เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 32 33 [34]
  พิมพ์  
อ่าน: 217981 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 495  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 09:44

รอลุ้นอยู่นาน เห็นกระทู้นิ่งไปแล้ว

อ้างถึง
บรรยายให้เหล่าท่านซายา (อาจารย์) ฟัง หากต้องการแสดงความเห็นในประเด็นใด ท่านซายาทั้งหลายช่วยเสริมด้วย  

เมื่อสู้ด้วยวิธีบู๊ไม่สำเร็จ ก็ต้องใช้วิธีบุ๊น

ในช่วงเดียวกับที่ขบวนการของอาจารย์ซานออกปฏิบัติการในชนบท ในรั้วมหาวิทยาลัยนักศึกษามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น มีการพูดไฮด์ปาร์ก มีการเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ มีการศึกษาลัทธิการเมือง  

ก่อนสอบไล่ พ.ศ. ๒๔๗๙ ผู้นำนักศึกษา ๒ คนคือ ทะขิ่นอูนุ นักศึกษานิติศาสตร์ ประธานองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง และ ทะขิ่นอองซาน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ขององค์การนักศึกษาชื่อ Oway (แปลว่าเสียงเพรียกของนกยูง) และประธานขบวนการนักศึกษาพม่า ถูกมหาวิทยาลัยลงโทษทางวินัยเนื่องจากกรณีพูดไฮปาร์กโจมตีอาจารย์บางคน และกรณีบทความต้องห้ามในหนังสือพิมพ์ Oway

กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Oway ใน พ.ศ. ๒๔๗๙ ทะขิ่นอองซาน อยู่แถวนั่ง คนที่ ๒ จากซ้าย

ซายาอาจารย์เพ็ญชมพู(ตัวจริง) จะไม่เล่าเรื่องของทะขิ่นอองซาน หรืออู อองซาน หรือบายหยก อองซาน หรือนายพลอองซาน วีรบุรุษหมายเลข๑ ของพม่าสักหน่อยหรือครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 496  เมื่อ 07 ก.พ. 13, 13:12

ประวัติทะขิ่นอองซาน หรือ อูอองซาน หรือ โบจ๊อกอองซาน (Bogyoke-ไม่ใช่บายหยกเน้อ  ยิ้มเท่ห์) หรือ นายพลอองซาน ยาวนะ

ถ้าท่านซายานวรัตน อยากจะฟัง ก็จะเล่า  โปรดติดตามด้วยใจระทึก

ที่กระทู้ นายพลอองซาน : วีรบุรุษผู้กู้ชาติพม่า



บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 497  เมื่อ 23 พ.ค. 13, 16:16

ต้องขออนุญาตขุดกระทู้ขึ้นมาเพราะเพิ่งได้มีโอกาสมาตามอ่าน

ขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาได้ให้ความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะคุณนวรัตน์ดอทซี คุณวี มี ท่านอ.เทาชมพู ท่านอ.เพ็ญชมพูคุณประกอบ ค่ะ

ท่านอ.เทาชมพูเป็นผู้ที่ตีโจทย์ของคุณประกอบแตก ก็พลอยทำให้ดิฉันได้เข้าใจความหมายที่ชัดเจนของคำว่า ชาตินิยม กับ Discrimination ด้วย

ซึ่งดิฉันเคยคิดมาตลอดว่าชาตินิยมแบบสุดโต่งนั้นมันไม่ค่อยดีนัก จนวันนี้ได้เข้าใจแล้วว่าจริงๆมันไม่ใช่ชาตินิยม แต่มันคือการ Discrimination อย่างหนึ่ง ซึ่งคำนี้หาคำำไทยมาแปลตรงตัวแทบไม่มี แต่ดิฉันเรียนเอกญี่ปุ่นมาจึงเข้าใจดีถึงคำนี้เพราะคำๆนี้มีตรงตัวชัดๆในภาษาญี่ปุ่น คือ ซะเบะซึ【差別】เพราะที่ญี่ปุ่นเองปัญหาเรื่อง Discrimination เคยเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่เหมือนกัน แม้ปัจจุบันจะเบาบางไปมากแล้ว แต่ก็ยังพอมีอยู่บ้าง ส่วนในไทยดิฉันไม่เคยฉุกคิดถึงคำว่า Discrimination มาก่อนเลย มักจะใช้คำว่าชาตินิยมอยู่เสมอๆ วันนี้ได้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วค่ะ

ยังติดตามอ่านไปเรื่อยนะคะ 
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 498  เมื่อ 23 พ.ค. 13, 17:43

กระทู้เก่าของคุณ NAVARAT.C มักจะถูกดึงกลับขึ้นมาเป็นระยะ จากสมาชิกใหม่ที่เข้ามาอ่านค่ะ

กระทู้นี้มีอะไรให้พูดถึงได้อีกนิดหน่อย เรื่องคำที่คุณ"นางมารน้อย" ติดใจ  คือ discrimination  ดิฉันยังหาศัพท์บัญญัติตรงๆของคำนี้ไม่ได้    คนไทยแปลได้หลากหลายแล้วแต่ว่าจะนำไปประกอบกับคำอะไร  เช่น racial discrimination ก็คือการเหยียดผิว 

ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations)ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเซเรส เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2522 แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท อันเนื่องมาจากการที่ทรงเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล และทรงพยายามที่จะยกระดับเศรษฐกิจกับสวัสดิการทางสังคม 
บนเหรียญมีคำจารึกไว้ว่า "To give without discrimination"  คือ "ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง"  แสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงเมตตาต่อปวงชน โดยไม่เลือกเพศ วัย  เผ่าพันธุ์ ศาสนา ฯลฯ  ทุกคนล้วนอยู่ในข่ายพระมหากรุณาธิคุณเท่าเทียมกัน  ดังคำประกาศสดุดีตอนหนึ่งว่า

“โดยที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งประเทศไทย มีพระราชหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม พระราชทานพระมหากรุณาอนุเคราะห์เกื้อกูลพสกนิกรชาวไทยทั้งมวลอยู่เสมอมิได้ขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขัดสนจนยากในท้องถิ่นชนบท ดังเห็นได้จากการที่ทรงทุ่มเทอุทิศทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกำลังพระวรกาย หรือกำลังทรัพย์ โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระองค์เองเลยแม้แต่น้อย พระราชทานความร่วมมือแก่องค์การสังคมสงเคราะห์กับองค์การกุศลต่างๆ อันมุ่งที่จะหาทางบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชนที่ยากจนทั้งหลาย โดยจัดหาอาหารเลี้ยงดูผู้อดอยากขาดแคลน ตลอดจนแสวงหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ที่มีอันต้องตกระกำลำบาก รวมทั้งบรรดาเด็กกำพร้าที่ไร้ญาติขาดมิตรทั้งหลายทั้งปวง”


บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 499  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 10:15

ขอช่วยลงภาพ ประกอบเนื้อหา

รูปภาพกองทัพพม่าสมัยปรับปรุงก่อนเสียเมืองยุคพระเจ้าสีป่อ คาดว่า พม่าน่าจะเริ่มปรับโฉมกองทัพเป็นอย่างนี้ เร็วที่สุดก็รัชสมัยพระเจ้าสราวดี ก่อนสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่ 2




สังเกตุว่า ชุดแต่งหน้าตาไม่ละม้าย ทหารพม่าที่ตะบันใส่เราในศึก 9 ทัพแล้ว แต่แบกปืนเป็นอาวุธแทนดาบ และเครื่องแต่งก็คล้ายๆกำลังทหารอินเดีย Sepoy (ขออภัยขอรับกระผมไม่ได้กระแดะ แต่ไม่รู้จะสะกดคำนี้เป็นไทยยังไงให้ถูกดี)

ภาพนี้ จากหนังสือพม่ารบไทย โดย  ดร.สุเนตร ชุติณธรานนท์

บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 500  เมื่อ 11 มี.ค. 19, 10:24

ยังไง ก็ดี ถ้าพิจารณาแล้ว กองกำลังแบบฝรั่งในพม่า คงไม่ได้มีจำนานมากมากอะไรนัก สังเกตุว่า ภาพทหารพม่าที่ถ่ายรูปติดกล้องอังกฤษมา ก็ยังเป็นพลรบโพกผมนุ่งโสร่งที่ชาวสยามคุ้นตาตามภาพยนตร์กันอยู่

ขอยืมภาพเก่าท่านอาจารย์ขอรับ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 501  เมื่อ 03 เม.ย. 21, 11:44

บันทึกท้ายกระทู้ของคุณนวรัตน  ยิงฟันยิ้ม

จาก https://www.facebook.com/1174884455908584/posts/4039371116126556/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 502  เมื่อ 04 เม.ย. 21, 19:58

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 32 33 [34]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง