NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 360 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 17:14
|
|
ช่วงแรกของการรบ พม่ายังมีกระสุนพอใช้ แต่รบนานเข้า พวกอังกฤษตายเยอะก็จริงแต่พม่าตายมากกว่า แถมกระสุนก็ชักร่อยหรอ จะยิงมากก็ไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 361 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 17:16
|
|
ครั้นอังกฤษเสริมอาวุธหนักเข้ามาได้ ลางแพ้ก็เริ่มชัด พม่าดาคอยต์ก็ต้องถอยร่นเข้าป่าลึกเข้าไปอีก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 362 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:04
|
|
ทหารอังกฤษก็รุกไล่ตามไปอย่างช้าๆ ข้อสำคัญ ได้แรงงานทหารแขกมาทำค่ายป้องกันไม่ให้พม่าดาค้อยต์บุกเข้ามาลอบโจมตีง่ายๆ ภาพนี้ผู้ถ่ายบอกจนปัญญาเหมือนกัน ไม่รู้ว่าถ่ายจากที่ไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 363 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:07
|
|
เห็นค่ายกระจอกๆอย่างนี้แหละ ถ้าพม่ามาลอบยิงเป็นโดนสวนกลับไปได้ผลเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 364 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:14
|
|
ในที่สุดดาค้อยต์ก็ถูกต้อนจนต้องอยู่ในค่าย ซึ่งผิดอีก แทนที่จะสลายตัวกลับไปกระจุกกันอยู่รอคอยลูกปืนใหญ่ของฝรั่ง ดังที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเล่าไว้ ที่มั่นสุดท้ายของพม่าดาค้อยต์ไม่ว่ากลุ่มพระกลุ่มเจ้า ในที่สุดก็พ่ายแพ้หมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 365 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:19
|
|
ในขณะที่การปราบปรามดาค้อยต์ในส่วนที่เป็นพม่าแท้ กองทัพจำนวนหนึ่งก็มุ่งหน้าสู่ดินแดนที่ไกลออกไปในรัฐฉาน ชินและคะฉิ่น
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 366 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:28
|
|
ชนพื้นเมืองในรัฐที่เป็นเมืองขึ้นของพม่า มิได้จงรักภักดีกับพม่าอยู่แล้ว และยังมิได้คิดว่าฝรั่งเป็นศัตรูของชนเผ่าของตน ฝรั่งก็อ้างว่าที่รุกเข้ามาเพราะติดตามพวกพม่าดาค้อยต์ ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสได้แสดงอำนาจปืนเป็นการขู่ขวัญเจ้่าถิ่น เพื่อประโยชน์ในการเจรจาตามแผนที่วางไว้ด้วย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 367 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:36
|
|
ขอให้ท่านดูมาดของฝรั่งในการเจรจากับพวกหัวหน้าเผ่าชาวชินทั้งหลาย อย่างนี้ฝรั่งขออะไรก็คงได้หมดแต่ก็คงไม่รู้จะขออะไร พวกนี้ยากจนขนาดหนักมีแต่ผ้าเตี่ยวพันกาย ฝรั่งจะขอติดมือกลับบ้านเป็นที่ระลึกก็เกรงจาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 368 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:43
|
|
พวกไทใหญ่ในรัฐฉานบางเมืองมีการต้านทานกองทหารอังกฤษบ้าง และถูกจัดให้เป็นดาค้อยต์เหมือนกัน แต่ด้วยอาวุธที่ด้อยกว่าอดีตทหารพม่า การสู้รบจึงจบลงอย่างรวดเร็ว
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 369 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 18:49
|
|
ทหารอังกฤษถึงหมู่บ้านชื่อปินทา(Pyntha)ในรัฐฉาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 370 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 19:00
|
|
ข่าวศึกไปถึงซอบา(Sawbwa) หรือเจ้าฟ้าแห่งเมืองสีป่อ เมืองขึ้นที่สำคัญของพม่าในรัฐฉานที่ราชสำนักต้องส่งเจ้านายไปปกครองเสมอ พระเจ้าสีป่อที่ได้พระนามดังกล่าวก็เพราะทรงมีเชื้อสายของเมืองนี้ ในภาพซอบากำลังประทับรับฟังบรรดาอำมาตย์ทูลถวายคำปรึกษา โดยมีพระมเหษีและพระธิดาทรงอยู่ด้วยอย่างสนพระทัย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 371 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 19:14
|
|
และพระองค์ก็เป็นเจ้าเมืององค์แรกที่เสด็จมามัณฑเลย์เพื่อรับนโยบายของอังกฤษ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 372 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 19:16
|
|
เจ้าฟ้าเมืองสีป้อขณะนั้นคือ เจ้าขุนแสง (Sao Hkun Hseng)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 373 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 19:24
|
|
เจ้าขุนแสงและมหาเทวี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 374 เมื่อ 22 ม.ค. 13, 19:55
|
|
ภาพถ่ายกับภาพวาดหน้าตาไม่ค่อยเหมือนกันเท่าไรนะครับ อาจจะเป็นคนละวัยก็ได้
มาตอนนั้นเจ้าขุนแสงคงจะได้เที่ยวตลาดเช้าเมืองมัณฑเลย์ ซึ่งเข้าสูภาวะปกติแล้ว ผมเพิ่งจะสังเกตุเห็นกำแพงไม้อยู่ด้านหลัง แสดงว่าอยู่นอกเขตกำแพงพระนคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|