เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 14212 ท่านใดทราบพิธีการแต่งงานของชาวจีนในภูเก็ตบ้าง
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 18:44

ท่านใดพอจะทราบถึงพิธีการแต่งงานของชาวจีนในภูเก็ตไหมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 20:47

การแต่งงานของชาวบ่าบ๋า ภูเก็ต

ประเพณีการแต่งงานฮกเกี้ยนบ้าบ๋า

   พิธีงานแต่งงานของชาวบาบ๋าเป็นพิธีอันดีงามที่บรรพบรุษได้สร้างไว้ที่ ผมจะเสนอนี่เป็นพิธีของทางฝั่งปีนัง หรือ ภูเก็ต (ก่อนปี 2511 ) เพราะที่ภูเก็ตถึงแม้จะมีการจัดงานวิวาท์บาบ๋าขึ้น แต่ก็ได้ย่อพิธีลงบ้างอย่างลงไปแล้ว แต่การมีบ้างพิธี่ที่คล้ายตลึงกัน

ภูเก็ตเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้องทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนโภคทรัพย์ที่มีในจังหวัดภูเก็ต จูงใจให้คนต่างชาติต่างภาษา สนใจที่จะเข้ามามีบทบาทในดินแดนแห่งนี้ จนบางครั้งทำให้ภูเก็ตกลายเป็นสมรภูมิเลือด เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในดินแดนแห่งนี้แต่เพียงผู้เดียว

          ชาวจีนเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแข็ง ได้เข้ามาครอบงำวัฒนธรรมเดิมและสร้างความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมขึ้น
ชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓-๔ โดยเข้ามาสร้างตึกดินแบบจีนบริเวณแถวน้ำ บางเหนียว บ้านเรือนแถวกะทู้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระยารัษฎานุประดิษฐฯ ได้นำชาวจีนมาจากปีนังเพื่อให้เข้ามาทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ต ชาวจีนกลุ่มนี้ได้นำรูปแบบอาคารบ้านเรือนจากปีนังมาสร้างในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งชาวภูเก็ตและชาวใกล้เคียงรู้จักในชื่อของ อาคารแบบชิโนโปรตุกีส
นอกจากนี้ชาวจีนกลุ่มนี้ได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง ทำให้เกิดกลุ่มชนกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า พวกบาบ๋า และยอหยา ในภูเก็ต ประเพณีวัฒนธรรมแบบจีนได้เข้ามาเผยแพร่ในภูเก็ตบริเวณบ้านกะทู้ บ้านทุ่งคา ชุมชนในภูเก็ตได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางภาษา การแต่งกาย อาหาร ผสมกับวัฒนธรรมพื้นเมืองจนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น

         ประเพณีการแต่งงานที่นำเสนอในวันนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากวัฒนธรรมจีนในภูเก็ตนั่นเอง
ถนนถลางย่านธุรกิจเก่าแก่ของชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต ชาวจีนเหล่านี้ส่วนใหญ่อพยพมาจากปีนัง บางครอบครัวมีญาติอยู่ที่ปีนัง ย่านนี้ถือว่าเป็นย่านทางประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม ประเพณีท้องถิ่น และวัฒนธรรมทางภาษา
การแต่งงานแบบจีนโบราณชุดนี้ เป็นที่นิยมของชาวภูเก็ตเชื้อสายจีนในอดีตย้อนหลังไม่ต่ำกว่า ๗๐-๘๐ ปี (ราวประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐) เป็นสมัยที่ชาวจีนมีอิทธิพลมากในเมืองภูเก็ต

          ประเพณีการแต่งงานของชาวภูเก็ตในยุคนั้นเป็นยุคที่ผู้หญิงเก็บตัวอยู่ในบ้าน ผู้ชายไม่ค่อยได้พบลูกสาวบ้านใดง่าย ๆ การแต่งงานจึงเป็นผ่านคนกลางคือ แม่สื่อ (อึ่มหลาง) ผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องเป็นผู้มีวาทศิลป์ในการพูด โน้มน้าวจิตใจให้เกิดการยอมรับทั้งสองฝ่าย ถ้าเจรจาสำเร็จ "อึ่มหลาง" จะต้องได้รับสมนาคุณเป็นอั้งเปา และขาหมูอย่างดี ๑ ขา


วันก่อนแต่งงาน

    วันก่อนแต่งงานทางบ้านของเจ้าสาวและเจ้าบ่าว จะนำกระดาษแดงที่เขียนอักษรมงคลคู่ หรือ ซังฮี้ ติไว้บริเวณ ปากประตูบ้าน และ ห้องครัว และนำผ้าฉ่ายมาประดับหน้าบ้าน ติดโบว์สีแดงหรือสีชมพูไว้ที่เหนือประตูทุกบ้าน และ ตั๋วเทพเจ้า

      พิธีเห๋วจี่ซว่อซิวโถ่ (หวีผมเจ้าสาว)

  พอพระอาทิตย์รับฟ้าทางบ้านเจ้าสาวจะทำพิธีเห๋วจี่ซว่อซิวโถ่ หรือ พิธีหวีผมเจ้าสาว โดยเริ่มจาก ให้พ่อของเจ้าสาวไปดับตะเกี่ยงหรือเทียนที่แท่นบรรพชน และแท่นเทพเจ้า เทพเจ้าครัว ต่อจากนั้นให้เจ้าสาวปล่อยผมและหันหน้าออกทางประตูใหญ่ บ่งบอกถึงการอำลาจากไปจากตระกูลบ้านหลังนี่ จะมีน้องสาวหรือพี่สาวที่ยังไม่ได้แต่งงานเป็นคนนำเชิงเทียนมาให้เจ้าสาวจุด พอเจ้าสาวจุดเสร็จพี่สาวหรือน้องสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนำไฟ่ติดไปจุดตระกูลที่แท่นบูชาที่พ่อเจ้าสาวดับไป

   การหวีผมต้องใช้ญาติผู้หญิงที่แต่งงาน หรือ แม่เจ้าสาว เป็นคนหวีให้ โดยเจ้าสาวต้องใส่ชุดขาว ในมือเจ้าสาวจะถือถาดในถาดจะมี  หวี กรรไกร ไม้บรรทัด ด้ายแดง ปฎิทิน(หรือหนังสือ) กระจก กระดาษแดง***กเข็ม ต้นหอม น้ำตาลกรวด จากนั้นให้ญาติผู้หญิงหวีผมจากบนลงล่าง 5 ครั้ง และจัดทำทรงผมเกล้ากลมๆโปร่งๆ(ภูเก็ตเรียกทรง ชักอีโบ่ย ) และจำนำ***กไม้ทองมีติดที่ผมทั้งสองข้างถ้าผมไม่หลุดออกมาแสดงถึงความบริสุทธิ์  และเจ้านำมงกุฎที่ทำจากทองมาประดับ บางที่ใช้ หลั่นเตป่าย  จากนั้นให้เจ้าสาวไปจุดธูปที่แท่นบรรพชน และบอกลาจากตระกูลนี่

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 20:49

พิธีการ
 รู้จักกับ “อึ่มหลาง”
 ชาวบาบ๋าภูเก็ตมีพิธีการแต่งงานที่ซับซ้อนมาก  ในสมัยอดีตเนื่องจากหญิงสาววัยรุ่นจะถูกห้ามออกจากบ้าน  การจะได้รู้จักโดยฝ่ายชายจะเป็นไปได้ยากมาก  จึงต้องผ่านคนกลางที่เป็นผู้อาวุโสหญิงของชุมชน ที่เรียกว่า “อึ่มหลาง”หรือแม่สื่อ  ความประสงค์ในการจับคู่มักเกิดจากพ่อแม่ หรือเป็นการคลุมถุงชน  แต่หากชอบลูกสาวบ้านไหนก็มักไหว้วานอึ่มหลางเป็นคนไป “โป่” หรือ พูดให้เกิดความนิยมชมชอบซึ่งกันและกัน  ค่าจ้างอึ่มหลางให้เกียรติด้วย ขาหมูอย่างดี อั่งเปาและเทียนแดงหนึ่งคู่
 
การแลกแหวน
 การแลกแหวน เป็นการรับประกันอย่างหนึ่งว่าจะเกิดพิธีการแต่งงานขึ้นอย่างแน่นอน  แต่ทั้งว่าที่เจ้าบ่าวและว่าที่เจ้าสาวไม่ได้มาทำพิธีสวมแหวนหมั้นด้วยตนเองดังเช่นในปัจจุบัน   อึ่มหลางและญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเตรียมแหวนที่จะผูกด้วยด้ายแดงที่วงแหวน (แหวนจะคืนกลับให้ และหากคู่ไหนอยู่กันจนอายุยืนยาวก็จะมีคู่อื่นขอไปแลกเป็นสิริมงคลได้หลายๆคู่ ด้ายแดงผูกหลายเส้นจนแน่นมาก)   แล้วห่อด้วยกระดาษแดงนำไปบ้านเจ้าสาวพร้อมด้วยขนมมงคล เช่น ถ่อต้าวถึง หยุ่นถึง อั้งโจ้ว ผ่างเปี้ย น้ำตาลกรวด จันอับ มีกระดาษแดงตัดเป็นรูปดอกไม้สวยงามรองก้นภาชนะที่ใส่ขนม ซึ่งทำจากไม้ไผ่ มีลักษณะกึ่งปิ่นโตกึ่งตะกร้า ทาสีแดงดำ เรียกว่า  “เสี่ยหนา”
 ชมห้องเจ้าสาว
 ในระยะก่อนถึงวันแต่งงาน เจ้าสาวจะต้องเตรียมที่นอน หมอน มุ้ง ดอกไม้ประดับห้องและเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ ไว้ในห้องเจ้าสาว ห้องเจ้าสาวจะเป็นห้องที่สวยที่สุดของบ้าน ทุกคนในงานเมื่อตามขบวนมารับเจ้าสาวจะต้องมาดูห้องเจ้าสาว และต้องเปิดให้ญาติมิตรสามารถมาชมได้ล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วันก่อนการแต่งงาน
 ตามประเพณีบาบ๋า หลังแต่งงาน ฝ่ายชายมีทั้งที่นำตัวเจ้าสาวแยกเรือนไปอยู่กับตน  หรือจะอยู่กันที่บ้านฝ่ายหญิงด้วยพ่อตาต้องการให้ลูกเขยมารับช่วงกิจการใหญ่หรือในกรณีที่ตนไม่มีลูกชาย  ซึ่งจะมี “พิธีหกวัน”ซึ่งให้เจ้าสาวไปอยู่ที่บ้านเจ้าบ่าวก่อนเป็นเวลา ๖ วันแล้วกลับมาอยู่บ้านเจ้าสาว  จะมีการตั้งโต๊ะไหว้บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยขนมและผลไม้
ประเพณีเริ่มที่บ้านเจ้าบ่าวตามฤกษ์ยาม  เมื่อขบวนเจ้าบ่าวพร้อมญาติมิตรเริ่มเคลื่อนขบวนต้องมีการจุดประทัด เจ้าบ่าวมักนั่งรถหรูที่หาได้ในสมัยนั้น “รถปาเก้” หมายถึงรถเก๋งมักเป็นพาหนะยอดนิยมในทุกยุคสมัย นำด้วยรถไม้แบบภูเก็ตที่เรียกว่า “โพถ้อง”ซึ่งบรรทุกนักดนตรีที่เรียกว่า “ตีต่อตีเฉ้ง”     เมื่อถึงบ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะลงเดิน พร้อมขบวนขันหมากและเสี่ยหนา ตามด้วยประทัดต้อนรับ  เจ้าบ่าวต้องเดินผ่านเด็กชายหญิงต้อนรับหน้าประตูที่จะมอบบุหรี่ใส่พานให้ เจ้าบ่าวจะมอบอั่งเปาตอบ จากนั้นเข้าบ้านไปมอบขันหมากและเสี่ยหนาแก่ญาติฝ่ายหญิง  แล้วอึ่มหลางจะจูงมือเจ้าบ่าวไปรับตัวเจ้าสาวในห้องเจ้าสาว
 
พิธีไหว้เทวดา
 อึ่มหลางจะนำคู่บ่าวสาวมาไหว้เทวดาที่หน้าบ้าน บางบ้านมีการตั้งโต๊ะไหว้ บางบ้านไม่จัดโต๊ะก็จะใช้พื้นที่ลานหน้าบ้าน  จะมีการจุดธูปใหญ่สามดอกให้ทั้งคู่ ไหว้ ๑๒ ครั้ง(เรียกว่า “จับหยี่ป๋าย”) พร้อมแตรจีนเป่าบรรเลง เพื่อแสดงความกตัญญูต่อองค์เง็กเซียนฮ่องเต้และเทวดาทั้งมวลที่คุ้มครองดูแลตนจนเติบใหญ่มีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานได้
 
พิธีผ่างเต๋
 เป็นการไหว้คารวะผู้ใหญ่ด้วยน้ำชามงคล ตระเตรียมเก้าอี้อย่างดีเป็นคู่ ตรงจุดสำคัญในบ้าน ผู้ใหญ่ชายนั่งทางซ้าย ผู้ใหญ่ที่เป็นสตรีนั่งทางขวา มีการประกาศเชิญผู้อาวุโสสูงสุดตามลำดับ  ผู้ใหญ่จะรับน้ำชาจากคู่บ่าวสาว จิบน้ำชาแล้วมอบอั่งเปาที่อาจประกอบด้วยเงิน เพชร ทอง โฉนดที่ดิน ให้แก่ทั้งคู่  พิธีนี้จะมีการหยอกเย้ากันในบางครอบครัว คือเอาตัวผู้ใหญ่ไปซ่อน  เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องไปตามหาจนเจอ จึงจะทำพิธีต่อไปได้  อย่างไรก้ตามพิธีผ่างเต๋จะทำให้ลูกหลานและญาติมิตรได้รู้จักกัน  และเรียงลำดับญาติมิตรของตนในสังคมได้ถูกต้อง  เป็นพิธีสำคัญมากในการดำรงสังคมของชาวบาบ๋าที่นับวันจะจากกันไปอยู่หรือทำงานไกลบ้านเกิดมากขึ้น
 
พิธีไหว้พระที่ศาลเจ้า
 เป็นธรรมเนียมของคนบาบ๋าภูเก็ตที่มักเดินทางไปไหว้ขอพรต่อองค์พระสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศาลเจ้า(อ๊าม)ใกล้บ้าน หรือที่มีชื่อเสียง เช่น เจ้าแม่กวนอิม อ๊ามปุดจ้อ (มีความเชื่อว่าจะทำให้มีบุตรหลานได้ง่าย) เป็นต้น   หรือ บางครอบครัวจะเดินทางไปกราบไหว้หลวงพ่อแช่ม ซึ่งเป็นพระคู่บ้านเมืองภูเก็ต ณ วัดฉลอง(ไชยธาราราม)
 


การแต่งกาย
 แฟชั่นการแต่งกายของชาวบาบ๋าประยุกต์จากชุดแต่งกายของชาวเมเลย์และจีนจนเป็นหนึ่งเดียว ถ่ายทอดจากมะละกา ปีนัง มาถึงภูเก็ตตามเส้นทางค้าขายทางทะเล   ชุดเจ้าบ่าวแต่อดีตเป็นสากลนิยม(เพราะทำงานหรือค้าขายกับฝรั่ง)  สวมสูทขาวกางเกงขาว ผูกเนคไทหรือหูกระต่ายสีแดง (มักเหน็บผ้าเช็ดหน้าผ้าไหมผืนสวยที่แม่ให้)    ชุดแต่งงานเจ้าสาวเป็นชุดที่หรูอลังการและสวยงามมาก          ตามประเพณีดั้งเดิมจะใส่ชุดครุย(Baju Panjang)   ที่ประกอบด้วย เสื้อตัวในสั้น คอตั้ง แขนยาว ติดกระดุมทอง(กิมตุ้น)  คลุมด้วยเสื้อครุยยาวที่เดิมทำจากผ้าฝ้ายหรือมัสลิน  ต่อมาใช้ผ้าป่านบาง ปักเป็นลวดลายดอกไม้เล็กๆ   ยาวประมาณน่อง และนุ่งโสร่งปาเต๊ะ
 
เครื่องประดับชุดเจ้าสาวจะสวยงามมาก  ประกอบด้วย
 -กอสัง(Kerongsang) หรือชุดเข็มกลัดแทนกระดุมที่มักทำจากทองคำฝังเพชร   ชิ้นโตมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจและมักมีชิ้นลูกอีก ๒ ชิ้นเป็นรูปทรงกลม ตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้ เรียกว่า ชุดแม่ลูก ปัจจุบันของโบราณจะยิ่งมีราคาแพงมาก
 -ปิ่นตั้ง เป็นเข็มกลัดทำจากทองคำประดับด้วยเพชรซีกหรือเพชรลูก ลักษณะเป็นดอกไม้บานเต็มที่มีทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่
 -กำไล
 สวมเป็นวงเดียวหรือหลายวงที่เรียก กำไลมโนราในภาษาท้องถิ่นเรียก “หมั้ยโนรา”    เหมือนที่ผู้รำมโนราสวมขณะแสดง นอกจากนี้การเรียกชื่อกำไลของชาวภูเก็ตยังเกี่ยวข้องกับพืชพรรณธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น กำไลหนามเรียน(ทุเรียน)  กำไลข้ออ้อย  กำไลลายดอกโป๊ยเซียน เป็นต้น

ที่มา http://www.phuketemagazine.com/blog/2012/08/ba-ba-wedding/
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 20:58

ทางเชื้อสายทางมารดา คือ ยาย ข้าพเจ้าเป็นชาวฮกเกี้ยน ในวันแต่งงานจะมี "เสียหนา" ตะกร้าสานไม้ไผ่เคลือบด้วยรักแบบนี้ครับ ใบนี้ก็กว่า ๙๐ ปีเห็นจะได้ครับ


บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ม.ค. 13, 20:03

ขอขอบคุณ คุณ siamese มากค่ะ ที่เป็นมหามิตรทางปัญญากับ han_bing  ตลอดมา
สวัสดี ปีใหม่ ขอให้มีความสุข สดชื่นและสมหวังตลอกกาล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ม.ค. 13, 20:06

ขอขอบคุณ คุณ siamese มากค่ะ ที่เป็นมหามิตรทางปัญญากับ han_bing  ตลอดมา
สวัสดี ปีใหม่ ขอให้มีความสุข สดชื่นและสมหวังตลอกกาล

สวัสดีปีใหม่ครับคุณแม่บัวรัศมี สีทอง ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองและให้สมความปราถนาทุกประการครับ
บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 01:27

ต้องขอขอบคุณ มหามิตรของ Han_bing  ทางเรือนไทยหลายๆ ท่านค่ะ
Han_bing เป็นคนหนุ่มที่ชอบเล่าเรื่องที่รู้มาให้แม่ฟัง โดยเฉพาะเรื่องของคุณ siamese และคุณวันดี
เขาภาคภูมิใจที่มีมหามิตรต่างวัยมากค่ะ  ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.พ. 13, 08:56

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
sigree
อสุรผัด
*
ตอบ: 54


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 31 พ.ค. 13, 07:03

นายเก่าผมเป็นสถาปนิกชาวจีนปีนัง

แกเก็บของเก่าหนึ่งในของที่แกเก็บและชอบมากคือตู้แต่งงาน
แกอธิบายว่าผู้หญิงสมัยก่อนเวลาออกเรือนพ่อแม่จะทำตู้ให้เก็บสมบัติส่วนตัว

แกอธิบายว่า ยิ่งรวยตู้ยิ่งใบใหญ่ แม่สามีได้เกรงใจ
ที่น่าสนใจคือตู้ทุกหลังจะมีช่องลับซ้อนของเล็กๆน้อยๆเช่นเครื่องประดับเสมอ

ไม้แน่ใจว่าูเก็ตมีทำเนียมนี้ไหม?
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 31 พ.ค. 13, 10:53

ภาพเปรียบเทียบความต่างระหว่าง ตะกร้าใส่เครื่องคาวหวาน ในพิธีสู่ขอ ( 盛篮 ) และตะกร้าจ่ายตลาด ( 市篮 )



ตะกร้าจ่ายตลาดเป็นตะกร้าชั้นเดียว






ตะกร้าใส่เครื่องคาวหวานในพิธีสู่ขอ จะเป็นตะกร้าซ้อนหลายชั้น





บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 31 พ.ค. 13, 11:14

ภูเก็ตที่ผมรู้จักเมื่อสามสิบปีที่แล้ว กับภูเก็ตปัจจุบัน เป็นคนละภาพกัน

สมัยที่ผมเพิ่งจบ เมื่อสาม สี่สิบกว่าปีที่แล้ว สภาพรวมๆของภูเก็ต มีความเป็นอยู่ไม่ต่างจากจังหวัดทางหัวเมืองภาคใต้อื่นๆ

คือมีความเป็นอยู่แบบไทยปักษ์ใต้พื้นบ้านค่อนข้างสูง  วัฒนธรรมจีนฮกเกี้ยนมีให้เห็นแต่เพียงจางๆในช่วงตรุษจีน และกินเจ

เวลานั้นคนพื้นถิ่นภูเก็ตไม่ใคร่สนใจศึกษาภาษาจีนด้วยซ้ำไป

ช่วงนั้นภูเก็ตเพิ่งจะเปิดตัวรับการนักท่องเที่ยวชนิดกรุปทัวร์จากไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์

เวลามีทัวร์ลง เขาต้องจ้างไกด์ทัวร์ จากหาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นคนเบตง ที่เก่งภาษาจีนไปรับทัวร์

ถ้าหาไม่ได้ ก็ต้องติดต่อมาทางกรุงเทพ ให้ส่งไกด์กำกับกรุปทัวร์ลงไปด้วย โดยทางบริษัทจ่ายค่าเครื่องและเบี้ยพิเศษให้ไกด์

หลังจากนั้นทางภูเก็ตถึงได้เร่งสอนภาษาจีน และคนภูเก็ตเองสนใจมาเรียนจีน...
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 17:12

ขอบคุณมากๆสำหรับความรู้มากมายที่ไม่เคยทราบมาก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 มี.ค. 23, 15:35

การแต่งกาย
แฟชั่นการแต่งกายของชาวบาบ๋าประยุกต์จากชุดแต่งกายของชาวเมเลย์และจีนจนเป็นหนึ่งเดียว ถ่ายทอดจากมะละกา ปีนัง มาถึงภูเก็ตตามเส้นทางค้าขายทางทะเล   ชุดเจ้าบ่าวแต่อดีตเป็นสากลนิยม(เพราะทำงานหรือค้าขายกับฝรั่ง)  สวมสูทขาวกางเกงขาว ผูกเนคไทหรือหูกระต่ายสีแดง (มักเหน็บผ้าเช็ดหน้าผ้าไหมผืนสวยที่แม่ให้)  ชุดแต่งงานเจ้าสาวเป็นชุดที่หรูอลังการและสวยงามมาก  ตามประเพณีดั้งเดิมจะใส่ชุดครุย(Baju Panjang)   ที่ประกอบด้วย เสื้อตัวในสั้น คอตั้ง แขนยาว ติดกระดุมทอง(กิมตุ้น)  คลุมด้วยเสื้อครุยยาวที่เดิมทำจากผ้าฝ้ายหรือมัสลิน  ต่อมาใช้ผ้าป่านบาง ปักเป็นลวดลายดอกไม้เล็กๆ   ยาวประมาณน่อง และนุ่งโสร่งปาเต๊ะ
 
เครื่องประดับชุดเจ้าสาวจะสวยงามมาก  ประกอบด้วย
 -กอสัง(Kerongsang) หรือชุดเข็มกลัดแทนกระดุมที่มักทำจากทองคำฝังเพชร   ชิ้นโตมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจและมักมีชิ้นลูกอีก ๒ ชิ้นเป็นรูปทรงกลม ตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้ เรียกว่า ชุดแม่ลูก ปัจจุบันของโบราณจะยิ่งมีราคาแพงมาก
 -ปิ่นตั้ง เป็นเข็มกลัดทำจากทองคำประดับด้วยเพชรซีกหรือเพชรลูก ลักษณะเป็นดอกไม้บานเต็มที่มีทั้งขนาดเล็กหรือใหญ่
 -กำไล
 สวมเป็นวงเดียวหรือหลายวงที่เรียก กำไลมโนราในภาษาท้องถิ่นเรียก “หมั้ยโนรา”    เหมือนที่ผู้รำมโนราสวมขณะแสดง นอกจากนี้การเรียกชื่อกำไลของชาวภูเก็ตยังเกี่ยวข้องกับพืชพรรณธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น กำไลหนามเรียน(ทุเรียน)  กำไลข้ออ้อย  กำไลลายดอกโป๊ยเซียน เป็นต้น

ภาพในพิธียกน้ำชาระหว่าง คุณตรีชฎา เพชรรัตน์ (ปอย) และ คุณภควา หงษ์หยก (โอ๊ค)

คุณกมลรส ทูนภิรมย์ บรรยายว่า น้องปอยงามมากแต่งแบบเปอรานากันในพิธียกน้ำชา สวมชุดครุยบาจูปันจัง เกล้าผมชักอีโบยสวมรัดเกล้าดอกไม้ไหวฮั่วก๋วน ประดับโกสัง ติดกระดุมกิมตู้น ติดเข็มกลัดปินตั้ง ต่างหูดอกพิกุลทองระย้า รองเท้าผ้าปักกาสุตมาเน็ค

ทุกอย่างล้วนประณีตวิจิตรบรรจง สมฐานะ ถ้าเจ้าบ่าวใส่ชุดแบบประเพณีดั้งเดิมแบบบาบ๋า จะเข้ากันมาก



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 01 มี.ค. 23, 17:35

ขอแสดงความยินดีกับเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ขอให้ครองรักกันไปจนถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง