เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10481 สอบถามเรื่องการใช้ปีพุทธศักราช
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
 เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 12:41

รบกวนสอบถามท่านผู้รู้ในคำถามที่เกิดความสงสัยขึ้นว่า
การใช้ปีพุทธศักราชที่เราใช้ๆกันอยู่นี้ เริ่มต้นเมื่อใด ก่อนหน้านี้เราใช้วิธีกำหนดปีอย่างใด เพื่อนบ้านเราโดยรอบ รวมทั้งอินเดียเคยใช้อย่างไรมาก่อนครับ
ขออภัยที่ขี้สงสัยเกินไปในเรื่องที่อาจจะไม่เป็นเรื่องนะครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 14:10

พุทธศักราช ซึ่งทางราชการไทยใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีคติตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน โดยไทยถือตามมติของลังกา คือถือว่า ทรงปรินิพพาน 543 ปีก่อนคริสต์ศักราช แม้ว่าเราจะใช้พุทธศักราชกันมานานแล้ว แต่ทางราชการเพิ่งจะบังคับใช้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรมประกาศลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 ความว่า

          "...ทรงพระราขดำริว่า พระพุทธศักราชนั้น ได้เคยใช้ในราชการทั่วไป ถ้าจะให้ใช้พระพุทธศักราชแทนปีรัตนโกสินทรศกแล้ว ก็จะเป็นการสะดวก แก่การอดีตในพงศาวดาร ของกรุงสยามมากยิ่งขึ้นฯลฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระพุทธศักราช ในราชการทั้งปวงทั่วไป ฯลฯ " หลังประกาศฉบับนี้ หนังสือไทยทุกประเภท จึงลงศักราช เป็นพุทธศักราชมาจนทุกวันนี้

ที่มา
http://webboard.yenta4.com/topic/205754

จะเห็นว่าเราใช้พุทธศักราชนั้นใช้กันมานานแล้ว เช่น "พุทธศาสกาลล่วงแล้ว XXXX พรรษา" แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงกำหนดให้ใช้อย่างเป็นทางการในการเขียนจดหมาย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 14:23

ยกตัวอย่างการใช้พุทธศักราชก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

จารึกการบูรณะวัดประเสริฐสุทธาวาส  ด้านที่ ๑ พุทธศักราช  ๒๓๘๑

ความว่า

ศุภมัสดุ พุทธศักราชล่วงแล้วได้ สองพันสามร้อยแปดสิบเอ็ด ปีจอ สัมฤทธิศก จัดอยู่ในวสันตฤดู เดือนสิบสอง"

ที่มา ข้อมูลจารึกทั่วประเทศ


บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 14:34

ยกตัวอย่างการใช้พุทธศักราชก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

จารึกการบูรณะวัดประเสริฐสุทธาวาส  ด้านที่ ๑ พุทธศักราช  ๒๓๘๑

ความว่า

ศุภมัสดุ พุทธศักราชล่วงแล้วได้ สองพันสามร้อยแปดสิบเอ็ด ปีจอ สัมฤทธิศก จัดอยู่ในวสันตฤดู เดือนสิบสอง"

ที่มา ข้อมูลจารึกทั่วประเทศ
ขอบพระคุณ คุณ siamese อย่างยิ่งครับ นึกแล้วว่าที่นี่ให้ข้อมูลได้อยู่เสมอ
ขออ่านและทำความเข้าใจก่อนนะครับ เผื่อจะมีคำถามเพิ่มเติมอีก
อย่างเช่นคำถามตอนนี้ว่า มีใคร(ชนชาติหรือประเทศ)ใดอีกบ้างที่ใช้ พุทธศักราช  ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 14:34

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีการใช้พุทธศักราชในหนังสือเช่นกัน ยกตัวอย่างของหนังสือออกพระวิสุทธสุนธรถึง เมอร์สิเออร์ เดอ ลายี

ออกพระวิสุทธสุนธรและคณะทูตกล่าวแสดงความขอบคุณต่อเมอร์สิเออร์ เดอ ลายี และฝากฝังให้ช่วยดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสรวมทั้งขอให้เป็นธุระนำเครื่องราชบรรณาการที่เหลืออยู่ส่งมายังกรุงศรีอยุธยา

ท้ายหนังสือลงไว้เรื่องการบอกเวลาไว้ว่า "วันพุธ เดือนแปดแรมสองค่ำ ปีเถาะนพศก ศักราช ๒๒๓๑"


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 15:08

ในทางพระศาสนา  ไทยเรามีการบอกศักราชกันมาช้านานแล้ว  ในเวลาพระลงอุโบสถทำสังฆกรรม  จะมีการสวดที่เรียกว่า "บอกศักราช" ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติพิธีกรรมตลอดมา  โดยเริ่มบอกวันเดือนปีแล้วจึงต่อด้วยพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้วเป็นเวลา...ปี  การบอกศักราชนี้น่าจะมีมาตั้งแต่ไทยเรารับพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ

ส่วนการนับศักราชของไทยเรานี้นับต่างจากอินเดีย  ตรงที่อินเดียเริ่มนับ ๑ นับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน  ส่วนไทยเราเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานครบปีแล้วจึงเริ่มนับ ๑
บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 16:08

ในทางพระศาสนา  ไทยเรามีการบอกศักราชกันมาช้านานแล้ว  ในเวลาพระลงอุโบสถทำสังฆกรรม  จะมีการสวดที่เรียกว่า "บอกศักราช" ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติพิธีกรรมตลอดมา  โดยเริ่มบอกวันเดือนปีแล้วจึงต่อด้วยพระพุทธศาสนกาลล่วงแล้วเป็นเวลา...ปี  การบอกศักราชนี้น่าจะมีมาตั้งแต่ไทยเรารับพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ

ส่วนการนับศักราชของไทยเรานี้นับต่างจากอินเดีย  ตรงที่อินเดียเริ่มนับ ๑ นับแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน  ส่วนไทยเราเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานครบปีแล้วจึงเริ่มนับ ๑

ขอบพระคุณครับ คุณ V_Mee เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 16:16

มีข้อมูลเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของการนับพุทธศักราชมาให้คุณ chounws ทราบเพิ่มเติม

จากคอลัมน์ "คัมภีร์จากแผ่นดิน"


หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ 57 ฉบับที่ 17638 วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤษภาคม 2549


ว่าด้วยเรื่อง พ.ศ.ผิด 60 ปี ตามเนื้อความว่าดังนี้


"การนับพุทธศักราช...เริ่มนับกันตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่กระนั้น ตัวเลขพุทธศักราช...ของบางประเทศ ก็ไม่ตรงกัน เหตุเพราะมีคติการนับที่ไม่เหมือนกัน


ตัวอย่างใกล้ตัว...ประเทศลังกา และพม่า ใช้หลัก เลข 544 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช แต่ประเทศไทย...ใช้หลัก เลข 543 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช


เพราะฉะนั้น พ.ศ.ของลังกา และพม่า จึงเร็วกว่าของไทยอยู่หนึ่งปี


ก็เป็นอันว่า เมื่อไทยนับว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 2499 ปี ลังกา พม่า ก็จะเป็น 2500 ปี


เหตุที่เป็นเช่นนี้ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร อธิบายไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ เบ็ดเตล็ด ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน...ว่า


เพราะพวกหนึ่ง นิยมนับปีย่าง...อีกพวกนับปีเต็ม


ตัวอย่าง นาย ค. อายุ 29 ปี 3 เดือน พวกที่นับเต็ม ก็จะนับว่า อายุ 29 ปีเต็ม พวกที่นับปีย่าง ก็จะนับว่า อายุ 30 ปีย่าง


เพราะความนิยมนับต่างกันแบบนี้ อาจารย์ประเสริฐ ท่านพบว่า ตัวเลข พระพุทธศักราช จึงเกินความจริงไป 1 รอบ หรือหกสิบปี


อาจารย์สันนิษฐานว่า อินเดียไม่ได้ใช้ พ.ศ.ติดต่อกันมาตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ใช้การนับเป็นรอบ รอบละ 60 ปีเรื่อยมา


จนมาเริ่มใช้ พ.ศ. ก็จะคำนวณกันว่า พระ พุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วกี่รอบ และเศษอีกกี่ปี


แต่เพราะวิธีนับรอบ ต่างกันเป็นสองพวก พวกหนึ่งนับรอบแบบอดีตล่วงไปแล้ว เช่น พ.ศ.80 ก็เรียกว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 1 รอบ กับ 20 ปี


แต่อีกพวก นับรอบใหม่ที่ย่างเข้า...เช่น พ.ศ.80 ก็ถือว่าเป็นปีที่ 20 ในรอบที่สอง


เมื่อพวกหนึ่ง...ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว รอบที่สอง ปีที่ 20 ก็เข้าใจว่า ล่วงไปแล้วสองรอบ กับอีก 20 ปี


จึงเรียกว่า พ.ศ.140 ผิดความจริงไปรอบหนึ่ง


ศาสตราจารย์ประเสริฐ บอกว่า การเรียก พ.ศ.ผิดนี้ เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ตามชินกาลมาลีปกรณ์ ระบุว่า พระเจ้าอโศกเสวยราชย์ ระหว่าง พ.ศ.214-255


ที่ทราบว่าผิดความจริง ก็เพราะพระองค์ส่งสมณทูตไปตามเมืองต่างๆ (กระทั่งสุวรรณภูมิ) เมืองเหล่านี้มีศักราชจดไว้แน่นอน เทียบศักราชดูแล้ว พบว่า นับ พ.ศ.มากเกินไป 1 รอบ คือ 60 ปี


แต่จะเปลี่ยนแก้ว่าปีนี้ สมมติ พ.ศ. 2539 ควรจะเปลี่ยนเป็น พ.ศ.2479 ก็ทำไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ที่จดไว้เมื่อ 60 ที่แล้ว ก็จดว่า พ.ศ.2479 ไปแล้วครั้งหนึ่ง."



ตกลงมันผิดไปรอบหนึ่งจริงหรือเปล่าครับผม แล้วมีผลต่อตำรามากน้อยแค่ไหนครับนี่


แนะนำให้อ่านเรื่องที่คุณวิกกี้อธิบายเกี่ยวกับ Chronology of the Buddhist Era เพิ่มเติม

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ ๒๔๙๖

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 16:38

มีข้อมูลเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของการนับพุทธศักราชมาให้คุณ chounws ทราบเพิ่มเติม

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 17:01

งั้นฉลอง 25 พุทธศตวรรต จะมีอีกไหมครับ
น่าจะจัดกันอีกสักครั้ง จะได้สนุกครึกครื้นกันอีก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 17:26

ตัวอย่างใกล้ตัว...ประเทศลังกา และพม่า ใช้หลัก เลข 544 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช แต่ประเทศไทย...ใช้หลัก เลข 543 บวกกับเลข ค.ศ. เป็นพุทธศักราช


เพราะฉะนั้น พ.ศ.ของลังกา และพม่า จึงเร็วกว่าของไทยอยู่หนึ่งปี


ก็เป็นอันว่า เมื่อไทยนับว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 2499 ปี ลังกา พม่า ก็จะเป็น 2500 ปี

ดูตัวอย่างศักราชของพม่าข้างล่างนี้

พม่าใช้ พ.ศ. เฉพาะเกี่ยวกับศาสนาเท่านั้นเรียกว่า "ศาสนศักราช"

ข้างล่างเป็นป้ายทองเหลืองบอกวันเดือนปีที่สร้าง เจดีย์อุปปตศานติ ที่ เนปิดอ เมืองหลวงใหม่

เทียบกัน ๓ ศักราช พ.ศ. - จ.ศ. - ค.ศ.



พ.ศ. ๒๕๕๒ = ค.ศ. ๒๐๐๙ ต่างกัน ๕๔๓ ปี เหมือนของไทย ทำไมไม่เร็วกว่า

ใครอธิบายได้บ้างว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้

เรื่องนี้มีคำตอบ


 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
chounws
ชมพูพาน
***
ตอบ: 121



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ธ.ค. 12, 21:55

ขอสงสัยต่อนะครับ
แล้วทางอินเดียเองล่ะ โดยเฉพาะก่อนฝรั่งอังกฤษมาครอบครอง ใช้ปีอย่างไร
แล้วทางเขมร กับ ทางใต้เช่นมาเลย์กับอินโดฯ
คงไม่ถามเยอะไปนะครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 ธ.ค. 12, 08:57

พ.ศ. ๒๕๕๒ = ค.ศ. ๒๐๐๙ ต่างกัน ๕๔๓ ปี เหมือนของไทย ทำไมไม่เร็วกว่า

ใครอธิบายได้บ้างว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้

เรื่องนี้มีคำตอบ


โปรดสังเกตวันที่ปรากฏในแผ่นทองเหลืองคือ "วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๙"

พม่าเปลี่ยนศักราชหลังสงกรานต์ในเดือนเมษายนเหมือนไทยสมัยก่อน

ดังนั้นในพม่า  พ.ศ. - ค.ศ. = ๕๔๔  ก็ต่อเมื่อหลังสงกรานต์

ปฏิทินพม่าแสดงการเปลี่ยนศักราช (จ.ศ.) ในเดือนเมษายน

พม่าเปลี่ยนศักราชวันสงกรานต์ในเดือนเมษายนเหมือนกัน

ตัวเลขพม่าในกรอบสีน้ำเงินบนขวาคือ ๑๓๗๓-๗๔

สงกรานต์พม่าหยุดงานกันเป็นสัปดาห์



พ.ศ. ก็ทำนองเดียวกัน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ธ.ค. 12, 09:42

ในแต่ละประเทศนิยมใช้ศักราชกันอย่างไร อาจจะดูได้จากการใช้ในหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ไทยใช้พุทธศักราชแน่นอน แต่ในประเทศเพื่อนบ้านเราดูจะไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

ตัวอย่างหนังสือพิมพ์พม่า

จุลศักราชเป็นศักราชของพม่า ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่

ตัวอย่างประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีของพม่าในหนังสือพิมพ์ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๒ ตรงกับ 5 th Waxing of Tabodwe 1373 ME

5 th Waxing of Tabodwe  คือ ขึ้น ๕ ค่ำ

ME คือ Myanmar Era หรือ จุลศักราช นั่นเอง




ยังคงใช้จุลศักราชหรือศักราชพม่ากันอยู่

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ธ.ค. 12, 12:59

หนังสือพิมพ์กัมพูชา ใช้คริสตศักราช ไม่ใช้พุทธศักราชแฮะ

โปรดสังเกตตัวเลข เลขไทยกับเขมรเหมือนกันทุกตัว เหตุเพราะเรายืมเขมรก็ใช้นั่นเอง

แต่สัตว์หิมพานต์ ๒ ตัว ที่ยืนขนาบชื่อหนังสือพิมพ์ หน้าตาคุ้น ๆ น่าจะยืมของไทยเรา เอาไปใช้

 ยิงฟันยิ้ม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง