เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 83427 เก็บตกจากโต๊ะอาหาร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 17:48

มาฟังเรื่องภาษามือ เดาว่ามือบนโต๊ะอาหาร ค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 18:56

เรื่องของกระทู้นี้มีต้นทางมาจากเรื่องของการจัดโต๊ะอาหารแบบเต็มที่ (full table setting) และคำว่า Grand dinner

ก็จะขอเริ่มด้วยการขอทำความเข้าใจให้ตรงกันในสองสามคำ  

คำว่า Grand dinner  คำๆนี้ ในความเห็นของผม เป็นคำเรียกรวมๆในความหมายว่าเป็นอาหารมื้อใหญ่ เป็นอาหารมื้อเย็นที่จัดขึ้นในลักษณะเป็นเรื่องของการจัดรับรองแบบส่วนตัว (แต่อยู่ในรูปที่มีแบบแผนทางพิธีการ) ซึ่งการจัดนั้นแฝงไปด้วยผลที่ประสงค์จะพึงได้รับของฝ่ายเจ้าภาพ (เป็นการลอบบี้ เนื่องจากแทบจะเป็นการบังคับให้นั่งอยู่กับที่เพื่อใ้ห้เกิดมีการพูดคุยอยู่ตลอดเวลา)     เป็นคำที่ฝ่ายเจ้าภาพใช้เรียกสำหรับการเตรียมหรือการจัดเลี้ยงอาหารมื้อนั้นๆว่าเป็นมื้อใหญ่พิเศษ ประสงค์เพื่อให้เกิดความประทับใจกับแขกผู้มาเยือน    เป็นเรื่องของการจัดเลี้ยงต้อนรับในงานทางการทูตในสมัยโบราณ (ซึ่งการปกครองยังเป็นระบบนครรัฐ) เพื่อแสดงถึงความมีสถานะ (ทั้งด้านอำนาจและความมั่งมีของสถานะทางสังคม)     และสุดท้าย เป็นงานเลี้ยงในลักษณะของการ entertain ในบรรยากาศของการผ่อนคลายมากกว่าจะเป็นเรื่องทางพิธีการที่พึงปฏิบัติต่อกัน     งานเลี้ยงในลักษณะนี้  ผมเห็นว่าได้ค่อยๆแปรเปลี่ยนสภาพไปหลังจากยุค The Congress of Vienna (หลัง ค.ศ.1814 เป็นต้นมา อันนี้เดาเอาครับ) คำว่า Grand diner นี้ จึงไม่ค่อยจะได้ยินกันในปัจจุบัน กลายเป็นการใช้คำอื่นๆเช่น State dinner หรือ State Banquet เป็นต้น    ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องของ Grand dinner ในความหมายของมันแล้ว  เพราะเมนูอาหารที่จะเสิร์ฟถูกจำกัดตัดให้สั้นลงและให้เหมาะสมกับเวลาประมาณไม่เกิน 2 ชั่วโมง กลายเป็นเรื่องของการเลี้ยงอาหารแบบจัดให้ดูมีครบตามสูตรตามธรรมเนียมที่เจ้าภาพพึงปฏิบัติในการรับแขก

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 21:45

ดังที่คุณตั้งว่าไว้ครับ การจัดโต๊ะแบบที่ผมนำมาแสดงจะเรียกว่า Gala Dinner มากกว่า เอกชนก็จัดกันได้ในโอกาสที่เป็นพิธีการต่างๆ  และส่วนใหญ่ในงานเลี้ยงระดับนี้ เจ้าภาพจะระบุ Dress Code หรือการแต่งกายว่าให้แต่ง Black Tie ผู้ชายสวมแจ๊กเก็ตดำที่มีปกเป็นผ้ามันๆ ผูกหูกระต่ายดำ ส่วนผู้หญิงจะแต่งชุดราตรีสโมสรที่ออกโทนดำเข้าๆกันไปกับผู้ชาย

ผมมีประสพการณ์ในงานเลี้ยงระดับGala Dinnerที่ฝรั่งเศส เจ้าภาพออกบัตรเชิญในเวลา๒๐.๐๐ แขกส่วนใหญ่กว่าจะประชุมเสร็จ กลับมาโรงแรม อาบน้ำแต่งตัว ขึ้นรถบัสที่เจ้าภาพจัดมารับจากโรงแรมที่พัก ไปยังโรงแรมที่จัดงาน ผมและภรรยาไม่มีเวลาหาอะไรรองท้องเลย พอไปถึง เขาให้เข้าไปรวมกันในห้องโถงใหญ่ก่อนเพื่อดื่มสังสรร แบบที่เรียกว่าCock tail ไม่เหมือนที่บ้านเราจัดในงานแต่งงานนะครับ ของเราอาหารเพียบ แต่ของเขามีของขบเคี้ยวแค่ถั่งลิสงอบเนย ผมต้องคว้ามารองท้องก่อนละ หิวจะแย่ สังเกตุว่าพวกฝรั่งจะเอนจอยมากกับการดื่มไปคุยไป ส่วนคนเอเซียก็จะจับกลุ่มคุยกันแบบปรับทุกข์ว่าเมื่อไหร่เจ้าภาพจะนำเข้าห้องอาหารเสียทีหนอ ผมกับภรรยาเป็นคนไทยคู่เดียว แต่เข้ากับพวกญี่ปุ่นกับสิงคโปรได้เป็นก๊วน  คืนนั้น กว่าประตูห้องอาหารจะเปิดปาเข้าไปห้าทุ่ม หิวจนตาลาย ยังไม่ทันรู้ว่าที่เขาเสริฟมาอร่อยหรือไม่อร่อยก็เกลี้ยงจานเสียแล้ว

จึงอยากนำมาเขียนเล่าไว้ ธรรมเนียมโดยเฉพาะของชาวฝรั่งเศสในงานเลี้ยงกาลาดินเน่อร์เป็นดั่งนี้ ฉะนั้น ถ้าใครเกิดมีโอกาสจะต้องไปในงานของเขา ในประเทศของเขา ก่อนไปต้องหาอะไรรองท้องไว้ก่อน อย่าให้เกิดทุกขเวทนาที่ไม่จำเป็น ผมไม่เคยทราบ และไม่มีใครบอกล่วงหน้าว่าจะต้องมาเจอสถานการณ์เช่นนี้ ครั้นรู้ก็สายเสียแล้ว และไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกเลย


รูปประกอบคือรูปที่เอามาพอเป็นแนวจินตนาการนะครับ รูปจริงๆของผมไม่ค่อยแจ่มเท่าไหร่ หน้าก็บ่จอย เอามาโชว์ไม่ได้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ธ.ค. 12, 23:04

black tie กับ tuxedo อย่างในภาพข้างล่างนี้ เหมือนกันไหมคะ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 06:18

ว้าาาา   ท่านอาจารย์เทาชมพูเอารูปผมมาลงประกบกับอีตาเจมส์ บอนด์ทำไมครับ เดี๋ยวคนก็หมั่นไส้ผมกันพอดี
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 08:03

เรื่องการแต่งตัวผมไม่ค่อยสันทัดที่จะแยกแยะ และสองคำข้างต้นพอจะหาในวิกี้ได้ แต่ผมคิดว่าไกลเกินสำหรับคนไทยที่จำเป็นต้องรู้ ผู้ที่วงจรชีวิตจะต้องมีโอกาสให้ไปเกี่ยวข้องกับเขาบ้าง ก็ตัดBlack Tieสีดำไว้สักชุดหนึ่ง เอาไว้ใช้เหมือนเครื่องแบบ เช่นนายทหารที่มีชุดราตรีสโมสรชุดเดียว ใช้ได้ทุกงาน

ชุดTuxedoที่พ่อเจมส์ บอนด์(ตัวจริง)ปรากฏตัวใหม่ๆในจอเงิน จะใส่ทักสิโด้สีขาวนวล กางเกงดำไม่ติดแถบ ผมเป็นหนุ่มในสมัยแฟชั่นยุคนั้น เห็นพวกผู้ชายสวมกันในงานโฮโซเกลื่อนไปหมด และเข้าใจว่า เวลากล่าวถึงBlack Tieก็หมายถึงเสื้อดำกางเกงดำติดแถบดำ หากกล่าวถึงTuxedoก็หมายถึงเสื้อขาวนวลแบบพระเอกหนัง007 นี่เฉพาะเวลาจะใส่ออกงานนะครับ ถ้าเป็นTuxedoสีอื่นอาจจะไปเหมือนบ๋อยโรงแรมหรือพวกนักแสดงได้ง่ายๆ

ยุคปัจจุบัน งานคล้ายกันที่จัดในเมืองไทย คนแต่งสูทผูกเนคไทธรรมดาๆกันหมดแล้ว คนแต่งBlack TieหรือTuxedo จะเห็นมีก็แต่พวกกรรมการจัดงานเท่านั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 08:45

อ้างถึง
ซึ่งการจัดนั้นแฝงไปด้วยผลที่ประสงค์จะพึงได้รับของฝ่ายเจ้าภาพ (เป็นการลอบบี้ เนื่องจากแทบจะเป็นการบังคับให้นั่งอยู่กับที่เพื่อให้เกิดมีการพูดคุยอยู่ตลอดเวลา)
 

อ้างถึง
เขาให้เข้าไปรวมกันในห้องโถงใหญ่ก่อนเพื่อดื่มสังสรร แบบที่เรียกว่าCock tail ไม่เหมือนที่บ้านเราจัดในงานแต่งงานนะครับ ของเราอาหารเพียบ แต่ของเขามีของขบเคี้ยวแค่ถั่งลิสงอบเนย ผมต้องคว้ามารองท้องก่อนละ หิวจะแย่ สังเกตุว่าพวกฝรั่งจะเอนจอยมากกับการดื่มไปคุยไป ส่วนคนเอเซียก็จะจับกลุ่มคุยกันแบบปรับทุกข์ว่าเมื่อไหร่เจ้าภาพจะนำเข้าห้องอาหารเสียทีหนอ ผมกับภรรยาเป็นคนไทยคู่เดียว แต่เข้ากับพวกญี่ปุ่นกับสิงคโปรได้เป็นก๊วน  คืนนั้น กว่าประตูห้องอาหารจะเปิดปาเข้าไปห้าทุ่ม หิวจนตาลาย

ผมคิดว่าเรื่องที่คุณตั้งกล่าวกับเรื่องของผมเป็นเรื่องของวัตถุประสงค์เดียวกัน

ในงานที่ผมไปนั้น Gala Dinnerจะจัดในวันสุดท้ายของการประชุม ซึ่งเมื่อประชุมเสร็จนั้น ทุกคนจะรีบกลับไปเตรียมตัวมางานเลี้ยง ไม่มีเวลาได้พูดคุยกันทั้งที่มีเรื่องค้างคาอยู่ เจ้าภาพจึงต้องจัดให้มีช่วงที่ผู้ร่วมประชุมได้ระบายเรื่องที่ค้างคาระหว่างกันอยู่ ก่อนที่จะแยกย้ายกันบินกลับในวันรุ่งขึ้น

ผมจึงสังเกตุว่าแขกบางกลุ่มคุยกันอย่างจริงจังมาก ตามศัพท์ที่เรียกว่าLobbyนั่นเลย และไม่อยากจะยุติแม้ว่าจะดึกโขเข้าไปแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 17:56

black tie กับ tuxedo อย่างในภาพข้างล่างนี้ เหมือนกันไหมคะ

เรื่องเดียวกัน แต่เรียกคนละชื่อ    black tie ดูจะเป็นภาษาของภาคราชการ และเป็นในเชิงตามแบบแผนดั้งเดิม    ส่วน Tuxedo ดูจะเป็นภาษาของภาคเอกชน ซึ่งสำหรับคนอเมริกันนั้น tuxedo ดูจะครอบคลุมไปถึงการแต่งด้วยเสื้อนอกสีขาวตามภาพของคุณนวรัตน์ใน ค.ห.ที 20 ด้วย ซึ่งเป็นที่นิยมกันในหมู่เศรษฐีที่จะแต่งกันสำหรับงานเลี้ยงแบบ open air  ในสนามหญ้ากว้างๆที่มีลมเย็นสะบาย  หรือบนเรือยอร์ช

tuxedo ในปัจจุบันได้กลายพันธุ์ไปมาก เสื้อนอกเป็นทรงแบบชายเสื้อด้านหลังยาว (หางยาวหรือหางแมลงสาบ) ก็มี โดยเฉพาะในอเมริกา 

ิชุด black tie มีลักษณะจำเพาะอยู่หลายอย่างเหมือนกัน คือ เสื้อในจะต้องเป็นเชืร์ตสีขาว คอปกตั้งแต่พับปลาย ผู้หูกระต่ายสีดำ สำหรับตัวเสื้อตัวเชิร์ตนั้น ที่ด้านหน้าอกจะต้องเป็นเกล็ด (pleat) พับซ้อนตามยาว และใช้กระดุมหมุด (เช่น กระดุมมุก)  แขนเสื้อเชิร์ตจะเป็นแบบปลายแขนพับซ้อน ที่ไทยเราเรียกกันว่า ปลายแขนเสื้อแบบเบิ้ล และกลัดด้วย cufflink     ต้องมีผ้าสีดำคาดเอว (ไม่เห็นเข็มขัด)    เสื้อนอกจะเป็นผ้าขนสัตว์ (wool) สีออกดำ ปกเสื้อจะต้องทำด้วยผ้าที่ออกผิวมันวาว เช่น satin หรือ ผ้าใหม  กระดุมเม็ดเดียวแบบหุ้มด้วยผ้าผืนเดียวกับเสื้อ แต่เป็นสองเม็ดด้านนอกและด้านในเสื้อ โดยการกลัดกระดุมจะใช้เม็ดในกลัดจากด้านในของอีกซีกเสื้อ มิได้กลัดแบบปรกติ   กางเกงจะต้องมีแถบผ้าซาตินหรือผ้าใหมเย็บตามยาวตลอดตะเข็บกางเกงด้านนอกทั้งสองขากางเกง ปลายขากางเกงไม่พับ  รองเท้าก็จะต้องเป็นสีดำแบบหนังแก้ว

ที่เล่ามา เป็นชุด black tie ที่ถูกต้อง และเล่ามาเพื่อเป็นความรู้เท่านั้น  ก็ดังที่คุณนวรัตน์ว่าไว้  ไม่จำเป็นต้องไปขวนขวายตัดหรือมีไว้ใช้เลยครับ   ผมเองซึ่งเคยอยู่ในสภาพนักการทูตมา 8 ปี ยังเคยใช้อยู่เพียงครั้งเดียว แม้ว่าจะอยู่ในประเทศที่เีรียกว่าเป็นเจ้าแห่งพิธีการหรูๆ (เช่นในเวียนนา) ก็ตาม 

หากพอจะรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องมีงานที่ต้องแต่งกายในลักษณะนี้ (ซึ่งฝ่ายเจ้าภาพก็พอจะเข้าใจว่า ทุกคนไม่ได้มีหรือจัดหาไว้เป็นชุดที่ต้องมีประจำ)  ฝ่ายเจ้าภาพจึงมักจะมีการแจ้งล่วงหน้าไว้ในกำหนดการของงานนั้นๆในระหว่างการติดต่อประสานงาน หรือใส่บัตรเชิญมาพร้อมกับกำหนดการในระหว่างการประสานงานเลยทีเดียว  เราก็สามารถจะใช้วิธีการหาเช่าได้   ร้านให้เช่าเสื้อผ้าประเภทไม่ปรกติเหล่านี้ (black tie, tuxedo, morning coat ฯลฯ) จึงมีอยู่ทั่วไป  ข้อสำคัญมีเพียงจำขนาดเสื้อผ้าของตนเองให้ได้   ทางหนีทีไล่ของเรื่องนี้ก็มีเหมือนกัน เพราะบัตรเชิญในงานประเภทนี้เป็นลักษณะของ seating dinner  มุมของบัตรเชิญด้านล่างจึงมีคำว่า RSVP คือ ขอให้ตอบกลับว่าจะมาหรือไม่ หรือหากต่อท้ายด้วย only ก็หมายความว่าหากจะมาก็ไม่ต้องตอบกลับ แต่หากจะไม่มา ก็ขอให้แจ้งมา  แต่โดยมารยาท เราก็จะต้องแจ้งกลับว่าจะไปหรือไม่ไป  เป็นปรกติเหมือนกันครับ ที่หากเป็นพิธีรีตรองมากๆเข้าหรือจะเห็นว่าอะไรก็ตาม (ไม่จำเป็น ไม่พร้อม เครื่องแต่งกายไม่มี ฯลฯ) การปฏิเสธจึงเป็นเรื่องปรกติ

นี่ขนาดยังอยู่ในระหว่างตัดสินจะไปงาน จะไปกินหรือไม่ ยังขนาดนี้

ยังอยู่ในเรื่องของเก็บตกจากโ๊ต๊ะอาหารอยู่นะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 19:50

ผ่านพ้นเรื่องการแต่งกายมา ก็เข้าสู่งานเลี้ยง   จะขอคละกันไประหว่างแบบเป็นพิธีการ กับแบบส่วนบุุคคล ทั้งของคนชาติอื่นๆและของเรา

โครงสร้างของส่วนที่เป็นพิธีกรรมหรือประเพณีปฏิบติ จะมีความคล้ายๆกันทั้งหมด  ซึ่งดูจะเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นสากลเหมือนๆกัน คือ แขกไปใ้ห้ตรงเวลา แต่ก็ไม่ควรจะก่อนเวลานัด ควรจะเป็นหลังเวลานัดสักประมาณ 5 นาที และไม่ควรเกิน 15 นาที
   
กรณีเป็นงานที่เป็นพิธีการหรือทางการ  การตรงต่อเวลา (ในช่วงเวลาที่กล่าวมา) และการแต่งกายที่เหมาะสม ถือเป็นการใ้ห้เกียรติกับเจ้าภาพและเป็นเรื่องที่เจ้าภาพพอใจมากที่สุดอยู่แล้ว   
กรณีเป็นงานส่วนบุคคล นอกจากตรงเวลาแล้ว ฝ่ายแขกควรจะต้องมีของฝากเล็กๆน้อยๆ เพื่อมอบให้กับเจ้าภาพเมื่อแรกได้รับการต้อนรับจากเจ้าภาพ ซึ่งมักก็จะเป็นช่อดอกไม้  หรือหากมีความสนิทสนมกันพอสมควรควรก็อาจจะแยกเป็นช่อดอกไม้สำหรับฝ่ายหญิง  สำหรับฝ่ายชายก็อาจจะเป็นพวกเหล้าที่มิใช่ของที่ใช้ดื่มกันตามปรกติ หรืออาจจะเป็นของอย่างอื่นๆที่แปลกสำหรับเจ้าภาพก็ได้ และก็มิควรจะเป็นไวน์ เพราะอาจจะขัดกันในรสนิยม หรืออาจจะกลายเป็นการข่มกัน (แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคำพูดที่แนะนำก่อนมอบของให้ด้วย)  แต่ที่แน่นอนคือต้องมิใช่กระเช้าของเหมือนกับที่เรามอบกันในวันปีใหม่     
แต่หากสนิทกันมากๆ ก็อาจจะเป็นการเอาเบียร์หรือเหล้าที่เราต้องดื่มในงานนี้ไป เพื่อช่วยภาระของเจ้าบ้าน ซึ่งความสนิทสนมในระดับนี้ เจ้าของงานมักจะบอกว่า BYOB (Bring your own booze) คือหิ้วเครื่องดื่มและยี่ห้อที่ต้องการดืมมาเอง (หรือเราเป็นฝ่ายรับปฏิบัติเองโดยไม่ต้องมีการบอกกล่าว) ซึ่งก็มักจะเป็นเบียร์แบบ six pack แบบนี้นิยมกันในอเมริกา     ในยุโรปแทนที่จะเป็นเบียร์ก็เป็นไวน์ราคาปานกลาง (ุ6-10 ยูโร) 

ที่เล่ามานี้ ดูจะเป็นมารยาทสากลและมีความเหมาะสมพอ แม้กระทั่งในประเทศรอบบ้านเราหรือในเอเซียทั้งหลาย 
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 ธ.ค. 12, 22:34

ขอบคุณคุณนวรัตนและคุณตั้ง ที่อธิบายเรื่องทักซีโดกับแบล็คไทค่ะ

ว้าาาา   ท่านอาจารย์เทาชมพูเอารูปผมมาลงประกบกับอีตาเจมส์ บอนด์ทำไมครับ เดี๋ยวคนก็หมั่นไส้ผมกันพอดี

อ้าว เพิ่งรู้ว่าเป็นรูปคุณประกอบนี่เอง มิน่า ดูคุ้นๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 ธ.ค. 12, 16:50

เอาทักซีโดแบบต่างๆที่เจอในกูเกิ้ลมาลงให้ดูกันค่ะ     จะได้เห็นเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นพวกนี้ ว่าหน้าตาเป็นยังไงบ้าง
ก่อนจะผ่านไปเรื่องอื่นๆต่อไป


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 ธ.ค. 12, 18:18

ดังที่กล่าวมาว่า งานกินประเภทอย่างเป็นทางการหรือเป็นพิธีการ (จะขอกล่าวถึงในภาพรวมๆที่มีการเลี้ยงในโอกาสต่างๆนะครับ)  การจัดโต๊ะจะเป็นลักษณะกำหนดว่าใครจะนั่งตรงใหน   ดังนั้น เจ้าภาพจึงจะต้องรอให้แขกมาพร้อมกันทั้งหมดเสียก่อน จึงจะเชิญเแขกไปนั่งประจำที่ในโต๊ะอาหาร  จึงเป็นเรื่องปรกติที่ในช่วงรอนี้ จะมีการเสิร์ฟเครื่องดื่มซึ่งมีทั้งแบบมีหรือไม่มีแอลกอฮอลล์ แล้วก็มีของขบเคี้ยวเค็มๆมันๆเป็นของแกล้มประกอบ  เกือบจะไม่มีการใช้ไวน์ในช่วงนี้ ไวน์จะไปดื่มกันในโต๊ะอาหารเป็นหลัก
  
ของขบเคี้ยวของฝรั่งนั้น อาจจะเป็นถั่ว เป็นลูกมะเดื่อฝรั่งแห้ง (ลูก fig)  เป็น potato chip  เป็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (อันนี้หรูหน่อย เพราะแพง)  เป็นลูกอินทผาลัมแห้ง (กรณีในช่วงเวลาถือบวชของคนที่นับถือศาสนาอิสลาม)  หรือแคร็อต แตงกวา คื่นไช่ฝรั่ง (celery) หั่นเป็นแท่งๆจิ้มกับมายองเนสปรุงรส ฯลฯ     จะเห็นว่าของขบเคี้ยวเหล่านี้ของเรามีมากมาย หากประสงค์จะมอมแขก เราก็ใช้ของที่มีรสจัดหน่อย เช่น ข้าวเกรียบทอดธรรมดา เราก็เพิ่ม dip เข้าไป เพียงเอาน้ำพริกเผา บีบมะนาวใส่ ผสมน้ำตาลเล็กน้อย ละลายให้เข้ากันดี เท่านี้ก็เหลือแหล่ที่จะทำให้ต้องดื่มมากขึ้น

เดี๋ยวจะเลยเถิดไปไกล  กลับมาเข้าเรื่องครับ    ช่วงเวลารอให้แขกมาพร้อมกันนี้ มักจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเป็นหลัก  แต่ก็แล้วแต่เจ้าภาพจะพิจารณาเห็นสมควร ก็มักจะดูจากแขกเป็นหลัก หากเป็นการจัดแบบเชิญแขกที่ไม่ค่อยรู้จักกันมาก ก็อาจจะดูสภาพการสนทนาว่าเป็นอย่างไร หากยังออกรสชาติอยู่ก็ยืดเวลาเชิญเข้านั่งในโต๊ะอาหาร  แต่หากเห็นว่ากร่อยและแขกมาพร้อมกันแล้ว ก็เชิญเข้าโต๊ะอาหารเลยก็ได้    ช่วงเวลาคุยกันก่อนเข้าโต๊ะอาหารนี้เป็นช่วงที่ทุกคนมีอิสระในการพูด แต่ก็พึงรู้ไว้ว่าเป็นช่วงแห่งการล้วงตับระหว่างกันพอสมควร   ช่วงเวลาของการขมวดประเด็นของเรื่องที่ต้องการรู้ก็คือ การสนทนาอย่างเป็นกันเองอย่างมีความสุขในระหว่างการกินอาหาร ที่แฝงไว้ซึ่งการล้วงตับ  ก็ไม่ต่างไปมากนัดกับสภาพเหมือนเป็นนักเรียนนั่งอยู่ในห้องเรียนที่จะถูกครูหรือเพื่อนชี้ถามความเห็นเมื่อใดก็ได้  ทั้งนี้ช่วงที่สำคัญคือช่วงในช่วงเมนูของหวานและกาแฟ   ซึ่งอาจจะมีรายการต่อไปซึ่งจะขอหยุดไว้ก่อน  
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของศิลปและความจัดเจนอย่างหนึ่งของเจ้าภาพ      เพียงรู้สภาพของแขกที่เชิญมาที่ได้พบก่อนเข้าโต๊ะอาหาร อย่างนี้ก็พอจะเดาสภาพของการณ์ข้างหน้าต่อไปได้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป     อย่าได้เผลอลืมคำพังเพยที่ว่า Nothing is for granted  หรือ ไม่มีของฟรีในโลก ก็แล้วกันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 ธ.ค. 12, 18:32

อย่าได้เผลอลืมคำพังเพยที่ว่า Nothing is for granted  หรือ ไม่มีของฟรีในโลก ก็แล้วกันครับ
แยกซอย
นึกถึงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของMilton Friedman ที่ว่า There's no such thing as a free lunch   ของฟรีไม่มีในโลก ค่ะ
ว่ากันว่าที่มาของคำนี้ ย้อนหลังไปถึงกลางศตวรรษที่ 19   เมื่อเจ้าของร้านอาหาร(ที่ขายเหล้าและบุหรี่ด้วย) โฆษณาล่อใจว่า ลูกค้าที่มาซื้อซิการ์ ไวน์ และเหล้าจะได้กินอาหารกลางวันฟรี
แต่เอาเข้าจริง  ลูกค้าก็ต้องจ่ายค่าสินค้าซึ่งราคาแพงกว่าปกติ   ไปๆมาๆเท่ากับบวกราคาอาหารกลางวันเข้าไปด้วย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 ธ.ค. 12, 19:15

แยกเข้าตรอกไปอีกหน่อยครับ

ขอทราบเป็นวิทยาทานเป็นความรู้ครับ มิได้มีเจตนาอื่นใด    ในภาษาไทยระหว่างวลี   ไม่มีของฟรีในโลก   กับ   ของฟรีไม่มีในโลก 

ในเชิงของความถูกต้องของการใช้ภาษาไทย  วลีใหนที่ถูกต้องตามหลักของภาษาไทยครับ  หรือว่าก็ถูกทั้งหมด เป็นแต่เพียงเรื่องของการเลือกใช้สำนวนครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 ธ.ค. 12, 20:01

ในเชิงของความถูกต้องของการใช้ภาษาไทย  วลีใหนที่ถูกต้องตามหลักของภาษาไทยครับ  หรือว่าก็ถูกทั้งหมด เป็นแต่เพียงเรื่องของการเลือกใช้สำนวนครับ
มันเป็นสำนวนพูด    ใช้ได้ทั้งสองอย่างค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง