เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34
  พิมพ์  
อ่าน: 218181 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 480  เมื่อ 02 ก.พ. 13, 21:50



สัญญาที่ปางหลวง         สัญญาลวงใครต่อใคร
หกสิบหกปีที่ผ่านไป        สัญญาไม่เคยเป็นจริง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 481  เมื่อ 03 ก.พ. 13, 22:27

ข้างบนนี้เป็นพม่ารบกันเอง  มิใช่พม่ารบฝรั่งตามหัวข้อกระทู้นะคะ
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้เล่าต่อก็เล่าได้ค่ะ  แต่เล่าได้สั้นๆ เท่านั้น   มันยาก

หลังจากอังกฤษปราบดาค้อยท์ราบคาบไปแล้ว   และรวมพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ "บริติช อินเดีย" พูดง่ายๆคือเอาพม่าทั้งประเทศยุบเป็นจังหวัดหนึ่งของอินเดียซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีกที     พม่าก็ไม่ยักหมดฤทธิ์อย่างที่อังกฤษประสงค์    ดูเหมือนว่าเลือดนักสู้จะคุกรุ่นอยู่ในชาวพม่า เพื่อจะเรียกร้องความเป็นไทแก่ตัวกลับคืนมาให้ได้

กลุ่มใหม่ที่ลุกขึ้นต่อต้านพม่า ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์พม่าอีกแล้ว แต่เป็นปัญญาชนคนรุ่นใหม่ของพม่า    พวกนี้มีการศึกษาแบบตะวันตกตามที่อังกฤษวางหลักสูตรทำความสะอาดสมอง ให้ชาวอาณานิคมซึมซับรับวัฒนธรรมของตนไป    แต่คนรุ่นใหม่ของพม่่าพอฉลาดทันฝรั่งก็กลับเป็นหอกข้างแคร่  หาวิธีเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้ประเทศของตนขึ้นมาอีกครั้ง
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งน่าจะสืบสายมาจากกลุ่มเดิมที่มีพลังเข้มแข็งอยู่แล้วในสังคม  คือสถาบันสงฆ์ซึ่งไม่เคยชอบหน้าฝรั่งมาตั้งแต่พม่าตกเป็นอาณานิคม      พระสงฆ์รุ่นใหม่ยังสืบทอดเจตนารมณ์พระสงฆ์ดาค้อยท์ในการต่อต้านพม่าต่อมา แต่ในรูปแบบใหม่คือแบบอหิงสา   อดข้าวจนมรณภาพในคุก     ทำให้ท่านกลายเป็นวีรบุรุษของชาวพม่ามาจนทุกวันนี้

ความพยายามของพม่าสัมฤทธิ์ผล  กลับเป็นประเทศอิสระอีกครั้งในค.ศ. 1948  หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง พร้อมกับอวสานของยุคอาณานิคม

จบได้รึยังคะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 482  เมื่อ 03 ก.พ. 13, 23:10

จบได้รึยังคะ

สงสัยจะยังครับ   ได้ยินแว่วๆ ว่าอาจจะมีชั้นเรียนใหม่ พม่ารบพม่า น่าสนใจมากๆ เพราเป็นตัวอย่างที่ดีว่าการรบราฆ่าฟันกันเอง เกลียดกันเอง ทำให้ประเทศหยุดนิ่งได้มากขนาดไหน  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 483  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 08:39

ถ้าคุณประกอบจะเปิดชั้นเรียนติววิชาพม่ารบพม่า  ก็เชิญด้วยความยินดีค่ะ    ดิฉันสมัครเป็นนักเรียนแถวกลาง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 484  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 08:42

พม่าไม่ได้รบพม่าครับ แต่ พม่ารบดาค้อยท์

ตัวเคยเป็นดาค้อยท์รบฝรั่ง พอได้บัลลังก์คืนก็ทำแบบฝรั่ง ปราบชนต่างเผ่าพันธุ์ที่ไม่ต้องการเป็นพม่า

เข้ามาแจ้งเท่านั้น ไม่ได้จะเปิดคอร์สออะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 485  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 08:50

อ้าว  เปลี่ยนชื่อวิชาเป็นพม่ารบดาค้อยท์ก็ได้นะคะ  ไม่ได้ว่าอะไร
เด็กชายประกอบลงทะเบียนเรียนแล้ว 1 คน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 486  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 14:17

ก่อนจะถึงวิชาศึกสายเลือดในพม่า (โดยอาจารย์ประกอบหรืออาจารย์นวรัตน ?) ขออนุญาตเล่าเรื่องศึกพม่ากับฝรั่งยกสุดท้าย

ศึกครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงใกล้ ๆ กับเหตุการเปลี่ยนการปกครองในไทย (พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๕) ผู้นำคือ Saya San เรียกแบบไทย ๆ ว่า อาจารย์ซาน มีลักษณะเดียวกับกบฏผีบุญในภาคอีสานของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕  เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกว้างขวางและรุนแรง ขยายไปเกือบทั่วประเทศพม๋า (เกิดใน ๑๒ จังหวัดจาก ๒๐ จังหวัด) จากตอนล่างถึงตอนบน เลยเข้าไปถึงรัฐฉานด้วย อังกฤษปราบอยู่ ๒ ปี ฝ่ายกบฏถูกจับ ๙ พันคน บาดเจ็บล้มตายกว่า ๓ พันคน ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ๓๕๐ คน รวมทั้งหัวหน้ากบฏคืออาจารย์ซานด้วย

รูปอาจารย์ซานบนธนบัตรราคา ๙๐ จ๊าต

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 487  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 14:44

อาจารย์ซานเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒  พี่ชายถูกอังกฤษฆ่าตาย ต่อมาบวชเป็นพระและเป็นหมอยาแผนโบราณด้วย เดินทางไปรักษาโรคชาวพม่าตั้งแต่เหนือจรดใต้ จึงได้รับความเคารพจนคนพม่าเรียกว่า อาจารย์ (Saya) อาจารย์ซานเข้าร่วมกับขบวนการชาตินิยมของกลุ่ม General Council of Burmese Association (GCBA) จนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ อายุได้ ๔๕ ปี อาจารย์ซานได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการพิเศษของ CCBA มีหน้าที่สำรวจสภาพชาวนาและนโยบายการเก็บภาษีอากรของอังกฤษ เมื่อเห็นความทุกข์ยากของชาวนามากขึ้น จึงเกิดความคิดต่อต้านอังกฤษ ชักชวนชาวนาให้ไม่ยอมเสียภาษี ซึ่งได้รับการตอบสนองจากชาวพม่าอย่างรวดเร็ว

ในช่วงนั้นเป็นระยะเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้ราคาข้าวในพม่าตก มีผลต่อชาวนาพม่าอย่างมาก  ในเวลาเดียวกัน อังกฤษออกกฎหมายการเก็บภาษีแบบใหม่คือเก็บภาษีรายหัวเป็นเงินตราแทนที่จะเป็นเงิน สินค้า หรือแรงงานแบบเก่า นอกจากนี้อังกฤษยังออกกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ คือห้ามไม่ให้ตัดไม้ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ชาวนาที่พึ่งไม้ไผ่และไม้ต่าง ๆ เพื่อทำฟืนหรือปลูกสิ่งก่อสร้าง จึงถูกกระทบกระเทือนอย่างหนัก จึงเป็นเหตุผลสำคัญให้ชาวนาหันไปร่วมมื่อกับอาจารย์ซาน

อาจารย์ซานพาสมัครพรรคพวกโจมตีสถานีป่าไม้ สถานีตำรวจ  ผู้ใหญ่บ้านที่ร่วมมือกับอังกฤษ แขกออกเงินกู้ก็ไม่ละเว้น ขบวนการของอาจารย์ซานขยายวงไปอย่างรวดเร็ว จนถึงประกาศตั้งตนเองเป็นกษัตริย์  ใช้เครื่องทรงแบบกษัตริย์ สร้างพระราชวังใหม่ขนานนามว่า นครพุทธราชา แจกจ่ายเครื่องรางของขลังให้ชาวนาที่รวมตัวเป็นกองทัพต่อสู้กับอังกฤษ  ตั้งชื่อขบวนการของตนว่า สมาคมครุฑ (Galon Athins) เพื่อต่อสู้กับ นาค คืออังกฤษ

น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ขบวนการครุฑถูกนาคปราบปรามในที่สุด เพราะเมื่อเผชิญกับกองทัพและอาวุธทันสมัย ครุฑก็ถูกฆ่าตายเป็นใบไม้ร่วง อังกฤษใช้กองทัพที่ประกอบด้วยทหารอินเดียและทหารกระเหรี่ยงถึง ๑๒,๐๐๐ คน  แต่กระนั้นก็ต้องใช้เวลาปราบถึงเกือบ ๒ ปี

อาจารย์ซานถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ โดยปฏิเสธที่จะอุทธรณ์ เผชิญการแขวนคออย่างทระนง พร้อมทั้งกล่าวคำสุดท้ายทิ้งไว้ว่า

"เกิดชาติหน้าครั้งใด ขอให้ข้าพิชิตอังกฤษตลอดไป"

เก็บความจาก หนังสือ พม่า : ขบวนการนักศึกษากับประวัติศาสตร์อันระทึกใจ ของ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ หน้า ๖๘-๗๓





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 488  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 16:40

อ้างถึง
ก่อนจะถึงวิชาศึกสายเลือดในพม่า (โดยอาจารย์ประกอบหรืออาจารย์นวรัตน ?) ขออนุญาตเล่าเรื่องศึกพม่ากับฝรั่งยกสุดท้าย

ขอเชิญอาจารย์เพ็ญชมพูเล่าต่อไปเลยครับ กำลังสนุก
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 489  เมื่อ 04 ก.พ. 13, 17:07

อาจารย์(ตัวจริง)มาต่อเรื่องแล้ว  ยิงฟันยิ้ม เด็กๆ แบบเราก็ต้องมาเข้าชั้นเรียนต่อ  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 490  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 09:06

บรรยายให้เหล่าท่านซายา (อาจารย์) ฟัง หากต้องการแสดงความเห็นในประเด็นใด ท่านซายาทั้งหลายช่วยเสริมด้วย  ยิ้มเท่ห์

เมื่อสู้ด้วยวิธีบู๊ไม่สำเร็จ ก็ต้องใช้วิธีบุ๊น

ในช่วงเดียวกับที่ขบวนการของอาจารย์ซานออกปฏิบัติการในชนบท ในรั้วมหาวิทยาลัยนักศึกษามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น มีการพูดไฮด์ปาร์ก มีการเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ มีการศึกษาลัทธิการเมือง  

ก่อนสอบไล่ พ.ศ. ๒๔๗๙ ผู้นำนักศึกษา ๒ คนคือ ทะขิ่นอูนุ นักศึกษานิติศาสตร์ ประธานองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง และ ทะขิ่นอองซาน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ขององค์การนักศึกษาชื่อ Oway (แปลว่าเสียงเพรียกของนกยูง) และประธานขบวนการนักศึกษาพม่า ถูกมหาวิทยาลัยลงโทษทางวินัยเนื่องจากกรณีพูดไฮปาร์กโจมตีอาจารย์บางคน และกรณีบทความต้องห้ามในหนังสือพิมพ์ Oway

กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Oway ใน พ.ศ. ๒๔๗๙ ทะขิ่นอองซานอยู่แถวนั่ง คนที่ ๒ จากซ้าย



นักศึกษาประท้วงโดยการนอนขวางทางเข้าประตูห้องสอบ ทำให้ต้องงดสอบไล่ การประท้วงลามเข้าไปยังเจดีย์ชเวดากอง และได้รับการสนับสนุนจากพระสงฆ์ โรงเรียนต่าง ๆ ในต่างจังหวัดร่วมประท้วงด้วยการงดสอบไล่

ทะขิ่นอองซานเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ทะขิ่นอูนุเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทั้งคู่เรียกตนเองว่า "ทะขิ่น" อันมีความหมายว่า "เจ้านาย" (เป็นคำที่คนพม่าใช้เรียกคนอังกฤษ) เพื่อสร้างความเท่าเทียมกับคนอังกฤษ ทั้งคู่เป็นสมาชิก "สมาคมเราชาวพม่า" (Dobama Asiayone) ที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘  ประเด็นของการประท้วงภายในกลายเป็นเรื่องรอง และใช้เป็นข้ออ้างในการประท้วง ประเด็นหลักคือการต่อสู้กับจักรพรรดินิยมอังกฤษ



ภาพการประท้วงของสมาคมเราชาวพม่า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 491  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 10:04

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นและลามมาถึงพม่า ทะขิ่นอองซานได้รวมตัวเพื่อนนักศึกษาตั้งกลุ่ม "เพื่อนสามสิบ" (The Thirty Comrades) หนีออกไปอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่นและฝึกอาวุธที่เกาะไหหลำใน พ.ศ. ๒๔๘๓ และกลับมาพม่าพร้อมกับกองทัพญี่ปุ่น ทะขิ่นอองซานได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหม ในสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครองพม่า (เมื่ออายุได้ ๒๘ ปี) และเป็นผู้ก่อตั้ง "กองทัพพม่า" (ซึ่งเพื่อนของตนคือ เนวิน ได้เป็นผู้นำในเวลาต่อมา) กองทัพนี้ร่วมมือกับญี่ปุ่นในชั้นแรก และกลายเป็นเสมือน "เสรีไทย" ที่ต่อต้านญี่ปุ่นเมื่อภายหลัง และเจรจาได้เอกราชจากอังกฤษเมื่อ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ แต่ทะขิ่นอองซานซึ่งตอนนี้ถูกเรียกว่า "นายพลอองซาน" แล้ว ถูกลอบสังหารเสียก่อนเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐  นายพลอองซานได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งเอกราชของพม่า"

ภาพนายพลอองซานบนธนบัตรพม่า ความจริงมีปรากฏบนธนบัตรหลายราคา หลายรุ่น ภาพที่เลือกมานี้คิดว่าหล่อที่สุด



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 492  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 10:30

เซอร์ฮิวเบิร์ต รานซ์ ข้าหลวงอังกฤษ และเจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้าเมืองยองห้วย ประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า ในพิธีประกาศเอกราชของพม่า วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 493  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 10:35

หลังจากพม่าประกาศเอกราช นายกรัฐมนตรีคนแรกคือ ทะขิ่นนุ หรือ อูนุ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 494  เมื่อ 05 ก.พ. 13, 10:41

ทะขิ่นเนวิน หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม "เพื่อนสามสิบ" ที่มีบทบาทในการต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่า เมื่อได้เอกราชแล้ว เนวินเลือกที่จะมีอาชีพเป็นทหารแต่สถานการณ์ทางการเมืองที่ผันผวนในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๑ ทำให้เนวินได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว และต่อมาก็กลายเป็นผู้กุมอำนาจอย่างเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหารตั้งแต่ ๒ มีนามคม พ.ศ. ๒๕๐๕  เนวินจบชีวิตลงในวัย ๙๒ ปี เมื่อต้นเดือนธ้นวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เวลา ๗.๓๐ น. และอีกเพียง ๖ ชั่วโมงถัดมา ร่างของอดีตผู้ทรงอำนาจมากที่สุดของพม่าก็ถูกฌาปนกิจโดยมีญาติและมิตรเพียง ๒๕ คนได้เข้าร่วมในพิธีศพนี้ ไม่มีข่าวสดุดี ไม่มีพิธีกรรมและไม่มีการไว้อาลัยจากรัฐบาลทหารพม่าแต่อย่างใด



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง