เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34
  พิมพ์  
อ่าน: 218733 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 465  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 18:44

แต่ที่จะพูดก็คือ อังกฤษรับเอาทฤษฎีอยู่รอดนี้มาประยุกต์ใช้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยเอาดีเข้าตัวและเอาชั่วยกให้ฝ่ายตรงข้าม      คือการเดินทางไกลไปถึงดินแดนไหนก็ตาม    ถ้าค้าขายกันได้ดี  เป็นที่ถูกใจอังกฤษ ก็ไม่เป็นไรไม่ว่ากัน   แต่ถ้าไม่ถูกใจอังกฤษเมื่อไร  การรุกรานเพื่อเอาชนะ  กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัวก็เกิดขึ้น โดยอังกฤษไม่ถือว่าตัวเองผิด    เป็นความผิดของผู้ชนะงั้นเหรอ ที่แข็งแกร่งกว่า    มันช่วยไม่ได้ที่พม่าไม่เก่งจริง(นี่หว่า)  ก็ต้องแพ้เป็นธรรมดา     ในเมื่อตัวพม่าเองอ่อนแอกว่าเองก็ย่อมสูญเสียประเทศไป    แบบเดียวกับสัตว์ที่อ่อนแอก็ย่อมร่อยหรอ หรือสูญพันธ์ไปจากป่าดงพงไพร   หลีกทางให้สัตว์ที่แข็งแรงกว่าได้อยู่กันเป็นฝูงสืบลูกสืบหลานต่อไป  

ในเมื่อคิดแบบนี้  ก็เหมือนกับพูดว่า ไม่ใช่ความผิดของเสือที่มันเกิดมาเพื่อกินกวาง  ในขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องเรียกร้องความยุติธรรมให้กวางที่ถูกเสือกิน     เมื่อเราเห็นกวางพยายามสู้เสือ  เราก็ย่อมรู้โดยอัตโนมัติว่าอีกพักมันก็หมดท่า  ถูกเสือขย้ำตายจนได้ เป็นกฎธรรมชาติที่ผู้อ่อนแอจะพ่ายแพ้ผู้ที่แข็งแรงกว่า    ผู้ด้อยกว่าจะพ่ายแพ้ผู้เหนือกว่า    รู้แล้วก็ไม่ต้องไปสะดุ้งสะเทือนอะไรทั้งนั้น

รูปในค.ห. 461 ที่คุณเพ็ญชมพูนำมาลง สอดคล้องกับทฤษฎี Survival of the fittest     มันไม่ใช่อย่างคำพังเพยที่ว่า The best man wins  หรือ คนดีย่อมมีชัย   แต่จะเป็นว่า ใครชนะคนนั้นแหละคนดี   ก็อย่างที่นั่งเต๊ะท่าให้ชาวบ้านกราบไหว้อยู่นั่นไงคะ  คนดีทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 466  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 18:59

มีภาพคนดีอีกภาพหนึ่ง คราวนี้อยู่ในบ้าน  สี่สาวมานั่งคอยรับใช้หรืออาจจะให้เจ้านายดูตัว



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 467  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 20:01

ผมมิได้หายไปไหนครับ คงสลับลงไปนั่งเป็นผู้ดูผู้รู้บ้าง
 
การที่ผมเอารูปพม่าเก่าๆมาเล่าเข้าแนวประวัติศาสตร์ในกระทู้นี้ ก็หวังเอาความสนุกเป็นตัวชู เอาความรู้เป็นตัวแฝง บัดนี้มีหลายท่านนำภาพถ่ายร่วมสมัยเด็ดๆและความรู้แท้ๆเข้ามาเสริมบ้าง เอาความเห็นต่างมาถกกันด้วยภูมิปัญญาบ้าง เช่นนี้ ก็สมมาตรปรารถนาของผมแล้ว เพราะผู้ที่เข้ามาอ่านจะได้รับรสชาติอันหลากหลาย และได้รับสาระประโยชน์ไปเต็มๆ

พอดีกับที่ผ่านมาผมไปต่างจังหวัดเสียสามสี่วันด้วย เพิ่งจะกลับถึงบ้านเมื่อเย็นนี้ ที่ผ่านมานั้น ผมเข้าไปอ่านกระทู้ได้ แต่ไม่สะดวกที่จะเขียน จึงดูเหมือนเงียบไปเลย ความจริงแล้วผมได้การบ้านมาข้อใหญ่และกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่เสร็จพร้อมส่งครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 468  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 20:06

มีภาพคนดีอีกภาพหนึ่ง คราวนี้อยู่ในบ้าน  สี่สาวมานั่งคอยรับใช้หรืออาจจะให้เจ้านายดูตัว


นายคนดีในรูปนี้ท่าทางกรุ้มกริ่มจนออกนอกหน้า    คุณนายคงไม่ได้ตามมาจากอังกฤษด้วย   เลยมีโอกาสเล็งตะละแม่ทั้งหลายในรูปนี้ว่าคนไหนเข้าท่าที่สุด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 469  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 21:00

ความจริงแล้วผมได้การบ้านมาข้อใหญ่และกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่เสร็จพร้อมส่งครับ

ยกเชี่ยนหมากมานั่งรอแถวหน้าค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 470  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 21:08

สำหรับตาคอยท์แม้จะรักชาติเพียงใด  แต่เมื่อถูกอังกฤษจับได้มักจะประสบชะตากรรมเดียวกัน คือ ตายหรือถูกทรมานอย่างสาหัส
เหตุที่อังกฤษสามารถทำเช่นนั้นได้  เพราะอังกฤษถือหลักกฎหมายนานาชาติว่า ผู้ที่จะกระทำสงครามทางบกได้นั้นต้องเป็นทหารหรือพลเรือนที่เข้าองค์ประกอบ  ซึ่งต่อมาได้มีการกำหนดไว้ในสนธิสัญญาว่าด้วยกฎและแบบธรรมเนียมการสงครามทางบกซึ่งที่ประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก (Haque Peace Conference)  เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๔๒ มาตรา ๑ – ๓ ว่า
“มาตรา ๑ บรรดากฎหมายแบบธรรมเนียม  ทั้งอำนาจและน่าที่ในการสงครามนั้น  ใช่ว่า   กำหนดไว้สำหรับกองทัพทหารบกที่จัดประจำอยู่ฝ่ายเดียว  ต้องใช้สำหรับกองอาสาและกองสมัคซึ่งได้จัดขึ้นต้องตามกฎ  ดังจะว่าต่อไปนี้ด้วย
(๑)  ต้องมีผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในความประพฤติของผู้ที่อยู่ใต้บังคับ. 
(๒)  ต้องมีเครื่องหมายอันชัดเจน  ให้เห็นได้แต่ไกล. 
(๓)  ต้องถืออาวุธโดยเปิดเผย. 
(๔)  จะกระทำการศึกต้องให้ถูกกับกฎหมาย  และแบบธรรมเนียมการสงคราม 
แม้ว่ากองอาสาหรือกองสมัคกระทำการเป็นส่วนของกองทัพอันหนึ่ง  หรือ กระทำการรวบรวมอยู่ในกองทัพในที่ใดๆ ก็ดี  ให้พึงเข้าใจและเรียกว่า เป็นกองทัพบกเหมือนกัน.
มาตรา ๒ แม้ว่ามีกองทัพข้าศึกรุกเข้ามาใกล้เฃตที่ซึ่งไม่มีกำลังทหารปกครองอยู่  และพลเมืองในบริเวณนั้นถืออาวุธเฃ้าต่อสู้กองทัพที่รุกเข้ามาโดยหามีเวลาที่จะจัดการให้ต้องกับที่ว่าไว้ในมาตรา ๑ ไม่ก็ดี  ถ้าแม้ว่าพลเมืองเหล่านั้นประพฤติตามกฎหมายและแบบรรมเนียมการสงครามไซร้  ก็ให้นับว่าเป็นผู้กระทำการสงครามได้.
มาตรา ๓ กองทัพของประเทศที่กระทำการสงครามทุกฝ่ายมีได้ทั้งพลรบและผู้ช่วยพลรบ บุคคลทั้งสองจำพวกนี้เมื่อถูกจับกุม  ให้ได้รับความเลี้ยงดูตามกฎหมายที่ว่าด้วยชะเลยศึกทุกประการ”

บทบัญญัติของสนธิสัญญาสันติภาพ ณ กรุงเฮกนี้เอง  จึงเป็นที่มาของกองเสือป่าในสยามประเทศ  ซึ่งได้รับการฝึกหัดให้ปฏิบัติการกองโจรแบบเดียวกับตาคอยท์  แต่ถ้าถูกจับจะต้องได้รับการปฏิบัติเยี่ยงทหารที่ตกเป็นเชลยสงคราม  มิใช่ประสบชะตากรรมเดียวกับพวกตาคอยท์


ดาค้อยท์ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเชลย   แต่เจอชะตากรรมแบบโจรผู้ร้าย  แม้แต่พระสงฆ์ก็ถูกจับแขวนคอประจานให้คนทั่วไปเห็น  เพราะอังกฤษถือหลักข้างบนนี้อย่างเถรตรง   
อ่านแล้วก็เห็นใจว่า แค่เจอข้อ 2 ว่าต้องมีเครื่องหมายอันชัดเจนเห็นแต่ไกล  ดาค้อยท์ก็สอบตกไปแล้ว   ก็ในเมื่อชาวบ้านรวบรวมคน แบบตามมีตามเกิดเข้าสู้กับอังกฤษ   จะเอาเครื่องแบบ เอาธง เอาเครื่องหมายที่ไหนมาแต่งให้ถูกระเบียบกองทัพ    แล้วยังต้องทำศึกให้ถูกต้องตามกฎหมายของฝ่ายตะวันตกอีกด้วย   เฮ้อ...   
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 471  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 22:00

ข้อบัญญัติว่าด้วยการทำสงครามทางบกข้างต้นนั้นเอามาฝากคุณประกอบที่เคยคิดเห็นว่า รัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งเสือป่ามาแข่งกับทหารครับ
ในเมื่อเสือป่าเข้าองค์ประกอบตามข้อกำหนดนั้นทุกประการ  ยามที่เสือป่าซึ่งเป็นบุคคลพลเรือนเช่นเดียวกับตาคอยท์ถูกจับในยามสงครามจึงต้องได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรม    ไม่หมือนตาคอยท์ที่โดนอังกฤษทารุณกรรมสารพัด
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 472  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 00:10

แห่ะๆ ท่าน V_Mee จำได้ด้วย ว่าก่อนนั้นผมเคยแสดงความไม่ค่อยเห็นด้วยกับการตั้งเสือป่าเท่าไหร่เพราะคิดว่าทหารก็มีอยู่แล้ว ตอนนั้นไม่ได้นึกถึงประเด็นของสนธิสัญญาที่กรุงเฮกครับ  เศร้า
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 473  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 05:48

เอามาให้คุณประกอบคนอยู่ลอนดอนแปลเอาเอง

Another solution he found was to establish the Wild Tiger Corps, or Kong Sua Paa , a paramilitary organisation of Siamese of "good character" united to further the nation's cause. He also created a junior branch which continues today as the National Scout Organization of Thailand. The King spent much time on the development of the movements as he saw it as an opportunity to create a bond between himself and loyal citizens; volunteer corps willing to make sacrifices for the king and the nation. It was also a way to single out and honor his favorites. At first the Wild Tigers were drawn from the king's personal entourage (it is likely that many joined in order to gain favour with Vajiravudh), but an enthusiasm among the population arose later.

Of the adult movement, a German observer wrote in September 1911:

This is a troop of volunteers in black uniform, drilled in a more or less military fashion, but without weapons. The British Scouts are apparently the paradigm for the Tiger Corps. In the whole country, at the most far-away places, units of this corps are being set up. One would hardly recognise the quiet and phlegmatic Siamese
.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 474  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 08:53

ข้อบัญญัติว่าด้วยการทำสงครามทางบกข้างต้นนั้นเอามาฝากคุณประกอบที่เคยคิดเห็นว่า รัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งเสือป่ามาแข่งกับทหารครับ
ในเมื่อเสือป่าเข้าองค์ประกอบตามข้อกำหนดนั้นทุกประการ  ยามที่เสือป่าซึ่งเป็นบุคคลพลเรือนเช่นเดียวกับตาคอยท์ถูกจับในยามสงครามจึงต้องได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรม    ไม่หมือนตาคอยท์ที่โดนอังกฤษทารุณกรรมสารพัด

อยากให้คุณ V_Mee เล่าเรื่องเสือป่าบ้างค่ะ   โดยเฉพาะรายละเอียดที่รู้กันยากแบบนี้   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 475  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 18:26

หมู่นี้ผมมักจะได้ยินบ่อยๆว่า เมื่อก่อนนั้นไทยกับญี่ปุ่นมีความเจริญพอฟัดพอเหวี่ยงกันแบบเผลอๆไทยจะเจริญกว่าเขาด้วยซ้ำไป ผู้ที่แสดงความเห็นเช่นนี้มักจะอ้าง เป็นต้นว่า ในสมัยอยุธยาญี่ปุ่นยังต้องมาขอซื้อปืนใหญ่ของไทยเลย แม้แต่วัฒนธรรมบางอย่างเช่น การบรรจุอาหารในกล่องแบบเบนโตะ ญี่ปุ่นก็เอาแนวความคิดไปจากปิ่นโตของเรา หรือดนบุรีอันเป็นข้าวราดหน้าต่างๆ อย่างข้าวหน้าหมูที่ญี่ปุ่นเรียกทงคัตสึ ดนบุรี ก็เอาหลักคิดไปจากข้าวราดแกงของไทยที่มาเห็นในยุคธนบุรีไปโน่น แต่ก่อนผมอ่านแล้วก็ได้แต่นึกขันๆในฤทธิ์ชาตินิยมขึ้นสมองเกินขนาดของคนเขียน

แต่หลังๆนี่ชักขันไม่ออก เพราะเวปเสรีหลายสำนักเล่นแพร่เรื่องนี้อย่างถี่และหนักขึ้นมาก เอาความเห็นเรื่องไทยกับญี่ปุ่นเคยทัดเทียมกันมาเล่นแบบลามปามไปว่า เพราะความไม่ดีต่างๆนานาของระบอบการปกครองของสยามและหัวหน้ารัฐบาลสมัยนั้น ได้ทำให้ประเทศล้าหลังญี่ปุ่น ทั้งๆที่เปิดรับอารยะธรรมตะวันตกพร้อมๆกัน สยามเริ่มต้นออกสต้าร์ทด้วยการมีรถรางก่อนญี่ปุ่นด้วยซ้ำ แต่เดี๋ยวนี้ชินกันเซนของญี่ปุ่นทิ้งไทยไปแบบไม่เห็นฝุ่นแล้ว

แม้จะไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่คิดจะเข้าไปถกเถียงอะไรกับเขา เพราะเห็นเบื้องหลังในการจุดประเด็นดังกล่าวของคนพวกนั้นว่าหวังผลอย่างอื่น ไม่คิดจะอยากรับฟังความเห็นของใครนอกจากพวกของตน
แต่เมื่อคุณประกอบคนกันเองยกความคิดคล้ายๆกันนั้นมาตั้งปุจฉา ผมจึงเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องค้นคว้ามาถกกันในเรื่องของข้อเท็จจริง  ตามประเด็นดังนี้
…… สำหรับเรื่องการพัฒนาที่ทำให้เราแตกต่างจากญี่ปุ่น   เพราะผมสงสัยว่า เราเปิดประเทศในช่วงใกล้ๆ กัน  ความรู้ในวิทยาการตะวันตกตอนเริ่มต้นมีพอๆ กัน เราออกจะมีเอกภาพในเรื่องการปกครองมากกว่าญี่ปุ่นที่มีหลายๆ แคว้นด้วยซ้ำ  ทั้งสองประเทศเริ่มต้นจากการซื้อวิทยาการเหมือนกัน จ้างต่างชาติเหมือนกัน  มีการส่งนักเรียนไปเรียนเมืองนอกเหมือนกัน แต่ทำไมปลายทางจึงต่างกัน?
ญี่ปุ่นใช้เวลา 30-40 ปีหลังเปิดประเทศก็สามารถมีกองทัพเรือขนาดใหญ่  สามารถต่อเรือรบเอง ผลิตเครื่องยนต์เอง ฯลฯ ปลายๆ ศตวรรษที่ 19 ก็สามารถรบกับจีน ทำตัวเป็นผู้ล่าอาณานิคมแบบฝรั่งได้ 

 
คือเราต้องเห็นข้อเท็จจริงต้องตรงกันให้ได้ก่อนว่า ขณะเมื่อฝรั่งเข้ามาบีบบังคับให้รับกติกาของเขา ทำให้ต้องพัฒนาประเทศให้เคียงบ่าเคียงไหล่กับฝรั่งได้ ณ วันนั้นญี่ปุ่นกับไทย มีต้นทุนความเจริญทัดเทียมกันหรือไม่ หลังจากนั้น เราจึงจะไปว่ากันต่อในประเด็นอื่นๆต่อไปได้โดยปราศจากอคติ ซึ่งจะว่าไป เกือบทั้งหมดผมก็เห็นด้วยกับคุณประกอบอยู่

เรื่องนี้ไม่น่าจะสั้น ผมจึงขอแยกกระทู้ออกไปตั้งเป็นกระทู้ใหม่เรื่อง“จริงหรือไฉน: ญี่ปุ่นกับไทยออกเส้นสต๊าร์ทเดียวกันเมื่อถูกฝรั่งดันให้วิ่ง” เพราะเนื้อหามันจะไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้เท่าไหร่ ถ้าสนใจในหัวข้อที่ว่าท่านก็สามารถเข้าไปอ่านได้ตามนี้

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5521.0

ส่วนกระทู้นี่ ก็ขอให้เราว่ากันในเรื่องอันเนื่องจากพม่ารบฝรั่งต่อไปตามเดิมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 476  เมื่อ 29 ม.ค. 13, 20:07

ท่านอาจารย์ใหญ่กว่าโยกย้ายจากพม่าไปญี่ปุ่นเสียแล้ว   สงสัยว่ากระทู้พม่ารบฝรั่งเห็นจะต้องจบลงเพียงแค่นี้ละมังคะ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 477  เมื่อ 30 ม.ค. 13, 00:44

อ้าว!!!!.....

จะจบแล้วหรือครับ
 ฮืม ฮืม ฮืม ฮืม
งั้ัน ผมขอเข้ามาลงชื่อไว้ก่อนจบแล้วกันนะครับ คุณครูทุกๆท่าน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 478  เมื่อ 01 ก.พ. 13, 11:34

ส่วนกระทู้นี่ ก็ขอให้เราว่ากันในเรื่องอันเนื่องจากพม่ารบฝรั่งต่อไปตามเดิมครับ

กระทู้ไม่น่าจบ             ยังไม่ครบกระบวนความ
เนื้อหาน่าติดตาม          ต่อจากนั้นเป็นฉันใด



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 479  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 21:10

กระทู้ดูไม่ออก                      จะให้บอกต่อแบบไหน
คุณเพ็ญฯรู้หรือไร                   เชิญแถลงไขไปก่อนเอง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง