เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 34
  พิมพ์  
อ่าน: 218842 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 17:52

ภาพพม่ารบอังกฤษ ปีค.ศ. 1885


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 18:19

^
อ้าว กำลังไหว้ครู น๊อคไปอีกแล้วรึเนี่ย?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 18:38

^
อ้าว กำลังไหว้ครู น๊อคไปอีกแล้วรึเนี่ย?

55+ มาไวเกินใช่ไหมครับ  อายจัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 21:04

คุณนวรัตนแปลพระราชสาส์นของพระเจ้ามินดงได้ซาบซึ้งจับใจนัก แต่มีข้อแย้งเล็กน้อย

this eighth day of the Waxing Moon Taboung, 1233, Burmese Era; corresponding with the 5th of Freburary, 1872, Christian Era.

คุณนวรัตนแปลว่า

วันแรมแปดค่ำ จุลศักราช 1233 ตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธุ์ คริตส์ศักราช 1872

Waxing Moon = ข้างขึ้น ส่วน Waning Moon = ข้างแรม



ดังนั้น eighth day of the Waxing Moon ที่ถูกต้องคือ วันขึ้นแปดค่ำ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 21:33

พระราชสาส์นตอบจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

20th February, 1873.

My Friend, — It is with the utmost gratification that I have received the marks of Your Majesty's friendship presented to me by Your Majesty's Minister Plenipotentiary, tlic Mengyee Maha Saythoo Kenwon Mengyee. I cordially reciprocate the sentiments which they express.

It is, as Your Majesty truly observes, always conducive to the maintenance of peace between Empires, that the Ministers and subjects of one Sovereign should visit the territories of another, and that thus, by the extension of mutual knowledge, the bonds of friendship may be strengthened alike between rulers and between nations.

It has afforded me great pleasure to receive Your Majesty's Envoys, and I have observed with much satisfaction the cordiality with which they have been welcomed by my people in all parts of my dominions which they have visited.

I forward this letter by the hands of a trusted officer, who will deliver it to Your Majesty, together with a portrait of myself, as tokens of my friendship and esteem.

With assurances of the interest which I feel in all that relates to Your Majesty's happiness and prosperity,

I am, Yoiu' Majesty's sincere friend and well-wisher,

' Victoria R.'

พระนางทรงนับพระเจ้ามินดงเป็นเพียงพระสหาย

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 21:45

พระราชสาส์นอีกฉบับหนึ่งของพระเจ้ามินดงถึงเจ้าชายแห่งเวลส์

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 10:00

เมื่อวานผมรีบร้อนลงกระทู้ไปหน่อย(กลัวความรวดเร็วของไซมีสหนุ่ม) เลยหลงหูหลงตาไปเรื่องข้างขึ้นข้างแรม ขออภัยและขอขอบคุณคุณเพ็ญ

ความจริงมีเรื่องผิดฉกรรจ์กว่านั้นอีก เพราะโดนคุณวิกี้หลอกให้เอารูปขิ่นหวุ่น มิงจีผิดคนมาลง

เข้าไปหาข้อมูลในเวปพม่าจึงทราบว่า พ่อหนุ่มร่างท้วมคนนั้นเป็นเพียงเลขานุการคณะทูต ชื่ออะไรก็อย่าไปทราบให้รกสมองเลย ส่วนขิ่นหวุ่น มิงจีตัวจริงสูงด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ ท่านเป็นถึงสมุหนายก ฝรั่งเรียก prime minister ที่ผันตนเองลงไปทำหน้าที่อันสำคัญยิ่ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 10:07

คณะราชทูตพม่า

ภาพจากหนังสือพิมพ์ The Illustrated London News ฉบับวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๗๒

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 10:07

ความหมายอันลึกซึ้งในพระราชสาส์นนั้น อยู่ที่ข้อความที่ผมถอดความว่า “หม่อมฉันมีความปรารถนาอย่างจริงจังที่จะสร้างทวิสัมพันธ์เฉกกษัตริย์ทั้งหลายพึงมีต่อกันโดยอิสระ” ที่อาจารย์เกิ้นแปลเขาซะเสียหาย กล่าวคือพม่ามีความอึดอัดใจอย่างยิ่งกับรัฐบาลอาณานิคมของอังกฤษในอินเดียที่จะเอาโน่นเอานี่ แบบตะกละเสียไม่มีใครเกิน จึงอยากจะข้ามหัวไปติดต่อกับรัฐบาลอังกฤษโดยตรง โดยอ้างทวิสัมพันธ์ที่ผู้นำสูงสุดของแต่ละประเทศพึงมีสายตรงต่อกันในเรื่องที่สำคัญจริงๆได้  ในที่นี้ พระเจ้ามินดง(ก็คงเป็นความคิดของขิ่นหวุ่น มิงจีท่านนี้นั่นเอง)ทรงมีพระประสงค์อยากจะส่งพระราชสาส์นส่วนพระองค์โดยตรงมายังพระนางวิกตอเรียได้โดยไม่ต้องผ่านพิธีการทูตปกติ จึงโปรดให้เจ้าของความคิดมาล็อบบี้คนอังกฤษเอาเอง

สมัยผมเด็กๆครั้งหนึ่ง โลกอยู่ภายใต้สงครามเย็นอันตึงเครียดระหว่าสหรัฐกับรัสเซีย มีข่าวสำคัญชิ้นหนึ่งว่า ผู้นำของประเทศทั้งสองตกลงที่จะติดตั้งโทรศัพท์ทางไกลสายตรง เชื่อมระหว่างห้องทำงานของประธานาธิบดีทั้งที่ไวท์เฮาส์และเครมลิน และวันหนึ่งก็ได้ใช้งานเมื่อเครื่องบินสอดแนมของสหรัฐถ่ายภาพพบว่า เรือสินค้าของรัสเซียที่กำลังมุ่งตรงไปคิวบานั้น มีส่วนหนึ่งของจรวดขีปนาวุธวางเรียงอยู่บนดาดฟ้าโดยมีผ้าใบคลุมไว้ แต่ไม่มิด เรื่องนี้อเมริกายอมไม่ได้เป็นอันขาด เพราะคิวบาเป็นศัตรูที่อยู่ใกล้ลูกกระเดือกของตนมาก ประธานาธิบดีเคนเนดี้จึงออกทีวีแจ้งประชาชนชาวอเมริกัน ว่ารัฐบาลได้ประกาศคำขาดให้รัสเซียยกเลิกปฏิบัติการดังกล่าวภายใน๒๔ชั่วโมงแล้ว คนทั่วโลกก็ตื่นเต้นตามซิครับ เวลาก็ติ๊กๆต๊อกๆไปเรื่อยๆเหมือนในหนัง ถ้าเลยเส้นตายไป อะไรที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่๓ได้ เพราะทุกกองทัพทั้งสองประเทศถูกสั่งให้เตรียมพร้อม แต่เรือรัสเซียลำนั้นก็ยังคงวิ่งเต็มฝีจักรมุ่งหน้าต่อไปโดยรัฐบาลรัสเซียยืนยันหนักแน่นว่า ไอ้ที่เห็นในรูปที่นักบินถ่ายมานั่นมันเป็นท่อโรงกลั่นน้ำมันธรรมดาๆ ไม่ใช่ขีปนาวุธสักหน่อย แต่ก็ปฏิเสธหนักแน่นที่ใครจะบังอาจขอขึ้นไปตรวจค้น

และแล้วพอใกล้เส้นตาย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายขู่กันฟ่อๆบ้างแง่งๆบ้าง อยู่ๆเรือรัสเซียก็หันหลังกลับ ข่าวว่า โทรศัพท์สายตรงได้ถูกนำมาใช้ในเหตุการณ์สำคัญนี้เป็นครั้งแรก และได้ผล งานนี้ ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้คะแนนจากคนอเมริกันท่วมท้น ประธานาธิบดีครุสชอฟเสียหน้าเล็กน้อย แต่อ้างว่าที่ยอมเพราะรักสันติภาพ ไม่อยากให้เรื่องเข้าใจผิดเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนคนดูที่ลุ้นเหงื่อแตกอยู่ทั่วโลกก็โล่งอก

นับว่าขิ่นหวุ่น มิงจีมีสายตายาวไกลมาก แต่โทษที กษัตริย์พม่ามิได้มีความหมายต่ออังกฤษแม้น้อย แถมมากรุ้มกริ่มขอเป็นพี่เป็นน้อง ใช้ถ้อยคำแสนจะชวนสะดุ้ง
อ้างถึง
พระนางทรงนับพระเจ้ามินดงเป็นเพียงพระสหาย

เออนะครับ ถ้าขอเป็นน้าก็ว่าไปอย่าง พระนางอาจจะหยวนๆให้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 10:31

ในการเดินทางของคณะทูตครั้งนั้น ใช้เรือหลวง Sekkya yinmon พากษ์ไทยว่า เศกยายินม่อน(มั้ง) เป็นพาหนะเดินทางออกจากมัณฑเลย์ใน๑๘กุมภาพันธุ์๑๘๗๒ กว่าจะถึงย่างกุ้งก็๑๓มีนาคม เข้าไปแล้ว

หลังจากนั้นก็รอขึ้นเรือโดยสารชื่อ Tenessarim หรือพากษ์ไทยว่า ตะนาวศรี ซึ่งเป็นของบริษัทเอกชนที่วิ่งรับผู้โดยสารจากเมืองขึ้นแถวนี้ ไปมายังประเทศแม่

จากนั้นก็รอนแรมนับเดือนนับดาวไป แวะโน่นแวะนี่ กว่าจะไปลงเรือจากเรือที่ลิเวอร์พูล มีตัวแทนรัฐบาลอังกฤษมารับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 11:08

เมื่อถึงลอนดอน คณะทูตได้ถือโอกาสไปสถานทูตฝรั่งเศสที่นั่นเพื่อขอวีซ่านักท่องเที่ยวพร้อมขยิบตายิบๆ  กงสุลฝรั่งเศสก็เข้าใจ เป็นเจ้าภาพจัดให้ทันที และจัดหนักขนาดให้โอกาสได้แต่งตัวหล่อเข้าพบประธานาธิบดี สร้างฉากว่าเอาพระไตรปิฎกภาษาพม่าไปให้เป็นของขวัญ แต่ข่าววงในของพม่าซุบซิบว่า พม่าใช้ข้าราชการคนหนึ่งที่ไปเรียนอยู่ปารีสนานแล้ว สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสได้เกินกว่าขอซื้อขนมปังบาแกตกินกับเนย  ท่านขิ่นหวุ่น มิงจีจึงใช้เป็นล่ามแทนฝรั่งในการเจรจาอย่างยาวกับประธานาธิบดี เช่น ขอโอกาสให้คนพม่ามาเรียนทางวิศวกรรมที่ฝรั่งเศสบ้าง แต่ที่หมกเม็ดอันสำคัญ คือขอเชิญฝรั่งเศสไปลงทุนทำรถไฟในพม่า อันหลังนี้เกาถูกที่คัน เพราะฝรั่งเศสมีสัมปทานป่าไม้สักในพม่าตอนเหนือ แต่การนำซุงออกไปขายนอกประเทศต้องล่องมาตามแม่น้ำแล้วผ่านไปยังพม่าใต้ อาณานิคมของมหามิตรซึ่งคอยเก็บภาษีและค่าบริการโหดๆอยู่ ฝรั่งเศสจึงมีแผนที่จะล่องซุงลงทางแม่น้ำโขง ยาวหน่อยแต่เป็นอาณานิคมของตัว ถ้ามีทางรถไฟเชื่อมป่าสัมประทานของตนแถวรัฐฉานไปถึงได้ก็ดี ข้อเสนอของพม่านี้จึงน่าสนใจ

ส่วนขิ่นหวุ่น มิงจีก็มีความหวังลึกๆว่า ถ้าฝรั่งเศสถลำเข้ามาลงทุนขนาดหนักในพม่า ก็คงมีโอกาสชักใยให้เป็นตัวคานอำนาจของอังกฤษได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 11:35

ในรูปและข่าวที่แพร่ออกไปครั้งนั้น เน้นเรื่องพระไตรปิฎกที่ฝรั่งถือเป็นศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง พอประธานาธิบดีรับไปก็มอบให้นำออกไปจัดแสดงที่กระทรวงต่างประเทศทันที ไม่ทราบว่าเป็นการสร้างกลลวงต้องการให้อังกฤษเขวหรือเปล่า
อังกฤษตอนแรกจึงไม่ค่อยสนใจนัก  แต่พอทราบในปีต่อมาทีหลังว่า ฝรั่งเศสส่งทีมวิศวกรไปสำรวจแนวที่จะทำทางรถไฟในพม่า อังกฤษก็ควันออกหูฉุยๆทันทีทันใด

ฝรั่งเศสนั้นเล่า เองพอมาพบภูมิประเทศมหาโหดอันเต็มไปด้วยภูเขาและร่องน้ำลำธารในรัฐฉานแล้วก็ถอดใจ ดีดลูกคิดยี่ต๊อกสระตะแล้วว่าเงินลงทุนสร้างทางรถไฟเห็นจะไม่คุ้มกับจำนวนป่าไม้ที่ฝรั่งเศสถือครองอยู่ เพราะในป่าแถบเดียวกันคนอังกฤษก็ไปถือสัมปทานไว้ไม่น้อย แถมคนไทในรัฐฉานเองก็ไม่ใช่ว่าจะญาติดีกับพม่านัก

ดังนั้นผลกระทบที่พม่าได้รับไปเต็มๆก็คือ ต่อจากนั้นไปอังกฤษจะไม่รับราชทูตพม่าที่ลอนดอนอีก ถ้ามีกิจอันใด ก็ให้ไปหาอุปราชของอังกฤษประจำอินเดียสถานเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 11:44

อ้อ  U koung ที่เห็นในบรรยายใต้ภาพนั้น คือคนๆเดียวกันกับ ขิ่นหวุ่น มิงจี

อูควง ไม่ใช่นายควงนะครับ นั่นอดีตนายกไทย อูควงเป็นชื่อตำแหน่งที่ท่านขิ่นหวุ่น มิงจีได้รับเมื่อกลับไปประเทศของตนใหม่ๆ และได้รับการโปรโมทสู่ตำแหน่งสูงสุดในรัชสมัยของพระเจ้ามินดง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 11:46

หนังสือ๒เล่มที่ท่านเขียนไว้ และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในสมัยหลัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 30 ธ.ค. 12, 11:55

ครั้นผลัดแผ่นดินมาเป็นรัชสมัยของพระเจ้าสีป่อ ขิ่นหวุ่น มิงจีหรือท่านอูควงก็ดูจะแก่เกินไปจริงๆ สงสัยจะเป็นเพราะความเครียดด้วย สัมพันธภาพกับฝรั่งก็ไม่เป็นไปตามแผน ทำให้คณะผู้ชักหุ่นพระเจ้าแผ่นดินไม่ค่อยจะพอใจ หาเรื่องลดบทบาทอำนาจที่เคยยิ่งใหญ่ลงไปมาก แต่ยังคงให้แต่งชุดหล่ออยู่


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 34
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.106 วินาที กับ 19 คำสั่ง