เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 34
  พิมพ์  
อ่าน: 218208 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 19:16

กลุ่มพระราชธิดา (มิต้ามี)

จากซ้ายไปขวา

Pakhan gyi   ปะคามจีย์ - คำว่า Gyi แปลว่าพี่สาวคนโต
Chun daung  ชุนตาว
Tene-ta       ไตยยา
Pin              ปี่น
Kyauk-yit     จ่าวยิด
Naung-mon  หน่าวหม่น
Salin           ซาลิน
Ya-me-thin   หย่ามีตี๊น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 19:20

กลุ่มเจ้าชาย - มินดา

Prince Limbin       ลิมบินมินดา กับ Ye-nant-tha Khin Khin Gyi ยันนันตะคีคีมาจีย์
Prince Myin-goon   หมยิงกูนมินดา
Prince Nyaung Yan เหง่ายิ้นมินดา
Prince Nyaung Ok   หย่างอ๊อกมินดา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 19:55

๗๘ .......เจ้า ๒ องค์นี้ชื่อ นะยองยานองค์ ๑ นะยองโอ๊กองค์ ๑ ร่วมมารดากัน เจ้านะยองยานนับเปนลูกชั้นใหญ่ใน ๓ องค์ แลเปนผู้กำกับหมอรักษาพระเจ้ามินดงอยู่ รู้ว่าจะเกิดจลาจลมารดาบอกให้หนี จึงพาเจ้าน้องหนีไปอาไศรยเรสิเดนต์อังกฤษ

ข้อมูลจาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗ คำให้การนายจาด เรื่องเหตุการณ์ในเมืองพม่าเมื่อพระเจ้ามินดงทิวงคต

ภาพจาก flickr.com

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 20:01

^
โอ้โหว ทึ่งสุดๆ ไปเอามาจากไหนละเนี่ยพ่อหนุ่มสยาม


เอ้าท่านผู้อ่านทราบไว้นะครับ Ya-me-thin อย่ามีตีน ให้ออกสำเนียงพม่าว่า หย่ามีติ๊น

สงสัยอย่างนึง แหล่กช้า Lac-cha ของผม ไปอ่านว่าแลเหมียได้ยังไหง๋ เป็นงง
ที Nyaung Yan อ่านว่า เหง่ายิ้น แต่ Nyaung Ok กลับอ่านว่า หย่างอ๊อก งงเหมือนกัน

แต่ความจริงก็งงหมดทุกชื่อเลย พม่าเขาให้หลักอะไรในการใช่ภาษาอังกฤษเขียนให้ออกเสียงพม่าก็ไม่ทราบได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 20:03

^
นะยองยาน กับ นะยองโอ๊ก ที่คุณเพ็ญเอามาบอก ค่อยฟังเข้าท่าหน่อย
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 20:39

แล้วองค์ไหนคือ "พระองค์ปิ่น" กับ "พระองค์เจ้าหญิงดารา" ล่ะครับ  ลังเล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 07:21

^
โอ้โหว ทึ่งสุดๆ ไปเอามาจากไหนละเนี่ยพ่อหนุ่มสยาม

ให้คนพม่าอ่านให้ฟังครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 07:27

^


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 07:51

แล้วองค์ไหนคือ "พระองค์ปิ่น" กับ "พระองค์เจ้าหญิงดารา" ล่ะครับ  ลังเล

ภาพจาก หนังสือเที่ยวเมืองพม่า - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 08:45

เรื่องคำให้การของนายจาด คนไทยที่ไปอยู่ในเมืองพม่าที่คุณเพ็ญโยงไว้ให้มีข้อความบางตอนน่าสนใจ แต่อ่านในต้นฉบับจะสับสนบ้าง ผมจึงลำดับใหม่และขอนำมาประกอบให้ท่านที่สนใจได้ทราบเรื่องที่มีการบันทึกไว้อีกมุมหนึ่ง

ครั้นณวัน ๑๐ ค่ำ พระโรคกำเริบพระอาการหนักไปเสวยไม่ได้ประธมไม่หลับ พระอาการให้อ่อนระทวยไป จะลุกนั่งต้องพยุงพระกาย ในวันนั้นมีรับสั่งให้หาท่านกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหม ฝรั่งเรียกว่า"เกงหวุ่นเม็งยี" ให้เข้าไปเฝ้าข้างในบนพระมหาปราสาท ที่ทรงพระประชวรนั้น พระเจ้าอังวะทรงปฤกษาข้อราชการแผ่นดินด้วยกิววะเมนยี มีรับสั่งว่าเราป่วยครั้งนี้ก็เปนทุกข์หนักใจอยู่ เห็นว่าอายุจะสั้นจะไม่คืนคงอยู่รักษาแผ่นดินได้เปนแน่แล้ว เราคิดว่าจะตั้งเจ้าสิมโปราชโอรสผู้ใหญ่ของเรา ให้เปนที่อุปราชเสียก่อนทันตาต่อหน้าเราเห็นด้วย แล้วจะได้รักษาแผ่นดินสืบวงษ์ต่อไป ท่านจะเห็นเปนอย่างไรให้ว่ามาตามที่เห็นของท่าน ฝ่ายกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหม จึงกราบทูลว่าควรแล้ว พระเจ้าอังวะมีรับสั่งแก่กิววะเมนยีว่า ท่านเห็นชอบแล้วจงไปปฤกษาเสนาบดีแลข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เสียก่อน ให้เขาทั้งหลายเห็นชอบด้วยพร้อมกันมาก ๆ จึงจะสิ้นคำครหานินทา แลจะได้สิ้นเสี้ยนศัตรูด้วย..

…เข้าใจกันว่า พระเจ้ามินดงตั้งพระไทยรอไว้จนจะถึงทิวงคตเมื่อใด จึงจะมอบเวนราชสมบัติแก่ลูกเธอองค์ใดองค์หนึ่ง ครั้นประชวรลงคราวนี้ผู้อื่นสังเกตเห็นก่อนว่าจะทิวงคต นางอะเลนันดอมเหษีมีแต่ราชธิดา เกรงราชสมบัติจะได้แก่ลูกเธอองค์อื่นคิดจะให้ราชสมบัติได้แก่เจ้าสิมโป ด้วยเจ้าสิมโปรักใคร่อยู่กับเจ้าสุพยาลัดธิดาของนางอะเลนันดอ จึงคบคิดกับเกงหวุ่นเมงยี อรรคมหาเสนาบดี อ้างกระแสรับสั่งของพระเจ้ามินดง สั่งไปให้เสนาบดีปฤกษาว่าลูกเธอองค์ใดควรจะเปนพระมหาอุปราชได้ เกงหวุ่นเมงยีเปนผู้ชักชวนให้ยกย่องเจ้าสิมโป เสนาบดีอื่นมีความกลัวก็ยินยอม นางอะเลนันดอนำความกราบทูลพระเจ้ามินดง ว่าเสนาบดีปฤกษาพร้อมกันว่าเห็นควรจะทรงตั้งเจ้าสิมโปเปนพระมหาอุปราช พระเจ้ามินดงประชวรอยู่มิรู้จะทำประการใดก็ต้องยอม อนึ่ง นามที่เรียกว่า เจ้าสิมโปนี้ ฝรั่งเรียกว่า ทีบอ ไทยเหนือเรียกว่า สี่ป่อ เปนนามเมืองไทยใหญ่เมือง ๑ ด้วยนางผู้เปนชนนีของเจ้าองค์นั้นเปนธิดาเจ้าฟ้าเมืองสิมโป

กิววะเมนยีกราบถวายบังคมลาออกมาประชุมเสนาบดี แลขุนนางผู้ใหญ่ ๆ ก็ลงเปนคำเดียวกันแล้วเข้าชื่อทำคำปฤกษาเห็นพร้อมยอมด้วยขึ้นถวายพระเจ้าอังวะ ๆ มีรับสั่งให้หาเจ้าสิมโปพระราชโอรสผู้ใหญ่ ให้เข้าไปเฝ้าที่ทรงพระประชวรนั้น พระเจ้าอังวะตรัสว่าพ่อเจ็บครั้งนี้เห็นจะไม่รอดเปนแน่ พ่อจะตั้งเจ้าให้เปนมหาอุปราชก่อน แล้วจะได้ครอบครองราชสมบัติดูแลแผ่นดินแทนพ่อ เจ้าจงมีน้ำใจโอบอ้อมอารีกับพี่น้องญาติทั้งปวง แลตั้งใจรักษาทางยุติธรรมราชประเพณีโดยขัติยราชานุวัตร ……


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 08:52

……….กิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหมกราบทูลพระมหาอุปราชว่า บัดนี้พระราชบิดาทรงพระประชวรหนัก ฝ่ายพระเจ้าน้องยาเธอของพระองค์ที่เปนชายนั้นมีถึง ๓๐ พระองค์ มีกำลังผู้คนมากทั้ง ๓๐ พระองค์ ต่างองค์ก็ต่างจะปราถนาเอาราชสมบัติ ถ้าเกิดลุกลามขึ้นจะระงับดับยากเหมือนหนึ่งดูหมิ่นพระยาพยัคฆราช ฤๅไม่เช่นนั้นเหมือนต้นไม้ ถ้าทิ้งไว้ให้ใหญ่รากก็จะหยั่งลงฦก ครั้นจะถอนก็ถอนยาก ถ้าจะขุดถอนก็ให้ขุดถอนเสียแต่ยังอ่อนแลเล็ก อย่าเอาไว้ให้ใหญ่จะถอนยาก พระมหาอุปราชได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อทุกประการ จึงรับสั่งว่า ท่านจงคิดจับเอาตัวเจ้าน้องชายที่มีกำลังมาคุมตัวไว้ก่อนอย่าให้เกิดจลาจลได้ กิววะเมนยีจึงสั่งขุนนางให้ออกไปเชิญเสด็จเจ้าชายทั้ง ๓๐ พระองค์ ว่าพระมหาอุปราชมีรับสั่งให้หาเข้ามารับมรฎกที่พระราชบิดาแจก แลจะทรงตั้งให้เจ้าทั้ง ๓๐ พระองค์เปนเจ้าครองเมืองเอกโทตรีตามสมควร จะได้มีกำลังช่วยกันรักษาแผ่นดิน ด้วยเรามีอายุน้อยไม่อาจจะรักษาแผ่นดินได้แต่ผู้เดียวเหมือนพระราชบิดานั้นได้ ให้เจ้าพี่เจ้าน้องเจ้าลุงเจ้าอาว์เข้ามาช่วยกัน คิดราชการให้ตกลงเสียแต่พระชนม์พระราชบิดายังมีอยู่ จะได้เปนที่เย็นพระไทยพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระประชวรอยู่นั้น เหมือนท่านทั้งหลายเจ้านายพวกนั้นๆมาปรองดองสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าอังวะ ให้ท่านหลับพระเนตรสวรรคตเทอญ

เมื่อเจ้านายฝ่ายพระบรมวงษานุวงษ์แลเจ้าน้อง๓๐ พระองค์ ได้ฟังหนังสือรับสั่งของพระมหาอุปราชนั้นแล้ว ก็พระไทยอ่อนสำคัญสัญญาว่าจริงก็พากันเข้ามาเฝ้าทุกพระองค์ ครั้นเจ้านายทั้งหลายที่กระด้างกระเดื่องนั้น เข้ามาในพระราชวังถึงประตูสองชั้น ฝ่ายทหารพระมหาอุปราชที่ซุ่มไว้นั้น ก็กรูกันกลุ้มรุมจับเจ้านายทั้งหลาย แลเจ้าน้อง ๓๐ พระองค์ไปลงเหล็กใส่คุกขังไว้๘ ขณะที่ตรวจหาเจ้านายที่จับได้นั้น ยังขาดอยู่ ๒ พระองค์ คือเจ้าสองพี่น้องที่หนีไปอยู่บ้านท่านกงสุลอังกฤษเสียก่อน
 
เรื่องจับลูกเธอของพระเจ้ามินดงนี้ พอพระเจ้ามินดงประชวรนางอะเลนันดอเห็นว่าจะไม่หายได้ ก็คบคิดกับเกงเวุ่นเมงยี อ้างกระแสรับสั่งของพระเจ้ามินดงให้ทูลเจ้านายลูกเธอว่า พระเจ้ามินดงมีรับสั่งให้เข้าไปเฝ้า ฯ ด้วยมีพระราชประสงค์จะทรงสั่งเสียแลพระราชทานมรฎก นางผู้เปนมารดาเจ้านะยองยาน เจ้านะยองโอ๊กกริ่งเกรงใจว่าจะมีเหตุอันตราย ให้ไปห้ามลูกเสีย เจ้า๒องค์นั้นจึงไม่เข้ามา เจ้าองค์อื่นไม่รู้ความ พากันเข้าไปในวัง พอเข้าไปถึงชั้นใน เกงหวุ่นเมงยีก็ให้จับคุมไว้ทั้งหมด พอรู้ข่าวถึง มารดาของเจ้าที่ถูกจับเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้าฯจนถึงพระองค์พระเจ้ามินดง ร้องไห้กราบทูลว่า เดี๋ยวนี้เขาจับลูกไว้ พระเจ้ามินดงขัดเคือง ให้คนเชิญรับสั่งไปบอกให้ปล่อยลูกเธอเสียในทันที แลให้ลูกเธอเหล่านั้นขึ้นไปเฝ้าฯให้ถึงพระองค์ ผู้ที่ควบคุมเกรงพระราชอาญา ก็ปล่อยลูกเธอตามรับสั่ง ได้ขึ้นไปเฝ้าฯ พระเจ้ามินดงจึงให้เขียนหนังสือรับสั่ง ตั้งลูกเธอที่เปนชั้นผู้ใหญ่ ให้ไปครองเมืองอย่างเปนเจ้าประเทศราช ๓ พระองค์ แลสั่งว่าลูกเธอที่เปนชั้นเล็กลงมา ใครจะสมัคอยู่ในปกครองของพี่องค์ไหนใน ๓ องค์นั้นก็ให้ไปอยู่ด้วยตามใจสมัค แล้วทรงกำชับสั่งลูกเธอที่ได้เปนเจ้าประเทศราชว่าให้รีบออกไปครองเมืองตามรับสั่ง แลอย่าให้กลับเข้ามาเมืองหลวงเลยเปนอันขาด เว้นไว้แต่ได้เห็นลายพระราชหัดถ์เรียกโดยเฉภาะจึงให้เข้ามา นางอะเลนันดอ รู้เรื่องที่พระเจ้ามินดงตั้งลูกเธอเปนเจ้าประเทศราช ก็ให้รีบไปบอกเกงหวุ่นเมงยี พอเจ้านายทูลลากลับลงมาเกงหวุ่นเมงยีก็ให้จับเจ้านายไว้เสียอิก แลให้เก็บหนังสือรับสั่งไว้เสีย คราวนี้นางอะเลนันดอ ระวังกวดขันมิให้ใครเข้าไปทูลพระเจ้ามินดงได้ พระเจ้ามินดงเลยไม่ทรงทราบเรื่องลูกเธอถูกจับคราวหลัง จนทิวงคต

ครั้นณวัน ๑๑ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๔๐ เวลาบ่าย ๓ โมง พระเจ้าอังวะสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๗ พรรษาอยู่ในราชสมบัติ ๒๖ ปี พระมหาอุปราชมีรับสั่งให้เจ้าพนักงานต่อหีบไม้หอมอันพิเศษ แล้วแผ่ทองคำจำหลักเปนลายเครือวัลย์ประดับเนาวรัตนทองคำหุ้มพระหีบแล้ว เชิญพระหีบมารับพระบรมศพพระเจ้าอังวะขึ้นตั้งไว้ ในพระมหาปราสาทที่สวรรคตนั้น พระมหาอุปราช มีรับสั่งให้เจ้าพนักงานโยธาก่อพระมหาปราสาทใหม่ ให้แล้วเสร็จแต่ใน ๗ วัน จะบรรจุพระบรมศพพระเจ้าอังวะ เจ้าพนักงานทุกหมู่ทุกกรมก็ระดมกันทำพระมหาปราสาททั้งกลางวันกลางคืน ๕ วันแล้ว ณ วัน ๑๑ ค่ำ เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพพระเจ้าอังวะออกจากพระราชวังขึ้นตั้งบนบุษบกทองคำ แห่ไปบรรจุไว้ในพระมหาปราสาทที่ก่อใหม่ …..


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 08:55

ณ วัน๑๑ค่ำ ตั้งการพระราชพิธีราชาภิเศกตามขัติยราชประเพณีของพระมหากระษัตริย์ แล้วเสด็จขึ้นนั่งบนพระแท่นบุษบกตั้งอยู่บนหลังหงษ์ทอง ออกขุนนาง ๆ เข้าเฝ้าทุกตำแหน่งพร้อมด้วยกงสุลต่างประเทศ มีกงสุลจีน แลกงสุลยี่ปุ่น กงสุลญวณ แลกงสุลชาวยุโรป แลเจ้าประเทศราชใหญ่ ๆ ที่ขึ้นแก่กรุงอังวะพระมหาอุปราชเปนพระเจ้าแผ่นดินใหม่ณกรุงมันทลีรัตนภูมิ ทรงตั้งข้าหลวงเดิมที่มีความชอบ เปนขุนนางในตำแหน่งตามคุณานุรูปโดยสมควร ทรงตั้งพระราชมารดาซึ่งเปนพระมหาราชเทวีของพระราชบิดานั้นเปนพระเจ้าล้นฟ้า ราชเทวีองค์นี้ มิใช่พระชนนีของพระเจ้าสิมโป เปนเจ้าฟ้า ราชธิดาของพระเจ้าจักกายแมง รัชกาลที่ ๗ เดิมเปนมเหษีรอง ของพระเจ้ามินดง พม่าเรียกนางผู้นี้ว่า อะเลนันดอ มเหษีใหญ่ ไม่มีราชโอรสธิดา นางนี้มีแต่ธิดา เมื่อมเหษีใหญ่พิลาไลยแล้ว นางนี้ก็เปนใหญ่อยู่ในพระราชวัง เจ้าสุพยาลัดธิดาของนางนี้รักใคร่อยู่กับเจ้าสิมโป จึงเปนเหตุให้นางนี้คิดอ่านชิงราชสมบัติให้แก่เจ้าสิมโป
 
พระเจ้าแผ่นดินใหม่ไม่ได้ทรงตั้งพระมหาอุปราช ทรงว่าราชการแผ่นดินพระองค์เดียว ครั้งนั้นกิววะเมนยีที่เจ้าพระยากลาโหมกราบทูลว่า เจ้าสองพี่น้องหนีไปอยู่ที่บ้านกงสุลอังกฤษ พระเจ้าอังวะใหม่ทรงพระพิโรธนัก……..
 
…………ครั้นณวัน ๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก เวลา ๕ โมงเช้า เกิดเพลิงไหม้ที่ยอดพระมหาปราสาททองคำ เจ้าพนักงานเอาบันไดพาดขึ้นไปดับได้ พระเจ้าอังวะปูนบำเหน็จรางวัลแก่ผู้ที่ดับไฟไหม้ได้เปนอันมาก แต่ทรงพระวิตกนักมีรับสั่งให้หาโหราจารย์เข้ามาในที่เฝ้า ตรัสถามว่าเพลิงไหม้ยอดพระมหาปราสาทดังนี้จะมีเหตุประการใด โหรกราบทูลว่าจะมีเหตุใหญ่พระเคราะห์ร้ายนัก แลจะมีราชศัตรูภายนอกภายใน คิดร้ายต่อพระองค์เปนแม่นมั่น พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้ เจ้าพนักงานทำพระราชพิธีเสดาะพระเคราะห์ ๓ วัน แล้วทรงทำการพระราชกุศลบำเพ็ญทานแก่พระสงฆ์เปนอันมาก

ครั้นณวัน ๒ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศกนั้น ขุนนางข้าหลวงเดิมกราบทูลฟ้องกล่าวโทษเยนาเมนยีขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร ซึ่งเปนตาของเจ้าสุรเมงโย พระราชบุตรของพระเจ้าอังวะพระองค์ก่อน ที่เปนพระไอยกาของพระเจ้าอังวะใหม่นี้ แต่เจ้าสุรเมงโยนั้นมีความผิด ติดคุกขังแต่ในแผ่นดินพระราชบิดาพระเจ้าอังวะใหม่นี้ เยนาเมนยีขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเปนตาของเจ้าสุระเมงโยในคุกนั้นคิดขบถนัดหมายกับเจ้านายหลายองค์ จะทำร้ายแก่พระเจ้า อังวะใหม่ ๆ ทรงทราบแล้ว เสนาบดีผู้ใหญ่เกณฑ์ทหารไปจับตัวเยนาเมนยีมาชำระเปนสัตย์ ซัดถึงมารดาบุตรญาติของเจ้าทั้งสองที่ไปอยู่เมืองกลักตานั้นด้วย แลซัดถึงขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อย ๙๕ คน แลซัดถึงพระเจ้าน้องยาเธอ ๓๐ องค์ ชำระเปนสัตย์ทั้งสิ้น พระเจ้าอังวะมีรับสั่งให้ทหารจับเยนาเมนยีต้นเหตุคน ๑ กับขุนนาง ๙๕ คน เจ้า ๓๐ องค์ ไปฆ่าเสียในเวลากลางคืน มารดาแลบุตรภรรยาญาติของเจ้าทั้งสองที่ไปอยู่เมืองกลักตานั้น ก็รับสั่งให้เอาไปฆ่าเสียด้วยพร้อมกันกับพวกขบถในเวลากลางคืน รวมขุนนางเจ้านายที่ฆ่านั้น ๑๒๕ คน การที่ฆ่าเจ้านายลูกเธอของพระเจ้ามินดงนี้ แต่เดิมพระเจ้าสิมโปไม่ได้ตั้งพระไทยจะฆ่า ถึงสั่งให้สร้างเรือนจำหลังใหญ่ขึ้นในพระราชวัง สำหรับจะขังเจ้านายเหล่านั้นไว้ ด้วยเปนประเพณีเคยมีมาในเมืองพม่า…..

…..พระเจ้าสิมโปก็จะคุมขังเจ้านาย พี่น้องไว้อย่างนั้น แต่หากมีเหตุเกิดขึ้น สงไสยกันว่าเปนความ คิดของนางอะเลนันดอแลนางสุพยาลัด คือเมื่อพระเจ้าสิมโปออกเลียบพระนคร ตามราชประเพณีพม่าให้เอาพานทองไปตั้งไว้ทั้ง ๔ มุมเมือง ราษฎรใครจะถวายฎีกาในวันเลียบพระนคร ก็เอาฎีกาไปส่งให้วางไว้ถวายในพานทอง ฎีกาที่ถวายเมื่อวันพระเจ้าสิมโปเลียบพระนคร มีฟ้องหาเรื่องคิดขบถที่กล่าวนี้ จึงเกิดชำระกันขึ้น แล้วเลยฆ่าฟันกัน แต่เจ้านายผู้หญิงที่ไม่ถูกฆ่าฟันมีหลายองค์ ยังต้องคุมขังอยู่ในวัง จนเมื่ออังกฤษได้เมืองพม่าก็มี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 01 ม.ค. 13, 00:00

ไม่ว่าใครจะเป็นคนสั่งประหารเจ้านายและบริวารรวมแล้ว๑๒๕ชีวิตก็ตาม เรื่องนี้เมื่อไปถึงหูฝรั่งแล้วคงจะเงียบไม่ได้ กระแสข่าวเรื่องความโหดเหี้ยมของพระราชาองค์ใหม่จึงถูกกระพือไปทั่ว ในพม่าเองนั้น คนที่เบื่อเรื่องชิงราชบัลลังก์กันระหว่างลูกกับพ่อ น้องกับพี่ แล้วฆ่าแกงกักขังกันติดต่อกันมาหลายรัชกาลแล้วก็ใจเหือดแห้ง มีผู้เอาใจออกห่างไปอยู่ฝ่ายอังกฤษมากขึ้นทุกทีโดยเฉพาะในพม่าใต้ ส่วนคนพม่าทางเหนือ ที่ฝรั่งเรียกอย่างเป็นทางการว่าราชอาณาจักรอังวะ ก็ต้องทนอยู่กันต่อไป เมื่อใดได้ไปเห็นความเจริญที่อังกฤษนำเข้ามาในย่างกุ้ง ที่เรียกว่าแรงกูนแล้ว ก็อดเปรียบเทียบไม่ได้ เงินทองที่ในท้องพระคลังพอจะมี กษัตริย์ก็นำไปสร้างพระราชวังวิจิตรพิศดารหลบอยู่ในกำแพงอันสูงตระหง่านและคูเมืองที่มีขนาดใหญ่โตราวกับแม่น้ำ เพื่อปกป้องตนเอง ส่วนภายนอกนั้นเล่า บ้านเมืองถนนหนทางก็สกปรกเป็นสลัม แตกต่างกันลิบลับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 01 ม.ค. 13, 00:01

ผู้ที่เร่งสถานการณ์ให้เอื้อต่อการอ้างของอังกฤษที่จะลงมือผนวกพม่าก็คือฝรั่งเศส ซึ่งมีสถานกงสุลอยู่ที่มัณฑเลย์ หลังจากที่คณะสำรวจชุดแรกพับแผนการสร้างทางรถไฟเชื่อมแม่น้ำอิระวดีไปแม่โขงแล้ว ในปี๑๘๘๔ไม่ทราบคณะไหนอีกไปตื้อนายแอส กงสุลใหญ่ให้ไปทาบทามพม่า ขอสัมประทานทางรถไฟจากมัณฑเลย์ลงไปพม่าใต้ที่ภูมิประเทศไม่โหดร้ายเท่าไหร่ เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของอังกฤษที่กำลังสร้างขึ้นมา พม่าก็ยอมแต่ขอทำเป็นสัญญาลับ ก็มันจะลับได้อย่างไรไม่ทราบ แค่ฝรั่งเศสไปส่องกล้องคนก็ลือกันให้แซ่ดแล้ว อังกฤษรู้เข้าก็ขู่พม่าทันทีว่าถ้าไม่เลิกสัญญานี้ก็จะเป็นอันขาดสัมพันธไมตรีกัน เพราะถือว่าเป็นหักหน้ากันอย่างแรง แถมส่งคนจากลอนดอนข้ามช่องแคบไปต่อว่าฝรั่งเศสถึงที่ปารีสด้วย ส่งผลให้นายแอสถูกเรียกตัวกลับ แต่แก้เกี้ยวกับพม่าว่าไปรักษาอาการป่วยโรคเมืองร้อน

แต่พม่าก็ไม่พ้นที่จะต้องตกเป็นเหยื่อจิ้งจอกอังกฤษอยู่ดี เมื่อเกิดคดีพิพาทระหว่างบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่ากับคนงานป่าไม้สักชาวพม่าเรื่องถูกโกงค่าแรงจนทางราชการต้องออกรับแทน ศาลพม่าสั่งปรับแต่บริษัทไม่ยอม ขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาซึ่งหลังจากพิจาณาแล้วก็กลับคำพิพากษา ว่าพม่าเป็นฝ่ายผิด รัฐบาลอาณานิคมอังกฤษในอินเดียก็เข้ามาหนุนบริษัทที่เรียกร้องโน่นนี่นั่น พม่าก็ยอมไม่ได้เช่นกัน  พม่าเองถึงจะมีคณะทูตอยู่ในอินเดีย แต่ก็จนปัญญาที่จะเจรจาต่อรองอะไรกับอังกฤษได้

ภาพข้างใต้เป็นคณะทูตพม่าในวันแต่งตัวหล่อเพื่อเข้าพบอุปราชอังกฤษประจำอาณานิคมอินเดีย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 01 ม.ค. 13, 00:02

ในปี๑๘๘๔นั้นเอง พอพม่าถูกอังกฤษขู่ตะคอกหนักขึ้น ก็แอบส่งราชทูตคณะหนึ่งไปยังฝรั่งเศส ซึ่งตอนนั้นสถานการณ์การเมืองภายในของตนเองก็วุ่นวายอยู่ พม่าใช้เวลาเจรจาอยู่นานกว่าจะสามารถลงนามในข้อตกลงทำการค้า ส่วนเรื่องการเมืองที่พม่าต้องการจะไปเจรจาให้ฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับตนว่า จะเข้าช่วยทางการทหารเมื่อถูกรุกรานจากประเทศที่สามนั้น กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสก็ไม่ยอมนัดหมายไปเจรจาสักที ขอเข้าพบทีไรรัฐมนตรีก็สับขาหลอกทุกครั้ง รอมาจนปี๑๘๘๕ก็ได้ข่าวว่า อังกฤษประกาศสงครามและยึดประเทศของตนไปผนวกเป็นจังหวัดหนึ่งของอินเดียเรียบร้อยไปแล้ว ราชทูตก็สิ้นสถานะ ถูกโรงแรมสั่งเช็คบิลก็ไม่มีเงินจะจ่ายเขา ต้องบากหน้าไปหาพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส ร่ำไห้ขอความช่วยเหลือ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านก็ใจดีเหลือหลายกับอดีตศัตรูเก่า รับเป็นธุระไปช่วยเจรจากับกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสจนเขารับปาก และให้ความช่วยเหลือชำระหนี้ให้แทนรัฐบาลพม่าที่สลายไปแล้ว ทั้งยังเป็นสปอนเซ่อร์ในการส่งคณะทูตเดินทางกลับบ้านด้วย



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ม.ค. 13, 07:07 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 34
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง