เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13]
  พิมพ์  
อ่าน: 83417 เก็บตกจากโต๊ะอาหาร
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 16 มี.ค. 13, 21:46

เดี๋ยวนี้ จากทุกด่านในเมืองไทยสามารถเดินทางโดยรถยนต์ไปนครวัตได้ พอใกล้ๆเสียมราช จะเห็นภาพเช่นนี้ครับ
เป็นการจับแมลง หาโปรตีนจากฟ้ามาเป็นอาหาร

เมืองอื่นในเขมรที่ไม่ได้ทำอย่างนี้ ก็เพราะยังไม่มีไฟฟ้าของรัฐบาลบริการครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 16 มี.ค. 13, 22:02


จำเรื่องเล่าสมัยก่อนได้เรื่องหนึ่ง ในยุคสมัยจอมพลสฤษดิ์  จะจริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ  มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีฝูงห่าตั๊กแตนปาทังก้ามางกินพืชไร่ในภาคอิสาน พืชผลเสียหายเป็นจำนวนมากมาย  ก็มีคนลองเอาตั๊กแตนไปทอดกิน ความอร่อยก็ขยายต่อปากต่อปาก และขยายไปทางสื่อหนังสือพิมพ์  ปีต่อมา ชาวบ้านเลยเอาตาข่ายมาขึงดักจับไปกิน  ปาทังก้าที่ว่าร้ายนักสู้ไม่ไหว เลยไม่ยอมมาเป็นฝูงห่าให้เห็นอีกเลย  ทราบว่าปัจจุบันนี้ก็ยังใช้วิธีนี้ดักจับอยู่ แต่ก็ได้ปริมาณไม่มากนัก  ราคาตั๊กแตนทอดจึงสูงหน่อย  คุยกับแม่ค้าแถวพัทยา เขาบอกว่าบางที่ก็ขาดตลาดเหมือนกัน

ดิฉันก็เคยอ่านพบเหมือนกันว่า  เป็นวิธีปราบตั๊กแตนปาทังก้าที่ได้ผลแบบรัฐบาลและกระทรวงเกษตรนึกไม่ถึง     คือเอามาเป็นอาหารจานเด็ดเสียเลย    แต่ที่มีหลักฐานอีกอย่างคือหนูนาที่ลงกินข้าวในนา ปราบกันไม่หวัดไม่ไหวสมัยยุคจอมพลถนอม    ทางการมีนโยบายให้ชาวบ้านเอามากินได้ บอกว่าสะอาดปลอดภัย เพราะมันกินแต่ข้าวในนา   ไม่สกปรกเป็นพาหะกาฬโรคเหมือนหนูบ้าน   ถึงกับตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "กระต่ายนา"     มีผู้ว่าฯนักพัฒนาท่านหนึ่งสร้างผลงาน ย่างกระต่ายนาพวกนี้ เอาไปส่งถึงทำเนียบ  สื่อเล่นข่าวกันหน้าหนึ่งทีเดียว   ตอนนี้ไม่ได้ข่าวเรื่องกระต่ายนามานานเต็มที  ไม่รู้ว่าแพ้ราบไปแบบเดียวกับตั๊กแตนหรือเปล่า

เคยมีคนถามไปทางหนังสือพิมพ์เหมือนกันว่าหอยเชอรี่ กินได้ไหม    ถ้าเอามากินได้เหมือนยำหอยแครง  เห็นทีจะปราบได้อยู่หมัดอีกชนิดหนึ่ง     ข้อนี้ถ้าคุณตั้งไม่เคยกินหอยเชอรี่   เห็นจะต้องส่งคำถามต่อไปยังซายาเพ็ญชมพูละค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 21:32

หอยเชอรี่ กินได้นะครับ ผมไม่เคยลอง ทราบแต่ว่ามีทำกินกันในภาคเหนือและอีสาน   ที่จริงแล้วคงไม่ต้องเก็บมาทำอาหารหรอกครับ หอยนี้เอาไปทำปุ๋ยอินทรีย์ (น้ำหมัก) ได้อย่างดี  หากเกษตรอินทรีย์บูมจริงๆ ก็คงจะหมดไปได้เหมือนกัน ชาวบ้านเก็บขายตามสั่งกันก็พอมีอยู่บ้าง กิโลกรัมละ 1-3 บาท

เรื่องการกินโปรตีนจากสัตว์น้ำจืดนี้ ผมจะระวังมากเป็นพิเศษ คือจะต้องทำให้สุกจริงๆก่อนรับประทาน สัตว์น้ำืจืดเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ตัวเราที่สำคัญมากประเภทหนึ่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 23 มี.ค. 13, 22:07

ซูชิและชาซิมิของญี่ปุ่นเกือบจะไม่มีปะหน้าด้วยเนื้อจากสัตว์น้ำจืดเลย   ปลาไหลญี่ปุ่นซึ่งเป็นปลาน้ำจืด เมื่อจะเอามาปะหน้าซูชิ ก็ัยังต้องทำให้สุก (เล็กน้อย) เสียก่อน เคยเห็นสารคดีอยู่ครั้งเดียวที่กล่าวถึงการเอาปลาน้ำจืดบางชนิดมาทำซูชิ 

เห็นเขาทำปลาไหลแล้วแทบจะกินไม่ลง  เอาตัวเป็นๆมาล้างน้ำ เสร็จก็เอามาวางหงายท้องบนเขียงไม้ เอามีเล็กปลายแหลมปักลงที่ส่วนคอยึดไว้กับเขียง จากนั้นก็จัดการลอกคราบ ผ่าท้อง ควักใส้  ตัดหัวแล้วก็เอาไปเสียบเหล็กย่างไฟ   คงจะเ้ว้นวรรคไม่เล่าวิธีการทำกับกุ้ง หอย ปู ปลา อื่นๆนะครับ หรืออยากจะฟังก็ได้

ที่เคยลองของแปลกอีกอย่างหนึ่งก็คือ เนื้อสันคอลูกม้าแบบเนื้อดิบ เอามาสไลด์บางแล้วจิ้มซีอิ๊วกับวาซาบิกิน เป็นของแพงและหากินยาก  อย่าไปลองเลยนะครับ ผมว่าออกไปทางคาวและเหนียวเล็กน้อย    แต่หากอยากจะลองเนื้อดิบแบบมีระดับหน่อย ก็ลองสั่ง Steak Tartare (ที่ใช้เนื้อวัว ไม่ใช่เนื้อม้า) มากิน ก็อร่อยปากแบบเกรงๆความดิบ พร้อมๆกับรู้สึกในความเถื่อนของตน

เรื่องอาหารแบบญี่ปุ่น ก็คงพอมีเรื่องเล่าไปได้เรื่อยๆ   ผมว่าจะขอพอไว้ก่อน เพื่อไปโต๊ะอาหารอื่นๆบ้าง 
แต่ก่อนจะเปลี่ยนโต๊ะไปอาหารอื่นๆ  จะขอปิดท้ายกับข้อพึงระวังและพึงรู้ สองสามอย่าง คือ สำรับอาหารชุดสุดท้ายของอาหารญี่ปุ่นจะเป็นข้าว กินกับผักดอง และซุปมิโสะ ซึ่งหากจัดมาเป็นถาดสำหรับแต่ละคน ให้ระวังไว้ด้วยนะครับ ถ้วยข้าวมักจะถูกจัดวางไว้ทางซ้าย ส่วนถ้วยซุปจะวางไว้ดานขวาของถาด ระวังมือและข้อศอกจะไปปัดเกี่ยวถ้วยซุปเอา  ซุปนั้นใช้วิธียกซดจากปากถ้วย   ก่อนจะลงมือตักข้าวเข้าปาก ควรจะเปิดถ้วยซุป เอาตะเกียบคนเล็กน้อย นัยว่าไม่ให้นอนก้น จะยกซดเลยสักเล็กน้อยหรือไม่ก็ได้  แท้จริงแล้วเป็นวิธีการทำให้ตะเกียบเปียกน้ำ เื่มื่อตักข้าวจะได้ไม่ติดตะเกียบ ไม่ต้องเสียมารยาทเอาปากดูดหรือรูดข้าวจากตะเกียบ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 24 มี.ค. 13, 11:31

มาสายครับ ดีกว่าไม่เข้าชั้นเรียน

ตั๊กแตนนี่อันตรายมากนะครับ ลองฉีกท้องดู ตั๊กแตนตัวเป็นๆ นี่ 5 ใน 10 ตัวมีพยาธิหนอนตัวกลม (nematode) อยู่ สมัยที่เรียนก็ได้ตั๊กแตนนี่แหละครับ หาจับง่าย แต่เวลาเอามาทอดแล้วคนกินไม่รู้ กรอบๆ มันๆ เหมือนกันเพราะพยาธิก็เป็นโปรตีน แถมตัวโตอีกด้วย โชคดีอย่างหนึ่งที่พยาธิพวกนี้ไม่ได้เป็นตัวเต็มวัย ต้องออกจากท้องตั๊กแตนก่อน แล้วลอกคราบอีกครั้งในดินถึงจะเป็นตัวเต็มวัยได้ ไม่อย่างนั้นคงน่ากลัวมากที่มีพยาธิตัวเมียไข่เต็มท้อง กินเข้าไปนับไข่ได้เลยครับว่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ใบ แตกกระจายในปาก นึกแล้วสยอง นับว่าธรรมชาติยังปราณีอยู่ไม่น้อย
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 24 มี.ค. 13, 11:49

Nematode ในตัวตั๊กแตนถ้ากินเข้าไปจะเป็นอะไรหรีือเปล่า?  ผมไม่แน่ใจ ขึ้นกับชนิดของ nematode  ขึ้นกับว่าคนเป็น host ของ nematode ชนิดนี้หรือเปล่า  ใข่ไปเจอ HCl ในกระเพาะก็อาจตายหมด แล้วยังไปโดน enzyme อื่นๆอีก อาจไม่มีอันตรายต่อคน
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 24 มี.ค. 13, 14:48

พูดถึงพยาธิแล้วนึกขึ้นได้   มีอาจารย์ทางชีวฯ เล่าให้ฟังว่าในผักกระเฉดหรือผักบุ้งที่เก็บจากริมคลองที่แม่ค้าแถมมากับส้มตำนี่ก็มีพยาธิเยอะ ยิ่งในผักกระเฉดนี่เยอะมาก ไม่ควรกินดิบๆ หรือลวกผ่านๆ เด็ดขาด แกเล่าว่าถ้าส่องกล้องดูจะเห็นตัวอะไรในน้ำยั้วเยี้ยไปหมด   เล่นเอาบ้านผมไม่กล้ากินจนถึงปัจจุบันเลย เพราะถ้าทำสุกมากมันจะไม่กรอบอร่อย     ขยิบตา
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 24 มี.ค. 13, 20:39

ถ้าใช้ทำแกงส้มคงไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่แค่ลวกผัก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 25 มี.ค. 13, 09:41

มาสายครับ ดีกว่าไม่เข้าชั้นเรียน

ตั๊กแตนนี่อันตรายมากนะครับ ลองฉีกท้องดู ตั๊กแตนตัวเป็นๆ นี่ 5 ใน 10 ตัวมีพยาธิหนอนตัวกลม (nematode) อยู่ สมัยที่เรียนก็ได้ตั๊กแตนนี่แหละครับ หาจับง่าย แต่เวลาเอามาทอดแล้วคนกินไม่รู้ กรอบๆ มันๆ เหมือนกันเพราะพยาธิก็เป็นโปรตีน แถมตัวโตอีกด้วย โชคดีอย่างหนึ่งที่พยาธิพวกนี้ไม่ได้เป็นตัวเต็มวัย ต้องออกจากท้องตั๊กแตนก่อน แล้วลอกคราบอีกครั้งในดินถึงจะเป็นตัวเต็มวัยได้ ไม่อย่างนั้นคงน่ากลัวมากที่มีพยาธิตัวเมียไข่เต็มท้อง กินเข้าไปนับไข่ได้เลยครับว่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ใบ แตกกระจายในปาก นึกแล้วสยอง นับว่าธรรมชาติยังปราณีอยู่ไม่น้อย
เห็นภาพตามไปด้วยแล้วขนลุก
แต่...
เดี๋ยวนี้  นักวิชาการไทยเขาผลิตตั๊กแตนไว้บริโภคกันเป็นล่ำเป็นสันแล้วค่ะ

ารเพาะเลี้ยงตั๊กแตนลายเป็นผลงานเพื่อเกษตรกรของภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันมีนักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญ ประกอบด้วย อาจารย์ทัศนีย์ แจ่มจรรยาและ อาจารย์ชาญชัย ถาวรอนุกูลกิจ อาจารย์ทั้งสองท่านและทีมงานได้เห็นความสำคัญของการนำแมลงที่กินได้ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาทำการศึกษาเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพของเกษตรกรและผู้สนใจ

อาจารย์ทัศนีย์และอาจารย์ชาญชัย ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงตั๊กแตนว่า ในบรรดาแมลงกินได้ ตั๊กแตนหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กุ้งฟ้า ได้รับความนิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.91 สำหรับผู้ขายได้แยกชนิดแมลงออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความนิยมของลูกค้า โดยในกลุ่มแรกจะมีตั๊กแตน รถด่วน ดักแด้หนอนไหม กลุ่มที่สอง เป็นแมลงกระชอน จิ้งหรีด แมลงตับเต่า หนอนไหม จิโป่ม ส่วนกลุ่มที่สามเป็นแมงกินูน กุดจี่ จักจั่น การกินแมลงนอกจากจะได้รสชาติแล้ว ยังได้คุณค่าทางอาหาร โดยตั๊กแตนมีโปรตีน 16-25 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักสด)


http://farmfriend.blogspot.com/2011/12/blog-post_24.html


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 27 มี.ค. 13, 23:33

พวกสัตว์ในตะกูลที่มีเปลือกหุ้มตัวนี้ (Arthropods) แท้จริงแล้วมนุษย์เอามันมากินเป็นอาหารอยู่มากมาย เช่น บรดากุ้งและปู ชนิดและพันธุ์ต่างๆ    เอาผลงานที่มันทำมากินก็มี เช่น น้ำผึ้งทั้งหลาย   เอาสารจากตัวของมันมาใช้ประโยชน์ เช่น ครั่ง และสีจากแมลงชนิดหนึ่งที่ใช้ในลิปสติกและเครื่องสำอางค์     เอาตัวอ่อนของมันมากิน เช่น หนอนไหม หนอนไม้ไผ่ (รถด่วน)    ตอนนี้ก็เริ่มขยับขยายไปกินอย่างจริงจังกับพวกที่เรากินเ่ล่นๆ (แมลงต่างๆ) ในบางวาระและโอกาส

ผมมีความรู้สึกเกี่ยวกับการกินพวกแมลงอยู่อย่างหนึ่งว่า ตัวเนื้อในของมันคงมีรสชาติพอกินได้ แต่ที่มันทำให้คนส่วนมากกินไม่ค่อยอยากจะกินมันก็เพราะเปลือกที่หุ้มตัวมันนั้น  ดังนั้น หากจะสามารถวิจัยไปในเรื่องการทำให้เปลือกของมันนิ่มได้ หรือทำให้รู้สึกว่าไม่มีกากจากเปลือก คล้ายกับกุ้งนิ่ม และปูนิ่ม ผมว่า เืมื่อนั้น คนก็คงจะลองกินมากขึ้น ซึ่งจทำให้การเพาะในเชิงของการค้าเริ่มเป็นจริงได้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 27 มี.ค. 13, 23:36

ไปโต๊ะกิมจิกันดีไหมครับ   พรุ่งนี้ค่อยต่อนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 28 มี.ค. 13, 21:56

ได้กล่าวมาบางส่วนแล้วว่า เกาหลีใช้ตะเกียบสั้น ยาวประมาณหนึ่งคืบ เป็นโลหะ ด้ามค่อนข้างจะแบน และค่อนข้างจะเล็ก (ขนาดใหญ่กว่าไม้เสียบลูกชิ้นปิ้งเล็กน้อย)

ผมเคยนั่งในโต๊ะอาหารซึ่งรัฐบาลเกาหลีจัดเลี้ยงหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศสมาชิกองค์กรหนึ่ง ก่อนการเปิดการประชุม  ก็เป็นการจัดแบบโต๊ะจีน   การเสิร์ฟอาหารมิได้มาเป็นขบวนต่อเนื่องแบบจีน และแต่ละจานก็ไม่ใหญ่มากมายเท่ากับของจีน  เป็นอาหารมื้อเย็น   ในโต๊ะนี้เองจึงได้ทราบว่า กิมจิของเกาหลีนั้นมีมากมายหลากหลายจริงๆ อาหารแต่ละอย่างก็จะมาพร้อมด้วยกิมจิอย่างหนึ่ง ที่จำได้เป็นดังนี้

เริ่มต้นด้วยการเสิร์ฟซุปในหม้อไฟ (หยวนโล้เล็กๆ) สำหรับแต่ละคน เป็นซุปน้ำใส จำได้ว่ามีเห็ดหอม มีแปะกวย เกาลัด? และอื่นๆ (จำไม่ได้)  แล้วก็มีกิมจิสำหรับแนม นึกไม่ออกว่าเป็นอะไร  อาหารเมนูต่อไปเป็นจานกลาง เป็นกิมจิปู กินโดยการตักใส่่ผักกาดหอม ห่อแล้วกิน เมนูนี้รสชาติอร่อยดี แนมด้วยกกิมจิน้ำ ที่ยกมาเป็นถ้วย (ขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของชามก๋วยเตี๋ยว) มีลักษณะเป็นน้ำใส เหมือนน้ำส้มปรุงรสดองผักกาดขาวปลี ในชามมีผักกาดขาวปลีลอยมาหนึ่งชิ้น อันนี้กินแบบซดน้ำ แปลกดี จากนั้นจึงเป็นเนื้อย่าง เป็นเนื้อที่แล่บางจนเหมือนกระดาษพันอยู่รอยกระดูกซี่โครงที่ตัดมาเป็นท่อนๆยาวประมาณนิ้วถึงนิ้วครึ่ง ไ่ม่ทราบว่าเขาทำได้อย่างไรจึแล่ได้บางขนาดนั้น ปริมาณที่เสิร์ฟก็คนละสองถึงสามท่อน ย่างแล้วก็จิ้มน้ำกินกับผักห่อ เหมือนที่เราเห็นกันตามร้านอาหารเกาหลีทั่วไป สำหรับกระดูกนั้น ก็ย่างให้สุกแล้วดูดกินไขกระดูก  ผักที่ห่อนี้มีสองสามชนิด แต่ที่กินได้รสชาติทางมันคือใบต้นงา (ไม่แน่ใจครับ) คราวนี้กิมจิที่ให้มาสำหรับแนมจะเป็นหัวผักกาดหั่นเป็นก้อนๆ กิมจิผักกาดขาว และกิมจิแบบอื่นๆอีกสองสามอย่าง  ตบท้ายด้วยข้าวผัดกินกับกิมจิหัวผักกาด หั่นเป็นแว่นๆสีเหลือง รสชาติมีรสหวานแทรก

นอกจากคุยกันเรื่องการประชุมเกี่ยวกับวาระและเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้มาหารือหรือผลักดัน เพื่อจะได้รู้ตัวกันและเตรียมความเห็นและคำตอบให้เหมาะสม (เป็นลักษณะการเลี้ยงแบบกึ่งทางการ เรียกกันหลายแบบ เช่น Head of Delegates Meeting หรือ Working Dinner เป็นต้น เป็นการเลี้ยงเฉพาะหัวหน้าคณะผู้แทนก่อนการเปิดประชุมในวันรุ่งขึ้น  ส่วนการเลี้ยงรับรองคณะบุคคลที่เข้าร่วมประชุมจะเป็น Reception ที่มักจะจัดในเย็นวันแรกของการประชุม) ก็คุยกันในโต๊ะอาหารเรื่องกิมจิ ทำให้รู้ว่ามีมากมายจริงๆ ไม่จำกัดเฉพาะผักใบและผักหัว แต่ละบ้านก็จะมีสูตรการหมักของตนเอง
   
ในระหว่างการประชุม 7 วัน ผมก็ถึงบางอ้อว่าทำไมเกาหลีจึงทำกิมจิกันอย่างจริงจัง และจะเป็นกิมจิประเภทผักหัวมากกว่าผักใบ   แน่นอนว่าเป็นเรื่องของการเก็บถนอมอาหาร   ที่มาคือ เกาหลีเป็นประเทศในเขตอากาศหนาวเย็น ปริมาณฝนไม่มาก ตั้งอยู่บนผืนดินที่เป็นหินแกรนิตผุเกือบทั้งหมด ลักษณะทางธรณีวิทยาเช่นนี้ทำให้ขาดแคลนน้ำผิวดินอย่างมาก สภาพของพื้นที่จะคล้ายกับพื้นที่บนเส้นทางระหว่าง อ.สามเงา กับ อ.แม่พริก ของ จ.ตาก  ฤดูการปลูกสั้นและจำกัดมาก การเพาะปลูกพืชใบทำได้ยากสู้ปลูกพวกพืชหัวไม่ได้  การถนอมอาหารประเภทพืชผักจึงมีความจำเป็นมาก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 01 เม.ย. 13, 23:37

ท่านที่เคยไปเที่ยวเกาหลีมาแล้ว คงจะได้ลิ้มลองอาหารเกาหลีแท้ๆกันบ้าง

ผมว่าอาหารประจำวันของเขามีรสชาติที่จำกัดมากๆ  ไม่ว่าจะแกง จะต้ม จะผัด เกือบทั้งหมดก็จะต้องใส่พริกดองแบบที่ตำใส่ผักกิมจิ 

นอกจากเนื้อย่างเกาหลีที่ัทัวร์จะพาไปกินเป็นปรกติแล้ว  หากไปครั้งต่อไป ลองขอให้ทัวร์พาไปทานไก่ยัดใส้ข้าวเหนียวกับโสมตุ๋นดูครับ (ผมอาจจะเชยไปแล้วที่แนะนำเช่นนี้)  เขาใช้ไก่กระทงทั้งตัว ยัดใส้ด้วยข้าวเหนียวและโสมขนาประมาณนิ้วชี้หนึ่งแท่ง คนเกาหลีกินกันคนละตัว ร้านจะเสิร์ฟโดยใส่ในหม้อขอบเตี้ยพร้อมน้ำแกง (ตุ๋นสุกมาแล้ว) วางบนเตาไฟถ่าน   อาหารนี้คงจะดังมากเอาการอยู่ (ผมไม่ทราบว่านานมากเพียงใด) จนในปัจจุบันมีการทำเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากจากเกาหลี มีขายในสนามบินด้วย    ในร้านที่ขายไก่ตุ๋นนี้จะมีตุ๋นปลาด้วย เวลากินจะต้องเอาผักชีล้อม (เป็นกำเลย) ใส่ลงในหม้อ เอาพริกตำดองราดลงไป พอผักยุบลง สุกดีแล้วก็กินได้ กิมจิที่แนมก็จะเป็นกิมจิผักกาดหรือกิมจิหัวผักกาดสีเหลือๆหั่นเป็นแว่นๆ    ลองทานดูครับ ด้วยตะเกียบโลหะที่สั้น ต้องคีบฉีกเนื้อไก่หรือปลาในหม้อต้มน้ำเดือดๆ  ร้อนมือที่จับถ้วยข้าว ร้อนมือที่จับตะเกียบ และร้อนไอน้ำที่ลอยออกมาขณะคีบกับข้าว ได้อรรถรสดีครับ 

ผมแปลกใจอยู่อย่างนึง คือ การใช้ผักชีล้อม (ผมคงเรียกชื่อไม่ผิดนะครับ ชอบสับสนกับผักชีลาวหรือผักชีฝอย (Dill))  ซึ่งเกาหลีคงจะต้องปลูกกันมากเพื้่อป้อนตลาด หรือจะเป็นการนำเข้าก็ไม่ทราบ  ไม่รู้ว่าเป็นผักประจำชาติที่นิยมกินกันมานานแล้ว หรือเพิ่งจะนิยมกัน      คนไทยในอีสานเป็นกลุ่มคนที่กินผักชีล้อมกันมากกว่าภาคอื่นๆ แนมกับลาบอร่อยดีนักแล   คนหนุ่มสาวในปัจจุบันคงจะไม่ค่อยรู้จักผักชนิดนี้แล้ว  เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นง่าย ซื้อมาชำกับดินในอ่างน้ำก็รากงอกและขยายกิ่งก้านสาขาออกไป
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง