เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 22102 คุณจำได้ไหม ถึงใครคนหนึ่ง?
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 10:44

สมัยนั้นเขาสะกดชื่อไทยเป็นอังกฤษโดยอาศัยรากศัพท์ ไม่ใช่อาศัยเสียง เลยกลายเป็น Vibulayamangkala อยู่พักหนึ่ง  ไม่ได้ถามพ่อว่าทำไมเลือกใช้ตัว V แทนตัว ว แทนที่จะใช้ W (แต่ชื่อแรกใช้ W)  ใจผมคิดว่าสมัยก่อนคนไทยส่วนมากไม่รู้ว่า V กับ W ออกเสียงต่างกัน อักษรที่ตรงกับ V ในภาษาไทยไม่มี คงเป็นเพราะเรามี ตัว สอ สามอย่าง ตัว คอ สามอย่าง ฯลฯ เลยไม่เห็นแปลกที่อังกฤษจะมี ว สองอย่าง

สมัยคุณพ่อของท่านศานติ  น่าจะสะกดชื่อหรือนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษด้วยอักษรโรมัน  ซึ่งเป็นแบบอย่างของการสะกดนามสกุลตั้งแต่รัชกาลที่ 6
อักษรโรมันไม่มี W  มีแต่ V  ซึ่งใช้แทนเสียง ว ของไทย   

คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า V กับ W  ออกเสียงไม่เหมือนกัน   เสียงที่แทน ว คือ W    ส่วน V  มันกึ่งๆระหว่าง ว กับ ฟ   เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย    ถ้าไปออกในภาษาเยอรมันก็เป็นเสียง ฟ  ไปเลย   Vibul จะออกเป็น ฟิบูล
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 16:30

เมื่อเข้าเรียนม.ปลาย  มีสาขาให้เลือก 2 สาขาคือศิลป์กับวิทย์   พวกที่เข้าวิทย์โดยเฉพาะพวกติดห้องคิงกับควีนล้วนตั้งเป้าหมายเข้าเรียนแพทย์ เสียประมาณ 8 คน  อีก 2 คนตั้งเป้าเรียนวิศวะฯ
จากนั้นพอเอ็นทรานซ์  ก็ยกชั้นกันเข้าแพทย์  ไปเจอหน้าเดิมๆเรียนกันสลอนในคณะวิทย์ฯ ก่อนข้ามฟากกันไป  
สมัยนั้น(หรือสมัยนี้ก็เถอะ) พวกเรียนแพทย์มักจะถูกมองว่าเก่งระดับเทพ     มันสมองอาจถูกออกแบบมาพิเศษ ให้เรียนรู้วิชาอะไรที่ชาวบ้านทั่วไปเรียนแล้วไม่รู้    ส่วนสายภาษาถูกมองว่าเป็นวิชาท่องจำที่ง่ายกว่าสายวิทย์   ใครไม่ชอบเลขไม่ชอบวิทย์ ก็เลือกสายภาษาแทน

อ่านกระทู้นี้แล้ว อยากให้เทพทั้งหลายที่มีพ.บ. ต่อท้าย และตามมาด้วยสาขาผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวย่อภาษาปะกิตอีกหลายตัว   กรุณาเล่าความหลังสมัยเรียนแพทย์ให้น้องๆ ลูกๆหลานๆ ฟังกัน เป็นบันทึกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยที่ไม่เขียนไว้ในตำรา
ได้ไหมคะ


อาจารย์ครับ
ผมอยากเล่ามาก แต่เริ่มต้นไม่ถูก
เพราะผมคิดว่ามีแพทย์ไม่กี่คนที่จะมีเรื่องราวตั้งแต่สาเหตุที่เรียนแพทย์ จนชีวิตการเรียน ชีวิตการทำงานแบบผม
เรียนแพทย์เพราะเป็นเด็กต่างจังหวัดไม่มีการแนะแนวไม่รู้จะเลือกคณะอะไรตอนเอนทรานซ์
เข้าไปเรียนแล้วพบว่าสังคมนั้นไม่ใช่นิสัยเรา เลยเกเร เรียน ๘ ปี
จบแล้วดันไปเรียนต่อสาขาที่ใครๆก็บอกว่ายาก และงานหนัก กลับไปเป็นอาจารย์
ด้วยความใจร้อน เลยทะเลาะกับอาจารย์ด้วยกันจนโดนคดีอาญาร้ายแรง โดนวินัยข้าราชการ โดนคดีแพทยสภา
แต่ด้วยข้อเท็จจริง ทำให้หลุดพ้นได้ทุกกรณี
ลาออกจากราชการ เพื่อไปอยู่เอกชน โดนหักหลัง จนเป็นหมอตกงาน ต้องเปิดหนังสือพิมพ์หางานทุกวัน
ในที่สุดได้งาน รพ.เอกชน ต่างจังหวัด แต่ทำได้ไม่นาน ไม่สามารถฝืนใจทำในสิ่งที่คิดว่าไม่น่าทำ เลยลาออก
กลับเข้ารับราชการอีกรอบ คราวนี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้วิชาชีพทำมาหากินนอกโรงพยาบาล
เลยโดนขอให้ช่วยงานบริหาร จนถลำลึกไปเรื่อย แต่สุดท้ายทนการถูกเอาเปรียบจากผู้ร่วมวิชาชีพไม่ได้
เลยลาออกมาอยู่หน่วยงานที่ทำงานเพื่อสุขภาพของคนไทย ๔๕ ล้านคน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 17:47

เคยได้ยินแพทย์อาวุโสคงจะรุ่นใกล้เคียงคุณหมอ CVT ท่านเล่าว่าสมัยที่ท่านเรียนที่ศิริราช  แต่เวลาสอบอาจารย์ทั้งศิริราชและจุฬาฯ แบ่งกันออกข้อสอบ
ไม่ทราบรุ่นคุณหมอได้สอบข้อสอบพิเศษแบบนี้หรือไม่ครับ  รบกวนเล่าประสบการณ์ตอนนี้สู่กันด้วยครับ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 19:34

เคยได้ยินแพทย์อาวุโสคงจะรุ่นใกล้เคียงคุณหมอ CVT ท่านเล่าว่าสมัยที่ท่านเรียนที่ศิริราช  แต่เวลาสอบอาจารย์ทั้งศิริราชและจุฬาฯ แบ่งกันออกข้อสอบ
ไม่ทราบรุ่นคุณหมอได้สอบข้อสอบพิเศษแบบนี้หรือไม่ครับ  รบกวนเล่าประสบการณ์ตอนนี้สู่กันด้วยครับ

ท่าน V_Mee ครับ
ที่สอบแบบนั้นนั่นรุ่นลุง รุ่นอาผมเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 00:45

อาจารย์ที่ทำทางช่องอกมีอีกคนครับ อาจารย์เปรม บุรี ผมนับถือมากนอกจากฝีมือดี แล้วยังใจเย็นมาก เล่ากันว่าท่านเป็นเสรีไทยระหว่างสงครามโลกที่สอง ตอนนั้นนักเรียนไทยที่เรียนอยู่อังกฤษอเมริกาได้รับการฝึกแล้วโดดร่มลงเมืองไทย เล่ากันว่าบางรายเขาฝึกให้โดดร่มกลางวัน ไม่ฝึกกลางคืนเพราะกลัวจะบาดเจ็บ แต่เวลาโดดจริงๆโดดกลางคืน แรกๆเขาให้ก้อนทองคำติดตัวเสรีไทยที่โดดร่มเพื่อแลกเป็นเงิน (ตอนหลังใช้ธนบัตร์ไทยที่พิมพ์นอกเหนือคำสั่ง) เสรีไทยบางคนที่พกก้อนทองคำถูกจับได้เลยโดนฆ่าเอาทอง เป็นที่ทราบกันในหมู่เสรีไทย อาจารย์เปรมโดดร่มกลางคืนแต่เครื่องบินหลงทางไปหน่อย เขาว่าร่มสัมภาระของอาจารย์ไปตกกลางบ้านกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน เลยไม่มีทางหนีรอดเพราะเขาออกหากัน บังเอิญแถวนั้นมีมะขาม ตอนโดนจับก็ทำทองไม่รู้ร้อน กินมะขามไปให้เขาค้นไป เอาก้อนทองคำใส่ฝักมะขามถือมือซ้ายที มือขวาที ค้นไม่เจอทอง  ลืมถามไปว่าร่มลงที่ไหน เพ็ชรบูรณ์หรือเปล่า มะขามอาจหวานดี

คล้องกับเรี่องที่ผู้ใหญ่คนหนึ่งเล่าให้ผมฟัง ท่านเป็นหัวหน้าฝ่ายการออกบัตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ท่านมีความรู้มากมาย มาป่วยเป็นคนไข้ตอนผมเป็นแพทย์ประจำบ้าน อยู่รพ.หลายอาทิตย์ กินข้าวเย็นแล้วผมไปเยี่ยมแทบทุกคืน เพราะท่านมีเรื่องดีๆเล่าให้ฟัง ท่านเล่าให้ฟังว่าบริษัท Thomas de la Rue ซึ่งเป็นบริษัทพิมพ์ธนบัตร์อังกฤษ และพิมพ์ธนบัตร์ให้รัฐบาลไทยมาแต่ไหนแต่ไร โดนรัฐบาลอังกฤษบังคับให้พิมพ์ธนบัตร์นอกเหนือคำสั่ง โดยใช้หมายเลขซ้ำกับรุ่นสุดท้าย (จะว่าปลอมหรือไม่ปลอมก็แล้วแต่คำจำกัดความของคำว่า ปลอม) มีพนักงานตาไวของธนาคารชาติเห็นลายเซ็นที่ดีเกินปกติ (ท่านอธิบายว่าธนบัตร์มีสองลายเซ็น รมต.กระทรวงการคลัง กับผู้ว่าการธนาคารชาติ) ลายเซ็นหนึ่งโดยปกติแล้วพิมพ์มาจากอังกฤษ แต่อีกลายเซ็นพิมพ์ในเมืองไทย เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในเมืองไทย เป็น 'เครื่องพิมพ์สมัยพระเจ้าเหา' (คำพูดของท่าน) เวลาพิมพ์ออกมาแล้วลายเซ็นไม่ชัดเท่าที่ควร  เมื่อพนักงานเห็นลายเซ็นดีผิดปกติ ธนาคารชาติก็เริ่มจับตาดู จนพบว่ามีหมายเลขซ้ำ (ดูเหมือนเป็นใบละร้อย) เลยรู้แน่ว่า Thomas de la Rue พิมพ์นอกเหนืออนุญาต  ดูเหมือนหลังสงครามรัฐบาลจะฟ้องเรียกค่าเสียหาย ดูเหมือนจะชะนะความ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 01:14

เคยได้ยินแพทย์อาวุโสคงจะรุ่นใกล้เคียงคุณหมอ CVT ท่านเล่าว่าสมัยที่ท่านเรียนที่ศิริราช  แต่เวลาสอบอาจารย์ทั้งศิริราชและจุฬาฯ แบ่งกันออกข้อสอบ
ไม่ทราบรุ่นคุณหมอได้สอบข้อสอบพิเศษแบบนี้หรือไม่ครับ  รบกวนเล่าประสบการณ์ตอนนี้สู่กันด้วยครับ

ท่าน V_Mee ครับ
ที่สอบแบบนั้นนั่นรุ่นลุง รุ่นอาผมเลยครับ  ยิงฟันยิ้ม

เรื่องแบ่งออกข้อสอบผมว่าความคิดดี แต่ไม่ทราบว่าที่ผมสอบแบบนั้นหรือเปล่า

ส่วนเรื่องแข่งขันระหว่างสอง รร.ก็มีอยู่ตามธรรมดา จำได้ว่าตอนผมอยู่ปีสอง อหิวาห์ระบาด เมื่อสงบแล้วเอาอัตราตาย (mortality rate) ของสองรพ.มาเทียบกัน จำได้ลางๆว่าศิริราชราว 11-12 % แต่จุฬาฯ 9% หรือกว่านั้นหน่อย มาเถียงกันว่ารักษาแบบไหนดีกว่ากัน จนมีคนชี้ว่า population ของคนไข้ต่างกัน เทียบกันไม่ได้ คนไข้ศิริราชหลายเปอร์เซ็นต์มาจากในสวน นั่งเรือมา กินเวลากว่านั่งรถพยาบาลไปจุฬาฯ (สมัยนั้นรถไม่ติด) 
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 08:18

การรักษาอหิวาห์ตกโรค
เคยฟัง  บรรยาย   ของท่านอาจารย์ชัญโญ เพ็ญชาติ อาจารย์อายุรกรรม
ท่านว่าการให้นํ้าทดแทนเป็นแนวทางที่ท่านคิดขึ้น
และทำให้อัตราตายลดลงไปมาก
ท่านยังเล่าว่า Cecil เขียนจดหมายมาชมเชยท่าน

ส่วนตัวผมได้วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทั่วไปรุ่นแรกๆ ที่ยังเรียนสามปี
เดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำงานแล้วเช่นกันเพราะตามองไม่ชัด
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 08:32

ขอคารวะอาจารย์ผู้ใหญ่อีกครั้งครับ

สำหรับผมเป็น CVT รุ่น ๓ ปี รุ่นรองสุดท้ายครับ

เรียนถามอาจารย์ศานติ ถึงทุนอานันทมหิดล ว่ากันว่าในอดีตสาขาแพทยศาสตร์จะมีปีละ ๑ คน
แต่บังเอิญมีอยู่ ๑ ปี ก่อนอาจารย์สัก ๔-๕ รุ่น ฝ่ายจุฬาฯ สอบได้ ศิริราชสอบไม่ได้
เลยเป็นเหตุให้ปีนั้นต้องมีการใช้กำลังภายในทำให้มีนักเรียนทุนอานันทมหิดลสาขาแพทยศาสตร์ ๒ คน จริงหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 08:36

เพิ่งรู้จากกระทู้นี้   ว่าในเรือนไทย ซึ่งเป็นเว็บบอร์ดของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี    หลายท่านที่มาร่วมวงตอบอยู่ฉาดฉานนั้นเป็นนายแพทย์ระดับปรมาจารย์ทั้งสิ้น  


บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 08:40

ขอคารวะอาจารย์ผู้ใหญ่อีกครั้งครับ

สำหรับผมเป็น CVT รุ่น ๓ ปี รุ่นรองสุดท้ายครับ

เรียนถามอาจารย์ศานติ ถึงทุนอานันทมหิดล ว่ากันว่าในอดีตสาขาแพทยศาสตร์จะมีปีละ ๑ คน
แต่บังเอิญมีอยู่ ๑ ปี ก่อนอาจารย์สัก ๔-๕ รุ่น ฝ่ายจุฬาฯ สอบได้ ศิริราชสอบไม่ได้
เลยเป็นเหตุให้ปีนั้นต้องมีการใช้กำลังภายในทำให้มีนักเรียนทุนอานันทมหิดลสาขาแพทยศาสตร์ ๒ คน จริงหรือเปล่าครับ
เรื่องทุนอานันทมหิดล ผมจำไม่ได้เลย ขอโทษด้วย
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 09:00

ขอคารวะอาจารย์ผู้ใหญ่อีกครั้งครับ

สำหรับผมเป็น CVT รุ่น ๓ ปี รุ่นรองสุดท้ายครับ

เรียนถามอาจารย์ศานติ ถึงทุนอานันทมหิดล ว่ากันว่าในอดีตสาขาแพทยศาสตร์จะมีปีละ ๑ คน
แต่บังเอิญมีอยู่ ๑ ปี ก่อนอาจารย์สัก ๔-๕ รุ่น ฝ่ายจุฬาฯ สอบได้ ศิริราชสอบไม่ได้
เลยเป็นเหตุให้ปีนั้นต้องมีการใช้กำลังภายในทำให้มีนักเรียนทุนอานันทมหิดลสาขาแพทยศาสตร์ ๒ คน จริงหรือเปล่าครับ
เรื่องทุนอานันทมหิดล ผมจำไม่ได้เลย ขอโทษด้วย


ท่านที่มาจากฝั่งจุฬาฯ เป็นประสาทศัลยแพทย์ปัจจุบันยังอยู่ในแวดวงวิชาการ
ส่วนท่านที่มาจากฝั่งศิริราช เป็นอายุรแพทย์ด้านโลหิตวิทยา ปัจจุบันอยู่ในแวดวงสังคม และการเมือง
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 13:39

ฝั่งจุฬาฯ อาจารย์จรัส สุวรรณเวลา จุฬา รุ่น 5 ปี พศ.2495
ท่านเป็นผู้รับทุนคนแรก
รุ่นต่อมามีอาจารย์ศรีจิตรา บุนนาค--
ต่อมาอีก  อาจารย์ถนอม มะโนทัย ที่นึกออก (อาจจะสลับรุ่นกัน)
แต่ละท่านที่ผมได้เล่าเรียนมาสุดยอด

อย่างอาจารย์ถนอม สาย OBGYN ท่านสอนเก่งมาก เรื่องยากๆกลายเป็นง่าย
แต่เสียดายท่านเป็นคนหน้าบางมีคนกล่าวหาว่าท่านเอาคนไข้มาคลอดใน รพ.
ท่านเลยลาออกไปอยู่ข้างนอก   หลังจากสอนได้ไม่นาน ท่านก็เงียบหายไปเลย

ฝั่งศิริราช อาจารย์ประเวศ ศิริราชรุ่น 60  ปี พศ. 2497
น่าจะรับทุนอานันฯรุ่นที่สองหรือสาม ต่างรุ่นกับอาจารย์จรัส
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 13:50

อาศัยอินทรเนตรแลเห็นไปถึง รายนามผู้ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์

http://www.anandamahidolfoundation.com/?q=recipient&grp=1




บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 13:59

ฝั่งจุฬาฯ อาจารย์จรัส สุวรรณเวลา จุฬา รุ่น 5 ปี พศ.2495
ท่านเป็นผู้รับทุนคนแรก
รุ่นต่อมามีอาจารย์ศรีจิตรา บุนนาค--
ต่อมาอีก  อาจารย์ถนอม มะโนทัย ที่นึกออก (อาจจะสลับรุ่นกัน)
แต่ละท่านที่ผมได้เล่าเรียนมาสุดยอด

อย่างอาจารย์ถนอม สาย OBGYN ท่านสอนเก่งมาก เรื่องยากๆกลายเป็นง่าย
แต่เสียดายท่านเป็นคนหน้าบางมีคนกล่าวหาว่าท่านเอาคนไข้มาคลอดใน รพ.
ท่านเลยลาออกไปอยู่ข้างนอก   หลังจากสอนได้ไม่นาน ท่านก็เงียบหายไปเลย

ฝั่งศิริราช อาจารย์ประเวศ ศิริราชรุ่น 60  ปี พศ. 2497
น่าจะรับทุนอานันฯรุ่นที่สองหรือสาม ต่างรุ่นกับอาจารย์จรัส


อาจารย์ครับ จุฬาฯ รุ่น ๕ นี่เท่ากับ ศิริราช ๖๐ นี่ครับ
เทียบรุ่นจุฬาฯกับศิริราช ให้บวกด้วย ๕๕
เทียบรุ่นเชียงใหม่กับศิริราช ให้บวกด้วย ๖๘
เทียบรุ่นรามาธิบดีกับศิริราช ให้บวกด้วย ๗๕
เทียบรุ่นขอนแก่น และสงขลากับศิริราช ให้บวกด้วย ๘๓
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 08 ม.ค. 13, 14:01

หนังสือเรื่องราวของอาจารย์ประเวศ น่าอ่านมาก



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง