เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 10525 สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 ธ.ค. 12, 15:09

ในแต่ละประเทศนิยมใช้ศักราชกันอย่างไร อาจจะดูได้จากการใช้ในหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ไทยใช้พุทธศักราชแน่นอน แต่ในประเทศเพื่อนบ้านเราดูจะไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

ตัวอย่างหนังสือพิมพ์พม่า



ยังคงใช้จุลศักราชหรือศักราชพม่ากันอยู่

 ยิงฟันยิ้ม
เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 ธ.ค. 12, 15:37

หนังสือพิมพ์ลาวก็ใช้คริสตศักราช  พุทธศักราชก็มีใช้เหมือนกันคงทำนองเดียวกับพม่าที่ใช้เกี่ยวกับศาสนาและประเพณี

ปีใหม่ลาวก็เช่นเดียวกับพม่า ซึ่งยังคงเปลี่ยนพุทธศักราชหลังสงกรานต์ในเดือนเมษายน

ขอให้สังเกตเลขลาว เหมือนไทยเพียงบางตัวเท่านั้น  

สะบายดีปีใหม่ พสใดเอ่ย

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 11:50

ขออนุญาตเสริมเรื่องศักราชของญี่ปุ่นและจีน  แม้คุณ chounws ไม่ได้ถาม แต่อยากตอบ   ยิ้มเท่ห์

หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น



อักษรคันจิบนสุดตรงกลางมีความหมายว่า "วันที่ ๔ เดือน ๔ ปีโชวะที่ ๒๐"

ปีโชวะคืออะไร คุณประกอบให้คำตอบไว้ดังนี้

เพิ่มเติมซักนิด จริงๆ แล้วคำว่าเมจิ ไทโช โชวะ หรือเฮเซ เป็นคำที่ใช้เรียกรัชสมัยของจักรพรรดิแต่ละพระองค์ ซึ่งจริงๆ แล้วจักรพรรดิจะมีพระนามด้วย เช่นจักรพรรดิมัซสุฮิโต ใช้ชื่อรัชสมัยว่าเมจิ หรือจักรพรรดิโยชิฮิโต ใช้ชื่อรัชสมัยไทโช  อย่างปัจจุบันจักรพรรดิอากิฮิโต ใช้ชื่อรัชสมัยเฮเซเป็นต้น

รัชสมัยของจักรพรรดิฮิโรฮิโต เรียกว่าสมัยโชวะ

ญี่ปุ่นยังนิยมใช้คริสตศักราชควบคู่ไปกับปีรัชสมัยของจักรพรรดิอีกด้วย ดังตัวอย่าง

คุณ takuan21a เจ้าของภาพ บรรยายไว้ดังนี้

2012年 03月 14日
タイ王国大使館(旧浜口邸)  

竣工:1934年(昭和9年)
場所:品川区上大崎3-14


๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรไทย (บ้านเก่าของตระกูลฮามากุจิ)

สร้างเสร็จ : พ.ศ. ๒๔๗๗ (ปีโชวะที่ ๙)
ที่ตั้ง : ๓-๑๔ คามิโอซากิ เขตชินากาวา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 11:58

ศักราชของจีน แต่ก่อนก็เรียกตามรัชสมัยของจักรพรรดิเช่นเดียวกับญี่ปุ่น  ปัจจุบันใช้คริสตศักราช

จีนไม่ได้ใช้ ค.ศ มาแต่เดิมครับ แต่ก่อนเขานับปีตามแบบของเขาครับ เพิ่งจะมาใช้ ค.ศ. ทีหลังเมื่อคบฝรั่งแล้ว แถมไม่ยอมเรียกว่า "คริสต์" ศักราช เขาเรียกของเขาในภาษาจีนพอจะแปลได้ว่า General /Common Era หรือ "ศักราชสากล"

สมัยเขามีกษัตริย์ เขานับปีตามรัชกาล ดังนั้นแปลว่าเปลี่ยนรัชกาลทีก็เปลี่ยนคำเรียกศักราชที เช่น (สมมติ) "ศักราชเฉียนหลงปีที่ 44" คล้ายๆ กับที่เราลงท้ายในพระบรมราชโอการของเราเดี๋ยวนี้ว่า "พศ..... เป็นปีที่ ... ในรัชกาลปัจจุบัน"  ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ญี่ปุ่นใช้อยู่จนเดี๋ยวนี้ ญี่ปุ่นเขามีคำเรียกปีแบบของเขาใช้คู่กับ ค.ศ. ตามรัชกาลจักรพรรดิเหมือนกัน อย่างรัชกาลที่แล้วพระเจ้าฮิโรฮิโต เรียกปีศักราชว่า โชวะ ปีโชวะที่ 21 ปีโชวะที่เท่าไหร่ๆ ก็คือเป็นปีที่เท่านั้นในรัชกาลของพระองค์  รัชกาลปัจจุบันพระจักรพรรดิอากิฮิโต ดูเหมือนเรียกศักราชว่า เฮย์เซ (มั้ง?)

จนกระทั่งจีนเลิกมีฮ่องเต้ กลายเป็นสาธารณรัฐแล้วสมัยซุนยัตเซนก็ยังไม่เลิกใช้วิธีนับอย่างนี้ ควบคู่กันไปกับ ค.ศ. แต่เปลี่ยนเป็น "ศักราชสาธารณรัฐปีที่...."  แทน แต่ตอนที่ปู่เหมาแกทำปฏิวัติสำเร็จ แกไม่ยักใช้  "ศักราชคอมมิวนิสต์ปีที่..."  เลยเหลือแค่ ค.ศ. เฉยๆ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 ธ.ค. 12, 19:21

ศักราชของจีน แต่ก่อนก็เรียกตามรัชสมัยของจักรพรรดิเช่นเดียวกับญี่ปุ่น  ปัจจุบันใช้คริสตศักราช


มารายงานตัวว่าคอยอ่านอยู่ไม่ได้ทิ้งกระทู้ มีข้อมูลต้องย่อยต้องศึกษาต่อยอดเยอะเลยครับ ขอบพระคุณมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 11:16

ในขณะที่ไทยเราเปลี่ยนพุทธศักราชในวันที่ ๑ มกราคม เพื่อนบ้านของเราไม่ว่าจะเป็น พม่า, ลาว, เขมร ล้วนเปลี่ยนพุทธศักราชหลังสงกรานต์ทั้งสิ้น

เขมรนับ พ.ศ. เช่นเดียวกับพม่า จึงสวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๖ ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 11:41

ส่วนลาวนับ พ.ศ. เช่นเดียวกับเรา

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 12:24

ส่วนลาวนับ พ.ศ. เช่นเดียวกับเรา

 ยิงฟันยิ้ม
รายงานตัวครับ ข้อมูลมีค่ายิ่งครับ
เรื่องที่ในแถบนี้นับวันเริ่มต้นปีใหม่ในวันสงกรานต์เป็นเรื่องน่าสนใจนะครับ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าถือคติทางไหนครับ ทางพราหม์หรือพุทธฯหรืออื่นๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 13:47

เรื่องที่ในแถบนี้นับวันเริ่มต้นปีใหม่ในวันสงกรานต์เป็นเรื่องน่าสนใจนะครับ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าถือคติทางไหนครับ ทางพราหม์หรือพุทธฯหรืออื่นๆ

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศได้ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้ในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันจันทร์ที่ ๙, วันอังคารที่ ๑๐ และวันพุธที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังนี้

สาดน้ำสงกรานต์ “ประเพณีร่วม” ของอาเซียน

รดน้ำ, สาดน้ำ น่าจะเป็นประเพณีในศาสนาผีของชุมชนอุษาคเนย์มาแต่ดึกดำบรรพ์ แม้ไม่พบหลักฐานโดยตรง แต่ร่องรอยทางประเพณีพิธีกรรมก็เชื่อมโยงได้อย่างนั้น

ในพิธีเลี้ยงผีของชุมชนดั้งเดิมทั้งสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ ใช้น้ำทำความสะอาดเรือนและเครื่องมือทำมาหากินด้วยวิธีรด, ล้าง, สาด แล้วยังใช้อาบให้บรรพชนที่ตายไปแล้ว แต่มีกระดูกหรืออัฐิเหลือไว้บูชาเซ่นไหว้ตามประเพณีอุษาคเนย์ รวมทั้งอาบให้บรรพชนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ปู่ย่าตายาย ฯลฯ

เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็สาดน้ำขึ้นหลังคาเรือน ตลอดจนต้นไม้ใบหญ้าที่อยู่โดยรอบ เป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างขับไล่สิ่งไม่ดีให้หมดสิ้นไป ยังมีเหลืออยู่ในประเพณีของเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ แล้วเคยมีอยู่ในราชสำนักของบ้านเมืองในหุบเขาทางล้านนาและล้านช้าง

น้ำในพิธีกรรมยังมีสืบเนื่องไม่ขาดสาย

ต่อมาเมื่อสงกรานต์จากอินเดียแพร่ถึงอุษาคเนย์ คนพื้นเมืองก็ผนวกพิธีเลี้ยงผีให้เข้ากับสงกรานต์ แล้วกลายเป็นเล่นสาดน้ำสงกรานต์

สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ดั้งเดิมของบ้านเมืองบริเวณสุวรรณภูมิ เช่น พม่า, ลาว, กัมพูชา, ไทย, รวมถึงสิบสองพันนาในยูนนานของจีน

ทุกแห่งต่างอ้างว่าสงกรานต์เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของตนทั้งนั้น ทั้ง ๆ แท้จริงแล้วต่างรับสงกรานต์ของศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย ล้วนไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมของตน

สงกรานต์เป็นช่วงฤดูร้อนที่น้ำแล้ง คนจึงชอบเล่นรดน้ำ, สาดน้ำ โดยไม่จำกัดวัย, เพศ, และชาติพันธุ์

ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะที่อยู่บริเวณแผ่นดินใหญ่ ควรพิจารณาร่วมกัน ให้รดน้ำ, สาดน้ำ เป็นประเพณีร่วมของอาเซียน ไม่เป็นของชาติใดชาติหนึ่ง แล้วจัดงานฉลองร่วมกันทั้งอาเซียน

โดยแต่ละชาติจะสร้างสรรค์รดน้ำ, สาดน้ำ ให้มีลักษณะเฉพาะของตัวเองก็ได้ แล้วดีด้วย จะได้มีความหลากหลายให้คนเลือกเล่น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 13:52

สงกรานต์ลาว ปีใหม่ลาว

สงกรานต์ในลาว ถือเป็นปีใหม่ลาว

ผู้เชี่ยวชาญพงศาวดาร เคยอธิบายว่าราชสำนักลาวน่าจะรับสงกรานต์จากราชสำนักกัมพูชา เพราะวัฒนธรรมจากกัมพูชาแผ่ถึงสองฝั่งโขงบริเวณเวียงจัน ตั้งแต่ยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีพยานสำคัญคือจารึกเมืองซายฟอง อยู่ทางใต้เวียงจัน
 
แต่นักค้นคว้าบางคนบอกว่า เจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์ลาว เป็นเครือญาติกษัตริย์กัมพูชา ได้พระพุทธรูปที่เรียกต่อมาว่า “พระบาง” จากกัมพูชา เป็นพยานว่าขนบธรรมเนียมประเพณี ผี-พราหมณ์-พุทธ จากเมืองพระนครหลวง แผ่ขึ้นไปถึงเวียงจัน ซึ่งน่าจะมีประเพณีสงกรานต์รวมอยู่ด้วย

(เจ้าฟ้างุ้ม เป็นเครือญาติร่วมยุคพระเจ้าอู่ทองกรุงศรีอยุธยา และพญาลิไทยกรุงสุโขทัย)

บรรพชนคนไทยสายหนึ่งเป็นลาว ทยอยเคลื่อนย้ายจากสองฝั่งโขง ตั้งแต่หลวง พระบางและเวียงจัน ลงลุ่มน้ำน่าน, ยม เข้าสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แล้วประสมกลมกลืนกับตระกูลมอญ-เขมรที่อยู่มาก่อน จนกลายเป็นคนไทยในกรุงศรีอยุธยาและกรุงสุโขทัย

นักวิชาการประวัติศาสตร์ไทย-ลาวจึงอธิบายว่า สงกรานต์จากราชสำนักสยามกรุงศรีอยุธยา (ที่รับจากพราหมณ์อินเดียมาก่อนแล้ว) ก็แผ่ขึ้นไปถึงเวียงจันตั้งแต่ครั้งนั้น แล้วสืบเนื่องจนทุกวันนี้

สงกรานต์ เป็นคติพราหมณ์ในอินเดีย ไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมของลาว

ประเพณีดั้งเดิมของลาวก็เหมือนของไทย คือขึ้นฤดูกาลใหม่ (เรียกปีใหม่อย่างสากล) ตอนเดือนอ้าย แปลว่า เดือนที่หนึ่ง (ตามปฏิทินจันทรคติ) ช่วงหลังลอยกระทง เดือนสิบสอง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 13:55

สงกรานต์เขมร ปีใหม่เขมร

สงกรานต์ในเขมร ถือเป็นปีใหม่เขมร มีก่อนไทย

ศิลาจารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร ระบุชัดเจนว่าสงกรานต์มีแล้วในราชสำนัก ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐

ขณะนั้นบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในไทยอยู่ปลายยุคทวารวดี ยังไม่มีกลุ่มชนเรียกตัวเองว่า“คนไทย” และยังไม่มีรัฐอยุธยา, รัฐสุโขทัย มีแต่พวกสยามพูดตระกูลภาษาไทย-ลาว เป็นประชากรชั้นล่าง ๆ ของบ้านเมืองสมัยนั้น

ราชสำนักกัมพูชายุคแรก ๆ นับถือศาสนาพราหมณ์ มีพราหมณ์ประกอบประเพณีพิธีกรรมที่ได้แบบแผนจากอินเดียโดยตรง เช่น สงกรานต์ หลังจากนั้นก็แพร่หลายไปยังบ้านเมืองโดยรอบ เช่น ลาว, ไทย

ราชสำนักอยุธยา สืบมาจากราชสำนักขอมเมืองละโว้ (ลพบุรี) ที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดราชสำนักเขมรที่นครวัด, นครธม

สมัยแรก ๆในราชสำนักอยุธยาใช้ภาษาเขมร แล้วมีพิธีกรรมตามแบบราชสำนักเขมร โดยประสมประสานกับพิธีกรรมดั้งเดิมของตระกูลไทย-ลาวบ้าง

ครั้นนานไปเมื่อเปลี่ยนใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจำวัน ก็ยกย่องภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์เพื่อรักษาจารีตขอมไว้

ประเพณีพิธีกรรมในราชสำนักอยุธยาจึงทำตามราชสำนักกัมพูชาที่นับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน แล้วเอามาปรับใช้บ้างให้เหมาะสม เช่น ถือน้ำพระพัทธ์, อินทราภิเษก, สงกรานต์, ฯลฯ

สงกรานต์ จึงไม่ใช่ปีใหม่ไทยเท่านั้น แต่เป็นปีใหม่เขมร, ปีใหม่ลาว, ปีใหม่พม่า ด้วย เพราะรับแบบแผนจากแขกอินเดียเหมือน ๆ กัน

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 15:24

สงกรานต์เขมร ปีใหม่เขมร


สงกรานต์ จึงไม่ใช่ปีใหม่ไทยเท่านั้น แต่เป็นปีใหม่เขมร, ปีใหม่ลาว, ปีใหม่พม่า ด้วย เพราะรับแบบแผนจากแขกอินเดียเหมือน ๆ กัน

 ยิงฟันยิ้ม



อธิบายได้เห็นภาพชัดเจนครับ หมดข้อสงสัยในด้านประเพณีสงกรานต์ที่แพร่เข้ามาบ้านเราอย่างไร
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 18:38

ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ตามลิงค์ด้านล่างนี้  น่าจะให้คำตอบที่ชัดเจนเรื่องปฏิทินสุริยคติและจันทรคติได้ชัดเจนครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/052/451_1.PDF
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 19:42

ขอให้สังเกตว่า ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ในรัชกาลที่ ๕ นี้ เริ่มต้นเดือนที่หนึ่งคือ "เมษายน"   


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 19:59

ต่อเมื่อจนถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง