เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 22104 คุณจำได้ไหม ถึงใครคนหนึ่ง?
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 06:02

Nai Lumchiag Salikorn             นายลำเจียก ศาลิกร
M.C. Visishta Svasit               หม่อมเจ้าวิศิษฏ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัฒน์
Nai Chirt Yamaphaya              นายเชิด ยมพยา (ยะมะพะยา ?)
Nai Kosaiya Sukhavanija          นายโกศัย ศุขวณิชย์
Nai Sunh Vasudhara               นายสุ่น วสุธรา
Nai Thanad Navanugraha        นายถนัด นาวานุเคราะห์
Nai Chalem Sukhakit               นายเฉลิม สุขกิจ
Nai Bun Mar Prabandhayodhin   นายบุญมา ประพันธ์โยธิน
M.C. Akas Rabibongs              หม่อมเจ้าอากาศ ระพีพงศ์ (หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ระพีพัฒน์ ?)
M.C. Swasti-Pradisdh             หม่อมเจ้าสวัสดิ์ประดิษฐ์ สวัสดิวัฒน์


เวลาเย็นวันที่ ๒๘ เมษายน (๒๔๗๔) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชฃินี ได้เสด็จ ฯ ไปยังสถานทูต ณ กรุงวอชิงตัน และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นักเรียนเข้าเฝ้า ฯ

(ข่าวเสด็จ ฯ อเมริกา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๘ หน้า ๔๒๒ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๔)

การสะกดคำแปลอาจจะผิดพลาดบ้าง ขออภัยนะครับ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเข้ารับการถวายการผ่าตัด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๔

(รจ เล่ม ๔๘ หน้า ๖๓๑ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๗๔)


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 06:55

Phya Vijitavongs  คือ นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.สิทธิ์  สุทัศน์)
ท่านผู้นี้เป็นนักเรียนที่ไปเรียนอังกฤษพร้อมกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อจบจากโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์แล้ว
กลับมารับราชการทหารจนได้เป็นนายพลโท แม่ทัพน้อยที่ ๒ แล้ว ย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ กลับมารับราชทหารเป็น แม่ทัพร้อยกองทัพที่ ๑ (แม่ทัะภาคที่ ๑)  ถึงรัชกาลที่ ๗
เป็นสมุหราชองรักษ์แล้ว  แล้วย้ายไปเป็นอัครราชทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดีซ๊

ขอแก้นามสกุลของ ๒ ท่านนี้ครับ
Nai Chirt Yamaphaya             นายเชิด ยมาภัย
Nai Sunh Vasudhara              นายสุ่น วสุธาร
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 09:22

Nai Khao na Pomphejara        นาย ขาว ณ ป้อมเพ็ชร์

รองอำมาตย์เอก หลวงวิชิตอัคนีนิภา นายช่างไฟฟ้า บิดาของ ดร. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 09:44

M. C. Smargom            ม.จ. สมาคม กิติยากร
M. C. Chakrabrandhu    ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
M. C. Prasobsukh          ม.จ. ประสบสุข ศุขสวัสดิ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 20:28

เก่งกันมากๆ


บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 20:51

มีรูปบ้านที่มีการประชุมนักเรียนไทยแนบมา ไม่ทราบว่าที่วอชิงตันหรือบอสตัน แต่คงเป็นที่วอชิงตันอย่างที่ ลุงไก่ ค้นมา  ดูจากรูปมีเรือนชั้นเดียวอยู่ด้านหลัง อาจเป็นทีทำงานสถานทูต แต่ตัวบ้านเป็นที่อยู่เอกอัคราชทูต


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ม.ค. 13, 13:27

ขออนุญาตนอกเรื่องครับ
ผมให้ความสำคัญกับชื่อและ profile "ศานติ" มากกว่า
เพราะท่านบอกว่า..

...อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้...

ศัลยแพทย์สาขานี้ในเมืองไทยรุ่นเกษียณมีนับคนได้
ผมเป็นแพทย์สาขานี้ที่ยังไม่เกษียณ แต่เลิกทำเวชปฏิบัติมานานมากแล้ว
ต้องขอฝากเนื้อฝากตัวกับรุ่นอาจารย์ด้วยความเคารพครับ


เห็นด้วยกับคุณหมอCVT สาขานี้มีน้อยมากในยุคแรกๆ
ฝั่ง  "จุฬาฯ"  ที่ผมรู้จักเช่น หมอสมาน รุ่นเก่ามากผมได้ฟังแค่ชื่อเสียงกิตติศัพท์
คุณหมอท่านอื่นเช่น หมอเหมือนหมาย,หมอชวลิต,หมอสมศักดิ์,หมอจรรยา,หมอชิน(ไม่แน่ใจว่าเป็นCVT),หมอโยธิน มีกันแค่นี้เอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ม.ค. 13, 21:37

คิดว่าพอจะรู้จักว่าเจ้าของกระทู้เป็นใครนะคะ   
ไม่รู้ว่าสมัยนี้จะนับท่านเป็น "ฝั่งจุฬา" หรือเปล่า แต่คิดว่าสมัยท่าน ต้องเรียนจุฬาก่อน 2 ปี  แล้ว "ข้ามฟาก" ไปเรียนริมฝั่งเจ้าพระยา
ใช่ไหมคะ
ถ้าผิดก็ขออภัย 
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ม.ค. 13, 21:42

คิดว่าพอจะรู้จักว่าเจ้าของกระทู้เป็นใครนะคะ   
ไม่รู้ว่าสมัยนี้จะนับท่านเป็น "ฝั่งจุฬา" หรือเปล่า แต่คิดว่าสมัยท่าน ต้องเรียนจุฬาก่อน 2 ปี  แล้ว "ข้ามฟาก" ไปเรียนริมฝั่งเจ้าพระยา
ใช่ไหมคะ
ถ้าผิดก็ขออภัย 

ท่านเจ้าของกระทู้นับเป็น "ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา" หรือ "ศิริราช" ครับ แต่ท่านไม่ได้กลับมาเป็นอาจารย์ศิริราชครับ


เห็นด้วยกับคุณหมอCVT สาขานี้มีน้อยมากในยุคแรกๆ
ฝั่ง  "จุฬาฯ"  ที่ผมรู้จักเช่น หมอสมาน รุ่นเก่ามากผมได้ฟังแค่ชื่อเสียงกิตติศัพท์
คุณหมอท่านอื่นเช่น หมอเหมือนหมาย,หมอชวลิต,หมอสมศักดิ์,หมอจรรยา,หมอชิน(ไม่แน่ใจว่าเป็นCVT),หมอโยธิน มีกันแค่นี้เอง

ฝั่ง "ศิริราช" จะมี อ.กษาณ จาติกวณิช, อ.กัมพล ประจวบเหมาะ, อ.ธีระ ลิ่มศิลา, อ.จรัล เกรันพงศ์, อ.ปริญญา สากิยลักษณ์ เป็นหลักครับ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 01:47

ผมเรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จุฬาฯสองปี แล้วข้ามฟากไปเรียนศิริริาช ๕ ปี  ไม่ได้สอบตก  ยิ้มเท่ห์ บังเอิญอาจารย์หมออวย เกตุสิงห์ ประกาศรับ นศพ.ผู้ช่วยอาจารย์สองตำแหน่ง ต้องใช้เวลาเรียนปี ๒ สองปี เรียนครึ่งทำงานครึ่ง มีเงินเดือนด้วย ผมเลยสมัคร อีกคนคือ พีรพล สุนทรพะลิน (น่าเสียดายที่เสียชีวิตหลังจบฝึกงานศัลยกรรมตกแต่งที่อเมริกาได้ไม่กี่วัน)   ผมจบก่อน จรัล เกรันพงษ์ ๑ ปี ก่อน ปริญญา สากิยลักษณ์ ๒ ปี เป็นแพทย์ประจำบ้านอยู่สองปีก่อนไปนอก ตอนจะจบคิดจะกลับเมืองไทยมาคุยกับอาจารย์ แต่ดูท่าทีแล้วสู้เพื่อนๆไม่ไหว  เพราะสมัยนั้นมีกฎอัยการศึก ข้าราชการได้อายุราชการสองเท่า  คนที่รับราชการแต่แรกจบจะได้อายุราชการ ๑๒ ปี คนไปนอก ๖ ปี ถึงได้ Board สอง Board แต่ กพ.คิดให้แค่ Board เดียว หรือ ๔ ปี ไม่มีทางตามเพื่อนทัน  

อาจารย์ กษาน กัมพล ธีระ เป็นอาจารย์ผมทั้งนั้น ปี ๔ ผมโชคดีมากเพราะอาจารย์ที่กล่าวเริ่มคิดจะผ่าตัดหัวใจ มีการผ่าสุนัขทุกบ่ายวันพฤหัศฯ ผมหนีเล็คเช่อร์หูตาคอจมูกทุกพฤหัศฯ เพื่อไปร่วมวง (ไม่รู้ว่ารอดโดน summer ได้ยังไง) จนเพื่อนๆว่าผมเป็นแพทย์ประจำบ้าน ศัลย์หมา ๓ (เพราะผ่าตึกเทคนิคการแพทย์ชั้น ๓  สมัยนั้นมี ศัลย์ชาย ศัลย์หญิง ๑ ๒ ๓)
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 08:38

เคยมีโอกาสรู้จัก CVT  จากฝั่งศิริราชท่านหนึ่ง
คืออาจารย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธ์ ที่อยู่โรงพยาบาลหญิงเดิม
เป็นเบอร์หนึ่งของสายกระทรวงสาธารณสุขในยุคนั้น

น่าจะรุ่นใกล้เคียงกับ อาจารย์ศานติ

เพือนผม สุปรีชา ธนะมัย มารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่าย ตามมา
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 08:58

ยินดีที่ได้พบคุณหมอศานติ วิบูลย์มงคล ที่เรือนไทยนี้ค่ะ ภาพที่ท่านมีทรงคุณค่ามากนะคะ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 09:13

เคยมีโอกาสรู้จัก CVT  จากฝั่งศิริราชท่านหนึ่ง
คืออาจารย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธ์ ที่อยู่โรงพยาบาลหญิงเดิม
เป็นเบอร์หนึ่งของสายกระทรวงสาธารณสุขในยุคนั้น

น่าจะรุ่นใกล้เคียงกับ อาจารย์ศานติ

เพือนผม สุปรีชา ธนะมัย มารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่าย ตามมา

กระทู้กำลังจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ CVT เมืองไทย  ยิงฟันยิ้ม

อาจารย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธุ์ จบศิริราช ๖๐ ก่อนอาจารย์ศานติ ๕ รุ่น
เป็น ซี ๑๑ คนแรกของ สธ.ที่ไม่ใช่ปลัดกระทรวง

ส่วนพี่สุปรีชานั่นจบจากฝั่งจุฬาฯ น่าจะรุ่น ๒๔ แล้วไปเป็นศิษย์ก้นกุฏิอาจารย์พันธุ๋พิษณุ์ที่ราชวิถี

ผมเป็นแพทย์ประจำบ้านจากฝั่งศิริราช แต่ตอนเป็นปี ๓ ต้องไปผ่านราชวิถี ๑ เดือน
แลกตัวกับแพทย์ประจำบ้านราชวิถี ได้รับความเมตตาจากอาจารย์พันธุ์พิษณุ์และพี่สุปรีชามาก
ปัจจุบันทั้ง ๒ ท่านก็ยังเป็นคณะทำงานฝ่ายวิชาการให้สำนักงานผมครับ
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 10:38

ขอบคุณมากครับคุณกะออม สมัยเด็กผมนามสกุลวิบูลย์มงคล พอตอนสงครามโลกมีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำไทยบางคำ มีผู้รู้บอกพ่อผมกับลุงผม (ถนอม) ว่าควรเป็น วิบูล ไม่ใช่ วิบูลย์ เขาเลยตัด ย การันต์ออก  ง่ายขึ้นอีก ดีกว่าสมัยพ่อไปเรียนนอกมาก เพราะสมัยนั้นเขาสะกดชื่อไทยเป็นอังกฤษโดยอาศัยรากศัพท์ ไม่ใช่อาศัยเสียง เลยกลายเป็น Vibulayamangkala อยู่พักหนึ่ง  ไม่ได้ถามพ่อว่าทำไมเลือกใช้ตัว V แทนตัว ว แทนที่จะใช้ W (แต่ชื่อแรกใช้ W)  ใจผมคิดว่าสมัยก่อนคนไทยส่วนมากไม่รู้ว่า V กับ W ออกเสียงต่างกัน อักษรที่ตรงกับ V ในภาษาไทยไม่มี คงเป็นเพราะเรามี ตัว สอ สามอย่าง ตัว คอ สามอย่าง ฯลฯ เลยไม่เห็นแปลกที่อังกฤษจะมี ว สองอย่าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 ม.ค. 13, 10:40

เมื่อเข้าเรียนม.ปลาย  มีสาขาให้เลือก 2 สาขาคือศิลป์กับวิทย์   พวกที่เข้าวิทย์โดยเฉพาะพวกติดห้องคิงกับควีนล้วนตั้งเป้าหมายเข้าเรียนแพทย์ เสียประมาณ 8 คน  อีก 2 คนตั้งเป้าเรียนวิศวะฯ
จากนั้นพอเอ็นทรานซ์  ก็ยกชั้นกันเข้าแพทย์  ไปเจอหน้าเดิมๆเรียนกันสลอนในคณะวิทย์ฯ ก่อนข้ามฟากกันไป  
สมัยนั้น(หรือสมัยนี้ก็เถอะ) พวกเรียนแพทย์มักจะถูกมองว่าเก่งระดับเทพ     มันสมองอาจถูกออกแบบมาพิเศษ ให้เรียนรู้วิชาอะไรที่ชาวบ้านทั่วไปเรียนแล้วไม่รู้    ส่วนสายภาษาถูกมองว่าเป็นวิชาท่องจำที่ง่ายกว่าสายวิทย์   ใครไม่ชอบเลขไม่ชอบวิทย์ ก็เลือกสายภาษาแทน

อ่านกระทู้นี้แล้ว อยากให้เทพทั้งหลายที่มีพ.บ. ต่อท้าย และตามมาด้วยสาขาผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวย่อภาษาปะกิตอีกหลายตัว   กรุณาเล่าความหลังสมัยเรียนแพทย์ให้น้องๆ ลูกๆหลานๆ ฟังกัน เป็นบันทึกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยที่ไม่เขียนไว้ในตำรา
ได้ไหมคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง