เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 34
  พิมพ์  
อ่าน: 218772 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 21:08

  เมื่ออังกฤษเคี้ยวกองทัพประชาชนของพม่าในครั้งนี้ไม่ลง    ทัพของพระอาจารย์โอตตะมาก็ทวีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างรวดเร็ว   กำนันผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านต่างๆละแวกนั้นซึ่งไม่มีใครอยากเป็นขี้ข้าอังกฤษอยู่แล้ว ก็พาลูกบ้านชายฉกรรจ์มาสมทบ    ท่านอาจารย์โอตตะมะเก่งพอจะวางแผนการบริหารอย่างรัดกุม    กระจายกำลังคนให้เป็นหูเป็นตาสอดส่องกัน  จนอังกฤษไม่มีทางส่งกองทหารเล็ดลอดเข้ามาถึงถิ่นนี้โดยท่านไม่รู้ตัวล่วงหน้าได้      เรียกได้ว่าท่านอาจารย์โอตตะมะบัญชาการรบแบบนักรบเต็มตัว

   ฝีมือบัญชาการของท่านอาจารย์โอตตะมะ ส่งให้ท่านกลายเป็นปรปักษ์ตัวฉกาจที่อังกฤษเดือดร้อนหนัก   จึงมีการตั้งค่าหัวท่านถึง 2000 รูปี  ใครจับท่านได้ก็กลายเป็นเศรษฐีไป  แต่ก็ไม่มีใครจับท่านส่งให้อังกฤษอยู่ดี     อังกฤษก็แหวกชาวบ้านเข้ามาไม่ถึงตัวท่านจนแล้วจนรอด     ทางการอังกฤษจึงวางแผนใหม่  คือการยัดข้อหา "กบฎ"ให้ท่านอาจารย์โอตตะมะเต็มรูปแบบ   พร้อมกับประกาศนิรโทษกรรมให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมในกองทัพ  ถ้าหากว่าใครกลับตัวกลับใจวางอาวุธก็จะไม่เอาโทษ  ปล่อยไปทำมาหากินตามปกติ     
   อังกฤษยังใช้วิธีกดดันอีกว่า ถ้าชาวบ้านคนไหนยังร่วมมือช่วยเหลือท่านอาจารย์โอตตะมะอยู่  จะเจอโทษทัณฑ์รุนแรง ไม่ใช่เฉพาะกับตัวผู้นั้น แต่กับญาติพ่อแม่พี่น้องลูกเมียที่ทำมาหากินอยู่ในหมู่บ้านด้วย  มีสิทธิ์ถูกจับตัวไปยิงทิ้งเอาง่ายๆ     ในเมื่อใช้วิธีปิดประตูตีแมวแบบนี้   ชาวบ้านทั้งหลายก็ไม่มีทางรอด   ไม่ห่วงตัวเองก็ต้องห่วงพ่อแม่ลูกเมีย  จึงจำต้องวางอาวุธมอบตัวกับทางการเป็นจำนวนมาก 
  ด้วยวิธีนี้ ทัพของท่านอาจารย์โอตตะมะก็ร่อยหรอกำลังคนลง    จนท่านเองก็ถูกจับกุมเป็นนักโทษของอังกฤษ หลังจากยืนหยัดต่อสู้มาได้ 3 ปี
 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 21:11

ผมมีภาพนักโทษการเมืองของอังกฤษในเรือนจำ ประหลาดกว่าหมู่เพราะสวมหมวก และถูกแยกไว้ต่างหาก เดาว่าน่าจะเป็นกลุ่มที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่ากัน ในรูปขวานั้น ฝรั่งบรรยายภาพว่าเป็นโรงเรียนภาคค่ำในคุก

อาจเป็นไปได้สูงที่นักโทษเหล่านี้คืออดีตพระสงฆ์ของพม่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 21:17

ผมไม่ทราบว่าในสมัยราชาธิปไตยนั้นสถาบันสงฆ์ของพม่าถูกจำกัดบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองแค่ไหน  แต่ดูเหมือนว่าในยุคปัจจุบัน สงฆ์พม่าก็ยังเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองอยู่บ่อยๆ ครั้งสุดท้ายที่ออกมาเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย แม้ว่าเป็นแนวอหิงษา ก็ถูกทหารของรัฐบาลยิงกราดไม่ไว้หน้าอินทร์หน้าพรหม ตายทั้งจีวรไปไม่น้อย

ไม่ว่าอย่างไร สงฆ์ควรจะมีศีลข้อหนึ่ง คือถือปาณาติบาตอย่างเคร่งครัด ถ้ามาเป็นผู้นำกองกำลังเข้าเข่นฆ่าศัตรู แม้จะมิได้ลงมือเองก็ถือว่าต้องปาราชิกแล้ว เช่นเจ้าพระฝางในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อแพ้ ท่านก็ไม่เอาไว้ เพราะถือว่าไม่ใช่พระ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ม.ค. 13, 11:42 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 21:32

ความจริงมีเจ้าชายอีกหลายองค์ที่เป็นผู้นำขบวนการต่อต้านอังกฤษ  ถูกยัดข้อหาว่าเป็นดาค้อยท์เสมอหน้ากันหมด  เช่นเจ้าชายบายินกัน   เจ้าชายจีมยินดายง์ และเจ้าชายเซะต์จา

ชะตากรรมของเจ้าชายดาค้อยท์พวกนี้คล้ายๆกันจนกล่าวรวมกันได้  คือทรงรวบรวมชาวบ้านพม่าเข้าสู้กับอังกฤษอย่างทรหด    รุกบ้างหนีบ้างอยู่หลายครั้ง  เป็นสงครามกองโจรที่ก่อกวนอังกฤษอย่างได้ผลอยู่นานเป็นปี    แต่เมื่อปะทะกันหลายครั้งเข้า น้ำน้อยก็แพ้ไฟเป็นธรรมดา      เจ้าชายพวกนี้ยอมสละชีพในสมรภูมิทั้งหมด  โดยเฉพาะเจ้าชายเซะต์จาและไพร่พลนั้นสู้อังกฤษจนคนสุดท้าย

แต่ก็มีเหมือนกัน ที่บางคนยอมวางอาวุธ กลับใจเข้าสวามิภักดิ์กับพม่า เช่นเจ้าชายหม่องหม่องทิน     อังกฤษก็ไม่ได้ทำอะไร  ก็ปูนบำเหน็จให้รับราชการเป็นอันดี    เห็นได้ว่าเป้าหมายของอังกฤษคือให้พวกนี้เลิกรังควานอังกฤษเสียเท่านั้น     เหตุผลก็เห็นๆกันคืออังกฤษยึดมัณฑะเลย์ได้ง่ายดายก็จริง  แต่ก็ต้องมาทำสงครามกองโจรกับประชาชน ยืดเยื้อเปลืองอาวุธและชีวิตทหารฝ่ายตนอยู่ยาวนานหลายปี     ยิ่งสงครามถูกทอดไปเนิ่นช้าเท่าใด  อังกฤษก็เปลืองงบประมาณมากขึ้นเท่านั้น      อะไรจะประหยัดได้ก็อยากประหยัดเอาไว้  

ผลพลอยเสียของอังกฤษอีกอย่างหนึ่งในการทำสงครามกองโจรกับดาค้อยท์  คืออังกฤษมีนโยบายระบายคนในอาณานิคมอื่นเข้ามาทำมาหากินในพม่า    อาณานิคมที่ว่านี้คืออินเดีย    เมื่ออังกฤษผนวกพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย   พื้นที่พม่ายังมีที่ว่างเหลืออยู่มากในชนบท   อังกฤษก็เห็นเป็นโอกาสดีจะเอาชาวอินเดียมาตั้งถิ่นฐานที่นี่   นอกจากระบายความแออัดในอินเดียแล้ว  ยังเป็นการผสมปนเปชาติพันธุ์อย่างฉลาด    บั่นทอนความรู้สึกชาตินิยมของพม่าให้จางลง   ช่วยให้รวมตัวกันไม่ถนัดอีกด้วยในระยะยาว  
แต่พวกดาค้อยท์นี่แหละที่กลายเป็นกระดูกชิ้นใหญ่มิให้นโยบายนี้ทำให้สะดวกง่ายดาย    เพราะชาวอินเดียทั้งหลายที่อพยพย้ายถิ่่นเข้ามาถูกดาค้อยท์รังควานจนอยู่ไม่เป็นปกติสุข     เนื่องจากพม่าเองก็รังเกียจคนต่างถิ่นที่เข้ามาแย่งที่ทำมาหากินของตน    
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 21:52

เคยแปลกใจว่าทำไมภาพการโจมตีพวกดาค้อยท์ของอังกฤษจึงมีเป้าหมายเป็นวัดเสียหลายแห่ง มาถึงตอนนี้ก็ถึงบางอ้อ สงฆ์ของพม่าส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งทีเดียวที่สนับสนุนการสู้รบต่อต้านเจ้าอาณานิคมอย่างเปิดเผยเช่นเดียวกับฆราวาสนั่นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 22:04

การรบที่มินลา พม่าดาค้อยท์ใช้วัดเป็นฐานซ่องสุมกำลังเช่นกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 16 ม.ค. 13, 22:08

เท่าที่ขอให้อินทรเนตรส่องหาพระสงฆ์ในพม่า ว่าท่านคิดอย่างไรเรื่องการเมือง  เผื่อจะเข้าใจขึ้นมาบ้างว่าเหตุใดพระสงฆ์ในกระทู้นี้ถึงลุกขึ้นจับอาวุธสู้อังกฤษได้อย่างเปิดเผย    ในสายตาประชาชนก็ยังเลื่อมใสศรัทธาท่านเหล่านี้เหมือนเดิม   ก็ไปเจอคำให้สัมภาษณ์ของท่านAshin Sopaka พระสงฆ์พม่า ซึ่งเป็นแอคทิวิสท์รูปหนึ่งในยุคปัจจุบัน  
ได้ความมาอย่างนี้ค่ะ

He said, lies in Buddhist doctrine that explicitly calls for the alleviation of human suffering: "If the people are suffering, then we have a responsibility - of course it [the suffering] is because of the political situation… [and] the political situation is connected to everything.

ท่านกล่าวว่า หลักคำสอนทางพุทธศาสนาคือกำหนดอย่างชัดแจ้งให้ลดละเลิกทุกข์องมนุษย์  " ถ้าประชาชนเป็นทุกข์  พวกอาตมาก็ถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องลดละเลิกทุกข์ให้พวกเขา    แน่ละว่าทุกข์ในที่นี้เกิดจากสถานการณ์ทางการเมือง  และสถานการณ์การเมืองก็มีผลโยงไปถึงทุกเรื่อง"

ขอตีความอีกที เป็นส่วนตัวว่า หลักการของพุทธศาสนาที่ว่านี้เห็นจะไม่ใช่ลดละเลิกกิเลสของมนุษย์แต่ละคน  แต่เป็นการลดละเลิกทุกข์ที่เกิดขึ้นในสังคม    ถ้าพบว่าทุกข์ที่ว่านั้นเกิดจากใครเป็นคนก่อ  ก็ไปแก้ตรงใครคนนั้น  
ถ้าทุกข์ของชาวพม่าเกิดจากอังกฤษเข้ามาในพม่า    ก็ไปแก้ที่ชาวอังกฤษในพม่า ให้ออกไปเสีย
ถ้าคำตอบนี้ถูกต้อง  ชาวบ้านพม่าก็มองว่าพระสงฆ์อย่างท่านโอตตะมะมาปัดเป่าบรรเทาทุกข์ให้พวกเขา  เท่ากับท่านทำตามหน้าที่หลักของท่าน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 06:23

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนทางแก้ทุกข์ให้สังฆสาวกแบบนี้

ถ้าพระคิดว่ามีหน้าที่แก้ปัญหาทางการเมืองโดยลงไปเล่นกับการเมืองเสียเอง นอกจากจะแก้ทุกข์ให้ใครไม่ได้แล้ว ตัวเองก็จะยิ่งทุกข์หนักเข้าไปอีก ลงนรกตั้งแต่ยังไม่มรณภาพ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 12:42

เรื่องขบวนการสงฆ์กู้ชาติมีอะไรมันๆให้บรรยายได้อีกมาก   จึงขอยกตัวอย่างพระสงฆ์ในขบวนการกู้ชาติพม่าอีกสัก 2-3 รูปนะคะ     เพื่อให้เห็นภาพรวมว่ามิได้มีแต่พระอาจารย์โอตตะมะเท่านั้นที่ลงจากธรรมาสน์ เข้าสู่สนามรบอย่างเปิดเผย      แต่ยังมีพระอาจารย์รูปอื่นๆอีกหลายรูป ที่ลงลุยในสมรภูมิอย่างอาจหาญไม่น้อยไปกว่ากัน  จนเรียกได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาในยุคนั้น
 
พระสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่เป็นหัวหน้าขบวนการกู้ชาติ  เป็นหลวงพ่อระดับเจ้าอาวาส      ประวัติศาสตร์พม่าเรียกว่าหลวงพ่อมยันซอง(Mayanchaung) ไม่ใช่ชื่อแต่เป็นตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมยันซอง    ตัวท่านเป็นพระพม่าเชื้อสายไทยใหญ่   คงเป็นพระสงฆ์ดังที่ชาวไทยใหญ่และพม่านับถือกันมาก   จึงมีคอนเนคชั่นที่ใกล้ชิดกับราชบัลลังก์   ถึงขั้นก่อนสงคราม  ท่านได้รับพระราชโองการจากพระเจ้าสีป่อให้ซ่องสุมผู้คนไว้สู้กับอังกฤษที่จะยกทัพมารุกราน      บารมีท่านก็กว้างขวางเสียด้วย   เห็นได้จากสามารถขอความร่วมมือจากหลวงพ่อดังๆอีก 3 วัดคือเจ้าอาวาสวัดจอกกาลัต  เจ้าอาวาสวัดเปกการเลต  และเจ้าอาวาสวัดชเวเล รวบรวมชาวบ้านพม่าเชื้อสายไทยใหญ่ขึ้นมาเป็นกองกำลังใหญ่ในพม่าตอนใต้ได้สำเร็จ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 12:48

   อ่านมาถึงตรงนี้ก็รู้สึกว่าในสังคมพม่า   สัมพันธภาพระหว่าง "วัด" กับ "วัง" น่าจะมากกว่าสังคมไทย  คือช่วยเหลือเกื้อกูลกันหลายด้าน  ยามศึกก็รบ  ยามสงบก็ทะนุบำรุงศาสนา    วัดจึงกลายเป็นกำลังเสริมความมั่นคงของราชอาณาจักรด้วย   ไม่ใช่พาคนไปสู่สวรรค์นิพพานกันด้านเดียว
   ถ้าเป็นอย่างนี้  พระสงฆ์ก็คือผู้ที่ชุมชนพึ่งพาได้ทุกด้านไม่เฉพาะทางใจ       ดังนั้น พระสงฆ์พม่าลุกขึ้นมาบัญชาการรบในยามบ้านเมืองคับขันก็เลยเป็นเรื่องธรรมดา   ไม่มีชาวบ้านคนไหนไปตั้งปุจฉาว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์   เผลอๆอาจเป็นได้ว่าพระพม่าที่ไม่ยุ่งกับทางโลก อาจจะไม่ได้รับศรัทธาเท่าพระพม่าที่พาชาวบ้านไปรบเสียด้วยซ้ำ
  
กลับมาเรื่องรบอีกครั้งค่ะ
ยังไม่ทันที่หลวงพ่อมยันซองจะทันยกทัพชาวบ้านที่เตรียมไว้เข้ามาช่วยพระเจ้าสีป่อ    มัณฑะเลย์ก็แตกเสียก่อน   แต่กองทัพที่หลวงพ่อตั้งเอาไว้ไม่ได้สลายตัวไปอยู่ดี     ตรงกันข้าม หลวงพ่อกลับลงมือเล่นงานพม่าอย่างไม่รั้งรอให้เสียเวลา    เริ่มต้นด้วยแค่เวลาสองสัปดาห์หลังอังกฤษยึดมัณฑะเลย์    สงครามสงฆ์ที่นำโดยหลวงพ่อเปกกาเลตก็บุกเข้ายึดเมือง 3 เมืองพร้อมกันคือเมืองวินบาดอว์ สิตตังและการาเว แบบสายฟ้าแลบ

การรบครั้งนี้ดุเดือดเอาการ   ทหารอังกฤษที่ไม่ทันตั้งตัว แทบจะหนีญะญ่ายพ่ายจะแจ  เห็นได้จากหนังสือที่ส่งไปขอระดมพลจากส่วนกลางให้มาช่วย    เนื้อความในนั้นอาจทำให้คนไทยอ่านแล้วกลืนน้ำลายดังเอื๊อกว่าขนาดนั้นเชียวหรือ   คือ

" หลวงพ่อเปกกาเลตเป็นผู้นำชาวไทยใหญ่ประมาณ 300 คนบุกเข้ายึดเมือง  เผาและปล้นสะดม 3 เมือง คือวินบาดอว์  สิตตัง  การาเว  ลำดับต่อไปน่าจะเป็นเมืองชเวจิน  ขอให้ส่งกำลังมาช่วยด่วน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 13:27

   หลวงพ่อเปกกาเลตเป็นแม่ทัพคนหนึ่งของหลวงพ่อมยันชอง    เมื่อมาถึงยุทธวิธีรบของหลวงพ่อมยันชองเอง ก็ต้องถือว่ารบแบบมีชั้นมีเชิง  คือแยกย้ายกำลังกันออกเป็นหลายสาย  สายหนึ่งเข้าตัดสายโทรเลขเพื่อจตัดกำลังกองทหารอังกฤษมิให้ส่งข่าวไปขอความช่วยเหลือจากเมืองหลวงได้   สายที่เหลือก็แยกย้ายกันเข้าตีหลายเมืองพร้อมกัน

  วิธีตี ก็คือยกทัพแห่กันเข้าไปทั้งผ้าเหลืองให้ชาวเมืองเห็น   เกณฑ์เสบียงอาหารและเงินทองจากชาวบ้าน  เวลาเข้าก็เคลื่อนขบวนราวกับขบวนแห่งานวัด    ตีฆ้องกลองดังสนั่น   ดิฉันเข้าใจว่าน่าจะเป็นวิธีแสดงอย่างเปิดเผยให้ทหารพม่าและชาวบ้านในเมืองรู้ว่านี่คือพระนำทัพเข้ามา  ใครจะยิงท่านได้ลงคอก็ให้รู้ไป

   กำลังของหลวงพ่อมยันชองไม่มากพอจะยึดเมืองไว้ได้    จึงใช้วิธีโจมตีแล้วถอยหนีออกไปก่อนทหารอังกฤษจะตีแตกพ่าย  จากนั้นก็กลับเข้ามาอีก  พร้อมด้วยสมัครพรรคพวกที่เพิ่มเข้ามาสมทบ   โจมตีแล้วถอย โจมตีแล้วถอยอยู่อย่างนี้  สามวันสามคืน ล่อให้กระสุนฝ่ายอังกฤษหมด  นายชอว์ข้าหลวงเมืองจายก์โตที่เจอไม้นี้เข้าต้องเผ่นหนีออกจากเมืองเอาชีวิตรอดไป
   
   ทางการตั้งค่าหัวหลวงพ่อมยันชองถึง 2000 รูปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 13:43

หลวงพ่อมยันซองทำศึกแบบใช้ทั้งไม้นวมและไม้แข็ง   ไม้นวมคือท่านมีพระราชโองการพระเจ้าสีป่อติดตัวไปด้วย  ไปถึงเมืองไหนก็ประกาศให้ชาวบ้านเข้าร่วมมือกับทัพของท่าน   ไม้แข็งคือสำทับต่อว่าถ้าหมู่บ้านไหนไม่ร่วมมือก็จะเผาและปล้นทรัพย์สินไป   ถ้าเจอคลังอาวุธในเมืองก็เข้าปล้นแล้วยึดอาวุธไปเพิ่มพูนเขี้ยวเล็บให้กองกำลังของท่าน     นอกจากนี้หลวงพ่อยังตัดสายโทรเลขและทำลายประตูน้ำ  บั่นทอนกำลังของอังกฤษ และตัดหนทางไม่ให้ขอกำลังมาสมทบจากย่างกุ้งได้ด้วย

อังกฤษทุ่มกำลังจากพม่าเหนือ ทั้งคนทั้งอาวุธเข้าปราบปรามขบวนการกู้ชาติของหลวงพ่อมยินชอง  ในฐานะที่เป็นเสี้ยนหนามชิ้นใหญ่   ในตอนแรกก็ไม่ได้ผล   เพราะเมื่ออังกฤษบุกมาถึงเมืองมยินชองแหล่งเดิมของหลวงพ่อ  พบว่ากลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว  ชาวบ้านอพยพไปหมด พร้อมกับทำลายสิ่งก่อสร้างเสียไม่มีเหลือ     มิให้อังกฤษใช้ประโยชน์ได้
อีกด้านหนึ่ง  หลวงพ่อก็ดำเนินการจิตวิทยาต่อต้านควบคู่ไปกับการรบ  คือปล่อยข่าวว่าอังกฤษแพ้แล้วที่มัณฑะเลย์  ส่วนพระเจ้าสีป่อก็ไม่ได้ถูกเนรเทศ แต่ถูกทหารอังกฤษจับตัวไปแค่เมืองย่างกุ้ง   จนชาวบ้านแถวนั้นพากันเชื่อ พากันเข้ามาสมทบกับหลวงพ่อ เข้าร่วมรบเพื่อกษัตริย์พม่าอันเป็นสถาบันที่พวกเขาจงรักภักดีมาก่อน

อย่างไรก็ตาม อังกฤษก็กวาดล้างอย่างหนัก ถึงกับขอกำลังพลเพิ่มจากอินเดียมาสมทบ      กำลังฝ่ายหลวงพ่อซึ่งขาดแคลนทั้งอาวุธและกำลังคนที่ตายลงไปเรื่อยๆจากการปะทะแต่ละครั้งก็เริ่มอ่อนแอลง    หลวงพ่อต้องหลบอยู่ตามเทือกเขาเมืองตองอู จนถูกจับได้ในที่สุด
วาระสุดท้ายของหลวงพ่อมยันชอง ก็คือถูกตัดสินอย่างอาชญากร คือประหารชีวิตด้วยการแขวนคอประจานหน้าสถานีตำรวจเมืองจายก์โต ที่หลวงพ่อเคยได้รับชัยชนะจนข้าหลวงฝรั่งต้องหนีแจ้นเอาชีวิตรอดมาแล้ว      หลวงพ่อต้องพลีชีวิตเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1886   ในฐานะดาค้อยท์ในสายตาอังกฤษ และวีรบุรุษในสายตาประชาชนพม่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 14:47

กืนเนื้อที่ฝ่าย"ภาพ"  ด้วยการเอาภาพประกอบมาดูกันบ้าง  

รูปนี้คืออาวุธของดาค้อยท์พม่าที่อังกฤษยึดได้    เห็นแล้ว อยากจะถามว่าเป็นอาวุธร่วมสมัยกับอยุธยาตอนปลาย สมัยอลองพญารึเปล่าเนี่ย  หรือว่าจะถอยหลังไปถึงสมัยบุเรงนอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 14:50

ทหารอังกฤษกับซีปอยปราบดาค้อยท์
รูปล่าง  ทหารฝรั่งสะพายกระสุนกันเป็นตับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 17 ม.ค. 13, 15:31

ยังสงสัยอยู่อีกเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยฝีมือการรบของขบวนการสงฆ์พม่า

ถ้าพูดเรื่องการศึกษา   พระพม่าก็คงเช่นเดียวกับพระไทยคือได้เล่าเรียนเขียนอ่าน  เพราะต้องศึกษาพระไตรปิฎก      ดังนั้นหลวงพ่อมยันชองมีพระราชโองการพระเจ้าสีป่ออยู่ในมือก็ไม่แปลก   จะอ่านเองลอกเองก็สะดวกง่ายดายอยู่แล้ว      แต่ด้านการรบล่ะ?

กองทัพของพระอาจารย์/หลวงพ่อเหล่านี้มีพระสงฆ์ลูกวัดเป็นทหารในกองทัพด้วยอย่างไม่มีข้อสงสัย     เป็นไปไม่ได้ที่หลวงพ่อเจ้าอาวาสแต่ละวัดจะทิ้งวัดออกรบอยู่รูปเดียว  ส่วนพระลูกวัดอื่นๆก็ทำวัตรเช้าวัตรเย็นกันในวัดไปตามปกติ     ในยามศึก หลวงพ่อวัดไหนลงมือรวบรวมไพร่พล  พระลูกวัดทั้งวัดก็ต้องเข้าไปสมทบเป็นพลทหารหรือนายสิบอยู่ด้วย
คำถามคือพวกนี้เรียนการต่อสู้มาจากไหน    ยังไงก็ต้องมีพื้นฐานบ้างไม่มากก็น้อย    เพราะจะให้เรียนพระปริยัติอย่างเดียว ไม่เคยแตะอะไรอีก   เห็นทีว่าใจคงไม่ถึง จนกล้าออกสนามรบ

ดิฉันก็เลยคิดว่าในวัด น่าจะมีวิชาต่างๆที่สอนรวมทั้งศิลปะการป้องกันตัวด้วย   หรืออย่างน้อย..เอ้า....ศิลปะมวย หรือกระบี่กระบอง  ให้เณรออกกำลังกายกัน   อาจจะเพิ่มเติมถึงขั้นเพลงอาวุธ     ทำนองเดียวกับมหาเถรกุโสดอที่เป็นอาจารย์ของจะเด็ด และมังตรา  ถ่ายทอดศิลปวิทยาการให้ลูกศิษย์
นึกเลยไปถึงหลวงจีนวัดเส้าหลินเสียแล้ว     เลยขอหยุดตรงนี้ดีกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 34
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง