เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 34
  พิมพ์  
อ่าน: 218741 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 14:35

ในกาลครั้งนั้นนักธุรกิจชาวสก๊อตได้ไปลงทุนตั้งบริษัทเดินเรือชื่อว่าบริษัท Floatilla เปิดสำนักงานในร่างกุ้งนานแล้ว ใช้เรือกลไฟท้องแบนกินน้ำตื้นหลายขนาด ใหญ่ที่สุดก็มีถึง๓ชั้น เดินขึ้นล่องรับส่งผู้โดยสารและสินค้าตามหัวเมืองริมแม่น้ำต่างๆ

เพราะเมืองอมรปุระนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำ มีเรือกลไฟจักรข้างของบริษัทฝรั่งที่ย่างกุ้งชื่อบริษัทเดินเรืออิรวดี (The Irrawaddy Flotilla Company) เดินขึ้นล่องอยู่บ่อย ๆ หวูดเรือกลไฟนั้นระคายเคืองพระกรรณนัก ไม่มีทางที่จะสงบได้ทั้งกลางคืนและกลางวัน นอกจากจะหนวกหูแล้วก็ยังคอยเตือนให้ระลึกถึงอำนาจของฝรั่งในพม่าภาคใต้อีกด้วย...

ตอนนี้นอกจากจะหนวกหูเสียงหวูดเรือแล้ว ยังพาภัยอย่างอื่นมาด้วย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ศุศศิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 16:16

เข้าห้องเรียนช้า แต่ตามอ่านรวดเดียวจบ ทั้งที่พันทิป และที่นี่
 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 18:18



เดาว่าทหารพวกนี้น่าจะเป็นพวกทหารซีปอย (Sepoy) ที่อังกฤษตั้งขึ้น  ด้วยการจ้างทหารพื้นเมืองชาวอินเดียมาฝึกให้รบตามคำสั่งของอังกฤษ อย่างที่คุณนวรัตนเล่าให้ฟังข้างบนนี้

ขอตัดทางแยกไปสู่ซอย"ซีป่าย"
ในสมัยรัชกาลที่ ๒  คงจำกันได้ว่าประเทศเจ้าอาณานิคมเริ่มเมียงมองมายังสยามกันแล้ว     อังกฤษถึงกับส่ง  จอห์น ครอฟอร์ด เป็นราชทูตเข้ามา    ไม่ได้มาคนเดียว  มี  “ทหารซีปอย” (Sepoy) หรือที่อินเดียเรียกว่า “สิปาหิ”  ติดเรือรบเข้ามาด้วย เป็นกองกำลังคุ้มกัน
เมื่อเห็นทหารซีปอย เป็นทหารอาชีพมีระเบียบวินัยเข้มแข็งคึกคักดี  สยามก็เริ่มให้ความสนใจทหารอาชีพแบบทันสมัยที่เราไม่มีมาก่อน  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯ ให้จัดตั้งกองทหารอย่างฝรั่งขึ้นบ้าง เรียกว่า “ทหารซีป่าย” มีเครื่องแบบแตกต่างจากทหารทั่วไป มีหน้าที่รักษาพระองค์  

ต่อมาในรัชกาลที่ ๓  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้สมเด็จพระราชอนุชา เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์  (หรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)  ทรงฝึกชาวญวนเข้ารีตที่อพยพเข้ามาในสยาม  ให้เป็นทหารปืนใหญ่ประจำป้อมที่ปากน้ำ และนำเครื่องแบบซีป่ายมาใช้กับทหารกองนี้
ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ปลายรัชกาล  ร้อยเอก อิมเป นายทหารอังกฤษจากอินเดีย เดินทางเข้ามาสมัครเป็นครูฝึกทหาร ทรงรับไว้และเกณฑ์ไพร่หลวงเข้ารับการฝึกหัดทหารแบบฝรั่ง ตั้งเป็นกรมทหารราบขึ้น เรียกว่า “ทหารหน้า”  สำหรับนำขบวนเสด็จ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 18:19

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ครูฝึกทหารรุ่นรัชกาลที่ ๓ ออกจากงานไปด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นกลับบ้านบ้าง ย้ายงานบ้าง ร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกช์  ที่เป็นครูฝึกทหารหน้า ก็ไปเป็นทูตอังกฤษประจำสยาม   ครูฝึกทหารยุโรปคนใหม่เป็นชาวฝรั่งเศส ชื่อลามาช ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงอุปเทศทวยหาญ

ในสมัยรัชกาลที่ ๕  กรมทหารอย่างยุโรปเจริญขึ้นตามลำดับ เรียกว่า “กรมทหารหน้า” รับไพร่หลวงจากกระทรวงต่างๆ เข้ามาเป็นทหาร มีกำหนด ๕ ปีพ้นประจำการ  ไม่ต้องกะเกณฑ์ เพราะมีผู้สมัครเข้ามาเองเป็นจำนวนมาก
ถึงตอนนี้  ก็มีการสร้างกองบัญชาการเป็นตึกใหญ่ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๒๔เรียกกว่า “ศาลายุทธนาธิการ”   คือตึกกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน ครูฝึกกรมทหารหน้าในรัชกาลนี้ เป็นอดีตนายทหารอิตาเลียน ชื่อ ร.อ.ฟารันโด และ ร.อ.เยรินี เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย

สงครามที่มี “กองทหารอย่างยุโรป” เข้าร่วมนั้น  ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๙๕  สมัยต้นรัชกาลที่ ๔  ฝึกได้ไม่เท่าไหร่ก็ต้องไปตีเมืองเชียงตุง โดยมี ร.อ.น็อกช์ ครูฝึก ไปควบคุมด้วยตนเอง

ครั้งสำคัญคือใน พ.ศ. ๒๔๑๗  สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อจีนฮ่อเข้ายึดทุ่งเชียงคำ กองทัพหลวงพระบางส่งกำลังไปขับไล่ก็แตกพ่ายมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงโปรดให้ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่ทัพ จัดกำลังรบแบบยุโรป   มีกองทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารพลาธิการ ทหารเกียกกาย รวมทั้งกองโรงเรียนนายร้อยที่มีอาจารย์ชาวอิตาเลียนคุมไป รวมกำลังพล ๑,๑๓๖ คน  นายทหารทุกคนจ่ายปืนสั้นปร ะจำตัว นักเรียนนายร้อย นายสิบ และพลทหาร จ่ายปืนยาวชไนเดอร์กระสุนคนละ ๖๐ นัด พร้อมปืนใหญ่ ปืนครก ปืนมอร์ต้า เฮาวิตเซอร์และอาร์มสตรอง

เริ่มต้นจากทหารซีป่าย  มาเป็นการฝึกทหารอย่างฝรั่ง  ส่งนักเรียนนายทหารไปเรียนในยุโรปในรัชกาลที่ ๕ และ ๖    กลับมาพัฒนากองทัพไทยในแบบตะวันตก มาจนถึงปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 19:36

มาปั่นกระทู้ค่ะ

เรือของบริษัทอิรวดี  สงสัยว่าสยามมีเรือแบบนี้บ้างไหม ในยุคเดียวกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 20:57

^
ฝากคำถามนี้ให้คุณสยามหนุ่มกับคุณเพ็ญช่วยค้นคว้าด้วยครับ แม่น้ำเจ้าพระยาของเรามีเรือเมล์วิ่ง หน้าตาไม่เหมือนกัน และไม่ทราบว่าเริ่มในสมัยไหน

ผมขอนำท่านผู้อ่านไปสู่สมรภูมิรบ แต่ก่อนไป ขอแสดงแผนที่เมืองต่างๆที่ผมจะต้องเอ่ยถึงเสียก่อน

อนึ่ง ชื่อเมืองที่ผมเขียนลงในแผนที่นี้ ขอรับรองเสียงแข็งว่าไม่ได้มั่วมา แต่ลอกเอามาจากเวปที่พอจะเชื่อถือได้ซึ่งผมเอาลิงค์มาโยงให้ด้วย ท่านที่ขี้สงสัยก็เข้าไปอ่านดู ส่วนท่านที่เห็นว่าไม่สลักสำคัญก็ผ่านๆไป เพราะจะไม่มีการออกข้อสอบ หรือให้ทายปัญหาเพื่อส่งไปชิงอิโคโนมี่คาร์อะไรทั้งนั้น

http://www.moc.go.th/opscenter/tk/kcd_pre%202553.pdf

เอาเป็นว่า จุดที่เป็นเขตแบ่งแดนระหว่างพม่าเหนือของสีป่อ กับพม่าใต้ของอังกฤษนั้น อยู่ที่เมืองมินลาก็แล้วกัน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:03

อ้อ เกือบลืม

เวปที่ว่ามีเมืองYamethin ด้วย อ่านว่า"ยาเมเตน"แฮะ ไม่ยักกะอ่านว่า อย่ามีตีน หรือ หย่ามีติ๋น
แปลว่าเจ้าจอมท่านนั้นเกิดที่เมืองนี้ อยู่ทางเหนือด้วย สาวๆคงสวยมาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:07

เรือกลไฟชื่ออิระวดีเป็นเรือนำร่อง นำเรือแฝดสยองยี่สิบสามคู่ และเรือปืนคุ้มกัน กะจะข้ามพรมแดนที่เมืองมินลาประมาณเที่ยงวันที่๑๔เดือนพฤศจิกายน

เรือในรูปใหญ่มาก สยามสมัยต้นรัชกาลที่๕คงจะไม่มีนะครับ ผมว่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:10

ก่อนหน้านี้พอประมาณ กุนซือของพระเจ้าสีป่อได้แนะนำให้พระองค์ว่าจ้างฝรั่งกระล่อนทองสัญชาติอิตาเลี่ยนสองนายชื่อคอมมอตโต้กับโมลินารี(Commotto and Molinari) ให้นายคอมมอตโต้นำเรือกลไฟพระราชพาหนะลำหนึ่ง ลากเรือท้องแบนสองลำที่เอาเสาเหล็กขนาดใหญ่เสี้ยมปลายแหลมมาเชื่อมเรียงกันไว้เป็นตับ กะจะเอาจมขวางร่องน้ำระหว่างเมืองมินลาและเมืองตาแยเมียว(Thayetmyo) เป็นขวากไม่ให้กองเรืออังกฤษผ่านไปได้

จังหวะเดียวกันนี้ที่นายคอมมอตโต้ลากเรือขวากมา แต่ความอุ้ยอ้ายผสมเงอะงะไม่รู้ว่ามะงุมมะงาหราอะไรอยู่ กองเรืออังกฤษโผล่มาเห็นเข้าจนได้ และใช้เรือปืนเล็กๆแต่วิ่งเร็วคล่องแคล่วลำเดียวชื่อแคทลีนวิ่งเข้าโจมตี ยังไม่ทันจะได้ออกอาวุธ ทั้งฝรั่งมังค่าและพม่ามังฆ้องบนเรือหลวงก็โดดน้ำ แล้วแข่งกันว่ายท่าฟรีสไตล์เข้าหาฝั่ง สุดท้ายอังกฤษก็ไปตามลากคอมาเป็นเชลยสงครามได้

ภาพถ่ายเหตุการณ์จริง ขณะที่เรือรบอังกฤษเข้ายึดเรือหลวงของพระเจ้าสีป่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:13

ส่วนนายโมลินารี่นั้น รับจ๊อบเป็นงานเสริมสร้างป้อมปืนริมฝั่งที่ใต้เมืองมัณฑเลย์ลงมา มีหลักฐานเป็นเอกสารที่นายคนแรกทิ้งไว้บนเรือหลวงที่ยึดไว้ได้ และเมื่อปรากฏเรือโดยสารของบริษัทFlotilla ที่ล่องมาจากมัณฑเลย์เที่ยวสุดท้ายก่อนศึกครั้งนี้จะระเบิดขึ้น กัปตันเรือก็ได้รายงานต่อแม่ทัพอังกฤษว่าเห็นป้อมที่กำลังสร้างดังที่ปรากฏบนแผนผังที่ยึดมาได้ด้วย

ในภาพเป็นเรือกลไฟของพระเจ้าสีป่อที่ให้นายคอมมอตโต้ลากทุ่นปักขวากมา แล้วถูกอังกฤษยึดไว้อย่างง่ายดาย โปรดสังเกตุว่าบนดาษฟ้ามีเสริมผนังกันกระสุนไว้ด้วย แต่ยังไม่ทันได้ลองของ คนบนเรือก็ถอดใจเสียก่อน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:19

หลังจากนั้น กองเรือล่าเมืองขึ้นของอังกฤษก็เดินหน้าต่อไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:28

บรรยากาศในการเดินทาง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:38

ขอแยกซอยเล็กๆอีกครั้ง

อ้อ เกือบลืม

เวปที่ว่ามีเมืองYamethin ด้วย อ่านว่า"ยาเมเตน"แฮะ ไม่ยักกะอ่านว่า อย่ามีตีน หรือ หย่ามีติ๋น
แปลว่าเจ้าจอมท่านนั้นเกิดที่เมืองนี้ อยู่ทางเหนือด้วย สาวๆคงสวยมาก

ไปเจอรูปเจ้าหญิงแห่ง Yamethin เข้าค่ะ    สวยเอาการ
บรรยายภาพว่าเป็นพระธิดาพระเจ้ามินดง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 10:04

วันนี้ผมไปค้นหนังสือ “พม่าเสียเมือง” ของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ออกมาจากหิ้ง และนำมาอ่านในช่วงนี้อีกครั้งหนึ่งอย่างเพลิดเพลิน ใจความที่ท่านนำมาเขียนแม้จะไม่เหมือนที่ผมเอามาจากฝรั่งก็คล้ายกันมาก แต่สำนวนของท่านนั้นเป็นสำนวนบรมครู ใครที่ยังไม่ได้อ่านขอให้ไปอ่านซะ แล้วค่อยกลับมาดูภาพในกระทู้ของผม จะได้รสชาติยิ่งขึ้นดุจกุ้งเผาได้น้ำจิ้มแซ่บๆ

ชื่อเมืองที่เรียกก็ต่างกันไปคนละทาง ต้องโทษแหล่งที่มาของใครของมัน เมืองตาแยเมียว(Thayetmyo)ของผม ในพม่าเสียเมืองเรียกว่าเมืองเสียดเหมี่ยว ท่านเล่าว่าพอเรือรบอังกฤษยึดเรือหลวงของพม่าได้ก็ใช้เรือกลไฟอิระวดีลำใหญ่ลากจูงทั้งลำแม่ลำลูกเข้ามาที่เมืองเสียดเหมี่ยวที่อยู่ฝั่งพม่าใต้ ทหารอังกฤษที่นั่นเห็นเรือวิ่งเข้ามาเป็นพวง มีธงพม่าปักอยู่ด้วยก็นึกว่าถูกบุกจู่โจมเสียแล้ว ต่างรีบบรรจุกระสุนปืนใหญ่เตรียมยิง ทหารอังกฤษบนเรือเห็นเข้าจึงนึกขึ้นมาได้ รีบไปเอาธงพม่าลงเสีย เลยรอดพ้นไปจากการยิงกันเองไป

เมื่อข้ามเขตแดนเมืองหน้าด่านเมืองแรกของพม่าก็คือมินลา ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์เรียกมินหลา ผมมินลามาแล้วก็ขอมินลาต่อไปด้วยความมึน เมืองนี้พม่าสร้างป้อมปืนอย่างแข็งแรงไว้ป้องกันเรือรบศัตรู และยังมีฐานปืนใหญ่สองข้างฝั่งแม่น้ำไว้กะยิงให้ถนัดๆ อย่างที่ผมเคยเอ่ยไว้ตอนต้น ปืนใหญ่ของฝรั่งมันยิงได้ไกลกว่า แม่นกว่า พอส่องกล้องเห็นแนวรับพม่าก็ไม่รอให้ถูกยิงก่อน พอเรือปืนอังกฤษซัดเข้าไปไม่กี่ตับ ฐานปืนใหญ่ริมฝั่งของพม่าก็ย่อยยับไปดังภาพที่ถ่ายมาหลังการรบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 10:07

ส่วนป้อมใหญ่ที่อยู่ลึกเข้าไปนั้น อังกฤษก็ส่งทหารราบขึ้นบก ให้ลุยขึ้นไปตี โดยใช้เรือปืนยิงนำเข้าไปก่อน บางลูกก็โดนป้อมบางลูกก็หลงเข้าไปในเมือง โดนบ้านเรือนราษฎรเพลิงไหม้ปั่นป่วนไปทั่ว ทหารพม่าในป้อมเห็นว่าขืนอยู่ไปก็ทำอะไรฝรั่งไม่ได้ ขอเผ่นหนีไปตั้งหลักในป่าดีกว่า พอทหารราบบุกไปถึงก็เข้ายึดป้อมได้ง่ายๆ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 34
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง