เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 34
  พิมพ์  
อ่าน: 218696 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 450  เมื่อ 24 ม.ค. 13, 21:30

เคยคิดอยู่เหมือนกันว่า การรบแบบกองโจรของดาค้อยท์ ถ้าจะเอาชนะทหารอังกฤษได้ ต้องมีท่อน้ำเลี้ยง    อย่างน้อยก็ต้องมีเสบียง   และอาวุธให้ใช้ไม่ขาดแคลนกระสุน  พูดง่ายๆคือต้องมีคนหนุนหลังระดับบิ๊กเบิ้ม  
ในสมัยนั้นพวกที่จะช่วยได้ก็มีฝรั่งเศส ซึ่งกำลังตั้งกองอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขง    แต่ฝรั่งเศสข้ามมาไม่ถึงพม่า  และอาจไม่มีนโยบายจะรบกับอังกฤษด้วย     ดาค้อยท์จึงเป็นพวกน่าสงสารมากที่ต้องสู้ไปตามมีตามเกิด    

ส่วนเหตุผลของพวกเขาก็อาจแตกต่างกันไปแต่ละกลุ่ม  เจ้าฟ้าดาค้อยท์ทั้งหลายสู้แบบเห็นอังกฤษเป็นอริราชศัตรูของราชวงศ์คองบอง   ขบวนการสงฆ์เป็นพันธมิตรของเจ้านาย และไม่ต้องการให้ศัตรูต่างชาติต่างศาสนามาย่ำยีประเทศ    
ส่วนชาวบ้านก็สู้เพราะอยู่กันเองถึงลำบากยากแค้นประสาชาวบ้านก็ยังดีกว่ามีใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง      อังกฤษเป็นคนแปลกหน้า  ไม่ใช่กษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันอยู่คู่ประเทศมาหลายร้อยปีจนปลูกฝังความเคารพเลื่อมใสในตัวสถาบัน   ไม่ว่าพระเจ้าสีป่อจะอ่อนแอแค่ไหนก็ตาม

อังกฤษปฏิบัติกับประเทศแต่ละประเทศที่ตัวยึดได้แตกต่างกัน    มิได้ให้ความเท่าเทียมอย่างที่เราอาจจะเข้าใจกันเช่นนั้น    อย่างมลายู  อังกฤษส่งเสริมบางส่วนให้เจริญก้าวหน้าแบบตะวันตก เห็นตัวอย่างได้จากสิงคโปร์ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมลายู และเกาะปีนังก็ดูหรูหราปานจำลองเมืองอังกฤษลงมา      เพราะอังกฤษเอาสิงคโปร์เป็นเมืองการค้า  มีเจ้าเมืองเป็นชาวอังกฤษประจำอยู่  ก็ปรับปรุงบ้านเมืองให้สะดวกสบายหน่อย    พลอยทำให้ชาวเมืองได้อานิสงส์ไปด้วย    
แต่อังกฤษมิได้สนใจจะพัฒนาพม่าให้เจริญแบบนั้น    ยังคงปล่อยเอาไว้ในสภาพที่แทบจะไม่กระเตื้องขึ้นเลย  เพียงแต่บังคับให้เรียนภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกันสะดวก         ทรัพยากรต่างหากที่อังกฤษสนใจมากกว่า
พม่าตกอยู่ใต้อำนาจอังกฤษด้วยความขมขื่นมายาวนาน   จนสามารถเรียกร้องความเป็นไทแก่ตัวคืนกลับมาได้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง     แต่ความเจริญที่หยุดชะงักอยู่ใต้อำนาจอังกฤษก็เหมือนบ้านเมืองถูกฟรีซมาหลายสิบปี    ปัญหาเดิมๆเช่นการแบ่งแยกระหว่างชนเผ่าต่างๆที่อังกฤษจัดการไว้ให้ ก็ยังสะสางไม่เสร็จจนบัดนี้
บันทึกการเข้า
dantoki
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 451  เมื่อ 24 ม.ค. 13, 21:44

คาดว่าหลังพม่าแตก คงมีเจ้านายของพม่าหลายก๊กหลายก๊วนตั้งกลุ่มกองขึ้นมาสู้กับอังกฤษ เพราะคงต้องการเอกราชและราชบัลลังก์คืน ส่วนพวกชาวบ้านทั้งหลายเมื่อเจ้านายจับปืนลุกขึ้นสู้ ก็คงจะเออออไปด้วยแหละครับ ไม่เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนาหรือระบอบอกษัตริย์อะไรมากมายหรอก อีกอย่างคงคิดว่าดีเลวยังไงก็ขอสะสางกันเอง ดีกว่าให้พวกผิวขาวผมแดงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย ซึ่งก็ไม่เข้ามาเปล่าๆ แต่ดันหยิบเอาทรัพยากรนู่นนี่นั่นติดมือไปด้วย เป็นผมเองเจอแบบนี้ก็คงไม่ชอบหรอก
บันทึกการเข้า
dotdotdot
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 452  เมื่อ 25 ม.ค. 13, 05:04

อ้างถึง คห 422

 "พม่าแดดเดียว" ตำรับอังกฤษ กับ"พม่าทุบ" ที่สีป่อ  เมีย และแม่ยายรู้เห็นเป็นใจเอาญาติมาทุบฝังลงหลุมทั้งลูกเด็ก

เล็กแดงชายหญิง แบบไหนมันชั่วช้ากว่ากัน?

เมื่อเป็นเมืองขึ้นเขาแล้ว พม่า ตายน้อยกว่ากี่ศพถ้านับได้ ? 

" มองไม่เห็นว่าหรือไม่ได้รับการสอนว่าแต่อย่างน้อยมันทำให้ระบบการค้าที่ถูกผูกขาดโดยกลุ่มขุนนางหรือเจ้านายมัน

ลดลงไป และเป็นที่มาของการที่เราต้องปรับปรุงประเทศอย่างขนานใหญ่ "

ได้ขุนนาง นายทุน  ที่แต่งตั้งโดย อังกฤษ  ขึ้นมาแทน เจ้า และ ขุนนาง เดิม ชีวิตชาวพม่า ดีขึ้นไหม?


"ในฐานะคนยุคหลัง เรามองการเสียบ้านเสียเมืองของพม่า เรามองการรุกรานของตะวันตกในสายตาแบบคนเอเชียที่

ถูกรุกราน  แต่ถ้าเราเป็นฝรั่งในเวลานั้นเราคงมองว่าเป็นความชอบธรรมของเราที่จะนำพาความเจริญไปสู่ดินแดนห่าง

ไกล "

Afghanistan,Iraq,Libia and Syria to follow.

"ดังนั้นคำตอบที่แน่ชัดจึงฟันธงไม่ได้  เพราะต้องถามว่าจะมองจากมุมไหน  แต่ละมุมก็ฟังดูเข้าท่าดีทั้งนั้น  แต่ถ้าใน

ฐานะพลเมืองโลก  ตัดความคิดเรื่องชาตินิยมออกไป"

เกิดที่ พม่า ก็ต้องเป็นชาว พม่า ต้อง รักและตอบแทนแผ่นดินที่ตนเกิด เช่นเดียวกับชาวไทย หรือ สยาม ก็ต้องรักและ

หวงแหนอิสระของประเทศ อีกอย่าง ถ้ามีเรื่องขัดหมางกันในบ้าน ก็ไม่ควรไปเรียกให้คนนอกบ้านมาตีคนในบ้าน ถึงแม้

ว่าคนในบ้านนั้นๆจะเลวสักเพียงใดก็ตาม

"ก็ต้องมองด้วยว่าหลังอังกฤษออกไปคนพม่าปกครองกันเองแล้วเป็นอย่างไร  ดีกว่าเกาหลีเหนือแค่ไหนเชียว  ย่ำแย่กว่าสมัยอยู่ใต้อังกฤษอีก"

อังกฤษ เข้าไปขนเอาวัสดุดิบไป ถ้าเป็นชาว อังกฤษ ก็ต้องคิดเช่นประโยคบน

"นอกจากนี้ถ้าจะมองการรอดพ้นการเป็นเมืองขึ้นของเราว่าดีพอแล้ว  เราควรจะเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาคล้ายๆ กันด้วย  ในขณะที่การปรับปรุงของเรามุ่งไปที่การเลียนแบบจะให้เจริญแบบฝรั่ง แต่เพราะวิธีคิดของเราเน้นอะไรง่ายๆ สบายๆ ซื้อเค้ามาใช้แล้วก็แล้วกัน วันนี้เราจึงยังรับจ้างทำของอยู่เลย  แต่ของญี่ปุ่นเน้นว่าอะไรที่เอ็งทำได้ ตรูก็ทำเองได้เหมือนกัน และเน้นที่จะทำเอง  สุดท้ายปลายทางระดับการพัฒนาเลยต่างกัน"

ญี่ปุ่น เขารับของที่เป็นประโยชน์ไว้ แล้วทิ้งสิ่งเหลวไหลของ ฝร้่ง ออกไป   ส่วนไทย รับสิ่งที่ชนชั้นปกครอง ( ที่เรียกตัวเอง ว่า สื่อ และ นักการเมือง ) ยัดให้ แล้วกลืนลงไปโดยไม่รุ้ ว่ามันคืออะไรกันแน่ เช่น คำว่า ประชาธิปไตย เมื่อ อเมริกา ยื่นของเล่นใหม่ โดยการร่างกฎกติกาการเมืองใหม่ให้ ญี่ปุ่น เขาก็เล่นตามกติกา ส่วนไทยเราต้องการแค่เรียนการใช้คำว่า ประชาธิปไตย โดยไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำๆนั้น  แล้วก็เห็น ฝรั่ง ดีไปหมดแทบทุกอย่าง ฝร้่ง ที่ดีๆมีแยะ ทั้งที่บ้านเขา และนอกประเทศเขา ที่เลวของเขาก็มีมาก แต่ขนาดเลวของเขา  เขาก็รักประเทศชาติของเขา เขาไม่คิดว่าการเป็นเมืองขึ้นของคนต่างชาติจะดีกว่าเป็น ไท

...



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 453  เมื่อ 25 ม.ค. 13, 09:31

สวัสดีค่ะคุณ dotdotdot  ไม่เจอเสียนาน   เข้ามาอ่านเงียบๆอยู่นานแล้วละมังคะ  

อันที่จริงความรู้สึกของดาค้อยท์ ไม่ว่าทหารหรือชาวบ้านธรรมดาที่ลุกขึ้นต่อสู้อังกฤษ เราก็พอจะเดาได้โดยสามัญสำนึก  
พวกเขาอยู่ในบ้านของเขาดีๆ  ทำมาหากินไปตามประสา    มีใครไม่รู้เอาปืนมายิงประตูบ้าน  ตบเท้าเข้ามายึดโฉนดบ้านเป็นของตัวเอง หยิบของกินของใช้ ของมีค่าในบ้านไปตามใจชอบ  แล้วบอกว่าความเป็นอยู่จะดีขึ้น ถ้ายอมให้พวกเขาเข้ามาเป็นเจ้าของบริหารจัดการบ้าน    ขัดขืนก็ต้องตายสถานเดียว
เจ้าของบ้านเดิมจะพยักหน้าหงึกๆ แล้วบอกว่าโอเค ก็นับว่าดีกว่าพวกกระผมทำมาหากินกันเอง   กระนั้นหรือ

อย่าว่าแต่ยึดประเทศเลย  แม้แต่ยึดที่ดินทำมาหากินอย่างที่เป็นข่าวในทีวีอยู่บางครั้ง  ในรูปของการเวนคืนบ้าง ไล่ที่บ้าง   ชาวบ้านก็ไม่ยอมอยู่แล้ว  ต่อให้ได้ค่าชดเชยก็ตาม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 454  เมื่อ 25 ม.ค. 13, 10:14

ข้าพเจ้าอ่านเรื่องไม่เข้าใจเองหรืออย่างไร ทำไมจากประวัติศาสตร์พม่าข้าพเจ้าได้กลิ่นการเมืองไทยโชยมา และคงไม่ใช่กลิ่นหอมฟุ้งเสียด้วย

ละเว้นกระทู้ประวัติศาสตร์สักทีละกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 455  เมื่อ 25 ม.ค. 13, 10:20

มองการเมืองพม่าแล้วย้อนดูการเมืองไทย   ก็นำข้อเตือนใจจากประวัติศาสตร์พม่ามาเป็นอุทาหรณ์สอนใจได้ค่ะ

การเมืองเป็นเรื่องน่าระอิดระอาใจก็เพราะว่าคนที่พูดกันเรื่องการเมือง หันจาก"เรื่อง"มาเล่นงาน"คน" โดยพูดอย่างเอาเป็นเอาตายกัน   
อีกอย่างคือพูดด้วยอารมณ์ มากกว่าเหตุผล
ในกระทู้นี้ ดิฉันเห็นว่าต่างฝ่ายต่างก็ยังให้เกียรติอีกฝ่ายดี  ทะเลาะออกนอกลู่นอกทางกันเมื่อไร ดิฉันจะลบค.ห.เอง ค่ะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 456  เมื่อ 25 ม.ค. 13, 16:15

แหะๆ  คุณ han_bing ชักจะเบื่อกลิ่นการเมืองในกระทู้ประวิัติศาสตร์ซะแล้ว


แต่เรื่องราวในประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเสมอ  โครงเรื่องคล้ายๆ เดิม เปลี่ยนแต่สถานที่ ตัวละคร และองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ  ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่แค่เรื่องของใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์แบบฉบับน่าเบื่อ เรียนไปเพื่อจำชื่อคนกับวันเวลา สถานที่ เอาไว้สอบหรือตอบคำถามในเกมส์โชว์  ดังนั้นจึงไม่ยากจะคาดการณ์ว่ามันอาจถูกโยงมาถึงเหตุการณ์ปัจจุบันได้ เพราะการกระทำบางอย่างของคน ไม่ว่ายุคไหนๆ ก็อาจมีแรงจูงใจ และการกระทำที่เหมือนหรือคล้ายคลีงกัน


นอกจากนั้นประวัติศาสตร์มันไม่ใช่ของสำเร็จรูป  เหตุการณ์เดียวกันบันทึกโดยคนละคนกัน คนละมุมมอง เรื่องราวก็จะต่างออกไป  ไม่มีฝ่ายไหนยอมรับว่าตัวเองเป็นฝ่ายผิด  ทุกฝ่ายจะต้องอ้างความชอบธรรมเสมอ


เมื่อได้มีโอกาสอ่านหรือศึกษาประวัติศาสตร์จากหลายแหล่ง หลายแบบ  ทำให้ความรู้สึกเวลาอ่านเรื่องในประวัติศาสตร์ของผมไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  คือไม่ค่อยจะคล้อยตามสิ่งที่ถูกเขียนมากนัก ไม่ได้หมายถึงจากกระทู้นี้ แต่เมื่ออ่านเรื่องประวัติศาสตร์พม่าฉบับคุณป้า ซึ่งตามไปอ่านได้จาก link ไปยัง pantip  มันกลายเป็นประวัติศาสตร์มุมเดียว  มีทั้งการแก้ตัวให้พระเจ้าสีป่อ เช่นไม่รู้เห็นการประหารพระญาติพระวงศ์ หรือยกเรื่องการต่อสู้ของดาคอยท์มาเป็นการต่อสู้แบบอุดมคติ สูงส่ง เพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งผมดื้อเองไม่คิดว่าดาคอยท์ส่วนใหญ่  โดยเฉพาะระดับล่างๆ  จะต่อสู้โดยมีแรงจูงใจอุดมคติแบบนั้น  เพราะยังมีแรงจูงใจอื่นที่เป็นไปได้  เช่นความกลัว  ความไม่แน่ใจชีวิตที่มีทหารต่างชาติกำกับ   หรือแม้แต่ถูกบงคับและชักจูงจากหัวหน้าโดยวิธีการจิตวิทยาต่างๆ  เหมือนกับที่ชาวเขา ชาวชนบทไทยที่กลายเป็นคอมมิวนิสต์เมื่อ 30-40 ปีก่อนนั่นแหละ โดยที่ไม่เข้าใจว่าคอมมิวนิสต์จริงๆ เป็นอย่างไรด้วยซ้ำ   แต่ถูกสอนว่าคนชนบทถูกลัทธิทุนนิยม ข้าราชการรังแก  หรือแม้แต่ถูกบังคับเพราะอยู่ในเขตอิทธิพลอะไรทำนองนั้น



ผมทราบดีว่าการแสดงความคิดเห็นของผมออกจะสร้างความไม่เห็นด้วยหรือแม้แต่ขัดเคืองให้หลายๆ ท่าน โดยเฉพาะผมออกจะต่อต้านแนวคิดเรื่องชาตินิยมเป็นพิเศษ อันนันก็เพราะส่วนตัวของผมเองที่ปัจจุบันผมไม่เห็นด้วยกับความคิดชาตินิยมเท่าไหร่นัก ไม่ใช่ไม่รักชาติ แต่ความคิดชาตินิยมที่เกินขอบเขตทำให้ผู้คนคิดว่าเราเหนือกว่า  เราด้อยกว่า เราชอบธรรมกว่า และใช้ศักดิ์ศรีมาเป็นตัวตัดสินมากกว่าเหตุผล ผมได้เห็นผลของความคิดแบบชาตินิยมที่ฝรั่งอังกฤษคิด และแสดงออกผ่านตัวอักษรและการกระทำออกมาป็นการเหยียดเอเชีย   ได้เห็นคนไทยเหยียดชาติเพื่อนบ้าน  ได้เห็นตัวผมเองเหยียดคนจีน   โดยเฉพาะช่วงนี้ได้อ่านความคิดเห็นของคนไทยจำนวนไม่น้อยเกี่ยวกับเรื่องโรฮิงญาทำให้ผมรู้สึกว่าความเมื่อมีเรื่องชาตินิยมเข้ามาเกี่ยว มนุษยธรรมของคนจะหายไปได้มาก  เพราะกลายเป็นว่าเรามองคนที่ด้อยกว่าเราแบบเหมารวมเหมือนไม่ใช่คนไปแล้ว  ทำให้ความเห็นในกระทู้นี้จึงออกจะรุนแรงและค้านกับมุมมองคนอื่นไปไม่น้อย ต้องขออภัยทุกท่านด้วย 
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 457  เมื่อ 26 ม.ค. 13, 07:53

สำหรับตาคอยท์แม้จะรักชาติเพียงใด  แต่เมื่อถูกอังกฤษจับได้มักจะประสบชะตากรรมเดียวกัน คือ ตายหรือถูกทรมานอย่างสาหัส
เหตุที่อังกฤษสามารถทำเช่นนั้นได้  เพราะอังกฤษถือหลักกฎหมายนานาชาติว่า ผู้ที่จะกระทำสงครามทางบกได้นั้นต้องเป็นทหารหรือพลเรือนที่เข้าองค์ประกอบ  ซึ่งต่อมาได้มีการกำหนดไว้ในสนธิสัญญาว่าด้วยกฎและแบบธรรมเนียมการสงครามทางบกซึ่งที่ประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก (Haque Peace Conference)  เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๔๒ มาตรา ๑ – ๓ ว่า
“มาตรา ๑ บรรดากฎหมายแบบธรรมเนียม  ทั้งอำนาจและน่าที่ในการสงครามนั้น  ใช่ว่า   กำหนดไว้สำหรับกองทัพทหารบกที่จัดประจำอยู่ฝ่ายเดียว  ต้องใช้สำหรับกองอาสาและกองสมัคซึ่งได้จัดขึ้นต้องตามกฎ  ดังจะว่าต่อไปนี้ด้วย
(๑)  ต้องมีผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในความประพฤติของผู้ที่อยู่ใต้บังคับ. 
(๒)  ต้องมีเครื่องหมายอันชัดเจน  ให้เห็นได้แต่ไกล. 
(๓)  ต้องถืออาวุธโดยเปิดเผย. 
(๔)  จะกระทำการศึกต้องให้ถูกกับกฎหมาย  และแบบธรรมเนียมการสงคราม 
แม้ว่ากองอาสาหรือกองสมัคกระทำการเป็นส่วนของกองทัพอันหนึ่ง  หรือ กระทำการรวบรวมอยู่ในกองทัพในที่ใดๆ ก็ดี  ให้พึงเข้าใจและเรียกว่า เป็นกองทัพบกเหมือนกัน.
มาตรา ๒ แม้ว่ามีกองทัพข้าศึกรุกเข้ามาใกล้เฃตที่ซึ่งไม่มีกำลังทหารปกครองอยู่  และพลเมืองในบริเวณนั้นถืออาวุธเฃ้าต่อสู้กองทัพที่รุกเข้ามาโดยหามีเวลาที่จะจัดการให้ต้องกับที่ว่าไว้ในมาตรา ๑ ไม่ก็ดี  ถ้าแม้ว่าพลเมืองเหล่านั้นประพฤติตามกฎหมายและแบบรรมเนียมการสงครามไซร้  ก็ให้นับว่าเป็นผู้กระทำการสงครามได้.
มาตรา ๓ กองทัพของประเทศที่กระทำการสงครามทุกฝ่ายมีได้ทั้งพลรบและผู้ช่วยพลรบ บุคคลทั้งสองจำพวกนี้เมื่อถูกจับกุม  ให้ได้รับความเลี้ยงดูตามกฎหมายที่ว่าด้วยชะเลยศึกทุกประการ”

บทบัญญัติของสนธิสัญญาสันติภาพ ณ กรุงเฮกนี้เอง  จึงเป็นที่มาของกองเสือป่าในสยามประเทศ  ซึ่งได้รับการฝึกหัดให้ปฏิบัติการกองโจรแบบเดียวกับตาคอยท์  แต่ถ้าถูกจับจะต้องได้รับการปฏิบัติเยี่ยงทหารที่ตกเป็นเชลยสงคราม  มิใช่ประสบชะตากรรมเดียวกับพวกตาคอยท์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 458  เมื่อ 26 ม.ค. 13, 08:51

ผมทราบดีว่าการแสดงความคิดเห็นของผมออกจะสร้างความไม่เห็นด้วยหรือแม้แต่ขัดเคืองให้หลายๆ ท่าน โดยเฉพาะผมออกจะต่อต้านแนวคิดเรื่องชาตินิยมเป็นพิเศษ อันนันก็เพราะส่วนตัวของผมเองที่ปัจจุบันผมไม่เห็นด้วยกับความคิดชาตินิยมเท่าไหร่นัก ไม่ใช่ไม่รักชาติ แต่ความคิดชาตินิยมที่เกินขอบเขตทำให้ผู้คนคิดว่าเราเหนือกว่า  เราด้อยกว่า เราชอบธรรมกว่า และใช้ศักดิ์ศรีมาเป็นตัวตัดสินมากกว่าเหตุผล ผมได้เห็นผลของความคิดแบบชาตินิยมที่ฝรั่งอังกฤษคิด และแสดงออกผ่านตัวอักษรและการกระทำออกมาป็นการเหยียดเอเชีย   ได้เห็นคนไทยเหยียดชาติเพื่อนบ้าน  ได้เห็นตัวผมเองเหยียดคนจีน   โดยเฉพาะช่วงนี้ได้อ่านความคิดเห็นของคนไทยจำนวนไม่น้อยเกี่ยวกับเรื่องโรฮิงญาทำให้ผมรู้สึกว่าความเมื่อมีเรื่องชาตินิยมเข้ามาเกี่ยว มนุษยธรรมของคนจะหายไปได้มาก  เพราะกลายเป็นว่าเรามองคนที่ด้อยกว่าเราแบบเหมารวมเหมือนไม่ใช่คนไปแล้ว  ทำให้ความเห็นในกระทู้นี้จึงออกจะรุนแรงและค้านกับมุมมองคนอื่นไปไม่น้อย ต้องขออภัยทุกท่านด้วย  

ดิฉันอ่านความเห็นของคุณประกอบไปมาหลายตลบ พยายามทำความเข้าใจว่าคุณหมายถึงอะไรกันแน่    ปรากฏว่า คำที่คุณประกอบใช้ คือ "ส่วนตัวของผมเองที่ปัจจุบันผมไม่เห็นด้วยกับความคิดชาตินิยมเท่าไหร่นัก" ทำเอาดิฉันเข้ารกเข้าพงไปหลายกิโลเมตร  กว่าจะเดินลมปราณย้อนกลับมาตั้งหลักได้ว่าที่จริงคุณประกอบไม่ควรใช้คำว่า "ชาตินิยม" ต่างหากล่ะคะ

คือยังงี้นะคะ คุณประกอบ เมื่อดิฉันอ่านคำขยายความของคุณข้างบนที่ quote มานี่แล้ว    มันไม่ใช่ชาตินิยมหรอกค่ะ     สิ่งที่คุณเรียกว่าชาตินิยมหรือชาตินิยมสุดโต่งนั้น  จริงๆแล้วคือคำว่า discrimination   เป็นคนละคำกับ nationalism  (หรือชาตินิยม)แทบจะโดยสิ้นเชิง

ชาตินิยมนั้นคือความรู้สึกผูกพันห่วงใยต่อประเทศชาติที่ตัวเองสังกัดอยู่  จะโดยกำเนิดหรือตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยก็ตามแต่    มีความปรารถนาดีจะเห็นประเทศเจริญก้าวหน้าไปในทางดี    ปรารถนาให้คนที่อยู่ในประเทศเดียวกันผาสุกร่มเย็น     อะไรจะทำให้เกิดความดีชนิดนี้ได้เขาก็เลือกทำก่อนอย่างอื่น แม้จะต้องเสียสละความสุขส่วนตัวบ้างก็ยอม       ถ้าหากว่าประเทศถูกคนถิ่นรุกรานหรือเอารัดเอาเปรียบ เขาก็จะไม่นิ่งดูดาย แต่จะลุกขึ้นทำอะไรสักอย่างที่ทำได้ เพื่อประเทศของเขาจะรอดพ้นจากความเดือดร้อน

แต่การข่มเหงรังแกคนชาติอื่นก็ดี    การดูถูกเหยียดหยามคนมีสัญชาติ/เชื้อชาติอื่น ไปจนรังเกียจเดียดฉันท์  กีดขวาง ขัดขวางไม่ให้คนเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรมดี  ไม่ว่าจะมีเหตุผลแค่หมั่นไส้เฉยๆ หรือเห็นตัวเองดีกว่าก็ตาม เหตุผลอะไรไม่สำคัญ   ทั้งหมดนี้คือ discrimination   ประเภทหนึ่ง ค่ะ  
การที่คุณเหยียดคนจีน เรียกว่า racial discrimination คือเอาเชื้อชาติเป็นหลัก    เหมือนอังกฤษเหยียดหยามชาวอาณานิคม   เรียกว่า "คนพื้นเมือง " แต่พวกเขาชาวอังกฤษเมื่ออยู่ในอังกฤษ ยังไงก็ไม่เรียกว่าชาวอังกฤษพื้นเมือง    
ส่วน  discrimination อื่นก็เช่น sexual discrimination  คือเพศนิยมสุดโต่ง   เช่นยึดมั่นว่าเพศชายทำงานบริหารได้ดีกว่าเพศหญิงแน่นอน   เพราะงั้น ถ้าให้เลือกระหว่างโอบาม่ากับฮิลลารี   ฉันไม่ดูหรอกเรื่องนโยบายหรือประสบการณ์  แค่เธอเป็นผู้หญิงฉันก็ไม่ลงคะแนนให้แล้ว  

ชาตินิยมเป็นสิ่งที่คนในชาติควรมี  มันช่วยรวมความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดินเดียวกัน ไม่แบ่งแยก  แต่ discrimination   คือสิ่งที่ผิดทั้งกฎหมายในบางประเทศ ผิดต่อสิทธิมนุษยชน  และผิดต่อศีลธรรมในหลายๆศาสนาด้วย      ถ้าคุณประกอบไม่เอามารวมกับคำว่าชาตินิยม     ดิฉันว่าคนอ่านกระทู้จะเข้าใจได้ชัดเจนว่าคุณพยายามสื่ออะไร  และดิฉันคิดว่าไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับคุณหรอกค่ะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 459  เมื่อ 26 ม.ค. 13, 15:06

แห่ะๆ  ขออภัยท่านอาจารย์ที่ผมใช้คำผิดพลาดครับ ผมใช้คำว่าชาตินิยมในความหมายของ discrimination จริงๆ นั่นแหละครับ  โกรธ  แต่จะไปใช้คำว่าการแบ่งแยก หรือความรู้สึกเหนือกว่าทางชาติพันธุ์ มันก็ยาว มันไม่มีคำภาษาไทยที่เหมาะสมตรงกับคำนี้ เลยไปใช้ว่าชาตินิยมซะ ทำเอาเข้ารกเข้าพงไปเลย


ส่วนที่ผมบอกว่าผมเหยียดคนจีน มันไม่ใช่การเหยียดในลักษณะว่าผมเหนือว่าหรือคนไทยสูงส่งกว่า แต่เป็นลักษณะของการตั้งแง่ใน strereotype (ไม่รู้ว่าภาษาไทยใช้ว่าอะไรดี) ของชาวจีนแผ่นดินใหญ่โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ผมได้เจอใน ตปท มากกว่า เช่นการล้งเล้งเสียงดังในที่สาธารณะ   ความไม่มีมารยาทในการปฏิบัติตัวต่อผู้อื่น  เช่นขาดความเกรงใจ  ความเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้  ที่แปลกคือคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีครอบครัว มีอายุหน่อย รวมถึงจีนไต้หวัน จีนฮ่องกง กลับมีลักษณะร่วมในแง่ลบพวกนี้น้อยกว่า  ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อบอกว่าแม้ผมเองที่พยายามอยากจะตัดอคติออกไป ยังทำไม่ได้เลย บ๊ะ จากพม่าข้ามมาจีนซะแล้ว
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 460  เมื่อ 26 ม.ค. 13, 15:26

ความรู้สึกเหนือกว่าทางชาติพันธุ์ มันก็ยาว มันไม่มีคำภาษาไทยที่เหมาะสมตรงกับคำนี้ เลยไปใช้ว่าชาตินิยมซะ ทำเอาเข้ารกเข้าพงไปเลย

ความรู้สึกเหนือกว่าทางชาติพันธุ์ = เชื้อชาตินิยม = racism

การเหยียดเชื้อชาติ = racial discrimination

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 461  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 14:51

ภาพข้าหลวงชาวอังกฤษกับการประชุมผู้นำหมู่บ้านชาวพม่า ขอให้สังเกตชาวบ้านนั่งพนมมือแต้ รับคำสั่งจากเจ้านายชาวอังกฤษ

รอคุณนวรัตนดำเนินรายการต่อ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 462  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 17:33

รอคุณนวรัตนดำเนินรายการต่อ

แฟนคลับเรียกร้องแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 463  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 17:38

ฮิฮิ  ชาวบ้านเคยชินกับการปฏิบัติกับเจ้านายอย่างไร  พอมีนายใหม่มาก็ปฏิบัติต่อแบบเดิม   ส่วนพวกฝรั่งก็ภูมิใจกับความเหนือกว่าของตนต่อไป ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ยิ่งพวกไม่มีอะไรให้ภูมิใจในตัวเองก็ยิ่งถือสีผิวแรง

เมื่อวานนี้ไปซื้อของในซุเปอร์มาเก็ต โดนฝรั่งเหยียดผิวอีกแล้ว  ปีนึงผมโดน 2-3 ครั้งได้  ยิงฟันยิ้ม  


หลังจากโดนผมปั่นป่วนกระทู้พักหนึ่ง ไม่รู้ว่าท่านนวรัตเบื่อจนหนีหายไปไหนแล้ว  ยังไงกลับมาแล้วอย่าลืมเอาภาพพม่าแดดเดียวแบบโหดมาฝากผมด้วยนะครับ เป็น link เฉยๆ ก็ได้  จะได้ดูไว้เป็นมรณานุสติ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 464  เมื่อ 28 ม.ค. 13, 18:38

ก่อนท่านซุปตาร์จะแหวกม่านออกมาอีก  ขอคั่นโปรแกรมด้วยคำอธิบายว่าทำไมอังกฤษจึงเห็นตัวเองเป็นพระเอก    ตามที่เกริ่นเอาไว้ในหลายค.ห. ก่อน

ในขณะที่พม่าตอนบนยังปกครองด้วยระบบเจ้ากับข้า ไม่ต่างจากยุคกลางของยุโรป เมื่อหลายศตวรรษก่อน   อังกฤษในศตวรรษที่ 19 ก็ก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม (Capitalism) เต็มตัวแล้ว     จะไม่ขออธิบายในเชิงวิชาการให้มันยืดเยื้อ   ใครสนใจไปเปิดหาคำว่า Capitalism เอาเองจากกูเกิ้ลนะคะ
อย่างหนึ่งที่จะสรุปได้ง่ายๆคือ  ระบบทุนนิยมนี้ทำให้เกิดแนวคิด "มือใครยาวสาวได้สาวเอา" ขึ้นมาอย่างถูกต้องในสังคม     นอกจากนี้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่กลายมาเป็นข้อสนับสนุนปรัชญาชีวิตของคนอังกฤษสมัยนั้นคือทฤษฎีวิวัฒนาการของของชาร์ลส์ ดาร์วิน  ว่าด้วยข้อ Survival of the fittest  คือผู้ที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้      ดิฉันจะไม่อธิบายทฤษฎีนี้มากเพราะสมาชิกเรือนไทยส่วนใหญ่เรียนสายวิทย์กัน  ย่อมรู้เรื่องนี้มากกว่าดิฉันเสียอีก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 34
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง