฐมีรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ มิให้มีการรั่วไหลเกินเหตุ จึงต้องมีการควบคุม โดยเฉพาะในเรื่องของการขาย ซึ่งรัฐจะเก็บค่าภาคหลาง (เป็นอัตราชัก เช่น 100 หาบชัก 10 เป็นต้น) หรือต่อมาเป็นร้อยละของราคาดีบุกในตลาด โดยคำนวนจากปริมาณที่แต่ละเหมืองขอนำไปขาย    เอาละครับ ทีนี้ก็พอจะเดาได้ว่าหนีไม่พ้นที่จะต้องมีที่ปิดบัง ทีโกง ที่ซ่อนเร้น ที่ไม่ใช่ของตน ที่ทำเถื่อน ฯลฯ ผสมผสานเข้ามาด้วย   ก็จึงต้องมีเงื่อนไขต่างๆผนวกเป็นข้อกลงแนบท้ายประทานบัตร  เช่น ให้อยู่ในการดูแลของเขตพื้นที่ใด จะต้องรายงานแจ้งเรื่องอะไรบ้าง ฯลฯ  รวมทั้งหากจะทำการอื่นไดที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม เ่ช่น เปิดหน้าเหมืองใหม่ เปลี่ยนจาการใช้แรงคนไปเป็นการใช้เครื่องจักร ฯลฯ ก็จะต้องรายงานหรือจะต้องได้รับอนุญาต เป็นต้น

สัญญาอาทาน จึงน่าจะหมายถึง เงื่อนไขแนบท้ายใบประทานบัตรในกลุ่มของเรื่องราวที่ได้กล่าวมา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 ม.ค. 13, 17:44

มีอีกคำหนึ่ง คือ อาชญาบัตร   

คำนี้ก็น่าสนใจเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 20 ม.ค. 13, 20:08

คำว่าอาชญาบัตรนี้ พอรู้อยู่บ้างว่า นอกจากมีการใช้ในเรื่องของการสำรวจแร่ตาม พรบ.แร่ แล้ว ก็มีการใช้ในเรื่องของโรงฆ่าสัตว์และเขียงขายเนื้อหมูสดในตลาดสด  (ไม่ทราบว่าผู้ขายเนื้อวัวและไก่จะต้องมีด้วยหรือไม่)  และก็ไม่ทราบด้วยว่ามีการใช้ในเรื่องอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้อีกหรือไม่ 

ความหมายตรงๆของอาญาบัตร ก็คงคือ ใบอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การฆ่าหมู การสำรวจแร่ เป็นต้น

ประทานบัตร ดูจะมีความหมายตรงกับคำว่า Exclusive Right ที่ให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลใดดำเนินการบางเรื่อง (แบบเฉพาะเจาะจง) เช่น ประทานบัตรเหมืองแร่ดีบุก คือให้ทำเหมืองแร่ดีบุกในขอบเขตพื้นที่ๆกำหนด จะทำแร่อื่นในพื้นที่ๆกำหนดนั้นๆก็ไม่ได้ (แต่ละแปลงประทานบัตร ไม่เกิน 300 ไร่)   

ในขณะที่ อาชญาบัตร ดูจะมีความหมายไปในเชิงของ Operating Licence ซึ่งคือการอนุญาตให้บุคคลหรือนิติบุคคลสามารถดำเนินกิจกรรมในบางเรื่องได้ เช่น ดำเนินการโรงฆ่าสัตว์  หรือการเดินสำรวจแร่ในพื้นที่ต่างๆ     อาชญาบัตร ก็มีแบบผูกขาดเหมือนกัน น่าจะตรงกับคำว่า Exclusive licence เช่น อาชญบัตรผูกขาดสำรวจแร่สำหรับแร่ใดแร่หนึ่งในเขตพื้นทีใดพื้นที่หนึ่งที่กำหนด (ไม่เกิน 3,000 ไร่)  ความต่างกับอาชญาบัตรธรรมดา คือ ผู้อื่นสามารถเข้ามาสำรวจในพื้นที่นั้นๆได้ แต่หากเป็นการผูกขาด ผู้อื่นจะเข้ามาทำการสำรวจแร่ชนิดเดียวกันในพื้นที่นั้นๆไม่ได้      กรณีอาชญาบัตรสำหรับโรงฆ่าสัตว์นั้น สังเกตได้เหมือนกันว่า ออกให้สำหรับเขตหรือเป็นพื้นที่ๆไป

ในระบบของกฏหมายแร่นั้น อาชญบัตรกระทำได้เพียงการสำรวจหาแร่ในพื้นที่ที่กำหนด จะกี่แปลงก็ได้ แต่ๆละแปลงจะไม่เกิน 3,000 ไร่  หากพบแร่แล้วจะทำเหมืองก็จะต้องขอประทานบัตร   เช่นกัน จะกี่แปลงก็ได้ แต่ๆละแปลงจะต้องไม่เกิน 300 ไร่


จะให้ไปไกลถึงเรื่องของสัมปทานปิโตรเลียมไหมครับ  แต่คงจะต้องแยกออกไปเป็นกระทู้ใหม่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง